คําที่มาจากภาษาจีน หมวดอาหาร

ยินดีต้อนรับสู่  satakarn99 เว็บไซต์เพื่อการศึกษาภาษาไทย ภาษาล้านนา และส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม

Show

คําที่มาจากภาษาจีน หมวดอาหาร
คําที่มาจากภาษาจีน หมวดอาหาร
คําที่มาจากภาษาจีน หมวดอาหาร
คําที่มาจากภาษาจีน หมวดอาหาร
คําที่มาจากภาษาจีน หมวดอาหาร
 

จัดทำโดย  ครูอิ่นคำ    ศตกาญจน์  กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย  โรงเรียนบุญเรืองวิทยาคม  ต.บุญเรือง  อ.เชียงของ  จ.เชียงราย  สพม. ๓๖ 

 

                                            คำที่มาจากภาษาจีน

             

ไทยและจีนมีการติดต่อเจริญสัมพันธไมตรี และค้าขายแลกเปลี่ยนสินค้าและศิลปะ วัฒนธรรมอันดีงามมา  เป็นเวลานาน ชาวจีนที่มาค้าขายได้เข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่ในประเทศไทยเป็นจำนวนมาก ภาษาจีนจึงเข้ามาสู่ไทยโดยทางเชื้อชาติ  และใช้ปะปนภาษาไทยมานานแล้ว   
               การยืมคำภาษาจีนมาใช้ในภาษาไทยนั้น เราได้มาจากภาษาพูดไม่ใช่ภาษาเขียน เพราะระบบการเขียนภาษาจีนต่างกับภาษาไทยมาก ภาษาจีนเขียนอักษรแทนคำเป็นตัว ๆ ไม่มีการประสมสระ พยัญชนะ คำภาษาจีนที่มีใช้ในภาษาไทย นำมาเป็นคำเรียกชื่อ เครื่องใช้  ยาสมุนไพร สัตว์ อาหาร เครื่องแต่งกาย ธุรกิจการค้า มหรสพ และอื่น ๆ 
                ภาษาจีนมีลักษณะคล้ายคลึงกับภาษาไทยมาก คือ เป็นภาษาคำโดด มีเสียงวรรณยุกต์ย เมื่อนำคำภาษาจีนมาใช้ในภาษาไทยซึ่งมีวรรณยุกต์และสระประสมใช้จึงทำให้สามารถออกเสียงวรรณยุกต์และสระตามภาษาจีนได้อย่างง่ายดาย คำภาษาจีนยังมีคำที่บอกเพศในตัวเช่นเดียวกับภาษาไทยอีกด้วย เช่น เฮีย (พี่ชาย) ซ้อ (พี่สะใภ้) เจ๊ (พี่สาว) นอกจากนี้การสะกดคำภาษาจีนในภาษาไทยยังใช้ตัวสะกดตรงตามมาตราตัวสะกดทั้ง 8 มาตรา

หลักการสังเกตคำภาษาไทยที่มาจากภาษาจีน

  1. นำมาเป็นชื่ออาหารการกิน เช่น ก๋วยเตี๋ยว เต้าทึง แป๊ะซะ เฉาก๊วย จับฉ่าย เป็นต้น
  2. เป็นคำที่เกี่ยวกับสิ่งของเครื่องใช้ที่เรารับมาจากชาวจีน เช่น ตะหลิว ตึก เก้าอี้ เก๋ง ฮวงซุ้ย
  3. เป็นคำที่เกี่ยวกับการค้าและการจัดระบบทางการค้า เช่น เจ๋ง บ๋วย หุ้น ห้าง โสหุ้ย เป็นต้น
  4. เป็นคำที่ใช้วรรณยุกต์ตรี จัตวา เป็นส่วนมาก เช่น ก๋วยจั๊บ กุ๊ย เก๊ เก๊ก ก๋ง ตุ๋น เป็นต้น

วิธีนำคำยืมภาษาจีนมาใช้ในภาษาไทย 

             ไทยนำคำภาษาจีนมาใช้ โดยมากไทยเลียนเสียงจีนได้ใกล้เคียงกว่าชาติอื่น ๆ เช่น เกาเหลา ตั้งฉ่าย เต้าทึง เต้าหู้ เต้าฮวย บะฉ่อ พะโล้ แฮ่กึ้น เป็นต้น มีบางคำที่นำมาตัดทอนและเปลี่ยนเสียง เช่น เตี้ยะหลิว ตะหลิว บ๊ะหมี่ บะหมี่ ปุ้งกี ปุ้งกี๋

ตัวอย่างคำยืมที่มาจากภาษาจีน 
              กงสี กงฉิน กงไฉ่ กงเต็ก ก๋วยเตี๋ยว ก๋วยจั๊บ เกาหลา กุ๊ย เก๊ เก๊ก เกี้ยว เกี๊ยว เกี๊ยะ กุยเฮง เก๊ก ก๋ง เก้าอี้ ขาก๊วย เข่ง จับกัง จับฉ่าย จับยี่กี จันอับ เจ๊ง เจี๋ยน เจ เฉาก๊วย เซ้ง เซียน แซ่ แซยิด เซ็งลี้ ซาลาเปา ซิ้ม ตะหลิว เต๋า ตุน ตุ๋น แต๊ะเอีย เต้าหู้ เต้าฮวย เต้าเจี้ยว โต๊ะ ไต้ก๋ง ตังเก บ๊วย บะฉ่อ บะหมี่ บู๊ ปุ้งกี๋ ปอเปี๊ยะ แป๊ะเจี๊ยะ พะโล้ เย็นตาโฟ หวย ยี่ห้อ ลิ้นจี่ ห้าง หุ้น เอี๊ยม โสหุ้ย เฮงซวย ฮวงซุ้ย ฮ่องเต้ อั้งโล่


--------------------------------------------------------------------------------

คำที่มาจากภาษาชวา

             

ภาษาชวา ปัจจุบันเรียกว่าภาษาอินโดนีเซีย เป็นภาษาตระกูลคำติดต่อ ตระกูลเดียวกับภาษามลายู ภาษาชวาที่ไทยยืมมาใช้ส่วนมากเป็นภาษาเขียน ซึ่งรับมาจากวรรณคดีเรื่อง ดาหลังและอิเหนาเป็นส่วนใหญ่ ถ้อยคำภาษาเหล่านี้ใช้สื่อสารในวรรณคดี และในบทร้อยกรองต่าง ๆ มากกว่าคำที่นำมาใช้สื่อสารในชีวิตประจำวัน

การยืมคำภาษาชวา-มลายูมาใช้ในภาษาไทย

  1. ใช้ในการแต่งคำประพันธ์ เช่น บุหรง บุหลัน ระตู ปาหนัน ตุนาหงัน เป็นต้น
  2. ใช้สื่อสารในชีวิตประจำวัน เช่น กัลปังหา กุญแจ กระดังงา ซ่าหริ่ม ประทัด  ทุเรียน น้อยหน่า บุหลัน เป็นต้น

ตัวอย่างคำภาษาชวา-มลายูในภาษาไทย

              กะพง กระจูด กะลาสี กะลุมพี กำยาน กำปั่น กระยาหงัน (สวรรค์) กะละปังหา กระแชง จับปิ้ง จำปาดะ ตลับ ทุเรียน บูดู ปาเต๊ะ มังคุด สละ สลัก สลาตัน สลัด สุจหนี่ โสร่ง หนัง ยะลา เบตง น้อยหน่า กริช กิดาหยัน (มหาดเล็ก) กุหนุง (เขาสูง) กุญแจ การะบุหนิง (ดอกแก้ว) กระดังงา อิเหนา อังกะลุง อสัญแดหวา (เทวดา) ตุนาหงัน (คู่หมั้น) ยิหวา (ดวงใจ) บุหรง (นกยูง) บุหลัน (ดวงจันทร์) บุหงา (ดอกไม้) อุรังอุตัง สะตาหมัน (สวน) บุหงารำไป ปาหนัน (ดอกลำเจียก) รำมะนา การะบุหนิง (ดอกแก้ว) กิดาหยัน (มหาดเล็ก) ซ่าโบะ (ผ้าห่ม) ซ่าหริ่ม ดาหงัน (สงคราม) ปันหยี ปั้นเหน่ง ประทัด บุษบามินตรา (ดอกพุทธรักษา) มาลาตี (ดอกมะลิ) มินตรา (ต้นกระถิน) มิรันตี (ดาวเรือง) สะการะตาหรา (ดอกกรรณิการ์) ตันหยง (ดอกพิกุล) กาหลา (ชื่อดอกไม้) ประไหมสุหรี มะเดหวี ระตู (เจ้าเมือง)

------------------------------------------------------------

คำที่มาจากภาษาอังกฤษ

               

ภาษาอังกฤษเป็นภาษาในตระกูลอินโด-ยุโรเปียน  เป็นภาษามีวิภัตติปัจจัย     เช่นเดียวกับภาษาบาลีสันสกฤต ภาษาอังกฤษได้รับความนิยมใช้เป็นภาษาเพื่อการสื่อสารมากที่สุด มีประเทศต่าง ๆ ยอมรับภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการ ภาษาอังกฤษจึงกลาย เป็นภาษาสากลของชาวโลก คนไทยได้ศึกษาภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สองมาเป็นเวลานาน จนภาษาอังกฤษเข้ามามีอิทธิพลต่อชีวิตของคนไทยมากขึ้น ทั้งในด้านการพูดและการเขียนสื่อสารในชีวิตประจำวัน ในปัจจุบันคนไทยศึกษาความรู้และวิทยาการต่าง ๆ จากตำราภาษาอังกฤษ และสนใจเรียนรู้ภาษาอังกฤษกันมากขึ้น คำยืมจากภาษาอังกฤษจึงหลั่งไหลเข้ามาในภาษาไทยมากขึ้นทุกขณะทั้งในวงการศึกษา วิทยาศาสตร์  เทคโนโลยี  ธุรกิจ การเมือง การบันเทิง เป็นต้น

การยืมคำภาษาอังกฤษมาใช้ในภาษาไทย

  1. การทับศัพท์ โดยการถ่ายเสียงและถอดตัวอักษร คำยืมจากภาษาอังกฤษโดยวิธีการทับศัพท์มีจำนวนมาก คำบางคำราชบัณฑิตยสถานได้บัญญัติศัพท์เป็นคำไทยแล้ว แต่คนไทยนิยมใช้คำทับศัพท์มากกว่า เพราะเข้าใจง่าย สื่อสารได้ชัดเจน เช่น 
    คำภาษาอังกฤษ คำทับศัพท์ 
         game เกม                            graph กราฟ                           cartoon การ์ตูน 
         clinic คลินิก                        quota โควตา                         dinosaur ไดโนเสาร์                                         technology เทคโนโลยี  
  2. การบัญญัติศัพท์ เป็นวิธีการยืมคำ โดยรับเอาเฉพาะความคิดเกี่ยวกับเรื่องนั้นมาแล้วสร้างคำขึ้นใหม่ ซึ่งมีเสียงแตกต่างไปจากคำเดิม โดยเฉพาะศัพท์ทางวิชาการจะใช้วิธีการนี้มาก ผู้ที่มีหน้าที่บัญญัติศัพท์ภาษาไทยแทนคำภาษาอังกฤษ คือ ราชบัณฑิตยสถาน เช่น 
    คำภาษาอังกฤษ คำบัญญัติศัพท์ 
               airport สนามบิน                     globalization โลกาภิวัตน์                     science วิทยาศาสตร์ 
               telephone โทรศัพท์                reform ปฏิรูป 
     
  3. การแปลศัพท์ วิธีการนี้จะต้องใช้วิธีการคิดแปลเป็นคำภาษาไทยให้มีความหมายตรงกับคำในภาษาอังกฤษ แล้วนำคำนั้นมาใช้สื่อสารในภาษาไทยต่อไป ดังตัวอย่างเช่น 
            blackboard     กระดานดำ                    enjoy สนุก                              handbook หนังสือคู่มือ 
            school โรงเรียน                                   short story เรื่องสั้น

ตัวอย่างคำทับศัพท์ภาษาอังกฤษที่มีใช้ในภาษาไทย 

             กราฟ การ์ตูน กิ๊บ กลูโคส กัปตัน แก๊ส กุ๊ก เกียร์ แก๊ง แกลลอน คริสต์มาส ไดนาโม ไดโนเสาร์ ครีม คลอรีน คอนกรีต คลินิก คอนเสิร์ต คอมพิวเตอร์ คุกกี้ เคเบิล เครดิต แคปซูล เคาน์เตอร์ แคลอรี โควตา ชอล์ก ช็อกโกเลต เช็ค เชิ้ต เชียร์ โชว์ ซีเมนต์ เซลล์ ไซเรน ดีเซลดอลลาร์ ดีเปรสชั่น เต็นท์ ทอนซิล เทอม แท็กซี่ แทรกเตอร์ นิโคติน นิวเคลียร์ นีออน นิวเคลียส โน้ต ไนลอน บล็อก เบนซิน แบคทีเรีย ปลั๊ก ปิกนิก เปอร์เซ็นต์ พลาสติก พีระมิด ฟลูออรีน ฟอร์มาลีน ฟังก์ชัน ฟาร์ม ฟิสิกส์ มอเตอร์ มัมมี่ มาเลเรีย โมเลกุล ไมล์ ไมโครโฟน ไมโครเวฟ ยิปซัม ยีราฟ ริบบิ้น เรดาร์ ลิกไนต์ ลิปสติก เลเซอร์ วัคซีน วิตามิน ไวโอลิน 

------------------------------------------------------------------


คำที่มาจากภาษาอื่น ๆ 

ภาษาทมิฬ เช่น กะไหล่ กุลี กานพลู กำมะหยี่ จงกลนี ตรียัมปวาย ตะกั่ว ปะวะหล่ำ ยี่หร่า สาเก อาจา

กะละออม กะหรี่ (ชื่อแกงชนิดหนึ่ง)       ภาษาเปอร์เซีย เช่น กากี กาหลิบ กุหลาบ เกด (องุ่นแห้ง) เข้มขาบ (ชื่อผ้า) คาราวาน ชุกชี (ฐานพระประธาน)                 ตาด (ผ้าไหมปักเงินหรือทองแล่ง) ตรา (เครื่องหมาย) ตราชู (เครื่องชั่ง) บัดกรี (เชื่อมโลหะ) ปสาน (ตลาด) ฝรั่ง (คำเรียกชาวยุโรป) ราชาวดี (พลอยสีฟ้า) สุหร่าย (คนโทน้ำคอแคบ) องุ่น สักหลาด ส่าน (ผ้าคลุมกายหรือหน้า) เยียรบับ (ผ้าทอยก ดอกเงินหรือทอง)        ภาษาอาหรับ     เช่น กะลาสี การบูร กั้นหยั่น กะไหล่ ฝิ่น โก้หร่าน (adsbygoogle = window.adsbygoogle || []).push({});         ภาษาญี่ปุ่น      เช่น เกอิชา กิโมโน คามิคาเซ่ คาราเต้ เคนโด้ ซามูไร ซูโม่ ซากุระ เทมปุระ ฟูจิ สุกี้ยากี้ ยูโด        ภาษาฝรั่งเศส    เช่น กงสุล กรัม กาสิโน กาแฟ กาเฟอีน กิโยติน กิโลกรัม กิโลลิตร โก้เก๋ เชมเปญ โชเฟอร์                      คูปอง เปตอง ปาร์เกต์ คาเฟ่ ครัวซองท์ บุฟเฟต์ มองสิเออร์        ภาษาฮินดี  เช่น  อะไหล่    ปาทาน        ภาษาโปรตุเกส  เช่น     สบู่ กัมปะโด ปิ่นโต กะละแม กะละมัง จับปิ้ง เลหลัง บาทหลวง ปัง ปิ่นโต เหรียญ        ภาษาพม่า   เช่น  หม่อง   กะปิ   ส่วย        ภาษามอญ   เช่น   มะ   เม้ย  เปิงมาง   พลาย  ประเคน

----------------------------------------------------------