อัตราค่าไฟฟ้า มิเตอร์ เกษตร

ค่าไฟหน่วยละกี่บาท คลายข้อสงสัยค่าไฟแพง คิดอย่างไร

          จากปัญหาค่าไฟแพงผิดปกติ ที่กำลังเป็นข่าวดังอยู่ในขณะนี้ ใช้ไฟเท่าเดิมแต่ทำไมค่าไฟแพงขึ้นมาก ทำให้หลาย ๆ คนเริ่มกังวลว่า ค่าไฟที่ใช้อยู่นั้นแพงผิดปกติกับเขาด้วยหรือไม่ จริงหรือไม่ที่สถานการณ์ไวรัสระบาด ต้องอยู่บ้านมากขึ้น ผลกระทบให้ค่าไฟแพง

          หรือค่าไฟขึ้นราคาโดยที่เราไม่รู้ หยิบบิลค่าไฟมาดูใหม่ก็ดูไม่รู้เรื่องอีก แต่ถึงอย่างนั้นก็ตาม ถ้าหากค่าไฟแพงผิดปกติจริง ๆ เราจะทำยังไงได้บ้าง ต้องไปแจ้งไปที่ใคร แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าค่าไฟหน่วยละกี่บาทกันแน่

          วันนี้เราเอาคำตอบเรื่องนี้มาฝากกันว่า หลักในการคิดค่าไฟฟ้าคิดอย่างไร มีค่าใช้จ่ายในการใช้ไฟฟ้าอะไรบ้าง วิธีคำนวณค่าไฟฟ้าที่ถูกต้อง รวมไปถึงรายละเอียดด้านต่างๆ กับคลายข้อสงสัยค่าไฟแพง คิดอย่างไร ค่าไฟหน่วยละกี่บาท

รู้จักกับผู้ให้บริการไฟฟ้าในประเทศไทย

          ก่อนจะรู้ว่าค่าไฟหน่วยละกี่บาท เราต้องรู้ก่อนว่า พื้นที่บ้านพักอาศัยของเรา อยู่ในการดูแลของการไฟฟ้าส่วนไหน ซึ่งการไฟฟ้าในประเทศไทย จะแบ่งส่วนในการบริหารออกเป็น 3 ส่วน แต่ละส่วนงานมีหน้าที่แตกต่างกัน คือ 

  • การไฟฟ้านครหลวง หรือ MEA มีหน้าที่จำหน่ายพลังงานไฟฟ้าให้กับพื้นที่ในเขตจังหวัดกรุงเทพมหานคร นนทบุรี และสมุทรปราการ

การไฟฟ้านครหลวง หรือ MEA
  • การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค หรือ PEA มีหน้าที่ดูแลจำหน่ายไฟฟ้าในพื้นที่อื่น ๆ นอกเหนือจากการไฟฟ้านครหลวงดูแล จะทำหน้าที่เหมือนกันคือ จำหน่ายพลังงานไฟฟ้าให้กับพื้นที่ต่างๆ เพื่อให้คนไทยทุกคนมีไฟฟ้าใช้อย่างมั่นคงและปลอดภัย

อัตราค่าไฟฟ้า มิเตอร์ เกษตร

การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค หรือ PEA
  • การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย หรือ EGAT ทำหน้าที่จัดหาแหล่งพลังงานไฟฟ้า ทั้งผลิตเองและรับซื้อจากโรงไฟฟ้าเอกชน และพลังงานไฟฟ้าประเทศเพื่อนบ้าน ผลิตไฟฟ้าส่งเข้าสู่ระบบอย่างเดียว ส่งไปให้ MEA และ PEA เพื่อนำพลังงานไฟฟ้าเหล่านั้น ส่งต่อให้ผู้ใช้บริการในพื้นที่ต่อไป

ค่าไฟหน่วยละกี่บาทขึ้นอยู่กับประเภทผู้ใช้งานไฟฟ้า

          การเก็บค่าไฟฟ้านั้น ค่าไฟหน่วยละกี่บาทอาจจะไม่เท่ากัน เพราะการไฟฟ้าจะเรียกเก็บค่าไฟ โดยคิดตามประเภทของการใช้งาน ซึ่งการเรียกเก็บค่าไฟฟ้าหน่วยละกี่บาท 2564 การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคได้แยกประเภทผู้ใช้งานออกเป็น 8 ประเภทหลักๆ ไว้ดังนี้

  • บ้านพักอยู่อาศัย บ้านพักอาศัย ที่อยู่ที่รวมไปถึงวัดและสถานประกอบศาสนกิจของทุกศาสนา ตลอดจนถึงบริเวณที่เกี่ยวข้องกัน โดยการต่อไฟฟ้าผ่านมิเตอร์เครื่องวัดไฟฟ้าเครื่องเดียวกัน
  • กิจการขนาดเล็ก ที่ใช้ไฟฟ้าเพื่อประกอบธุรกิจ ที่รวมเอาธุรกิจกับบ้านพักอาศัย อุตสาหกรรม ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ สำนักงาน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สถานทูต สถานที่ทำงานของหน่วยงานต่างประเทศ หรือหน่วยงานต่างๆ ตลอดทั้งบริเวณที่เกี่ยวข้อง ซึ่งมีความต้องการกำลังไฟฟ้าเฉลี่ยใน 15 นาทีสูงสุด ต่ำกว่า 30 กิโลวัตต์ โดยการต่อผ่านมิเตอร์เครื่องวัดไฟฟ้าเครื่องเดียวกัน
  • กิจการขนาดกลาง ที่ใช้ไฟฟ้าเพื่อประกอบธุรกิจ อุตสาหกรรม ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ สำนักงาน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สถานทูต หรือหน่วยงานต่างๆ ตลอดทั้งบริเวณที่เกี่ยวข้อง ซึ่งมีความต้องการกำลังไฟฟ้าเฉลี่ยใน 15 นาที สูงสุดในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง ตั้งแต่ 30 กิโลวัตต์ แต่ไม่ถึง 1,000 กิโลวัตต์ โดยการต่อผ่านมิเตอร์เครื่องวัดไฟฟ้าเครื่องเดียวกัน
  • กิจการขนาดใหญ่ ที่ใช้ไฟฟ้าเพื่อประกอบธุรกิจ อุตสาหกรรม ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ สำนักงาน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สถานทูต หรือหน่วยงานต่างๆ ตลอดทั้งบริเวณที่เกี่ยวข้อง ซึ่งมีความต้องการกำลังไฟฟ้าเฉลี่ยใน 15 นาที สูงสุดในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง ตั้งแต่ 1,000 กิโลวัตต์เป็นต้นไป หรือเฉลี่ย 3 เดือน ก่อนหน้าเกินกว่า 250,000 หน่วยต่อเดือน โดยการต่อผ่านมิเตอร์เครื่องวัดไฟฟ้าเครื่องเดียวกัน
  • กิจการเฉพาะอย่าง ที่ใช้ไฟฟ้าเพื่อประกอบกิจการ เช่น โรงแรมกิจการให้เช่าพักอาศัย ตลอดถึงบริเวณที่เกี่ยวข้อง ซึ่งมีความต้องการไฟฟ้าเฉลี่ยใน 15 นาที สูงสุดในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง ตั้งแต่ 30 กิโลวัตต์ขึ้นไป โดยการต่อผ่านมิเตอร์เครื่องวัดไฟฟ้าเครื่องเดียวกัน
  • องค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไร ที่มีวัตถุประสงค์ในการให้บริการโดยไม่คิดค่าตอบแทน โดยการต่อผ่านมิเตอร์เครื่องวัดไฟฟ้าเครื่องเดียวกัน แต่ไม่รวมส่วนราชการ สำนักงาน หน่วยงานอื่นของรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ 
  • สูบน้ำเพื่อการเกษตร หมายถึง การใช้ไฟฟ้าสำหรับเครื่องสูบน้ำเพื่อการเกษตรของหน่วยราชการ สหกรณ์การเกษตร กลุ่มเกษตรกรที่จดทะเบียนกลุ่ม กลุ่มเกษตรกรที่หน่วยราชการรับรอง โดยการต่อผ่านมิเตอร์เครื่องวัดไฟฟ้าเครื่องเดียวกัน
  • ผู้ใช้ไฟฟ้าชั่วคราว เช่น การใช้ไฟฟ้าสำหรับงานก่อสร้าง งาน หรือสถานที่ที่จัดขึ้นเป็นพิเศษชั่วคราว สถานที่ที่ไม่มีทะเบียนบ้าน โดยการต่อผ่านมิเตอร์เครื่องวัดไฟฟ้าเครื่องเดียว

การคิดค่าไฟฟ้าค่าไฟหน่วยละกี่บาทคิดจากอะไร

          จากการที่การไฟฟ้าได้คิดค่าไฟต่อหน่วยแตกต่างกัน ตามประเภทของการใช้งาน ทำให้ค่าไฟหน่วยละกี่บาทแตกต่างกันออกไป หลายคนอาจสงสัยว่า แล้วประเภทบ้านพักที่อยู่อาศัย มีการคิดค่าไฟหน่วยละกี่บาทกันแน่ เพราะมีการคิดค่าไฟต่อหน่วยถึง 3 รูปแบบการใช้งานและปริมาณการใช้ไฟ ซึ่งเรียกวิธีแบบนี้ว่า การคิดค่าไฟอัตราปกติแบบก้าวหน้า ซึ่งมีรายละเอียดแยกไว้ดังนี้ 

  • อัตราค่าไฟฟ้าของบ้านที่อยู่อาศัยประเภทที่ 1 หมายถึง บ้านที่มีการติดตั้งมิเตอร์วัดไฟขนาดไม่เกิน 5 แอมป์ และใช้ไฟไม่เกิน 150 หน่วยต่อเดือน โดยเริ่มต้นที่หน่วยละ 2.3488 – 4.4217 บาท และค่าบริการเดือนละ 8.19 บาท
  • อัตราค่าไฟฟ้าของบ้านที่อยู่อาศัยประเภทที่ 2 หมายถึง บ้านที่ติดตั้งมิเตอร์เกินขนาด 5 แอมป์ หรือไม่เกิน 5 แอมป์ แต่ใช้ไฟเกิน 150 หน่วยต่อเดือน ติดต่อกันเป็นเวลา 3 เดือน จะเริ่มต้นที่หน่วยละ 3.2484 – 4.4217 บาท และค่าบริการเดือนละ 38.22 บาท
  • อัตราค่าไฟฟ้าของบ้านที่อยู่อาศัยประเภทที่ 3 หรือ TOU (Time of Use Rate) หมายถึง บ้านที่มีการติดตั้งมิเตอร์วัดไฟ แบบคิดค่าไฟตามช่วงเวลาการใช้งาน ในช่วงเวลา Peak หรือ Off Peak โดยค่าไฟฟ้าจะเริ่มต้นที่หน่วยละ 2.6037 - 5.7982 บาท และค่าบริการเดือนละ 38.22 บาท สำหรับแรงดันต่ำกว่า 22 กิโลโวลท์ หรือ 312.24 บาทต่อเดือน สำหรับแรงดัน 22 - 33 กิโลโวลท์

การคิดคำนวณค่าไฟอัตราปกติแบบก้าวหน้าคืออะไร

          ปัจจุบันค่าไฟหน่วยละกี่บาท การไฟฟ้าจะคิดตามปริมาณการใช้งานจริง เรียกว่าการคิดคำนวณค่าไฟอัตราปกติแบบก้าวหน้า เป็นการคิดค่าไฟแบบขั้นบันได โดยในแต่ละขั้นจะมีราคาต่อหน่วยแตกต่างกันไป หมายความง่าย ๆ คือ ถ้ายิ่งเราใช้ไฟฟ้าในปริมาณมาก ค่าไฟฟ้าก็จะยิ่งแพงมากขึ้นด้วยนั่นเอง ค่าไฟหน่วยละกี่บาทจึงขึ้นอยู่กับปริมาณการใช้ไฟ

  • สำหรับผู้ใช้ไฟประเภทที่ 1 หรือบ้านพักอาศัย ที่มีการใช้ไฟไม่เกิน 150 หน่วยต่อเดือน การคิดอัตราค่าไฟแบบก้าวหน้า คิดดังนี้

  • 15 หน่วยแรก ระหว่างหน่วยที่ 1-15   จะคิดหน่วยละ 2.3488 บาท

    • 10 หน่วยถัดไป ระหว่างหน่วยที่ 16-25 จะคิดหน่วยละ 2.9882 บาท
    • 10 หน่วยถัดไป ระหว่างหน่วยที่ 26-35 จะคิดหน่วยละ 3.2405 บาท
    • 65 หน่วยถัดไป ระหว่างหน่วยที่ 36-100 จะคิดหน่วยละ 3.6237 บาท
    • 50 หน่วยถัดไป ระหว่างหน่วยที่ 101-150 จะคิดหน่วยละ 3.7171 บาท

          ส่วนบ้านพักอาศัยที่มีการใช้ไฟฟ้าเกิน 150 หน่วยต่อเดือน มีอัตราการคิดค่าไฟฟ้าก้าวหน้า ดังนี้

  • 150 หน่วยแรก ระหว่างหน่วยที่ 1 - 150  จะคิดหน่วยละ 3.2484 บาท
  • 250 หน่วยถัดไป ระหว่างหน่วยที่ 151 - 400 จะคิดหน่วยละ 4.2218 บาท
  • หน่วยที่ 401 ขึ้นไป จะคิดราคาหน่วยละ 4.4217 บาท

รู้หรือไม่ บิลค่าไฟฟ้าที่เรียกเก็บในแต่ละเดือน ประกอบด้วยอะไรบ้าง

          ค่าไฟหน่วยละกี่บาทประกอบไปด้วยปัจจัยต่าง ๆ ก่อนอื่นเรามาดูกันว่า ส่วนประกอบในบิลค่าไฟฟ้า ที่เราได้รับในแต่ละเดือนมีอะไรบ้าง โดยในบิลเรียกเก็บค่าไฟหน่วยละกี่บาท การไฟฟ้าจะแบ่งออกเป็น 3 ส่วน เพื่อให้เราดูได้ง่ายขึ้นว่า หากมีการเรียกเก็บเพิ่มขึ้นหรือลดลงนั้น มาจากต้นทุนด้านใดบ้าง ซึ่งมีส่วนประกอบ ดังนี้

ค่าไฟฟ้าเรียกเก็บ หรือค่าไฟฟ้าฐาน

          เป็นค่าการใช้งานไฟฟ้า ที่จะมีการปรับอัตราทุก ๆ 3 - 5 ปี โดยจะพิจารณาจากค่าใช้จ่ายในการลงทุนการผลิต การจัดส่ง และการจำหน่ายไฟฟ้าของการไฟฟ้า รวมถึงค่าใช้จ่ายการดำเนินงาน และผลตอบแทนในการขยายการลงทุนในอนาคต เพื่อนำไปเป็นรายได้สำหรับใช้พัฒนาประเทศ

ค่า FT หรือค่าไฟฟ้าผันแปร

          นอกจากค่าไฟหน่วยละกี่บาทที่คิดจากการใช้งานจริงแล้ว ยังมีค่าบริการที่เราต้องจ่ายเพิ่มที่เรียกว่า ค่าไฟฟ้าผันแปร หรือค่า FT Fuel Adjustment Charge (at the given time) ด้วย ซึ่งค่า FT ที่เราเห็นในบิลค่าไฟฟ้านั้น มาจากต้นทุนค่าเชื้อเพลิงที่ใช้ในการผลิตไฟฟ้า ค่าซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตเอกชน และจากประเทศเพื่อนบ้าน รวมไปถึงค่าใช้จ่ายต่างๆ เช่น ค่าขยายเสาไฟฟ้า ค่าอุปกรณ์เสาไฟฟ้า ต้นทุนค่าเชื้อเพลิง ฯลฯ

          ในส่วนของค่า FT นั้น การไฟฟ้าจะไม่สามารถควบคุมเป็นตัวเลขที่แน่นอนได้ โดยค่า FT จะมีการปรับเปลี่ยนทุกๆ  4 เดือน โดยคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) เป็นผู้ดูแลการที่ค่า FT จะมากขึ้นหรือน้อยลง ก็จะขึ้นอยู่กับตัวแปรต่างๆ 

ค่าภาษีมูลค่าเพิ่ม

          การไฟฟ้าเรียกจะเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ใช้ไฟฟ้า โดยจะคิดในอัตราร้อยละ 7 ของค่าไฟฟ้าฐานและค่าไฟฟ้าผันแปร (ค่า FT)

ค่าไฟหน่วยละกี่บาทคำนวณด้วยตัวเองได้ง่าย ๆ

ค่าไฟหน่วยละกี่บาทคำนวณด้วยตัวเองได้ง่าย ๆ

          ค่าไฟหน่วยละกี่บาทสามารถตรวจสอบเองได้เช่นกัน เพราะเมื่อดูจากบิลค่าไฟฟ้าแล้ว หลาย ๆ คนอาจจะไม่แน่ใจว่า ถูกต้องตามการใช้งานจริงหรือไม่ ค่าไฟหน่วยละกี่บาทจะตรงกันหรือไม่ เราสามารถที่จะคำนวณค่าไฟด้วยตัวเองง่าย ๆ ได้เช่นกัน โดยเริ่มจากการคิดค่าไฟพื้นฐาน เช่น ถ้าภายใน 1 เดือน มีการใช้ไฟฟ้า 100 หน่วย

          การคิดคำนวณเฉพาะค่าไฟหน่วยละกี่บาท ทำดังนี้

  • หน่วยที่ 1-15 คิดหน่วยละ 2.3488 บาท ต้องเอา 15 x 2.3488 = 35.23 บาท
  • หน่วยที่ 16-25 คิดหน่วยละ 2.9882 บาท ต้องเอา 10 x 2.9882 = 29.88 บาท
  • หน่วยที่ 26-35 คิดหน่วยละ 3.2405 บาท ต้องเอา 10 x 3.2405 = 32.41 บาท
  • หน่วยที่ 36-100 คิดหน่วยละ 3.6237 บาท ต้องเอา 65 x 3.6237 = 235.54 บาท

เมื่อรวมการใช้ไฟทั้งหมดของเรา คือ 15 + 10 + 10 + 65 จะได้ออกมา = 100 หน่วย 

รวมค่าปริมาณการใช้ไฟ = 35.23 + 29.88 + 32.41 + 235.54 = 333.06 บาท

เมื่อรวมกับค่าบริการ คือ 8.19 บาท ดังนั้น 333.06 + 8.19 = 341.25

          สรุปค่าไฟฟ้าพื้นฐานค่าไฟหน่วยละกี่บาท ที่ต้องเรียกเก็บจริงคือ 341.25 บาท ซึ่งค่าไฟฟ้าตรงนี้รวมค่า FT แล้ว แต่ยังไม่รวมค่าภาษีมูลค่าเพิ่ม

          ส่วนการคำนวณค่า FT สมมุติว่าตอนนี้ค่า FT อยู่ที่ 11.50 บาท ตามนโยบายของ กกพ. (คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน) โดยการคำนวณทำดังนี้ คือ นำค่าไฟฟ้าฐานที่คำนวณออกมาได้ลบกับค่า FT เราก็จะได้ค่าไฟฟ้าก่อนที่จะรวมค่าภาษีมูลค่าเพิ่ม

ค่าไฟฟ้าฐาน 341.25 - ค่า FT 11.50 = 329.75 บาท

          จากนั้นก็นำผลที่ได้ไปคำนวณกับค่าภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% แล้วนำเอาผลที่ได้ มาบวกกับค่าไฟพื้นฐาน ที่รวมค่า FT อีกครั้ง ก็จะได้ค่าไฟฟ้าที่ต้องจ่ายจริง

ค่าไฟฟ้า 329.75 x ภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% = 23.08 

*ก็จะเท่ากับค่าไฟฟ้า 329.75 + ภาษีมูลค่าเพิ่ม 23.08 = 352.83 บาท จึง = ค่าไฟที่ต้องจ่ายจริง *

          หรือสามารถคำนวณว่าค่าไฟหน่วยละกี่บาทผ่านเว็บไซต์การใช้ไฟฟ้าได้ง่าย ๆ เช่นกันที่ https://www.mea.or.th/aboutelectric/116/280/form/12

          ปัจจุบันทั้งการไฟฟ้านครหลวง และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค มี Website และ Application ในโทรศัพท์มือถือสมาร์ตโฟน เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้ไฟฟ้าทั่วไป สามารถเข้าไปดูข้อมูลรายละเอียดต่าง ๆ เช่น เช็กดูว่าค่าไฟหน่วยละกี่บาท แจ้งปัญหาการใช้ไฟฟ้า การไฟฟ้าขัดข้อง หรือค่าไฟฟ้าแพง ได้ที่

  • การไฟฟ้านครหลวง https://www.mea.or.th/intro และ Call Center 1130 
  • การไฟฟ้าภูมิภาค https://www.pea.co.th และ Call Center 1129 

          ถึงเราอาจจะเช็กด้วยตัวเองได้ว่าค่าไฟหน่วยละกี่บาท แต่หากยังไม่แน่ใจว่า มีปัญหาจากค่าไฟแพงมากกว่าการใช้งานจริง ก็สามารถยื่นเรื่องร้องเรียน ให้ตรวจสอบข้อเท็จจริงได้ที่ การไฟฟ้านครหลวง และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค หากเกิดปัญหาจากไฟฟ้ารั่ว เกิดความผิดปกติจากตัวมิเตอร์เครื่องวัดไฟฟ้า หรือเกิดปัญหาจากระบบไฟฟ้าของหน่วยงาน การไฟฟ้าจะทำการชดเชยให้

          แต่ในเบื้องต้นก็ต้องลองสำรวจตรวจดูการใช้ไฟฟ้าภายในบ้านของเรา รวมไปถึงอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าชนิดต่าง ๆ ว่า อยู่ในสภาพสมบูรณ์ด้วยหรือไม่ เพื่อจะได้เป็นการช่วยประหยัดพลังงาน ป้องกันปัญหาค่าไฟแพงด้วยอีกทาง และนี่ก็เป็นเรื่องราวค่าไฟและการคำนวณค่าไฟหน่วยละกี่บาท

------------

ติดตามเว็บไซต์ข่าวสารอสังหาฯ และการลงทุนคอนโด ของเราได้ที่

Website : https://www.condonewb.com/
Facebook : https://www.facebook.com/CondoNewb
Youtube : https://www.youtube.com/c/CondonewbChannel/