พลังงานแบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่

พลังงานแบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่

การเกิดกระแสไฟฟ้าเหนี่ยวนำ

พฤษภาคม 3, 2019

พลังงานแบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่

ประวัติความเป็นมาของไฟฟ้า

พฤษภาคม 5, 2019

: 156,379

พลังงาน (Energy) หมายถึง ความสามารถในการทำงานหรือทำให้เกิดงาน ผลการทำงานของแรงนั้นทำให้วัตถุหรือสิ่งใด ๆ เคลื่อนที่ หรือเคลื่อนไหว พลังงานนั้นสามารถจัดเก็บไว้ได้พลังงานไม่สามารถถูกทำลายได้ แต่สามารถเปลี่ยนแปลงจากรูปหนึ่งไปเป็นอีกรูปหนึ่งได้ เช่น พลังงานแสงเป็นพลังงานไฟฟ้า พลังงานไฟฟ้า เป็น พลังงานกล หรือ พลังงานความร้อน เป็นต้น

พลังงานแบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่

มนุษย์เรารู้จักกับพลังงานและนำพลังงานมาใช้ให้เกิดประโยชน์กับตัวเอง เมื่อประมาณเกือบๆล้านปีมาแล้วพลังงานที่ใช้และค้นพบยุคแรกคือพลังงานจาก “ไฟ” โดยที่มนุษย์โบราณนำมาใช้ในการให้ความอบอุ่นกับตัวเอง และใช้ในการหุงหาอาหาร ป้องกันสัตว์ร้ายและในยุคต่อ ๆมา ประมาณพันกว่าปี ก่อนชาวอียิปต์ได้เรียนรู้ที่จะประยุกต์ เอาพลังงานลมมาใช้ในการเดินเรือ ซึ่งก็เป็นที่มาของใบพัดเรือและกังหันวิดน้าพลังงานลม ต่อมาสักประมาณ 200 กว่าปี ก็มีการค้นพบพลังงานรูปแบบต่างมากมายไม่ว่าจะเป็น พลังงานไฟฟ้า พลังงานจากน้ำมัน พลังงานน้ำ พลังงานกล

เราจำแนก พลังงาน โดยแบ่งตามแหล่งที่มา ออกเป็น 2 ประเภท คือ

พลังงานต้นกำเนิด (Primary Energy)  หมายถึง แหล่งพลังงานที่เกิดขึ้น หรือมีอยู่แล้วตามธรรมชาติสามารถนำมา ใช้ประโยชน์ได้โดยตรง ได้แก่ น้ำ แสงแดด ลม เชื้อเพลิงตามธรรมชาติ เช่น น้ำมันดิบ ถ่านหิน ก๊าซธรรมชาติ พลังงานความร้อนใต้พิภพ แร่นิวเคลียร์ ไม้ฟืน แกลบ ชานอ้อย เป็นต้น

พลังงานแปรรูป (Secondary Energy) หมายถึง สภาวะของพลังงานซึ่งได้มาโดยพลังงานต้นกำเนิดดังกล่าวแล้วข้างต้นมาแปรรูป ปรับปรุง ปรุงแต่ง ให้อยู่ในนรูปที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในลักษณะต่าง ๆ ได้ตามความต้องการ เช่น พลังงานไฟฟ้า ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม ถ่านไม้ ก๊าซปิโตรเลียมเพลว เป็นต้น

เราสามารถ จำแนกรูปแบบของพลังงานได้หลายลักษณะ ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการศึกษา และการนำไปใช้ประโยชน์ ซึ่งพลังงานรูปแบบหนึ่ง สามารถเปลี่ยนไปเป็นอีกรูปหนึ่งได้ โดยสามารถจำแนก ได้ดังนี้

  1. พลังงานเคมี (Chemical Energy) เป็นพลังงานที่อยู่นสารเคมี หรือ วัตถุอัตรายซึ่งจะปล่อยออกมาเมื่อเกิดปฏิกิริยาเคมีเช่น การเผาที่ใช้ ฟืน , ถ่านไม้ , น้ำมันเชื้อเพลิง เป็นต้น
  2. พลังงานความร้อน (Heat Energy/Thermal Energy) เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวของโมเลกุลของวัตถุต่าง ๆซึ่งพลังงานความร้อนต้องเกิดจากการกระตุ่น เช่น ใช้เตาแก๊สต้มน้ำ ทำให้เกิดความร้อนขึ้นมาได้
  3. พลังงานจลน์ (Kinetic Energy) เป็นพลังงานที่เกิดขึ้นเมื่อวัตถุเคลื่อนที่ เช่น รถที่กำลังวิ่ง ลูกธนูที่พุ่งออกจากแหล่ง
  4. พลังงานศักย์ (Potential Energy) เป็นพลังงานที่เกิดขึ้นเมื่อวัตถุถูกวางอยู่ในตำแหน่ง ที่สามารถเคลื่อนที่ได้ ไม่ว่าจากแรงโน้มถ่วง หรือ แรงดึงดูดจากแม่เหล็ก เช่น ก้อนหินที่วางอยู่บนขอบที่สูง แล้วล่วงลงสู่พื้น
  5. พลังงานไฟฟ้า (Electric Energy) เป็นพลังงานที่ใช้มากที่สุดในปัจจุบัน เนื่องจากเป็นพลังงานที่ สามารถเปลี่ยนเป็นพลังงานรูปอื่นได้ง่าย เปลี่ยนเป็นพลังงานกล เช่น พัดลม มอเตอร์ เป็นต้น
  6. พลังงานคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Electromagnetic Energy) เป็นลักษณะการแผ่รังสีของพลังงาน เช่น คลื่นวิทยุและคลื่นไมโครเวฟ ซึ่งเป็นคลื่นที่เกิดจากเครื่องใช้ไฟฟ้า

ที่มา :  stable.co.th

adminAugust 24, 2019Comments are off for this post.

เรามักจะได้ยินคนพูดถึงเรื่องพลังงานกันบ่อยครั้ง ไม่ว่าจะเป็นความเกี่ยวข้องของมนุษย์กับการใช้พลังงาน นวัตกรรมเกี่ยวกับการพัฒนาต่อยอดในเรื่องพลังงาน ไปจนถึงรูปแบบและวิธีการในการอนุรักษ์พลังงานที่เราใช้กันอยู่ทุกวัน แต่หลายคนก็ยังไม่เข้าใจจริงๆ ว่าพลังงานคืออะไรกันแน่ มันคือไฟฟ้า น้ำมัน และแก๊สหุงต้มหรือเปล่า แล้วเราจะรู้ได้ยังไงว่าอะไรจะเข้าข่ายเป็นพลังงานได้บ้าง วันนี้เราจะมาทำความเข้าใจให้ชัดเจนมากขึ้นไปพร้อมๆ กัน

นิยามของพลังงาน

ถ้าอธิบายตามสมการในเชิงฟิสิกส์ เราจะพบว่าพลังงานก็คืออีกรูปแบบหนึ่งของงาน ซึ่งงานนั้นจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อมีการกระทำบางอย่างในช่วงระยะเวลาหนึ่งๆ พลังงานจึงเป็นสิ่งที่มีอยู่ไม่ว่าเราจะมองเห็นหรือไม่ แต่มันจะมีผลกระทบต่อบางสิ่งบางอย่างได้ เช่น พลังงานความร้อน ทำให้เกิดความร้อนได้ พลังงานกล ทำให้เกิดการเคลื่อนไหวได้ เป็นต้น เรานิยมวัดหน่วยพลังงานเป็นจูล เช่นเดียวกับการวัดหน่วยของงาน และในภาคคำนวณเราสามารถทดแทนกันระหว่างงานกับพลังงานได้ พูดให้เข้าใจได้ง่ายก็คือ สถานการณ์หนึ่งมีค่าของงานเท่าไร ก็สามารถตีความได้ว่ามีค่าของพลังงานเท่าเทียมกัน

พลังงานในธรรมชาติมีอยู่หลายรูปแบบ และมันสามารถเปลี่ยนรูปแบบไปมาได้โดยไม่มีพลังงานส่วนใดที่สูญหายไป ตัวอย่างของการแปรรูปพลังงานก็คือ การเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์ให้เป็นพลังงานความร้อนหรือพลังงานไฟฟ้า การเปลี่ยนพลังงานน้ำเป็นพลังงานไฟฟ้า เป็นต้น การเปลี่ยนรูปพลังงานบางอย่างก็เกิดขึ้นได้เองโดยที่เราไม่ต้องทำอะไร แต่บางอย่างก็ต้องอาศัยเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์เข้ามาช่วย

ประเภทของพลังงาน

            จริงๆ แล้วประเภทของพลังงานมีค่อนข้างเยอะ แล้วมันก็มีโอกาสจะเพิ่มขึ้นได้อีกหากมีการค้นพบเพิ่มเติมในภายหลัง ดังนั้นวันนี้เราจึงจะมาแนะนำให้รู้จักกับประเภทของพลังงานที่สำคัญๆ เท่านั้น และเป็นประเภทพลังงานที่มีความเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของมนุษย์ด้วย betflix123

1. พลังงานความร้อน อะไรก็ตามที่ทำให้เราสัมผัสได้ถึงอุณหภูมิที่เพิ่มสูงขึ้น ก็ล้วนแล้วแต่มีพลังงานความร้อนรวมอยู่ด้วยทั้งหมด ตัวอย่างของแหล่งกำเนิดพลังงานความร้อนได้แก่ ดวงอาทิตย์ หลอดไฟ กองไฟ เป็นต้น นอกจากนี้ก็ยังมีพลังงานความร้อนที่อยู่ในลักษณะของการเปลี่ยนแปลงเชิงเคมีในร่างกายอีกด้วย นั่นก็คือระดับแคลอรีของระบบเผาผลาญนั่นเอง

2. พลังงานไฟฟ้า ส่วนใหญ่แล้วพลังงานไฟฟ้าเป็นประเภทที่ได้รับการแปรรูปมาแล้วจากพลังงานประเภทอื่นๆ ไม่ว่าจะมาจากพลังงานความร้อน พลังงานคลื่น พลังงานเคมี พลังงานเกือบทุกประเภทสามารถดัดแปลงให้เป็นพลังงานไฟฟ้าได้หมด ต่างกันเพียงแค่ว่าอะไรจะต้องใช้งบประมาณมากกว่ากัน และมันคุ้มค่าที่จะลงทุนหรือไม่เท่านั้นเอง