กิจการที่มีผล ประโยชน์ เกี่ยวข้องกับ ธนาคาร คือ

มายถึง บริษัทมหาชนจำกัดที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจการรับฝากเงินที่ต้องจ่ายคืนเมื่อทวงถามหรือเมื่อครบกำหนดระยะเวลา ให้สินเชื่อ ซื้อขายตั๋วแลกเงิน ซื้อขายเงินตราต่างประเทศ รวมถึงธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการประกันภัยและหลักทรัพย์ ธุรกิจอนุพันธ์ทางการเงิน ธุรกิจธนาคารอิเล็กทรอนิกส์ (e-banking)  ธุรกิจการเงินและธุรกิจการให้บริการอื่น ธนาคารพาณิชย์แบ่งออกได้อีก 4 ประเภท ดังนี้​

1.1.1  ธนาคารพาณิชย์ไทย (ดูราย​ชื่อธนาคาร)​

1.1.2  ธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อย (Retail Bank) มายถึง บริษัทมหาชนจำกัดที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์ โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อให้บริการทางการเงินพื้นฐาน เช่น การรับฝากเงิน การโอนและรับชำระเงินแก่ประชาชนรายย่อย  และวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม แต่ไม่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจที่มีความซับซ้อนและมีความเสี่ยงสูง เช่น ธุรกิจเกี่ยวกับ เงินตราต่างประเทศ และตราสารอนุพันธ์ (ดูรายชื่อธนาคาร)​​​​

1.1.3  ธนาคารพาณิชย์ที่เป็นบริษัทลูกของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ (Subsidiary) หมายถึง บริษัทมหาชนจำกัดที่จดทะเบียนในประเทศไทยและได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์ โดยมีธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศถือหุ้นไม่ต่ำกว่าร้อยละ 95 ของหุ้นที่จำหน่ายแล้วทั้งหมด (ดูรายชื่อธนาคาร)​

1.1.4  สาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ (Foreign Bank Branch / Full Branch) หมายถึง สาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทย (ดูรายชื่อธนาคาร)​

​1.2  บริษัทเงินทุน (Finance Company)

หมายถึง บริษัทที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ โดยสามารถรับฝากเงินหรือรับเงินจากประชาชนที่จะจ่ายคืนเมื่อสิ้นระยะเวลาที่กำหนดไว้ เช่น ไม่น้อยกว่าหนึ่งปี และต้องฝากเงินไม่น้อยกว่าหนึ่งพันบาท โดยสามารถให้กู้ยืมเงินโดยวิธีรับจำนองอสังหาริมทรัพย์ การรับซื้ออสังหาริมทรัพย์โดยวิธีขายฝาก (ดูรายชื่อบริษัท)​​

                                         8 สิงหาคม 2548
เรียน ผู้จัดการ
ธนาคารพาณิชย์จดทะเบียนในประเทศทุกธนาคาร
สาขาธนาคารต่างประเทศทุกธนาคาร *
ที่ ฝสว. (21) ว. 71 / 2548 เรื่อง การนำส่งประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง การให้สินเชื่อแก่หรือลงทุนในกิจการที่มีผลประโยชน์เกี่ยวข้องและการให้สินเชื่อแก่ผู้ถือหุ้นของธนาคารพาณิชย์
ธนาคารแห่งประเทศไทยขอส่งประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง การให้สินเชื่อแก่หรือลงทุนในกิจการที่มีผลประโยชน์เกี่ยวข้องและการให้สินเชื่อแก่ผู้ถือหุ้นของธนาคารพาณิชย์ ลงวันที่ 25 กรกฎาคม 2548 ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 5 สิงหาคม 2548 และได้ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับประกาศทั่วไป เล่ม 122 ตอนพิเศษ 60 ง ลงวันที่ 4 สิงหาคม 2548 แล้ว
สาระสำคัญของประกาศฉบับนี้ คือ
1. ยกเลิกประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยเรื่อง การให้สินเชื่อแก่หรือลงทุนในกิจการที่มีผลประโยชน์เกี่ยวข้องและการให้สินเชื่อแก่ผู้ถือหุ้นของธนาคารพาณิชย์ ลงวันที่ 28 พฤษภาคม 2547
2. ในประกาศฉบับนี้ ได้ปรับปรุงสาระสำคัญของประกาศฉบับเดิมดังนี้
2.1 ปรับปรุงคำนิยาม "ผู้ที่เกี่ยวข้อง" และ "อำนาจควบคุมกิจการ" โดยเพิ่มเติมข้อความ
"เว้นแต่ บุคคลนั้นจะพิสูจน์ได้ว่ามีบุคคลอื่นถือหุ้นมากกว่าตน"
2.2 กำหนดคำนิยาม "บุคคลอื่น" ในความหมายของคำจำกัดความของคำว่า "ธุรกิจ
สนับสนุนสถาบันการเงินให้ชัดเจน
2.3 เพิ่มข้อยกเว้นในข้อ 4.3 (ข) ให้แก่การให้สินเชื่อ หรือลงทุนในนิติบุคคลที่ ส่วนราชการจัดตั้งขึ้นและมีอำนาจควบคุมกิจการทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยธนาคารพาณิชย์จะต้องได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทยก่อน
2.4 ปรับปรุงถ้อยคำในข้อยกเว้นข้อ 4.3 (ช) เกี่ยวกับการให้สินเชื่อหรือลงทุนในธุรกิจที่ธนาคารพาณิชย์ กรรมการ หรือผู้บริหารระดับสูงของธนาคารพาณิชย์มีผลประโยชน์เกี่ยวข้องให้ชัดเจนขึ้น
จึงเรียนมาเพื่อทราบและถือปฏิบัติ
ขอแสดงความนับถือ
(นายสามารถ บูรณวัฒนาโชค)
ผู้อำนวยการอาวุโส สายนโยบายสถาบันการเงิน
ผู้ว่าการ แทน
สิ่งที่ส่งมาด้วย ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง การให้สินเชื่อแก่หรือลงทุนในกิจการที่มี ผลประโยชน์เกี่ยวข้องและการให้สินเชื่อแก่ผู้ถือหุ้นของธนาคารพาณิชย์ ลงวันที่ 25 กรกฎาคม 2548
ฝ่ายนโยบายความเสี่ยงและวิเคราะห์ สายนโยบายสถาบันการเงิน
โทร. 0-2283-5304, 0-2283-5303
หมายเหตุ [
] ธนาคารแห่งประเทศไทยจะจัดให้มีการประชุมชี้แจงในวันที่...........ณ..........
[X
] ไม่มีการจัดประชุมชี้แจง
ฝสวว10-คส24001-25480808 ด
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
เรื่อง การให้สินเชื่อแก่หรือลงทุนในกิจการที่มีผลประโยชน์เกี่ยวข้องและการให้สินเชื่อ
แก่ผู้ถือหุ้นของธนาคารพาณิชย์
___________________________________________
1. เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกำหนดแนวทางรองรับไม่ให้เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินการของสถาบันการเงินและเพื่อพิทักษ์รักษาผลประโยชน์ของประชาชน ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงได้ปรับปรุงประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
2. อำนาจตามกฎหมาย
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 22(5) และ 22(8) แห่งพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ พ.ศ.2505 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติม พระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ พ.ศ.2505 พ.ศ. 2528 ธนาคารแห่งประเทศไทยออกข้อกำหนดเกี่ยวกับการให้สินเชื่อแก่หรือลงทุนในกิจการที่มีผลประโยชน์เกี่ยวข้องและการให้สินเชื่อแก่ผู้ถือหุ้น ตามที่กำหนดในประกาศฉบับนี้
3. ขอบเขตการบังคับใช้
ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับกับธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ทุกธนาคาร ยกเว้นกิจการวิเทศธนกิจของสาขาธนาคารต่างประเทศ
4. เนื้อหา
4.1 ให้ยกเลิกประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยเรื่อง การให้สินเชื่อแก่หรือลงทุนในกิจการที่มีผลประโยชน์เกี่ยวข้องและการให้สินเชื่อแก่ผู้ถือหุ้นของธนาคารพาณิชย์ ลงวันที่ 28 พฤษภาคม 2547
4.2 ในประกาศฉบับนี้
"บริษัทจำกัด" หมายความว่า บริษัทจำกัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บริษัทมหาชนจำกัดตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทมหาชนจำกัด ห้างหุ้นส่วนจำกัด ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล หรือนิติบุคคลอื่น
"ผู้ที่เกี่ยวข้อง" หมายความว่า บุคคลซึ่งมีความสัมพันธ์กับอีกบุคคลหนึ่งในลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้
(1) เป็นคู่สมรส บิดา มารดา หรือผู้รับบุตรบุญธรรม
(2) เป็นบุตรหรือบุตรบุญธรรม
(3) เป็นบริษัทจำกัดที่บุคคลนั้นหรือบุคคลตาม (1) หรือ (2) มีอำนาจในการจัดการ
(4) เป็นบริษัทจำกัดที่บุคคลนั้นหรือบุคคลตาม (1) หรือ (2) มีอำนาจควบคุม
คะแนนเสียงส่วนใหญ่ในที่ประชุมผู้ถือหุ้น
(5) เป็นบริษัทจำกัดที่บุคคลนั้นหรือบุคคลตาม (1) หรือ (2) มีอำนาจควบคุม
การแต่งตั้งหรือถอดถอนกรรมการ
(6) เป็นบริษัทลูกของบริษัทจำกัดตาม (3) หรือ (4) หรือ (5)
(7) บริษัทร่วมของบริษัทจำกัดตาม (3) หรือ (4) หรือ (5)
(8) เป็นตัวการหรือตัวแทน
ในกรณีที่บุคคลใดถือหุ้นในบริษัทจำกัดใดตั้งแต่ร้อยละ 20 ขึ้นไปของจำนวนหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมดไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าบริษัทจำกัดนั้นเป็นผู้ที่เกี่ยวข้องกับบุคคลดังกล่าว เว้นแต่ บุคคลนั้นจะพิสูจน์ได้ว่ามีบุคคลอื่นถือหุ้นมากกว่าตน
"บริษัทแม่" หมายความว่า บริษัทจำกัดที่มีอำนาจควบคุมกิจการของบริษัทจำกัดอื่น
"บริษัทลูก" หมายความว่า
(1) บริษัทจำกัดที่มีบริษัทจำกัดอื่นมีอำนาจควบคุมกิจการของบริษัทจำกัดนั้น
(2) บริษัทลูกของบริษัทจำกัดตาม (1) ทุกทอด
"บริษัทร่วม" หมายความว่า บริษัทลูกที่มีบริษัทแม่ร่วมกัน
"อำนาจควบคุมกิจการ" หมายความว่า
(1) การที่บุคคลหนึ่งมีหุ้นในบริษัทจำกัดหนึ่งเกินกว่าร้อยละ 50 ของจำนวนหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมดไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม หรือ
(2) การที่บุคคลหนึ่งมีอำนาจควบคุมคะแนนเสียงส่วนใหญ่ในที่ประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทจำกัดหนึ่งไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม หรือไม่ว่าเพราะเหตุอื่นใดหรือ
(3) การที่บุคคลหนึ่งมีอำนาจควบคุมการแต่งตั้งและถอดถอนกรรมการตั้งแต่ กึ่งหนึ่งของกรรมการทั้งหมดในบริษัทจำกัดหนึ่ง
ในกรณีที่บุคคลหนึ่งมีหุ้นในบริษัทจำกัดหนึ่งตั้งแต่ร้อยละ 20 ขึ้นไปของจำนวนหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมดไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า บุคคลที่มีหุ้น ดังกล่าวมีอำนาจควบคุมกิจการในบริษัทจำกัดนั้น เว้นแต่ บุคคลนั้นจะพิสูจน์ได้ว่ามีบุคคลอื่นถือหุ้นมากกว่าตน
"ผู้บริหารระดับสูง" หมายความว่า ผู้บริหารตั้งแต่ระดับผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ขึ้นไป
"กิจการที่ธนาคารพาณิชย์ หรือ กรรมการหรือผู้บริหารระดับสูงของธนาคารพาณิชย์นั้นมีผลประโยชน์เกี่ยวข้อง" หมายความว่า
(1) บริษัทจำกัดที่ธนาคารพาณิชย์ กรรมการหรือผู้บริหารระดับสูงของธนาคาร
พาณิชย์ หรือผู้ที่เกี่ยวข้องของบุคคลเหล่านี้ ถือหุ้นรวมกันเกินร้อยละ10
ของจำนวนหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทจำกัดนั้น หรือมีอำนาจ
ควบคุมกิจการในบริษัทจำกัดนั้น
(2) บริษัทร่วมของธนาคารพาณิชย์
"ผู้ถือหุ้น" หมายความว่า
(1) บุคคลที่ถือหุ้นในธนาคารพาณิชย์ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมเกินร้อยละ 5
ของจำนวนหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมดของธนาคารพาณิชย์ โดยให้
นับรวมถึงหุ้นที่ถือโดยผู้ที่เกี่ยวข้องด้วย
(2) บุคคลที่มีอำนาจควบคุมกิจการของธนาคารพาณิชย์รวมทั้งผู้ที่เกี่ยวข้องด้วย
(3) บริษัทจำกัดที่บุคคลตาม (1) หรือ (2) ถือหุ้นเกินร้อยละ 10 ของจำนวนหุ้นที่
จำหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทจำกัดนั้น หรือมีอำนาจควบคุมกิจการใน
บริษัทจำกัดนั้น
"ธุรกิจทางการเงิน" หมายความว่า ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการเงิน เช่น ธุรกิจ
ธนาคารพาณิชย์ ธุรกิจเงินทุน ธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ ธุรกิจหลักทรัพย์ ธุรกิจเช่าซื้อ ธุรกิจลิสซิ่ง
ธุรกิจประกันชีวิต ธุรกิจบริหารสินทรัพย์ ธุรกิจการรับโอนโดยมีค่าตอบแทนซึ่งสิทธิเรียกร้องที่
เกิดจากการจำหน่ายสินค้า เป็นต้น
"ธุรกิจสนับสนุนสถาบันการเงิน" หมายความว่า บริษัทจำกัดที่
(1) มีสถาบันการเงินใดสถาบันการเงินหนึ่งถือหุ้นเกินกว่าร้อยละ 10 ของ
จำนวนหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทจำกัดนั้น หรือมีสถาบันการเงินหลายแห่งถือหุ้น
รวมกันเกินกว่าร้อยละ 50 ของจำนวนหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทจำกัดนั้น และ
(2) ประกอบกิจการอันเป็นงานด้านปฏิบัติการ (back office) หรืองานด้าน
สนับสนุน (support) ซึ่งให้บริการแก่สถาบันการเงินและบุคคลอื่น เช่น การบัญชีและการเงิน
เทคโนโลยีสารสนเทศ ตรวจสอบภายใน กฎหมาย การกำกับดูแลการปฏิบัติงานของธนาคารพาณิชย์
บัตรเครดิต ข้อมูลเครดิต รับส่งเอกสาร ศูนย์ฝึกอบรม รักษาความปลอดภัย เป็นต้น
"บุคคลอื่น" เฉพาะในความหมายของคำจำกัดความของคำว่า "ธุรกิจสนับสนุน
สถาบันการเงิน" หมายความว่า
(1) สถาบันการเงินอื่น
(3) บริษัทแม่ บริษัทลูก บริษัทร่วมของธนาคารพาณิชย์นั้น หรือของสถาบันการเงิน
อื่นที่ประกอบธุรกิจทางการเงิน หรือประกอบธุรกิจที่เป็นงานสนับสนุน
(3) สถาบันการเงินที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น
(4) ธนาคารแห่งประเทศไทย
4.3 ให้ธนาคารพาณิชย์ระงับการให้สินเชื่อแก่หรือลงทุนในกิจการที่ธนาคารพาณิชย์ หรือกรรมการหรือผู้บริหารระดับสูงของธนาคารพาณิชย์นั้นมีผลประโยชน์เกี่ยวข้อง หรือให้สินเชื่อแก่ผู้ถือหุ้น หรือผู้บริหารระดับสูงของธนาคารพาณิชย์ ในปริมาณเกินสมควร
การให้สินเชื่อแก่หรือลงทุนในปริมาณที่เกินสมควร หมายความว่า การให้สินเชื่อ หรือลงทุนดังต่อไปนี้
(1) การให้สินเชื่อหรือลงทุนอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกันแก่กิจการหรือ
บุคคลตามวรรคหนึ่งเกินร้อยละ 5 ของเงินกองทุนชั้นที่ 1 ของธนาคารพาณิชย์หรือ
(2) การให้สินเชื่อหรือลงทุนอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกันแก่กิจการหรือ
บุคคลตามวรรคหนึ่งเกินร้อยละ 50 ของส่วนของผู้ถือหุ้นของบริษัทจำกัดนั้น หรือ
(3) การให้สินเชื่ออย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกันแก่กิจการหรือบุคคลตาม
วรรคหนึ่งเกินร้อยละ 25 ของยอดหนี้สินรวมของบริษัทจำกัดหรือบุคคลนั้น
การให้สินเชื่อตามวรรคหนึ่ง และวรรคสองโดยการรับซื้อ ซื้อลด หรือรับช่วงซื้อลด
ตั๋วเงินให้ถือเป็นการให้สินเชื่อแก่ทั้งผู้ทรงซึ่งขายตั๋วเงิน และบุคคลซึ่งต้องรับผิดตามกฎหมายตั๋วเงิน
นั้นด้วย
การให้สินเชื่อหรือลงทุนในวรรคหนึ่ง วรรคสอง และวรรคสามไม่ใช้บังคับแก่กรณี
(ก) การให้สินเชื่อแก่หรือลงทุนในส่วนราชการ
(ข) การให้สินเชื่อแก่ หรือลงทุนในนิติบุคคลที่ส่วนราชการจัดตั้งขึ้นและมีอำนาจ
ควบคุมกิจการทั้งทางตรงและทางอ้อม ทั้งนี้ จะต้องได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทยก่อน
(ค) การให้สินเชื่อแก่หรือลงทุนในบริษัทจำกัดที่กระทรวงการคลังมีอำนาจ
ควบคุมกิจการหรือถือหุ้นเกินร้อยละ 10 ของจำนวนหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทจำกัดนั้น
(ง) การให้สินเชื่อแก่หรือลงทุนในกองทุนรวมที่จัดตั้งโดยส่วนราชการ
(จ) การให้สินเชื่อโดยมีหลักประกันเต็มจำนวนเป็นเงินฝากสถาบันการเงิน หรือ
หลักทรัพย์รัฐบาลไทยที่ปราศจากภาระผูกพันและโอนเปลี่ยนมือได้ ทั้งนี้ การตีราคาหลักทรัพย์ให้
ถือเอามูลค่าที่ตราไว้ของหลักทรัพย์หรือตราสารนั้น
(ฉ) การให้สินเชื่อหรือลงทุนในธุรกิจทางการเงิน และธุรกิจสนับสนุนสถาบัน
การเงิน
(ช) การให้สินเชื่อหรือลงทุนในธุรกิจที่มีการปรับโครงสร้างหนี้ซึ่งธนาคาร
พาณิชย์ หรือกรรมการหรือผู้บริหารระดับสูงของธนาคารพาณิชย์ไม่ได้มีผลประโยชน์เกี่ยวข้อง
ในธุรกิจนั้นก่อนการปรับโครงสร้างหนี้ ส่วนการปรับโครงสร้างหนี้ของธุรกิจที่ธนาคารพาณิชย์
หรือกรรมการหรือผู้บริหารระดับสูงของธนาคารพาณิชย์มีผลประโยชน์เกี่ยวข้องก่อนการปรับ โครงสร้างหนี้ หรือเป็นการปรับโครงสร้างหนี้ภายหลังที่ธนาคารพาณิชย์ หรือกรรมการหรือ ผู้บริหารระดับสูงของธนาคารพาณิชย์มีผลประโยชน์เกี่ยวข้องเนื่องจากการปรับโครงสร้างหนี้ ซึ่งการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ดังกล่าวธนาคารพาณิชย์จำเป็นต้องให้สินเชื่อหรือลงทุนเพิ่มจนเกิน อัตราที่กำหนดตามวรรคสอง จะต้องได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทยก่อน
4.4 ให้ธนาคารพาณิชย์ระงับการให้สินเชื่อแก่หรือลงทุนในกิจการที่ธนาคารพาณิชย์ หรือกรรมการหรือผู้บริหารระดับสูงของธนาคารพาณิชย์นั้นมีผลประโยชน์เกี่ยวข้อง หรือให้สินเชื่อแก่ ผู้ถือหุ้นหรือผู้บริหารระดับสูงของธนาคารพาณิชย์โดยมีเงื่อนไขหรือข้อกำหนดพิเศษผิดไปจากปกติ
การให้สินเชื่อหรือลงทุนในกรณีต่อไปนี้ ให้ถือว่ามีเงื่อนไขหรือข้อกำหนดพิเศษ ผิดไปจากปกติ
(1) การให้สินเชื่อหรือลงทุนโดยไม่ได้พิจารณาถึงฐานะและผลการดำเนินงาน
ของธุรกิจ หรือไม่ได้มีการวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของโครงการ
(2) การให้สินเชื่อหรือลงทุนในลักษณะที่เป็นการเอื้อประโยชน์ให้แก่กิจการนั้น
เช่น เรียกเก็บอัตราดอกเบี้ยต่ำกว่าอัตราปกติของลูกค้าที่มีความเสี่ยงระดับ
เดียวกัน ไม่มีการจดจำนองอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นหลักประกัน ไม่ดำเนินการ
ให้หลักประกันมีผลบังคับได้ตามกฎหมาย เป็นต้น
(3) การให้สินเชื่อที่มีเหตุอันควรสงสัยว่าลูกหนี้ไม่ได้ดำเนินธุรกิจจริง
4.5 ให้ธนาคารพาณิชย์จัดทำนโยบายการให้สินเชื่อแก่หรือลงทุนในกิจการที่ธนาคาร
พาณิชย์หรือกรรมการหรือผู้บริหารระดับสูงของธนาคารพาณิชย์นั้นมีผลประโยชน์เกี่ยวข้อง หรือ
ให้สินเชื่อแก่ผู้ถือหุ้นหรือผู้บริหารระดับสูงของธนาคารพาณิชย์ โดยจะต้องมีข้อกำหนดอย่างน้อย
ดังต่อไปนี้
(1) ต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ของธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการ
ปฏิบัติเกี่ยวกับการให้สินเชื่อ การก่อภาระผูกพัน การลงทุนในหลักทรัพย์ และการขายสินทรัพย์ของ
ธนาคารพาณิชย์
(2) การให้สินเชื่อหรือลงทุนดังกล่าวข้างต้น ต้องได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการ
ธนาคารพาณิชย์ด้วยมติเป็นเอกฉันท์
(3) ห้ามกรรมการหรือผู้บริหารระดับสูงที่มีผลประโยชน์เกี่ยวข้องกับการให้
สินเชื่อเข้าร่วมพิจารณาอนุมัติสินเชื่อนั้น
4.6 ในกรณีที่ธนาคารพาณิชย์ใดได้ให้สินเชื่อแก่หรือลงทุนในกิจการที่ธนาคารพาณิชย์ หรือกรรมการหรือผู้บริหารระดับสูงของธนาคารพาณิชย์นั้นมีผลประโยชน์เกี่ยวข้อง หรือให้สินเชื่อ แก่ผู้ถือหุ้นหรือผู้บริหารระดับสูงของธนาคารพาณิชย์นั้นเกินอัตราส่วนที่กล่าวในข้อ 4.3 วรรคสอง ข้างต้น ก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ และไม่ใช่เป็นการให้สินเชื่อที่มีเงื่อนไขหรือข้อกำหนดพิเศษ ผิดไปจากปกติ ดังกล่าวในข้อ 4.4 ให้คงอัตราส่วนนั้นต่อไปได้ แต่จะให้สินเชื่อหรือลงทุนเพิ่มอีกไม่ได้ เว้นแต่
(ก) ในกรณีที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้อนุญาตหรือสั่งการเป็นอย่างอื่นไว้แล้ว
ให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติตามนั้น
(ข) ในกรณีที่ได้ทำสัญญาให้สินเชื่อโดยมีวงเงินเกินอัตราที่กำหนดในข้อ 4.3
วรรคสอง ก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติตามสัญญานั้นได้ แต่จะเพิ่ม วงเงินหรือขยายกำหนดเวลาต่าง ๆ ตามสัญญาไม่ได้
5. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ประกาศนี้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 25 กรกฎาคม 2548
(ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล)
ผู้ว่าการ
ธนาคารแห่งประเทศไทย
ฝสวป10-คส24001-25480725 ด