ร้านค้าเเผงลอยจดทะเบียนพาณิชย์ได้ไหม

การจดทะเบียนพาณิชย์ หรือ เรียกง่ายๆ ว่า ‘การจดทะเบียนการค้า’ นั้นสำคัญอย่างไร การจดทะเบียนการค้านั้นถือเป็นเรื่องสำคัญมากสำหรับคนที่จะประกอบธุรกิจไม่ว่าจะเล็กหรือใหญ่ เนื่องจากว่าเป็นเครื่องมือยืนยันตัวตนว่าเราเป็นใคร ทำธุรกิจประเภทใด มีสถานที่ประกอบกิจการเป็นหลักแหล่ง แต่ก็มีบางธุรกิจที่ไม่จำเป็นต้องจดทะเบียนการค้าก็ได้ คือ พ่อค้า แม่ค้าแผงลอย ธุรกิจเพื่อการกุศลและศาสนารวมถึง กระทรวง ทบวง กรม มูลนิธิ สมาคม และสหกรณ์

Show

การจดทะเบียนการค้าสำหรับบุคคลธรมมดา

  • กิจการขายสินค้า ซึ่งคิดรวมทั้งสิ้นในวันหนึ่งขายได้เป็นเงินตั้งแต่ 20 บาทขึ้น ไป หรือมีสินค้าไว้เพื่อขายมีมูลค่ารวมทั้งสิ้นเป็นเงินตั้งแต่ 500 บาทขึ้นไป
  • กิจการหัตถกรรมหรืออุตสาหกรรม  และขายสินค้าที่ผลิตได้ คิดราคารวมทั้ง สิ้นในวันหนึ่งวันใดเป็นเงินตั้งแต่ 20 บาทขึ้นไป หรือในวันหนึ่งวันใดมีสินค้าที่ ผลิตได้มีราคารวมทั้งสิ้นตั้งแต่ 500 บาทขึ้นไป
  • กิจการที่ซื้อขายสินค้าหรือบริการโดยวิธีการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบ เครือข่ายอินเตอร์เน็ต หรือ อีคอมเมิร์ซ

การจดทะเบียนการค้าสำหรับนิติบุคคล

  • กิจการที่ขาย ให้เช่า ผลิต หรือรับจ้างผลิต แผ่นซีดี แถบบันทึก วีดีทัศน์ แผ่น วีดีทัศน์ ดีวีดี หรือแผ่นวีดีทัศน์ระบบดิจิทัล เฉพาะที่เกี่ยวกับการบันเทิง
  • กิจการที่ขายอัญมณี หรือเครื่องประดับซึ่งประดับด้วยอัญมณี
  • กิจการที่ซื้อขายสินค้าหรือบริการโดยวิธีการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบ เครื่องข่ายอินเตอร์เน็ต
  • การให้บริการฟังเพลงและร้องเพลงโดยคาราโอเกะ
  • การให้บริการเครื่องเล่นเกมส์

ทั้งนี้ ประเภทกิจการใดที่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์สามารถตรวจสอบได้ที่เว็บไซต์กรม พัฒนาธุรกิจการค้า ที่หมวดคู่มือการจดทะเบียนพาณิชย์ โดยกำหนดเวลากิจการต้องจดทะเบียนพาณิชย์ภายใน 30 วัน นับตั้งแต่เริ่มประกอบกิจการ ซึ่งหน่วยงานที่รับผิดชอบ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์

สำหรับพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ ต้องจดทะเบียนการค้าหรือไม่

ปฏิเสธไม่ได้ว่าปัจจุบันหลายๆคนมาเริ่มต้นทำธุรกิจออนไลน์ผ่านช่องทางที่มีอยู่มากมายเช่น Facebook Instagram ที่เป็นช่องทางที่มีคนใช้เยอะที่สุดในประเทศไทย เป็นกลุ่มลูกค้าวงกว้าง ดังนั้น ผู้ประกอบการค้าขายออนไลน์ก็ต้องคำนึงก่อนว่าตนเองนั้นจะจดเป็นิติบุคคลหรือไม่ หรือจะขายเป็นลักษณะบุคคลธรรมดาก็ต้องคำนึงตอนคำนวณภาษีสิ้นปีด้วย

ซึ่งการจดทะเบียนการค้าหากเราค้าขายผ่านช่องทางออนไลน์ สิ่งทีเราต้องคำนึงถึงก็คือ ทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เมื่อจดทะเบียนเรียบร้อยแล้ว พ่อค้าแม่ก็จะได้รับเลขทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ และสามารถนำเครื่องหมาย Registered นำไปแสดงไว้ บน Web Site หรือ Home Page เพื่อแสดงว่าได้จดทะเบียนกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้าแล้วข้อดี ของการจดทะเบียนการค้า จะช่วยให้เรามีความน่าเชื่อถือ เมื่อใครเห็นเว็บไซต์ของเราก็จะมั่นได้ว่าเราเชื่อถือได้ มีความปลอดภัยไม่ได้หลอกลวง

แต่หลายๆคนอาจจะไม่มั่นใจว่าเว็บไซต์ที่ตัวเองทำนั้นจำเป็นต้องจดทะเบียนหรือไม่ ดังนั้นเราจะมาสรุปเงื่อนไข ของเว็บไซต์ที่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ กับ ที่ไม่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์อิเลกทรอนิกส์

เว็บไซต์ที่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

  1. มีระบบสั่งซื้อ เช่น ระบบแบบฟอร์ม ระบบตะกร้า E-mail หรืออื่นๆ

2. มีระบบการชำระเงิน ออฟไลน์ หรือ ออนไลน์ เช่น การโอนเงินผ่านระบบบัญชี การชำระเงินด้วยบัตรเครดิต

3. มีระบบสมาชิก เพื่อรับบริการข้อมูลหรืออื่นๆโดยมีการคิดค่าใช้จ่าย (ถือเป็นขายบริการ)

4. มีวัตถุประสงค์หลักในการรับจ้างโฆษณาสินค้าหรือบริการอื่นๆ และมีรายได้จากโฆษณานั้นๆ

5. รับจ้างออกแบบเว็บไซต์ หรือเพียงโฆษณาว่าตัวเองเป็นผู้รับจ้างออกแบบเว็บไซต์

6. เว็บไซต์ที่บริการเกมส์ออนไลน์ที่คิดค่าบริการผู้เล่น (เจ้าของเว็บต้องจดทะเบียน)

7. เว็บไซต์ที่มีการส่งมอบสินค้าหรือบริการผ่านทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เช่น การ download เพลงโปรแกรม เกมส์ ringtone screensaver  SMS เป็นต้น

เว็บไซต์ที่ไม่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

  1. มีเฉพาะหน้าร้านโชว์สินค้าของตนเอง แต่ทำการค้าในช่องทางปกติ(ไม่ใช่อินเทอร์เน็ต) แม้จะมีข้อความแจ้งว่าให้ติดต่อได้ เช่น สนใจติดต่อ…. หรือ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่…..

2. การโฆษณาสินค้าของตนเอง โดยลักษณะการโฆษณานั้นไม่ใช่วัตถุประสงค์หลักของกิจการและไม่ใช่ช่องทางการค้าปกติ แม้จะมี banner ของผู้อื่นมาติดและมีรายได้จาก banner ก็ตาม

3. การประชาสัมพันธ์หรือเผยแพร่ข้อมูลแก่สมาชิกหรือบุคคลทั่วไป โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายหรือบริการ เช่น เพื่อการสอน ประกาศรับสมัครงาน

4. การประชาสัมพันธ์ข้อมูลเกี่ยวกับบริษัท หรือ สินค้า

5. เว็บไซต์(ส่วนตัว) ที่สร้างขึ้นเพื่อเผยแพร่ข้อมูลส่วนตัว การงาน การศึกษา หรือความสนใจส่วนตัว

6. เว็บไซต์เป็นสื่อกลางข้อมูล โดยมีจุดประสงค์ในการแลกเปลี่ยนข้อมูล โดยไม่มีการเสียค่าสมาชิกหรือค่าใช้จ่ายใดๆ

จะเห็นได้ว่าการจดทะเบียนการค้า ถือเป็นเรื่องสำคัญ และเป็นประโยชน์มากๆแก่พ่อค้าแม่ค้าทุกท่าน ซึ่งจะทำให้ธุรกิจของท่านมีความน่าเชื่อถือมากขึ้น

รู้จักฟีเจอร์ของเรา
สมัครสมาชิก

ทะเบียนพาณิชย์ คือ ทะเบียนที่คนที่ค้าขายที่มีหน้าร้านต้องจดตามที่พระราชบัญญัติทะเบียนพาณิชย์ พ.ศ. 2499 กำหนด แต่ปัจจุบันมีร้านค้าออนไลน์เกิดขึ้นมากมาย ต่อมาจึงได้มีการจดทะเบียนธุรกิจอีกรูปแบบหนึ่งเกิดขึ้น นั่นคือ ทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

ทะเบียนพาณิชย์ กับ ทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

  • ทะเบียนพาณิชย์ เป็นการจดทะเบียนร้านค้าสำหรับบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล ที่ทำธุรกิจค้าขายทุกประเภทและมีหน้าร้าน
  • ทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นการจดทะเบียนพาณิชย์สำหรับบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล ที่ทำธุรกิจออนไลน์มีร้านเป็นของตัวเอง

ทะเบียนพาณิชย์

การจดทะเบียนพาณิชย์ จะเป็นเครื่องการันตรีความน่าเชื่อถือให้กับผู้ประกอบการค้าขาย ซึ่งใช้กับธุรกิจค้าขายขนาดเล็ก ทำกิจการที่มีเจ้าของเพียงคนเดียว ทำการค้าขายแบบง่ายไม่ซับซ้อน หรือนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศมาตั้งสำนักงานสาขาในประเทศไทย โดยมีทั้งธุรกิจที่บังคับต้องจดทะเบียนพาณิชย์ และที่ได้รับการยกเว้นดังนี้      

ธุรกิจที่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์

สำหรับบุคคลธรรมดาที่เป็นเจ้าของคนเดียว ห้างหุ้นส่วนสามัญ และนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศมาตั้งสำนักงานสาขาในประเทศไทย ที่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์ ได้แก่

  1. ธุรกิจเกี่ยวกับโรงสีข้าวและโรงเลื่อยที่ใช้เครื่องจักร
  2. ธุรกิจขายสินค้าอย่างเดียวหรือหลายอย่างที่ขายได้ 20 บาทขึ้นไปต่อวัน หรือมีสต็อกสินค้าไว้ขายรวมมูลค่าทั้งหมดเป็นเงิน 500 บาทขึ้นไป
  3. นายหน้าหรือตัวแทนขายที่ทำการเกี่ยวกับสินค้าอย่างเดียวหรือหลายอย่าง และสินค้านั้นมีมูลค่ารวมทั้งหมดเป็นเงิน 20 บาทขึ้นไปต่อวัน
  4. ธุรกิจหัตถกรรมหรืออุตสาหกรรมอย่างเดียวหรือหลายอย่าง ที่ขายสินค้าที่ผลิตได้ 20 บาทขึ้นไปต่อวัน หรือวันหนึ่งวันใดมีสินค้าที่ผลิตรวมมูลค่าทั้งหมด 500 บาทขึ้นไป 
  5. ธุรกิจขนส่งทางทะเล ขนส่งโดยเรือกลไฟหรือเรือยนต์ประจำทาง รถไฟ รถราง รถยนต์ประจำทาง การขายทอดตลาด การรับแลกเปลี่ยน หรือซื้อขายเงินตราต่างประเทศ การซื้อหรือขายตั๋วเงิน การธนาคาร การโพยก๊วน การทำโรงรับจำนำและการทำโรงแรม การรับซื้อขายที่ดิน การให้กู้ยืมเงิน
  6. ธุรกิจขาย ให้เช่า ผลิต หรือรับจ้างผลิต แผ่นซีดี แถบบันทึก วีดิทัศน์ แผ่นวีดิทัศน์ ดีวีดี หรือแผ่นวีดิทัศน์ระบบดิจิตอลเฉพาะที่เกี่ยวกับบันเทิง
  7. ธุรกิจให้บริการเครื่องคอมพิวเตอร์ใช้อินเตอร์เน็ต
  8. ธุรกิจขายอัญมณี หรือเครื่องประดับที่ประดับด้วยอัญมณี
  9. ธุรกิจให้บริการฟังเพลงและร้องเพลงคาราโอเกะ
  10. ธุรกิจให้บริการเครื่องเล่มเกม
  11. ธุรกิจให้บริการตู้เพลง
  12. ธุรกิจโรงงานแปรสภาพ แกะสลักและงานหัตถกรรมจากงาช้าง การค้าปลีกและค้าส่งงาช้างและผลิตภัณฑ์จากงาช้าง

ธุรกิจที่ได้รับ “ยกเว้น” จดทะเบียนพาณิชย์  

ทั้งนี้ บุคคลธรรมดา ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด และบริษัทมหาชนจำกัด ที่ได้รับการยกเว้นจดทะเบียนพาณิชย์ ได้แก่

  1. ธุรกิจค้าเร่ แผงลอย
  2. ธุรกิจเพื่อการบำรุงศาสนาหรือเพื่อการกุศล
  3. ธุรกิจของนิติบุคคลที่มีพระราชบัญญัติ หรือพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งขึ้น
  4. ธุรกิจของกระทรวง ทบวง กรม
  5. ธุรกิจของมูลนิธิ สมาคม สหกรณ์
  6. ธุรกิจที่กลุ่มเกษตรกร
  7. ธุรกิจที่ได้รับการยกเว้นตามที่รัฐมนตรีได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ได้แก่ บริษัทจำกัด ห้างหุ้นส่วนจำกัด ห้างหุ้นส่วนสามัญ ที่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่ยกเว้นนิติบุคคลในข้อ 6-12 ของธุรกิจที่บังคับให้จดทะเบียนพาณิชย์ และข้อ 1-4 ของธุรกิจที่บังคับให้จดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ยังคงต้องจดทะเบียนพาณิชย์ และทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์อยู่

ทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

ทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นการจดทะเบียนธุรกิจสำหรับบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล ที่ทำธุรกิจออนไลน์ มีการชำระเงินในรูปแบบออนไลน์ตามแพลตฟอร์มนั้นๆ  และมีร้าน เพจ เว็บไซต์เป็นของตัวเอง จะต้องจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งธุรกิจที่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ และที่ได้รับการยกเว้นได้แก่

ธุรกิจที่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

  1. ธุรกิจซื้อขายสินค้าหรือบริการโดยใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต หรือขายของ-ออนไลน์ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ ทั้งทางเว็บไซต์ เฟชบุ๊ก เพจ ฯลฯ
  2. บริการอินเตอร์เน็ต
  3. ให้เช่าพื้นที่ของเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย
  4. เป็นตลาดกลางในการซื้อขายหรือบริการสินค้าออนไลน์

ธุรกิจที่ได้รับ “ยกเว้น” จดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

ในกรณีที่ธุรกิจซื้อขายผ่านระบบออนไลน์ แต่ถ้าไม่สามารถชำระเงินในรูปแบบออนไลน์ตามแพลตฟอร์มนั้นๆ ได้ ธุรกิจออนไลน์เหล่านี้สามารถจดทะเบียนพาณิชย์ธรรมดาได้ หรือถ้าหากเป็นการขายสินค้าผ่าน Shopee LAZADA ฯลฯ ก็ได้รับการยกเว้นไม่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์   

วิธีการจดทะเบียนพาณิชย์ และทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ 

วิธีการจดทะเบียนพาณิชย์มีดังนี้

  1. เตรียมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้านของเจ้าของธุรกิจ
  2. เตรียมแบบคำขอจะทะเบียนพาณิชย์ แบบ ทพ.
  3. แผนที่แสดงสถานที่ตั้งร้าน
  4. หากเป็นนิติบุคคลให้เตรียมหนังสือรับรองบริษัท
  5. เตรียมเงินจำนวน 50 บาท
  6. หนังสือยินยอมให้ใช้สถานที่ หรือสัญญาเช่า (กรณีเจ้าของธุรกิจไม่ใช่เจ้าของสถานที่)
  7. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้านของเจ้าของกรรมสิทธิ์ (กรณีเจ้าของธุรกิจไม่ใช่เจ้าของสถานที่)
  8. สำเนาหนังสืออนุญาต หรือหนังสือรับรองให้เป็นผู้จำหน่ายจากเจ้าของลิขสิทธิ์ (สำหรับธุรกิจข้อ 6 ทะเบียนพาณิชย์)
  9. หลักฐานแสดงจำนวนเงินทุน ยกเว้นนิติบุคคล (สำหรับธุรกิจข้อ 8 ทะเบียนพาณิชย์)

ส่วนวิธีการจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์นั้น ทำเหมือนการจดทะเบียนพาณิชย์ แต่เพิ่มเอกสารดังนี้

  1. เอกสารประกอบการจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (เอกสารแนบแบบ ทพ.)
  2. ปริ๊นต์หน้าแรกของร้านค้าออนไลน์ เอกสารเกี่ยวกับเว็บไซต์ เช่น วิธีการสั่งซื้อ วิธีการชำระเงิน วิธีการส่งสินค้า

โดยสามารถยื่นจดทะเบียนได้ที่สำนักงานเขต สำนักงานเศรษฐกิจการคลังสำนักการคลัง เทศบาล อบต. ที่ธุรกิจของเจ้าของธุรกิจตั้งอยู่เท่านั้น หรือใช้บริการสำนักงานบัญชีให้ดำเนินการขอจดทะเบียนให้ได้เช่นกัน 

จดบริษัทแล้ว ยังต้องจดทะเบียนพาณิชย์ ทะเบียนการค้าอีกหรือไม่

หากจดทะเบียนบริษัทเป็นนิติบุคคล ไม่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์ แต่ถ้าจดบริษัททำการค้าขายผ่านออนไลน์ มีร้านของตนเอง ต้องจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ด้วย”

ดังนั้น เราแนะนำว่าหากใครที่เริ่มมีธุรกิจเป็นของตนเอง ก่อนขอจดทะเบียนธุรกิจ ต้องเลือกประเภทธุรกิจของตนเองก่อนว่าอยู่ในประเภทไหน อยู่ในประเภทธุรกิจค้าขายทั่วไป (ทะเบียนพาณิชย์) หรือค้าขายออนไลน์ (ทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์) จากนั้นเตรียมเอกสารให้พร้อม ครบถ้วนตามหลักเกณฑ์ของประเภทนั้นๆ แล้วยื่นขอจดทะเบียนได้เลย

นอกจากเป็นการยืนยันว่าธุรกิจนั้นถูกต้องตามกฎหมาย หมดกังวลหากเกิดการตรวจสอบในภายหลังแล้ว ยังสร้างความน่าเชื่อถือให้กับลูกค้า และไม่มีภาระในการทำบัญชีหรือยื่นส่งงบการเงินแก่สรรพากร มีความเป็นอิสระในการประกอบธุรกิจได้อย่างเต็มที่