บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง โครงงาน

บทที่ 2

เอกสารและโครงงานที่เกี่ยวข้อง

ในการจัดทำโครงงานการคอมพิวเตอร์เรื่องประเภทคอมพิวเตอร์   กลุ่มของข้าพเจ้าได้ กลุ่มข้าพเจ้าได้รวบรวมเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับโครงงานแบ่งออก เป็น 2 เรื่องดังนี้

เอกสารที่เกี่ยวข้อง

  1. ความสำคัญของคอมพิวเตอร์
  2. ประเภทของคอมพิวเตอร์

โครงงานที่เกี่ยวข้อง          

  1. ความสำคัญของคอมพิวเตอร์

ปัจจุบันคอมพิวเตอร์ได้ถูกพัฒนาให้มีความก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว ขนาดเล็กลงราคาถูกลงแต่ประสิทธิภาพหรือความสามารถในการทางงานสูงขึ้น ทำให้หน่วยงาน องค์กร ตลอดจนบุคลได้นำคอมพิวเตอร์มาใช้งานกันอย่างกว้างขวาง เช่น การพิมพ์เอกสารต่าง ๆ การออกแบบงานด้านศิลปะ การสร้างภาพกราฟิก การเล่นเกม การดูหนังฟังเพลง การสร้างเว็บส่วนตัว การนำคอมพิวเตอร์มาใช้งานใน ลักษณะเครือข่าย เช่น เครือข่ายอินเทอร์เน็ต การติดต่อสื่อสาร การเลือกซื้อสินค้า การสืบค้นข้อมูล ด้านการศึกษา เป็นต้น

1.2 ข้อมูลเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

1.2.1 ความหมายของคอมพิวเตอร์

คอมพิวเตอร์คืออุปกรณ์ทางอิเล็กทรอนิกส์(electrinic device)ที่มนุษย์ใช้เป็น

เครื่องมือช่วยในการจัดการกับข้อมูลที่อาจเป็นได้ทั้งตัวเลข ตัวอักษร หรือสัญลักษณ์ที่ใช้แทนความหมายในสิ่งต่าง ๆโดยคุณสมบัติที่สําคัญของคอมพิวเตอร์คือการที่สามารถกําหนดชุดคําสั่งล่วงหน้าหรือโปรแกรมได้(programmable) นั่นคือคอมพิวเตอร์สามารถทํางานได้หลากหลายรูปแบบขึ้นอยู่กับชุดคําสั่งที่เลือกมาใช้งานทําให้สามารถนําคอมพิวเตอร์ไปประยุกต์ใช้งานได้อย่างกว้างขวาง เช่นใช้ในการตรวจคลื่นความถี่ของหัวใจ การฝาก-ถอนเงินในธนาคารการตรวจสอบสภาพเครื่องยนต์ เป็นต้น ข้อดีของคอมพิวเตอร์ คือเครื่องคอมพิวเตอร์สามารถทํางานได้อย่างมีประสิทธภาพ มีความถูกต้องและมีความรวดเร็วอย่างไรก็ดี ไม่ว่าจะเป็นงานชนิดใดก็ตามเครื่องคอมพิวเตอร์จะมีวงจรการทํางานพื้นฐาน 4 อย่าง (IPOS cycle) คือ

  1. รับข้อมูล (Input) เครื่องคอมพิวเตอร์จะทําการรับข้อมูลจากหน่วยรับข้อมูล (input unit) เช่น คีบอร์ดหรือ เมาส์
  2. ประมวลผล (Processing) เครื่องคอมพิวเตอร์จะทําการประมวลผลกับข้อมูลเพื่อแปลงให้อยู่ในรูปอื่นตามที่ต้องการ
  3. แสดงผล (Output) เครื่องคอมพิวเตอร์จะให้ผลลัพธ์จากการประมวลผลออกมายังหน่วยแสดงผลลัพธ์ (output unit) เช่น เครื่องพิมพ์ หรือจอภาพ
  4. เก็บข้อมูล (Storage) เครื่องคอมพิวเตอร์จะทําการเก็บผลลัพธ์จากการประมวลผลไว้ในหน่วยเก็บข้อมูลเพื่อให้สามารถนํามาใช้ใหม่ได้ในอนาคต

1.2.2 ประวัติความเป็นมาและพัฒนาการของคอมพิวเตอร์

[ ประมาณ 2,600 ปีก่อนคริสตกาล ]ชาวจีนได้ประดิษฐ์เครื่องมือเพื่อใช้ในการคํานวณ

ขึ้นมาชนิดหนึ่ง เรียกว่า ลูกคิด ( Abacus)

ลูกคิด ( Abacus)

[ พ.ศ. 2158 ] นักคณิตศาสตร์ชาวสก็อตแลนด์ชื่อ John Napier ได้ประดิษฐ์อุปกรณ์ที่ใช้ช่วยในการคํานวณขึ้นมาเรียกว่า Napier’s Bones เป็นอุปกรณ์ที่มีลักษณะคล้ายกับตารางสูตรคูณในปัจจุบัน

[ พ.ศ.2173 ] วิลเลียมออตเทรต( William Oughtred) นักคณิตศาสตร์ชาวอังกฤษได้ประดิษฐ์ไม้บรรทัดคํานวณ ( Slide Rule) ซึ่งต่อมากลายเป็นพื้นฐานของการสร้างคอมพิวเตอร์แบบอนาลอก

[ พ.ศ.2185 ] เบลส์ ปาสคาล ( Blaise Pascal) นักคณิตศาสตร์ชาวฝรั่งเศสได้ประดิษฐ์เครื่องบวกลบขึ้น โดยใช้หลัการหมุนของฟันเฟืองและการทดเลขเมื่อฟันเฟืองหมุน ไปครบรอบ โดยแสดงตัวเลขจาก 0-9 ออกที่หน้าปัด

Pascal’s Calculato

[ พ.ศ.2214 ] กอตฟริต วิลเฮล์ม ไลบ์นิซ ( Gottfried Wilhelm Leibniz ) นักคณิตศาสตร์ชาวเยอรมัน ได้ปรับปรุงเครื่องคิดเลขปาสคาล ให้ทํางานได้ดีกว่าเดิมและเขายังค้นพบเลขฐานสอง (Binary number)

กอตฟริต วิลเฮล์ม ไลบ์นิซ ( Gottfried Wilhelm Leibniz )

[ พ.ศ.2288 ] โจเซฟแมรี่ แจคคาร์ด ( Joseph Marie Jacquard) เป็นชาวฝรั่งเศสได้คิด

เครื่องทอผ้าโดยใช้คําสั่งจากบัตรเจาะรูควบคุมการทดผ้าให้มีสีและลวดลายต่าง ๆ

บัตรเจาะรู

[ พ.ศ.2365 ] ชาร์ล แบบเบจ ( Charles Babbage) นักคณิตศาสตร์ชาวอังกฤษได้ประดิษฐ์เครื่องมือที่เรียกว่าเครื่องหาผลต่าง ( Difference Engine) เพื่อใช้คํานวณและพิมพ์ค่าทางตรีโกณมิติและฟังก์ชันทางคณิตศาสตร์ แบบเบจได้พยายามสร้างเครื่องคํานวณอีกชนิดหนึ่งเรียกว่า Analytical Engine โดยมีแนวคิดให้แบ่งการทํางานของเครื่องออกเป็น 3 ส่วนคือ ส่วนเก็บข้อมูล (Store unit), ส่วนควบคุม (Control unit) และส่วนคํานวณ (Arithmetic unit) ซึ่งแนวคิดนี้ได้รับการนํามาใช้เป็นต้นแบบของเครื่องคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันจึงยกย่องแบบเบจ ว่าเป็นบิดาแห่งเครื่องคอมพิวเตอร์ เลดี้ เอดา ออคุสตาเลฟเลค ( Lady Ada Augusta Lovelace ) เป็นนักคณิตศาสตร์ที่เข้าใจผลงานของแบบเบจได้เขียนวิธีการใช้เครื่องคํานวณของแบบเบจเพื่อแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์เล่มหนึ่ง ต่อมาเลดี้ เอดา ออคุสตาเลฟเลค จึงได้รับการยกย่องว่าเป็นโปรแกรมเมอร์คนแรกของโลก

                                                       Diferrence Engine

[ พ.ศ.2393 ] ยอร์จบูล ( George Boole) นักคณิตศาสตร์ชาวอังกฤษ ได้คิดระบบพีชคณิตระบบใหม่เรียกว่า Boolean Algebra โดยใช้อธิบายหลักเหตุผลทางตรรกวิทยาโดยใช้สภาวะเพียงสองอย่างคือ True (On) และFalse (Off) ร่วมกับเครื่องหมายในทางตรรกะพื้นฐาน ได้แก่ NOT AND และ OR ต่อมาระบบเลขฐานสอง และ Boolean Algebra ก็ได้ถูกนํามาดัดแปลงให้เข้ากับวงจรไฟฟ้าซึ่งมีสภาวะ 2 แบบ คือ เปิด , ปิดจึงนับเป็นรากฐานของการออกแบบวงจรในระบบคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน (Digital Computer)[ พ.ศ.2480-2481 ] ดร.จอห์น วินเซนต์อตานาซอฟ ( Dr.Jobn Vincent Atansoff) และคลิฟฟอร์ด แบรี่ ( Clifford Berry) ได้ประดิษฐ์เครื่อง ABC ( Atanasoff-Berry) ขึ้นโดยได้นําหลอดสุญญากาศมาใช้งาน ABC ถือเป็นเครื่องคํานวณเครื่องแรกที่เป็นเครื่องอิเล็กทรอนิกส์

Atansoff

ABC Computer

                                                                              Berry

[ พ.ศ.2487 ] ศาสตราจารย์โอเวิร์ด ไอด์เคน (Howard Aiken) แห่งมหาวิทยาลัยฮาวาร์ด ร่วมกับวิศวกรของบริษัทไอบีเอ็มได้สร้างเครื่อง MARK I เป็นผลสําเร็จ แ ต่อย่างไรก็ตามเครื่อง MARK I นี้ยังไม่ใช่คอมพิวเตอร์ที่แท้จริงแต่เป็นเครื่องคิดเลขไฟฟ้าขนาดใหญ่เท่านั้น

[ พ.ศ.2485-2495 ] มหาวิทยาลัยเพนซิลเลเนียได้สร้างเครื่อง ENIAC (Electronic Numerical Integrator And Calculator) นับได้ว่าเป็นเครื่องคํานวณอิเล็กทรอนิกส์เครื่องแรกของโลกที่ใช้หลอดสูญญากาศและควบคุมการทํางานโดยวิธีเจาะชุดคําสั่งลงในบัตรเจาะรู

Eniac

[ พ.ศ.2492 ] ดร.จอห์น ฟอน นิวแมนน์ ( Dr.John Von Neumann ) ได้สร้างเครื่อง

คอมพิวเตอร์ที่สามารถเก็บคําสั่งการปฏิบัติงานทั้งหมดไว้ภายในเครื่องชื่อว่า EDVAC

นับเป็นคอมพิวเตอร์เครี่องแรกที่สามารถเก็บโปรแกรม ไว้ในเครื่องได้

EDVAC

(first stored program computer)

[ พ.ศ.2496-2497 ] บริษัทไอบีเอ็มได้สร้างคอมพิวเตอร์ชื่อ IBM 701 และ IBM 650 โดยใช้หลอดสุญญากาศเป็นวัสดุสร้างต่อมาเกิดมีการพัฒนาสิ่งประดิษฐ์ที่เป็นสารกึ่งตัวนําขึ้นที่ห้องปฏิบัติการของบริษัท Bell Telephone ได้เกิดทรานซิสเตอร์ตัวแรกขึ้นต่อมาทรานซิสเตอร์ได้ถูกนําไปแทนหลอดสูญญากาศจึงทําให้ขนาดของคอมพิวเตอร์เล็กลงและเกิดความร้อนน้อยลง (เครื่องที่ใช้ทรานซิสเตอร์ได้แก่ IBM 1401และ IBM 1620 )

หลอดสูญกาศ (Vacuum Thing)

  ทรานซีสเตอร์ (Transistor) 

[ พ.ศ.2508 ] วงจรคอมพิวเตอร์มีการเปลี่ยนแปลงอีกมากเมื่อมีวงจรรวม ( Integrated Circuit: IC) เกิดขึ้น ซึ่งไอบีเอ็มนี้ได้ถูกนําไปแทนที่ทรานซิสเตอร์ในวงจรอิเล็กทรอนิกส์ของระบบคอมพิวเตอร์อีกครั้งซึ่งผลก็คือทําให้คอมพิวเตอร์มีขนาดเล็กลง

IC

[ พ.ศ.2514 ] บริษัท Intel ได้ใช้เทคโนโลยีของการผลิตวงจรรวมแบบ ( Large Scale Integrated Circuit

:LSI ) ทําการรวมเอาวงจรที่ใช้เป็นหน่วยประมวลผลกลาง ( CPU) ของคอมพิวเตอร์มาบรรจุอยู่ในแผ่นไอซีเพียงตัวเดียวซึ่งไอซีนี้เรียกว่าไมโครโปรเซสเซอร์ ( Microprocessor)

Microprocessor

[ พ.ศ.2506] ประเทศไทยเริ่มมีคอมพิวเตอร์ใช้เป็นครั้งแรกโดยที่คอมพิวเตอร์เครื่องแรกในประเทศไทยได้ติดตั้งที่ ภาควิชาสถิติคณะพานิชยศาสตร์และการบัญชีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องนี้คือIBM 1620 ซึ่งได้รับมอบจากมูลนิธิเอไอดี และบริษัทไอบีเอ็ม แห่ง ประเทศไทยจํากัดปัจจุบันหมดอายุการใช้งานไปแล้วจึงได้มอบให้แก่ศูนย์บริภัณฑ์การศึกษาท้องฟ้าจําลองกรุงเทพฯ

[ พ.ศ.2507] เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องที่สองของประเทศไทยติดตั้งที่สํานักงานสถิติ

แห่งชาติในเดือนมีนาคม 2507

ก่อกำาเนิดไมโครโปรเซสเซอร์

เมื่อก่อนนั้น Intel เป็นบริษัทผลิตชิปไอซีแห่งหนึ่งที่ไม่ใหญ่โตมากนักเท่าในปัจจุบันนี้ เมื่อปี

ค.ศ.1969 ได้สร้างความสะเทือน ให้กับวงการอิเล็คทรอนิคส์โดยการออกชิปหน่วยความจํา

(Memory)ขนาด 1 Kbyte มาเป็นรายแรกบริษัทบิสซิคอมพ์(Busicomp) ซึ่งเป็นผู้ผลิตเครื่องคิดเลขของญี่ปุ่นได้ทําการว่าจ้างให้ Intel ทําการผลิตชิปไอซีที่บิสซิคอมพ์เป็นคนออกแบบเองที่มีจํานวน 12 ตัว โครงการนี้ถูกมอบหมายให้นาย M.E. Hoff, Jr. ซึ่งเข้าตัดสินใจที่จะใช้วิธีการออกแบบชิปแบบใหม่โดยสร้างชิปที่ให้ถูก

โปรแกรมได้หมายถึงว่าสามารถนําเอาชุดคําสั่งของการคํานวณไปเก็บไว้ในหน่วยความจําก่อนแล้วให้ไอซีตัวนี้อ่านเข้ามาแปล ความหมาย และทํางานภายหลังในปี1971 Intel ได้นําผลิตภัณฑ์ออกสู่ตลาด โดยใช้ชื่อทางการค้าว่า Intel 4004 ในราคา 200 เหรียญสหรัฐ และเรียกชิปนี้ว่าเป็น ไมโครโปรเซสเซอร์(Micro Processor) ก็เพราะว่า4004 นี้เป็น CPU (Central Processing Unit) ตัวหนึ่ง ซึ่งมีขนาด 4.2 X 3.2 มิลลิเมตร ภายในประกอบด้วย ทรานซิสเตอร์ จํานวน 2250 ตัว และเป็นไมโครโปรเซสเซอร์ขนาด 4 บิตหลังจาก 1 ปีต่อมา Intel ได้ออก ไมโครโปรเซสเซอร์ขนาด 8 บิตออกมาโดยใช้ชื่อว่า8008 มีชุดคําสั่ง 48 คําสั่ง และอ้างหน่วยความจําได้ 16 Kbyte ซึ่งทาง Intel หวังว่าจะเป็นตัวกระตุ้นตลาดทางด้านชิปหน่วยความจําได้อีกทางหนึ่งเมื่อปี 1973 ทาง Intel ได้ออก ไมโครโปรเซสเซอร์ 8080 ที่มีชุดคําสั่งพื้นฐาน 74 คําสั่งและสามารถอ้างหน่วยความจําได้ 64 Kbyte

ไมโครคอมพิวเตอร์ เครื่องแรกของโลก

เมื่อปี 1975 มีนิตยสารต่างประเทศฉบับหนึ่ง ชื่อว่า Popular Electronics ฉบับเดือน มกราคม ได้ลงบทความ เกี่ยวกับเครื่อง ไมโครโปรเซสเซอร์เครื่องแรกของโลกที่มีชื่อว่า อัลแตร์8800 (Altair) ซึ่งทําออกมาเป็นชุดคิทโดยบริษัท MITS (Micro Insumentation And Telemetry Systems) ลักษณะของชุดคิท ก็คือจะอยู่ในรูปของอุปกรณ์แต่ละชิ้นโดยให้ คุณนําไปประกอบขึ้นใช้เอง บริษัท MITS ถูกก่อตั้งเมื่อปี 1969 โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อทําตลาดในด้านเครื่องคิดเลขแต่การค้าชลอตัวลง ประธานบริษัท ชื่อ H. Edword Roberts เห็นการไกลคิดเปิดตลาดใหม่ซึ่งจะขายชุดคิด คอมพิวเตอร์ ประมาณเอาไว้ว่าอาจขายได้ในจํานวนปีล่ะประมาณ 200-300 ชุดจึงให้ทิมงานออกแบบบและพัฒนาแล้วเสร็จก่อนถึงคริสต์มาส ในปี 1974 แต่เพิ่งมาประกาศตัวในปีถัดไป สําหรับ CPU ที่ใช้คือ 8080 และคําว่า ไมโครคอมพิวเตอร์จึงถูกเรียกใช้เป็นครั้งแรกเพื่อชุดคิทคอมพิวเตอร์ชุดนี้ ชุดคิทของ อัลแตร์นี้ประกอบด้วย ไมโครโปรเซสเซอร์ 8080 ของบริษัท Intel มี เพาเวอร์ซัพพลายมีแผงหน้าปัดที่ติดหลอดไฟ เป็นแถวมาให้เพื่อแสดงผล รวมถึงหน่วยความจํา 256 Byte

( แหม.. เหมือนของเล่นเราในสมัยนี้ จังงง ) นอกนั้น ยังมี สล๊อต (Slot) ให้เสียบอุปกร์อื่น ๆ เพิ่มได้ แต่ก็ทําให้ MITS ต้องผิดคาด คือ ภายใน เดือนเดียวมีจดหมายส่งเข้ามาขอสั่งซื้อเป็นจํานวนถึง 4,000 ชุดเลยทีเดียว ด้วยชิป8080 นี่เองได้เป็นแรงดลใจให้บริษัท ดิจิตอลรีเสิร์ช (Digital Research) กําเนิด ระบบปฏิบัติการ(Operating System) ที่ชื่อว่า ซีพีเอ็ม(CP/M หรือ Control Program For Microcomputer) ขึ้นมา ในขณะที่ Microsoft ยังเพิ่งออก Microsoft Basic รุ่นแรกเท่านั้นเอง

ถึงยุค Z80

เมื่อเดือน พฤศจิกายนปี1974 ได้มี วิศวกรของ Intel บางคนได้ออกมาตั้งบริษัทผลิตชิปเอง โดยมีชื่อว่า ไซล๊อก(Zilog) เนื่องจาก วิศวกรเหล่านี้ ได้มีส่วนร่ามในการผลิตชิป8080 ด้วยจึงได้นําเอาเทคโนโลยีการผลิดนี้มาสร้างตัวใหม่ที่ดีกว่า มีชื่อว่า Z80 ยังคงเป็น ชิปขนาด 8 บิต เมื่อได้ออกสู่ตลาดได้รับความนิยมเป็นอย่างมากเนื่องจากได้ปรับปรุงข้อบกพร่องต่าง ๆ ที่มีอยู่ใน 8080 จึงทําให้เครื่องคอมพิวเตอร์หลายต่อหลายยี่ห้อ หันมาใช้ชิปZ80 กัน แม้แต่ซีพีเอ็ม ก็ยังถูกปรับปรุงให้มาใช้กับ Z80 นี้ด้วย *** แม้ในปัจุบันนี้ Z80 ยังคงถูกใช้งาน และนําไปใช้ ในการเรียนการสอนไมโครโปรเซสเซอร์ ด้วย เช่น ชุดคิดหรือ Single Board Microcomputer ของ ETT, Silaเป็นต้น และ IC ตัวนี้ยังผลิตขาย อยู่ในปัจจุบัน ในราคา ไม่เกิน 100 บาทน่ะจะบอกให้)

Computer เครื่องแรกของ IBM

ในปี 1975 ไอบีเอ็มได้ออกเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ เครื่องแรกออกมาแต่ทางไอบีเอ็มได้เรียกเครื่องนี้ว่าเป็น เทอร์มินัลแบบชาญฉลาด ที่สามารถโปรแกรมได้(Intelligent Programmable Terminal) และตั้งชื่อรุ่นว่า Model 5100 มีหน่วยความจํา 16 Kbyte แล้วยังมีตัวแปลภาษาเบสิก แบบอินเตอร์พรีทเตอร์ (Interpreter) ด้วย และมีไดรฟ์สําหรับใส่คาร์ทิดจ์เทปในตัว แต่ก็ยังขายไม่ดีเอามาก ๆ เลยเพราะว่าตั้งราคาไว้สูงมากถึง 9,000 เหรียญสหัฐในปลายปี 1980 บริษัทไอบีเอ็มได้เกิดแผนกเล็ก ๆ ขึ้นมาแผนกหนึ่งเรียกว่า Entry Systems Division ภายใต้ทีมของคนชื่อว่า ดอน เอสทริดจ์ (Don Estridge) และนักออกแบบอีก 12 คนโดยได้รับมอบหมายให้พัฒนาเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์เครื่องแรกของไอบีเอ็มโมเด็ล5100 นั้นเอง โดยนําเอาจุดเด่นของเครื่องที่ขายดีมารวมไว้ในการออกแบบเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ของไอบีเอ็มและผลิตจําหน่ายได้ภายในปีเดียวภายใต้ชื่อว่า ไอบีเอ็มพีซี (IBM PC) ซึ่งถูกเปิดตัวในเดือน สิหาคม ปี 1981 และยอดขายของเครื่องพีซีก็ได้พุ่งอย่างรวดเร็ว ทําให้บริษัทอื่น ๆ จับตามอง

กำเนิด แอปเปิ้ล

ในปี 1976 หลังจาก Stephen Wozniak และ Steve Jobs ได้ร่วมกันก่อตั้งบริษัทแอปเปิลคอมพิวเตอร์ (Apple Computer) และได้นําเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์เครื่องแรกที่ประดิษฐ์จากโรงรถออกมาขายโดยใช้ชื่อว่า Apple I ในราคา 695 เหรียญบริษัทแอปเปิลได้ผลิตเครื่อง Apple I ออกมาไม่มากนัก ภายในปีเดียวได้ผลิต Apple II ออกมาและรุ่นนี้เป็นรุ่นเปิดศักราชแห่งวงการไมโครคอมพิวเตอร์และเป็นการสร้างมาตรฐาน ที่ไมโครคอมพิวเตอร์ ที่เกิดมาตามหลังทั้งหมด

2.2.3 ประเภทของคอมพิวเตอร์

ในปัจจุบัน คอมพิวเตอร์ได้ใช้วงจรเบ็ดเสร็จขนาดใหญ่มาก (very large scaleintegrated circuit) ซึ่งสามารถบรรจุทรานซิสเตอร์ได้มากกว่าสิบล้านตัว เราสามารถแบ่งคอมพิวเตอร์ในรุ่นปัจจุบันออกเป็น 4 ประเภทดังต่อไปนี้

ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ (supercomputer)

ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ ถือได้ว่าเป็นคอมพิวเตอร์ที่มีความเร็วมาก และมีประสิทธิภาพสูงสุดเมื่อเปรียบเทียบกับคอมพิวเตอร์ชนิดอื่น ๆ เครื่องซูเปอร์คอมพิวเตอร์มีราคาแพงมาก มีขนาดใหญ่ สามารถคํานวณทางคณิตศาสตร์ได้หลายแสนล้านครั้งต่อวินาที และได้รับการออกแบบ เพื่อให้ใช้แก้ปัญหาขนาดใหญ่มากทางวิทยาศาสตร์และทางวิศวกรรมศาสตร์ได้อย่างรวดเร็ว เช่น การพยากรณ์อากาศล่วงหน้าเป็นเวลาหลายวัน การศึกษาผลกระทบของมลพิษกับสภาวะแวดล้อมซึ่งหากใช้คอมพิวเตอร์ชนิดอื่นๆ แก้ไขปัญหาประเภทนี้ อาจจะต้องใช้เวลาในการคํานวณหลายปีกว่าจะเสร็จสิ้น ในขณะที่ซูเปอร์คอมพิวเตอร์สามารถแก้ไขปัญหาได้ภายในเวลาไม่กี่ชั่วโมงเท่านั้น เนื่องจากการแก้ปัญหาใหญ่ ๆ จะต้องใช้หน่วยความจําสูง ดังนั้น ซูเปอร์คอมพิวเตอร์จึงมีหน่วยความจําที่ใหญ่มาก ซูเปอร์คอมพิวเตอร์มีหลายประเภท ตั้งแต่รุ่นที่มีหน่วยประมวลผล (processing unit) 1 หน่วย จนถึงรุ่นที่มีหน่วยประมวลผลหลายหมื่นหน่วยซึ่งสามารถทํางานหลายอย่างได้พร้อม ๆ กัน

เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ (mainframe computer)

เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ มีสมรรถภาพที่ต่ำกว่าซูเปอร์คอมพิวเตอร์มาก แต่ยังมีความเร็วสูง และมีประสิทธิภาพสูงกว่ามินิคอมพิวเตอร์หรือไมโครคอมพิวเตอร์ เมนเฟรมคอมพิวเตอร์สามารถให้บริการผู้ใช้จํานวนหลายร้อยคนพร้อม ๆ กัน ฉะนั้น จึงสามารถใช้โปรแกรมจํานวนนับร้อยแบบในเวลาเดียวกันได้ โดยเฉพาะถ้าต่อเครื่องเข้าเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ผู้ใช้สามารถใช้ได้จากทั่วโลก ปัจจุบัน องค์กรใหญ่ๆ เช่น ธนาคาร จะใช้คอมพิวเตอร์ประเภทนี้ในการทําบัญชีลูกค้า หรือการให้บริการจากเครื่องฝากและถอนเงินแบบอัตโนมัติ (automatic teller machine)

เนื่องจากเครื่องเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ได้ถูกใช้งานมากในการบริการผู้ใช้พร้อม ๆ กัน

เมนเฟรมคอมพิวเตอร์จึงต้องมีหน่วยความจําที่ใหญ่มาก

มินิคอมพิวเตอร์ (minicomputer)

มินิคอมพิวเตอร์ คือ เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก ๆ ซึ่งสามารถบริการผู้ใช้งานได้หลายคนพร้อม ๆ กัน แต่จะไม่มีสมรรถภาพเพียงพอที่จะบริการผู้ใช้ในจํานวนที่เทียบเท่าเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ได้ จึงทําให้มินิคอมพิวเตอร์เหมาะสําหรับองค์กรขนาดกลาง หรือสําหรับแผนกหนึ่งหรือสาขาหนึ่งขององค์กรขนาดใหญ่เท่านั้น

ไมโครคอมพิวเตอร์ (microcomputer) หรือ พีซี(personalcomputer หรือ PC)

ไมโครคอมพิวเตอร์ คือ คอมพิวเตอร์ขนาดเล็กแบบขนาดตั้งโต๊ะ (desktop computer) หรือขนาดเล็กกว่านั้น เช่น ขนาดสมุดบันทึก (notebook computer) และขนาดฝ่ามือ (palmtop computer) ไมโครคอมพิวเตอร์ได้เริ่มมีขึ้นในปีพ.ศ. 2518 ถึงแม้ว่าในระยะหลัง เครื่องชนิดนี้จะมีประสิทธิภาพที่สูง แต่เนื่องจากมีราคาไม่แพงและมีขนาดกระทัดรัด ไมโครคอมพิวเตอร์จึงยังเหมาะสําหรับใช้ส่วนตัว ไมโครคอมพิวเตอร์ได้ถูกออกแบบสําหรับใช้ที่บ้าน โรงเรียน และสํานักงานสําหรับที่บ้าน เราสามารถใช้ไมโครคอมพิวเตอร์ในการทํางบประมาณรายรับรายจ่ายของครอบครัวช่วยทําการบ้านของลูกๆ การค้นคว้าข้อมูลและข่าวสาร การสื่อสารแบบอิเล็กทรอนิกส์ (electronic mail หรือ E -mail) หรือโทรศัพท์ทางอินเทอร์เน็ต (internet phone) ในการติดต่อทั้งในและนอกประเทศ หรือแม้กระทั่งทางบันเทิง เช่น การเล่นเกมบนเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ สําหรับที่โรงเรียน เราสามารถใช้ไมโครคอมพิวเตอร์ในการช่วยสอนนักเรียนในการค้นคว้าข้อมูลจากทั่วโลกสําหรับที่สํานักงาน เราสามารถใช้ไมโครคอมพิวเตอร์ในการช่วยพิมพ์จดหมายและข้อมูลอื่นๆ เก็บและค้นข้อมูล วิเคราะห์และทํานายยอดซื้อขายล่วงหน้า

โน้ตบุ๊ค (notebook or laptop)

โน้ตบุ๊ค คือ คอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเล็กกว่าไมโครคอมพิวเตอร์ ถูกออกแบบไว้เพื่อนําติดตัวไปใช้

ตามที่ต่างๆ มีขนาดเล็ก และน้ำหนักเบา ในปัจจุบันมีขนาดพอๆกับสมุดที่ทําด้วยกระดา

เน็ตบุ๊ค (netbook or laptop)

เน็ตบุ๊ค คือ คอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเล็กกว่าไมโครคอมพิวเตอร์และเล็กกว่าโน้ตบุ๊คถูกออกแบบไว้เพื่อนําติดตัวไปใช้ตามที่ต่างๆ มีขนาดเล็ก และน้ำหนักเบา

แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์ (tablet computer)

แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์ หรือเรียกสั้น ๆ ว่า แท็บเล็ต คือเครื่องคอมพิวเตอร์ที่สามารถใช้ในขณะเคลื่อนที่ได้ ขนาดกลางและใช้หน้าจอสัมผัสในการทํางานเป็นอันดับแรก มีคีย์บอร์ดเสมือนจริงหรือปากกาดิจิตอลในการใช้งานแทนที่แป้นพิมพ์คีย์บอร์ด และมีความหมายครอบคลุมถึงโน๊คบุ๊คแบบconvertible ที่มีหน้าจอแบบสัมผัสและมีแป้นพิมพ์คีย์บอร์ดติดมาด้วยไม่ว่าจะเป็นแบบหมุนหรือแบบสไลด์ก็ตาม