ตัวอย่างฮาร์ดแวร์ในขั้นตอน

อุปกรณ์รับข้อมูลจากการกดแป้นแล้วทำการเปลี่ยนเป็นรหัส เพื่อบอกให้คอมพิวเตอร์รู้ว่ามีการกดตัวอักษรอะไร แผงแป้นอักขระส่วนใหญ่เป็นไปตามมาตรฐานของเครื่องพิมพ์ดีด ซึ่งระบบรับรหัสตัวอักขระที่ใช้ในทางคอมพิวเตอร์เป็นรหัส 7 หรือ 8 บิต (Operator)

2) เมาส์ (Mouse)

ตัวอย่างฮาร์ดแวร์ในขั้นตอน

อุปกรณ์นำเข้าข้อมูลโดยการเลื่อนเมาส์เพื่อบังคับตัวชี้ไปยังตำแหน่งต่างๆ บนหน้าจอ เมาส์ที่นิยมใช้มีด้วยกัน 3 ประเภท ได้แก่

-แบบทางกล (Mechanical) ใช้ลูกกลิ้งกลม

-แบบใช้แสง (Optical mouse)

-แบบไร้สาย (Wireless Mouse)

3) OCR (Optical Character Reader)

ตัวอย่างฮาร์ดแวร์ในขั้นตอน

อุปกรณ์นำเข้าข้อมูล โดยใช้วิธีการอ่านข้อมูลด้วยลำแสงในลักษณะพาดขวางบนเอกสารที่มีข้อมูลอยู่ แล้วแปลงรหัสเป็นสัญญาณไฟฟ้าเข้าไปเก็บในเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์โอซีอาร์ที่เราสามารถพบเห็นได้ในชีวิตประจำวัน ได้แก่ เครื่องอ่านรหัสแท่ง (Barcode reader)

4) OMR (Optical Mark Reader)

ตัวอย่างฮาร์ดแวร์ในขั้นตอน

อุปกรณ์นำเข้าที่ทำงานโดยการอ่านข้อมูลจากการทำเครื่องหมายด้วยดินสอและปากกาลงบนกระดาษคำตอบ (Answer sheet) ซึ่งถูกออกแบบมาโดยเฉพาะ

5) เครื่องอ่านพิกัด (Digitizer) เป็นอุปกรณ์รับข้อมูล มีลักษณะเป็นแผ่นกระดานสี่เหลี่ยม มีสายไฟฟ้าและอุปกรณ์คล้ายแว่นขยายที่มีเครื่องหมายกากบาทตรงกลาง พร้อมกับปุ่มสำหรับกด โดยปกติมักใช้ในการอ่านจุดพิกัดของแผนที่ หรือตำแหน่งของภาพกราฟิกต่างๆ

6) สแกนเนอร์ (Scanner)

ตัวอย่างฮาร์ดแวร์ในขั้นตอน

เป็นอุปกรณ์นำเข้าข้อมูลที่เป็นเอกสาร รูปภาพ หรือ รูปถ่าย สแกนเนอร์สามารถแบ่งออกได้ 3 ประเภท คือ

แบบเลื่อนกระดาษ (Sheet-Fed Scanner) สแกนเนอร์แบบนี้จะรับกระดาษแล้วค่อย ๆ เลื่อนหน้ากระดาษให้ผ่านหัวสแกนซึ่งอยู่กับที่

แบบแท่นนอน (Flatbed scanner) สแกนเนอร์แบบนี้จะมีกลไกคล้ายกับเครื่องถ่ายเอกสาร เหมาะสำหรับใช้กับเอกสารทั้งที่เป็นแผ่นเดียวและเอกสารที่เป็นเล่ม

แบบมือถือ (Hand-held Scanner) สแกนเนอร์แบบมือถือได้รวมเอาข้อดีของสแกนเนอร์ ทั้งสองแบบเข้าไว้ด้วยกัน

7) ปากกาแสง (Light Pen)

ตัวอย่างฮาร์ดแวร์ในขั้นตอน

เป็นอุปกรณ์ทำงานคล้ายกับเมาส์ในการติดต่อกับคอมพิวเตอร์ เป็นอุปกรณ์ที่เหมาะสำหรับงานวาดภาพ

8) จอยสติก (Joy Sticks)

เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการควบคุมทิศทางของวัตถุบนหน้าจอคอมพิวเตอร์ ส่วนใหญ่จะใช้ในการเล่นเกมคอมพิวเตอร์ มีทั้งที่เป็นแบบแบน แบบคันโยก หรือ แบบพวงมาลัย

9) จอสัมผัส (Touch Screen)

ตัวอย่างฮาร์ดแวร์ในขั้นตอน

เป็นจอภาพชนิดพิเศษที่ใช้ระบบสัมผัสแทนการใช้คีย์บอร์ดและเมาส์ นิยมนำมาใช้กับงาน

10) เครื่องเทอร์มินัล (Point of Sale Terminal)

ตัวอย่างฮาร์ดแวร์ในขั้นตอน

เป็นอุปกรณ์รับข้อมูลอีกอย่างหนึ่งที่นิยมใช้ในร้านค้า เครื่องเทอร์มินัลนี้จะมีแป้นพิมพ์สำหรับกรอกข้อมูล มีจอภาพเล็กๆ เพื่อใช้แสดงผลต่างๆ และมีเครื่องพิมพ์สำหรับพิมพ์รายการ ทั้งนี้สามารถนำเครื่องอ่านรหัสบาร์โค๊ดเข้ามาช่วยในการรับข้อมูลได้ ซึ่งช่วยลดความผิดพลาดอันอาจเกิดจากการกรอกข้อมูลที่มีจำนวนมาก

11) แผ่นสัมผัส (Touch Pads)

ตัวอย่างฮาร์ดแวร์ในขั้นตอน

เป็นอุปกรณ์รับข้อมูลโดยการใช้นิ้วสัมผัสลงบนแผ่นสัมผัส น้ำหนักที่กดสงไปจะถูกเปลี่ยนเป็นสัญญาณไฟฟ้า มักเห็นอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก

12) กล้องดิจิทัล (Digital Camera)

ตัวอย่างฮาร์ดแวร์ในขั้นตอน

เป็นอุปกรณ์รับข้อมูลเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ ที่สามารถแปลงข้อมูลภาพเป็นสัญญาณดิจิทัล มีลักษณะการใช้งานเหมือนกล้องถ่ายภาพทั่วไป แต่ต่างกันตรงที่ไม่ต้องใช้ฟิล์มในการบันทึกข้อมูล ข้อมูลภาพที่ได้สามารถถ่ายลงสู่เครื่องคอมพิวเตอร์และสามารถเรียกดูได้ทันที หรือจะใช้โปรแกรมช่วยตกแต่งภาพให้ดูสวยงามขึ้นก็ได้

13) อุปกรณ์รับข้อมูลเสียง (Voice Input Devices)หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ไมโครโฟน

ตัวอย่างฮาร์ดแวร์ในขั้นตอน

เป็นอุปกรณ์รับข้อมูลในรูปแบบเสียงโดยจะทำการแปลงสัญญาณเสียงเป็นสัญญาณดิจิทัลแล้วจึงส่งไปยังคอมพิวเตอร์

ฮาร์ดแวร์ หมายถึง ส่วนที่ประกอบที่เป็นตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ รวมอุปกรณ์ต่อพ่วงต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ที่เราสามารถมองเห็นและสัมผัสได้ ใช้งานร่วมกันได้ เช่น ตัวเครื่อง จอภาพ คีย์บอร์ด และเมาส์ เป็นต้น

เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลโดยทั่วไปจะมีฮาร์ดแวร์หลักๆ ประกอบด้วย

ตัวเครื่อง (Case) ทำหน้าที่ในส่วนของการประมวลผลข้อมูลที่ได้รับมาจากอุปกรณ์นำเข้าต่างๆ ซึ่งภายในตัวเครื่องจะมีอุปกรณ์หลัก ได้แก่ แผงวงจรหลัก หม้อแปลงไฟฟ้า ซีพียู ฮาร์ดดิสก์ หน่วยความจำ การ์ดแสดงผล การ์ดเสียง เป็นต้น
โมเด็มและแฟกซ์ (Modem and Fax) เป็นตัวกลางเชื่อมต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์กับเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยใช้สายโทรศัพท์เป็นตัวเชื่อมโยง ซึ่งสามารถสื่อสารได้หลายรูปแบบ
สแกนเนอร์ (Scanner) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้แปลงรูปภาพ หรือสิ่งพิมพ์ที่อยู่ภายนอก เข้าไปแสดงหรือแก้ไข ภายในคอมพิวเตอร์ได้

จอภาพ (Monitor) ทำหน้าที่แสดงผลข้อความ รูปภาพ

ดิสก์ไดร์ฟ (Disk drive) เป็นอุปกรณ์อ่าน-เขียนข้อมูลบนดิสก์เก็ต

คีย์บอร์ด (Keyboard)ทำหน้าที่ป้อนข้อมูลเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อส่งข้อมูลไปยังหน่วยประมวลผลกลาง (CPU) แล้วจะส่งข้อมูลต่อไปยังจอภาพ หรือทางเครื่องพิมพ์

Hardware เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถใช้งานได้อย่างสมบูรณ์แบบ สื่อภาพและเสียงออกไปอย่างชัดเจน พร้อมการประมวลผลต่าง ๆ อย่างรวดเร็ว โดยฮาร์ดแวร์เหล่านี้มีทั้งภายในเครื่อง CPC และหมายถึงอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งหมด ซึ่งเป็นส่วนเชื่อมต่อที่ช่วยทำให้การทำงานโดยรวมเป็นอย่างดีเยี่ยมนั่นเอง

Hardware ในเครื่องคอมพิวเตอร์คืออะไร? มีความสำคัญแค่ไหน?

Hardware ของเครื่องคอมพิวเตอร์ คือ ส่วนของอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ทั้งหมด แต่ถูกเรียกโดยย่อว่า  Hardware เป็นชุดองค์ประกอบของเครื่องและระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อทำให้เกิดการใช้งานอย่างสมบูรณ์แบบ สามารถที่จะสื่อสารกับผู้ใช้งานได้อย่างเข้าใจมากที่สุด โดยฮาร์ดแวร์ที่มีความสำคัญต่อเครื่องคอมพิวเตอร์และผู้คนส่วนใหญ่รู้จักกันเป็นอย่างดี คือ หน้าจอ, คีย์บอร์ด, เมาส์, ฮาร์ดดิสก์, การ์ดจอ และหน่วยความจำ เป็นต้น แม้แต่ระบบอิเล็กทรอนิกส์หรือแผงวงจรภายในของ CPU ก็ถือว่าเป็นฮาร์ดแวร์ได้ทั้งหมด

Hardware ทุกส่วนที่กล่าวมาข้างต้นจะทำงานแบบผสมผสานและพึ่งพาซึ่งกันและกัน จึงทำให้กลายเป็นภาพ เสียง และข้อมูลต่าง ๆ ที่สามารถพร้อมใช้งานได้บนเครื่องคอมพิวเตอร์ทันที แต่ทั้งนี้อาจมีข้อสงสัยว่าระหว่างฮาร์ดแวร์กับซอฟต์แวร์ เป็นชนิดเดียวกันหรือไม่ เพราะแม้ว่าตัวกลางของฮาร์ดแวร์กับซอฟต์แวร์จะเป็น Firmware ที่ถือว่าเป็นระบบภายใน แต่ ตัวซอฟต์แวร์ถูกสร้างมาให้ฝังในฮาร์ดแวร์บางส่วนด้วยเช่นกัน โดยเป็นส่วนที่วิศวกรคอมพิวเตอร์หรือโปรแกรมเมอร์จะเป็นผู้ดูแลทั้งหมด จึงยังไม่มีการตีความออกมาอย่างชัดเจนว่าซอฟต์แวร์นั้นจะเป็นหนึ่งใน Hardware หรือไม่

รวม Hardware สำคัญในเครื่องคอมพิวเตอร์มีอะไรบ้าง?

ถ้าคุณยังรู้สึกว่าการพูดถึง Hardware ในเครื่องคอมพิวเตอร์ไม่ชัดเจนเพียงพอ ขอแนะนำ Hardware สำคัญของเครื่องคอมพิวเตอร์ 5 ประเภท ที่เมื่อคุณได้ศึกษาข้อมูลแล้วจะรู้ได้ทันทีว่าฮาร์ดแวร์เหล่านี้มีความสำคัญแค่ไหน และเข้าใจต่อคำว่าฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์ได้ชัดเจนมากขึ้น คือ

1. CPU

เครื่อง CPU ถือว่าเป็นชุดของการประมวลผลที่ร่วมทุก Hardware สำคัญไว้ภายในหนึ่งเดียว โดยคำว่า CPU นั้นถูกย่อมาจาก Central Processing Unit มีหน้าที่ในการรวมทุกอุปกรณ์ที่เกี่ยวกับการประมวลผลข้อมูลภายในเครื่องคอมพิวเตอร์  แล้วคำนวณออกมาเพื่อให้สามารถใช้งานได้อย่างคล่องตัว โดยจะมีสัญญาณ Clock หรือการเคาะที่จะถูกเรียกว่าหน่วย การวัดความเร็วของการใช้งาน CPU โดยหน่วยความเร็วของซีพียูจะถูกเรียกว่า Herzt (Hz) และจะเป็นการวัดว่าความเร็วในการทำงานของเครื่อง CPU จะมีกี่ครั้งในรอบ 1 วินาที โดย CPU ของเครื่อง Pentium4 จะมีความเร็วขั้นต่ำจะอยู่ที่ 2.5 GHz หรือการทำงานที่สองพันห้าร้อยล้านครั้งต่อ 1 วินาที สัญญาณ Clock จึงจะมีความเร็วสูง ซึ่ง CPU ก็จะต้องทำงานเร็ว เพื่อทำให้การใช้งานเป็นไปอย่างคล่องตัวและทันใจผู้ใช้ แต่ราคาของเครื่อง CPU ที่ทรงประสิทธิภาพก็มักจะสูงตามไปด้วย โดยสามารถใช้ในงานกราฟิก, งานออกแบบ, งานพิมพ์, งานดีไซน์ และงานต่าง ๆ ได้อย่างดีเยี่ยม CPU จึงถูกจัดให้เป็น Hardware ที่มีการรวมระบบประมวลผลทั้งแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์, Ram, Rom และส่วนต่าง ๆ ที่สำคัญต่อการประมวลผลไว้ในหนึ่งเดียว

2. ชุดรับข้อมูล (Input)

Hardware แบบชุดรับข้อมูลภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ คือ อุปกรณ์สำคัญที่จะช่วยป้อนคำสั่งและข้อมูลต่าง ๆ เพื่อนำไปเก็บไว้ในส่วนของฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ ฮาร์ดแวร์ในส่วนนี้ คือ คีย์บอร์ดหรือแป้นพิมพ์, สแกนเนอร์ หรือแม้แต่ไมโครโฟนสำหรับการเชื่อมต่อเพื่ออัดเสียงก็เป็น Hardware รับข้อมูล ทั้งยังมีกล้องดิจิตอลสำหรับอัดภาพและคลิป นอกจากนี้ยังมี Joystick ที่เชื่อมต่อเพื่อการเล่นเกมต่าง ๆ ก็ถือว่าเป็นหนึ่งในชุดรับข้อมูลด้วยเช่นกัน

ตัวอย่างฮาร์ดแวร์ในขั้นตอน

3. ชุดแสดงผล (Display)

ชุดของการแสดงผล คือ เมื่อต้องการใช้งานข้อมูลต่าง ๆ จะต้องมีการแสดงผลภาพและเสียงออกมาอย่างชัดเจน ดังนั้นฮาร์ดแวร์ชุดแสดงผล คือ จอภาพหรือ Monitor, ลำโพงหรือ Speaker และเครื่องพิมพ์หรือปริ้นเตอร์ ที่จะเป็นการแสดงข้อมูลต่าง ๆ ออกมาอย่างชัดเจน ถูกประมวลผลจากเครื่อง CPU มาแล้ว เช่น การเปิดเว็บไซต์, การเปิดโปรแกรมพิมพ์งาน,  การเปิดโปรแกรมฟังเพลง และเปิดดูคลิปวีดีโอต่าง ๆ รวมไปถึงการนำข้อมูล เนื้อหา และภาพออกจากตัวเครื่องผ่านทางเครื่องพิมพ์หรือปริ้นเตอร์ เพื่อนำข้อมูลนั้น ๆ ไปใช้ประโยชน์

4. ชุดความจำ (Memory)

ชุดความจำหรือ Memory Unit ถือว่ามีความสำคัญต่อตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วยเช่นกัน เป็นฮาร์ดแวร์ที่จะช่วยเก็บทุกข้อมูลที่คุณมีหรือเป็นข้อมูลที่คุณป้อนเข้าไปใหม่ แล้วสามารถเรียกออกมาใช้งานได้ในครั้งต่อไป โดยมีทั้งแบบหน่วยจัดเก็บข้อมูลถาวรและหน่วยจัดเก็บข้อมูลชั่วคราว ซึ่งการเก็บข้อมูลแบบถาวรนั้นจะถูกเรียกว่า ROM หรือ Read Only Memory ส่วนการจัดเก็บชั่วคราวจะถูกเรียกว่า RAM หรือ Random Access Memory ซึ่งในส่วนของชุดหน่วยความจำนั้นจะสามารถซื้อมาเพิ่มได้ เพื่อทำให้เกิดการเก็บข้อมูลต่าง ๆ ที่มากขึ้นและสะดวกต่อการใช้งาน

5. ชุดต่อพ่วง

ชุดต่อพ่วง คือ หนึ่งใน Hardware ที่มีความสำคัญเช่นกัน โดยมีทั้งฮาร์ดแวร์แบบหน่วยความจำสำรองที่จะจัดเก็บข้อมูลแยกออกไป เพื่อป้องกันฮาร์ดดิสก์หรือ Disk Drive เสียหาย ซึ่งจะใช้เป็น USB, CD ROM หรือ DVD ROM และ Thumb Drive เป็นต้น นอกจากนี้ส่วนพ่วงต่ออื่น ๆ ยังหมายถึงตัวโมเด็มและแผงวงจรเพื่อการเชื่อมต่อเครือข่ายอีกด้วย

ถ้าคุณคือบริษัทที่มี Hardware คอมพิวเตอร์ต้องดูแลจำนวนมาก เพียงแค่คุณเลือกใช้บริการดูแลระบบคอมพิวเตอร์ เชื่อว่าคุณจะเข้าใจต่อการใช้งาน Hardware ได้ดีมากขึ้นอย่างแน่นอน เพราะทีมงานของวันบีลีฟ มีประสบการณ์ในการเลือกซื้อฮาร์ดแวร์มาใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด