ขั้นตอนการพัฒนาโครงงานคอมพิวเตอร์ให้เกิดประสิทธิภาพมีอะไร

.       โครงงานคอมพิวเตอร์เป็นกิจกรรมที่ต้องทำอย่างต่อเนื่องหลายขั้นตอน และแต่ละขั้นตอนจะมีความสำคัญต่อความสำเร็จของโครงงานนั้นๆ การคัดเลือกโครงงานที่สนใจจะทำ ควรเป็นไปตามความสามารถ ความถนัด ความสนใจ และความต้องการของตัวผู้เรียนเอง การสำรวจและการเลือกเรื่องที่จะทำโครงงาน เป็นขั้นตอนแรกของการทำโครงงาน ซึ่งเป็นขั้นตอนที่สำคัญมาก

ขั้นตอนการทำโครงงานคอมพิวเตอร์ มีดังนี้
.       1. การคัดเลือกหัวข้อโครงงาน (การตั้งชื่อโครงงานคอมพิวเตอร์ที่สนใจจะทำ)
.       2. การศึกษาค้นคว้าจากเอกสารและแหล่งข้อมูล
.       3. การจัดทำข้อเสนอโครงงาน
.       4. การลงมือพัฒนาโครงงาน
.       5. การจัดทำรายงาน
.       6. การนำเสนอและการแสดงผลงานของโครงงาน

1. การคัดเลือกหัวข้อโครงงาน (การตั้งชื่อโครงงานคอมพิวเตอร์ที่สนใจจะทำ)

.         ปัญหาสำคัญในการทำโครงงานคอมพิวเตอร์ประการหนึ่งคือ ผู้เรียนไม่ทราบว่าจะทำโครงงานเรื่องอะไร โดยทั่วไปเรื่องที่จะนำมาพัฒนาเป็นโครงงานคอมพิวเตอร์ มักจะได้มาจากเรื่องทั่วๆ ไป จากปัญหา คำถาม หรือความสนใจในเรื่องต่างๆ จากการสังเกตสิ่งต่างๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับระบบคอมพิวเตอร์ หรือสิ่งต่างๆ รอบตัว ผู้เรียนสามารถจะศึกษาการได้มาของเรื่องและชื่อที่จะทำโครงงานจากตัวอย่างต่อไปนี้

.        ตัวอย่างที่ 1 ของสุดา

.                สุดา ช่วยงานคุณพ่อซึ่งเป็นคุณหมอที่คลินิกรักษาโรคทั่วไป สังเกตเห็นว่าเมื่อคนไข้เก่ามาจะต้องมี การค้นหาประวัติคนไข้ซึ่งเก็บไว้ในตู้เอกสารซึ่งมีปริมาณมาก ทำให้เสียเวลาค่อนข้างมากกว่าจะหาพบ และตู้เอกสารยังใช้เนื้อที่ในร้านค่อนข้างมากอีกด้วย ดังนั้นสุดาจึงเสนอทำโครงงานชื่อ “ระบบจัดการข้อมูลของคลินิกรักษาโรคทั่วไป” เพื่อพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ในการจัดเก็บข้อมูลคนไข้ทั้งหมดไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อเป็นการประหยัดเนื้อที่ที่ใช้ในการจัดเก็บข้อมูล และประหยัดเวลาในการค้นหาข้อมูลคนไข้
.                ป่าน เป็นนักเรียนที่เข้ามาค่ายยุวคอมพิวเตอร์ของ สสวท. ได้เรียนการเขียนโปรแกรม Delphi และมีความสนใจต้องการทำโปรแกรมเกมที่คล้ายๆ กับรายการโทรทัศน์เกมทศกัณฑ์ แต่ต้องการเปลี่ยนเนื้อหาจากการนำภาพบุคคลที่มีชื่อเสียง มาเป็นภาพอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ มาให้ผู้เล่นทาย ดังนั้นป่านจึงเสนอโครงงานชื่อ “เกมทศกัณฑ์คอมพิวเตอร์”

.       ตัวอย่างที่ 3 ของสมาน

.               สมาน เป็นผู้ที่ชอบวิชาฟิสิกส์เป็นอย่างมาก มักจะได้รับการขอร้องจากเพื่อนๆ ให้ทบทวนเนื้อหาต่างๆ ให้เพื่อนๆ ฟังอยู่เสมอ ซึ่งเมื่อสมานได้เรียนวิชาการเขียนโปรแกรมแล้วเกิดความคิดขึ้นว่า ถ้าเขาสร้างโปรแกรมช่วยสอนวิชาฟิสิกส์ขึ้นมาให้เพื่อนได้ใช้ คงจะเป็นเครื่องมืออย่างดีในการทำให้เข้าใจเนื้อหาได้ชัดเจนขึ้น ดังนั้นสมานจึงเสนอโครงงานชื่อ “โปรแกรมช่วยสอนเรื่อง การเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์“

.        ตัวอย่างที่ 4 ของจิราภรณ์, ทิพนาฎและธิติกร

.             จิราภรณ์, ทิพนาฎและธิติกร ได้ทำโครงงานเรื่อง “โปรแกรมสร้างแบบทดสอบการเรียนการสอนบนอินเทอร์เน็ต” เกิดจากการที่ปัจจุบันอินเทอร์เน็ตได้เข้ามามีบทบาทในวงการศึกษามากขึ้น ทำให้เกิดการเรียนรู้อันหลากหลาย ซึ่งไม่ได้จำกัดอยู่เพียงห้องเรียน ไม่จำกัดผู้เรียน กระบวนการเรียนรู้ในบางเนื้อหาวิชามีความจำเป็นที่จะต้องมีการทดสอบ กระบวนการวิเคราะห์ผลจึงควรจะต้องมี จึงได้คิดวิชาความรู้บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตขึ้น

.        สังเกตได้ว่า เรื่องหรือปัญหาที่จะนำมาพัฒนาโครงงานคอมพิวเตอร์ได้จากแหล่งต่างๆ กันดังนี้
.            – การอ่านค้นคว้าจากหนังสือ เอกสาร หนังสือพิมพ์ หรือวารสารต่างๆ
.            – การไปเยี่ยมชมสถานที่ต่างๆ
.            – การฟังบรรยายทางวิชาการ รายการวิทยุ และโทรทัศน์ รวมทั้งการสนทนาอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างเพื่อนผู้เรียนหรือกับบุคคลอื่นๆ
.            – กิจกรรมการเรียนการสอนในโรงเรียน
.            – งานอดิเรกของผู้เรียน
.            – การเข้าชมงานนิทรรศการหรืองานประกวดโครงงานคอมพิวเตอร์

.        อย่างไรก็ตาม ในการตัดสินใจเลือกหัวข้อที่จะนำมาพัฒนาโครงงานคอมพิวเตอร์ ควรพิจารณาองค์ประกอบสำคัญๆ ดังนี้
.            – เห็นประโยชน์และความคุ้มค่าของเรื่องที่จะทำโครงงาน
.            – ต้องมีความรู้และทักษะพื้นฐานอย่างเพียงพอในหัวข้อเรื่องที่จะศึกษา
.            – สามารถจัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์และซอฟต์แวร์ที่เกี่ยวข้องได้
.            – มีแหล่งความรู้เพียงพอที่จะค้นคว้าหรือขอคำปรึกษาซึ่งรวมถึงผู้เชี่ยวชาญ หรือผู้ให้คำปรึกษา
.            – มีเวลาเพียงพอ
.            – มีงบประมาณเพียงพอ
.            – มีความปลอดภัย

2. การศึกษาค้นคว้าจากเอกสารและแหล่งข้อมูล

.        การศึกษาค้นคว้าจากเอกสารและแหล่งข้อมูล ซึ่งรวมถึงการขอคำปรึกษาจากครูผู้เชี่ยวชาญ ปราชญ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น จะช่วยให้ผู้เรียนได้แนวคิดที่ใช้ในการกำหนดขอบเขตของเรื่องที่จะศึกษาได้เฉพาะเจาะจงมากยิ่งขึ้น รวมทั้งได้ความรู้เพิ่มเติมในเรื่องที่จะศึกษาจนสามารถใช้ออกแบบและวางแผนดำเนินการทำโครงงานนั้นได้อย่างเหมาะสม ในการศึกษาค้นคว้าดังกล่าว ผู้เรียนจะต้องบันทึกสรุปสาระสำคัญไว้ด้วย แหล่งข้อมูลที่สำคัญอีกแหล่งหนึ่งคือ การศึกษาผลงานของโครงงานคอมพิวเตอร์จากงานแสดงนิทรรศการ หรือจากเอกสารรายงานโครงงานคอมพิวเตอร์ ซึ่งอาจค้นหาได้จากเว็บไซต์ต่างๆ ทั่วโลก จะช่วยเพิ่มพูนประสบการณ์ให้กับผู้เรียนในด้านความรู้ เทคนิคและวิธีการพัฒนา นอกจากนี้ยังทำให้เกิดแนวคิดที่จะดัดแปลงผลงานดังกล่าว มาจัดทำโครงงานคอมพิวเตอร์ในหัวข้อที่ตนสนใจด้วย ตัวอย่างเว็บไซต์ เช่น
.        1) http://oho.ipst.ac.th เป็นเว็บไซต์ของสาขาคอมพิวเตอร์ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการสอนวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร การประกวดโครงงานคอมพิวเตอร์
.        2) http://www.nectec.or.th/nsc เป็นเว็บไซต์ของศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมให้ทุนวิจัยกับเยาวชนในการพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อสร้างโครงงาน และจัดการแข่งขัน
.        3) http://www. nectec.or.th/ysc เป็นเว็บไซต์ของศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ที่เกี่ยวข้องกับโครงงานนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ที่จัดการแข่งขันคัดเลือกโครงงานของผู้เรียน เป็นตัวแทนประเทศไทยไปแข่งขันในโครงการของบริษัทอินเทล ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา
.        4) http://www.toryod.com เป็นเว็บไซต์ที่รวบรวมสิทธิบัตร สิ่งประดิษฐ์ต่างๆ ที่ผู้เรียนสามารถเข้าไปศึกษา แนวคิดเพื่อนำมาใช้สร้างโครงงาน หรือต่อยอดได้
.        5) http://www.ipthailand.org เป็นเว็บไซต์ของกรมทรัพย์สินทางปัญญา
.        6) http://www.bangcare.net เป็นเว็บไซต์ที่รวบรวมเทคโนโลยี สิ่งประดิษฐ์ที่อำนวยความสะดวกให้กับคนพิการ

3. การจัดทำข้อเสนอโครงงาน

.        โดยทั่วไป การทำข้อเสนอโครงงานคอมพิวเตอร์มีขั้นตอนที่สำคัญดังนี้
.        3.1 กำหนดขอบเขตงาน
.               วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการทบทวนเอกสารวิชาการ เพื่อนำมากำหนดขอบเขต ลักษณะ และแนวทางในการวางแผนจัดทำโครงงาน
.        3.2 การออกแบบการพัฒนา
.                การออกแบบพัฒนา มีการกำหนดลักษณะของคอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์ ตัวแปล ภาษา และวัสดุต่างๆ ที่ต้องใช้กำหนด คุณลักษณะของผลงาน ระบุเทคนิคที่ใช้ในการพัฒนา พร้อมทั้งกำหนดตารางการปฏิบัติงาน
.        3.3 พัฒนาโครงงานขั้นต้น
.                การพัฒนาโครงงานขั้นต้น เป็นการลงมือปฏิบัติเพื่อศึกษาความเป็นไปได้เบื้องต้น โดยอาจทำการพัฒนาส่วนย่อยๆ บางส่วนตามที่ได้ออกแบบไว้โดยนำผลจากการปฏิบัติ ไปปรับปรุงแผนการปฏิบัติงานที่ออกแบบไว้ในครั้งแรกให้เหมาะสมยิ่งขึ้น ขั้นตอนนี้เป็นทางเลือกสำหรับผู้เสนอโครงงานที่ต้องการตรวจสอบความเป็นไปได้ของโครงงานและหลักการ
.        3.4 จัดทำและเสนอข้อเสนอโครงงานคอมพิวเตอร์
.                เมื่อผู้เรียนได้ศึกษาเอกสารอ้างอิงต่างๆ และเลือกเรื่องที่จะทำโครงงานคอมพิวเตอร์ รวมทั้งวางแผนการทำโครงงานทุกขั้นตอน โดยปรึกษากับอาจารย์ที่ปรึกษาหรือผู้ทรงคุณวุฒิแล้ว จึงเขียนเค้าโครงของโครงงานหรือข้อเสนอโครงงาน เพื่อใช้เป็นกรอบแนวคิดและแนวทาง ตลอดจนข้อตกลงต่างๆ ในการทำโครงงานคอมพิวเตอร์ระหว่างผู้เรียน อาจารย์ และผู้เกี่ยวข้อง นอกจากจะต้องใช้หลักการทางวิชาการแล้ว ยังจำเป็นต้องมีข้อตกลงและเงือนไขต่างๆ ด้วย เช่น การขออนุญาตใช้ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ การจัดหาลิขสิทธิ์ของซอฟต์แวร์ เครื่องมือและตัวแปลภาษาโปรแกรม เป็นต้น เพื่อช่วยให้การทำโครงงานดำเนินไปอย่างราบรื่น

.             ตัวอย่างแบบฟอร์มเค้าโครงของโครงงานหรือข้อเสนอโครงงาน

ขั้นตอนการพัฒนาโครงงานคอมพิวเตอร์ให้เกิดประสิทธิภาพมีอะไร

4. การลงมือพัฒนาโครงงาน

.       เมื่อข้อเสนอโครงงานได้รับความเห็นชอบจากอาจารย์ที่ปรึกษาแล้ว ก็เสมือนว่าการจัดทำโครงงานได้ผ่านพ้นไปแล้วมากกว่า 50% ขั้นต่อไปจะเป็นการลงมือพัฒนาตามขั้นตอนที่วางแผนไว้ ดังนี้
.       4.1 การเตรียมการ
.              ต้องเตรียมเครื่องคอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์ และวัสดุอื่นๆ ที่จะใช้ในการทดลอง พร้อมทั้งจัดเตรียมสถานที่สำหรับใช้ในการพัฒนาให้พร้อมด้วย และควรเตรียมสมุดบันทึก หรือบันทึกเป็นแฟ้มข้อความไว้ในระบบคอมพิวเตอร์ สำหรับบันทึกการทำกิจกรรมต่างๆ ระหว่างทำโครงงาน ได้แก่ ได้ปฏิบัติอย่างไร ได้ผลอย่างไร มีปัญหาและแก้ไขได้หรือไม่ อย่างไร รวมทั้งข้อสังเกตต่างๆ ที่พบ
.        4.2 การลงมือพัฒนา
.                4.2.1 ปฏิบัติตามแผนงานที่วางไว้ในเค้าโครง แต่อาจเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติมได้ถ้าพบว่าจะช่วยทำให้ผลงานดีขึ้น
.                4.2.2 จัดระบบการทำงานโดยทำส่วนที่เป็นหลักสำคัญให้แล้วเสร็จก่อน จึงค่อยทำส่วนที่เป็นส่วนประกอบหรือส่วนเสริมเพื่อให้โครงงานมีความสมบูรณ์มากขึ้น และถ้ามีการแบ่งงานกันทำ ให้ทำความตกลงในการต่อเชื่อมชิ้นงานที่ชัดเจนด้วย
.                4.2.3 พัฒนาระบบงานด้วยความละเอียดรอบคอบ และบันทึกข้อมูลไว้อย่างเป็นระบบและครบถ้วน
.                4.2.4 คำนึงถึงความประหยัด ความปลอดภัย และระยะเวลาในการทำงาน
.         4.3 การตรวจสอบผลงานและแก้ไข
.               การตรวจสอบความถูกต้องของผลงานเป็นความจำเป็น เพื่อให้แน่ใจว่าผลงานที่พัฒนาขึ้นทำงานได้ถูกต้องตรงกับความต้องการที่ระบุไว้ในเป้าหมาย และทำด้วยประสิทธิภาพสูงด้วย
.          4.4 การอภิปรายผลและข้อเสนอแนะ
.               เมื่อพัฒนาผลงานเรียบร้อยแล้ว ให้จัดทำสรุปด้วยข้อความที่สั้นกะทัดรัดอย่างครอบคลุม เพื่อช่วยให้ผู้อ่านได้เข้าใจถึงสิ่งที่ค้นพบจากการทำโครงงาน และทำการอภิปรายผลด้วย เพื่อพิจารณาข้อมูลและผลที่ได้พร้อมกับนำไปหาความสัมพันธ์กับหลักการ ทฤษฎี หรือผลงานที่ผู้อื่นได้ศึกษาไว้แล้ว ทั้งนี้ยังรวมถึงการนำหลักการ ทฤษฎี หรือผลงานของผู้อื่นมาใช้ประกอบการอภิปรายผลที่ได้ด้วย
.          4.5 แนวทางการพัฒนาโครงงานในอนาคตและข้อเสนอแนะ
.               เมื่อทำโครงงานเสร็จสิ้นลงแล้ว ผู้เรียนอาจพบข้อสังเกต ประเด็นที่สำคัญหรือปัญหา ซึ่งสามารถเขียนเป็นข้อเสนอแนะและสิ่งที่ควรจะศึกษาหรือใช้ประโยชน์ต่อไปได้

5. การจัดทำรายงาน

.       เมื่อทำโครงงานจนได้ข้อมูลอย่างเพียงพอและทำการวิเคราะห์ผล และสรุปผลแล้ว ขั้นตอนต่อไปที่ต้องทำคือการจัดทำรายงาน ซึ่งจะรวมถึงรายละเอียดต่างๆ ในการพัฒนา และคู่มือการใช้งานรายงานโครงงานคอมพิวเตอร์เป็นวิธีสื่อความหมายที่มีประสิทธิภาพ เพื่อให้ผู้อื่นได้เข้าใจแนวคิด วิธีดำเนินการศึกษาค้นคว้า ข้อมูลที่ได้ ตลอดจนข้อสรุปและข้อเสนอแนะต่างๆ เกี่ยวกับโครงงาน ในการเขียนรายงานนั้น ผู้เรียนควรใช้ภาษาที่อ่านและเข้าใจได้ง่าย ชัดเจน กระชับ และตรงไปตรงมา ให้ครอบคลุมหัวข้อต่างๆ ดังต่อไปนี้
.       1. ส่วนนำ   ประกอบด้วย
.           1.1 ปกนอก
.           1.2 ใบรองปก
.           1.3 ปกใน
.           1.4 บทคัดย่อ
.           1.5 กิตติกรรมประกาศ
.           1.6 สารบัญ
.           1.7 คำอธิบายสัญลักษณ์และคำย่อ (ถ้ามี)
.       2. ส่วนเนื้อเรื่อง   ส่วนนี้กำหนดให้ทำแบบเป็นบท จำนวน 5 บท ประกอบด้วย
.           2.1 บทที่ 1 บทนำ
.           2.2 บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง
.           2.3 บทที่ 3 อุปกรณ์และวิธีดำเนินการ
.           2.4 บทที่ 4 ผลการดำเนินงาน
.           2.5 บทที่ 5 สรุปผลการดำเนินงาน/อภิปรายผลการดำเนินงาน
.        3. ส่วนอ้างอิง   เป็นส่วนท้ายของรายงานโครงงาน ประกอบด้วย รายการอ้างอิงหรือบรรณานุกรม และภาคผนวก
.           3.1 รายการอ้างอิงหรือบรรณานุกรม
.           3.2 ภาคผนวก
.           3.3 คู่มือการใช้งาน (ถ้ามี)
.                  หากโครงงานที่ผู้เรียนจัดทำเป็นการพัฒนาระบบใหม่ขึ้นมา ให้ผู้เรียนจัดทำคู่มืออธิบายวิธีการใช้งานผลงานนั้นโดยละเอียด ซึ่งประกอบด้วย
.                   – ชื่อผลงาน
.                   – ความต้องการของระบบคอมพิวเตอร์ (ถ้ามี) ระบุรายละเอียดของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต้องมีเพื่อจะใช้ผลงานนั้นได้
.                   – ความต้องการของซอฟต์แวร์ (ถ้ามี) ระบุรายชื่อซอฟต์แวร์ที่ต้องมีอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อจะให้ผลงานนั้นทำงานได้อย่างสมบูรณ์
.                   – คุณลักษณะของผลงาน อธิบายว่าผลงานนั้นทำหน้าที่อะไรบ้าง รับอะไรเป็นข้อมูลเข้า และส่งอะไรออกมาเป็นข้อมูลออก
.                   – วิธีการใช้งานของแต่ละฟังก์ชัน อธิบายว่าจะต้องกดคำสั่งใด หรือกดปุ่มใด
.                   – ข้อแนะนำในการใช้งาน เพื่อให้ผลงานนั้นสามารถทำงานได้ดีที่สุด
คู่มือการใช้งาน สามารถแยกออกจากรายงานฉบับสมบูรณ์ หรือใส่ไว้เป็นภาคผนวกของรายงานฉบับสมบูรณ์ก็ได้ แล้วแต่ดุลยพินิจของผู้จัดทำ ที่กล่าวมานี้เป็นรูปแบบหนึ่งของการเขียนรายงานซึ่งเป็นการเขียนรายงานในลักษณะทั่วๆ ไป รูปแบบดังกล่าวนี้อาจไม่เหมาะสมกับโครงงานบางประเภทก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับลักษณะของโครงงาน ซึ่งสิ่งที่สำคัญที่สุดที่
.                  ผู้เขียนรายงานควรตระหนักไว้อยู่เสมอคือควรเขียนรายงานให้ชัดเจน ใช้ศัพท์เทคนิคที่ถูกต้อง ใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย ตรงไปตรงมา และครอบคลุมประเด็นสำคัญๆ ทั้งหมดของโครงงาน

6. การนำเสนอและการแสดงผลงานของโครงงาน

.       การนำเสนอและการแสดงผลงานเป็นขั้นตอนที่สำคัญอีกขั้นตอนหนึ่งของการทำโครงงาน เพื่อแสดงออกถึงผลิตผลของความคิด ความพยายามในการทำงานที่ผู้ทำโครงงานได้ทุ่มเท และเป็นวิธีที่ทำให้ผู้อื่นได้รับรู้และเข้าใจถึงผลงานนั้น การเสนอผลงานอาจทำได้ในหลายรูปแบบต่างๆ กัน เช่น การแสดงผลงานโดยไม่มีการอธิบายประกอบ การรายงานด้วยคำพูดในที่ประชุม การจัดนิทรรศการโดยโปสเตอร์ และอธิบายด้วยคำพูด โดยผลงานที่นำมาเสนอหรือจัดแสดงควรประกอบด้วยสิ่งต่อไปนี้
.          1) ชื่อโครงงาน
.          2) ชื่อผู้จัดทำโครงงาน
.          3) ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษา
.          4) คำอธิบายถึงที่มาและความสำคัญของโครงงาน
.          5) วิธีการดำเนินการที่สำคัญ
.          6) การสาธิตผลงาน
.          7) ผลการสังเกตและข้อสรุปสำคัญที่ได้จากการทำโครงงาน

ถ้าเป็นการรายงานด้วยคำพูดต่อที่ประชุม ควรมีการเตรียมการในประเด็นต่อไปนี้
.         1) จัดลำดับความคิดในการนำเสนออย่างเป็นระบบและนำเสนออย่างตรงไปตรงมาด้วยภาษาที่ชัดเจนและเข้าใจง่าย
.         2) ทำความเข้าใจกับเรื่องที่จะอธิบายให้ดี รวมถึงเตรียมข้อมูลที่อาจต้องใช้ในการตอบคำถาม
.         3) หลีกเลี่ยงการนำเสนอด้วยวิธีอ่านรายงาน
.         4) ควรมองไปยังผู้ฟังขณะรายงาน
.         5) ตอบคำถามอย่างตรงไปตรงมา
.         6) รายงานให้เสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนด
.         7) ควรใช้โปรแกรมนำเสนอประกอบการรายงาน
.         8) ความเหมาะสมของเนื้อหาต่อผู้ฟัง
.         9) ถ้าเป็นโครงงานพัฒนาผลงาน ผลงานนั้นควรจะอยู่ในสภาพที่ทำงานได้เป็นอย่างดี

การแสดงผลงานในรูปแบบของนิทรรศการ

.           การทำโครงงานคอมพิวเตอร์ นอกจากจะเป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้นำความรู้ทางคอมพิวเตอร์มาใช้แก้ปัญหา พัฒนาคิดค้นผลิตภัณฑ์ต่างๆ แล้ว ยังเป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความสนใจที่จะทำงานวิจัยและประกอบอาชีพทางคอมพิวเตอร์มากยิ่งขึ้นด้วย ซึ่งในปัจจุบันนี้หลายประเทศทั่วโลกขาดแคลนบุคลากรทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นอย่างมาก ดังนั้นจึงน่าที่จะจัดให้การทำโครงงานคอมพิวเตอร์เป็นกิจกรรมในทุกระดับชั้น เพื่อนำไปสู่การพัฒนาประเทศต่อไปในอนาคต

**************************************

ระยะพัฒนาโครงงานมีระยะอะไรบ้าง

การพัฒนาโครงงานโดยใช้กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม แบ่งออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่ 1. ระยะเริ่มต้นของโครงงาน 2. ระยะพัฒนาโครงงาน 3. ระยะนำเสนอโครงงาน 1. ระยะเริ่มต้นโครงงาน ประกอบด้วย การสำรวจสถานการณ์ของปัญหา

วิธีการพัฒนาโครงการมีขั้นตอนอย่างไรบ้าง

กระบวนการวางแผนโครงการ 1) การเก็บรวบรวมข้อมูล (Collect fact) 2) การวิเคราะห์สถานการณ์ (Analysis situation) ) 3) การวินิจฉัยปัญหา (Identify Problems) 4) การกําหนดวัตถุประสงค์ (Decide on objectives) กระบวนการวางแผนโครงการ 5) การเขียนแผนปฏิบัติงาน (Develop plan of work)

การจัดทําข้อเสนอโครงงานคอมพิวเตอร์ มีกี่ขั้นตอน อะไรบ้าง

3. การจัดทำข้อเสนอโครงงาน โดยทั่วไป การทำข้อเสนอโครงงานคอมพิวเตอร์มีขั้นตอนที่สำคัญดังนี้.
3.1 กำหนดขอบเขตงาน ... .
3.2 การออกแบบการพัฒนา ... .
3.3 พัฒนาโครงงานขั้นต้น ... .
3.4 จัดทำและเสนอข้อเสนอโครงงานคอมพิวเตอร์.
4. การลงมือพัฒนาโครงงาน.
4.1 การเตรียมการ.
4.2 การลงมือพัฒนา.

ขั้นตอนในการทำโครงงานมีกี่ขั้นตอนอะไรบ้าง

การท าโครงงานวิทยาศาสตร์ เป็นกิจกรรมที่ต่อเนื่องและมีการด าเนินงานหลายขั้นตอนตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงขั้น สุดท้าย ดังนี้ 1. การคิดและเลือกหัวข้อเรื่องที่จะท าโครงงาน 2. การศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง 3. การจัดท าเค้าโครงของโครงงาน 4. การลงมือท าโครงงาน 5. การเขียนรายงาน 6. การแสดงผลงาน การคิดและเลือกหัวข้อเรื่องที่จะทาโครงงาน