การสืบค้นสารสนเทศ แบ่งออกเป็น 2 วิธี มีอะไรบ้าง

แหล่งความรู้ของโลกในปัจจุบัน ส่วนใหญ่สามารถเข้าถึงได้ทางอินเทอร์เน็ต ทักษะในการ สืบค้นสารสนเทศและความรู้ต่างๆ ผ่านอินเทอร์เน็ตจึงเป็นเรื่องส าคัญ ดังนั้นการสืบค้นสารสนเทศ และแหล่งความรู้ต่างๆ จึงมีความจ าเป็นโดยใช้เครื่องมือสืบค้นด้วยมือหรือเทคโนโลยีความส าเร็จ ในการสืบค้นโดยทั่วไปมักขึ้นกับกลยุทธ์และเทคนิคการสืบค้นที่ใช้ ทักษะในการใช้เครื่องมือสืบค้น ต่างๆ รวมทั้งความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับประเภทของสารสนเทศที่ได้จากการสืบค้น อันจะน าผู้ สืบค้นให้เข้าถึงแหล่งที่จัดเก็บและให้บริการสารสนเทศ ทรัพยากรสารสนเทศและความรู้ที่ต้องการ ได้อย่างรวดเร็วและตรงตามความต้องการโดยอาศัยเครื่องมือสืบค้นสารสนเทศ

1. การสืบค้นสารสนเทศจากฐานข้อมูลบรรณานุกรมออนไลน์

r

 เป็นรูปแบบหนึ่งของเครื่องมือช่วยค้นทรัพยากรสารสนเทศ ของห้องสมุดหรือศูนย์สารสนเทศซึ่งปรับเปลี่ยนจากรูปแบบบัตรรายการในตู้บัตรรายการมาเป็น ระเบียนบรรณานุกรมในฐานข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยมีชุดค าสั่งการสืบค้นที่ใช้ง่าย สะดวก มีรายการ ทางเลือกของขั้นตอนการท างานอยู่หน้าจอ ผู้ใช้เพียงปฏิบัติตามคำสั่งหรือคำแนะนำที่ปรากฎ จากนั้นจะสามารถสืบค้นข้อมูลได้

การสืบค้นสารสนเทศจาก OPAC

r

 ผู้สืบค้นมีทางเลือกในการสืบค้นหลายทาง เช่น ชื่อผู้ แต่ง ชื่อเรื่อง หัวเรื่อง คำสำคัญ เลขเรียกหนังสือ เป็นต้น ซึ่งผู้สืบค้นทราบข้อมูลส่วนใด ก็เพียง เลือกทางเลือกในการสืบค้น และพิมพ์คำค้นลงไป ระบบจะดำเนินการสืบค้น เมื่อพบรายการที่ ต้องการ ระบบจะแสดงผลออกมา นอกจากนี้ผู้สืบค้นสามารถใช้เทคนิคการสืบค้นขั้นสูง เช่น ตรรกบูลีน หรือการจำกัดการค้นด้วยเขตข้อมูล เข้ามาร่วมในการสืบค้นได้ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับโปรแกรม ที่ห้องสมุดแต่ละแห่งเลือกใช้ซึ่งมีคำแนะนำขั้นตอนและวิธีการสืบค้นจะปรากฏบนหน้าจอเสมอ ผู้ใช้เพียงทำตามคำแนะนำที่บอกให้ไปตามลำดับ

1.1 วิธีการสืบค้นโดยใช้ทางเลือกต่างๆ ใน OPAC

1.1.1 จากหน้าจอรายการหลักของ OPAC ให้เลือกรายการที่ต้องการจะใช้
เป็นทางเลือกในสืบค้นจากเมนู เช่น ชื่อผู้แต่ง ชื่อเรื่อง หัวเรื่อง เป็นต้น
นอกจากนี้ควรเลือกให้ถูกต้องด้วยว่าต้องการสืบค้นหนังสือ
โสตทัศนวัสดุ หรือบทความในวารสารตามช่องที่กำหนด

1.1.2 ป้อนข้อมูลที่ต้องการสืบค้นตามรายการที่ใช้เป็นทางเลือก เช่น เลือก
ทางเลือกผู้แต่ง พิมพ์ชื่อผู้แต่ง เลือกทางเลือกคำสำคัญ พิมพ์ คำสำคัญ
ที่ต้องการสืบค้น เป็นต้น ลงในช่องสี่เหลี่ยม แล้วคลิกเม้าส์ที่คำว่า
ค้นหา หรือ สืบค้น ระบบจะทาการสืบค้น และแสดงผลการสืบค้นบน
หน้าจอ พร้อมทั้งบอกจ านวนรายการที่ค้นไ

1.1.3 หากต้องการได้รายละเอียดโดยย่อของรายการใด ให้คลิกเม้าส์ที่
รายการที่ต้องการ ระบบจะแสดงรายละเอียดของรายการดังกล่าว ซึ่ง
จะประกอบไปด้วยชื่อเรื่อง ชื่อผู้รับผิดชอบ และปีพิมพ์

1.1.4 หากต้องการได้รายละเอียดที่สมบูรณ์ของรายการใด ให้คลิกเม้าส์ที่
รายการที่ต้องการระบบจะแสดงรายละเอียดที่สมบูรณ์ของรายการ
นั้นๆ หากเป็นหนังสือหรือโสตทัศนวัสดุรายละเอียดที่ได้ประกอบด้วย
เลขเรียกหนังสือ สถานที่ที่มีทรัพยากรสารสนเทศนั้น รายละเอียดทาง
บรรณานุกรม สถานภาพของหนังสือว่ามีกี่เล่ม มีอยู่ที่ใด อยู่บนชั้นหรือ
มีผู้ยืมไป ถ้ามีผู้ยืมจะบอกวันที่กำหนดส่งคืน (date due) หากเป็น
บทความวารสาร ระบบจะแสดงผลการสืบค้นเป็นรายการย่อ ซึ่ง
ประกอบด้วยชื่อบทความ ชื่อวารสาร ปีที่ ฉบับที่ และปีพิมพ์ของ
วารสารที่ตีพิมพ์บทความนั้น รวมทั้งบอกด้วยว่าห้องสมุดมีวารสารนั้น
ตั้งแต่ปีใดถึงปีใด

1.2 ข้อมูลที่ได้จากการสืบค้นด้วย OPAC

r

ลักษณะของผลลัพธ์ที่ได้จากการสืบค้นด้วย OPAC ส่วนใหญ่จะให้ข้อมูล 2 ลักษณะ ได้แก่ ข้อมูลบรรณานุกรม (Bibliographic) ของทรัพยากรสารสนเทศที่ตีพิมพ์และไม่ตีพิมพ์ และ ข้อมูลดรรชนีและสาระสังเขป (Index & abstract) ของบทความในวารสารและหนังสือพิมพ์ซึ่งมี รายละเอียดดังนี้ 

r

ชื่อผู้แต่ง อาจเป็นชื่อบุคคลหรือหน่วยงาน

r

ชื่อเรื่อง(Title) ของหนังสือ ชื่อวารสาร รายงานวิจัย วิทยานิพนธ์โสตทัศนวัสด

r

พิมพลักษณ์ (Imprint) ประกอบด้วยครั้งที่พิมพ์ (Edition) สถานที่พิมพ์ (Place) ได้แก่เมืองและประเทศ ส านักพิมพ์(Publisher) และปีที่พิมพ์(Year of publication)

r

สถานภาพ (Status) สถานภาพของทรัพยากรสารสนเทศ มีหลายลักษณะได้แก่ มีการยืมออกก็จะระบุวันก าหนดส่ง เช่น Due 12-06-04 อยู่บนชั้น (Check shelves) อยู่ระหว่างการซื้อ (On order) อยู่ระหว่างการจัดหมู่และท ารายการ (Cataloguing) อยู่ระหว่างการซ่อมแซม (Repair) ใช้ภายในห้องสมุด (Lib use only) 

r

เลขเรียกหนังสือ (Call number) เป็นสัญลักษณ์ที่ใช้แทนทรัพยากรแต่ละ รายการ หากเป็นสิ่งพิมพ์จะติดไว้ที่สันหนังสือ เป็นข้อมูลที่มีความสำคัญที่ผู้ใช้ ห้องสมุดต้องจดเพื่อไปหาหนังสือบนชั้น เนื่องจากหนังสือในห้องสมุดมีการเรียง ตามเลขหมู่แต่สำหรับวารสาร ห้องสมุดไม่มีการกำหนดเลขหมู่ให

r

รูปเล่ม (Description) บอกข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนหน้า ภาพประกอบ และ ขนาด 

r

หมายเหตุ (Note) เป็นการระบุข้อมูลของทรัพยากรเพิ่มเติม เช่นมีข้อมูล บรรณานุกรม

r

สถานที่ (Location) เป็นการบอกว่าทรัพยากรรายการนั้นอยู่ที่ห้องสมุดใด 

r

หัวเรื่อง (Subject) เป็นการระบุคำหรือกลุ่มคำที่ใช้แทนเนื้อหาของทรัพยากร มี ประโยชน์ในแง่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถหาสารสนเทศได้มากยิ่งขึ้น

r

เลขมาตรฐาน (ISBN) เป็นเลขมาตรฐานสากลประจำหนังสือแต่ละรายการ

r

ชื่อผู้แต่ง (Author) อาจเป็นชื่อบุคคลหรือหน่วยงาน

r

ชื่อเรื่อง (Title) เป็นชื่อบทความวารสาร

r

ปี(Year) ได้แก่ ปีพิมพ์ของวารสาร ชื่อห้องสมุดที่บอกรับวารสารชื่อนั้นๆ (Library that have this journal) บอก ข้อมูลเกี่ยวกับห้องสมุดและปีที่ฉบับที่ของวารสารที่ห้องสมุดบอกรับ

r

สถานที่ (Location) บอกสถานที่เก็บและให้บริการวารสาร

r

อวารสาร (Journal) บอกข้อมูลเกี่ยวกับชื่อวารสาร ปีที่ฉบับที่ เดือน ปีและ เลขหน้าที่ปรากฏบทความ

เลขมาตรฐานสากลประจำวารสาร

r

เลขมาตรฐานสากลประจำวารสาร (ISSN)

r

หัวเรื่อง (Subject) เพื่อใช้ในการสืบค้นต่อ 

2. รายละเอียดและตัวอย่างการสืบค้น OPAC

r

ฐานข้อมูลออนไลน์ (Online Database) เป็นแหล่งสารสนเทศที่มีขนาดใหญ่และ ขอบเขตกว้างขวาง ซึ่งผู้จัดทำได้จัดทำขึ้นเพื่อให้บริการสำหรับผู้ที่ต้องการสืบค้นสารสนเทศ โดยไม่ มีข้อจำกัดในด้านระยะทาง ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนก็ตาม นอกจากนั้นผู้ใช้บริการยังสามารถดาวน์โหลด รายละเอียดและตัวอย่างการสืบค้น OPAC ปรากฎในภาคผนวก ก1 5 หรือพิมพ์ข้อมูลได้ในทันทีในปัจจุบันห้องสมุดหรือศูนย์สารสนเทศขนาดใหญ่ๆ เช่น ห้องสมุด สถาบันอุดมศึกษา จะมีฐานข้อมูลออนไลน์ไว้บริการผู้ใช้อยู่ 2 ลักษณะ ดังนี้ (มาลีกาบมาลา, 2543)

2.1 ฐานข้อมูลออนไลน์ที่ห้องสมุดหรือศูนย์สารสนเทศบอกรับเป็นสมาชิก

r

ฐานข้อมูลออนไลน์ที่ห้องสมุดหรือศูนย์สารสนเทศบอกรับเป็นสมาชิก คือฐานข้อมูล ออนไลน์ที่ห้องสมุดหรือศูนย์สารสนเทศนั้นๆ บอกรับหรือซื้อฐานข้อมูลนั้นมาให้บริการกับผู้ใช้โดยมี การจำกัดระยะเวลาในการใช้นั้นคือจะสามารถใช้ฐานข้อมูลได้ในระหว่างเป็นสมาชิกของฐานข้อมูล นั้นในระยะเวลาที่กำหนด ตัวอย่าง ฐานข้อมูลออนไลน์ที่ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา

2.2 ฐานข้อมูลส านักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา

r

2.2 ฐานข้อมูลสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา หรือ ฐานข้อมูล ThaiLIS (Thai Library Integrated System) เป็นฐานข้อมูลที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา และโครงการ Thai Library Integrated System เช่ าใช้ฐาน ข้อมล วิชาการโดยมีสำนักงาน คณะกรรมการการอุดมศึกษารับผิดชอบค่าใช้จ่าย เพื่อให้มหาวิทยาลัยของรัฐร่วมกันใช้บริการ สืบค้นสารสนเทศ

r

2.3 ฐานข้อมูลทดลองใช้ฐานข้อมูลลักษณะนี้เป็นฐานข้อมูลที่ห้องสมุดหรือศูนย์ สารสนเทศนำมาทดลองให้บริการกับผู้ใช้ก่อน ก่อนที่ห้องสมุดหรือศูนย์สารสนเทศจะตัดสินใจซื้อ หรือสมัครเป็นสมาชิกของฐานข้อมูลนั้นจริงๆ ทั้งนี้ห้องสมุดหรือศูนย์สารสนเทศอาจจะพิจารณา บอกรับเป็นสมาชิกโดยตรวจสอบจากการใช้บริการของผู้ใช้ว่ามีมากน้อยเพียงใด คุ้มหรือไม่หาก ต้องน ามาบริการจริงๆ ตัวอย่างฐานข้อมูลทดลองใช้ในศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ณ ปี พ.ศ. 2552 เช่น Oxford Journals (OUP), Medical Online, Oxford Scholarship Online

การสืบค้นฐานข้อมูลออนไลน์

r

การสืบค้นฐานข้อมูลออนไลน์ สามารถใช้เทคนิคการสืบค้นอย่างง่าย หรือเทคนิคการ สืบค้นขั้นสูงได้เช่นเดียวกับการสืบค้นอื่นๆ แต่จะมีรายละเอียดเพิ่มเติมที่เป็นหลักทั่วไป

1. วิเคราะห์เรื่องที่ต้องการสืบค้นและกำหนดคำสำคัญเพื่อใช้ในการค้น การวิเคราะห์
เรื่องที่ต้องการสืบค้นคือ ต้องรู้ว่าต้องการข้อมูลในเรื่องใด แล้วจึงกำหนดเรื่องที่
ต้องการค้นเป็นคำสำคัญในการสืบค้น

2. เลือกค้นจากฐานข้อมูลที่เหมาะสม ทั้งนี้ต้องทราบว่าเรื่องที่สืบค้นนั้นเป็นเรื่องใน
สาขาใด เลือกฐานข้อมูลให้ตรงหรือใกล้เคียงกับสาขาวิชาที่สืบค้น เพื่อช่วยให้ได้ผล
การสืบค้นที่ตรงกับความต้องการ

3. ลงมือสืบค้น โดยทั่วไปสามารถสืบค้นได้2 วิธีคือการใช้เมนูในการสืบค้น และการ
สืบค้นโดยการพิมพ์คำสั่งการสืบค้นโดยใช้เมนูสามารถทำได้ง่าย ไม่จำเป็นต้องมี
ความรู้เกี่ยวกับฐานข้อมูลที่สืบค้นมากนัก แต่การสืบค้นโดยใช้คำสั่ง ผู้ใช้จำเป็นต้อง
ศึกษาคำสั่งต่างๆ ในการสืบค้น โดยฐานข้อมูลแต่ละฐานที่จัดทำโดยบริษัทที่แตกต่าง
กัน มักมีวิธีการสืบค้นที่แตกต่างกันด้วย

4. แสดงผลการสืบค้น เมื่อสืบค้นจนได้ปริมาณรายการที่พอเพียงกับความต้องการ
แล้วสามารถแสดงผลรายการที่สืบค้นได้3 รูปแบบใหญ่คือ
4.1 การแสดงผลแบบเต็มรูปแบบ แสดงผลทุกเขตข้อมูลที่รายการนั้นมีอยู่
4.2 การแสดงผลแบบย่อ แสดงผลเฉพาะรายการทางบรรณานุกรมเท่านั้น
4.3 การแสดงผลแบบอิสระแสดงผลที่ก าหนดเขตข้อมูลในการแสดงผลด้วย
ตัวเอง

5. เลือกรายการที่ตรงกับความต้องการและบันทึกผลข้อมูล เพื่อให้ระบบทราบว่า
ต้องการรายการใดบ้างในพิมพ์ผลออกทางกระดาษ

2.3 การสืบค้นสารสนเทศบนอินเทอร์เน็ต

r

 การสืบค้นสารสนเทศบนอินเทอร์เน็ต อินเทอร์เน็ตเป็นแหล่งรวบรวมเว็บไซต์ซึ่งเก็บข้อมูลต่างๆไว้มากมาย แต่ละเว็บไซต์จะมี ชื่อโดเมน (Domain name) ที่ไม่ซ้ ากัน และมีมากกว่า 45 ล้านชื่อในโลก โดยเรียกคอมพิวเตอร์ที่ จัดเก็บ และคอยให้บริการข้อมูลของเว็บไซต์ว่าเว็บเซิร์ฟเวอร์(Web Server) หรือเว็บไซต์โดย รายละเอียดและตวัอยา่ งการสืบค้นฐานข้อมูลออนไลน์ปรากฎในภาคผนวก ก2 8 อาศัยโปรแกรม Web Browser (เช่น Internet Explorer, Netscape, Opera หรือ Firefox เป็น ต้น) ซึ่งเว็บไซต์ทั่วโลกได้จัดเก็บเว็บเพจไว้ถึงพันล้านเว็บเพจ โดยมีสารสนเทศที่เป็นข้อความ ตัวอักษร ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว และเสียง โดยสามารถที่เชื่อมโยงไปยังเอกสารหรือข้อมูลอื่น ๆ ได้โดยตรง ดังนั้นสารสนเทศบนอินเทอร์เน็ตได้ให้ประโยชน์แก่ผู้ใช้ในด้านต่างๆ มากมาย เช่น เพื่อ การค้นหาข้อมูลข่าวสารในเรื่องที่ต้องการ เพื่อมีส่วนร่วมในการอภิรายโต้ตอบ และแสดงความ ความคิดเห็นกับบุคคลที่อยู่ในสาขาวิชาชีพเดียวกัน หรือมีความสนใจในเรื่องเดียวกัน และเพื่อ ติดตามข่าวคราวความเคลื่อนไหวต่างๆ (ศรีอร เจนประภาพงษ์, 2542 ; Dochartaigh, 2002) เวิล์ดไวด์เว็บ (World Wide Web หรือ WWW) เป็นบริการหนึ่งบนอินเทอร์เน็ตที่ ให้บริการค้นหาและน าเสนอสารสนเทศซึ่งประกอบไปด้วยเว็บเพจที่เป็นสาระและเป็นประโยชน์ มหาศาล ซึ่งผู้ใช้จึงควรท าความเข้าใจในเนื้อหา (Content) ของเอกสารที่มักปรากฏบน WWW เพื่อที่จะได้น าไปเป็นแนวทางสืบค้นได้ ซึ่งลักษณะเนื้อหาที่มีให้บริการใน WWW แบ่งได้ดังนี้ (รังสิมา เพ็ชรเม็ดใหญ่, 2542) ข้อมูลการตลาดส าหรับสินค้า และผลิตภัณฑ์ รวมถึงสื่อโฆษณาต่าง ๆ (Product Information)นามานุกรมของพนักงานของแต่ละหน่วยงาน (Staff Directory) 3. การจัดแบ่งหมวดหมู่ของสิ่งพิมพ์ในสถาบันบริการสารสนเทศ (Library Catalog) ข่าวสารทันสมัย (Current News) ข่าวสารข้อมูลทางราชการ (Governmental Information) 6. การแถลงข่าวแก่สื่อมวลชน (Press Release) บทความที่เลือกสรรเฉพาะ (Selected Article Reprints) ข้อมูลทางด้านบันเทิง ทีวี เกม ภาพยนตร์ เพลง และอื่นๆ ส่วนข้อมูลที่ไม่ปรากฏบน WWW ได้แก่ ความลับทางการค้า (Trade Secrets) ฐานข้อมูลเชิงพาณิชย์ต่าง ๆ (Commercial Databases) ยกเว้นมีการสมัครเป็นสมาชิก และ สิ่งพิมพ์ที่มีลิขสิทธิ์ (Copyrighted Published Materials) ยกเว้นแต่จะได้รับการขออนุญาตแล้ว เท่านั้น ดังนั้นเพื่อการสืบค้นสารสนเทศได้อย่างสะดวก รวดเร็วจึงมีเว็บไซต์ที่ท าหน้าที่ค้น สารสนเทศแก่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตให้ค้นพบรายละเอียดที่ต้องการได้ง่าย โดยเว็บไซต์ที่ท าหน้าที่ค้น ข้อมูลมี 2 ประเภท คือ แบบนามานุกรมบนเว็บไซต์ (Web Directories) และ แบบที่เป็นเครื่องมือ สืบค้น (Search Engines) เป็นโปรแกรมท าหน้าที่ค้นหาสารสนเทศบนเวิล์ดไวด์เว็บซึ่งทั้ง 2 ประเภทมีรายละเอียด ดังนี้(Lee, 2000 ; สุนัสริน (หวังสุนทรชัย) บัวเลิศ, 2542)

r

นามานุกรม (Web Directories) เป็นเครื่องมือในการสืบค้นที่รวบรวมสารสนเทศ บนอินเทอร์เน็ต และคัดแยกสารสนเทศเหล่านั้นออกเป็นกลุ่ม ตามสาขาวิชาหรือตามหลักเกณฑ์ที่ ผู้จัดทำกำหนดขึ้น การสืบค้นสามารถทำได้โดยการเลือกกลุ่มสาขาวิชาที่ตรงกับความต้องการ และ เลือกเรื่องต่างๆ ตามหัวข้อย่อยที่นามานุกรมรวบรวมไว้เครื่องมือประเภทนี้ทำหน้าที่คล้ายกับ บัตรรายการของห้องสมุด สามารถการสืบค้นทำได้โดยเลือกกลุ่มสาขาวิชาที่ตรงกับเรื่องที่ต้องการ 

r

 เครื่องมือสืบค้น (Search engine) เป็นเครื่องมือในการสืบค้นที่อาศัยการทำงาน ของโปรแกรมที่พัฒนาขึ้น โดยแต่ละตัวได้รับการพัฒนาจากบุคคลหลายๆ หน่วยงาน มีผลให้ Search Engine แต่ละตัวมีลักษณะที่แตกต่างกันออกไป ทั้งในด้านฐานข้อมูลที่ครอบคลุมและ วิธีการทำดรรชนีช่วยค้น (นงเยาว์ เปรมกมลเนตร, 2540) ผู้สืบค้นต้องพิมพ์ค าค้นของเรื่องที่ ต้องการสืบค้นลงในช่องที่กำหนด จากนั้นกลไกจะทำหน้าที่คัดเลือกสารสนเทศที่ตรงกับคำค้นมา แสดงผล ปัจจุบันมีเว็บไซต์ที่มีลักษณะเป็น Search Engine มากมายกว่า 100 เว็บ ซึ่งจากการ ส ารวจของ SEO Consultants Directory เมื่อ เดือนมีนาคม ปี ค.ศ 2009 พบว่ามี Search Engine ที่มีผู้ใช้อย่างแพร่หลาย 3 อันดับแรกของโลก ได้แก่ - Google (http://www.google.com) - MSN Live Search (http://www.live.com/) - Ask (http://www.ask.com

บทสรุป
การสืบค้นสารสนเทศจากฐานข้อมูล OPAC ฐานข้อมูลออนไลน์และบนอินเทอร์เน็ตนั้น
เป็นความสามารถของแต่ละบุคคล ซึ่งความสามารถดังกล่าวประกอบไปด้วยทักษะ และเทคนิคของ

การสืบค้น ซึ่งผู้สืบค้นแต่ละคนจะมีมากน้อยเพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับการฝึกฝนและพัฒนาทักษะอย่าง

ต่อเนื่อง นอกจากนี้ผู้สืบค้นควรมีทักษะของการคัดเลือกและการประเมินสารสนเทศที่ได้รับจาก

อินเทอร์เน็ตร่วมด้วย ขณะเดียวกันผู้สืบค้นก็ต้องรู้จักวิธีการที่คัดเลือกและประเมินสารสนเทศที่ค้น

ได้ในแต่ละครั้งด้วย เพื่อที่จะได้น าสารสนเทศที่มีคุณค่า ถูกต้อง และตรงกับความต้องการของ

ตนเองไปใช้งานได้อย่างเหมาะสม

เทคนิคการสืบค้นสารสนเทศจากอินเทอร์เน็ต

r

เทคนิคการสืบค้นสารสนเทศจากอินเทอร์เน็ต ความสามารถของผู้สืบค้นประการหนึ่งคือการใช้เทคนิคของการสืบค้นเป็น ดังนั้นผู้สืบค้น ควรรู้จักเทคนิคของการสืบค้นด้วย เทคนิคที่แนะน าดังต่อไปนี้เป็นเทคนิคที่สามารถใช้ได้ใน Search Engine ทั่วๆ ไปที่มี่อยู่ ได้แก่ (ฉัททวุฒิ พีชผล, 2550 ; นวรัตน์ ธนะรุ่งรักษ์, 2549 ; สุนัสริน หวัง สุนทรชัย, 2541) 

r

เทคนิคตรรกบูลลีน แบ่งได้ออกเป็น 3 ลักษณะคือ 1.1 การใช้ And, Or, Not ประกอบเป็นประโยคการค้น เช่นเดียวกับการสืบค้นใน ระบบออนไลน์อื่นๆ โดยเครื่องหมาย หรือตัวกระทำของตรรกบูลลีนจะ แตกต่างกันไปในแต่ละกลไกบางกลไกสามารถใช้คำว่า And, Or, Not ป ระกอบในประโยคการค้นได้โดยตรงบางกลไกใช้เครื่องหม าย & (ampersan), I (pipe) แ ล ะ ! (exclamation) แทนคำว่า And, Or, Not ตามลำดับเช่นใน Altavista เป็นต้น 1.2 การใช้เทคนิคตรรกบูลลีนจากเมนูทางเลือก (Drop down menu) ว่าต้องการ สืบค้นการที่เกี่ยวข้องกับคำค้นอย่างไร เช่น Match all words, match any words, must contain, must not contain เป็นต้น กลไกที่มีลักษณะการ สืบค้นเช่นนี้ ได้แก่ Lycos, Hotbot, Excite เป็นต้น 1.3 การใช้เครื่องหมาย + (Plus) หรือ – (Minus) กำหนดหน้าคำค้นที่ต้องการ เครื่องหมาย + หมายถึงในผลการค้นต้องมีคำที่กำหนดนั้น และเครื่องหมาย – หมายถึงไม่ต้องการให้พบค านั้นในผลการสืบค้น กลไกที่ลักษณะการสืบค้น เช่นนี้ ได้แก่ Excite, Lycos, Altavista, Google เป็นต้น

r

เทคนิคการตัดคำ สามารถทำได้ 2 ลักษณะ คือ 2.1 การใช้เครื่อง กลไกส่วนใหญ่ใช้เครื่องหมาย * (asterisk) แทนการตัดคำส่วน ใหญ่เป็นการตัดท้ายคำค้นที่ต้องการ กลไกที่สามารถใช้เทคนิคการตัดคำได้ เช่น altavista เป็นต้น ส่วน Hotbot สามารถตัดคำได้ 2 ลักษณะคือ * และ ? โดย * หมายถึง ให้สืบค้นคำที่มีรากคำตามที่กำหนดโดยอาจมีตัวอักษรอื่น ๆ ต่อท้ายได้ไม่จำกัดจำนวน และ ? หมายถึง ให้สืบค้นคำที่มีรากคำตามที่กำหนด และมีตัวอักษรตามหลังได้อีกไม่เกินจำนวน ? ที่กำหนดในคำค้น นอกจากนี้ Hotbot ยังสามารถตัดหน้าคำได้ด้วย เช่น *man ผลการคืนจะเรียกออกมาทั้ง คำว่า woman, superman, spiderman เป็นต้น 2.2 การสืบค้นในลักษณะของ Stemming หมายถึง การสืบค้นจากรากคำ เช่น ค าค้นเป็น think กลไกจะสืบค้นคำอื่น ๆ ที่ขึ้นต้นด้วย think เช่น thinking, thinkable เป็นต้น กลไกที่มีลักษณะการสืบค้นเช่นนี้ได้แก่ Hotbot, Infoseek 

3. เทคนิคการใช้คำใกล้เคียง

r

เทคนิคการใช้คำใกล้เคียง โดยใช้คำว่า ADJ, NEAR, FAR และ BEFORE ประกอบ เป็นประโยคการค้น เพื่อก าหนดลักษณะของผลการสืบค้นที่ต้องการว่าต้องการให้มี คำใด อยู่ในลักษณะใด โดย 3.1 ADJ หมายถึง ให้คำที่ค้นอยู่ใกล้กัน สลับลำดับคำได้ 3.2 NEAR หมายถึง ให้คำที่ค้นอยู่ใกล้เคียงกันในระยะ 25 คำ สลับที่ได้ 3.3 FAR หมายถึง ให้คำค้นอยู่ห่างกันได้ 25 คำ หรือมากกว่านั้น 3.4 BEFORE หมายถึงให้คำค้นอยู่ห่างกันในระยะ 25 ค า โดยต้องอยู่ตามลำดับที่ ก าหนดเท่านั้น นอกจากนี้ยังสามารถใช้ O ร่วมกับจำนวนตัวเลขที่ต้องการให้คำห่างกัน เช่น OFAR/2 หมายถึง ให้คำค้นอยู่ห่างกันไม่เกิน 2 คำ เป็นต้น กลไกที่มีลักษณะการสืบค้นแบบนี้ ได้แก่ Lycos 

4. เทคนิคการใช้รหัสกำกับคำค้น

r

เทคนิคการใช้รหัสกำกับคำค้น สามารถทำได้ 2 ลักษณะได้แก่ 4.1 สืบค้นจากเมนูทางเลือก (Drop down menu) ซึ่งกลไกสืบค้นหลาย ๆ กลไก กำหนดให้ผู้สืบค้นเลือกเขตข้อมูลที่ต้องการสืบค้นได้จากเมนูทางเลือก โดยให้ เลือกได้จากภาษา เขตข้อมูลชื่อ URL ช่วงปีที่ต้องการ Domain ของแหล่ง สารสนเทศ เป็นต้น 4.2 สืบค้นโดยใช้เขตข้อมูลกำกับลงในประโยคการค้น เช่น title:nba หมายถึงให้ ค้นเพจที่มีคำว่า nba ปรากฏในชื่อเรื่อง before:30/9/99 หมายถึง ให้สืบค้น เอกสารที่มีการจัดทำก่อนวันที่ 30 ก.ย. 1999 เป็นต้น กลไกที่มีลักษณะการ สืบค้นแบบนี้ ได้แก่ Hotbot เป็นต้น

การสืบค้นข้อมูลสารสนเทศมี 2 ประเภทอะไรบ้าง

สาระสำคัญ เครื่องมือสืบค้นสารนิเทศหมายถึง วัสดุอุปกรณ์ตลอดจนกระบวนการต่าง ๆ ที่จะทำให้เข้าถึงสารนิเทศและสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ตามต้องการอย่างสะดวก รวดเร็ว เครื่องมือสืบค้นสารนิเทศมีอยู่ 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ ประเภทสืบค้นด้วยมือ และสืบค้น ด้วยระบบคอมพิวเตอร์ การสืบค้นด้วยมือได้แก่ การสืบค้นด้วยบัตรรายการ และการสืบค้น

การสืบค้นข้อมูลแบ่งออกเป็นกี่ประเภทอะไรบ้าง

การใช้วิธีการค้นหาข้อมูลบนระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต สามารถแบ่งรูปแบบในการค้นหาออกเป็น 2 ลักษณะ คือ 1. การระบุคำเพื่อใช้ในการค้นหา หรือที่เรียกว่า “คีย์เวิร์ด” (Keyword) 2. การค้นหาจากหมวดหมู่ หรือไดเรกทอรี (Directories)

สืบค้นข้อมูลมีความหมายว่าอย่างไร

เป็นกระบวนการในการ แสวงหาทรัพยากรสารสนเทศที่ได้มีการบันทึกและ เผยแพร่ไว้ในสื่อต่างๆ ได้แก่ สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อโสตทัศน์ และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ โดยใช้วิธีค้นหาในรูปแบบ ต่างๆ เพื่อให้ได้สารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่ ต้องการ เทคนิคในการสืบค้นสารสนเทศ หมายถึง วิธีการ ค้นเพื่อให้ได้สารสนเทศตามวัตถุประสงค์อย่าง