ระบบGPS มีกระบวนการทํางานอย่างไรให้ได้ข้อมูลส่งมายังผู้ใช้

By

in

Article

Posted

December 11, 2017 at 4:04 pm

ระบบกำหนดตำแหน่งบนโลก (จีพีเอส) (Global positioning System : GPS) หรือ นาฟสตาร์ (Navstar) คือระบบดาวเทียมนำร่องโลก เพื่อระบุข้อมูลของตำแหน่งและเวลาโดยอาศัยการคำนวณจากความถี่สัญญาณนาฬิกาที่ส่งมาจากตำแหน่งของดาวเทียมต่างๆ ที่โคจรอยู่รอบโลก สามารถระบุตำแหน่ง ณ จุดที่รับสัญญาณได้ทั่วโลกไม่ว่าจะสภาพอากาศแบบใด สามารถคำนวณความเร็วและทิศทางเพื่อนำมาใช้ร่วมกับแผนที่ในการติดตามยานพหานะ คน สัตว์ สิ่งของ และยังใช้ร่วมกับแผนที่นำทางได้

ดาวเทียมของจีพีเอสเป็นดาวเทียมที่มีวงโคจรระดับกลาง (Medium Earth Orbit: MEO) ที่ระดับความสูงประมาณ 200 กิโลเมตร จากพื้นโลก ใช้การยืนยันตำแหน่งโดยอาศัยพิกัดจากดาวเทียมอย่างน้อย 4 ดวง สามารถยืนยันตำแหน่งได้ครอบคลุมทุกจุดบนผิวโลก ปัจจุบัน เป็นดาวเทียม GPS Block-II มีดาวเทียมสำรองประมาณ 4-61 ดวง

นอกจากระบบ GPS แล้วยังมี ระบบบอกพิกัดด้วยดาวเทียมอื่นๆ ได้แก่

  • GLONASS (Global Navigation Satellite System) เป็นระบบของรัสเซีย ที่พัฒนาเพื่อแข่งขันกับสหรัฐอเมริกา ใช้งานได้สมบูรณ์ทั่วโลกตั้งแต่เดือน ตุลาคม 2555
  • Galileo เป็นระบบที่กำลังพัฒนาโดยสหภาพยุโรป ร่วมกับจีน อิสราเอล อินเดีย โมร็อกโก ซาอุดิอาระเบีย เกาหลีใต้ และยูเครน จะแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2553
  • Beidou เป็นระบบที่กำลังพัฒนาโดยประเทศจีน โดยให้บริการเฉพาะบางพื้นที่ แต่ในอนาคตมีแผนที่จะพัฒนาโดยให้ครอบคลุมทั่วโลกโดยจะใช้ชื่อว่า COMPASS
  • QZSS ระบบดาวเทียมของญี่ปุ่น ทำหน้าที่หลากหลาย ช่วยเสริมการหาตำแหน่งด้วย GPS โดยเน้นพื้นที่ประเทศญี่ปุ่น ที่มีอาคารสูงบดบังสัญญาณ GPS สำหรับ QZSS ถูกออกแบบให้มีวงโคจรเป็นเลข 8 โดยเต็มระบบจะประกอบด้วยดาวเทียม 3-4 ดวง

ข้อมูลจาก https://th.wikipedia.org/wiki/ระบบกำหนดตำแหน่งบนโลก

Skip to content

gps คืออะไรและมีประโยชน์อย่างไร

ระบบGPS มีกระบวนการทํางานอย่างไรให้ได้ข้อมูลส่งมายังผู้ใช้

1. GPS คืออะไร?

GPS คือ ระบบระบุตำแหน่งบนพื้นโลก ย่อมาจากคำว่า Global Positioning System ซึ่งระบบ GPS ประกอบไปด้วย 3 ส่วนหลัก คือ
1. ส่วนอวกาศ ประกอบด้วยเครือข่ายดาวเทียมหลัก 3 ค่าย คือ อเมริกา รัสเซีย ยุโรป
ของอเมริกา ชื่อ NAVSTAR (Navigation Satellite Timing and Ranging GPS) มีดาวเทียม 28 ดวง ใช้งานจริง 24 ดวง อีก 4 ดวงเป็นตัวสำรอง บริหารงานโดย Department of Defenses มีรัศมีวงโคจรจากพื้นโลก 20,162.81 กม.หรือ 12,600 ไมล์ ดาวเทียมแต่ละดวงใช้ เวลาในการโคจรรอบโลก 12 ชั่วโมงยุโรป ชื่อ Galileo มี 27 ดวง บริหารงานโดย ESA หรือ European Satellite Agency จะพร้อมใช้งานในปี 2008รัสเซีย ชื่อ GLONASS หรือ Global Navigation Satellite บริหารโดย Russia VKS (Russia Military Space Force)
ในขณะนี้ภาคประชาชนทั่วโลกสามารถใช้ข้อมูลจากดาวเทียมของทางอเมริกา (NAVSTAR) ได้ฟรี เนื่องจาก นโยบายสิทธิการเข้าถึงข้อมูลและข่าวสารสำหรับประชาชนของรัฐบาลสหรัฐ จึงเปิดให้ประชาชนทั่วไปสามารถใช้ข้อมูลดังกล่าวในระดับความแม่นยำที่ไม่เป็นภัยต่อความมันคงของรัฐ กล่าวคือมีความแม่นยำในระดับบวก / ลบ 10 เมตร

2. ส่วนควบคุม ประกอบด้วยสถานีภาคพื้นดิน สถานีใหญ่อยู่ที่ Falcon Air Force Base ประเทศ อเมริกา และศูนย์ควบคุมย่อยอีก 5 จุด กระจายไปยังภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วโลก

3. ส่วนผู้ใช้งาน ผู้ใช้งานต้องมีเครื่องรับสัญญาณที่สามารถรับคลื่นและแปรรหัสจากดาวเทียมเพื่อนำมาประมวลผลให้เหมาะสมกับการใช้งานในรูปแบบต่างๆ

ทุกวันนี้บางท่านมักจะเข้าใจผิดว่า GPS เป็น GPRS ซึ่ง GPRS ย่อมาจากคำว่า General Packet Radio Service เป็นระบบสื่อสารแบบไร้สายสำหรับโทรศัพท์มือถือ หรือ PDA หรือ notebook เพื่อเชื่อมต่อกับ internet

2. GPS ทำงานอย่างไร?

แต่เดิมนั้นจีพีเอสถูกผลิต คิดค้น และถือเป็นกรรมสิทธิ์ของกระทรวงกลาโหม ประเทศสหรัฐอเมริกา แต่ในปัจจุบันทุกๆภาคส่วนและทุกคนสามารถใช้งานได้จากทั่วโลก และจุดนี้จะอธิบายสั้นๆว่าการทำงานของจีพีเอสนั้นทำงานอย่างไร

  • ดาวเทียม จี พี เอ ส หลักทั้งหมด 21 ดวง และดาวเทียมสำรองอีก 3 ดวง จะโคจรรอบโลกที่ความสูง 10,600 ไมล์ จากพื้นผิวโลก ดาวเทียมจะเว้นพื้นที่เท่าๆกันจากทุกมุมบนโลก และจะมีดาวเทียม 4 ดวง ที่อยู่เหนือเส้นขอบฟ้า
  • ดาวเทียมแต่ละดวงจะประกอบไปด้วยระบบคอมพิวเตอร์ที่เวลาในระบบจะไม่หยุดเดินและส่งสัญญาณวิทยุได้ตลอดจนกว่าดาวเทียมจะหมดอายุใช้งานและร่วงลง ดาวเทียมทุกดวงจะโคจรตามวงโคจรของตนเองและเวลาที่ใช้ในดาวเทียมดวงนั้นๆก็จะถูกตั้งค่าไว้แล้ว ซึ่งการถ่ายทอดตำแหน่งและเวลาของดาวเทียมแต่ละดวงยังสามารถเปลี่ยนแปลงได้อย่างต่อเนื่องด้วย (โดยดาวเทียมแต่ละดวงจะตรวจสอบความถูกต้องของตำแหน่งและเวลาจากสถานนีภาคพื้นดินวันละครั้ง และจะปรับข้อมูลที่อาจเกิดความคลาดเคลื่อนได้เล็กน้อย)
  • ทุกอุปกรณ์รับสัญญาณจีพีเอสที่ใช้อยู่บนภาคพื้นดินจะมีระบบคอมพิวเตอร์ที่สามารถคำนวนได้แบบ 3 มุม โดยจะสามารถบอกพิกัดได้จากการรับข้อมูลจาก 3 ใน 4 ดาวเทียม ซึ่งจะได้ตำแหน่งทางภูมิศาสตร์ เป็นค่าของละติจูดและลองจิจูด
  • อุปกรณ์รับสัญญาณจีพีเอสทุกตัวจะประกอบไปด้วยจอที่สามารถแสดงแผนที่โลกได้ โดยตำแหน่งทางภูมิศาสตร์ที่ได้ก็จะไปแสดงให้สอดคล้องกับตำแหน่งบนแผนที่
  • อุปกรณ์รับสัญญาณจีพีเอสที่มีความสามารถเพิ่มเติม สามารถรับสัญญาณจากดาวเทียมได้ครบทั้ง 4 ดวง โดยข้อมูลที่ได้จะแสดงถึงความสูงของตำแหน่งนั้นด้วย
  • ถ้าเกิดการเคลื่อนที่ขึ้น อุปกรณ์รับสัญญาณจีพีเอสสามารถที่จะคำนวนความเร็วและทิศทางในการเคลื่อนที่ได้ และนอกจากนี้หากเป็นระบบในอุปกรณ์รับสัญญาณที่มีความสามารถสูงขึ้นไปอีกจะสามารถระบุสถานที่เป้าหมายที่ต้องการไปและคำนวนเวลาในการเดินทางได้อีกด้วย

3. ประโยชน์ของ GPS

ในปัจจุบันเราสามารถพูดได้เต็มปากเลยว่า จีพีเอส มีบทบาทอย่างมากในการดำเนินชีวิตในยุคที่มีดิจิตอลและอินเตอร์เน็ตไร้สาย ผู้คนสามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างสะดวกและเร็วรวดมาก ในอดีตมนุษย์เราจำเป็นต้องเดินทางไม่ว่าจะเป็นหาที่อยู่หาอาศัยหรือหาอาหาร บ้างก็ผลัดหลงบ้างก็เจอกับอันตรายจากภูมิประเทศที่ไม่คุ้นเคย

ปัจจุบันมนุษย์ก็ยังคงเดินทางเช่นกัน ไม่ว่าจะเดินทางเพื่อท่องเที่ยว ประกอบอาชีพเลี้ยงตัวเอง หรือด้วยเหตุผลต่างๆนาๆ แต่ด้วยเทคโนโลยีปัจจุบันทำให้คนในรุ่นเราไม่จำเป็นต้องหาเส้นทางหรือผลัดหลงเหมือนอย่างในอดีต ด้วยระบบ GPS ทำให้ทุกอย่างเป็นไปอย่างง่ายดายและคาดเดาได้ล่วงหน้า มันจึงเป็นประโยชน์อย่างมากหากเดินทางไปยังที่ที่ไม่คุ้นเคยหรือต้องการกำหนดจุดหมายการเดินทาง

GPS ยังถูกใช้ในกิจกรรมที่หลากหลาย

ซึ่งในปัจจุบันได้มีการใช้ประโยชน์ของ จีพีเอส ในรูปแบบต่างๆคร่าวๆดังนี้

  • การกำหนดพิกัดของสถานที่ต่างๆ การทำแผนที่ รวมไปถึงการงานสำรวจที่โดยส่วนใหญ่นิยมใช้อุปกรณ์ที่สามารถพกพาไปได้ง่าย คงทน กันฝุ่นและน้ำได้อย่างดี หรือแม้แต่ใช้เป็นไฟฉายได้ในที่มืด
  • ใช้ในการนำทาง การใช้งาน จีพีเอส ในการนำทางได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ซึ่งในปัจจุบันสามารถใช้งานได้ทั้งภาพ เสียง และรองรับได้หลายภาษา คนทั่วไปสามารถใช้งานได้สะดวกเพราะสามารถแสดงเป็นภาพสามมิติ ภาพเสมือนจริง และยังมีประสิทธิภาพอื่นๆอีกเช่น ระบบมัลติมีเดีย ระบบบลูทูธ หรือไวฟาย เป็นต้น
  • การวางแผนการใช้ประโยชน์ที่ดิน การตั้งพิกัดสถานที่ การทำงานร่วมกับ ดาวเทียม จีพีเอส ร่วมไปถึงงานที่เกี่ยวกับที่ดิน เป็นต้น
  • การวางแผนการใช้ประโยชน์ที่ดิน การตั้งพิกัดสถานที่ การทำงานร่วมกับดาวเทียม จีพีเอส ร่วมไปถึงงานที่เกี่ยวกับที่ดิน เป็นต้น
  • การกำหนดจุดเพื่อบรรเทาสาธารณะภัย เช่น จุดปลอดภัยหรือจุดหลบภัย จุดอำนวยความสะดวก หรือชุดป้องกันชูชีพที่ติดเครื่องส่งสัญญาณจีพีเอส
  • การจัดการขนส่ง ไม่ว่าจะขาส่งสินค้า หรือบริการต่างๆ ก็สามารถทำได้อย่างเป็นระบบและแม่นยำ
  • การติดตามอาชญากรรม ไม่ว่าจะเป็นการปล้น หรือการค้ายาเสพติดก็สามารถนำ จีพีเอส มาใช้งานร่วมได้
  • การติดตามบุคคล ในด้านการกำกับตามกระบวนการยุติกรรม ผู้ต้องหา ผู้ต้องโทษ หรือบุคคลที่ต้องจับตามอง เป็นต้น
  • การใช้ประโยชน์ทางด้านการทหาร การกำหนดรายละเอียดสถานที่ ซึ่งมีความสำคัญอย่างมากในด้านการทหาร การสอดแนม เป็นต้น
  • ใช้งานด้านสุขภาพและการกีฬา การวัดความเร็วเพื่อใช้ในการฝึกฝน ระยะทาง ซึ่งนำไปใช้ร่วมกับการคำนวนการเผาผลาญแคลลอรี่ได้อีกด้วย
  • กิจกรรมสันทนาการ เช่นการกำหนดจุดกิจกรรม จุดรวมกลุ่ม การวัดความเร็วการแข่งขัน การเดินป่า การบันทึกเส้นทาง จุด check point หรือใช้กับเครื่องบิน, รถบังคับวิทยุระบบควบคุมที่สามารถติดตามได้
  • การค้าขาย การเดินเรือสินค้า การบอกพิกัดร้านค้า หรือตำแหน่งระบุจากรูปภาพ การโฆษณาเชื้อเชิญโดยระบุตำแหน่งพื้นที่ได้อย่างชัดเจน
  • การติดตามยานพาหนะ สิ่งของ หรือบุคคล ช่วยให้ติดตามหรือเช็คประวัติการเดินทาง ซึ่งจะทำให้ป้องกันการโจรกรรมและติดตามทรัพย์สินให้กู้คืนกลับมาได้

ในปัจจุบันต้องยอมรับว่า ระบบจีพีเอสเข้ามามีบทบาทในการขนส่งหรือการเดินทางเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะใช้เพื่อการท่องเที่ยว หรือประกอบธุรกิจ การที่เราสามารถควบคุม ดูแล จัดการการเดินทางหรือเส้นทางได้ล่วงหน้าหรือได้ทันท่วงที นั้นทำให้การดำเนินการทุกอย่างเป็นไปอย่างราบรื่นและเป็นไปตามที่คาดไว้ อีกทั้งยังช่วยเพิ่มความปลอดภัยให้อีกด้วย

แอพพลิเคชัน Jarviz ก็ใช้ GPS ในการลงเวลาเข้าออก

การเช็คอิน และ เช็คเอาต์ (Check in, Check out), ด้วยระบบ GPS ซึ่งจะทำให้เราสามารถทราบว่าพนักงานแต่ละคนทำงานที่ไหน ถึงอยู่ที่บ้านก็สามารถทราบได้ ไม่ต้องใช้เครื่องสแกนลายนิ้วมือ หรือ เครื่องตอกบัตร ให้เสียค่าใช้จ่าย และ เสียเวลา.

ระบบGPS มีกระบวนการทํางานอย่างไรให้ได้ข้อมูลส่งมายังผู้ใช้
Download ได้ฟรีๆๆ แค่ สมัคร : สมัครเลย!!

นอกจาก Feature การเช็คอิน และ เช็คเอาต์ (Check in, Check out), ด้วยระบบ GPS แล้ว ยังมี Feature อื่น ที่ให้ใช้งานฟรี!!! อีกด้วย เช่น

  • Leave Request : การขอลา

ลาป่วย ลากิจ ลาพักร้อน ไม่ต้องใช้กระดาษกรอกแบบฟอร์มการลา เพียงแค่คลิ๊กก็ลาได้แล้ว

  • Petty Cash : การเบิกเงิน

เบิกเงินโดยไม่ใช้กระดาษให้สิ้นเปลืองอีกต่อไป.

  • News Announcement : ข่าวประกาศ

การประกาศข่าวกิจกรรมของบริษัท

  • Operation Log : บันทึกการทำงานของพนักงาน

การทำงานในแต่ละวันของพนักงาน สามารถติดตามงานประจำวันของพนักงานได้อย่างง่ายดาย ใช้งานได้ทั้งบน Mobile (iOS และ Android) / Website ทำสำคัญ Feature ทั้งหมดนี้ ฟรี!!!

สามารถอ่านรายละเอียดเกี่ยวกับการใช้งาน Application Jarviz เพิ่มเติม ได้ที่ Website : Jarviz

หรือ ใน Facebook : Visit Facebook

Title

พันธมิตรของเรา

ระบบGPS มีกระบวนการทํางานอย่างไรให้ได้ข้อมูลส่งมายังผู้ใช้

เรามุ่งมั่นที่จะส่งมอบผลลัพธ์สำหรับธุรกิจทั้งหมดของคุณ

Page load link
Go to Top