เปรียบเทียบ Shopee Lazada JD Central

เมื่อแพลตฟอร์มช้อปปิ้งออนไลน์มีขึ้นเยอะมากมาย ก็เป็นเรื่องราวดีๆ เพราะนักช้อปอย่างเราได้กำไรไปเต็มๆ เพราะไม่ว่าจะเลือกใช้แอปไหนก็มีข้อดีแตกต่างกันออกไป แพลตฟอร์มหรือร้านค้าหลักที่มาแรงในตลาดหนีไม่พ้น Lazada (ลาซาด้า) และ Shopee (ช้อปปี้) ซึ่งทั้งสอง จะช้อปลาซาด้าและช้อปปิ้งออนไลน์ Shopee ก็มีโปรเด็ดขนมาประชันกันเพียบ แล้วแบบนี้จะเลือกช้อปกับแอปไหนดีนะ เพื่อให้คุณได้ช้อปกันแบบสบายใจและคุ้มค่าที่สุด ShopBack Blog รวบรวมความแตกต่างเปรียบเทียบแอปช้อปปิ้งลาซาด้าและการช้อปสินค้า Shopee มาฝากแบบเจาะลึก! จัดเต็ม! รักแอปไหน ชอบแอปไหน ก็เลือกช้อปกัน ผ่าน ShopBack ได้เงินคืนด้วยทั้งคู่เลย

คลิกสมัครใช้ ShopBack          รับข่าวสารเงินคืน          แชร์โปร เก็บดีล 

แอปพลิเคชั่น Shopee เป็นยังไง?

เปรียบเทียบ Shopee Lazada JD Central

เปรียบเทียบ Shopee Lazada JD Central

ความประทับใจแรกกับแอปช้อปปิ้งออนไลน์ Shopee คือ สีสันสดใสสะดุดตา เมื่อเข้ามาหน้าแรกจะเจอกับแบนเนอร์โปรโมชั่นและดีลเด็ดในช่วงนั้น อย่างเช่น ตอนนี้เป็นคิวของโปรวันคนโสด 11.11 ซึ่งโปรโมชั่นก็จะหมุนเวียนเปลี่ยนไปไม่ซ้ำกันเลย ชวนให้ผู้ใช้งานต้องเข้ามาติดตามอย่างต่อเนื่อง

ส่วนแถบเมนูด้านบนสุดจะมีช่องค้นหาร้านค้าและสินค้า Shopee พร้อมฟังก์ชั่นค้นหาจากรูปที่เพิ่มเข้ามาใหม่ล่าสุด นอกจากนี้ยังมีเมนูลัดไปยังโปรโมชั่น ดีล และหมวดหมู่สินค้าต่างๆ ที่แยกเป็นระเบียบชัดเจน

เปรียบเทียบ Shopee Lazada JD Central

เปรียบเทียบ Shopee Lazada JD Central

ในส่วนของเมนูลัดที่นิยมที่สุดก็คือการกดรับโค้ดส่งฟรีประจำเดือน ยิ่งใครใช้ Airpay Wallet ในการจ่ายเงินภายในแอปก็จะมีโค้ดส่งฟรีพิเศษนอกเหนือจากโค้ดประจำเดือนให้เพิ่มเติมอีกด้วย จากนั้นจะพบกับแถบ Flash Sale ดีลเด็ด ดีลด่วน ลดฟ้าผ่าประจำวัน ใครที่ชอบซื้อของลดราคาแบบจัดหนักต้องห้ามพลาดเลยค่ะ

เปรียบเทียบ Shopee Lazada JD Central

เมื่อเลื่อนลงมาจะพบกับเมนูสินค้าขายดีประจำสัปดาห์และฟีเจอร์ Shopee Live สำหรับให้ร้านค้ามาไลฟ์สดขายของบนแอปกันได้เลย ไม่ต้องไลฟ์ผ่านเฟซบุ๊กอีกต่อไป ดูไลฟ์ปุ๊บถูกใจสินค้าชิ้นไหนก็กดเข้าร้านไปสั่งซื้อได้ทันที

เปรียบเทียบ Shopee Lazada JD Central

ส่วนฟีเจอร์อื่นๆ ก็มีทั้งแถบสินค้าแนะนำประจำวัน แนะนำสินค้าจาก Shopee Mall และสินค้าจากร้านค้าต่างๆ ซึ่งประเภทสินค้าที่แสดงในหน้าแรกนี้ส่วนใหญ่จะเป็นสินค้าหมวดหมู่ที่เราคลิกไปดูบ่อย หรือสินค้าที่ทางแอปเห็นว่าเรามีแนวโน้มจะสนใจค่ะ

ShopBack Tips : ไม่ว่าจะเป็นแอปช้อปลาซาด้าหรือ Shopee ต่างก็มีข้อดีและฟีเจอร์เด่นๆ แตกต่างกันออกไป เรื่องโปรโมชั่นที่จัดก็คุ้มค่าไม่แพ้กันเลยนะคะ ดังนั้น ลองเลือกแอปที่เราชอบและคิดว่าใช้คล่องมือที่สุด แล้วอย่าลืมมาแชร์ประสบการณ์ช้อปปิ้งออนไลน์ของคุณกับ ShopBack Blog กันบ้างนะ

โควิด-19 ทำให้ภาพรวมขายออนไลน์โตกระฉูด ล่าสุดปี 2564 ลาซาด้า แจ้งมีกำไร 226 ล้านบาทครั้งแรกในรอบเกือบ 10 ปี ช้อปปี้ แจ้งรายได้รวม เติบโต 129% เจดี เซ็นทรัล มีรายได้รวม 7,443 ล้านบาท ยังห่างจากเจ้าตลาด

เปรียบเทียบ Shopee Lazada JD Central

ลาซาด้า แจ้งมีกำไรจากการทำธุรกิจ

Brand Inside สำรวจข้อมูลจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้าพบว่า บริษัท ลาซาด้า จำกัด แจ้งรายได้รวม 14,675 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 46% กำไรสุทธิ 226 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 105% ถือเป็นการแจ้งกำไรครั้งแรกนับตั้งแต่ส่งงบประมาณเมื่อปี 2558 ที่มีรายได้รวม 3,197 ล้านบาท และขาดทุนสุทธิ 1,958 ล้านบาท

ในปี 2564 ลาซาด้า มีการทำแคมเปญต่าง ๆ มากมาย พร้อมดึงดาราดังระดับสากลมาเป็นพรีเซนเตอร์ เช่น ฮยอนบิน ดาราเกาหลี และ Seventeen วงศิลปิน K-Pop นอกจากนี้ยังร่วมมือกับช่อง One จัดทำ LAZ iCON รายการแข่งขันบอยกรุ๊ปช่วยกระตุ้นตลาดในช่วงไตรมาส 4

ด้านภาพรวมกลุ่มธุรกิจลาซาด้าในประเทศไทย ทางบริษัทมีการยกระดับระบบ Fulfillment ให้ส่งสินค้าได้เร็ว และมีประสิทธิภาพ พร้อมกับดึงแบรนด์สินค้าชั้นนำเข้ามาอยู่ในระบบเพื่อทำตลาดได้ง่ายขึ้น ส่วนฝั่งผู้ค้าทั่วไป มีการกระตุ้นตลาดด้วยฟีเจอร์ไลฟ์ และการให้สิทธิประโยชน์ต่าง ๆ หากเข้ามาร่วมแคมเปญการขาย

เปรียบเทียบ Shopee Lazada JD Central

ช้อปปี้ รายได้รวมเติบโตถึง 129%

ต่อที่ บริษัท ช้อปปี้ (ประเทศไทย) จำกัด ที่ปี 2564 แจ้งรายได้รวม 13,322 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 129% ขาดทุนสุทธิ 4,972 ล้านบาท มากขึ้น 19% ถือเป็นครั้งแรกที่ ช้อปปี้ ทำรายได้รวมทะลุ 10,000 ล้านบาทได้ เพราะนับตั้งแต่ปี 2558 ตามข้อมูลของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ช้อปปี้ เคยทำรายได้รวมสูงสุดที่ 5,812 ล้านบาท ในปี 2563

ในปี 2564 ช้อปปี้ มีการทำตลาดอย่างต่อเนื่องเพื่อกระตุ้นยอดขายไม่ต่างกับ ลาซาด้า โดยสิ่งที่คล้ายกันคือการใช้พรีเซนเตอร์ดาราระดับสากล เช่น เฉินหลง สวนดาราในไทยใช้ แจ๊ส-ชวนชื่น กับการซื้อเวลาช่องโทรทัศน์ต่าง ๆ เพื่อจัดกิจกรรมกระตุ้นยอดในแคมเปญเลขวันกับเดือนตรงกัน เช่น 9.9 และ 11.11 เป็นต้น

สำหรับปี 2564 ทางกลุ่มช้อปปี้มีการเคลื่อนไหวในหลากหลายมุมธุรกิจ เช่น ช่วงปลายปีเริ่มโปรโมท Shopee Food บริการฟู้ดเดลิเวอรี นอกจากนี้ยังเปลี่ยนแบรนด์บริการทางการเงินจาก AirPay เป็น Shopee Pay เพื่อเพิ่มความเป็นหนึ่งเดียวกัน เป็นต้น

เปรียบเทียบ Shopee Lazada JD Central

เจดี เซ็นทรัล ถึงโตแต่ยังถูกทิ้งห่าง

ปิดท้ายที่ เจดี เซ็นทรัล อีกแพลตฟอร์มที่เกิดจากบริการขายออนไลน์ชั้นนำของจีนร่วมกับหนึ่งในผู้นำธุรกิจค้าปลีกไทย ที่ปี 2564 มีรายได้รวม 7,443 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 113% แต่ขาดทุนสุทธิ 1,930 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 40% อาจเพราะตัวองค์กรมีการทำโปรโมชันต่าง ๆ เพื่อกระตุ้นยอดขายให้ใกล้เคียงกับ 2 ผู้นำ

ในทางกลับกัน เจดี เซ็นทรัล กลับไม่ใช่พรีเซนเตอร์ดาราดังในการช่วยทำตลาดมากนัก เพราะในแคมเปญต่าง ๆ จะเห็นน้องหมาสีขาว หรือมาสคอตของแบรนด์ในการสื่อสาร พร้อมกับใช้อินฟลูเอนเซอร์หลากหลายรายในการช่วยกระตุ้นยอดขายโดยตรงแทน

อย่างไรก็ตามเมื่อเปรียบเทียบในแง่แบรนด์ และการเป็นที่รู้จัก เจดี เซ็นทรัล ยังอยู่ห่าง ลาซาด้า กับ ช้อปปี้อยู่มาก แต่หากแผนการตลาดข้างต้นประสบความสำเร็จ และสามารถจูงใจผู้บริโภคได้มากขึ้น ก็มีโอกาสที่ เจดี เซ็นทรัล จะเติบโต 100% และมีรายได้หลักหมื่นล้านบาทใกล้เคียงกับคู่แข่งได้เสียที

เปรียบเทียบ Shopee Lazada JD Central

สรุป

ปี 2565 การแข่งขันของแพลตฟอร์มขายออนไลน์ หรืออีคอมเมิร์ซยังแข่งขันกันดุเดือดเช่นเดิม สังเกตจากการยิงโฆษณา และการทำแคมเปญลดราคาต่าง ๆ ซึ่งก็ต้องดูว่า ลาซาด้า จะรักษาตำแหน่งผู้นำไว้ไม่ให้ ช้อปปี้ แซงได้หรือไม่ และ เจดี เซ็นทรัล จะสามารถแข่งขันได้อย่างสูสีกับเจ้าตลาดทั้งคู่ได้อย่างไร