พระพุทธศาสนาเน้นหลักการสร้างศรัทธาด้วยปัญญาอย่างไร

We’ve updated our privacy policy so that we are compliant with changing global privacy regulations and to provide you with insight into the limited ways in which we use your data.

You can read the details below. By accepting, you agree to the updated privacy policy.

Thank you!

View updated privacy policy

We've encountered a problem, please try again.

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ตามหลักพระพุทธศาสนา ศรัทธา (สันสกฤต: श्रद्धा ศฺรทฺธา) หรือสัทธา (บาลี: สทฺธา) หมายถึงความเชื่อ ความเชื่อที่ประกอบด้วยเหตุผล

ศรัทธา 4[แก้]

ศรัทธาในทางพระพุทธศาสนา มีสี่อย่าง คือ

  • กัมมสัทธา เชื่อกรรม เชื่อกฎแห่งกรรม เชื่อว่ากรรมมีอยู่จริง คือ เชื่อว่า เมื่อทำอะไรโดยมีเจตนา คือ จงใจทำทั้งรู้ ย่อมเป็นกรรม คือ เป็นความชั่วความดีมีขึ้นในตน เป็นเหตุปัจจัยก่อให้เกิดผลดีผลร้ายสืบเนื่องต่อไป การกระทำไม่ว่างเปล่า และเชื่อว่าผลที่ต้องการ จะสำเร็จได้ด้วยการกระทำ มิใช่ด้วยอ้อนวอนหรือนอนคอยโชค เป็นต้น
  • วิปากสัทธา เชื่อวิบาก เชื่อผลของกรรม เชื่อว่าผลของกรรมมีจริง คือ เชื่อว่ากรรมที่ทำแล้วย่อมมีผล และผลต้องมีเหตุ ผลดีเกิดจากกรรมดี ผลชั่วเกิดจากกรรมชั่ว
  • กัมมัสสกตาสัทธา เชื่อความที่สัตว์มีกรรมเป็นของตน เชื่อว่าแต่ละคนเป็นเจ้าของ จะต้องรับผิดชอบเสวยวิบาก เป็นไปตามกรรมของตน
  • ตถาคตโพธิสัทธา เชื่อความตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า มั่นใจในองค์พระตถาคต ว่าเป็นพระสัมมาสัมพุทธะ ทรงพระคุณทั้ง 9 ประการ ตรัสธรรม บัญญัติวินัยไว้ด้วยดี ทรงเป็นผู้นำทางที่แสดงให้เห็นว่า มนุษย์ คือเราทุกคนนี้ หากฝึกตนด้วยดีก็สามารถเข้าถึงภูมิธรรมสูงสุด บริสุทธิ์หลุดพ้นได้ ดังที่พระองค์ทรงบำเพ็ญไว้

ธรรมะที่เกี่ยวข้อง[แก้]

ศรัทธา หรือ สัทธาเป็นองค์ประกอบในหลายๆหลักธรรมในทางพระพุทธศาสนา ได้แก่

  • พละ ๕ และ อินทรีย์ ๕ (สัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา)
  • สมชีวิธรรม ๔ (สมสัทธา สมสีลา สมจาคา สมปัญญา)
  • เวสารัชชกรณธรรม ๕ (ศรัทธา ศีล พาหุสัจจะ วิริยารัมภะ ปัญญา)
  • อริยวัฑฒิ หรือ อารยวัฑฒิ ๕ (ศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา)
  • อริยทรัพย์ ๗ (ศรัทธา ศีล หิริ โอตตัปปะ พาหุสัจจะ จาคะ ปัญญา)
  • สัปปุริสธรรม ข้อแรก คือ สัทธัมมสมันนาคโต ประกอบด้วยธรรมเจ็ดประการ อันได้แก่ มีศรัทธา มีหิริ มีโอตตัปปะ เป็นพหูสูต มีความเพียรอันปรารภแล้ว มีสติมั่นคง มีปัญญา
หมายเหตุ

จะเห็นว่าส่วนใหญ่ จะขึ้นด้วยศรัทธา และมีปัญญากำกับอยู่ด้วย

สัทธาเจตสิก[แก้]

ในคัมภีร์พระอภิธรรม มีการกล่าวถึงสัทธา ในลักษณะที่เป็นเจตสิก (คือ ธรรมชาติที่อาศัยจิตเกิด) เรียกว่า สัทธาเจตสิก มีลักษณะดังนี้ คือ

  • มีความเชื่อในกุศลธรรม เป็นลักษณะ
  • มีความเลื่อมใส เป็นกิจ
  • มีความไม่ขุ่นมัว เป็นผล
  • มีวัตถุอันเป็นที่ตั้งแห่งความเชื่อ เป็นเหตุใกล้

สัทธานี้จัดเป็นธรรมเบื้องต้น ในอันที่จะทำให้บุคคล ได้ประกอบคุณงามความดี เป็นบุญกุศลขึ้นมา และสัทธาที่จะเกิดขึ้นได้นั้น ย่อมต้องอาศัยวัตถุอันเป็นที่ตั้งแห่งความเชื่อ ได้แก่ พระรัตนตรัย ผลของกรรม เป็นต้น สัทธานั้นเมื่อเกิดขึ้นย่อมทำให้เกิดความผ่องใส ไม่ขุ่นมัว สามารถดำเนินไปจนเข้าถึงปีติได้

เหตุอันเป็นที่ตั้งแห่งความเลื่อมใสศรัทธา ได้แก่

  • รูปปฺปมาณ เลื่อมใสศรัทธาเพราะเห็นรูปสมบัติสวยงาม
  • ลูขปฺปมาณ เลื่อมใสศรัทธาเพราะเห็นความประพฤติเรียบร้อยเคร่งในธรรมวินัย
  • โฆสฺปปมาณ เลื่อมใสศรัทธาเพราะได้ฟังเสียงอันไพเราะ
  • ธมฺมปฺปมาณ เลื่อมใสศรัทธาเพราะได้สดับฟังธรรมของผู้ที่ฉลาดในการแสดง

ดูเพิ่ม[แก้]

  • จากศรัทธาจนถึงการบรรลุสัจจะ เก็บถาวร 2006-09-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน

อ้างอิง[แก้]

  • พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). "พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์".
  • พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). "พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลธรรม".
  • "พระอภิธัมมัตถสังคหะ".และ"อภิธัมมัตถวิภาวินีฎีกา".

พระพุทธศาสนาเน้นการพัฒนาศรัทธาและปัญญาที่ถูกต้อง

หลัก คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าเป็นหลักความจริงที่พระพุทธองค์ได้ทรงค้นพบโดยมิได้ ทรงสร้างสรรค์ขึ้นเอง และมิได้ทรงรับคำสั่งสอนมาจากเทพเจ้าหรือพระเจ้าองค์ใดทั้งสิ้นดังที่กล่าว แล้วนั้นพระพุทธศาสนาจึงนับว่าเป็นศาสนาที่ต่างไปจากศาสนาอื่นๆอยู่มาก

หลักคำสอนที่สนับสนุนความจริงดังกล่าวนี้ คือ หลักคำสอนเรื่อ  ศรัทธาและปัญญา

ศรัทธา  คือ  ความเชื่อ  ศรัทธาในพระพุทธศาสนาเป็นความเชื่อที่ประกอบด้วยปัญญาหรือเหตุผล ซึ่งเรียกว่า ศรัทธาเพื่อปัญญา แม้ว่าพระพุทธเจ้าจะทรงสอนให้คนมีศรัทธา แต่ศรัทธาของพระองค์นั้นต้องผ่านการพิจารณาไตร่ตรองด้วยปัญญาให้รอบคอบเสียก่อน ดังที่ ทรงสอนชาวกาลามะแห่งเกสปุตตนิคม  ในแคว้นโกศล ว่า

อย่าเพิ่งปลงใจเชื่อ เพียงเพราะฟังตามๆกันมา เพียงเพราะถือปฏิบัติกันสืบๆมา เพียงเพราะข่าวเล่าลือ เพียงเพราะการอ่านตำราหรือคัมภีร์ เพียงเพราะการให้เหตุผลแบบตรรกะ เพียงเพราะการอนุมานเอาตามอาการที่ปรากฏ เพียงเพราะเห็นว่าเข้ากันได้ตรงตามทฤษฎีหรือความคิดเห็นของตน เพียงเพราะเห็นว่ามีรูปลักษณะน่าเชื่อถือ และเพียงเพราะถือว่าสมณะหรือนักบวชผู้นี้เป็นครูของเรา

แต่เมื่อใดได้ใช้ปัญญาพิจารณาโดยรอบคอบแล้ว และเห็นว่าสิ่งที่ทำลงไปนั้น ไม่ทำให้ตนเองและผู้อื่นเดือดร้อน อีกทั้งนักปราชญ์ไม่ติเตียน ก็จงทำสิ่งนั้น แต่หากสิ่งใดเมื่อทำลงไปแล้วตนเองและผู้อื่นเดือดร้อน นักปราชญ์ติเตียน ก็จงอย่าได้ทำสิ่งนั้นเลย

หลักคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้านั้นมีข้อสังเกตประการหนึ่ง คือ หากทรงสอนเรื่องศรัทธาไว้ในที่ใด ก็จะทรงสอนปัญญากำกับไว้ในที่นั้นด้วย นั่นก็หมายความว่า ทรงสอนให้ใช้ศรัทธาที่ประกอบด้วยปัญญาเสมอไป

ตัวอย่างเช่น ในหลักคำสอนหมวด พละ 5 ( ธรรมอันเป็นกำลัง ) ประกอบด้วย ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ และปัญญา หรือใน อริยทรัพย์ 7 ( ทรัพย์ภายในอันประเสริฐ ) ประกอบด้วย ศรัทธา ศีล หิริ  โอตตัปปะ  พหุสัจจะ จาคะ และปัญญา

จะเห็นว่า  ศรัทธาในพระพุทธศาสนาต้องมีปัญญากำกับด้วยเสมอ ซึ่งต่างจากศาสนาอื่นบางศาสนาที่จะสอนให้ศรัทธาอย่างเดียว คือ ถ้าพระคัมภีร์สอนไว้อย่างนี้ ก็จะต้องเชื่อตามโดยไม่มีข้อแม้ ถ้าหากไม่เชื่อถือว่าเป็นคนบาป    แต่สำหรับพระพุทธศาสนา    แม้แต่การสอนหลักธรรมของพระพุทธเจ้า  พระพุทธองค์ก็ไม่ได้ทรงบังคับให้เชื่อตามที่พระองค์สอน พระองค์ทรงแนะนำให้พิจารณาไตร่ตรองด้วยเหตุด้วยผลและเห็นด้วยเสียก่อนแล้วจึงเชื่อ

การพัฒนาศรัทธาและปัญญาที่ถูกต้อง

ศรัทธาในกระบวนการพัฒนาตามหลักพระพุทธศาสนานั้น  หมายถึง  ความเชื่อมั่น ความซาบซึ้ง  ด้วยความมั่นใจในเหตุผลเท่าที่ตนสามารถพิจารณาเห็นได้ โดยมีเหตุผลว่า จุดหมายหรือเป้าหมายที่อยู่ข้างหน้านั้นเป็นไปได้จริงและมีคุณค่าควรที่จะไปให้ถึง ศรัทธาจึงเป็นบันไดขั้นแรกที่จะนำไปสู่ปัญญาหรือความรู้ ซึ่งตรงข้ามกับศรัทธาที่เป็นแบบมอบตัว มอบความไว้วางใจให้กับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง  โดยไม่คิดหาเหตุผล ศรัทธาที่ถูกต้องเป็นสื่อนำไปสู่การพัฒนาปัญญา   แบ่งออกเป็น  4   ประการ    คือ

1. ความเชื่อมั่นในศักยภาพในการเข้าถึงอิสรภาพที่แท้จริงของมนุษย์

( ตถาคตโพธิสัทธา )

2. ความเชื่อมั่นในกฎการกระทำ  ( กัมมสัทธา )

3. ความเชื่อมั่นในผลของการกระทำ (  วิปากสัทธา )

4. ความเชื่อมั่นว่ามนุษย์ต้องรับผิดชอบต่อการกระทำและผลของการกระทำนั้นนั้น       ( กัมมัสสกตาสัทธา )

ปัญญา  หมายถึง  ความรู้  หรือความหยั่งรู้เหตุผล  ปัญญาที่ถูกต้องในกระบวนการพัฒนามีลักษณะ  3  ประการ  คือ

1.  ความรู้จักเหตุแห่งความเสื่อมและโทษของความเสื่อม ( อปายโกศล )

2.  ความรู้จักเหตุแห่งความเจริญและประโยชน์ของความเจริญ ( อายโกศล )

3.  ความรู้จักวิธีการละเหตุแห่งความเสื่อมและวิธีการสร้างเหตุแห่งความเจริญ        ( อุปายโกศล )

จากการที่พระพุทธศาสนาเน้นการพัฒนาศรัทธาและปัญญาที่ถูกต้องดังกล่าว ข้างต้น พระพุทธศาสนาจึงได้ชื่อว่าเป็นศาสนาแห่งเหตุผล หรือเป็นศาสนาแห่งปัญญา     ที่เปิดโอกาสให้ทุกคนได้ใช้สติปัญญาความคิดเห็นของตนพิจารณาอย่างเต็มที่ก่อนแล้วจึงค่อยเชื่อ

เว็บไชต์ sites.google.com/site/samnaokeawda1/…