การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยมีความสําคัญอย่างไร

การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยมีความสําคัญอย่างไร

          การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยเป็นสิ่งสำคัญประการหนึ่ง  ที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยของผู้ป่วย  การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยอาจกระทำก่อนให้การปฐมพยาบาล  ๅหรือหลังจากให้การปฐมพยาบาลก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ในหลายกรณีพบว่ามีผู้ป่วยจำนวนมาก  ได้รับอันตรายจากการเคลื่อนย้ายที่ไม่ถูกวิธี ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิต หรือมีความพิการตามมา ดังนั้นก่อนที่จะทำการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย ควรพิจารณาถึงความจำเป็นในการเคลื่อนย้าย ถ้าเป็นไปได้อย่าพยายามเคลื่อนย้ายผู้ป่วย แต่ถ้าหากมีความจำเป็น เช่น ผู้ป่วยมีอาการรุนแรงต้องรีบนำส่งโรงพยาบาลโดยเร็ว หรือผู้ป่วยอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่ปลอดภัย ทำให้ไม่สามารถให้การปฐมพยาบาลได้ เช่น ผู้ป่วยอยู่ในบริเวณที่เกิดเพลิงไหม้ หรืออยู่ใกล้บริเวณที่สิ่งของอาจตกลงมาทับได้ ก็ให้ให้รีบทำการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยโดยเร็ว ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วยและผู้ให้การปฐมพยาบาล

การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยมีความสําคัญอย่างไร

1. ก่อนทำการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย ต้องปฐมพยาบาลส่วนของร่างกายผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บก่อน  ตามความจำเป็น เช่น ถ้าผู้ป่วยมีอาการหายใจลำบากต้องทำการช่วยหายใจก่อน ถ้าบาดแผลมีเลือดออกมาก จะต้องทำการห้ามเลือดก่อน ฯลฯ ผู้ทำการปฐมพยาบาลจะต้องประเมิน  อาการบาดเจ็บให้แน่ใจเสียก่อน  จากนั้นจึงค่อยทำการเคลื่อนย้ายโดยระวัง  ไม่ให้เกิดอันตรายต่อกระดูกสันหลังเพิ่มขึ้น

2. ขณะทำการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย ต้องดูแลผู้ป่วยอย่างใกล้ชิดโดยสังเกตอาการต่างๆ เช่น สังเกตการหายใจ ตรวจวัดชีพจร สังเกตปริมาณเลือดที่ออก และอย่าปล่อยให้ผู้ป่วยที่หมดสติอยู่ตามลำพังเพราะอาจมีอาการแย่ลงทันทีทันใด ทำให้ไม่สามารถช่วยเหลือได้ทันท่วงที

3. วิธีการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยขึ้นอยู่กับเหตุการณ์ในขณะนั้น สถานที่เกิดเหตุ จำนวนผู้ช่วยเหลือ ตลอดจนวัสดุอุปกรณ์ที่จะใช้สำหรับเคลื่อนย้ายผู้ป่วยที่สามารถหาได้ในขณะนั้น โดยผู้ปฐมพยาบาลจะต้องตัดสินใจเลือกวิธีที่สะดวกรวดเร็วและปลอดภัยต่อผู้ป่วยมากที่สุด

การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยมีความสําคัญอย่างไร

การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยมีความสําคัญอย่างไร

 การเคลื่อนย้ายที่ถูกวิธีมีความสำคัญมาก ถ้าผู้ช่วยเหลือมีประสบการณ์ มีความรู้ ความเข้าใจ มีหลักการและรู้จักวิธีการเคลื่อนย้ายที่ถูกวิธี จะช่วยให้ผู้บาดเจ็บมีชีวิตรอด ปลอดภัย ลดความพิการ หรืออันตรายที่จะเกิดขึ้นภายหลังได้

หลักในการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย
1. ต้องทราบว่าผู้ป่วยได้รับบาดเจ็บบริเวณใด
2. ให้การปฐมพยาบาลก่อนการเคลื่อนย้าย เช่น ห้ามเลือด ดามกระดูกที่หัก เป็นต้น
3. เลือกวิธีการเคลื่อนย้ายที่เหมาะสมกับสภาพความเจ็บป่วย
4. การเคลื่อนย้ายต้องทำด้วยความนุ่มนวล มีสติ รอบคอบ
5. การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยหนักจะต้องมีสิ่งรองรับ ศีรษะ แขน ขา และหลัง
6. อุปกรณ์เคลื่อนย้ายผู้ป่วย เช่น เปล ต้องนำมาให้ถึงผู้ป่วย มิใช่ยกผู้ป่วยเดินไปหาเปล
7. ถ้ามีผู้ช่วยเหลือหลายคนควรมีหัวหน้าเพื่อสั่งการหนึ่งคน เพื่อให้การทำงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
8. ขณะเคลื่อนย้ายด้วยเปลควรมีสายรัดกันการตก
9. ขณะเคลื่อนย้ายผู้ป่วยต้องดูแลอย่างใกล้ชิด โดยสังเกตการหายใจและจับชีพจร ถ้ามีอาการผิดปกติต้องรีบช่วยเหลือทันที
10. รีบนำผู้ป่วยส่งให้ถึงมือแพทย์โดยเร็วที่สุดและผู้นำส่งควรเล่าเหตุการณ์ให้แพทย์ทราบเพื่อช่วยการวิเคราะห์การบาดเจ็บ

การเคลื่อนย้ายผู้ป่วย
จุดประสงค์การเคลื่อนย้ายผู้ป่วย คือ
1. เพื่อเคลื่อนย้ายผู้ป่วยออกจากสถานที่เกิดเหตุ อันอาจทำให้เกิดอันตรายเพิ่มขึ้น
2. เพื่อเคลื่อนย้ายผู้ป่วยไปอยู่ในที่ที่ให้การปฐมพยาบาลได้สะดวก
3. เพื่อส่งผู้ป่วยไปรับการรักษาต่อ

การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยมีความสําคัญอย่างไร


    1. การเคลื่อนย้ายโดยผู้ช่วยเหลือคนเดียว
     วิธีที่ 1 พยุงเดิน เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่รู้สึกตัวดี แต่แขนหรือขาข้างใดข้างหนึ่งเจ็บ (เฉพาะส่วนล่าง)
     วิธีเคลื่อนย้าย ผู้ช่วยเหลือยืนเคียงข้างผู้ป่วย หันหน้าไปทางเดียวกัน แขนข้างหนึ่งของผู้ป่วยพาดคอ ผู้ช่วยเหลือจับมือผู้ป่วยไว้ ส่วนแขนอีกข้างหนึ่งของผู้ช่วยเหลือโอบเอวและพยุงเดิน

การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยมีความสําคัญอย่างไร


ภาพการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยโดยวิธีพยุงเดิน     

วิธีที่ 2 การอุ้ม วิธีนี้ใช้กับผู้บาดเจ็บที่มีน้ำหนักตัวน้อย หรือในเด็กซึ่งไม่มีบาดแผลรุนแรง หรือกระดูกหักโดยการช้อนใต้เข่าและประคองด้านหลัง หรืออุ้มทาบหลังก็ได้

การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยมีความสําคัญอย่างไร

ภาพ การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยด้วยวิธีอุ้ม 
    

วิธีที่ 3 วิธีลาก เหมาะที่จะใช้ในกรณีฉุกเฉิน เช่น เกิดไฟไหม้ ถังแก็สระเบิด หรือตึกถล่ม จำเป็นต้องเคลื่อนย้ายออกจากที่เกิดเหตุให้เร็วที่สุด อาจปฏิบัติได้หลายวิธี
     ผู้ช่วยเหลืออาจะจะลากโดยใช้มือสอดใต้รักแร้ลากถอยหลัง หรือจับข้อเท้าลากถอยหลังก็ได้ ไม่ควรลากไปด้านข้างของผู้บาดเจ็บ ต้องระวังไม่ให้ส่วนของร่างกายโค้งงอ โดยเฉพาะส่วนของคอและลำตัว การลากจะลดอันตรายลงถ้าใช้ผ้าห่มหรือเสื่อ หรือ แผ่นกระดานรองลำตัวผู้บาดเจ็บ

การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยมีความสําคัญอย่างไร

ภาพ การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยด้วยวิธีการลาก

    2. การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยโดยผู้ช่วยเหลือสองคน
     วิธีที่ 1 อุ้มและยก เหมาะสำหรับผู้ป่วยรายในรายที่ไม่รู้สึกตัว แต่ไม่ควรใช้ในรายที่มีการบาดเจ็บของลำตัว หรือกระดูกหัก

การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยมีความสําคัญอย่างไร

                                                                                  ภาพ การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยด้วยวิธีอุ้มและยก

     

วิธีที่ 2 นั่งบนมือทั้งสี่ที่จับประสานกันเป็นแคร่ เหมาะสำหรับผู้ป่วยในรายที่ขาเจ็บแต่รู้สึกดีและสามารถใช้แขนทั้งสองข้างได้
     วิธีเคลื่อนย้าย ผู้ช่วยเหลือทั้งสองคนใช้มือขวากำข้อมือซ้ายของตนเอง ขณะเดียวกันก็ใช้มือซ้ายกำมือขวาซึ่งกันและกัน ให้ผู้ป่วยใช้แขนทั้งสองยันตัวขึ้นนั่งบนมือทั้งสี่ที่จับประสานกันเป็นแคร่ แขนทั้งสองของผู้ป่วยโอบคอผู้ช่วยเหลือ จากนั้นวางผู้ป่วยบนเข่าเป็นจังหวะที่หนึ่ง และอุ้มยืนเป็นจังหวะที่สอง แล้วจึงเดินไปพร้อมๆ กัน

การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยมีความสําคัญอย่างไร

                                                              ภาพ การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยด้วยวิธีนั่งบนมือทั้งสี่ที่ประสานกันเป็นแคร่

       

วิธีที่ 3 การพยุงเดิน วิธีนี้ใช้ในรายที่ไม่มีบาดแผลรุนแรง หรือกระดูกหักและผู้บาดเจ็บยังรู้สึกตัวดี

การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยมีความสําคัญอย่างไร

                                                                                    ภาพ การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยด้วยวิธีพยุงเดิน

    3. การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยโดยผู้ช่วยเหลือสามคน
     วิธีที่ 1 อุ้มสามคนเรียง เหมาะสำหรับผู้ป่วยในรายที่ไม่รู้สึกตัว ต้องการอุ้มขึ้นวางบนเตียงหรืออุ้มผ่านทางแคบๆ
     วิธีเคลื่อนย้าย ผู้ช่วยเหลือทั้งสามคนคุกเข่าเรียงกันในท่าคุกเข่าข้างเดียว ทุกคนสอดมือเข้าใต้ตัวผู้ป่วย และอุ้มพยุงไว้ตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกายดังนี้
          คนที่ 1 สอดมือทั้งสองเข้าใต้ตัวผู้ป่วยตรงบริเวณคอและหลังส่วนบน
          คนที่ 2 สอดมือทั้งสองเข้าใต้ตัวผู้ป่วยตรงบริเวณหลังส่วนล่างและก้น
          คนที่ 3 สอดมือทั้งสองเข้าใต้ขา
          ผู้ช่วยเหลือคนที่อ่อนแอที่สุดควรเป็นคนที่ 3 เพราะรับน้ำหนักน้อยที่สุด เมื่อจะยกผู้ป่วยผู้ช่วยเหลือทั้งสามคน จะต้องทำงานพร้อมๆ กัน โดยให้คนใดคนหนึ่งเป็นออกคำสั่ง ขั้นแรก ยกผู้ป่วยพร้อมกันและวางบนเข่า จากท่านี้เหมาะสำหรับจะยกผู้ป่วยขึ้นวางบนเปลฉุกเฉินหรือบนเตียง แต่ถ้าจะอุ้มเคลื่อนที่ผู้ช่วยเหลือทั้งสามคน จะต้องประคองตัวผู้ป่วยในท่านอนตะแคง และอุ้มยืน เมื่อจะเดินจะก้าวเดินไปทางด้านข้างพร้อมๆ กัน และถ้าจะวาง ผู้ป่วยให้ทำเหมือนเดิมทุกประการ คือ คุกเข่าลงก่อนและค่อย ๆ วางผู้ป่วยลง

การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยมีความสําคัญอย่างไร


                                                                              ภาพการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยด้วยวิธีอุ้มสามคนเรียง

     

วิธีที่ 2 การใช้คน 3 คน วิธีนี้ใช้ในรายที่ผู้บาดเจ็บนอนหงาย หรือ นอนคว่ำก็ได้ ให้คางของผู้บาดเจ็บยกสูงเพื่อเปิดทางเดินหายใจ
     1. ผู้ปฐมพยาบาล 2 คนคุกเข่าข้างลำตัวผู้บาดเจ็บข้างหนึ่ง อีกข้างหนึ่งผู้ปฐมพยาบาลอีก 1 คน คุกเข่าข้างลำตัวผู้บาดเจ็บ
     2. ผู้ปฐมพยาบาลคนที่ 1 ประคองที่ศีรษะและไหล่ผู้บาดเจ็บ มืออีกข้างหนึ่งรองส่วนหลังผู้บาดเจ็บ
     3. ผู้ปฐมพยาบาลคนที่ 2 อยู่ตรงข้ามคนที่ 1 ใช้แขนข้างหนึ่งรองหลังผู้บาดเจ็บ เอามือไปจับมือคนที่ 1 อีกมือหนึ่งรองใต้สะโพกผู้บาดเจ็บ
     4. ผู้ปฐมพยาบาลคนที่ 3 มือหนึ่งอยู่ใต้ต้นขาเหนือมือคนที่ 2 ที่รองใต้สะโพก แล้วเอามือไปจับกับมือคนที่ 2 ที่รองใต้สะโพกนั้น ส่วนมืออีกข้างหนึ่งรองที่ขาใต้เข่า
     5. มือคนที่ 1 และคนที่ 2 ควรจับกันอยู่ระหว่างกึ่งกลางลำตัวส่วนบนของผู้บาดเจ็บ ผู้ปฐมพยาบาลจะต้องให้สัญญาณลุกขึ้นยืนพร้อม ๆ กัน

การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยมีความสําคัญอย่างไร

                                                                                 ภาพ การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยด้วยวิธีใช้คน 3 คน

    การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยโดยใช้ผ้าห่ม
     ใช้กรณีที่ไม่มีเปลหามแต่ไม่เหมาะกับผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บบริเวณหลัง
     วิธีเคลื่อนย้าย พับผ้าห่มตามยาวทบกันเป็นชั้น ๆ 2-3 ทบ โดยวิธีการพับผ้าห่มพับเช่นเดียวกับการพับกระดาษทำพัด วางผ้าห่มขนาบชิดตัวผู้ป่วยทางด้านข้าง ผู้ช่วยเหลือคุกเข่าลงข้างตัวผู้ป่วยอีกข้างหนึ่ง จับผู้ป่วยตะแคงตัวเพื่อให้นอนบนผ้าห่ม แล้วดึงชายผ้าห่มทั้งสองข้างออก เสร็จแล้วจึงม้วนเข้าหากัน จากนั้นช่วยกันยกตัวผู้ป่วยขึ้น ผู้ช่วยเหลือคนหนึ่งต้องประคองศีรษะผู้ป่วย โดยเฉพาะผู้ป่วยที่สงสัยว่า ได้รับบาดเจ็บที่คอหรือหลัง

การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยมีความสําคัญอย่างไร

                                                                                      ภาพ การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยโดยใช้ผ้าห่ม

      การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยโดยใช้เปลหาม
        เปลหรือแคร่มีประโยชน์ในการเคลือนย้ายผู้ป่วย อาจทำได้ง่ายโดยดัดแปลงวัสดุ การใช้เปลหามจะสะดวกมากแต่ยุ่งยากบ้างขณะที่จะอุ้มผู้ป่วยวางบนเปลหรืออุ้มออกจากเปล
      วิธีการเคลื่อนย้าย
        เริ่มต้นด้วยการอุ้มผู้ป่วยนอนราบบนเปล จากนั้นควรให้ผู้ช่วยเหลือคนหนึ่งเป็นคนออกคำสั่งให้ยกและหามเดิน พื่อความพร้อมเพรียงและนุ่มนวล ถ้ามีผู้ช่วยเหลือสองคน คนหนึ่งหามทางด้านศีรษะ อีกคนหามทางด้านปลายเท้าและหันหน้าไปทางเดียวกัน ซึ่งหมายความว่าผู้ช่วยเหลือที่หามทางด้านปลายเท้าจะเดินนำหน้า หากมีผู้ช่วยเหลือ 4 คน ช่วยหาม อีก 2 คน จะช่วยหามทางด้านข้างของเปลและหันหน้าเดินไปทางเดียวกัน

การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยมีความสําคัญอย่างไร

การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยมีความสําคัญอย่างไร

                                                                                    ภาพ การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยโดยใช้เปลหาม

    วัสดุที่นำมาดัดแปลงทำเปลหาม
     1. บานประตูไม้
     2. ผ้าห่มและไม้ยาวสองอัน วิธีทำเปลผ้าห่ม ปูผ้าห่มลงบนพื้น ใช้ไม้ยาวสองอัน ยาวประมาณ 2.20 เมตร
          - อันที่ 1 สอดในผ้าห่มที่ได้พับไว้แล้ว
          - อันที่ 2 วางบนผ้าห่ม โดยให้ห่างจากอันที่ 1 ประมาณ 60 ซม. จากนั้นพับชายผ้าห่มทับไม้อันที่ 2 และอันที่ 1 ตามลำดับ

การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยมีความสําคัญอย่างไร

                                                                               ภาพการใช้ผ้าห่มมาดัดแปลงทำเปลหามผู้ป่วย