โครงการซ้อมแผนอัคคีภัย doc

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ตามมาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ มาตรฐานที่ 1 การบริหารจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ตัวบ่งชี้ 1.3 การบริหารจัดการสภาพแวดล้อมเพื่อความปลอดภัย และตัวบ่งชี้ 1.4 การจัดการเพื่อส่งเสริมสุขภาพและการเรียนรู้
    ปัญหาความปลอดภัยและการบาดเจ็บในเด็กปฐมวัยแสดงให้เห็นถึงความสำคัญในการสอนให้เด็กรู้จักปฏิบัติตนให้ปลอดภัยจากสถานการณ์ต่างๆ ที่อาจเกิดอันตรายกับตัวเด็กเอง เนื่องด้วยกระบวนการพัฒนาทางสติปัญญาของเด็กเล็กที่ยังไม่ได้พัฒนาไปถึงขั้นการเข้าใจความสัมพันธ์ของความเป็นเหตุเป็นผล ทำให้เด็กในวัยนี้เป็นวัยที่บาดเจ็บได้ง่าย และเด็กปฐมวัยยังไม่สามารถป้องกันตนเองจากสถานการณ์อันตรายได้ เด็กวัยนี้มีความอยากรู้อยากเห็นและความต้องการลงมือกระทำด้วยตนเอง ดังนั้นเด็กปฐมวัยจึงเป็นวัยที่ต้องถูกสอนและได้ปฏิบัติซ้ำๆ ในเรื่องความปลอดภัย การให้เด็กได้ทำกิจกรรมช้ำๆ ที่ได้ใช้ร่างกายในการมอง ฟัง และเคลื่อนไหว ทำให้เด็กได้ซึมซับข้อมูลที่เป็นนามธรรมได้ง่าย หลักในการป้องกันการเสียชีวิตและการบาดเจ็บที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางว่าเป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพ ได้แก่ การปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมให้ปลอดภัยและเพิ่มการควบคุมดูแลให้มากขึ้น การสอนเด็ก ให้ป้องกันตนเอง และการปฏิบัติตามมาตรการความปลอดภัยที่ไม่ทำให้เด็กและผู้ปกครองรู้สึกถูกบังคับ เช่นการคาดเข็มขัดนิรภัย ต้องทำให้เด็กและผู้ปกครองรู้ว่าเมื่อขึ้นรถต้องคาดเข็มขัดนิรภัยทันที เป้าหมายสูงสุดของการเรียนเรื่องความปลอดภัย คือทำให้เด็กปฐมวัยเกิดการลงมือปฏิบัติ เด็กควรได้รับการเตรียมตัวให้รู้จักกับสถานการณ์ที่อันตรายเพื่อพัฒนาทักษะและความรู้ เด็กต้องได้รับการสอนให้สังเกต เข้าใจ เชื่อฟังและปฏิบัติตามกฎและข้อปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอเพื่อความปลอดภัยของตนเองและผู้อื่น ครูต้องกระตุ้นให้เด็กได้เห็นถึงคุณค่าและเคารพกฎ เด็กย่อมมีแนวโน้มในการป้องกันอุบัติเหตุของตนเองและผู้อื่นได้
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านกาลูปัง เห็นว่าการส่งเสริมความปลอดภัยด้านร่างกายให้เด็กเล็กเป็นสิ่งสำคัญประการหนึ่งที่จะช่วยลดการเกิดอุบัติเหตุ การสูญเสียชีวิตและทรัพย์สิน หรือการประสบปัญหาสุขภาพที่อาจทำให้เกิดผลกระทบต่อร่างกายและจิตใจต่อไปในอนาคต เช่นความพิการ การได้รับการกระทบกระเทือนทางสมอง จึงได้จัดโครงการอบรมซ้อมแผนป้องกันภัยภายในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ประจำปี 2564 ขึ้น กิจกรรมโครงการมีการซ้อมแผนป้องกันภัยที่เหมาะกับพัฒนาการของเด็กปฐมวัย เช่นการใช้บันได อุปกรณ์เครื่องใช้ในห้องเรียน การป้องกันอัคคีภัย ได้แก่ อันตรายจากไฟ การซ้อมดับเพลิง และการสื่อสารกับผู้ใหญ่ทันทีเมื่อเกิดไฟไหม้ ความปลอดภัยในบ้าน ได้แก่การเก็บของเล่นและสิ่งของต่างๆ ให้เข้าที่ การไม่จับ หรือสัมผัสยา ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด ยาฆ่าแมลง หรือสารพิษต่างๆ การระมัดระวังการใช้กรรไกร ของมีคม วิธีการใช้ของเล่นให้ปลอดภัย ความปลอดภัยจากสนามเด็กเล่น และการใช้สระว่ายน้ำสำหรับเด็กให้ปลอดภัยจากอุบัติเหตุทางน้ำ

แผนย่อยที่ 1 การส่งเสริมสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการส่งเสริมคุณธรรม/การทำความดีที่เหมาะสมกับบริบทของสังคมไทย เป้าหมาย ตัวชี้วัด ค่าเป้าหมาย เป้าหมายที่ 1 ประชากรมีกิจกรรมการปฏิบัติตนที่สะท้อนการมีคุณธรรมจริยธรรมเพิ่มขึ้น จำนวนประชากรอายุ 13 ปีขึ้นไป มีกิจกรรมการปฏิบัติตนที่สะท้อนการมีคุณธรรมจริยธรรมเพิ่มขึ้น เพิ่มขึ้นร้อยละ 5 ต่อปีจากข้อมูลปีฐาน ปี พ.ศ. 2565 เป็นค่าตั้งต้น เป้าหมายที่ 2 จำนวนเครือข่ายทางสังคมที่มีขีดความสามารถในการส่งเสริมคุณธรรมในสังคมไทยเพิ่มขึ้น จำนวนเครือข่ายทางสังคมมีขีดความสามารถในการส่งเสริมคุณธรรมในสังคมไทยเพิ่มขึ้น เพิ่มขึ้นร้อยละ 10 ภายในปี                  พ.ศ. 2570 จากข้อมูลปีฐาน ปี                 พ.ศ. 2565 เป็นค่าตั้งต้น แนวทางการพัฒนา (6 แนวทาง 10 โครงการ) แนวทางการพัฒนา โครงการ ผู้รับผิดชอบ แนวทางที่ 1 สร้างพื้นที่และสนับสนุนกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรมหรือการทำความดี (1) โครงการสร้างเสริมสภาพแวดล้มที่เอื้อต่อการส่งเสริมคุณธรรมบนฐานชีวิตวิถีใหม่
(2) โครงการพัฒนาชุมชน องค์กร อำเภอ จังหวัดคุณธรรม
(3) โครงการพิพิธภัณฑ์ในมิติด้านคุณธรรม วธ./สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานทุกภาคส่วน แนวทางที่ 2 ยกย่องเชิดชูเกียรติบุคคล ชุมชน องค์กร อำเภอ จังหวัด คุณธรรม โครงการค้นหา/คัดเลือก/ยกย่องเชิดชูบุคคลหรือองค์กรด้านการส่งเสริมคุณธรรม หน่วยงานทุกภาคส่วน แนวทางที่ 3 ส่งเสริมให้สถาบันศาสนาเป็นศูนย์กลางชุมชนและขับเคลื่อนคุณธรรมด้วยพลังบวร (บ้าน-วัด/ศาสนสถาน-โรงเรียน/ราชการ) 1 ชุมชน 1 สถาบันศาสนา โครงการส่งเสริมสถาบันศาสนาเป็นศูนย์กลางชุมชนและขับเคลื่อนคุณธรรมด้วยพลังบวร กระทรวงมหาดไทย (มท.) /วธ./พศ. แนวทางที่ 4 พัฒนาขีดความสามารถของชุมชน องค์กร อำเภอ จังหวัดคุณธรรม สู่การสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจด้วยผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรม โครงการพัฒนาขีดความสามารถของชุมชน องค์กร อำเภอ จังหวัดคุณธรรม สู่การสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจด้วยผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรม สำนักนายกรัฐมนตรี/มท./วธ./กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (กก.) แนวทางที่ 5 ส่งเสริมการนำคุณธรรมเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม การป้องกันและแก้ไขปัญหาอันเกิดจากภัยธรรมชาติ และวิกฤติโรคอุบัติใหม่ (1) โครงการส่งเสริมการนำคุณธรรมเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม
(2) โครงการส่งเสริมการนำคุณธรรมเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาอันเกิดจากภัยธรรมชาติ และวิกฤติโรคอุบัติใหม่ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ/หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง แนวทางที่ 6 สนับสนุนส่งเสริมกลไกของชุมชนให้มีระบบพี่เลี้ยงเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้ครอบครัวและชุมชน โครงการพัฒนาระบบพี่เลี้ยงชุมชน มท./กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.)/วธ. กิจกรรมที่ต้องดำเนินการ เช่น (1) กำหนดให้ผู้ว่าราชการจังหวัดพิจารณาสนับสนุนการจัดสรรงบประมาณงบบริหารจังหวัดและกลุ่มจังหวัดเพื่อขับเคลื่อนการส่งเสริมคุณธรรม (2) การนำโครงการของแผนย่อยที่ 1 ภายใต้แผนปฏิบัติการด้านการส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ ระยะที่ 2 เข้าระบบติดตามและประเมินผลแห่งชาติ (eMENSCR) ของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หลังการประกาศแผน แผนย่อยที่ 2 การพัฒนาระบบและการเสริมสร้างขีดความสามารถของกลไกเพื่อการขับเคลื่อนและส่งเสริมคุณธรรม เป้าหมาย ตัวชี้วัด ค่าเป้าหมาย เป้าหมายที่ 1 จำนวนเครือข่าย/องค์กรที่ร่วมกันทำกิจกรรมสาธารณะเพิ่มขึ้น จำนวนเครือข่าย/องค์กรจากทุกภาคส่วนที่ร่วมกันทำกิจกรรมสาธารณะเพิ่มขึ้น เช่น การมีส่วนร่วมของเครือข่ายภาคประชาชนในการติดตามและตรวจสอบโครงการของรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 5 ต่อปีจากข้อมูลปีฐานปี พ.ศ. 2565 เป้าหมายที่ 2 จำนวนองค์กรเครือข่ายทางสังคมที่มีการพัฒนาระบบเครดิตทางสังคม (Social Credit) เพื่อรองรับการส่งเสริมคุณธรรม จำนวนองค์กรเครือข่ายทางสังคมที่มีการพัฒนาระบบเครดิตทางสังคม (Social Credit) ที่เหมาะสมกับบริบทของสังคมไทยเพื่อรองรับการส่งเสริมคุณธรรมเพิ่มขึ้น เพิ่มขึ้นร้อยละ 10 ภายในปี                  พ.ศ. 2570 จากข้อมูลปีฐาน พ.ศ. 2566 เป้าหมายที่ 3 จำนวนหน่วยงานภาครัฐมีค่า ITA ผ่านเกณฑ์มาตรฐานเพิ่มขึ้น จำนวนหน่วยงานภาครัฐมีค่า ITA ผ่านเกณฑ์มาตรฐานเพิ่มขึ้น เพิ่มขึ้นร้อยละ 10 ภายในปี                   พ.ศ. 2570 จากข้อมูลปีฐาน พ.ศ. 2565 แนวทางการพัฒนา (4 แนวทาง และ  6 โครงการ) แนวทางการพัฒนา โครงการ ผู้รับผิดชอบ แนวทางที่ 1 ส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมในทุกช่วยวัยโดยนำนวัตกรรมมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับบริบททางสังคมไทย โครงการพัฒนาระบบเครดิตทางสังคมให้เป็นเครื่องมือเพื่อการส่งเสริมคุณธรรมในสังคมไทย พม. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง แนวทางที่ 2 สร้างกลไกเครือข่ายคุณธรรมและระบบการสนับสนุนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง (1) โครงการพัฒนาระบบและการเสริมสร้างขีดความสามารถของกลไกเพื่อการขับเคลื่อนและส่งเสริมคุณธรรมบนฐานชีวิตวิถีใหม่
(2) โครงการพัฒนาศักยภาพทรัพยากรมนุษย์เพื่อสร้างกลไกขับเคลื่อนจังหวัดคุณธรรมให้บรรลุเป้าหมาย พม./มท./วธ. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง แนวทางที่ 3 พัฒนากลไกให้หน่วยงานภาครัฐขับเคลื่อนการส่งเสริมคุณธรรมตามหลักธรรมทางศาสนา ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและวิถีวัฒนธรรมไทย                ที่ดีงาม (1) โครงการขับเคลื่อนการส่งเสริมคุณธรรมตามหลักธรรมทางศาสนา ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และวิถีวัฒนธรรมไทยที่ดีงามอย่างเป็นระบบของหน่วยงานภาครัฐส่วนกลางและส่วนภูมิภาคสู่องค์กรคุณธรรม
(2) โครงการขับเคลื่อนการส่งเสริมคุณธรรมตามหลักธรรมทางศาลนา ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และวิถีวัฒนธรรมไทยที่ดีงามอย่างเป็นระบบขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสู่องค์กรคุณธรรม สำนักงาน ก.พ.ร./มท. แนวทางที่ 4 เสริมสร้างความเข้มแข็งของเครือข่ายด้วยกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านการส่งเสริมคุณธรรม โครงการสมัชชาคุณธรรม ตลาดนัดคุณธรรม ตลาดนัดความดี วธ./มท. กิจกรมที่ต้องดำเนินการ เช่น (1) พัฒนาระบบเครดิตทางสังคม (Social Credit) ให้เป็นเครื่องมือเพื่อการส่งเสริมคุณธรรมในสังคมไทย อาทิ ธนาคารความดี นวัตกรรมสังคมแบบเปิดโดยภาครัฐ : “คนดีมีที่ยืน ความดีมีพื้นที่ในสังคม” เป็นต้น (2) การเชื่อมโยงเครื่องมือการประเมินระดับความเป็นเศรษฐกิจพอเพียงในการบริหารจัดการของหน่วยงานภาครัฐจากผลงานวิจัยสู่ระบบการประเมิน ITA แผนย่อยที่ 3 การส่งเสริมการเรียนรู้ และการพัฒนาศักยภาพคนและองค์กรเครือข่ายเพื่อขับเคลื่อนการส่งเสริมคุณธรรม เป้าหมาย ตัวชี้วัด ค่าเป้าหมาย 1. ทุนชีวิตเด็กและเยาวชนไทยเพิ่มขึ้น เพิ่มขึ้นร้อยละ 5 ภายในปี                   พ.ศ. 2570 จากข้อมูลปีฐาน ปี                 พ.ศ. 2565 2. จำนวนคนที่ได้รับการพัฒนาทักษะชีวิตจากการส่งเสริมคุณธรรมขององค์กรเครือข่ายเพิ่มขึ้น เพิ่มขึ้นร้อยละ 5 ต่อปีจากข้อมูลปีฐาน ปี พ.ศ. 2566 แนวทางการพัฒนา (3 แนวทาง และ 5 โครงการ) แนวทางการพัฒนา โครงการ ผู้รับผิดชอบ แนวทางที่ 1 กำหนดให้สถานศึกษาทุกระดับของหน่วยงานทุกภาคส่วนสะท้อนกระบวนการจัดการศึกษาที่บรรลุเป้าหมายเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ โครงการพัฒนาเด็กและเยาวชนให้มีพฤติกรรมและทักษะชีวิตที่สะท้อนคุณธรรมจริยธรรม กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.)/มท./กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรม (อว.)/วธ. แนวทางที่ 2 ส่งเสริมให้เกิดระบบการจัดการความรู้ที่เป็นกระบวนการเรียนรู้ตลอดชีวิตภายในชุมชนหรือหน่วยงาน (1) โครงการเรียนรู้/ปลูกฝัง/ส่งเสริม คุณธรรมบนฐานชีวิตวิถีใหม่
(2) โครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากรทั้งในภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนให้มีขีดความสามารถในการส่งเสริมขับเคลื่อนการพัฒนาคุณธรรมที่เหมาะสมกับบริบทของสังคมไทย หน่วยงานทุกภาคส่วน แนวทางที่ 3 ส่งเสริมงานวิชาการ งานวิจัยพัฒนา และเผยแพร่ระบบการจัดการความรู้ด้านการส่งเสริมคุณธรรม (1) โครงการส่งเสริมงานวิชาการ งานวิจัย พัฒนา สำรวจ รวบรวม และเผยแพร่องค์ความรู้ด้านการส่งเสริมคุณธรรมในสถานการณ์ต่าง ๆ
(2) โครงการพัฒนาสื่อส่งเสริมคุณธรรมที่เหมาะสมกับคนทุกช่วงวัย ศธ./อว./วธ./กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดศ.)/สำนักงานกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์/หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กิจกรรมที่ต้องดำเนินการ เช่น การกำหนดให้สถานศึกษาของหน่วยงานทุกภาคส่วน (โดยเฉพาะภาครัฐ) สะท้อนกระบวนการและผลการจัดการศึกษาที่บรรลุเป้าหมายเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้ และคุณธรรม