โครงการความปลอดภัยในโรงเรียน doc

หน่วยงาน :งานสวัสดิภาพนักเรียน โครงการ :412 โครงการป้องกันอุบัติภัยในโรงเรียน
หลักการและเหตุผล :     ปัจจุบันนี้มีเหตุการณ์ ที่เกิดขึ้นโดยไม่คาดคิด ไม่ตั้งใจเป็นผลให้เกิดความเสียหายแก่ทรัพย์สิน เป็นอันตรายแก่ร่างกายและจิตใจและอาจทำให้สูญเสียชีวิตได้ ฝ่ายกิจการนักเรียน จึงได้จัดทำโครงการป้องกันอุบัติภัยขึ้น เพื่อเป็นการให้ความรู้แก่บุคลากรและ นักเรียนของโรงเรียนเซนต์หลุยส์ ตลอดจนมีการตรวจสอบอุปกรณ์ เครื่องมือต่างๆให้มีความปลอดภัย และพร้อมต่อการใช้งาน

วัตถุประสงค์ :     1. เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจ ป้องกันตนเองจากสิ่งเสพติดให้โทษและหลีกเลี่ยงสภาวะที่เสี่ยงต่อความ รุนแรง โรคภัย อุบัติเหตุและปัญหาทางเพศ
    2. เพื่อให้สถานศึกษามีการส่งเสริมด้านสุขภาพอนามัย ความสะอาด การปรับปรุงสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ภายในโรงเรียนตลอดจนผู้เรียนมีความปลอดภัยจากอันตรายและมลภาวะต่าง ๆ

เป้าหมาย : เชิงคุณภาพ   1. - ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจ ป้องกันตนเองจากสิ่งเสพติดให้โทษและหลีกเลี่ยงสภาวะที่เสี่ยงต่อความ รุนแรง โรคภัย อุบัติเหตุและปัญหาทางเพศ   2. - สถานศึกษามีการส่งเสริมด้านสุขภาพอนามัย ความสะอาด การปรับปรุงสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ภายในโรงเรียนตลอดจนผู้เรียนมีความปลอดภัยจากอันตรายและมลภาวะต่าง ๆเชิงปริมาณ   1. บุคลากรและนักเรียน จำนวน 4,330 คน
KPI :    1. ผู้เรียนร้อยละ 90 มีความรู้ ความเข้าใจ ป้องกันตนเองจากสิ่งเสพติดให้โทษและหลีกเลี่ยงสภาวะที่ เสี่ยงต่อความรุนแรง โรคภัย อุบัติเหตุและปัญหาทางเพศ    2. - สถานศึกษามีการส่งเสริมด้านสุขภาพอนามัย ความสะอาด การปรับปรุงสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ภายใน โรงเรียนตลอดจนผู้เรียนมีความปลอดภัยจากอันตรายและมลภาวะต่าง ๆ
ตอบสนองแผนพัฒนาโรงเรียน :
ตอบสนองแผนพัฒนาโรงเรียนระดับฝ่าย :
สนองนโยบายของโรงเรียนเรื่อง :

ประเมินความสำเร็จ

โรงเรียนประเมินว่าโครงการนี้ที่ได้ทำกิจกรรมดังกล่าวแล้วนั้น
มีความสำเร็จอย่างสมบูรณ์เพราะได้รับความร่วมมือจากทุกคนอย่างเต็มที่
กิจกรรมสนุกสนาน ปลอดภัยมีความรู้ที่สามารถนำมาใช้ในชีวิตประจำวัน
ได้อีกทั้งทำให้โรงเรียนสามารถประชาสัมพันธ์จุดเสี่ยงหรือจุดใด
ที่ไม่เสี่ยงไปด้วยเพื่อให้นักเรียนได้ทราบ และป้องกันอันตรายให้กับนักเรียน
ตลอดจนให้นักเรียน ครู ช่วยกันดูและความปลอดภัยทั้งภายในและภายนอก
ให้ผู้ปกครองช่วยครูดูแล

บทเรียนที่ได้รับ

จะเป็นโรงเรียนแกนนำของกลุ่ม ต. ไทรย้อย
และกลุ่มประสิทธิภาพเนินมะปราง 2 เรื่องความปลอดภัย
ภายในโรงเรียน อีกทั้งส่งเสริมและให้ความรู้ใหม่ ๆ เพิ่มขึ้น
ส่วนภายนอกนั้นโรงเรียนจะมีการตรวจเยี่ยมบ้านของนักเรียน
สอบถามปัญหา เช่น ปัญหาของเด็กที่ติดเกมส์จะรู้จักป้องกัน
ตนเองได้อย่างไร โดยจะพูดกับผู้ปกครองของนักเรียนไม่ให้
สนุบสนุนลูกเล่นเกมส์ ดังกรณีของเด็กอายุ 13 ปีที่เล่นเกมส์
เมื่อเล่นแล้วเกิดความครึกคะนองต้องการเอาชนะเพื่อนจึง
ไปหยิบปืนในตู้เสื้อผ้ามายิงเพื่อนทำให้เพื่อนเสียชีวิต

แต่อย่างไรก็ตามหากจะโทษที่เด็กเพียงคนเดียวไม่ได้ต้อง
โทษผู้ปกครองด้วยเพราะเป็นการประมาทที่ทำให้ผู้อื่นเสียชีวิต เป็นต้น

ความต่อเนื่อง
โรงเรียนจะจัดทำกิจกรรม Walk Rally
ปีละ 1 ครั้ง อีกทั้งจะเชิญโรงเรียนในกลุ่ม ต. ไทรย้อย
กลุ่มประสิทธิภาพเนินมะปราง 2 และผู้ปกครองเข้าร่วม
ในกิจกรรมครั้งต่อๆ ไป ในอนาคต เพราะจะได้เกิด
ความสามัคคีกันภายในกลุ่ม ได้รู้จักการทำงานเป็นทีม work
มากขึ้น มีความเป็นกันเอง กล้าแสดงความคิดเห็นกับบุคคล
ในหมู่มาก ร่วมกันแก้ไขปัญหา ผู้ปกครองมีความรู้เพิ่มมากขึ้น
และช่วยดูแลสอดส่องให้กับทางโรงเรียนได้

การประยุกต์

ความเป็นไปได้ของการจัดกิจกรรม เป็นไปได้แต่คงจะ
ไม่ได้รับความร่วมมือในทุกโรงเรียน ในกลุ่ม ต. ไทรย้อย
และกลุ่มประสิทธิภาพเนินมะปราง 2 ผู้ปกครองทุกคน
แต่จะพยายามให้มีผู้เข้าร่วมโครงการมากที่สุด

การนำไปประยุกต์ใช้ในโรงเรียนก็ได้นำความรู้ที่ได้จาก
วิทยากรและตระหนักถึงอันตรายที่จะเกิดขึ้นมาใช้ในการทำงาน
เช่นการเข้าข่ายลูกเสือที่ผ่านมาก็ได้ให้ความสำคัญเรื่องความ
ปลอดภัยในทุก ๆฐาน และยังมีการแนะนำก่อนนักเรียนจะ
ปฏิบัติจริงทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนหมู่ของลูกเสือ เพื่อที่จะเข้ารับการฝึก

ส่วนหน่วยงานอื่น ๆ นั้นคงจะใช้ในโอกาสการจัดกีฬาสัมพันธ์
กันภายในกลุ่มโดยมีการหารือและหาวิธีการป้องกันความปลอดภัย
กันมากขึ้นเพื่อไม่ให้เกิดอุบัติเหตุจากความประมาท

สรุปผลที่เกิดขึ้น
1. จากสถิติการบันทึกการบาดเจ็บ
ของนักเรียนทำให้ทราบถึงสาเหตุ
ของการเกิดอุบัติเหตุของนักเรียน

ซึ่งส่วนใหญ่มาจากการเล่นของนักเรียนเอง
ซึ่งจะเกิดขึ้นในเวลาพักกลางวันและหลังเลิกเรียน

2. สถานที่มักจะเกิดอุบัติเหตุ
บริเวณจุดเสี่ยงภายในโรงเรียน คือ สนามเด็กเล่น ระเบียง

3. ตำแหน่งของอวัยวะที่ได้รับบาดเจ็บ คือ หัวเข่า แขน ขา และมือ

ประเมินความสำเร็จ
จากการวิเคราะห์ผลการดำเนินงาน
ทำให้ทราบถึงสาเหตุและสถานที่เกิด
อุบัติเหตุของนักเรียนเป็นข้อมูลพื้นฐาน
ในการกำหนดแนวทางและมาตรการ
ในการป้องกันอุบัติเหตุได้ถูกต้องและ
ป้องกันอุบัติเหตุได้ถูกที่ถูกเวลา
ในปีการศึกษาต่อไป เพื่อสร้างเสริม
ความปลอดภัยอันจะเกิดกับชีวิต
และทรัพย์สินของนักเรียน ทางราชการและสังคม

บทเรียนที่ได้รับ

1. สถานที่มักจะเกิดอุบัติเหตุ
และบริเวณจุดเสี่ยงภายในโรงเรียน เช่น
สนามเด็กเล่น ควรบำรุงรักษา ซ่อมแซม
ปรับปรุง และพัฒนาให้มีความพร้อมและปลอดภัยต่อการใช้งาน

2. สภาพทั่วไปของโรงเรียน
อาคารสถานที่ได้รับการพัฒนาปรับปรุงให้พร้อมใช้งาน
มีความปลอดภัยอยู่เสมอ ยืดอายุการใช้งานทำให้เกิด
ความคุ้มค่าลดค่าใช้จ่ายประหยัดงบประมาณของทางราชการ

3. ผู้ปกครองมีความมั่นใจ
และเชื่อมั่นต่อโรงเรียนและบุคลากร
ไม่วิตกและหวาดกลัวต่อการเกิดอุบัติเหตุ
ของนักเรียน ทำให้สุขภาพจิตดีขึ้น

ความต่อเนื่อง
จากการบันทึกการบาดเจ็บของนักเรียน
และนำผลมาวิเคราะห์หาสาเหตุของการบาดเจ็บของนักเรียน
เราจะเห็นได้ว่าการเกิดอุบัติเหตุของนักเรียนมาจากสาเหตุ 2 ประการคือ

1. การเล่นที่ไม่เหมาะสม เช่น
นักเรียนใช้อุปกรณ์การเล่นผิดประเภท
ผิดวิธี เล่นผิดสถานที่

2. สภาพของสถานที่ และสื่ออุปกรณ์ต่างๆ
ไม่สมบูรณ์ ไม่มีความพร้อมในการใช้งาน
ขาดการบำรุงดูแลรักษา

จากสาเหตุสองประการนี้นำไปสู่การ
กำหนดมาตรการ วิธีการป้องกันและ
แก้ปัญหาได้ตรงตามแห่งเหตุและผล ดังนี้

สาเหตุที่มาจากการเล่นที่ไม่เหมาะสม
ได้กำหนดแนวทางป้องกันอุบัติเหตุ
โดยการสร้างความตระหนักและให้ความรู้
เกี่ยวกับวิธีการใช้เครื่องเล่นที่ถูกต้อง
อุปกรณ์ที่เหมาะสมกับการเล่นแต่ละประเภท
สถานที่ที่ใช้เล่นอย่างถูกต้อง
จัดครูเวรคอยกำกับดูแลตามจุดเสี่ยงและ
บริเวณที่มีนักเรียนอยู่ นอกจากนี้แล้วยัง
ส่งผลต่อเนื่องทำให้เกิดกิจกรรมหมอน้อยอาสา
(ครูไม่อยู่ หนูทำได้)

สาเหตุที่มาจากสภาพของสถานที่
ได้กำหนดแนวทางป้องกันอุบัติเหตุ
โดยการให้มีการเขียนป้ายแสดงชื่อเครื่องเล่น
วิธีการใช้กำหนดคณะกรรมการรับผิดชอบการดูแลรักษา
พร้อมทั้งมีตารางแสดงถึงการบำรุงรักษาที่เป็นปัจจุบัน
มีการกำหนดระยะเวลาในการสำรวจตรวจสอบสภาพความ
สมบูรณ์ของอาคารสถานที่และอุปกรณ์ต่าง ๆ ไว้อย่างชัดเจน
ส่งผลต่อเนื่องทำให้เกิดกิจกรรมการสำรวจจุดเสี่ยงตามมา

นอกจากนี้แล้วข้อมูลที่ได้ยังเป็นประโยชน์ต่อ
ผู้บริหารในการวางแผนการบริหารสถานศึกษา
ให้สอดคล้องรับกับการประกันคุณภาพมาตรฐาน
การศึกษาของสถานศึกษาที่ ส.ม.ศ.
ได้กำหนดมาตรฐานสถานศึกษาไว้ข้อหนึ่ง
ที่สถานศึกษาจะต้องมีระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน
ทำให้กิจกรรมนี้ได้รับการสนับสนุนและ
ดำเนินการอย่างต่อเนื่องตลอดมา

การประยุกต์ใช้
การบันทึกข้อมูลสถิติสามารถนำไปใช้ได้กับทุกกิจกรรม
เพื่อใช้เป็นข้อมูลศึกษาถึงประวัติที่ผ่านมา
ว่าเหตุการณ์ใดเกิดขึ้นบ่อยก็คาดว่าน่าจะเกิดขึ้นอีก
การจดบันทึกจึงเป็นการเตือนความจำ
เป็นหลักฐานที่แสดงเป็นลายลักษณ์อักษร
มีความน่าเชื่อถือเป็นรูปธรรม
อีกทั้งยังนำมาเป็นการตรวจสอบและติดตาม
การดำเนินงานในทุกกิจกรรม ทุกองค์กร ว่าสิงใด
ได้ดำเนินการไปแล้ว สิ่งใดที่จะต้องดำเนินการต่อไป
ในอาชีพครูก็ใช้การบันทึกหลังสอน บันทึกการประชุม
แพทย์ก็บันทึกประวัติคนไข้

ทุกๆ อาชีพล้วนต้องเกี่ยวข้องกับการบันทึกเก็บข้อมูลทั้งสิ้น
เพื่อกำหนดมาตรการการป้องกันหรือหาแนวทางการส่งเสริมในการทำงานครั้งต่อไป