ค่าธรรมเนียมกรมที่ดิน โอนได้ไหม

” ค่าธรรมเนียมการโอนบ้านและที่ดิน ใครเป็นคนจ่าย?” เป็นคำถามคลาสสิกที่คนที่คิดจะขายบ้าน ขายที่ดิน อยากรู้ เพราะค่าใช้จ่ายเหล่านี้ถือเป็นต้นทุนในการขายอสังหาริมทรัพย์ โดยส่วนใหญ่มักจะตกลงกันว่า จ่ายค่าโอนกันคนละครึ่ง

แต่พอถึงเวลาจริงๆ ค่าธรรมเนียมการโอนบ้านและที่ดิน มันมีค่าใช้จ่ายหลายอย่างนะคะ ค่าโอน ค่าภาษี ค่าอากร ฯลฯ แล้วสุดท้ายก็ทะเลาะกันหรือเกิดปัญหาโต้เถียง คนซื้อบอกก็ค่าโอนคนละครึ่งไง ภาษีเกี่ยวอะไรกับเค้าล่ะ คนขายก็ว่า ค่าโอนหมายถึงทุกค่ารวมกัน แล้วค่อยหารสองอะไรประมาณนี้

Show

โดยปกติค่าภาษีเงินได้ ผู้ขายควรเป็นผู้ออก ส่วนค่าจดจำนอง ผู้ซื้อควรเป็นผู้ออก ส่วนค่าธรรมเนียมส่วนอื่น แล้วแต่ตกลงกันว่าใครจะออกเท่าใด (จะออกคนละครึ่งหรือฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดออกทั้งหมด) แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นไม่ได้มีกฎตายตัวว่าใครต้องออกส่วนใดบ้าง ขึ้นอยู่กับการตกลงกันระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย เช่น ผู้ขายบางรายอาจให้ผู้ซื้อออกค่าโอนและค่าภาษีทุกอย่าง หรือผู้ขายบางรายอาจเป็นคนออกทั้งหมด (โดยที่ผู้ขายได้บวกค่าโอนต่างๆ เหล่านี้ไปในราคาขายแล้ว)

ดังนั้นผู้ซื้อและผู้ขายจึงควรตกลงเรื่องค่าธรรมเนียมการโอนต่างๆ ก่อนทำการตกลงซื้อขายหรือก่อนทำสัญญาจะซื้อจะขาย เพราะอาจมีปัญหาและโต้เถียงเกิดขึ้นได้ในวันโอน ทางที่ดีควรรวมรายละเอียดค่าธรรมเนียมการโอนไว้ในสัญญาจะซื้อจะขายด้วยเพื่อป้องกันปัญหาที่เกิดขึ้นภายหลัง

ค่าโอนบ้าน-ที่ดิน ปี 2565

ข่าวดี! ล่าสุดปี 2565 กรมที่ดินได้ประกาศลดหย่อนค่าธรรมเนียมการโอนอสังหาริมทรัพย์จาก 2% เหลือ 0.01% และค่าจดจำนองจาก 1% เหลือ 0.01% เพื่อกระตุ้นและฟื้นฟูเศรษฐกิจ มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 18 มกราคม ถึง 31 ธันวาคม 2565 โดยมีเงื่อนไขดังนี้

  • ลดค่าธรรมเนียมการโอนกรรมสิทธิ์ จากอัตราปกติ 2% เหลือ 0.01% สำหรับอสังหาริมทรัพย์ ที่เป็นอาคารที่พักอาศัย อาคารพาณิชย์ หรือที่ดินพร้อมอาคารประเภทดังกล่าว โดยราคาซื้อขายและราคาประเมินต้องไม่เกิน 3 ล้านบาท
  • ลดค่าธรรมเนียมการจำนอง จากอัตราปกติ 1% เหลือ 0.01% ในการจดทะเบียนจำนองพร้อมกับการโอนซื้อขาย โดยวงเงินจำนองต้องไม่เกิน 3 ล้านบาท
  • ผู้ซื้ออสังหาริมทรัพย์ต้องเป็นบุคคลธรรมดาที่มีสัญชาติไทยเท่านั้น

ค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการโอนบ้านและที่ดิน

โดยสรุปแล้ว สำหรับการโอนบ้านและที่ดินภายในช่วงวันที่ 18 มกราคม ถึง 31 ธันวาคม 2565 จะมีค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการโอนบ้านและที่ดิน ดังนี้

1. ค่าธรรมเนียมการโอน สำหรับบ้าน อาคารพาณิชย์ หรือที่ดินพร้อมอาคารประเภทดังกล่าว คิดที่อัตรา 0.01% จากราคาประเมิน หรือราคาขาย แล้วแต่อย่างใดสูงกว่า เช่น ราคาประเมิน 1,000,000 ส่วนราคาขาย 1,500,000 ให้ใช้ราคาที่สูงที่สุด คือ 0.01% ของ 1,500,000 คือ 150 บาท

ส่วนการโอนที่ดิน หรืออาคารประเภทอื่นๆ ที่ไม่เข้าเกณฑ์ คิดที่อัตรา 2% ของราคาประเมินหรือราคาขายที่สูงกว่าตามเดิม

2. ภาษีธุรกิจเฉพาะ คิดอัตราอยู่ที่ 3.3% ของราคาขายจริงหรือราคาประเมิน เเล้วเเต่ว่าราคาไหนสูงกว่ากันก็ใช้ราคานั้นคำนวณ ภาษีประเภทนี้เป็นภาษีที่จะเรียกเก็บจากการขายบ้านที่ไม่ได้อยู่อาศัยเอง ที่ถือครองไม่ถึง 5 ปีเป็นหลัก โดยนับตั้งเเต่วันที่รับโอนบ้านมา มีข้อยกเว้นที่จะไม่ต้องเสียคือ

  • คุณถือครองทรัพย์สินมาเกิน 5 ปี
  • คุณมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านหลังนั้น จะเป็นผู้อาศัย หรือเป็นเจ้าบ้านก็ได้ มานานเกิน 1 ปี นับย้อนหลังไปจากวันขาย

3. ค่าอากรสแตมป์ คิดอัตรา 0.5% ของราคาซื้อขาย แต่ถ้าคุณเสียภาษีธุรกิจเฉพาะแล้ว อันนี้ไม่ต้องเสีย แต่ถ้าคุณไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะคุณต้องเสียค่าอากรค่ะ

4. ภาษีรายได้บุคคลธรรมดา มีการคิดแบบ ขั้นบันไดภาษี หักค่าใช้จ่ายต่าง ๆตามจำนวนปีถือครอง การคำนวนอาจจะสลับซับซ้อนก็ตามระเบียบและหลักเกณฑ์ของกรมสรรพากรค่ะ 

5. ค่าจดจำนอง (กรณีจำนองกับสถาบันการเงิน) สำหรับบ้าน อาคารพาณิชย์ หรือที่ดินพร้อมอาคารประเภทดังกล่าว คิดที่อัตรา 0.01% ของมูลค่าที่จำนอง (วงเงินที่กู้) ส่วนการโอนที่ดิน หรืออาคารประเภทอื่นๆ ที่ไม่เข้าเกณฑ์ คิดที่อัตรา 1% ตามเดิม

6. ค่าอื่นๆ เช่น ค่าคำขอ ค่าอากร ค่าพยาน

เมื่อเอาค่าใช้จ่ายทุกข้อมารวมกันแล้ว ก็จะได้ค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่คุณจะต้องเสียในวันที่จะต้องมีการโอนกันที่กรมที่ดินนั่นเองค่ะ


กฎหมายอาคาร(แบบเข้าใจง่าย) สำหรับคนที่กำลังจะสร้างบ้าน

รู้ข้อกฎหมาย เคลียร์! ปัญหาการ จอดรถขวาง

ติดตามบ้านและสวน www.facebook.com/baanlaesuanmag

ค่าธรรมเนียมกรมที่ดิน โอนได้ไหม
ค่าธรรมเนียมโอนที่ดิน 2565 ต้องเสียเท่าไหร่ มีค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง ? พร้อมวิธีคำนวณแบบละเอียด

หลังจากมีร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2565 เกี่ยวกับการลดค่าธรรมเนียมการโอน และการจำนองอสังหาริมทรัพย์ผ่านธนาคารที่ดิน (บจธ.) สำหรับเกษตรกรและผู้ยากจนให้เหลือ 0.01% หลายคนคงสงสัยว่า ค่าธรรมเนียมโอนที่ดิน 2565 สำหรับผู้ถือครองทั่วไป ยังใช้เกณฑ์เดิมหรือไม่ ? ค่าโอนที่ดิน 1 ไร่ เท่าไร ? แล้วโอนที่ดินใช้เอกสารอะไรบ้าง ? เราลองมาหาคำตอบกัน

1. ค่าธรรมเนียมโอนที่ดิน 2565 มีการเปลี่ยนแปลงหรือไม่ ?

ตามราชกิจจานุเบกษา ที่ประกาศลดค่าจดทะเบียนอสังหาริมทรัพย์ให้เหลือ 0.01% โดยมีผลบังคับใช้จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2565 นั้น จะมีผลกับที่ดินที่มีสิ่งปลูกสร้างเท่านั้น สำหรับที่ดินทั่วไป ยังคงคิดค่าธรรมเนียมโอนที่ดิน กรมที่ดินเหมือนเดิม

2. ค่าธรรมเนียมโอนที่ดิน กรมที่ดิน มีค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง ?

ค่าธรรมเนียมกรมที่ดิน โอนได้ไหม
ค่าธรรมเนียมโอนที่ดิน กรมที่ดิน มีค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง?

ค่าธรรมเนียมการโอนนั้น ประกอบด้วยค่าใช้จ่ายหลายส่วน ซึ่งมีอัตราแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์ของผู้รับโอนเป็นหลัก โดยค่าธรรมธรรมเนียมจดทะเบียนและภาษีเงินได้ จะคิดตามเปอร์เซ็นต์ของราคาประเมินที่ดิน ของกรมธนารักษ์ โดยไม่คำนึงถึงราคาซื้อขาย ส่วนค่าอากรแสตมป์ จะคิดจากเปอร์เซ็นต์ของราคาประเมินหรือราคาซื้อขาย ขึ้นอยู่กับว่าราคาใดสูงกว่าจะยึดตามราคานั้น ซึ่งหากเจ้าของถือครองที่ดินนานเกิน 5 ปี จะเสียค่าธรรมเนียมถูกกว่า เพราะจะได้ชำระเป็นค่าอากรแสตมป์ แทนค่าภาษีธุรกิจเฉพาะที่มีอัตราสูงกว่า

2.1 การโอนที่ดินให้บุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย

  1. ค่าธรรมเนียมจดทะเบียน : 0.5% 
  2. ค่าอากรแสตมป์ : 0.5% 
  3. ค่าภาษีเงินได้

  • ราคาไม่เกิน 20 ล้านบาท : ยกเว้น
  • ราคาเกิน 20 ล้านบาท : เฉพาะส่วนที่เกิน 20 ล้านบาท เสียภาษี 5% 

  1. ค่าภาษีธุรกิจเฉพาะ : ยกเว้น

2.2 การโอนที่ดินให้บุตรที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย

ค่าธรรมเนียมกรมที่ดิน โอนได้ไหม
การโอนที่ดินให้บุตรที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ต้องทำอย่างไร?

หากบิดามารดาไม่ได้จดทะเบียนสมรส หรือบิดาไม่ได้จดทะเบียนรับรองบุตร จะต้องเสียภาษีเงินได้เพิ่มเติม ตามกำหนดค่าธรรมเนียมโอนที่ดิน 2565 ด้วย

  1. ค่าธรรมเนียมจดทะเบียน : 0.5% 
  2. ค่าอากรแสตมป์ : 0.5% 

  • หรือ ค่าภาษีธุรกิจเฉพาะ : 3.3% 

  1. ค่าภาษีเงินได้ : เสียภาษีตามขั้นบันได ลดหย่อนได้ 50%

2.3 การโอนที่ดินให้คู่สมรส

  1. ค่าธรรมเนียมจดทะเบียน : 0.5% 
  2. ค่าอากรแสตมป์ : 0.5% 

  • หรือ ค่าภาษีธุรกิจเฉพาะ : 3.3% 

  1. ค่าภาษีเงินได้ : เสียภาษีตามขั้นบันได ลดหย่อนได้ 50%

2.4 การโอนที่ดินให้ญาติตามสายเลือด

อัตราค่าธรรมเนียมโอนที่ดิน กรมที่ดิน สำหรับญาติตามสายเลือดและบุตรบุญธรรมนั้น จะสูงกว่าการโอนให้บุตรตามสายเลือด

  1. ค่าธรรมเนียมจดทะเบียน : 2% 

กรณีโอนให้ผู้สืบสันดาน : 0.5%

  1. ค่าอากรแสตมป์ : 0.5% 

  • หรือ ค่าภาษีธุรกิจเฉพาะ : 3.3% 

  1. ค่าภาษีเงินได้ : เสียภาษีตามขั้นบันได ลดหย่อนได้ 50%

2.5 การโอนที่ดินมรดก กรณีเสียชีวิต

การโอนที่ดินมรดก จะต้องคำนวณค่าธรรมเนียมโอนที่ดิน 2565 ตาม พ.ร.บ.ภาษีการรับมรดก พ.ศ.2558 ด้วย

  1. ค่าธรรมเนียมจดทะเบียน

  • บุพการี, ผู้สืบสันดาน, คู่สมรส : 0.5%
  • ญาติตามสายเลือด, บุตรบุญธรรม : 2%
  • บุคคลอื่น : 2%

  1. ค่าอากรแสตมป์ : ยกเว้น
    และ ค่าภาษีธุรกิจเฉพาะ : ยกเว้น
  2. ค่าภาษีเงินได้ : ยกเว้น
  3. ค่าภาษีมรดก

  • ราคาไม่เกิน 100 ล้านบาท : ยกเว้น
  • ราคาเกิน 100 ล้านบาท : เฉพาะส่วนที่เกิน 100 ล้านบาท จะต้องเสียภาษี

  1. คู่สมรสตามกฎหมาย : ยกเว้น
  2. บุพการีและผู้สืบสันดาน : 5%
  3. ญาติตามสายเลือด : 10%
  4. บุคคลอื่น : 10%

2.6 การโอนที่ดินแบบซื้อขาย

  1. ค่าธรรมเนียมจดทะเบียน : 2% 
  2. ค่าอากรแสตมป์ : 0.5% 

  • หรือ ค่าภาษีธุรกิจเฉพาะ : 3.3% 

  1. ค่าภาษีเงินได้ : เสียภาษีตามขั้นบันได ลดหย่อนตามปีที่ถือครอง

3. ตัวอย่างการคำนวณภาษีที่ดิน

ค่าโอนที่ดิน 1 ไร่ เท่าไร ? สมมติ ผู้ขายต้องการขายที่ดิน 1 ไร่ ซึ่งถือครองมา 6 ปีให้กับบุคคลอื่น ในราคาซื้อขาย 10,000,000 บาท (ราคาประเมินที่ดิน 8,000,000 บาท)

  1. ค่าธรรมเนียมจดทะเบียน = 8,000,000 x 2% =  160,000 บาท
  2. ค่าอากรแสตมป์ = 10,000,000 x 0.5% = 50,000 บาท
  3. ค่าภาษีธุรกิจเฉพาะ ยกเว้น เพราะถือครองนานเกิน 5 ปี
  4. ค่าภาษีเงินได้*

ค่าธรรมเนียมกรมที่ดิน โอนได้ไหม
ตัวอย่างการคำนวณภาษีที่ดิน

ข้อมูลจากตาราง ถือครอง 6 ปี หักค่าใช้จ่ายได้ 60% ของราคาประเมิน

  1. ค่าใช้จ่ายตามจำนวนปีที่ถือครอง =  8,000,000 x 60% = 4,800,000 บาท
  2. เงินได้หลังหักค่าใช้จ่าย = 8,000,000 – 4,800,000 = 3,200,000 บาท
  3. เงินได้เฉลี่ยต่อปี = 3,200,000 / 6 = 533,333.33 บาท

ค่าธรรมเนียมกรมที่ดิน โอนได้ไหม
การคำนวณภาษีที่ดินมีการคำนวนอย่างไรบ้าง?

  1. ภาษีเงินได้แบบขั้นบันได (ตามตาราง)

  • 300,000 บาท แรก = 300,000 x 5% = 15,000 บาท
  • 200,000 บาท ต่อมา = 200,000 x 10% = 20,000 บาท
  • 33,333.33 บาทสุดท้าย = 33,333.33 x 15 = 5,000 บาทยอดรวมทั้งหมด = 40,000 บาท

  1. คูณจำนวนปีที่ถือครอง = 40,000 x 6

  • ภาษีหัก ณ ที่จ่าย = 240,000 บาท

หมายเหตุ *สามารถคำนวณได้จากโปรแกรมอัตโนมัติ ทางเว็บไซต์กรมสรรพากร

4. การชำระค่าโอนที่ดินใช้เอกสารอะไรบ้าง ?

4.1 กรณีดำเนินการเอง

  • โฉนดที่ดิน
  • บัตรประชาชน พร้อมสำเนา
  • ทะเบียนบ้าน พร้อมสำเนา
  • หนังสือแสดงการเปลี่ยนชื่อสกุล (ถ้ามี)

4.2 กรณีมอบอำนาจ

  • เพิ่ม หนังสือมอบอำนาจ ทด.21 (ถ้ามี)
  • เพิ่ม เอกสารของผู้รับมอบอำนาจ : บัตรประชาชน, สำเนาทะเบียนบ้าน

4.3 กรณีสมรส

  • เพิ่ม หนังสือแสดงความยอมขายที่ดิน
  • เพิ่ม สำเนาเอกสารของคู่สมรส : บัตรประชาชน, สำเนาทะเบียนบ้าน, ทะเบียนสมรส

5. สรุป

สำหรับค่าธรรมเนียมโอนที่ดิน 2565 นั้นยังคงไม่เปลี่ยนแปลงจากเดิมมากนัก โดยคงค่าจดทะเบียนที่ 0.5 – 2%, ค่าอากรแสตมป์ 0.5%, ค่าภาษีธุรกิจเฉพาะ 3.3% และคำนวณภาษีเงินได้แบบขั้นบันได แต่สำหรับภาษีมรดกจะมีรายละเอียดที่แตกต่างออกไปบ้างบางประการ

บทความแนะนำ

เช็คด่วน ค่าโอนบ้าน มือ 2 ปี 2565 ต้องเสียค่าโอนเท่าไหร่? พร้อมวิธีคํานวณค่าโอนบ้าน มือสอง แบบละเอียด บทความนี้มีคำตอบ