หลักเกณฑ์ การ กำหนด แหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

หลักการและการจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ from Somyot Ongkhluap

หลักเกณฑ์การกำหนดแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ที่กองอนุรักษ์ ททท. ร่วมกับสมาคมไทยท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และผจญภัยกำหนดขึ้น มีดังนี้
  • เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่มีระบบนิเวศสมบูรณ์
  • มีความพร้อมในการบริการจัดการ มีศูนย์ศึกษาธรรมชาติ ภายในศูนย์มีบริการอำนวยความสะดวกเบื้องต้น มีเคาน์เตอร์ บริการข่าวสาร มุมนิทรรศการ ห้องสุขา มุมจำหน่ายอาหารและเครื่องดื่ม
  • มีการจัดทำเส้นทางศึกษาธรรมชาติ ทั้งเส้นทางไปและกลับทางเดิม เส้นทางเป็นแบบวงรอบและวงกลม ระยะทางตั้งแต่ 1 กิโลเมตรเป็นต้นไป อย่างน้อย 1 เส้นทาง
  • มีป้ายสื่อความหมายบนเส้นทางศึกษาธรรมชาติเป็นระยะๆ เพื่อให้ความรู้แก่นักท่องเที่ยว
  • มีแผนที่และคู่มือนำเที่ยวประกอบป้ายสื่อความหมาย เพื่อให้ความรู้แก่นักท่องเที่ยว
  • มีการกำหนดขีดความสามารถในการรองรับของพื้นที่ จำนวนนักท่องเที่ยวต่อครั้งต่อวันในแต่ละเส้นทางและในสถานที่ท่องเที่ยว
  • มีมัคคุเทศก์ท้องถิ่นที่มีความรู้ทั้งทางด้านธรรมชาติและวัฒนธรรม สามารถอธิบายเรื่องราวในท้องถิ่นและภูมิปัญญาพื้นบ้านได้
  • มีการบริหารจัดการพื้นที่และมีบริการร่วมกับประชาชนในท้องถิ่น องค์กรภาครัฐบาล องค์กรเอกชน องค์กรพัฒนาเอกชน (NGO) องค์กรบริหารท้องถิ่น (เทศบาลและ อบต.)
  • มีนโยบายต่อการรักษาสภาพแวดล้อมและภูมิปัญญาท้องถิ่นชัดเจน เช่น การจัดการขยะ
  • การจัดการน้ำเสียการจัดการมลพิษต่างๆ
  • มีแผนพัฒนาบุคลากรและบริการสู่ระดับมาตรฐานสากล
  • หากแหล่งท่องเที่ยวมีที่พักแรมจะต้องเป็นที่พักแรมระดับการรักษาสิ่งแวดล้อม (Ecolodge)
 

สมรภูมิธุรกิจจำนำทะเบียน 2.26 แสนล้านเดือด “แบงก์-น็อนแบงก์” รายใหญ่แห่โดดร่วมวง กสิกรฯเผยตลาดเติบโตก้าวกระโดด-ผลตอบแทนสูงกว่า “สินเชื่อเช่าซื้อรถ” ขณะที่ความเสี่ยง “หนี้เสียต่ำ” SCBX ส่งบริษัทลูก “ออโต้ เอกซ์” เขย่าตลาด ประกาศท้ารบขึ้นท็อป 3 “จำนำทะเบียน” ภายใน 3 ปี ขณะที่ “ทีทีบี-TK” ร่วมแจม วงในเผย 3 ผู้เล่นใหญ่ “MTC-เงินติดล้อ-ศรีสวัสดิ์” คุมตลาดปูพรมสาขาทั่วประเทศ หน้าใหม่ไม่ง่าย

ธุรกิจจำนำทะเบียนเนื้อหอม

นายปิยะศักดิ์ อุกฤษฎ์นุกูล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เงินติดล้อ จำกัด (มหาชน) หรือ TIDLOR และในฐานะนายกสมาคมการค้าผู้ประกอบการธุรกิจสินเชื่อทะเบียนรถ เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ทิศทางภาพรวมตลาดจำนำทะเบียนมีการเติบโตค่อนข้างเร็วเมื่อเทียบกับผลิตภัณฑ์สินเชื่อรายย่อยประเภทอื่น โดยคาดการณ์ทั้งตลาดจะมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยปีละ 15% แต่ปีนี้จะเห็นว่ามีอัตราการเติบโตสูงเฉลี่ย 20-30% ส่วนหนึ่งมาจากมาตรการช่วยเหลือลูกค้าในช่วงโควิด ทำให้พอร์ตสินเชื่อค้างคงอยู่ในระดับสูง และคาดว่าในปี 2566 อัตราการเติบโตจะชะลอตัวเล็กน้อยอยู่ที่ระดับ 10%

  • สถิติหวย ตรวจหวย ผลสลากกินแบ่งรัฐบาลงวด 16 ธันวาคม ย้อนหลัง 10 ปี
  • พระราชประวัติ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี
  • “ประธานใหญ่โตโยต้าญี่ปุ่น” มาทำอะไรในเมืองไทยเกือบ 2 สัปดาห์? 

ส่งผลให้มีรายใหญ่ที่เป็นบริษัทลูกธนาคารเข้ามาเล่นในตลาดมากขึ้น โดยมองว่าอาจเห็นช่องทางการเติบโตของตลาดนี้ และเห็นว่า “เงินติดล้อ” ที่เป็นบริษัทลูกของธนาคารกรุงศรีฯสามารถเติบโตได้ดี จึงต้องการเข้ามาแข่งขันในตลาด แต่ต้องยอมรับว่าผู้ประกอบการรายใหญ่ในตลาดที่มีสาขารวมกัน 2 หมื่นแห่ง ดังนั้นรายใหม่อาจจะไม่เห็นการเติบโตแบบก้าวกระโดดและรวดเร็วได้

สำหรับ “เงินติดล้อ” บริษัทยังคงคาดว่าการเติบโตสินเชื่อจำนำทะเบียนยังเป็นไปตามเป้าหมายที่ระดับ 25-30% จากพอร์ตสินเชื่อคงค้างที่มีอยู่ราว 75,865 ล้านบาท และโบรกเกอร์ประกันวินาศภัยขยายตัวกว่า 30% ซึ่งในสถานการณ์ความไม่แน่นอน มองว่าธุรกิจประกันจะเป็นธุรกิจที่สร้างรายได้ที่ไม่มีความเสี่ยงอีกทางหนึ่ง โดยกลยุทธ์ยังคงเดินหน้าเปิดสาขาเพิ่มเติม และหาผลิตภัณฑ์ใหม่ให้กับลูกค้า โดยคาดว่าภายใน 3-5 ปี จำนวนสาขาจะอยู่ที่ 2,500 แห่ง จากปัจจุบันอยู่ที่ 1,500 แห่ง พร้อมขยายช่องทางดิจิทัลควบคู่กัน

“ไลเซนส์จำนำทะเบียนมีมาตั้งแต่ปี 2562 แต่ที่เห็นรายใหม่เพิ่งขยับ อาจเพราะตลาดนี้โตเร็วกว่าสินเชื่อตัวอื่น แต่ปัจจัยดอกเบี้ยคงไม่ใช่ปัจจัยหลัก เพราะเพดานที่ 24% ห่างจากธุรกิจเช่าซื้อ 1% ที่ถูกแคปไว้ 10-23% ยอมรับว่าอาจจะกระทบต่อรายเล็กบ้าง เพราะบริษัทที่มี DNA ของกลุ่มแบงก์สามารถขยายฐานลูกค้าได้ แต่ก็มีข้อเสียเรื่องประสบการณ์ที่อาจจะสู้ท้องถิ่นไม่ได้ และจำนวนสาขา”

3 ผู้เล่นใหญ่คุมตลาด

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับผู้เล่นรายใหญ่ 3 อันดับแรก ได้แก่ บริษัท เมืองไทย แคปปิตอล จำกัด (มหาชน) หรือ MTC มีพอร์ตสินเชื่อราว 1 แสนล้านบาท จำนวนสาขา 6,000-7,000 แห่ง และบริษัท เงินติดล้อ จำกัด (มหาชน) มีพอร์ตสินเชื่อราว 6-7 หมื่นล้านบาท สาขา 1,500 แห่ง และบริษัท ศรีสวัสดิ์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ SAWAD มีพอร์ตสินเชื่อราว 4 หมื่นล้านบาท มีจำนวนสาขา 5,000-6,000 แห่ง

ทั้งนี้ ข้อมูลจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ระบุว่า สินเชื่อบุคคลภายใต้การกำกับประเภทสินเชื่อที่มีทะเบียนรถเป็นประกัน (แบงก์และน็อนแบงก์) ณ เดือน ก.ย. 2565 มีจำนวนบัญชีทั้งสิ้น 4,814,632 บัญชี ยอดสินเชื่อคงค้าง 226,287 ล้านบาท และมียอดค้างชำระเกิน 3 เดือนขึ้นไป 3,999 ล้านบาท

โดยตลาดมีการเติบโตต่อเนื่องจากเดือน ธ.ค. 2564 ที่มีจำนวนบัญชี 4,200,224 บัญชี ยอดสินเชื่อคงค้าง 181,124 ล้านบาท และยอดค้างชำระเกิน 3 เดือนขึ้นไป อยู่ที่ 2,934 ล้านบาท และเดือน ธ.ค. 2563 มีจำนวน 3,754,344 บัญชี ยอดสินเชื่อคงค้าง 150,479 ล้านบาท

รายใหญ่แห่โดดลงสนาม

นายชัชฤทธิ์ ตั้งเถกิงเกียรติ์ หัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหาร ผลิตภัณฑ์ธุรกิจสินเชื่อรถยนต์ ธนาคารทหารไทยธนชาต (ttb) กล่าวว่า ตลาดจำนำทะเบียนรถค่อนข้างคึกคักมาระยะหนึ่งแล้ว และจะเห็นว่ามีผู้เล่นรายใหม่กระโดดลงมาทำธุรกิจนี้มากขึ้น ส่วนหนึ่งมาจากตลาดเช่าซื้อการเติบโตเฉลี่ยต่อปีค่อนข้างจำกัด ประกอบกับหากดูผลตอบแทนเทียบกับจำนำทะเบียนค่อนข้างดีกว่าเกือบ 1 เท่าตัว

“ขนาดพอร์ตเช่าซื้อที่ค่อนข้างใหญ่ ทำให้การขยายตัวสูง ๆ จะทำได้ลำบากขึ้น จึงต้องรุกตลาดใหม่ ๆ โดยจะเห็นพอร์ตเช่าซื้อการเติบโตเฉลี่ยประมาณ 5% แต่จำนำทะเบียนเติบโตสูงกว่าเท่าตัว ซึ่งก่อนเกิดการระบาดของโควิด-19 พบว่า จำนำทะเบียนรถมียอดคงค้างในระบบประมาณ 1.24 แสนล้านบาท และล่าสุด ณ เดือน ก.ย. 2565 อยู่ที่ 2.26 แสนล้านบาท สะท้อนว่าพอร์ตเติบโตเพิ่มขึ้นสุทธิราว 1 แสนล้านบาท เติบโตเฉลี่ย 30% โดยเฉพาะในช่วงโควิดถือเป็นการเติบโตค่อนข้างสูง เพราะลูกค้าต้องการเงินมาเสริมสภาพคล่อง”

Advertisement

ทั้งนี้ ผู้เล่นรายใหม่ที่เข้ามาในตลาดจำนำทะเบียนรถมีเพิ่มขึ้นทุกวัน ทุกสัปดาห์ ทั้งไฟแนนซ์ท้องถิ่น และเชื่อว่าสถาบันการเงิน และผู้เล่นรายใหญ่หลายแห่งก็กำลังศึกษาตลาดจำนำทะเบียนรถอยู่ เพราะเป็นตลาดที่น่าสนใจ เช่นเดียวกับทีทีบีก็อยู่ระหว่างศึกษา แต่จะเป็นการต่อยอดผลิตภัณฑ์ “รถแลกเงิน” ที่มีอยู่แล้ว ให้สามารถเข้าถึงลูกค้าได้มากขึ้น

“การที่สถาบันการเงินเข้ามาเล่นในตลาดจำนำทะเบียนรถ ไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่หากดูข้อมูลจะพบว่ายอดสินเชื่อในกลุ่มจำนำทะเบียนรถส่วนใหญ่มาจากน็อนแบงก์ เพราะแบงก์จะมีกฎเกณฑ์ข้อบังคับที่เข้มงวดกว่า ส่งผลให้การเติบโตไม่มากเท่าที่ควร ดังนั้นธนาคารที่จะทำธุรกิจจำนำทะเบียนรถต้องมีการปรับโมเดลธุรกิจ และรูปแบบการเข้ามาแข่งขัน เพื่อให้ทำธุรกิจได้คล่องตัวช่วยลดข้อจำกัดของหลักเกณฑ์ เพื่อสามารถแข่งขันกับตลาดที่มีน็อนแบงก์เป็นผู้เล่นหลักได้” นายชัชฤทธิ์กล่าว

SCBX ส่งบริษัทลูกเขย่าตลาด

ด้านนางอภิพันธ์ เจริญอนุสรณ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการ บริษัท ออโต้ เอกซ์ จํากัด ภายใต้ยานแม่ “เอสซีบี เอกซ์” กล่าวว่า นับตั้งแต่เปิดให้บริการ “เงินไชโย” สินเชื่อจำนำทะเบียนรถและวงเงินพร้อมใช้ เมื่อ ก.ค. 2565 ที่ผ่านมา ได้รับการต้อนรับจากกลุ่มลูกค้าเป็นอย่างดี คาดว่าในสิ้นปี 2565 จะมีฐานลูกค้า 8 หมื่นคน ปล่อยสินเชื่อได้กว่า 1 หมื่นล้านบาท โดยเป็นรถจักรยานยนต์ 50% รถยนต์ 25% และรถเชิงพาณิชย์ 25%

ทั้งนี้ บริษัทมีสาขาให้บริการทุกวันไม่มีวันหยุดกว่า 1,200 สาขา รวมถึงช่องทางดิจิทัล ซึ่งคาดว่าจนถึงสิ้นปีนี้จะมีลูกค้าดาวน์โหลดแอปพลิเคชั่น และ Line Chaiyo เพื่อใช้บริการเช็กยอด ชำระเงิน และขอสินเชื่อผ่านช่องทางนี้ ประมาณ 2 แสนราย

นางอภิพันธ์กล่าวว่า บริษัทตั้งเป้าภายในปี 2568 จะขึ้นเป็น 1 ใน 3 ผู้นำด้านสินเชื่อจำนำทะเบียน ด้วยยอดสินเชื่อคงค้าง 7 หมื่นล้านบาท พร้อมกับแผนขยายไปยังสินเชื่อประเภทอื่น เช่น นาโนไฟแนนซ์ สินเชื่อส่วนบุคคล เป็นต้น

“บริษัทตั้งเป้าปี 2568 สร้างกำไรแตะระดับ 3,000 ล้านบาท และมีผลตอบแทนต่อผู้ถือหุ้น (ROE) มากกว่า 25% และมีสาขาทั่วประเทศจำนวน 3,000 สาขา และภายในปี 2570 ตั้งเป้านำบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย” นางอภิพันธ์กล่าว

กสิกรฯชี้ผลตอบแทนสูงจูงใจ

นางสาวกาญจนา โชคไพศาลศิลป์ ผู้บริหารงานวิจัย บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด กล่าวว่า สินเชื่อจำนำทะเบียนรถถือเป็นผลิตภัณฑ์ที่ให้ผลตอบแทนสูง (high yield) เมื่อเทียบกับสินเชื่อรายย่อยประเภทอื่น ส่งผลให้มีผู้เล่นทั้งที่เป็นธนาคารพาณิชย์ และน็อนแบงก์เข้ามาเล่นในตลาดนี้กันมากขึ้น และแนวโน้มยังคงมีผู้เล่นเข้ามาเพิ่มขึ้น

โดยหากดูตัวเลขสินเชื่อบุคคลภายใต้การกำกับประเภทที่มีทะเบียนรถเป็นประกัน (จำนำทะเบียนรถ) ณ ก.ย. 2565 มีอัตราการเติบโตสูงถึง 34% ยอดสินเชื่อคงค้างทั้งระบบอยู่ที่ 2.26 แสนล้านบาท ซึ่งมีการเติบโตเป็น 2 หลักทั้งธนาคารพาณิชย์และน็อนแบงก์ โดยในส่วนของธนาคารพาณิชย์มีอัตราการเติบโต 15.2% เทียบกับสินเชื่อรายย่อยภาพรวมในช่วง 9 เดือนแรกขยายตัวเพียง 3.8% จึงเป็นสาเหตุให้ธนาคารพาณิชย์เข้ามาเล่นในตลาดนี้มากขึ้น

โดยศูนย์วิจัยคาดการณ์กรอบการเติบโตสินเชื่อจำนำทะเบียนรถในปีนี้ ในส่วนของธนาคารพาณิชย์อยู่ที่ 17-20%ยอดสินเชื่อคงค้างภายในสิ้นปีอยู่ที่ 3.77 หมื่นล้านบาท

“หากดูภาพรวมสินเชื่อรายย่อยถือว่า จำนำทะเบียนรถ เป็นโปรดักต์ high yield ทำให้แบงก์และน็อนแบงก์เข้ามาเล่น และในแง่ความเสี่ยงของการเป็นหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ต่ำกว่าสินเชื่อรายย่อยประเภทคลีนโลน แม้ว่าอัตราดอกเบี้ยกลุ่มจำนำทะเบียนจะโดนแคปเพดานไว้ที่ระดับ 24% ต่อปี แต่ถือว่าดีกว่าสินเชื่ออื่นในแง่ผลตอบแทน”

รายใหม่ไม่ง่าย-เจ้าตลาดพรึ่บ

นายสุธัช เรืองสุทธิภาพ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เงินเทอร์โบ จำกัด หนึ่งในผู้ให้บริการสินเชื่อจำนำทะเบียน กล่าวว่า การเข้ามาของผู้เล่นรายใหม่ถือเป็นเรื่องปกติ เนื่องจากตลาดจำนำทะเบียนรถมีมูลค่าตลาดค่อนข้างใหญ่ และมีการเติบโตต่อเนื่อง รวมถึงให้ผลตอบแทนค่อนข้างสูง ส่งผลให้ผู้เล่นรายใหม่ที่ยังไม่ได้ทำตลาดนี้ต้องการเข้ามาแชร์ส่วนแบ่งตลาด ซึ่งเป็นผลดีต่อผู้บริโภค

อย่างไรก็ดี การทำธุรกิจไม่ง่ายเพราะจะต้องมีจำนวนสาขาที่ค่อนข้างมาก และการบริหารจัดการติดตามหนี้จะต้องมีประสิทธิภาพ เพื่อให้สามารถแข่งขันกับรายใหญ่ได้ และเข้าถึงลูกค้าได้กว้างมากขึ้น โดยปัจจุบันผู้เล่นรายใหญ่ 3-4 แห่ง มีสาขารวมกันมากกว่า 1.4-1.5 หมื่นแห่ง ครอบคลุมทั่วประเทศ

“การแข่งขันเพิ่มขึ้นทุกปี ผู้เล่นรายใหม่ก็อยากเข้ามา เพราะต้องยอมรับว่าเค้กก้อนใหญ่ และมีการเติบโตค่อนข้างสูง ผลตอบแทนและการสร้างรายได้ดี แต่การเข้ามาก็ไม่ง่าย”

TK ลดเช่าซื้อ-ลุยจำนำ

นายประพล พรประภา กรรมการและรองกรรมการผู้จัดการ บริษัท ฐิติกร จำกัด (มหาชน) หรือ TK กล่าวว่า จากกรณี สคบ.ได้ออกประกาศ เรื่อง ให้ธุรกิจให้เช่าซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์เป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา พ.ศ. 2565 นั้น ทาง TK ได้เริ่มปรับการดำเนินงานและเปลี่ยนกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจให้สอดรับกับการเปลี่ยนแปลง โดยได้เตรียมตัวตั้งแต่ก่อนออกประกาศ และเริ่มควบคุมคุณภาพการปล่อยสินเชื่อเพิ่มมากขึ้นตั้งแต่ไตรมาส 3/2565 เพื่อลดต้นทุนทางด้าน credit cost หรือหนี้เสีย รวมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจเพื่อควบคุมค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน

“นอกจากนี้ บริษัทได้เตรียมพร้อมในการเพิ่มบริการใหม่ จากการที่บริษัทได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับ ไม่ว่าจะเป็นสินเชื่อจำนำทะเบียนรถ และสินเชื่อส่วนบุคคล ซึ่งบริการใหม่เหล่านี้จะช่วยเพิ่มรายได้ และช่วยลดความเสี่ยงที่เกิดจากการพึ่งพาธุรกิจสินเชื่อเช่าซื้อรถจักรยานยนต์เพียงอย่างเดียว ซึ่งคาดว่าจะส่งผลดีต่อผลประกอบการของบริษัทในระยะกลางและระยะยาวต่อไป” นายประพลกล่าว

แหล่งข่าวจากผู้ประกอบการธุรกิจเช่าซื้อเปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ปีนี้ธุรกิจจำนำทะเบียนรถค่อนข้างคึกคัก และคาดว่าจะคึกคักต่อเนื่องในปี 2566 ส่วนหนึ่งมาจากกรณีที่สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ออกประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญาเกี่ยวกับเรื่องเช่าซื้อรถยนต์ และรถจักรยานยนต์ ที่มีการกำหนดเพดานอัตราดอกเบี้ยรถยนต์ใหม่ไม่เกิน 10% ต่อปี รถใช้แล้วไม่เกิน 15% ต่อปี และรถจักรยานยนต์ไม่เกิน 23% ต่อปี ซึ่งจะมีผลบังคับใช้วันที่ 10 ม.ค. 2566 นั้น จะกระทบกับธุรกิจเช่าซื้ออยู่พอสมควร

ทำให้ธุรกิจที่ปัจจุบันมีแต่ธุรกิจเช่าซื้อ ยังไม่ได้ทำสินเชื่อจำนำทะเบียนรถ หันมาทำตลาดนี้มากขึ้น เพื่อรักษาอัตราผลตอบแทน (มาร์จิ้น) เนื่องจากเพดานดอกเบี้ยเช่าซื้อค่อนข้างต่ำเฉลี่ยอยู่ที่ 10-15% ต่อปี ขณะที่สินเชื่อทะเบียนรถ คิดดอกเบี้ยได้สูงถึง 24% ต่อปี ประกอบกับธุรกิจเช่าซื้อมีหลักเกณฑ์กติกาควบคุมค่อนข้างมาก ทำให้แบงก์และบริษัทในเครือธนาคารหันมารุกตลาดนี้เพิ่มขึ้น