โครงการส่งเสริมผลผลิตเพื่ออาหารนักเรียนในโรงเรียน word

“หนูอยากอิ่มท้อง มีพร้อมด้วยโภชนาการ”  เด็กๆโรงเรียนบ้านเขาน้อยมีอาหารกลางวันเป็นมื้อหลัก ซึ่งมีเพียงแกงถุงตามแต่พอจะหาซื้อได้  เกิดปัญหาด้านสุขภาพไม่พร้อมต่อการเรียนรู้ โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน จึงเป็นโครงการพัฒนาพื้นที่โรงเรียนอย่างยั่งยืน “ขอวอนพี่ๆผู้ใจดีให้เด็กๆอิ่มท้องด้วยค่ะ”

 ที่มา/ความสำคัญโครงการ        :

               โรงเรียนบ้านเขาน้อยเป็นโรงเรียนที่เปิดทำการเรียนการสอนในระดับชั้นอนุบาลปีที่ 1 - ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ตั้งอยู่ หมู่ที่ 16 ตำบลคลองน้อย อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นพื้นที่ชนบท  ผู้ปกครองมีฐานะยากจนและขาดแคลน นักเรียนส่วนใหญ่มีภาวะทางโภชนาการไม่ได้มาตรฐานของกระทรวงสาธารณสุข  อีกทั้งโรงเรียนไม่มีวัตถุดิบที่จะมาประกอบอาหารให้เด็กนักเรียนรับประทานเป็นอาหารกลางวัน จึงต้องซื้อแกงจากท้องตลาดมาให้เด็ก ซึ่งบางวันก็ได้อาหารที่ไม่ครบตาหลักโภชนาการ อีกทั้งโรงเรียนมีความมุ่งหวังจะส่งเสริมโภชนาการให้แก่นักเรียน ปลูกฝังการดำรงชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียงโดยใช้วิถีการปฎิบัติจากการทำเกษตร  สภาพปัจจุบันปัญหาคือ โรงเรียนยังขาดงบประมาณสนับสนุน ขาดแคลนวัตถุดิบที่ สดสะอาด ปลอดภัยและมีคุณค่าทางโภชนาการ  ปัญหาดังกล่าวส่งผลให้เด็กนักเรียนในโรงเรียนมีปัญหาเด็กเสี่ยงขาดสารอาหารจำนวน 12 คน เด็กน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ 8 คนและส่วนสูงต่ำกว่าเกณฑ์ 9 คน รวมเด็กที่มีปัญหาด้านสุขภาพและโภชนาการจำนวน 29 คนหรือคิดเป็น 46 % จากเด็กนักเรียนในโรงเรียนทั้งหมด 63 คน และมีแนวโน้มที่จะสูงขึ้น

            จากปัญหาดังกล่าวส่งผลต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการที่สมวัยของเด็ก หากทางโรงเรียนได้รับการสนับสนุนโครงการเกษตรอาหารกลางวัน จะช่วยให้นักเรียนได้บริโภคอาหารสด สะอาด ปลอดสารเคมี มีคุณค่าทางโภชนาการ เด็กมีสุขภาพที่ดี และเพิ่มโอกาสในการพัฒนาทักษะด้านเกษตรแก่เด็กที่สามารถบูรณาการกับแผนการเรียนการสอนของทางโรงเรียนได้อีกด้วย

แผนดำเนินการต่อ

1. ผลผลิต ที่ได้แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ทำอาหารกลางวันสำหรับเด็ก และจำหน่ายแก่ผู้ปกครอง และชุมชน พร้อมทั้งนำไปฝากขายร้านค้าในชุมชน

2. รายได้จากการขายผลผลิต นำไปซื้อเมล็ดพันธ์ผักเพิ่มเพื่อนำมาปลูกหมุนเวียน ต่อไป และจัดสรรเป็นทุนอาหารกลางวันให้แก่เด็ก

3. แจกเมล็ดพันธุ์ผัก ให้กับนักเรียนที่มีความต้องการนำไปปลูกเพื่อบริโภคในครัวเรือน

ผลประโยชน์ที่ได้รับจากแผนดำเนินการต่อ

1.เด็กได้รับอาหารกลางวันที่ครบถ้วนตามโภชนาการทั้ง 5 หมู่

2.โรงเรียนมีรายได้ที่สามารถนำไปซื้อเมล็ดพันธุ์มาต่อยอดได้

มูลนิธิมีส่วนร่วมพัฒนาโครงการนี้ในด้าน

ด้านความรู้ความเข้าใจในการปลูกผัก - เพาะเห็ด : ทางมูลนิธิศุภนิมิตฯได้มีการพูดคุยร่วมกับผู้บริหารสถานศึกษา โดยอาจารย์ที่มีความรู้ด้านเกษตรจะเป็นผู้รับผิดชอบโครงการและเป็นวิทยากรหลักในการถ่ายทอดความรู้ให้กับอาจารย์และนักเรียนระดับช่วงชั้นที่ 2

หลักเกณฑ์ วิธีการจัดสรรงบประมาณการพัฒนาระบบน้ำดื่มสะอาดในโรงเรียน กองทุนเพื่อโครงการอาหารกลางวันในโรงเรียนประถมศึกษา

1 file(s) 204.72 KB

Download

โครงการส่งเสริมผลผลิตเพื่ออาหารนักเรียนในโรงเรียน word

รายละเอียดตามบัญชีแนบท้าย โครงการส่งเสริมสนับสนุนการบริหารจัดการอาหารนักเรียนในโรงเรียน (กิจกรรมสนับสนุนเพื่อแก้ไขปัญหาภาวะทุพโภชนาการ)

1 file(s) 661.60 KB

Download


  • Facebook iconFacebook
  • Twitter iconTwitter
  • LINE iconLine