โคลงสี่สุภาพ 1 บท มี กี่ วรรค

โคลงสี่สุภาพ

                ทุกคนคงเคยเห็นบทร้อยกรองกันมาบ้างแล้วนะคะ บทร้อยกรองของไทยมีหลายประเภท  คนไทยเป็นชาติที่มีพรสวรรค์ในการใช้ภาษาได้อย่างงดงาม โดยเฉพาะสามารถเลือกสรรคำที่มีความไพเราะและเหมาะกับเรื่องราวที่จะประพันธ์เป็นบทร้อยกรองได้อย่างลงตัว ทั้งอักขรวิธี การสัมผัสนอก สัมผัสใน  สัมผัสระหว่างบท  มีคำคล้องจอง  คำครุ คำลหุ รวมทั้งการเกิดระดับเสียงสูงต่ำของอักษรในภาษาไทยก็ยิ่งมีความไพเราะขึ้นไปอีก  คำประพันธ์บางชนิดมีข้อบังคับเรื่องการใช้วรรณยุกต์  ที่นำมาใช้ได้อย่างถูกต้องตามหลักฉันทลักษณ์  ว่าด้วยการแต่งบทร้อยกรองต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นโคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน ร่าย ลิลิต กลบท   ล้วนแต่มีความไพเราะทั้งสิ้น  โคลงสี่สุภาพ  ก็เป็นบทประพันธ์ชนิดหนึ่งที่มีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา    ครูสรคิดว่าโคลงสี่สุภาพนั้นมีความไพเราะ ทั้งการใช้ภาษา และท่วงทำนอง  โคลงสี่สุภาพที่รู้จักกันดี ได้แก่  ลิลิตพระลอ  โคลงโลกนิติ  ลิลิตตะเลงพ่าย  เป็นต้น

                    ครูสรมีโคลงสี่สุภาพที่ยึดเป็นแบบอย่างในการจดจำได้เป็นอย่างดีอยู่บทหนึ่ง  คือ โคลงสี่สุภาพ เรื่องลิลิตพระลอ  ซึ่งนับว่าเป็นโคลงสี่สุภาพที่ประพันธ์ได้อย่างถูกต้องตรงตามข้อบังคับ   มีไม้เอก  ไม้โท  ถูกต้องตามฉันทลักษณ์ของโคลง  ครูสรอยากให้ทุกคนลองศึกษาเอาเป็นต้นแบบนะคะ

ตัวอย่าง  โคลงสี่สุภาพ จาก ลิลิตพระลอ

               ๏ เสียงลือเสียงเล่าอ้าง              อันใด  พี่เอย
เสียงย่อมยอยศใคร                                  ทั่วหล้า
สองเขือพี่หลับใหล                                 ลืมตื่น  ฤาพี่
สองพี่คิดเองอ้า                                       อย่าได้ถามเผือ

ข้อสังเกตุของ  โคลงสี่สุภาพ

1. ใน 1 บาท  จะมี  2  วรรค

2. ใน 1 บท  จะมี 4 บาท

3. ในวรรคแรก  จะมี 5 คำเสมอ

4. ในวรรคหลัง  จะมี 2 คำ  (ไม่นับคำสร้อย)  ยกเว้นบาทที่ 4  คำหลังจะมี 4 คำ

5. ในวรรคหลังของบาทที่ 1  และวรรคหลังของบาทที่ 3  มักมีคำสร้อย

6. ใน 1 บท  จะมีคำทั้งสิ้น 30 คำ  (ไม่นับรวมคำสร้อย)

7. มีคำบังคับที่ต้องใช้วรรณยุกต์ เอก จำนวน 7 แห่ง

8. มีคำบังคับที่ต้องใช้วรรณยุกต์ โท จำนวน 4 แห่ง

9. ตำแหน่งคำที่ใช้วรรณยุกต์ เอก และวรรณยุกต์โท ในบาท ที่ 1  สามารถใช้สลับที่กันได้

10. สามารถใช้คำตาย แทนเสียงเอกได้  กรณีหาคำที่เป็นคำเอกไม่ได้ 

11. สามารถใช้คำที่มีเสียงวรรณยุกต์ โท ได้  แม้ไม่ได้สะกดด้วยวรรณยุกต์โท   เรียกว่า “คำโทโทษ”  เช่น  น้ำท่วม  เขียนเป็น น้ำถ้วม

12. สามารถใช้คำที่มีเสียงวรรณยุกต์ เอก ได้  แม้ไม่ได้สะกดด้วยวรรณยุกต์เอก  เรียกว่า “คำเอกโทษ”  เช่น  “หญ้า” เขียนเป็น  “ญ่า”

13. หากโคลงมีเนื้อหาหลายบทต่อเนื่องกัน  ให้มีคำสัมผัสระหว่างบท  โดยให้คำสุดท้ายของบทต้นสัมผัสกับคำที่ 1 หรือคำที่ 2  หรือคำที่ 3 ของบทต่อ ๆ ไป  จะทำให้มีความไพเราะยิ่งขึ้น

คำสร้อย  ในโคลงสี่สุภาพ

               คำสร้อยเป็นคำที่นำมาใส่ในโคลงสี่สุภาพเพื่อให้เกิดความไพเราะ หรือเพื่อให้เนื้อหาได้ใจความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น  ซึ่งอาจจะมีหรือไม่มีก็ได้ค่ะ  อาทิเช่น พ่อ แม่  พี่   นา  นอ  เอย  รา  ฤา  แฮ  เฮย  เอย  เป็นต้น  คำสร้อยสามารถใช้ได้ทุกบาท  แต่ที่นิยมใช้กันจะเป็นบาท ที่ 1 และบาท ที่ 3   

โคลงสี่สุภาพ 1 บท มี กี่ วรรค

โคลงสี่สุภาพ เป็นคำประพันธ์ประเภทหนึ่งของบทร้อยกรองที่กวีนิยมนำไปใช้กันมากมาย บทเรียนวันนี้ จะพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้เรื่องของโคลงสี่สุภาพ ว่ามีฉันทลักษณ์และลักษณะคำประพันธ์อย่างไร ทำไมถึงได้รับความนิยมในหมู่กวี ไปเรียนรู้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ

โคลงสี่สุภาพคืออะไร

โคลงสี่สุภาพ 1 บท มี กี่ วรรค

โคลง เป็นคำประพันธ์ที่มีการเรียบเรียงถ้อยคำเป็นคณะ มีกำหนดเอกโทและสัมผัส ส่วนสุภาพ หรือเสาวภาพ หมายถึงคำที่ไม่มีวรรณยุกต์ โคลงสี่สุภาพปรากฏในวรรณคดีไทยตั้งแต่สมัยอยุธยา โดยโคลงที่มีชื่อเสียงและได้รับการยกย่องว่าแต่งดี ยอดเยี่ยม ก็คือเรื่องลิลิตพระลอนั่นเองค่ะ

โคลงสี่สุภาพ 1 บท มี กี่ วรรค

ตัวอย่างโคลงสี่สุภาพที่มีชื่อเสียง จากเรื่อง ลิลิตพระลอ

โคลงสี่สุภาพ 1 บท มี กี่ วรรค

ลักษณะคำประพันธ์ของโคลงสี่สุภาพ

โคลงสี่สุภาพ 1 บท มี กี่ วรรค

คณะ 1 บท มี 4 บาท แต่ละบาทมี 2 วรรค วรรคหน้ามี 5 คำ วรรคหลังมี 2 คำ เฉพาะบาทที่ 4 หรือบาทสุดท้ายที่วรรคหลังมี 4 คำ รวมทั้งสิ้น 1 บทจะมี 30 คำ ไม่รวมคำสร้อย ถ้ารวมคำสร้อยด้วยก็จะเป็น 34 คำ

คำสร้อย คือวลีที่ใช้ลงท้ายวรรค มีได้ในวรรคหลังของบาทที่ 1 หรือบาทที่ 3 บาทละ 2 คำ นิยมลงท้ายด้วย พ่อ เฮย แฮ รา ฤา นา นอ เอย ฯลฯ จะใช้เมื่อต้องการขยายความให้ชัดเจนขึ้น เช่น เลย ใช้ในความหมายเชิงปฏิเสธ หรือ ฤๅ มีความหมายเชิงถาม เหมือนกับคำว่า หรือ นอกจากนี้ยังมีคำสร้อยที่มีความหมายอย่าง สร้อยเจตนัง แต่ปกติจะไม่ใช้ในกวีนิพนธ์ที่เป็นพิธีการ

คำเอก – คำโท เป็นการกำหนดเสียงด้วยรูปวรรณยุกต์เอกและรูปวรรณยุกต์โท

คำเอก คือคำที่มีรูปวรรณยุกต์เอกบังคับ รวมถึงคำตายที่เป็นแม่ก กา ประสมกับสระเสียงสั้นกับคำที่สะกดด้วยแม่กก กบ กด ใน 1 บท มีคำเอก 7 คำ

คำโท คือคำที่มีรูปวรรณยุกต์โทบังคับ ใน 1 บท มีคำโท 4 คำ

โคลงสี่สุภาพกำหนดบังคับให้แต่ละบทต้องใช้คำเอก – โท แต่ในถ้าคำตามที่กำหนดไม่ได้ก็จะใช้เป็นคำเอกโทษและคำโทโทษเพื่อแปลงคำให้เป็นคำที่ตรงกับคำที่กำหนด แต่ในปัจจุบันไม่นิยมใช้อีกต่อไปแล้ว

สัมผัส โคลงสี่สุภาพบังคับสัมผัสระหว่างวรรคหรือสัมผัสนอก ดังนี้

  • คำสุดท้ายของบาทที่ 1 ต้องสัมผัสกับคำที่ 5 ของบาทที่ 2 และบาทที่ 3
  • คำสุดท้ายของบาทที่ 2 ต้องสัมผัสกับ คำที่ 5 ของบาทที่ 4

โคลงสี่สุภาพอาจมีสัมผัสภายในวรรคที่เรียกว่าสัมผัสในได้ ซึ่งเป็นได้สัมผัสอักษรและสัมผัสสระ เพื่อให้โคลงไพเราะยิ่งขึ้น

สรุปความรู้โคลงสี่สุภาพ

โคลงสี่สุภาพ 1 บท มี กี่ วรรค

หลังจากเรียนเรื่องโคลงสี่สุภาพและวิธีการแต่งคำประพันธ์แล้ว น้อง ๆ ก็คงจะเข้าใจได้ทันทีเลยใช่ไหมคะ ว่าทำไมโคลงถึงเป็นคำประพันธ์ที่กวีนิยมนำมาใช้ที่สุด นั่นก็เพราะว่า โคลงสี่สุภาพ มีลักษณะบังคับอย่างคำเอกคำโท ทำให้เมื่อแต่งออกมาแล้วก็จะมีความไพเราะและมีเอกลักษณ์ความเป็นไทยอยู่มาก ๆ ด้วยค่ะ เพื่อเป็นการทบทวนและฝึกแต่งโคลงสี่สุภาพให้คล่อง น้อง ๆ สามารถตามไปดูคลิปการสอนย้อนหลังของครูอุ้มได้เลยค่ะ ในคลิปครูอุ้มจะสอนเรื่องฉันทลักษณ์ ลักษณะคำประพันธ์ รวมถึงวิธีแต่งโคลงสี่สุภาพอย่างง่าย ไปดูกันเลยค่ะ

ฝึกแต่งโคลงสี่สุภาพ

โคลงสี่สุภาพ 1 บทมีกี่พยางค์

ข้อบังคับของโคลงสี่สุภาพ 1 บทหนึ่งมี 4 บรรทัด 2 วรรคหน้าของทุกบรรทัด มี 5 พยางค์ วรรคหลังของบรรทัดที่ 1 - 3 มี 2 พยางค์ บรรทัดที่ 4 มี 4 พยางค์ สามารถท่องจำนวนพยางค์ได้ดังนี้ ห้า -สอง (สร้อย 2 พยางค์ มักลงท้ายด้วย นา แฮ เฮย เพื่อรับคำ ต่อคำ เชื่อมคำ) ห้า- สอง ห้า - สอง (สร้อย 1 พยางค์ มักลงท้ายด้วย นา แฮ เฮย เพื่อรับคำ ...

โคลงสี่สุภาพ 2 บาทมีกี่วรรค

ฉันทลักษณ์ของโคลงสี่สุภาพ 1. คณะของโคลงสี่สุภาพ มีดังนี้ - หนึ่งบทมี4 บาท - บาทหนึ่งมี2 วรรค - บาทที่1 2 และ 3 มีจำนวนคำเท่ากัน วรรคหน้ามี5 คำ วรรคหลังมี2 คำ - บาทที่4 วรรคหน้ามี5 แต่วรรคหลังจะมี4 คำ - อาจมีคำสร้อย 2 คำ ในบาทที่1 และบาทที่3 - โคลงสี่สุภาพ 1 บท จะมีจำนวนคำทั้งหมด 30 คำ

โคลงสี่สุภาพมักใช้คำสร้อยกี่คำต่อจำนวนหนึ่งวรรค

๑. คณะ โคลงสี่สุภาพบทหนึ่งมี ๔ บาท บาทที่ ๑ , ๒ , ๓ มีบาทละ ๒ วรรค และมีจำนวนคำเท่ากัน คือ วรรคหน้า มี ๕ คำ ส่วนวรรคหลังมี ๒ คำ บาทที่ ๔ มี ๒ วรรค เช่นกัน แต่เพิ่มจำนวนคำในวรรคหลังอีก ๒ คำ ฉะนั้นวรรคหน้าของโคลงบาทที่ ๔ จึงมี ๕ คำ ส่วนวรรคหลังมี ๔ คำ ๒. พยางค์และคำสร้อย จำนวนพยางค์และคำในแต่ละบท รวมแล้วมี ๓๐ คำ

โคลงสี่สุภาพมีกี่ประเภท

โคลงสุภาพ แบ่งออกเป็น ๗ ชนิด คือ ๑. โคลง ๒ สุภาพ ๒.โคลง ๓ สุภาพ ๓. โคลง ๔ สุภาพ ... .