สัญญาณชีพ มีประโยชน์อย่างไร

สัญญาณชีพ หรือ ชีวสัญญาณ (Vital signs) เป็นอาการที่แสดงสัญญาณถึงการมีชีวิตของมนุษย์ เป็นกระบวนการที่ดำเนินไปเพื่อให้ร่างกายมีชีวิตอยู่ เป็นสิ่งที่บ่งบอกถึงความปกติของชีวิต

สัญญาณชีพหลัก มี 4 อย่าง ได้แก่

1. อุณหภูมิร่างกาย (Body Temperature ย่อว่า T) 
2. ความดันโลหิต (Blood pressure ย่อว่า BP)
3. อัตราการหายใจ (Respiratory rate ย่อว่า RR หรือ R)
4. ชีพจร (อัตราการเต้นของหัวใจ หรือ Pulse หรือ Pulse rate ย่อว่า P)

ในบางสถานการณ์อาจมีค่าอื่นๆ ที่นำมาประเมินร่วมกับสัญญาณชีพ แล้วเรียกว่าเป็น "สัญญาณชีพที่ 5" หรือ "สัญญาณชีพที่ 6" ได้ ค่าอื่นๆ เหล่านี้ เช่น ระดับความเจ็บปวด ระดับน้ำตาลในเลือด ความอิ่มตัวออกซิเจน เป็นต้น

ค่าสัญญาณชีพพื้นฐานเหล่านี้ แตกต่างกันไปตามแต่ละบุคคล ขึ้นกับ อายุ เพศ สภาพร่างกาย สภาพแวดล้อม ห้วงเวลาขณะที่ตรวจ  

การตรวจวัดค่าเหล่านี้ ในเบื้องต้น ก็คือการตรวจสอบว่าร่างกายมีความผิดปกติไปหรือไม่ นั่นเอง ในภาวะปกติสัญญาณชีพอาจเปลี่ยนแปลงได้บ้าง แต่หากเมื่อใดพบความผิดปกติมากขึ้น นั่นหมายถึงร่างกายอาจมีปัญหาสุขภาพได้ 

ลักษณะเบื้องต้นที่สัญญาณชีพสื่อออกมาว่าร่างกายผิดปกติ เช่น ระดับออกซิเจนไม่เพียงพอ ระดับต่ำ ร่างกายเสียน้ำมาก ร่างกายมีอุณหภูมิสูงหรือต่ำเกิน  การติดเชื้อโรค  อัตราการเต้นหัวใจเร็วหรือช้าผิดปกติ เป็นต้น

"เวลาไปโรงพยาบาล ที่คุณพยาบาล ให้ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง วัดความดัน ก็คือการวัดสัญญาณชีพ นี่เอง"

4 สัญญาณชีพพื้นฐาน

1. อุณหภูมิร่างกาย (Body Temperature ย่อว่า T)

อุณหภูมิร่างกายเป็นตัววัดความสมดุลการสร้างความร้อนกับการสูญเสียความร้อน ของร่างกาย 

มี 2 ชนิดคือ อุณหภูมิในร่างกาย วัดได้จากทางปาก หรือ ทวารหนัก  และ อุณภูมิผิว วัดทางรักแร้หรือหน้าผาก

อุณหภูมิร่างกายมนุษย์ ปกติและคงที่อยู่ที่ 36-37 องศาเซลเซียส 

อาจแตกต่างกันได้ ตามสภาพร่างกาย วัย เพศ ระดับฮอรโมน การออกกำลังการ อาหารที่กิน

สภาวะไม่ปกติ 

ถ้าอุณหภูมิสูงเกิน 37.5  คือ การมีไข้ (Fever, Hyperthermia) เป็นไข้ต่ำ หากสูงระดับ 39.5-40 เรียกไข้สูง เกิน 40.5 เรียกว่าไข้สูงมาก อันตรายมาก ในเด็กอาจชัก ในผู้ใหญ่ อาจเพ้อ หลอนได้ หากสูงถึง 43-45 องศา อาจเสียชีวิตได้ใน 2-3 ชั่วโมง 

อุณหภูมิต่ำ กว่า 34-35 องศาฯ ถือว่าผิดปกติ การไหลเวียนเลือดจะช้าลงหรือหยุดทำงาน เป็นภาวะอันตรายเช่นกัน

2. ความดันโลหิต (Blood pressure ย่อว่า BP)

ความดันโลหิต คือแรงดันที่หัวใจต้องทำงานในการสูบฉีดโลหิต หน่วยเป็นมิลลิเมตรปรอท (มม.ปรอท หรือ mm.Hg)

ค่าความดันมี 2 ค่า คือ 1) จังหวะที่หัวใจบีบตัว  และ 2) จังหวะที่หัวใจคลายตัว  ค่าความดันขณะหัวใจบีบตัวจะสูงกว่าขณะคลายตัว 

ค่าความดันโลหิตปกติ อยู่ที่ 120/80 มิลลิเมตรปรอท แต่ระดับที่แสดงว่าสุขภาพดี คือ 110/70

3. อัตราการหายใจ (Respiratory rate ย่อว่า RR หรือ R)

คือกระบวนการแลกเปลี่ยน ออกซิเจนและคาร์บอนไดออกไซด์  ร่างกายหายใจนำออกซิเจนเข้าและขับคาร์บอนไดออกไซด์ออกไป การหายใจมี 2 แบบคือ หายใจภายนอก คือระบบแลกเปลี่ยนอากาศระหว่างปอดกับอากาศภายนอก  และ หายใจภายใน คือการแลกเปลี่ยนออก ออกซิเจนและคาร์บอนไดออกไซด์ ภายในระหว่างเซลล์ต่างๆในร่างกายกับเส้นเลือด 

อัตราการหายใจ ปกติในผู้ใหญ่ อยู่ที่ 20-26 ครั้ง/นาที เด็กวัยรุ่น16–25 ครั้งต่อนาที เด็กแรกเกิด 30-50 ครั้ง/นาที 

ผู้ใหญ่ขณะออกกำลังกาย 35–45 ครั้งต่อนาที

4. ชีพจร (อัตราการเต้นของหัวใจ หรือ Pulse หรือ Pulse rate ย่อว่า P)

คืออัตราการเต้นของหัวใจ วัดจากการหดและขยายตัวของผนังเส้นเลือด ที่เกิดจากการบีบตัวของหัวใจ จังหวะการเต้นของเส้นเลือดก็คือจังหวะการเต้นของหัวใจ นั่นเอง 

การตรวจชีพจร ทั่วไปจะคลำที่ตำแหน่งเส้นเลือดแดง บริเวณข้อมือด้านนอก จะพบง่ายที่สุด ตำแหน่งอื่นๆ ก็คลำได้เช่นกัน อาทิ ที่คาง ขมับ ขาหนีบ

อัตราปกติคือ 70-80  ครั้ง/นาที ในผู้ใหญ่  90-130 ครั้ง/นาที ในเด็ก 

ผู้ใหญ่หากเกิน 100 ครั้ง/นาที หรือ ต่ำกว่า 60 ครั้ง/นาที ถือว่าผิดปกติ

ชีพจรจะเพิ่มขึ้น 7-10   ครั้ง/นาที เมื่ออุณหภูมิร่างกายสูงขึ้น 0.56 องศาฯ

V i t a l S i g n s

สัญญาณชีพ มีประโยชน์อย่างไร

สัญญาณชีพ (V/S) หมายถึง อาการสำคัญที่สุดของสิ่งมีชีวิตที่ช่วยบอกถึงความปกติหรือความผิดปกติของร่างกาย ประกอบด้วย 4 อาการแสดง (Sign อาการที่แพทย์สามารถตรวจพบได้) คือ อุณหภูมิ ชีพจร การหายใจ และความดันโลหิต สัญญาณชีพเป็นสิ่งที่บ่งชี้ถึงสภาวะสุขภาพของบุคคล การวัดสัญญาณชีพใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการตัดสินสภาวะสุขภาพของ ผู้ป่วย การเปลี่ยนแปลงของสัญญาณชีพสามารถบ่งบอกถึงการเปลี่ยนแปลงในการทำหน้าที่ของร่างกายได้

  • ชีพจร (อัตราการเต้นของหัวใจ หรือ Pulse หรือ Pulse rate ย่อว่า P)
  • อัตราการหายใจ (Respiratory rate ย่อว่า RR หรือ R)
  • อุณหภูมิร่างกาย (Body Temperature ย่อว่า T) และ
  • ความดันโลหิต (Blood pressure ย่อว่า BP)

สัญญาณชีพ เป็นอาการที่สามารถตรวจวัดได้ด้วยวิธีการง่ายๆ อาจด้วยตนเอง ยกเว้น ความดันโลหิตที่ต้องมีเครื่องวัด แต่ก็เป็นเครื่องที่ผู้ใหญ่ทุกคนสามารถใช้ได้ ใช้เป็น

สัญญาณชีพ เป็นตัวบอกความมีชีวิต ใช้ประเมินการทำงานของทุกอวัยวะในร่างกายโดยเฉพาะ หัวใจปอด และสมอง นอกจากนั้น ยังมีประโยชน์ทั้งในการประเมิน วินิจฉัยสุขภาพเบื้อง ต้น อาจช่วยวินิจฉัยโรคได้ และยังใช้ในการตรวจติดตามและประเมินผลการรักษา

ค่าของสัญญาณชีพของแต่ละบุคคล ปกติจะไม่เท่ากัน ขึ้นกับ อายุ เพศ และตรวจใน ขณะพัก หรือหลังการเคลื่อนไหว โดยเฉพาะการออกแรง และเมื่อเกิดความผิดปกติหรือเกิดโรค ค่าของสัญญาณชีพก็จะเปลี่ยนแปลงผิดปกติ เช่น เมื่อมีไข้ ชีพจร อัตราการหายใจ จะสูง ขึ้น ความดันโลหิตอาจสูงหรือต่ำอุณหภูมิร่างกายอาจสูงหรือต่ำกว่าปกติ ขึ้นกับความรุนแรงของโรค เป็นต้น

ค่าปกติในผู้ใหญ่

  • ชีพจร อัตราการเต้นของหัวใจ วัดนับจากการใช้นิ้วกลางและนิ้วชี้คลำการเต้นของหลอดเลือดแดงตรงด้านหน้าของข้อมือ (ด้านหัวแม่มือ) ที่อยู่ต่ำกว่าฐานของนิ้วหัวแม่มือ ซึ่งจะประ มาณ 60-100 ครั้งต่อนาที
  • อัตราการหายใจ วัดโดยดูจากการขยายตัวของช่องอก จะประมาณ 12-18 ครั้งต่อนาที
  • ความดันโลหิต ใช้ตรวจวัดจากเครื่องวัด จะประมาณ 90/60-120/80 มิลลิเมตรปรอท
  • อุณหภูมิร่างกาย ค่าปกติจะประมาณ 37+/- 0.5 องศาเซลเซียส/Celsius 

ข้อบ่งชี้ในการวัดสัญญาณชีพ

  1. เมื่อแรกรับผู้ป่วยไว้ใน รพ. หรือ เมื่อแรกรับการดูแลผู้ป่วย
  2. วัดตามระเบียบแบบแผนที่ปฏิบัติของ รพ.หรือตามแผนการรักษาของแพทย์
  3. ก่อนและหลังการผ่าตัด
  4. ก่อนและหลังการตรวจวินิจฉัยโรคที่ต้องใส่เครื่องมือตรวจเข้าไปภายในร่างกาย
  5. ก่อนและหลังให้ยาบางชนิดที่มีผลต่อหัวใจและหลอดเลือด (cardiovascular) การหายใจ และการควบคุมอุณหภูมิร่างกาย
  6. เมื่อสภาวะทั่วไปของร่างกายผู้ป่วยมีการเปลี่ยนแปลง เช่น ความรู้สึกตัวลดลงหรือความรุนแรงของอาการปวดเพิ่มขึ้น
  7. ก่อนและหลังการให้การพยาบาลที่มีผลต่อ v/s เช่น ก่อนให้ผู้ป่วยที่ bed rest มีการ ambulates หรือ ก่อนให้ผู้ป่วยออกกำลังกาย

อุณหภูมิของร่างกาย (Temperature)

อุณหภูมิของร่างกายเป็นความสมดุลระหว่างความร้อนที่ร่างกายผลิตขึ้นกับความร้อนที่สูญเสียไปจาก

สัญญาณชีพ มีประโยชน์อย่างไร

ร่างกาย (การควบคุมอุณหภูมิ - Thermoregulation)
ชนิดของอุณหภูมิร่างกาย มี 2 ชนิด

1. อุณหภูมิภายใน (core body temperature)

  • เป็นอุณหภูมิ deep tissues ของร่างกาย ได้แก่ ศีรษะ (cranium) และ ทรวงอก (thoracic), abdominal และ pelvic cavities
  • มีการเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อยในผู้ใหญ่

Critical range or set point = 36.7 – 37 c (98 – 98.6 F )

2. อุณหภูมิบริเวณผิว (Surface temperature)

  • เป็นอุณหภูมิที่ผิวหนัง, subcutaneous tissues และ fat
  • มีการเปลี่ยนแปลงขึ้น ๆ ลง ขึ้นอยู่กับการไหลเวียนเลือดที่ผิวหนัง และจำนวนของการสูญเสียความร้อนให้กับสิ่งแวดล้อมภายนอก ในผู้ใหญ่ที่มีสุขภาพดีสามารถเปลี่ยนแปลงได้กว้าง อยู่ระหว่าง 20- 40 C (68- 104 F )

การควบคุมอุณหภูมิร่างกาย

  • การควบคุมอุณหภูมิร่างกาย เกิดขึ้นจากความสมดุลของการผลิตความร้อน และการสูญเสียความร้อน ร่างกายผลิตความร้อนออกได้โดย

1. กลไกของร่างกาย (Physiological mechanisms)
1.1 การเผาผลาญสารอาหารในร่างกาย (Metabolism) เช่น สารอาหารโปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน เพื่อให้เกิดพลังงาน และเป็นการสร้างเซลล์ใหม่ หรือซ่อมแซมเซลล์ที่สึกหรอ คนปกติจะมีความร้อนซึ่งถูกผลิตจากการเผาผลาญสารอาหารอย่างน้อย 40 แคลอรี่/ชม./ พท.ผิวของร่างกาย 1 ตร.ม.

1.2 BMR (Basal metabolic rate) อัตราการใช้พลังงานของร่างกายเพื่อดำรงกิจกรรมที่จำเป็น เช่น การหายใจ(breathing) Metabolic rate ลดลง สัมพันธ์กับอายุที่เพิ่มขึ้น

1.3 การทำงานของกล้ามเนื้อ (muscular activity) เช่น อาการหนาวสั่น (shivering) อาการสั่นเพิ่มการผลิตความร้อนได้4-5 เท่า มากกว่าปกติ

1.4 การเพิ่มการหลั่งฮอร์โมนไทร็อกซิน (thyroxine) ซึ่งเป็นฮอร์โมนจากต่อมไทรอยด์ การเพิ่มไทร็อกซิน ทำให้เพิ่มอัตราการเผาผลาญภายในเซลล์มากขึ้น ซึ่งมีผลให้เพิ่มความร้อนมากขึ้น การเพิ่มของฮอร์โมนอิพิเนฟริน และนอร์อิพิเนฟริน (Nor-epinephrine, epinephrine) เป็นฮอร์โมนที่ผลิตจากต่อมหมวกไต ทำให้เพิ่มอัตราการเผาผลาญภายในเซลล์ทำให้ความร้อนถูกผลิตมากขึ้น

1.5 ภาวะไข้ (Fever) ภาวะไข้ จะเพิ่มอัตราการเผาผลาญภายในเซลล์ ดังนั้นจะทำให้อุณหภูมิร่างกายเพิ่มขึ้น เมื่ออุณหภูมิร่างกายเพิ่มขึ้นก็จะผลิตความร้อนมากขึ้น

2. Voluntary mechanisms
2.1 การใส่เสื้อผ้าให้อุ่น (bundling-up)
2.2 การเพิ่มกิจกรรมของร่างกาย (physical activity) เช่น การออกกำลังกาย, การเคลื่อนไหว

2.3 สภาพแวดล้อม การอยู่ในสภาวะแวดล้อมที่อบอุ่นเช่น การนั่งกลางแดด, การนั่งผิงไฟ

การระบายความร้อน ร่างกายระบายความร้อนออกได้โดย
1. Physiologic mechanisms
1.1 Radiation การแผ่รังสีความร้อน หมายถึง การส่งผ่านความร้อนในรูปของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า จากพื้นผิววัตถุหนึ่งไปยังพื้นผิวของอีกวัตถุหนึ่ง โดยไม่มีการสัมผัสกันของทั้ง 2 พื้นผิว เช่น 60% ของความร้อนที่สูญเสียไปทั้งหมดจากร่างกายเปล่าที่อุณหภูมิห้อง เป็นผลมาจากการแผ่รังสีความร้อนจากร่างกายไปสู่ห้อง
1.2 Conduction การนำความร้อน หมายถึง การระบายความร้อนจากพื้นผิวหนึ่งไปยังอีกพื้นผิวหนึ่งโดยการสัมผัสกันโดยตรงระหว่าง พื้นผิวทั้งสอง

การนำความร้อนมี 2 ชนิด
1.2.1 การนำความร้อนไปสู่วัตถุ (conduction to object) เช่น คนตัวเปล่า (ไม่ใส่เสื้อ) นั่งอยู่บนเก้าอี้ที่อุณหภูมิห้องร่างกายจะสูญเสียความร้อน 3% ของความร้อนทั้งหมดที่สูญเสียไปที่เก้าอี้

1.2.2 การนำความร้อนไปสู่อากาศ (Conduction to air) 15% ของความร้อนที่สูญเสียไปทั้งหมดจากร่างกายเปล่าที่นั่งอบู่บนเก้าอี้ที่อุณหภูมิห้องโดยการนำความร้อนจากร่างกายไปสู่อากาศรอบ ๆ ตัว

1.3 การพาความร้อน (Convection) หมายถึง การระบายความร้อนโดยมีกระแสลมพาไป เช่น 15% ของความร้อนที่สูญเสียไปทั้งหมดจากร่างกายเปล่า ที่อุณหภูมิห้อง เป็นผลมาจากการพาความร้อน ความร้อนจะเคลื่อนที่ออกจากร่างกายหลังจากที่มีการนำความร้อนออกมาแล้ว

1.4 การระเหยกลายเป็นไอ (Evaporation) หมายถึง การระบายความร้อนออกมาโดยการระเหยจากพื้นผิวของร่างกาย หรือ การระบายความร้อนออกมาโดยการระเหยของน้ำไปเป็นไอ เช่น 22% ของความร้อนที่สูญเสียไปทั้งหมดจากร่างกายเปล่า ที่อุณหภูมิห้อง คือ ผลของการระเหยของน้ำจากเยื่อบุผิว, ปาก (ลมหายใจ), หรือผิวหนัง (เหงื่อ)

2. Behavioral mechanisms
2.1 การถอดเสื้อผ้า (เสื้อผ้า สิ่งตกแต่งที่ทำให้อุ่น)
2.2 การลดกิจกรรมต่าง ๆ (slow-down)
2.3 เพิ่มพื้นที่ผิวให้สามารถระบายความร้อน
2.4 เคลื่อนย้ายไปอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เย็น

กลไกการควบคุมระดับอุณหภูมิของร่างกาย

การควบคุมอุณหภูมิร่างกายเกิดขึ้นโดยการทำหน้าที่ของศูนย์กลางการควบคุมอุณหภูมิที่Hypothalamus โดยมีกลไกในการปรับตัวเพื่อรักษาระดับความร้อนภายในร่างกายให้คงที่ โดยการผลิตความร้อนและการระบายความร้อน ซึ่งขึ้นอยู่กับปัจจัย 3 ปัจจัย

  1. Thermal regulators
  2. A central integrator ตัวควบคุมใน Hypothalamus
  3. Effectors ผลที่เกิดจากตัวรับความร้อน-เย็นถูกกระตุ้น แล้วเกิดการปรับตัวของศูนย์ควบคุมอุณหภูมิหรือเป็น ผลของการปรับตัว

1. Thermal regulators Sensory receptors for cold and warmth มี 2 ชนิด
1.1 peripheral tissue thermal receptors

  • อยู่ที่ผิวหนัง (sensors ส่วนใหญ่อยู่ในผิวหนัง)
  • ส่งข้อมูลเกี่ยวกับสภาวะแวดล้อมภายนอกไปยังศูนย์กลางการควบคุม

1.2 ตัวรับระดับอุณหภูมิ ที่อยู่ภายในร่างกาย (deep body tissue)

  • อยู่ใน spinal cord, abdominal viscera (ภายใน) และภายนอกเส้นเลือดดำใหญ่ (great veins)
  • ส่งข้อมูลเกี่ยวกับสภาวะแวดล้อมภายในไปยังศูนย์กลางการควบคุม

1.3 ทั้ง 2 ชนิดมีตัวความเย็นมากกว่า ความร้อน

  • 10 cold :1 warmth
  • ดังนั้นจึงต้องให้ความสนใจเกี่ยวกับการป้องกันภาวะ hypothermia มาก เมื่อผิวหนังหนาวเย็น เกินอุณหภูมิร่างกาย จะเกิดกระบวนการทางกายภาพ 3 กระบวนการเพื่อเพิ่มอุณหภูมิร่างกาย
  • อาการสั่นเพิ่มการผลิตความร้อน
  • ยับยั้งการหลั่งเหงื่อ เพื่อลดการระบายความร้อน
  • Vasoconstriction เพื่อลดการระบายความร้อน

2. Central integrator
ได้แก่ Hypothalamus เป็นศูนย์กลางการควบคุมอุณหภูมิภายในร่างกาย
2.1 Posterior hypothalamus ตัวรับสัญญาณ ได้รับสัญญาณจาก peripheral และ deep tissue Thermal receptors พบว่ามีความร้อนเกิดขึ้น ซึ่งอุณหภูมิภายใน (core body temperature) ต่ำกว่า set point เป็นผลมาจากลดการผลิตความร้อนและ/หรือ เพิ่มการระบายความร้อน Hypothalamus จะทำให้เกิดการเพิ่มอุณหภูมิร่างกายเพื่อปรับอุณหภูมิภายในร่างกายให้เข้าสู่อุณหภูมิปกติ โดยการเพิ่มการผลิตหรือการลดการระบายความร้อน
2.2 Anterior hypothalamus ได้รับสัญญาณจาก peripheral + deep tissue thermal receptors พบว่ามีความเย็นเกิดขึ้น ซึ่งอุณหภูมิภายในร่างกายสูงกว่า set point เป็นผลมาจากการเพิ่มการผลิตความร้อนและการลดการระบายความร้อน hypothalamus จะทำให้เกิดการลดอุณหภูมิ การกระตุ้น effectors เพื่อปรับอุณหภูมิภายในร่างกายเข้าสู่ set point โดยลดการผลิตความร้อนและเพิ่มการระบายความร้อน

สรุป 

Anterior Hypothalamus ควบคุมการระบายความร้อน (Heat loss)
Posterior Hypothalamus ควบคุมการผลิตความร้อน (Heat production)

3. Effector 
(ผลของกลไกการรักษาระดับอุณหภูมิในร่างกาย)
1. Blood vessels 

อุณหภูมิร่างกายสูงกว่า set point 

ร่างกายต้องปรับลดอุณหภูมิเกิด vasodilation

อุณหภูมิร่างกายต่ำกว่า set point 

ร่างกายต้องปรับเพิ่มอุณหภูมิเกิด vasoconstriction (heat conservation สงวนความร้อน)
2. Sweat glands

อุณหภูมิร่างกายสูงกว่า set point 

ร่างกายต้องปรับลดอุณหภูมิเกิด sweating

3. Skeletal muscle

อุณหภูมิร่างกายต่ำกว่า set point 

ร่างกายต้องปรับเพิ่มอุณหภูมิเกิด muscle shivering

ปัจจัยที่มีผลต่ออุณหภูมิภายในร่างกาย
1. อายุ อุณหภูมิร่างกายเด็กมีการเปลี่ยนแปลง ไม่มั่นคง ทั้งนี้เนื่องจากศูนย์ควบคุมอุณหภูมิของร่างกายยังทำงานไม่เต็มที่จนกว่าจะถึงวัยผู้ใหญ่ การเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมจึงมีผลต่ออุณหภูมิร่างกายเด็ก ผู้สูงอายุเนื้อเยื่อใต้ผิวหนัง และไขมันมีน้อย และมีการเปลี่ยนแปลงของหลอดเลือด เลือดมาเลี้ยงผิวหนังลดลง ทำให้อุณหภูมิร่างกายต่ำ เสี่ยงต่อภาวะHypothermia ได้ง่าย
2. ช่วงเวลาระหว่างวัน อุณหภูมิร่ายกายปกติจะมีการเปลี่ยนแปลงตลอดทั้งวัน เปลี่ยนแปลงได้มากถึง 1.0c ( 1.8 F )ระหว่างช่วงเช้าและช่วงบ่ายๆ อุณหภูมิสูงสุดระหว่าง 8.00 PM และ 12.00 PM ) และต่ำสุดช่วงที่นอนหลับ 4.00-6.00 AM .
3. Hormone เพศหญิงมีการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิร่างกายมากกว่าเพศชาย ในรอบของการมีประจำเดือน จะมีการหลั่งฮอร์โมน Progesterone มากในระยะที่มีการตกไข่ (ovulation) ซึ่งจะเพิ่มอุณหภูมิภายในร่างกาย 0.3- 0.5 C (0.6 -1.0 F )
4. Stress ผู้ที่มีความเครียดจะทำให้ไปกระตุ้นระบบประสาท ซิมพาธิติก (Sympathetic nervous system) เพิ่มการหลั่งEpinephrine และ nor-epinephrine ซึ่งจะเพิ่มอัตราการเผาผลาญภายในเซลล์ (BMR) จึงมีผลทำให้มีการผลิตความร้อนเพิ่มมากขึ้น
5. Environment อุณหภูมิมากสุดของสภาพแวดล้อม สามารถเพิ่มหรือลดอุณหภูมิของร่างกายได้ ถ้าร่างกายสัมผัส อุณหภูมิแวดล้อมที่เย็น, ร้อนเป็นเวลานาน
6. Exercise การออกกำลังกายอย่างหนัก ซึ่งมีผลเพิ่มการทำงานของกล้ามเนื้อ (Muscular activity) อัตราการเผาผลาญภายในเซลล์ (Metabolic rate) จึงมีผลทำให้มีการผลิตความร้อนเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้อุณหภูมิร่างกายเปลี่ยนแปลง
7. Infection กระบวนการติดเชื้อจาก Bacteria, virus fungi หรือ micro-organisms อื่น ๆ ส่งผลให้ มีการหลั่งendogenous pyrogens ทำให้อุณหภูมิร่างกายสูงขึ้น
8. ภาวะโภชนาการ (nutrition) คนผอมมากจะมีเนื้อเยื่อใต้ผิวหนังน้อย fat น้อย ส่งผลให้อุณหภูมิร่างกายต่ำได้
9. การรับประทานเครื่องดื่มร้อน, เย็น การดื่มเครื่องดื่มร้อนหรือเย็น สามารถทำให้อุณหภูมิภายในช่องปากเปลี่ยนแปลง (0.2 F – 1.6 F )

อุณหภูมิร่างกายปกติแต่ละวัย

1. infant 36.1 –37.7 c (97- 100 F )
2. Child 37-37.6 c (98.6- 99.6 F )
3. Adult 36.5-37.5 c (97.7- 99.5 F )
4. Older adult 36-36.9 c (96.9- 98.3 F )

ภาวะผิดปกติของอุณหภูมิร่างกาย
ภาวะอุณหภูมิร่างกายสูงกว่าปกติ / ไข้ (Fever, pyrexia) เป็นภาวะที่อุณหภูมิภายในร่างกาย (core body temperature)สูงกว่าปกติเกิดจากการเปลี่ยน set point ของอุณหภูมิ ที่ควบคุมโดยHypothalamus โดยเพิ่ม set point หลังจากนั้นร่างกายจะปรับอุณหภูมิให้เข้ากับ new set point ระหว่างนี้ ก็จะมีอาการ chills, shivers + cold

ระดับความรุนแรงของไข้


  1. ไข้ต่ำ (low-grade fever) มีไข้อุณหภูมิระหว่าง 37.1 c – 38.2 C
  2. ไข้สูง (high grade fever) มีไข้สูงอุณหภูมิระหว่าง 38.3 – 40.4 C
  3. ไข้สูงมาก (hyperpyrexia) ไข้สูงอุณหภูมิมากเกิน 41 C

ชนิดของไข้

  1. Constant fever (ไข้คงที่) อุณหภูมิสูงกว่าปกติตลอดเวลา อุณหภูมิคงที่หรือเปลี่ยนแปลงน้อยมากห่างกันไม่เกิน 2 c
  2. Intermittent fever (ไข้เว้นระยะ) อุณหภูมิจะสูงกว่าปกติ อุณหภูมิขึ้น ๆ ลง ๆ ภายใน 24ชม. เป็นตอนบ่าย ๆ หรือตอนเย็น
  3. Remittent fever (ไข้เป็นๆ หายๆ) อุณหภูมิจะสูงขึ้นเสมอ ๆ ภายใน 24 ชม. แต่อุณหภูมิที่ลงจะอยู่เหนือระดับปกติแต่ไม่ถึงระดับปกติ อุณหภูมิเปลี่ยนแปลงมากกว่า 2c ( 3.6 F )
  4. Relapsing fever (ไข้กลับ) อุณหภูมิของร่างกายสูงหลายวัน และก็อาจมีอุณหภูมิลดลงอยู่ในระดับปกติอีกหลายวัน

ระยะของไข้
1. Onset (cold or chill phase) ระยะเริ่มต้น หรือระยะหนาวสั่น เกิดขึ้นเมื่อ กลไกการผลิตความร้อนของร่างกายพยายามที่จะเพิ่มอุณหภูมิร่างกายให้สูงขึ้น ตามอุณหภูมิที่ถูกกำหนดไว้ (เช่นเมื่อมี infection ศูนย์ควบคุมอุณหภูมิถูกระตุ้นให้กำหนดอุณหภูมิที่สูงสุดของไข้ชนิดนั้น ซึ่งตัวกระตุ้นอาจเป็นสารไพโรเจน หรือสารอื่นแล้วแต่สาเหตุของไข้ อุณหภูมิที่ถูกกำหนดให้อยู่ในระดับที่สูงกว่าปกตินี้อาจจะทำให้เพิ่มการผลิตความร้อนทำให้อุณหภูมิของร่างกายสูงขึ้น)

อาการแสดงของระยะหนาวสั่น
  • อัตราการเต้นของชีพจรเพิ่มขึ้น
  • อัตราการหายใจและความลึกของการหายใจเพิ่มขึ้น
  • อาการหนาวสั่น เพื่อเพิ่มการทำงานของกล้ามเนื้อ
  • ซีด, ผิวหนังเย็น เนื่องจาก Vasoconstriction
  • ผู้ป่วยบอกว่าหนาว
  • เล็บซีด จาก Vasoconstriction
  • เหงื่อไม่ออกหรือออกน้อย
  • การเพิ่มอุณหภูมิภายในร่างกาย

2. ระยะดำเนินของไข้ (fever phase)
เกิดขึ้นเมื่อ กลไกการผลิตความร้อนของร่างกายมีอุณหภูมิสูงถึงระดับใหม่ที่กำหนดไว้ (Higher Set point)

อาการแสดงของระยะไข้
  • ไม่มีอาการหนาวเย็น (chills)
  • ผิวหนังอุ่น
  • ความรู้สึกร้อนหรือไม่ก็รู้สึกหนาว
  • กระหายน้ำมากขึ้น
  • ขาดน้ำปานกลางถึงรุนแรง
  • เริ่ม ง่วงซึม (Drowsiness) กระสับกระส่าย (restless ness) หรือ delirium และ ชัก (convulsions) เนื่องจากnerve cells ถูกกระทบ
  • ริมฝีปากลอก (แห้ง)
  • ความอยากอาหารลดลง (ถ้ามีไข้เป็นเวลานาน)
  • กล้ามเนื้ออ่อนแรง (muscle weakness), ปวดกล้ามเนื้อ (Aching muscles) เนื่องจากการสลายโปรตีนในการเพิ่มอัตราการเผาผลาญภายในเซลล์ ร่างกายอ่อนแอ

3. ระยะสิ้นสุดของไข้
เกิดขึ้นเมื่อกลไกการระบายความร้อนของร่างกายทำงานเพิ่มขึ้นพยายามที่จะลดอุณหภูมิภายในร่างกาย (CBT) ไปสู่อุณหภูมิใหม่, ต่ำกว่า set point เพื่อที่จะขจัดสาเหตุของภาวะอุณหภูมิสูงออกไปโดยทันที (เช่นภาวะติดเชื้อ)

อาการแสดงระยะสิ้นสุดของไข้
  • ผิวหนังแดงและรู้สึกอุ่น
  • มีเหงื่อออก
  • อาการหนาวสั่นลดลง (shivering)
  • อาจเกิดภาวะขาดน้ำได้

การพยาบาลผู้ป่วยมีไข้

  1. ดูแลให้ผู้ป่วยพักผ่อน ควรจัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมแก่การพักผ่อน
  2. จัดสภาพแวดล้อมให้อากาศถ่ายเทได้สะดวกเพื่อเพิ่มการระบายความร้อนโดย การพาความร้อน (convection)
  3. ดูแลเช็ดตัวลดไข้ (tepid sponge bath) เพื่อเพิ่มการระบายความร้อนโดยการนำความร้อน (เช็ดตัวลดไข้ผู้ป่วยมีไข้สูง38.0 C )
  4. ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับยาลดไข้ตามแผนการรักษาของแพทย์ เพื่อลดอุณหภูมิ set point ให้อยู่ในระดับต่ำลง (เมื่ออุณหภูมิร่างกาย 38.5 C และควรให้ยาลดไข้ก่อนการเช็ดตัว )
  5. วัดอุณหภูมิร่างกายภายหลังการเช็ดตัว หรือให้ยาลดไข้ 30 นาที
  6. ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับยาปฏิชีวนะตามแผนการรักษาของแพทย์เพื่อทำลายเชื้อจุลชีพซึ่งไปเพิ่ม set point ให้สูงขึ้น
  7. ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับ O2
  8. ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับความอบอุ่นในระยะที่มีอาการหนาวสั่น เช่น hypothermia blanket เพื่อให้ความร้อนของร่างกายส่งผ่านไปยังผ้าห่ม (conduction)
  9. ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับอาหารที่มีโปรตีน และคาร์โบไฮเดรตสูง อาหารอ่อนย่อยง่าย เพื่อเพิ่มพลังงานเพิ่มอัตราการเผาผลาญอาหารภายในเซลล์ ในรายที่เบื่ออาหาร ควรให้รับประทานครั้งละน้อยแต่บ่อยครั้ง
  10. แนะนำให้ดื่มน้ำมากๆ ในรายที่ไม่มีข้อห้าม
  11. บันทึกปริมาณน้ำเข้า-น้ำออก (I/O) เพื่อดูความสมดุลของสารน้ำในร่างกาย
  12. ดูแลจัดหาลิปต์มันทาริมฝีปากให้ผู้ป่วย (ริมฝีปากแห้ง)
  13. ดูแลให้เยื่อบุชุ่มชื้น oral hygiene (ผู้ป่วยปากแห้งได้ เนื่องจากการสูญเสียน้ำ)
  14. เตรียมเสื้อผ้าแห้งให้ผู้ป่วยใส่เพื่อให้สามารถระบายความร้อนได้ดีโดยการนำความร้อน (conduction)
  15. ติดตามการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิร่างกาย
  16. ดูแลเช็ดตัวลดไข้ (tepid sponge bath) เพื่อเพิ่มการระบายความร้อนโดยการนำความร้อน (เช็ดตัวลดไข้ผู้ป่วยมีไข้สูง38.0 C )

ภาวะอุณหภูมิร่างกายต่ำกว่าปกติ (Hypothermia)
ชนิดของ Hypothermia

  1. ภาวะอุณหภูมิต่ำโดยตั้งใจ (มีเป้าหมาย) (induced Hypothermia) CBT ต่ำ อยู่ในช่วง 30-32 c (86- 89.6 F ) เพื่อลดความต้องการใช้ O2 จากร่างกาย metabolic rate, blood loss และ ปกป้องอวัยวะต่าง ๆ ระหว่างการผ่าตัด
  2. ภาวะอุณหภูมิต่ำ โดยไม่ตั้งใจ (accidental hypothermia) การไม่ได้ตั้งใจที่จะเปิดเผยอยู่ในสภาวะแวดล้อมที่หนาวเย็นหรือการแช่อยู่ในน้ำที่เย็น

อาการแสดงของ Hypothermia

  1. อุณหภูมิร่างกายลดลงต่ำกว่าระดับปกติ
  2. ที่ CBT 35 c ( 95 F ) มีอัตราการหายใจเพิ่มขึ้น, การตัดสินใจลดลง, อาการหนาวสั่น
  3. ที่ CBT 35-34 c (95- 93.2 F ) อัตราการเต้นของชีพจรช้าหรืออาจเร็ว, กล้ามเนื้อหดเกร็ง, หนาวสั่น, สับสน
  4. ที่ CBT 34-30 c (93.2- 86 F ) Bradycardia, Hypoventilation, ชักเกร็งทั่วไป metabolic acidosis, coma
  5. CBT 30 c ( 86 F ) ไม่ปรากฏ v/s , ชัดเจน ไม่ดีขึ้นต่อการได้รับยา, coma, cyanosis, รูม่านตาขยาย, ไม่หนาวสั่น, มีอาการของการตาย

อาการของ Hypothermia

  • อุณหภูมิต่ำลง
  • อาการหนาวสั่น, รู้สึกหนาวและสั่น
  • ผิวหนังซีด, เย็น
  • ความดันโลหิตต่ำ (Hypotension)
  • ปัสสาวะออกน้อย
  • ขาดการประสานกันของกล้ามเนื้อ
  • ความจำลดลง
  • มึนงง ง่วงซึม coma

การพยาบาลภาวะ Hypothermia

  1. เคลื่อนย้ายผู้ป่วยออกจากอากาศเย็น
  2. เปลี่ยนเสื้อผ้าที่เย็นออก และนำเสื้อผ้าที่แห้งมาใส่แทน
  3. ดูแลให้ได้รับความอบอุ่น ห่มผ้าหนาๆ กระเป๋าน้ำร้อน
  4. ดูแลให้สภาพแวดล้อมอบอุ่น
  5. ดูแลให้ได้รับสารน้ำ และอาหารที่อุ่น

ชนิดเครื่องมือที่ใช้วัดอุณหภูมิร่างกาย
1. Mercury-in-glass ปรอท มีลักษณะเป็นแท่งแก้ว ปลายข้างหนึ่งโปร่งเป็นกระเปราะ (bulb) ข้างในบรรจุปรอท ซึ่งจะมีขีดบอกอุณหภูมิข้าง ๆ แท่งแก้วเป็น C และ F

  • เมื่อได้รับความร้อนปรอทจะขยายตัวขึ้นไปตามหลอดแก้ว ซึ่งมีขีดบอกอุณหภูมิอยู่ข้าง ๆ ความสูงของปรอทที่ขยายขึ้นไปเป็นการวัดค่าอุณหภูมิของร่างกายผู้ป่วย

ระยะเวลาในการวัดอุณหภูมิ

  • ทางปาก ประมาณ 3-5 นาที
  • ทางรักแร้ ประมาณ 10 นาที
  • ทางทวารหนัก ประมาณ 2-3 นาที
  • การใช้ปรอทวัดอุณหภูมิร่างกาย
  • ทางปาก, รักแร้

ปรอทปลายเล็กยาว ออกแบบเพื่อให้สัมผัสกับเส้นเลือดฝอยในปาก, รักแร้ ได้มากขึ้น
ทางทวารหนัก
ปรอทปลายแดงสั้น ออกแบบเพื่อป้องกันการ Trauma to rectal tissues ระหว่างการสอดใส่ปรอท

ข้อดีของการใช้ปรอทวัดอุณหภูมิร่างกาย

  • สะดวก
  • ไม่แพง
  • ง่ายต่อการใช้
  • ถูกต้องแม่นยำ
  • ยากต่อการติดเชื้อ
  • สามารถใช้ได้หลายครั้งในผู้ป่วยลักษณะเดียวกัน
  • สามารถใช้กับผู้ป่วยที่ต้องแยกห้อง

ข้อเสียของการใช้ปรอทวัดอุณหภูมิร่างกาย

  • การวัดใช้เวลานาน
  • สามารถแตกและปรอทออกมาได้ซึ่งจะอันตราย
  • อ่าน F หรือ c ยาก
  • ไม่สามารถใช้กับผู้ป่วยจำนวนมาก ๆ

2. Digital electronic
วัดอุณหภูมิโดยใช้พลังงานจากแบตเตอรี่หรือไฟฟ้า
การวัด ใช้วัดช่องปาก, ทวารหนัก, รักแร้ โดยจะแยก Probe (สีฟ้า = ปาก + รักแร้, สีแดงใช้กับทวารหนัก)
ระยะเวลาในการวัด ประมาณ 25-50 วินาที

ข้อดีการใช้ Digital electronic

  • สะดวก, ง่ายต่อการใช้, ปลอดภัย, แม่นยำ,รวดเร็วในการวัด, อ่านค่าผู้ป่วยง่าย, probe เสี่ยงต่อการติดเชื้อน้อย ใช้กับผู้ป่วยคนเดียวกันได้บ่อย ๆ ใช้กับผู้ป่วยหลากหลายได้

ข้อเสียการใช้ Digital electronic

  • แพง ต้องซื้อ probe, จะไม่ใช้กับผู้ป่วยแยกห้อง

3. Tympanic membrane
วัดคล้าย otoscope วัดโดยใช้การใส่เครื่องวัดเข้าไปในช่องหู, ใช้เวลาวัดน้อยกว่า 2 วินาที วัด tympanic membrane
ข้อดีของการใช้ Tympanic membrane

  • สะดวก, ง่ายต่อการใช้, ปลอดภัย แม่นยำ, รวดเร็ว, อ่านค่าง่าย, เสี่ยงต่อติดเชื้อน้อย, ใช้กับผู้ป่วยได้บ่อยๆ ในผู้ป่วยคนเดียวกัน, ใช้กับผู้ป่วยหลายคนได้

ข้อเสียของการใช้ Tympanic membrane

  • แพง, probe เป็น disposable, ไม่ใช้กับ Pt แยกเชื้อ

ตำแหน่งที่ใช้วัดอุณหภูมิร่างกาย
1.ปาก

  • ข้อดี วัดง่าย ผู้ป่วยเปลี่ยนท่าได้ ไม่ก่อให้เกิดความลำบากใจและความวิตกกังวล ค่าแม่นยำ เป็นตัวบ่งชี้การเปลี่ยนแปลง CBT ได้อย่างรวดเร็ว
  • ข้อเสีย ผู้ป่วยต้องปิดปากอมปรอทไว้ มีผลจากการรับประทานอาหารหรือน้ำดื่มที่ร้อนหรือเย็น, การสูบบุหรี่ (จำเป็นต้องคอย 15-30 นาที), การเคี้ยวหมากฝรั่ง และการได้รับ O2 face mask

ข้อห้ามในการวัดผู้ป่วยต่อไปนี้

  1. unconscious
  2. มีประวัติชัก
  3. เด็กทารก
  4. มีโรคหรือผ่าตัดช่องจมูกหรือปาก

2. ทางทวารหนัก

  • ข้อดี พิจารณาค่า CBT ได้ แม่นยำมากกว่า
  • ข้อเสีย ไม่ง่ายต่อการใช้ อาจทำให้เกิดความลำบากใจ, ขวยเขินและกังวล, ผู้ป่วยเคลื่อนไหวไม่สะดวก ข้อห้ามไม่ใช้วัดในผู้ป่วยต่อไปนี้ : newborns, ผู้ป่วยมีอาการท้องเสีย, โรคเกี่ยวกับทวารหนักหรือการผ่าตัดทวารหนัก, โรคหัวใจหรือการผ่าตัดโรคหัวใจ, มีแนวโน้มว่าจะมี bleeding ในเด็ก newborns การวัดปรอททางทวารหนัก ทำให้เกิดแผล และ rectal perforations ต้องใช้การหล่อลื่น

3. การวัดทางรักแร้

  • ข้อดี ง่าย ปลอดภัย ไม่ต้องใส่อุปกรณ์เข้าไป (non invasive) ใช้กับ newborns และ uncooperative ได้
  • ข้อเสีย ใช้เวลาในการวัดนาน ต้องให้ Pt อยู่ท่านี้ต่อไปโดยพยาบาลต้องคอยจับ

4. การวัดทาง tympanic membrane

  • ข้อดี วัดค่า CBT ได้ชัดเจน ง่ายต่อการวัด ถ้าผู้ป่วยต้องการเปลี่ยนท่า ทำได้เล็กน้อย ไม่ทำให้ Pt ลำบากใจหรือเขินอายและวิตกกังวล อ่านค่าอุณหภูมิได้แม่นยำ การวัดใช้เวลารวดเร็วมาก (2-5 วินาที) tympanic membrane อยู่ใกล้ Hypothalamus จึง sensitive ต่อการเปลี่ยนแปลงของ CBT
  • ข้อเสีย แพง ไม่ใช้กับ Pt ผ่าตัดหูหรือ tympanic membrane

การเปลี่ยนหน่วยวัดอุณหภูมิ C = (F –32) x 5/9

สัญญาณชีพ มีประโยชน์อย่างไร *

สัญญาณชีพ หรือ ชีวสัญญาณ เป็นกลุ่มของอาการแสดงสำคัญ 4-6 อย่าง ที่บ่งบอกถึงสถานะของกระบวนการสำคัญที่ทำให้ร่างกายมีชีวิตอยู่ได้ ค่าเหล่านี้ใช้เพื่อช่วยในการประเมินสุขภาพกายโดยทั่วไปของบุคคล ช่วยในการวินิจฉัยโรค และช่วยบ่งบอกการฟื้นตัวจากโรค ค่าปกติของสัญญาณชีพของแต่ละบุคคลจะแตกต่างกันไปตามอายุ น้ำหนัก เพศ และสุขภาพโดยรวม

สัญญาณชีพมีอะไรบ้าง

7. ก่อนและหลังการให้การพยาบาลที่มีผลต่อสัญญาณชีพ เช่น ก่อนให้ ผู้ป่วย ambulate / ออกก าลังกาย Page 4 ความหมาย สัญญาณชีพ (Vital Signs) เป็นสิ่งที่บ่งบอกการมีชีวิตของบุคคล ประกอบด้วย 1. อุณหภูมิ (Temperature) 2. ชีพจร (Pulse) 3. การหายใจ (Respiration) 4. ความดันโลหิต (Blood pressure)

ข้อบ่งชี้ในการวัดสัญญาณชีพมีอะไรบ้าง

สรุปความหมายของสัญญาณชีพ หมายถึง สัญญาณที่บ่งบอกถึงการมีชีวิต ซึ่งจะสามารถวัดได้มี องค์ประกอบ 4 อย่าง ได้แก่อุณหภูมิ(Body temperature, T) ชีพจร (Pulse, P) การหายใจ (Respiration, R) และความดันโลหิต (Blood pressure, BP)

ใบบันทึกสัญญาณชีพ เรียกว่าอะไร

เวลาคุณไปโรงพยาบาล คุณพยาบาลเค้าจะจับคุณชั่งน้ำหนัก วัดความดันโลหิตใช่ไหมคะ คุณรู้ไหมว่าเค้าเรียกว่าอะไร ศัพท์ทางการแพทย์เขาเรียกว่า Vital Sign หรือสัญญาณชีพ เพื่อเป็นข้อมูลให้คุณหมอทราบข้อมูลทางสุขภาพของคุณเบื้องต้นก่อน Vital Sign หลักๆก็มี 4 อย่างค่ะ