ปัญหาสังคมโลกในปัจจุบัน 2565

ทำไมนักวิเคราะห์ถึงมองว่าตอนนี้เร็วเกินไปที่จะสรุปว่า โลกเรากำลังเข้าสู่ภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจอย่างเป็นทางการแล้ว

1 วันหลังจากที่ Bank of America และ Goldman Sachs ออกมาบอกว่า GDP ในประเทศยูโรโซนจะลดลงในไตรมาสที่ 3 และ 4 ที่เหลือของปีนี้ สัญญาณหนึ่งที่บ่งชี้ถึงภาวะความหวาดกลัวเรื่องเศรษฐกิจถดถอยก็คือ ชาวอเมริกันจำนวนมากมีการเสิร์ชคำว่า “ภาวะถดถอย” หรือ Recession บน Google ในระดับที่ไม่เคยสูงเท่านี้มาก่อน นักลงทุนเทขายทองแดง (ซึ่งเป็นชี้วัดภาวะของอุตสาหกรรม) รวมไปถึงการซื้อดอลลาร์มาถือ ซึ่งเป็นสัญญาณว่าพวกเขาเริ่มหวาดวิตกกับเศรษฐกิจแล้ว

ปัญหาสังคมโลกในปัจจุบัน 2565
ปัญหาสังคมโลกในปัจจุบัน 2565

ปัญหาสังคมโลกในปัจจุบัน 2565
ปัญหาสังคมโลกในปัจจุบัน 2565

ปัญหาสังคมโลกในปัจจุบัน 2565
ปัญหาสังคมโลกในปัจจุบัน 2565

 

ปัญหาสังคมโลกในปัจจุบัน 2565
ปัญหาสังคมโลกในปัจจุบัน 2565

มีหลายปัจจัยที่ทำให้เศรษฐกิจถูกคาดหมายว่าจะเข้าสู่ภาวะถดถอย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของโควิด-19 การระบาดใหญ่ของโควิด-19 ทำให้อเมริกาต้องออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจครั้งใหญ่ที่ใช้ทรัพยากรมากเกินกำลัง ส่งผลให้เกิดภาวะเงินเฟ้อ ซึ่งไม่เพียงแต่ส่งผลกระทบเฉพาะในอเมริกาเท่านั้น แต่ยังลุกลามไปยังหลายประเทศที่มีการค้าการลงทุนผูกติดอยู่กับอเมริกา ซึ่งก็ต้องบอกว่าเกือบทุกประเทศทั่วโลก เนื่องจากความต้องการสินค้าที่มากเกินไปของผู้บริโภคได้กระทบต่อห่วงโซ่อุปทานของโลก

รวมไปถึงปัญหาที่จีนมีความพยายามใช้นโยบาย Zero-Covid ทำให้ปัญหาเหล่านี้ยิ่งแย่ลงไปอีก การรุกรานยูเครนของรัสเซียเองก็เช่นกัน ทำให้ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ โดยเฉพาะราคาน้ำมันและก๊าซธรรมชาติพุ่งสูงขึ้นทะลุ 100 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล และเพื่อตอบสนองต่อภาวะเงินเฟ้อที่จะตามมา ธนาคารกลางในประเทศผู้นำโลก 4 จาก 5 แห่ง ได้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายโดยเฉลี่ย 1.5 จุด เพื่อชะลอความร้อนแรงของเศรษฐกิจที่กำลังเข้าสู่ภาวะฟองสบู่ ภายหลังการประชุมของ Fed เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม ธนาคารกลางสหรัฐฯ ได้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเป็นครั้งที่ 4 ในรอบปีนี้ เพิ่มขึ้นเป็น 3.25 จุด

ประวัติศาสตร์มักจะซ้ำรอย

สาเหตุของความกังวลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจถดถอย มาจากความกลัวต่อผลลัพธ์ที่ตามมาของนโยบายการเงินที่รัดกุม ซึ่งเป็นที่ชัดเจนว่าธนาคารกลางต้องใช้ไม้ตาย คือการขึ้นดอกเบี้ย เพื่อหยุดยั้งเงินเฟ้อที่มีท่าทีว่าจะขึ้นไปไม่หยุด อัตราการเติบโตของค่าจ้างในประเทศร่ำรวยนั้นอยู่ในระดับที่สูงมากเกินไปจนน่าเป็นห่วง ซึ่งสวนทางกับการเติบโตของรายบริษัทได้ที่ไม่เป็นไปตามเป้า

อัตราเงินเฟ้อที่สูง จะก่อให้เกิดความเสี่ยงทำให้เศรษฐกิจที่กำลังค่อย ๆ ฟื้นตัวจากโควิด-19 จบลงอย่างรวดเร็ว ราวกับรถไฟเหาะที่ขึ้นแล้วก็ลงในทันที ถ้าเรามองไปที่ประวัติศาสตร์การปราบเงินเฟ้อของ Fed จะเห็นได้ว่าไม่เคยมีครั้งไหนเลยที่ Fed  ต้องเหนื่อยขนาดนี้ในการชะลอเงินเฟ้อให้อยู่ในระดับที่ต้องการนั่นคือประมาณ 2-2.5% นับตั้งแต่ปี 1955 มีอยู่ 3 ช่วงที่อัตราเงินเฟ้อในอเมริกาเพิ่มขึ้นมากเท่ากับที่คาดการณ์ไว้ในปีนี้: ในปี 1973, 1979 และ 1981 ซึ่งในแต่ละครั้งที่มีการขึ้นดอกเบี้ยในระดับที่สูง ก็มักจะเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยตามมาภายใน 6 เดือน

ภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจจะเกิดขึ้นอีกครั้งหรือไม่? คำถามนี้ก็ดูมีมูลอยู่บ้าง เพราะขนาดเศรษฐกิจของประเทศที่ร่ำรวยของโลกใบนี้คิดเป็น 60% ของ GDP ของทั้งโลก ได้เกิดภาวะชะลอตัวลงมาตั้งแต่ช่วงกลางปี 2021

Goldman Sachs ธนาคารชื่อดังของสหรัฐฯ ได้สร้าง “ตัวชี้วัดกิจกรรมที่เกิดในปัจจุบัน” ซึ่งเป็นตัวชี้วัดสุขภาพของเศรษฐกิจที่มีความถี่ในการตรวจวัดสูง โดยอิงจากตัวชี้วัดที่หลากหลาย ซึ่งผลลัพธ์จากตัวชี้วัดดังกล่าวพบว่า ดัชนีกิจกรรมทางเศรษฐกิจได้ชะลอตัวในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา

นอกจากนี้  S&P Global ได้ทำการสำรวจความต้องการในการสั่งซื้อวัตถุดิบและการผลิตของบรรดาหัวหน้าโรงงานในสหรัฐอเมริกาและยูโรโซน พบว่าผู้ผลิตหลายรายต่างรู้สึกสิ้นหวังกว่าทุกครั้ง นับตั้งแต่ช่วงเริ่มต้นของการระบาดใหญ่ของโควิดในปี 2019

เราไม่ควรสรุปอะไรเร็วเกินไป

แม้ว่าจะดูเร็วเกินไปที่จะประกาศภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจ และแม้นักสถิติบางคนจะออกมาบอกว่าเห็นเค้าลางภายหลังจากที่มีข่าวว่าในระหว่างเดือนเมษายนถึงมิถุนายน GDP ของอเมริกาหดตัวในไตรมาส 2 สิ่งนี้จะนับเป็นภาวะถดถอยด้วยกฎง่าย ๆ ก็ว่าได้ แต่ไม่จำเป็นว่าจะต้องเกิดขึ้นกับประเทศอื่นเสมอไป ถ้าเราเจาะกันที่สาเหตุดูดี ๆ จะเห็นว่ามันมีแต่เหตุการณ์ที่แปลกประหลาดและไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ส่งผลทำให้ GDP หดตัวในไตรมาสแรก เพราะแม้ว่าพื้นฐานของเศรษฐกิจจะแข็งแรง แต่ด้วยความหวาดกลัวของผู้คนก็เลยทำให้ตัวเลขออกมาดูต่ำกว่าคาด นอกจากนี้ยังเป็นการเร็วเกินไปที่จะสรุปว่ามาตรการของ Fed นั้นจะมีผลต่อเศรษฐกิจในระยะสั้น

นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่กำลังจับตามองไปที่สำนักวิจัยเศรษฐกิจแห่งชาติของอเมริกา (Nber) หน่วยงานหลักที่จะออกมาบอกว่าตอนนี้สถานะเศรษฐกิจของอเมริกา (และโลก) กำลังจะเดินไปในทิศทางใด และเพื่อดูว่าเศรษฐกิจในตอนนี้นั้นอยู่ในภาวะถดถอยอย่างแท้จริงหรือไม่

คณะกรรมวิจัยวัฏจักรธุรกิจของ Nber ได้มีการพิจารณาเอาตัวบ่งชี้อื่นนอกเหนือไปจาก GDP ซึ่งได้แก่ จำนวนงานว่าง และการผลิตภาคอุตสาหกรรม มาพิจารณาร่วมด้วย ซึ่งตัวบ่งชี้หลายตัวยังคงชี้ไปที่การขยายตัวอยู่ ดังนั้นเป็นการยากมากที่จะโต้แย้งว่าภาวะถดถอยได้มาถึงแล้ว

แต่ด้วยการเติบโตที่ช้าลงอย่างชัดเจน คำถามสำคัญก็คือว่า ถ้าสิ่งเลวร้ายจะเกิดขึ้น มันจะเกิดขึ้นได้อย่างไร คนที่มองโลกในแง่ดีที่มีอยู่เพียงไม่กี่คนชี้ให้เห็นถึงความแข็งแกร่งของภาคครัวเรือนและบริษัท สาธารณชนมีความวิตกกังวลเกี่ยวกับเศรษฐกิจเป็นอย่างมากในช่วงวิกฤตการเงินโลกหรือการระบาดใหญ่ของโควิด แต่ภาคครัวเรือนในประเทศที่ร่ำรวยยังคงมีเงินออม “ส่วนเกิน” อยู่ประมาณ 3 ล้านล้านดอลลาร์ ซึ่งพวกเขาเก็บสะสมไว้ในช่วงที่มีการระบาดของโควิด

โดยเฉพาะในอเมริกา ยอดเงินสดของครอบครัวที่ยากจนในเดือนมีนาคมสูงขึ้นถึง 70% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปี 2019 ตามข้อมูลของ JPMorgan Chase ซึ่งเป็นหน่วยงานวิจัยเศรษฐกิจที่สำคัญแห่งหนึ่งของอเมริกา

ยิ่งไปกว่านั้น ผู้คนดูมั่นใจในการเงินส่วนบุคคลมากกว่าเรื่องของสภาพเศรษฐกิจโดยรวม กว่า 1 ใน 3 ของครอบครัวในสหภาพยุโรปมีแนวโน้มที่จะมีความคิดในเชิงบวกเกี่ยวกับเงินในกระเป๋าของตนเองมากกว่าปกติ นับตั้งแต่เริ่มมีการจัดเก็บข้อมูลขึ้นในช่วงกลางทศวรรษ 1980 ในประเทศอเมริกา มีผู้คนจำนวนน้อยนิดเท่านั้นที่เชื่อว่าพวกเขาจะไม่สามารถชำระหนี้ได้ภายใน 3 เดือนข้างหน้า เครื่องมือติดตามการใช้จ่ายของผู้บริโภค จาก Bank of England (สำหรับสหราชอาณาจักร) และ JPMorgan Chase (สำหรับอเมริกา) ยังคงดูมีทิศทางที่สดใสอยู่

ถ้านับตอนนี้รัฐบาลก็ยังแจกเงินเพื่อช่วยเหลือคนยากจนเพื่อใช้รับมือกับราคาพลังงานที่พุ่งสูงขึ้น ในยูโรโซน รัฐบาลในประเทศต่าง ๆ กำลังใช้นโยบายทางการคลังประมาณ 1% ของ GDP เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ อย่างที่อังกฤษก็มีการแจกเงินให้กับคนยากจน ในเดือนพฤษภาคม ปี 2022  สถาบันเพื่อการศึกษาการคลัง คาดว่าการใช้จ่ายดังกล่าวจะช่วยชดเชยค่าใช้จ่ายไปกับครอบครัวที่ยากจนเป็นส่วนใหญ่ ในส่วนของค่าครองชีพที่เพิ่มสูงขึ้น

ความเคลื่อนไหวของธุรกิจหลายธุรกิจก็ก่อให้เกิดความมั่นใจในแง่ของความแข็งแรงของเศรษฐกิจได้เช่นกัน อย่างในประเทศร่ำรวยตัวเลขจำนวนตำแหน่งงานที่เปิดรับสมัครในตอนนี้อยู่ใกล้ระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์

ประเทศออสเตรเลีย ตัวเลขตำแหน่งงานว่างในตอนนี้มีจำนวนมากเป็น 2 เท่า เมื่อเทียบกับช่วงก่อนการแพร่ระบาดของโควิด ข้อมูลจาก Indeed ซึ่งเป็นเว็บไซต์จ้างงาน ระบุว่าในอเมริกามีตำแหน่งงานว่างมากกว่า 2 ตำแหน่งสำหรับคนว่างงานทุกคนได้อย่างเพียงพอ

ผลก็คือตลาดแรงงานยังคงตึงตัวไม่ได้หดหรือลดหย่อนลงแต่อย่างใด โดยรวมแล้ว อัตราการว่างงานในกลุ่มประเทศที่อยู่ใน OECD ซึ่งถูกจัดเป็นประเทศร่ำรวยส่วนใหญ่ในปัจจุบันนั้นต่ำกว่าช่วงเกิดการระบาดใหญ่

ครึ่งหนึ่งของประเทศในกลุ่ม OECD สัดส่วนของคนวัยทำงานที่ยังมีงานทำ เป็นตัวชี้วัดสุขภาพของตลาดแรงงาน นั้นยังคงอยู่ในอัตราที่สูงเป็นประวัติการณ์ หากเราอิงกับประวัติศาสตร์เศรษฐกิจ ที่บอกว่าหากดอกเบี้ยสูงการถดถอยจะตามมา ก็คงพูดได้ว่าตัวเลขเหล่านี้ไม่สอดคล้องหรือชี้ไปว่า ภาวะถดถอยกำลังจะเกิดขึ้นแต่อย่างใด

ความกลัว ความไม่แน่นอน และความสงสัย

ในอดีตการหดตัวของการลงทุนมีบทบาทสำคัญต่อการชะลอตัวของเศรษฐกิจ ในช่วงเศรษฐกิจถดถอยตั้งแต่ช่วงทศวรรษ 1980 กลุ่มประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่ หรือ G7 การลดลงครึ่งหนึ่งของ GDP รวมทั้งปี มาจากการลงทุนที่ลดลง สำหรับในครั้งนี้ตัวเลขข้อมูลการลงทุนมีแนวโน้มลดลง แต่ก็ไม่ได้เลวร้ายมากนัก โดยอ้างอิงจากข้อมูลที่รวบรวมโดย JPMorgan สำหรับการลงทุนอเมริกา ยุโรป และญี่ปุ่น

เมื่อไม่นานมานี้ การใช้จ่ายด้านการลงทุนกำลังบูมมาก จากการที่บริษัทต่าง ๆ ทุ่มเงินมหาศาลไปกับเทคโนโลยีการทำงานระยะไกลและเสริมความแข็งแกร่งให้กับซัปพลายเชน ตอนนี้มีหลายคนเชื่อว่าพวกเขาลงทุนมากจนเกินไปในแง่ของความสามารถในการผลิตในขณะที่คนอื่นต้องประหยัดเงิน

บทวิเคราะห์หลักฐานจากการสำรวจเงื่อนไขสินเชื่อ และสภาพคล่องของบริษัทโดยบริษัทที่ปรึกษาอย่าง Oxford Economics ชี้ให้เห็นว่าการลงทุนของกลุ่มประเทศ G7 อาจลดลงในอัตราร้อยละ 0.5 ต่อปีในช่วงครึ่งปีหลังของปีนี้ แน่นอนว่าสิ่งนี้เป็นสัญญาณที่ไม่ดีแต่ก็ยังไม่เพียงพอที่จะทำให้เกิดภาวะถดถอยได้

นักลงทุนส่วนใหญ่จะรู้สึกหวาดกลัวเมื่อผู้ควบคุมออกนโยบายการเงินที่เข้มงวด และดูเหมือนว่าข่าวทุกประเภทจะพยายามทำให้พวกเราเชื่อได้ว่าภาวะเศรษฐกิจถดถอยกำลังคืบคลานเข้ามา

ตัวเลขทางเศรษฐกิจที่อ่อนแอยืนยันได้ว่า เศรษฐกิจโลก ปี 2565 อาจจะกำลังเข้าสู่ภาวะถดถอย ข้อมูลที่เชื่อถือได้ ชี้ว่าธนาคารกลางไม่สามารถชะลอสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นกับเศรษฐกิจได้เลย ทำให้ Fed เองต้องใช้ยาแรงมากขึ้น ซึ่งอาจจะทำให้เกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยได้ มีเพียงสัญญาณว่าอัตราเงินเฟ้อกำลังลดลงเท่านั้นที่จะกำจัดความกลัวเรื่องการหดตัวของเศรษฐกิจได้บ้าง

จะว่าไปแล้วก็พอจะมีเรื่องให้เบาใจได้อยู่บ้าง โดยตัวชี้วัดห่วงโซ่อุปทานที่รวบรวมโดย Fed แห่งนิวยอร์ก อย่างต้นทุนค่าขนส่งทั่วโลกที่ลดลง ราคาน้ำมันที่อเมริกาตอนนี้ก็ลดลง 3% ต่อสัปดาห์แล้ว Alternative Macro Signals ซึ่งเป็นบริษัทที่ปรึกษาได้สร้าง “ดัชนีแรงกดดันเงินเฟ้อที่มาจากข่าว” ขึ้นมา เพื่อทำให้เห็นว่า “กระแสของข่าว” เป็นตัวบ่งชี้ว่า แรงกดดันด้านทางด้านราคากำลังก่อตัวขึ้นหรือไม่ ซึ่งจากข้อมูลระบุว่า ดัชนีที่ใช้วัดในประเทศอเมริกาและสหราชอาณาจักรเริ่มลดลงตั้งแต่ช่วงปลายปีที่แล้ว

ความหวังว่าอัตราเงินเฟ้อจะลดลงอย่างรวดเร็วนั้นแทบจะเป็นไปไม่ได้เลย การเพิ่มขึ้นของราคาอาหารและพลังงานในช่วงที่ผ่านยังไม่ได้ถูกนำไปคิดในอัตราเงินเฟ้อทั่วไป

Morgan Stanley คาดว่าอัตราเงินเฟ้อในประเทศร่ำรวยจะไต่ระดับขึ้นไปอยู่ในจุดสูงสุดที่ 8% ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2022 การเพิ่มขึ้นของค่าแรงแสดงให้เห็นสัญญาณการผ่อนคลายเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ในแง่ของการสร้างรายได้เพิ่มของบริษัทต่าง ๆ ทุกที่ยังพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า วิธีที่ดีที่สุดในการส่งต่อภาระทางด้านต้นทุนที่เพิ่มสูงขึ้นก็คือการผลักภาระเรื่องต้นทุนไปให้กับลูกค้า หรือพูดง่าย ๆ ก็คือ การขึ้นราคาสินค้านั่นเอง

ข้อมูลจำนวนมากที่นักเศรษฐศาสตร์หลายฝ่ายต่างขยันออกมาเผชิญหน้ากันนั้นดูแล้วมีประโยชน์กับคนที่ต้องใช้ข้อมูลในส่วนนี้อยู่ไม่น้อย แต่บทเรียนเก่า ๆ ก็ยังคงตามมาหลอกหลอนบรรดานักเศรษฐศาสตร์ที่มักออกมาพยากรณ์ความเป็นไปของเศรษฐกิจอยู่ ซึ่งคำพยากรณ์ของสำนักวิจัยเศรษฐกิจแห่งชาติของอเมริกา เป็นจุดเริ่มต้นของการตกต่ำของเศรษฐกิจอเมริกาที่เกี่ยวข้องกับวิกฤตการเงินโลกจนถึงเดือนธันวาคม 2007

แม้แต่ในช่วงเดือนสิงหาคม 2008 ซึ่งเป็นช่วงพีคของ Hamburger Crisis เจ้าหน้าที่ของ Fed ยังคิดว่าเศรษฐกิจยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่องที่ประมาณ 2% ต่อปีอยู่เลย ดังนั้นภาพหลังการล็อกดาวน์จึงยากที่จะตีความ ปีที่แล้วแทบไม่มีใครคิดว่าปัญหาการขาดแคลนแรงงานจะเกิดขึ้น หรือแม้กระทั่งเรื่องของเงินเฟ้อที่จาก “แย่” เป็น “แย่ลงอีก” ในปี 2022

นั่นคือกรณีของการมองโลกในแง่ร้าย กรณีของการมองโลกในแง่ดีคือ ปัจจุบันนโยบายการเงินที่รัดกุมเพิ่งจะเริ่มต้นขึ้น ก่อนที่มันจะย้อนมาทำร้ายเรา เรายังพอมีเวลา เศรษฐกิจโลกที่ผันผวนจะยังคงสร้างความประหลาดใจให้มากขึ้นไปอีกกว่านี้แน่นอน บางทีที่คิดว่าแย่ ก็อาจเป็นเรื่องดีก็ได้ ใครจะรู้