สภาพภูมิประเทศของสุโขทัยมีลักษณะเด่นตรงตามข้อใด

          ด้วยเหตุนี้จึงปรากฏว่าอย่างน้อยก็เมื่อ พ.ศ. ๑๙๘๑ ที่แคว้นสุโขทัยทั้งหมด ได้กลายเป็นดินแดนส่วนหนึ่งของกรุงศรีอยุธยา ที่ชาวอยุธยาเรียกว่าเมืองเหนือแล้ว เพราะในปีนี้เป็นปีที่ สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๒ (สมเด็จเจ้าสามพระยา) ได้ส่งโอรสที่สมภพจากพระชายาราชวงศ์สุโขทัย มาครองเมืองพิษณุโลก ในตำแหน่งพระราเมศวร อันเป็นตำแหน่งพระมหาอุปราช ปกครองกลุ่มเมืองเหนือทั้งมวล โดยขึ้นต่อกรุงศรีอยุธยาอีกทีหนึ่ง

            จากความงดงามโดดเด่นของเครื่องสังคโลกสุโขทัย ทำให้การผลิตเครื่องสังคโลกขยายสภาพ จากฝีมือภูมิปัญญาเป็นกิจการธุรกิจขนาดย่อม รวมกลุ่มเป็นชุมชนสร้างรายได้ให้กับชาวบ้าน และถือเป็นมรดกทางวัฒนธรรมบ่งบอกถึงวิถีชีวิตไทยวิถีของชาวสุโขทัย สืบทอดต่อกันมาจากบรรพชน เป็นเวลากว่า 700 ปี นับเป็นอีกหนึ่งในความภาคภูมิใจของชาว จังหวัดสุโขทัย 

อาณาจักรสุโขทัย


 

สภาพภูมิประเทศของสุโขทัยมีลักษณะเด่นตรงตามข้อใด


                อาณาจักรสุโขทัย หรือ รัฐสุโขทัย เป็นอาณาจักร หรือรัฐในอดีตรัฐหนึ่ง ตั้งอยู่บนที่ราบลุ่มแม่น้ำยม เป็นชุมชนโบราณมาตั้งแต่ยุคเหล็กตอนปลาย จนกระทั่งสถาปนาขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ 18 ในฐานะสถานีการค้าของรัฐละโว้ หลังจากนั้นราวปี 1800 พ่อขุนบางกลางหาวและพ่อขุนผาเมือง ได้ร่วมกันกระทำการยึดอำนาจจากขอมสบาดโขลญลำพง ซึ่งทำการเป็นผลสำเร็จและได้สถาปนาเอกราชให้สุโขทัยเป็นรัฐอิสระ และมีความเจริญรุ่งเรืองตามลำดับและเพิ่มถึงขีดสุดในสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ก่อนจะค่อยๆตกต่ำ และประสบปัญหาทั้งจากปัญหาภายนอกและภายใน จนต่อมาถูกรวมเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรอยุธยาไปในที่สุด

ปัจจัยที่มีผลต่อการสถาปนาอาณาจักร

ปัจจัยที่มีผลต่อการสถาปนากรุงสุโขทัย  ได้แก่

                    1)  ปัจจัยทางภูมิศาสตร์  การเลือกที่ตั้งเมืองหลวงในอดีตส่วนใหญ่มักใกล้แม่น้ำ  แต่เมืองสุโขทัยไม่ได้ตั้งอยู่ริมน้ำเพราะแม่น้ำยมอยู่ห่างจากตัวเมืองสุโขทัยไปประมาณ 13 กิโลเมตร  การเลือกตั้งเมืองหลวงที่สุโขทัยคงเป็นเพราะสุโขทัยเป็นเมืองสำคัญมาแต่เดิม

                    นอกจากนี้  การที่สุโขทัยยังตั้งอยูท่ามกลางเทือกเขาถนนธงชัย  เทือกเขาตะนาวศรี  และเทือกเขาเพชรบูรณ์  ทำให้อากาศไม่ร้อนมากจนเกินไป  และมีลมมรสุมพัดผ่าน  จึงทำให้มีฝนตกชุก  รวมทั้งมีทรัพยากรธรรมชาติอุดมสมบูรณ์


                   2)  ปัจจัยทางการเมืองและประวัติศาสตร์  ก่อนการสถาปนาอาณาจักรสุโขทัยนั้น  ในเขตสุโขทัยและศรีสัชนาลัยมีชุมชนที่มีผู้นำไทยอยู่ก่อนแล้ว  เช่น  พ่อขุนศรีนาวนำถุม  เจ้าเมืองเชลียง  พ่อขุนผาเมือง  เจ้าเมืองราด  โอรสของพ่อขุนศรีนาวนำถุม  และพ่อขุนบางกลางหาว  เจ้าเมืองบางยาง  (ต่อมาคือพ่อขุนศรีอินทราทิตย์)

                    ต่อมาเมื่อพ่อขุนศรีนาวนำถุมสิ้นพระชนม์ลง  ขอมสบาดโขลญลำพงซึ่งอาจเป็นขุนนางเขมรได้เข้ายึดเมืองศรีสัชนาลัย  สุโขทัย  พ่อขุนผาเมืองและพ่อขุนบางกลางหาวได้ทรงช่วยกันต่อสู้ขับไล่ขอมสบาดโขลญลำพง  และพ่อขุนศรีอินทราทิตย์สถาปนาอาณาจักรสุโขทัยขึ้นมา  กล่าวได้ว่าบริเวณสุโขทัยมีพัฒนาการทางการเมืองมานานแล้วก่อนมีการสถาปนาอาณาจักร  ดังพบโบราณสถานที่มีอิทธิพลเขมร  ซึ่งสร้างก่อนตั้งกรุงสุโขทัย  เช่น  ศาลตาผาแดง  พระปรางค์วัดศรีสวายและวัดพระพายหลวง  เป็นต้น

พัฒนาการด้านเศรษฐกิจ

จากหลักฐานศิลาจารึกหลักที่ 1 ทำให้เราทราบว่า  เศรษฐกิจในสมัยสุโขทัยมีความเจริญรุ่งเรือง  ประชาชนมีความกินดีอยู่ดี  บ้านเมืองมมีความอุดมสมบูรณ์

          ปัจจัยสำคัญที่ช่วยส่งเสริมให้สุโขทัยสามารถพัฒนาเศรษฐกิจให้เจริญก้าวหน้าได้  มีหลายประเภทดังนี้

          1.  ภูมิประเทศ  สุโขทัยตั้งอยู่บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำ  ที่ราบเชิงเขาซึ่งเป็นแหล่งเพาะปลูก  เลี้ยงสัตว์  และจับสัตว์น้ำ

          2.  ทรัพยากรธรรมราช  สุโขทัยมีพืชพรรณธรรมชาติต่าง ๆ อย่างอุดมสมบูรณ์  เช่น  ป่าไม้  สัตว์ป่า  และแร่ธาตุต่าง ๆ

          3.  ความสามารถของผู้นำ  กษัตริย์ซึ่งเป็นผู้ปกครองกรุงสุโขทัยทรงมีพระปรีชาสามารถในการคิดริเริ่ม  และดัดแปลงสิ่งแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการดำรงชีวิตของราษฎร  เช่น  สร้างทำนบกั้นน้ำไว้เพื่อเก็บกักน้ำ  ที่เรียกว่า  ทำนบพระร่วง  ส่งน้ำไปตามคูคลองสู่คูเมือง  เพื่อระยายน้ำสู่พื้นที่เกษตรกรรม  จึงทำให้ประชาชนมีน้ำใช้สอยอย่างเพียงพอ

               พื้นฐานทางด้านเศรษฐกิจของสุโขทัยขึ้นอยู่กับอาชีพหลักของประชาชน 3 อาชีพ  ได้แก่  เกษตรกรรม  หัตถกรรม  และค้าขาย


พัฒนาการสังคม


เมื่อสุโขทัยเป็นศูนย์กลางแห่งอำนาจโดยสมบูรณ์แล้วนั้น มีการสร้างเมืองเป็นผังรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีการระบุไว้ในศิลาจารึกหลักที่ 1 ว่า รอบเมืองสุโขทัยนี้ ตรีบูรได้สามพันสี่ร้อยวาตรีบูรหมายถึง กำแพงเมือง 3 ชั้น และยังอาจมีความหมายเชิงสัญลักษณ์อันศักดิ์สิทธิ์ คือเป็นเมืองสวรรค์ในชั้นดาวดึงส์ซึ่งอยู่บนยอดเขาพระสุเมรุ โดยมีวัดพระศรีมหาธาตุ สุโขทัย ที่มีเจดีย์ทรงยอดดอกบัวตูมเป็นประธานของวัด เป็นศูนย์กลางความศักดิ์สิทธิ์ของราชอาณาจักรนี้ กำแพงเมืองสามชั้นนี้นอกจากจะมีไว้เพื่อเป็นแนวป้องกันข้าศึก ยังใช้ประโยชน์ในการกักเก็บและระบายน้ำ ทั้งนี้ด้วยสภาพภูมิประเทศไม่ค่อยอำนวยต่อการเพาะปลูกจึงเป็นเหตุให้เกิดรูปแบบงานชลประทานของชาวสุโขทัย บางส่วนได้รับอิทธิพลมาจากเขมร เช่น การขุดตระพังหรือการฝังท่อระบายน้ำดินเผา การสร้างเขื่อน สรีดภงส์คือสร้างถนนพระร่วง เป็นเขื่อนทำนบบังคับน้ำจากที่สูงให้กระจายไปสู่ที่ลุ่มบริเวณเพาะปลูกตอนล่าง ตลอดจนขุดคูน้ำเข้าสู่ตัวเมืองและขุดเหมืองฝายขนาดเล็กซึ่งชาวบ้านอาจขุดขึ้นเองในบริเวณที่ลุ่มนอกตัวเมือง การชลประทานของสุโขทัยเป็นความร่วมมือระหว่างรัฐกับราษฎรไม่ได้เป็นการเกณฑ์แรงงานโดยตรง ดังนั้นการควบคุมคนจึงไม่เข้มงวดมากนัก 

อาณาจักรสุโขทัยมีลักษณะภูมิประเทศแบบไหน

สภาพโดยทั่วไปของจังหวัดสุโขทัยเป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำ มีเทือกเขาสูงและที่ราบสูงทางตอนเหนือ และทางตะวันตกของจังหวัด สามารถแบ่งลักษณะภูมิประเทศได้ 2 เขต ดังนี้ 1) เขตภูเขาและที่ราบสูง มีพื้นที่ประมาณ 1 ใน 3 ของพื้นที่ทั้งหมด จะอยู่ในบริเวณตอนเหนือ และบางส่วนทางตอนใต้ของจังหวัด

ลักษณะเด่นของทําเลที่ตั้งของสุโขทัยคืออะไร

ลักษณะภูมิประเทศของสุโขทัยประกอบด้วยที่ราบลุ่มแม่น้ำและที่ราบเชิงเขา บริเวณลุ่มแม่น้ำ ได้แก่ ที่ราบลุ่มแม่น้ำใหญ่ 3 สาย คือ แม่น้ำปิง ผ่านตาก และกำแพงเพชร แม่น้ำยม ผ่านศรีสัชนาลัย และสุโขทัย แม่น้ำน่าน ผ่านอุตรดิตถ์ พิษณุโลก และพิจิตร บริเวณพื้นที่ทั้งสองฝั่งของแม่น้ำแต่ละสายจึงเป็นแหล่งสำคัญที่ส่งเสริมการประกอบอาชีพ ...

ลักษณะที่สำคัญที่สุดของการปกครองสมัยสุโขทัยคือข้อใด

1. รูปแบบการปกครองเป็นแบบราชาธิปไตย คือพระมหากษัตริย์ทรงมีฐานะเป็นผู้ปกครองสูงสุด ทรงเป็นผู้ใช้อำนาจอธิปไตย 2. พระมหากษัตริย์มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับประชาชนเปรียบเสมือนบิดากับบุคร ทำตัวเปรียบเสมือนหัวหน้าครอบครัว พระมหากษัตริย์ในสมัยสุโขทัยตอนต้นจึงมีพระนามนำหน้าว่า พ่อขุน

ปัจจัยใดที่มีผลต่อลักษณะเศรษฐกิจสมัยสุโขทัยมากที่สุด

สุโขทัยมีที่ตั้งที่เหมาะสมสะดวกแก่การคมนาคมติดต่อกับอาณาจักรอื่น ๆ และมีพระมหากษัตริย์ที่ ทรงเห็นการณ์ไกล ส่งเสริมให้มีการค้าขายอย่างเสรี ทำให้เศรษฐกิจของสุโขทัยเจริญรุ่งเรือง เป็น รากฐานในการสร้างสรรค์ความเจริญด้านศาสนาและศิลปวัฒนธรรมต่อมา