ตัวอย่าง โครงการส่งเสริมสุขภาพในชุมชน

  • คณะกรรมการ
  • กรรมการ
  • อนุกรรมการ
  • อนุกรรมการ LTC
  • ประกาศ กองทุนฯ
  • ประกาศ อนุกรรมการกองทุนฯ
  • ประกาศ หลักเกณฑ์การสนับสนุนงบประมาณกองทุนฯ
  • ข้อมูลกองทุนฯ
  • ขั้นตอนการพิจารณาสนับสนุนงบประมาณ
  • ประวัติการจัดตั้งกองทุน
  • วัตถุประสงค์
  • แหล่งที่มาของเงิน/ทรัพย์สินในกองทุน
  • ลักษณะของกิจกรรม
  • ระเบียบ/กฎหมาย/คำสั่ง
  • ผลการดำเนินงาน
  • 1.เพื่อสนับสนุน และส่งเสริมการจัดบริการสาธารณสุขภาพ ของหน่วยบริการ หรือสถานบริการ หรือหน
  • 2. สนับสนุนให้กลุ่มหรือองค์กรประชาชน หรือหน่วยงานอื่น ในพื้นที่
  • 3. สนับสนุนและส่งเสริมกิจกรรมการสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การฟื้นฟูสมรรถภาพ การรักษา
  • 4. สนับสนุนค่าใช้จ่ายในการบริหารหรือพัฒนากองทุนหลักประกันสุขภาพ ให้มีประสิทธิภาพ
  • 5.กรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติในพื้นที่
  • สถานะการเงิน
  • รายเดือน
  • รายไตรมาส
  • เอกสารดาวโหลด
  • แบบฟอร์ม LTC
  • แบบฟอร์มเบิกเงินหน่วยงาน
  • แบบฟอร์มเบิกเงินประชาชน
  • แบบฟอร์มเอกสารส่งโครงการ
  • แบบฟอร์มแผนสุขภาพ
  • แบบฟอร์มรายงานผลภาคหน่วยงาน
  • แบบฟอร์มรายงานผลภาคประชาชน
  • ฟอร์มเงินคืนเหลือจ่ายชุมชน
  • ตัวอย่างโครงการ

สมัครสมาชิก
เพื่อดาวน์โหลดเอกสารและรับข้อมูลข่าวสารเรา

โครงการส่งเสริมสุขภาพจิต เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุชุมชนบ้านชมพู

หมวดหมู่ : ข่าวสารกิจกรรม ลงข่าวเมื่อ : วันที่ 6 เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560, จำนวนคนดู : 464

ตัวอย่าง โครงการส่งเสริมสุขภาพในชุมชน
ตัวอย่าง โครงการส่งเสริมสุขภาพในชุมชน
  
ตัวอย่าง โครงการส่งเสริมสุขภาพในชุมชน

นายประดิษฐ์  เสริมสุข รองนายกเทศมนตรีเมืองเขลางค์นคร ได้เป็นประธานในการเปิดโครงการส่งเสริมสุขภาพจิต เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุชุมชนบ้านชมพู  ในวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2560 ณ.ศาลาเอนกประสงค์บ้านชมพู

ไฟล์ภาพประกอบ

ตัวอย่าง โครงการส่งเสริมสุขภาพในชุมชน
ตัวอย่าง โครงการส่งเสริมสุขภาพในชุมชน
ตัวอย่าง โครงการส่งเสริมสุขภาพในชุมชน
ตัวอย่าง โครงการส่งเสริมสุขภาพในชุมชน
ตัวอย่าง โครงการส่งเสริมสุขภาพในชุมชน
ตัวอย่าง โครงการส่งเสริมสุขภาพในชุมชน
ตัวอย่าง โครงการส่งเสริมสุขภาพในชุมชน

ข่าวสารกิจกรรมอื่น ๆ

  • โครงการเสริมสร้างประสิทธิภาพการป้องกันควบคุมโรคโควิด 19 ชุมชนหมอสม-วังแคว้ง : วันที่ 28 เดือน มีนาคม พ.ศ. 2565
  • โครงการชุมชนร่วมใจต้านภัยไข้เลือดออก ชุมชนบุญเกิด : วันที่ 28 เดือน มีนาคม พ.ศ. 2565
  • โครงการชุมชนร่วมใจต้านภัยไข้เลือดออก ชุมชนผาลาด : วันที่ 28 เดือน มีนาคม พ.ศ. 2565
  • โครงการชุมชนลำปางกลางตะวันตกร่วมใจออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ ปี2565 : วันที่ 28 เดือน มีนาคม พ.ศ. 2565
  • โครงการ ส่งเสริมสุขภาพผู้สูงวัย บ้านกอกชุม : วันที่ 21 เดือน มีนาคม พ.ศ. 2565
  • โครงการ ชุมชนสบตุ๋ยร่วมใจออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ ปี 2565 : วันที่ 21 เดือน มีนาคม พ.ศ. 2565
  • โครงการ ประชาชนร่วมใจป้องกันโรคโควิด-19 อย่างต่อเนื่อง ชุมชนกล้วยม่วง ปี 2565 : วันที่ 21 เดือน มีนาคม พ.ศ. 2565
  • โครงการ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ชุมชนหัวทุ่งสามัคคี : วันที่ 21 เดือน มีนาคม พ.ศ. 2565
  • โครงการ เสริมสร้างประสิทธิภาพการป้องกัน ควบคุมโรคโควิด 19 ในชุมชนมงคลกาญจณ์ : วันที่ 21 เดือน มีนาคม พ.ศ. 2565
  • โครงการเสริมสร้างประสิทธิภาพการป้องกันควบคุมโรคโควิด 19 ชุมชนสำเภา : วันที่ 14 เดือน มีนาคม พ.ศ. 2565

ตัวอย่างโครงการสร้างเสริมสุขภาพในชุมชนและสังคม

                มีโครงการหลายโครงการที่ภาครัฐได้ผลักดันให้เกิดขึ้นในชุมชน เพื่อสร้างเสริมสุขภาพในชุมชนและสังคม โครงการดังกล่าว ได้แก่

                 1 โครงการเมืองน่าอยู่ ชุมชนน่าอยู่

                       

ตัวอย่าง โครงการส่งเสริมสุขภาพในชุมชน

                            โครงการเมืองน่าอยู่ ชุมชนน่าอยู่ เป็นยุทธศาสตร์ที่สำคัญของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 โดยมีเป้าหมายเพื่อมุ่งสร้างความเข็มแข็งของชุมชน และเพื่อให้ประชาชนในชุมชนทุกคนมีสุขภาพดี นอกจากนี้ ยังมุ่งเน้นการพัฒนาสิ่งแวดล้อมของชุมชนด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมในทุกภาคส่วนของสังคม ซึ่งแกนนำที่สำคัญมีอยู่ 3 ภาคส่วน ได้แก่ ภาคประชาชน ภาคเจ้าหน้าที่ส่วนท้องถิ่น และภาคเจ้าหน้าที่ราชการส่วนกลางและส่วนภูมิภาค

                            ชุมชนที่น่าอยู่นั้นจะต้องเป็นชุมชนที่มีความปลอดภัย มีการจัดการด้านการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมที่ดี มีสถานที่สำหรับพักผ่อน และออกกำลังกายสำหรับคนในชุมชน ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนเอื้อให้บุคคลในชุมชนและสังคมมีสุขภาพที่ดี แต่การที่จะทำให้โครงการเมืองน่าอยู่ ชุมชนน่าอยู่ ประสบความสำเร็จได้นั้น จะต้องกระตุ้นให้ประชาชนในชุมชนเกิดความตระหนักต่อปัญหาในชุมชน เพื่อที่จะได้หาแนวทางและวิธีการแก้ไขปัญหาที่เหมาะสมร่วมกัน ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะเป็นก้าวแรกที่จะนำไปสู่ความสำเร็จของการทำเมืองน่าอยู่ ชุมชนน่าอยู่อย่างยั้งยืนและถาวร

                2 โครงการจัดตั้งศูนย์สุขภาพชุมชน

                          

ตัวอย่าง โครงการส่งเสริมสุขภาพในชุมชน
 

 ศูนย์สุขภาพชุมชน เป็นจุดบริการด่านแรกที่ประชาชนสามารถเข้าถึงได้ง่าย มีหน้าที่ให้บริการทางการแพทย์และสาธารณสุข การรักษา และการฟื้นฟูสมรรถภาพ เป็นจุดที่มีการดูแลสุขภาพให้แก่บุคคลในครอบครัว ชุมชน และสังคมอย่างต่อเนื่อง ด้วยแนวคิดแบบองค์รวม โดยมีระบบการส่งต่อและเชื่อมโยงกับโรงพยาบาลอย่างเหมาะสม รวมทั้งสามารถประสานกับองค์กรชุมชนในท้องถิ่นเพื่อพัฒนาความรู้ของประชาชนในการดูแลตนเองยามเจ็บป่วยได้ รวมถึงการส่งเสริมสุขภาพตนเองเพื่อให้บรรลุการมีสุขภาพที่ดี

                            การดำเนินโครงการ จะมีกิจกรรมการส่งเสริมสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับชุมชน ได้แก่ การสร้างสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ ได้แก่ การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ รวมถึงการจัดสิ่งแวดล้อมให้สอดคล้องและเหมาะสมกับการดำเนินชีวิต การทำงาน และการใช้เวลาว่าง การเพิ่มความสามารถของชุมชน เป็นการสร้างพลังและอำนาจให้กับชุมชนให้สามารถกำหนดมาตรการต่างๆ เพื่อพึ่งพาตนเองทางด้านสุขภาพได้ และการพัฒนาทักษะส่วนบุคคล เพื่อให้เกิดความรู้ และทักษะในการดำเนินชีวิตที่ถูกต้อง โดยรูปแบบของกิจกรรมเหล่านี้จะแตกต่างกันไปตามแต่ละวัฒนธรรมและความเหมาะสมของชุมชน                               

                  ผู้รับผิดชอบโครงการ : สำนักงานส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ถ.ติวานนท์ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000 โทรศัพท์ 0-2965-9446

                3  โครงการขยับกายสบายชีวี

                      

ตัวอย่าง โครงการส่งเสริมสุขภาพในชุมชน
                       

 โครงการขยับกายสบายชีวี เป็นอีกหนึ่งโครงการที่รัฐบาลจัดตั้งขึ้นมา เพื่อสนับสนุนให้คนไทยในทุกชุมชนได้มีการออกกำลังกาย โดยที่รัฐบาลจะร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต่างๆ สนับสนุนได้มีการออกกำลังกาย โดยที่รัฐบาลจะร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต่างๆ สนับสนุนให้เกิด ชมรมออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ ที่เป็นแกนหลักอย่างน้อยตำบล หรือเทศบาลละชมรมทั่วประเทศ เพื่อให้ชมรมดังกล่าวเป็นแกนประสานและส่งเสริมให้ประชาชนมีพฤติกรรมการออกกำลังมากขึ้น มีจุดประสงค์เพื่อสร้างความสมบูรณ์แข็งแรงของร่างกายและจิตใจ เช่น การลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ และโรคหลอดเลือด โรคความดันเลือดสูง โรคเบาหวาน โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ และโรคอื่น ๆ รวมทั้งป้องกันและลดปัญหาผู้ติดยาเสพติด เป็นต้น ตลอดจนการเสริมสร้างคุณภาพชีวิต

                            การดำเนินงานจะมีหน่วยงานทั้งจากภาครัฐและเอกชนเป็นผู้สนับสนุนให้ประชาชนมีการรวมตัวกันเป็นชมรมสร้างสุขภาพ โดยใช้แหล่งที่อยู่ของประชาชนเป็นจุดรวมกลุ่มรวมชมรม เช่น ในหมู่บ้านหรือชุมชน ในสถานที่ประกอบการ ในโรงเรียน เป็นต้น นอกจากนี้ ก็จะมีการสร้างผู้นำออกกำลังกายหรือแกนนำให้มีความสามารถในการออกกำลังกายอย่างถูกต้อง และมีความรู้เรื่องการสร้างสุขภาพอื่น ๆ เช่น จัดให้มีเวทีแลกเปลี่ยนความรู้ทางวิชาการ เป็นต้น การออกกำลังกายควรมีการประยุกต์ภูมิปัญญาท้องถิ่นให้เข้ากับรูปแบบการออกกำลังกาย เมื่อการดำเนินงานประสบผลสำเร็จเกิดเป็นความยั่งยืน จนเป็นวิถีชีวิตที่จะต้องมีการออกกำลังกายเป็นประจำแล้ว คนในชุมชนก็จะมีสุขภาพที่แข็งแรงถาวรและยั่งยืน

                            ผู้รับผิดชอบโครงการ : กองออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ถ.ติวานนท์ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000 โทรศัพท์ 0-2590-4582-94

                4 โครงการชมรมสร้างสุขภาพ

                            

ตัวอย่าง โครงการส่งเสริมสุขภาพในชุมชน

โครงการชมรมสร้างสุขภาพ เป็นโครงการที่จัดตั้งขึ้นเพื่อให้ประชาชนในชุมชนที่มีความสนใจ ในกิจกรรมเหมือน ๆ กันมารวมกลุ่มกัน แล้วจัดตั้งขึ้นเป็นชมรมสร้างสุขภาพ โดยในแต่ละชุมชนอาจมีหลายชมรมขึ้นอยู่กับความสนใจในกิจกรรมนั้น ๆ ชมรมสร้างสุขภาพจัดตั้งขึ้นเพื่อให้ประชาชนรวมกลุ่มกันจัดกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพสำหรับตนเอง ครอบครัว และชุมชนอย่างต่อเนื่องและเกื้อกูลกัน มีเครือข่ายที่เข้มแข็งในการสร้างสุขภาพของภาคประชาชน ภาคเอกชน และภาครัฐ เป็นแหล่งพบปะสังสรรค์ของสมาชิก และจัดกิจกรรมด้านสุขภาพ เช่น การออกกำลังกาย การสาธิต การทำอาหารเพื่อสุขภาพ การตรวจสุขภาพให้กับสมาชิกรวมไปถึงการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารความรู้ด้านสุขภาพระหว่างสมาชิกในชมรมและชมรมอื่น ๆ

                            การดำเนินงานของชมรมจะแบ่งเป็น 3 ระดับ คือระดับที่ 1 ชมรมจะจัดกิจกรรมสร้างสุขภาพให้แก่สมาชิก ได้แก่ การจัดกิจกรรมการออกกำลังกาย การจัดกิจกรรมเสริมสร้างทักษะด้านสุขภาพเรื่องการบริโภคอาหารที่สะอาดปลอดภัยและได้คุณค่า ระดับที่ 2 จัดกิจกรรม เหมือนในระดับที่ 1 แต่เพิ่มกิจกรรมเสริมสร้างทักษะเรื่องอารมณ์ อนามัยชุมชน และอโรคยา และระดับที่ 3 จัดกิจกรรมเหมือนในระดับที่ 1 และที่ 2 แต่เพิ่มกิจกรรมการวิเคราะห์ปัญหาสุขภาพของสมาชิกชมรม วางแผนการจัดกิจกรรมเสริมสร้างสุขภาพของชมรม ประเมินผลสุขภาพของสมาชิกในชมรม และมีการแลกเปลี่ยนข่าวสารและดำเนินงานร่วมกับชมรมอื่น หากชมรมทำได้ทั้ง 3 ระดับนี้ ก็จะทำให้สมาชิกในชมรมและชุมชนมีสุขภาพกายและจิตที่แข็งแรง และเกิดการสร้างสุขภาพที่ยั่งยืนได้

                            ผู้รับผิดชอบโครงการ : กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข อาคาร 4 ชั้น 5 ตึกสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ถ.ติวานนท์ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000 โทรศัพท์ 0-2590-1614