ระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม iso 14000

ความเป็นมาการจัดตั้งสถาบันรับรองมาตรฐานไอเอสโอ

รัฐบาลได้มีนโยบายให้ปรับบทบาทของรัฐ จากที่เป็นผู้ดำเนินการมาเป็นผู้วางกฎเกณฑ์ กำกับดูแล รักษากติกา วางแผนและประสานงาน และส่งเสริมให้ภาคเอกชนเข้ามาเป็นผู้ลงทุนและดำเนินการแทนในกิจกรรมที่รัฐไม่มีความจำเป็นต้องดำเนินการเอง และตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2539 เห็นชอบแผนแม่บทอุตสาหกรรมฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2540 – 2544) ซึ่งกำหนดแนวทางและมาตรการสนับสนุนให้กระทรวงอุตสาหกรรมกระจายงานรับรองมาตรฐานไอเอสโอให้สถาบันอิสระหรือเอกชน จึงมอบหมายให้กระทรวงอุตสาหกรรมจัดตั้งสถาบันรับรองมาตรฐาน ISO 9000 และ ISO 14001 โดยให้ปรับเปลี่ยนบทบาทของสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) ให้สอดคล้องกับลักษณะสากล คือ เป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่รับรองระบบงาน (Accreditation Agency) และเจรจาเพื่อปกป้องผลประโยชน์ของประเทศ

กระทรวงอุตสาหกรรมได้ดำเนินการเสนอขออนุมัติจัดตั้งสถาบันรับรองมาตรฐานไอเอสโอ ตามมติ ครม. ข้างต้น และ ครม.เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2540 อนุมัติให้จัดตั้งสถาบันรับรองมาตรฐานไอเอสโอ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรองรับการถ่ายโอนภารกิจด้านการรับรองตามมาตรฐาน ISO 9000 และ ISO 14000 และมาตรฐานอื่นๆ ที่จะมีในอนาคต จาก สมอ.  เพื่อให้ สมอ.สามารถปรับเปลี่ยนบทบาทเป็นหน่วยรับรองระบบงาน (Accreditation Agency) และควบคุมดูแลมาตรฐานการทำงานตามรูปแบบของระบบมาตรฐานที่สากลยอมรับ  และเพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพและคุณภาพของอุตสาหกรรมให้ทัดเทียมกับประเทศอื่น และพัฒนาบุคลากรให้มีมาตรฐานและเพียงพอที่จะรองรับงานในระดับสากลได้

กระทรวงอุตสาหกรรม มีคำสั่งกระทรวงอุตสาหกรรม ที่ 300/2541 เรื่อง การจัดตั้งสถาบันรับรองมาตรฐานไอเอสโอ เมื่อวันที่ 10 กันยายน 2541 เป็นสถาบันเครือข่ายของกระทรวงอุตสาหกรรม ภายใต้อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ โดยมีวัตถุประสงค์  และหน้าที่ความรับผิดชอบ ดังนี้

วัตถุประสงค์

  1. ดำเนินงานด้านการให้บริการรับรองตามมาตรฐานไอเอสโอ และมาตรฐานระบบอื่นๆ
  2. เสริมสร้างประสิทธิภาพและคุณภาพของอุตสาหกรรม
  3. เพิ่มขีดความสามารถด้านการรับรองของประเทศให้ทัดเทียมกับประเทศอื่นๆ
  4. พัฒนาบุคลากรทั้งภาครัฐและเอกชนให้มีคุณสมบัติตามเกณฑ์มาตรฐานและเพียงพอที่จะรองรับงานในระดับสากลได้

หน้าที่ความรับผิดชอบ

  1. ให้การรับรองระบบบริหารคุณภาพ ตามมาตรฐาน มอก. ISO 9000 การรับรองระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม ตามมาตรฐาน มอก. ISO 14000
    การรับรองระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ตามมาตรฐาน มอก. 18000  และมาตรฐานระบบอื่นๆ ที่จะมีในอนาคต
    ตลอดจนการตรวจติดตามผล เพื่อรักษาคุณภาพของการรับรอง
  2. พัฒนาบุคลากรด้านการตรวจประเมินให้มีคุณสมบัติตามมาตรฐานสากล
  3. เข้าร่วมในกิจกรรมการพัฒนาบุคลากรด้าน ISO 9000 ISO 14000  มอก. 18000 และระบบอื่นๆ
  4. เข้าร่วมในกิจกรรมการพัฒนาและปรับปรุงหลักเกณฑ์เกี่ยวกับขั้นตอนและวิธีการรับรองบุคลากร และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
  5. เข้าร่วมในกิจกรรมด้านการรับรอง ISO 9000 ISO 14000 และระบบอื่นๆ ขององค์กรระดับสากลและภูมิภาค เช่น ISO  APEC และ ASEAN
  6. ประสานความร่วมมือระหว่างภาคอุตสาหกรรมและภาครัฐ ในการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคทั้งเชิงเทคนิควิชาการ และเชิงนโยบาย ในส่วนที่เกี่ยวกับการรับรอง ISO 9000 ISO 14000  มอก. 18000 และระบบอื่นๆ
  7. ปฏิบัติการอื่นใดที่เกี่ยวกับมาตรฐานระบบบริหารคุณภาพ ISO 9000 มาตรฐานระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม ISO 14000 มาตรฐานระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย มอก. 18000 และมาตรฐานระบบอื่นๆ หรือตามที่ได้รับมอบหมายจากกระทรวงอุตสาหกรรม หรือคณะรัฐมนตรี

VDO แนะนำสถาบัน


วิสัยทัศน์ (Vision)

เป็นผู้นำการพัฒนาอุตสาหกรรมไทย สู่ความเป็นเลิศด้านความสามารถในการดำเนินการอย่างยั่งยืน และสามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก


พันธกิจ (Mission)

ช่วยสนับสนุนให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีการเติบโต มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ บริการและองค์กร อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน ด้วยการให้บริการด้านข้อมูลและองค์ความรู้ การฝึกอบรม การพัฒนามาตรฐาน และการตรวจสอบรับรอง


วัฒนธรรมองค์กร

สรอ. มีการสร้างวัฒนธรรมองค์กร S5 Culture ที่ส่งเสริมการดำเนินธุรกิจของสถาบันฯ ได้แก่

  1. SMART
    • Self Learning
    • Mastery
    • Agility
    • Resourcefulness
    • Trustworthiness
  2. Strategy Execution
  3. Service Excellence
  4. Sustainable Innovation
  5. Sharing

แนวทางในการดำเนินธุรกิจ (MASCI’s Business Approach)

มุ่งเน้นการดำเนินการเพื่อความเป็นเลิศด้านความสามารถในการดำเนินการอย่าง ยั่งยืน (Sustainability Excellence: SE) ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียตามหลัก Triple Bottom Line ใน 3 ด้าน คือ เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม

ระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม iso 14000


ลิ้งค์เกี่ยวข้อง
www.tisi.go.th

ISO 14001:2015 เป็นมาตรฐานสากลสำหรับระบบการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมขององค์กร เพื่อเพิ่มสมรรถนะสิ่งแวดล้อมภายในองค์กร และเพื่อความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม

ISO 14001:2015 มาตรฐานสากลฉบับนี้มีเจตนารมณ์เพื่อใช้สำหรับองค์กรที่ต้องการบริหารจัดการกับความรับผิดชอบด้านสิ่งแวดล้อมของตนอย่างเป็นระบบ โดยใช้ข้อกำหนดที่ได้ระบุไว้ในมาตรฐานระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมเป็นแนวทางในการปฏิบัติ เพื่อตอบสนองต่อความคาดหวังของระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม ซึ่งประกอบด้วยการเพิ่มสมรรถนะด้านสิ่งแวดล้อม การดำเนินการให้สอดคล้องตามกฎหมายและพันธะสัญญาที่เกี่ยวข้อง และความสามารถในการบรรลุวัตถุประสงค์ด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมขององค์กรเอง เพื่อทำให้เกิดคุณค่าต่อองค์กร ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย สิ่งแวดล้อม และสอดคล้องกับนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมขององค์กร รวมถึงเพื่อความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมอีกด้วย

มาตรฐานสากลฉบับนี้ใช้ได้กับทุกองค์กร ทุกขนาด และทุกประเภท โดยพิจารณาจากประเด็นปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม (environmental aspects) จากกิจกรรม ผลิตภัณฑ์ และบริการ ที่องค์กรพิจารณาแล้วว่าสามารถควบคุม หรือดำเนินการผลักดันอย่างใดอย่างหนึ่งได้ โดยการพิจารณาทั้งวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์และบริการ ( life cycle perspective) ซึ่งสามารถนำไปใช้ได้กับทุกกิจกรรม หรือบางกิจกรรมขององค์กร เพื่อให้เกิดการปรับปรุงระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นระบบ.

มาตรฐานที่ใช้ได้กับทุกองค์กรและมาตรฐาน ISO อื่น

ISO 14001:2015 เน้นบทบาทของผู้บริหารระดับสูงที่จะต้องให้ความสำคัญกับความต้องการ ความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และผู้ที่เกี่ยวข้อง องค์กรทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นภาคอุตสาหกรรมการผลิตหรือภาคบริการทั้งรัฐและเอกชน สามารถนำระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม ISO 14001:2015 ไปใช้ได้ และไม่มีขีดจำกัดว่าต้องใช้กับองค์กรขนาดใหญ่ที่มีการลงทุนสูง และมีบุคลากรจำนวนมากเท่านั้น แต่ยังสามารถใช้ได้กับองค์กรที่เป็นวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) อีกด้วย โดย ISO 14001:2015 จะช่วยยกระดับระบบการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมขององค์กร ทั้งนี้ ISO 14001:2015 ได้ใช้โครงสร้างของข้อกำหนดที่เป็นโครงสร้างเดียวกันกับหลายๆ มาตรฐาน ได้แก่ ISO 9001:2015, ISO 22301:2012 และ ISO 27001:2013 ทำให้องค์กรสามารถนำมาตรฐานต่างๆ มาบูรณาการ (Integrate) เพื่อสะดวกในการประยุกต์ใช้ภายในองค์กร

ประโยชน์ที่ได้รับภายในองค์กร

  1. ทราบหลักการของข้อกำหนดในมาตรฐาน ISO 14001:2015 และการนำมาตรฐานดังกล่าวไปประยุกต์ใช้ในการจัดทำระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมได้
  2. สามารถพิจารณาประเด็นภายนอกและภายในที่เกี่ยวข้องกับจุดประสงค์และทิศทางกลยุทธ์องค์กร
  3. สามารถชี้บ่งผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย วิเคราะห์ และประเมินความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม
  4. สามารถนำมาตรฐานดังกล่าวไปประยุกต์ใช้ในกิจกรรมการตรวจติดตามภายในองค์กรได้
  5. เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลต่อสิ่งแวดล้อมภายในองค์กร
  6. เป็นส่วนหนึ่งของการมุ่งสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน
  7. มีโครงสร้างมาตรฐานที่สามารถบูรณาการ (Integrate) ร่วมกับมาตรฐาน อื่นๆ ได้

ประโยชน์ที่ได้รับภายนอกองค์กร

  1. ลูกค้าเกิดความมั่นใจในประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมของสินค้าและบริการ
  1. การจัดการเป็นที่ยอมรับในระดับสากล
  2. บรรลุความต้องการและความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
  3. เสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
  4. เพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน

The Principles of Environmental Management:

  1. Polluter Pays Principle (PPP)
  2. The User Pays Principle (UPP)
  3. The Precautionary Principle (PP)
  4. Principle of Effectiveness and Efficiency
  5. The Principle of Responsibility
  6. The Principle of Participation
  7. The Principle of Proportionality

ดาวน์โหลดแบบฟอร์มต่างๆ

มาตรฐานระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม (ISO 14001)

1. แบบฟอร์มร้องขอให้เสนอราคา Download
2. ขั้นตอนการขอการรับรองระบบการจัดการ Download
3. แบบฟอร์มคำขอการรับรองระบบ Download
4. แบบฟอร์มข้อมูลเกี่ยวกับการรับรองระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม Download
5. ข้อกำหนดทั่วไปว่าด้วยหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการรับรองระบบการบริหารจัดการ Download
6. การตรวจประเมินเพื่อการรับรองระบบการบริหารจัดการ Download
7. แนวทางการดำเนินการในการปรับเปลี่ยนสู่ ISO14001-2015 Download
8. ข้อกำหนดทั่วไปว่าด้วยหลักเกณฑ์และเงื่อนไขใน การรับรองระบบการบริหารจัดการกรณีการโอนการรับรองจากหน่วยรับรองอื่น Download