Google data studio ข้อเสีย

แพลตฟอร์มนี้ยังมีกราฟ แผนภูมิ และแผนที่ เพื่อแสดงข้อมูลของคุณ เป็นภาพ ด้วย GoogleData Studio ทีมของคุณสามารถประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายด้วยการสร้างอ่าน และแชร์รายงานในเวลาไม่กี่นาที การใช้งานและความอเนกประสงค์ของ DataStudio ช่วยให้ธุรกิจของคุณตัดสินใจได้เร็วขึ้นและได้ผลลัพธ์ที่ดีขึ้น

Google Data Studio ใช้งานได้ฟรีหรือไม่
‍ใช่! Google DataStudio ใช้งานได้ฟรี

แม้ว่าซอฟต์แวร์การรายงานจะมีค่าใช้จ่ายหลายพันดอลลาร์แต่ท้ายที่สุดแล้ว Google ยังคงตอบสนองความต้องการของนักการตลาดและเจ้าของธุรกิจด้วยการนำเสนอโซลูชันฟรีสำหรับการรายงานข้อมูลด้วย Google Data Studio คุณมีแพลตฟอร์มที่เรียบง่าย ฟรีและใช้งานง่ายสำหรับการอธิบายข้อมูลที่ซับซ้อน

Google Data Studio เปิดตัวเมื่อใด
‍ในเดือนตุลาคม 2018 Google Data Studio เวอร์ชันฟรีพร้อมใช้งานแล้ว ก่อนหน้านี้ DataStudio เป็นเครื่องมือการรายงานและการแสดงภาพข้อมูลแบบชำระเงินที่เรียกว่า Google Data Studio 360 นับตั้งแต่เปิดตัวบริษัทและเอเจนซีด้านการตลาดดิจิทัลได้นำ Data Studio มาใช้อย่างรวดเร็วเนื่องจากใช้งานง่าย สะดวก และข้อดีอื่นๆ อีกหลายประการ

‍การใช้ Data Studio มีประโยชน์อย่างไร
‍Data Studio มาพร้อมกับคุณประโยชน์หลายประการรวมถึง 9 ข้อต่อไปนี้:

‍1. เข้าถึงตัวเลือกวิดเจ็ตได้ไม่จำกัด
‍ต่างจาก GoogleAnalytics ซึ่งอนุญาตให้มีกราฟหรือแผนภูมิสูงสุด 12 กราฟในรายงาน Google Data Studio ให้คุณรวมวิดเจ็ตจำนวนเท่าใดก็ได้คุณลักษณะนี้ช่วยให้คุณสามารถแบ่งปันและอธิบายข้อมูลของคุณได้หลายวิธีภาพหน้าจอของกราฟในGoogle Data Studio ตัวเลือกวิดเจ็ตประกอบด้วย:

- กราฟความร้อนตามภูมิภาครัฐ หรือประเทศ
- แผนภูมิวงกลม
- กราฟอนุกรมเวลา
คุณยังสามารถแก้ไขวิดเจ็ตเหล่านี้ได้ด้วยเมตริกที่หลากหลายด้วย Google Data Studio คุณมีอิสระอย่างมากในการสร้างรายงานและถ่ายทอดข้อมูลของคุณนั่นคือเหตุผลที่ Data Studio กลายเป็นเครื่องมือสำคัญสำหรับบริษัทต่างๆ

2. ดึงข้อมูลจากหลายแหล่ง
‍อาจเป็นหนึ่งในคุณลักษณะที่เป็นเอกลักษณ์และมีประโยชน์มากที่สุดของGoogleData Studio มาจากความสามารถในการดึงข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต่างๆ ถึง 12 แหล่ง ซึ่งคุณสามารถรวมไว้ในรายงานของคุณได้นั่นหมายความว่าคุณสามารถดึงและรวบรวมข้อมูลจากแพลตฟอร์มที่สำคัญหลายๆแพลตฟอร์มได้ ตัวอย่างบางส่วน

- Google Analytics
- GoogleAds
- YouTube
- SearchConsole

ใช้แพลตฟอร์มเหล่านี้เพื่อสร้างรายงานที่พิจารณาทุกแง่มุมของธุรกิจของคุณภาพหน้าจอของแหล่งที่มาจาก Google Data Studio
ฟีเจอร์นี้ทำให้ Data Studio เป็นร้านค้าครบวงจรสำหรับความต้องการด้านการรายงานของคุณและทำให้รายงานของคุณดูเป็นมืออาชีพอย่างเหลือเชื่อ

3. แชร์รายงาน DataStudio ได้อย่างง่ายดายเมื่อรวบรวมหรือตรวจสอบรายงาน DataStudioที่มีตัวเลือกข้อมูลและเมตริกมากมายคุณอาจต้องการรับความคิดเห็นของสมาชิกในทีม ผู้จัดการบัญชีเฉพาะหรือผู้มีอำนาจตัดสินใจของบริษัทอย่างรวดเร็ว โดยไม่ต้องยุ่งยากเพิ่มเติมการดาวน์โหลดและการส่งไฟล์ถือเป็นการเสียเวลาโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อคุณต้องการคำติชมอย่างรวดเร็ว Google เข้าใจถึงความจำเป็นของการแบ่งปันดังนั้นพวกเขาจึงสร้างความสามารถในการแบ่งปันแบบเดียวกับเครื่องมืออื่นๆ เช่น Googleเอกสาร ไว้ใน Data Studio

ภาพหน้าจอของการแชร์ใน Google Data Studio จะช่วยให้คุณแชร์ลิงก์และอนุญาตให้ผู้อื่นดูและปรับแต่งรายงานของคุณได้ยิ่งไปกว่านั้น ฟีเจอร์นี้ช่วยให้คุณทำการเปลี่ยนแปลงแบบเรียลไทม์ขณะแชร์ได้ทีมงานทั้งหมดของคุณสามารถดูรายงานฉบับเดียวกันและทำการเปลี่ยนแปลงพร้อมกันได้

4. สร้างรายงานที่อ่านง่ายสำหรับทุกคน
‍คุณแบ่งรายงาน Data Studio ออกเป็นหน้าเดียวหรือ 20 หน้าได้ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความยืดหยุ่นและการปรับแต่งของ Google Data Studio ปรับให้เข้ากับความต้องการเฉพาะของบริษัทของคุณทำให้เป็นกระบวนการที่ปราศจากความเครียดในการแบ่งปันข้อมูลที่สำคัญ
ยิ่งไปกว่านั้นคุณสามารถปรับแต่งเลย์เอาต์ของรายงานได้

ง่ายต่อการเปลี่ยนแบบอักษร สี ธีม ขนาดและอื่นๆ เพื่อให้แต่ละรายงานอ่านง่าย นอกจากนี้ คุณสามารถเพิ่มวิดเจ็ตได้ตั้งแต่ 1 ถึง 10
วิดเจ็ตต่อหน้าเลย์เอาต์นี้ทำให้คุณสามารถให้สมาชิกในทีมและผู้มีอำนาจตัดสินใจของบริษัทได้เห็นภาพแคมเปญของคุณจากทุกมุม

5. รับการรายงานแบบไดนามิก
‍แม้ว่าคุณจะสามารถแก้ไขกับทีมของคุณได้ในแบบเรียลไทม์คุณยังสามารถอนุญาตให้ Google Data Studio ดึงข้อมูลแบบเรียลไทม์ลงในรายงานของคุณได้ด้วยคุณสามารถตั้งค่ารายงานของคุณให้อัปเดตและเติมข้อมูลในขณะนั้นให้วิดเจ็ตของคุณโดยอัตโนมัติได้เช่นกันรายงานของคุณทุกชิ้นสามารถปรับแต่งได้เช่นกัน

หากคุณต้องการให้วิดเจ็ตบางตัวแสดงข้อมูลปัจจุบันคุณสามารถทำได้ แต่คุณยังสามารถเก็บชุดข้อมูลไว้เป็นเดือนที่แล้วได้หากต้องการรายงานแบบไดนามิกนี้มีตัวเลือกข้อมูลไม่จำกัดเพื่อให้บริการธุรกิจของคุณได้ดียิ่งขึ้น

6. สร้างประสบการณ์เชิงโต้ตอบ
‍วิดเจ็ตของคุณก็มีชีวิตได้เช่นกัน!กราฟและแผนภูมิของคุณไม่จำเป็นต้องมีมิติเดียวแบ่งปันรายงานของคุณแบบดิจิทัลและให้ผู้นำธุรกิจของคุณคลิกและเปลี่ยนแปลงรายงานเพื่อดูจุดข้อมูลที่ต้องการ

คุณลักษณะแบบโต้ตอบนี้ทำให้ผู้ใช้มองเห็นข้อมูลได้ง่ายสกรีนช็อตของฟีเจอร์แบบอินเทอร์แอกทีฟในGoogleData Studioนอกจากนี้ยังเพิ่มตัวเลือกการปรับแต่งที่ไม่มีที่สิ้นสุดให้กับ Data Studio

การวางกลยุทธ์การตลาดดิจิทัล ไม่ใช่แค่เพียงการนำเสนอแคมเปญที่น่าสนใจ หรือมีช่องทางทำการตลาดที่หลากหลาย สิ่งที่สำคัญที่จะทำให้นักการตลาด และ ผู้ประกอบการทราบได้ว่าผลลัพธ์จากการทำธุรกิจ และ Performance ของแต่ละแคมเปญนั้นไปถึงยังเป้าหมายหรือไม่ นั่นคือการวิเคราะห์ผลลัพธ์ และ การเก็บ Data ที่มีแบบแผน ตรวจสอบได้ รวมทั้งสามารถนำผลวิเคราะห์มาต่อยอดในการทำธุรกิจต่อไปในภายภาคหน้า ซึ่งในปัจจุบันผู้ที่ทำงานการตลาดดิจิทัลอาจใช้เครื่องมือออนไลน์มากกว่า 1 เครื่องมือกันอยู่แล้ว โดยเครื่องมือหลัก ๆ ที่เรารู้จักกันดีก็คือ Google Analytics ระบบวิเคราะห์เว็บไซต์ที่ใช้ในการเก็บ Data หลังบ้านทีสามารถวิเคราะห์ผลลัพธ์จากทางธุรกิจ หรือแคมเปญต่าง ๆ โดยการรวบรวม Data จากแหล่งต่าง ๆ มาไว้ในผลรายงาน ทำให้นักการตลาดสามารถวิเคราะห์

Google Data Studio (GDS) คือ เครื่องมือฟรีที่แสดงผลข้อมูลรายงานในรูปแบบรูปภาพ (Data Visualization) ที่มาจาก Google Analytics โดยผู้ใช้งานสามารถตั้งค่าแสดงข้อมูลที่จำเป็นต่อการใช้งานบน Dashboard ได้ และ เลือกรูปแบบในการประมวลผลรายงานได้เอง ไม่ว่าจะเป็น:

  •   ธีมสีของ Dashboard
  •   รูปแบบการนำเสนอ เช่น กราฟแท่ง Pie Chart 2 มิติ หรือ 3 มิติ และอื่น ๆ
  •   การตั้งค่า Customized เพื่อเลือกแสดงผลลัพธ์แบบเฉพาะเจาะจง

หัวข้อในบทความ

  1. ประโยน์ของเครื่องมือ Data Studio
  2. ฟีเจอร์ต่าง ๆ ใน Google Data Studio
  3. Learning More

ตัวอย่างหน้าตา Google Analytics Dashboard

 

Google data studio ข้อเสีย
ตัวอย่างหน้าตา Google Analytics Dashboard

 ภาพจาก seerinteractive

ประโยน์ของเครื่องมือ Data Studio

  •       เครื่องมือสามารถเชื่อมต่อกับ Live data ได้ และสามารถเข้าถึงผู้ใช้งานได้ถึง 220  connectors
  •       สามารถตั้งค่าได้แบบเฉพาะเจาะจงตามความต้องการของผู้ใช้งาน โดยที่ไม่จำเป็นต้องดึงข้อมูลหลังบ้านออกมาแสดงทั้งหมด
  •       สามารถตั้งค่าการรายงานผลได้อย่างละเอียด โดยในเครื่องมือจะมีการกรอง ฟิลเตอร์เพื่อเลือกหัวข้อการรายงานที่สำคัญมาให้
  •       ใช้งานฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย
  •       ช่วยปรับปรุงเว็บไซต์ และกลยุทธ์ทางการตลาดให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
  •       ช่วยให้นักการตลาดสามารถทำ SEO ได้ถูกจุด เมื่อทราบผลลัพธ์จากการรายงานว่าจุดไหนของเว็บไซต์ หรือแคมเปญไหนจะต้องพัฒนาเพิ่มเติมได้บ้าง

 

ฟีเจอร์ต่าง ๆ ใน Google Data Studio

1 Live Data Connection 

Data Studio เชื่อมต่อกับ Data Source มากกว่า 200 แหล่ง ซึ่งเครื่องมือตัวนี้จะมี Live Data Source ที่ไม่ได้จำกัดการดูข้อมูลย้อนหลัง หากเราต้องการจะกลับไปย้อนดูข้อมูลในอดีต

นอกจากนี้ ผู้ใช้งานยังสามารถเลือก Data ได้หลากหลายแหล่ง (Multiple Sources) เพื่อนำมาประมวลผล และนำเสนอผ่านหน้า Dashboard ของเราเอง ซึ่งเราสามารถออกแบบหน้า Dashboard ให้เปนไปตามที่ต้องการได้ โดยสามารถเลือกเทมเพลตและสีที่ชอบมาออกแบบ เพื่อทำการนำเสนอรายงานได้แบบ Personalization ซึ่งเป็นอีกหนึ่งในข้อดีหากเรากำลังจะนำเสนอรายงานหน้า Dashboard ให้กับทางลูกค้า และสามารถเลือกธีมสีแบรนด์ของทางลูกค้าได้

 

ตัวอย่างวิดีโอการใช้ Google Data Studio

2 Full Customization Controls

หน้า Dashboard ของ Google Data Studio ไม่ได้จำกัดแค่การรายงานใน 1 หน้า แต่ผู้ใช้งานสามารถเพิ่มหน้าเพจได้อีกตามที่ต้องการ พร้อมทั้งสามารถวางชาร์จ และ เนื้อหาได้อย่างหลากหลายอีกด้วย

 

Google data studio ข้อเสีย
ภาพจาก seerinteractive
  • จากภาพด้านบนจะเห็นว่า เครื่องมือจะมีฟีเจอร์การตั้งค่า ธีม และ สี ได้ตามที่ผู้ใช้งานต้องการ
  •       การออกแบบ Layout ไม่ยุ่งยากซ้ำซ้อน ผู้ใช้งานสามารถปรับขนาดรายงานได้ตามชอบใจ ทำให้สามารถเลือกวางกราฟต่าง ๆ ได้มากกว่า 1 กราฟในหน้าเดียว
  •       เครื่องมือนี้เหมาะกับการทำ Pacing Report หรือรายงานที่แสดงให้เห็นว่าเป้าหมายในขณะนี้อยู่ในจุดไหน และเราอยู่ในจุดไหนในขณะนี้ กี่เปอร์เซ็นต์ หรือสามารถแสดงให้เห็นได้ว่า เป้าหมายที่เราต้องการจะไปให้ถึงนั้นเป็นไปได้หรือไม่ และ ต้องทำอย่างไรเพื่อให้ไปถึง Goal ที่ต้องการ

 

3 Dynamic Controls

ความน่าสนใจของเครื่องมือ Data Studio คือการออกแบบรูปแบบการรายงาน Data ได้ตรงกับความต้องการ โดยที่เราไม่ต้องเข้าไปอัปเดตข้อมูลตลอดเวลา ซึ่งตัว Dynamic Control เป็นฟีเจอร์ที่สามารถ…

  • เลือกวันที่ และ Dimension ที่เราต้องการได้ง่าย
  • สามารถนำข้อมูลในแต่ละครเทนต์มาวาง หรือนำออกไปได้โดยไม่ทำให้หน้า Dashboard แต่ละเพจมีการเปลี่ยนแปลง

Drill Down Hierarchy:

ฟีเจอร์นี้จะเป็นหน้ารายละเอียดข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ ที่เราสามารถเลือก Data จากบาง Source ที่จำเป็นมาประมวลผลได้ และเมื่อเราคลิกไปยัง Data จาก Source ที่เราต้องการ ฟีเจอร์นี้ก็จะแสดงรายละเอียดของ Source เหล่านั้นลึกลงไปอีกขั้น

เช่น หากเรามีช่องทางออนไลน์ในการทำคอนเทนต์ หรือโฆษณาจาก Google, Bing และ Yahoo แต่อยากดูเนื้อหาแค่ Google ว่าคอนเทนต์ที่เราทำนั้นมีคนเข้ามาดูจำนวนกี่คนในช่วง 7 วันที่ผ่านมา ผู้ใช้งานสามารถเลือกแค่ Google เพื่อดูรายละเอียดจากช่องทางอื่น ๆ เพิ่มเติมได้อีก ไม่ว่าจะเป็น Data จากช่องทางการค้นหาผ่านอีเมล Referral แหล่งโซเชียล หรือ Organic Search

ชาร์ต drill-down ช่วยให้รายงานของเราละเอียดมากขึ้น และเจาะจงไปยังส่วนสำคัญได้ดีขึ้น ทำให้เราสามารถระบุ Insights ที่จำเป็นต่อการปรับปรุงแคมเปญ และค้นหาจุดบกพร่องของการทำเว็บไซต์ได้เร็วมากขึ้น

 

Google data studio ข้อเสีย
ภาพจาก seerinteractive

 

  • Optional Metrics:

เนื่องจาก Metric ต่าง ๆ บน Google Analytics มีหลากหลาย และเราคงไม่อยากจะแสดงผลลัพธ์ของข้อมูลในทุก ๆ รายละเอียดเมื่อเวลานำเสนอผลงาน ดังนั้นการตั้งค่าเพื่อเลือกดู Metrics ที่ต้องการได้ จะทำให้ผู้ที่นำเสนองานประหยัดเวลาได้มากขึ้น แถมยังโฟกัสที่เนื้อหาสำคัญได้ดีขึ้น

วิธีการเพิ่ม Optional Metrics ก็ไม่ซับซ้อน โดยสามารถคลิกไปยังรูปตามภาพด้านบน ที่เป็นไอคอนข้างลูกศรชี้ลง กดติ๊กเลือกค่าต่างๆ ที่ต้องการแสดงได้เลย และสามารถนำออกได้อย่างง่ายดายหากไม่จำเป็นต้องใช้ หรือมีการเปลี่ยนแปลงแผนงานในอนาคต

Google data studio ข้อเสีย
ภาพจาก seerinteractive

 

  • Custom Bookmarks:

มาถึงเครื่องมือ Customs Bookmarks เจ้าเครื่องมือนี้สามารถตั้งค่ารายงาน และกำหนดตัวกรองของผู้ดูใน URL ของรายงานได้ โดยที่ยังคงไม่มีการเปลี่ยนแปลงค่าเริ่มต้น เพื่อปรับแต่ง Data ที่ต้องการนำเสนอให้หลากหลาย แต่ยังสามารถกลับไปใช้การตั้งค่าแบบตอนต้นได้ในอนาคต ซึ่งมีข้อดีว่าหากเราต้องการดาวน์โหลดข้อมูลเก่า แต่หน้ารายงานมีการปรับเปลี่ยนไปแล้วก่อนหน้านี้ Custom Bookmarks จะเป็นเหมือนกับหน้าหลักหน้าแรกที่เรายังสามารถกลับมาได้ใหม่เสมอ

นอกจากนี้ เมื่อเราเริ่มเปิดใช้งานลิงก์ของ Bookmark การตั้งค่าตัวกรองของผู้ใช้งาน จะถูกเพิ่มเข้าไปใน URL ของรายงาน ทำให้ผู้ใช้งานสามารถย้อนกลับไปยังการตั้งค่าเดิมที่ต้องการได้แบบไม่ต้องกดดูประวัติ หรือตั้งค่าใหม่

Google data studio ข้อเสีย
ภาพจาก seerinteractive

สรุป 

Google Data Studio คือ เครื่องมือฟรีที่เหมาะสมกับการรายงานข้อมูลต่าง ๆ ทั้งแบบ Real-Time และแบบ Personalization อีกทั้งยังสามารถเลือกช่องทางในการนำเสนอได้หลากหลาย ตอบโจทย์กับนักการตลาดและผู้ที่ทำธุรกิจที่มีเว็บไซต์เป็นของตัวเอง โดย Data ที่คัดเลือกมาแสดงบนหน้า Dashboard จะทำให้ผู้ที่รายงานสามารถโฟกัสไปยังสิ่งที่นำเสนอได้เลย และสามารถออกแบบดีไซน์หน้า Dasboard ได้ในรูปแบบ Data Visualization ทำให้การนำเสนองานไม่จำเจ เรียบง่าย และได้เนื้อหาที่เข้าใจแบบเจาะจง