ระบบสารสนเทศทางธุรกิจ บริษัท

ระบบสารสนเทศทางธุรกิจ from thawiwat dasdsadas

•Find 10 examples of businesses that utilize database and BI to enhance competitive advantage. Describe how they use database and BI

บริษัท สายการบินนกแอร์ จำกัด ก็เป็นอีกหนึ่งบริษัทที่เข้าร่วมโปรแกรม Technology Adoption โดยได้นำโซลูชั่น Business Intelligence เข้ามาช่วยจัดการระบบข้อมูลขององค์กร เพื่อช่วยในการบริหารต้นทุน รายได้ และการคำนวณที่นั่งโปรโมชั่นอย่างเหมาะสม คุณณัฏฐโพธ กุศลาไสยานนท์ ผู้อำนวยการใหญ่ฝ่ายการบริหารรายได้และระบบชำระเงิน บริษัทสายการบินนกแอร์ จำกัด กล่าวว่า “ในฐานะที่นกแอร์เป็น Innovative Company เราเล็งเห็นถึงประโยชน์ในการนำเทคโนโลยีมาช่วยในกระบวนการทำงานของเราโดยเฉพาะโซลูชั่นในรูปแบบของ Business Intelligent ที่จะช่วยขับเคลื่อน และผลักดันธุรกิจของบริษัท โซลูชั่น Self-Service Business Intelligence project จะช่วยให้เราสามารถรวบรวมข้อมูลสำคัญได้ครบถ้วน เห็นปัญหาได้เร็วกว่าการรวบรวมข้อมูลตามปกติ สามารถคิดวิเคราะห์ต่อได้ทันที ที่สำคัญโปรแกรมนี้จะช่วยทำให้ผู้บริหารใช้เวลาในการตัดสินใจสั้นลง ซึ่งสำคัญมากสำหรับการเพิ่มโอกาสในการแข่งขันของเรา”
ไอทีในยุคปัจจุบันช่วยเปิดโลกใหม่ พร้อมทั้งนำเสนอตัวเลือกและแนวทางการทำงานที่ยืดหยุ่นมากขึ้น ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน โดยการจองตัว หรือชำระเงินผู้ใช้งานสามารถทำงานผ่านทางพีซี โทรศัพท์เคลื่อนที่ ไอโฟน และเว็บบราวเซอร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ กลยุทธ์การบริหารสายการบินราคาประหยัดในแบบของ “นกแอร์” คือ สายการบินนกแอร์มีการนำไอทีมาประยุกต์ใช้เพื่อสร้างความได้เปรียบคู่แข่งขัน ดังต่อไปนี้
1. มีการจำหน่างตั๋วเครื่องบินแบบออนไลน์
2. สามารถสำรองที่นั่งผ่านทาง
3. นำระบบ Revenue Management System มาช่วยวิเคราะห์และวางแผนการขาย
4. ใช้กระดาษและเครื่องพิมพ์แบบ Boarding Pass
5. นำระบบไอทีเข้ามาช่วยในการดำเนินงานทั้งระบบฟรอนต์เอนต์และแบ็กเอนต์

ม.กรุงเทพพัฒนาโมบายแอพพลิเคชันควบคู่การรวบรวมข้อมูลในกลุ่มของสถาบันการศึกษานั้น มหาวิทยาลัยกรุงเทพ จัดเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำ ที่ได้รับการยอมรับในวงกว้างถึงความโดดเด่นในการนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ทั้งกับกระบวนการเรียนการสอน ระบบ front office และ Back office ทั้งนี้ จากวิสัยทัศน์ของผู้บริหารจากหลายปีก่อนทำให้มหาวิทยาลัยกรุงเทพในวันนี้ กลายเป็นมหาวิทยาลัยที่ได้รับรางวัล E-LEADER Awards ในฐานะของสถาบันการศึกษาที่มีความโดดเด่นเป็นที่ยอมรับ ด้านการใช้เทคโนโลีสารสนเทศและการสื่อสาร ดร.มัทนา สานติวัตร อธิการบดี มหาวิทยาลัยกรุงเทพ กล่าวว่า ม.กรุงเทพฯ มีแผนการพัฒนาระบบไอทีในหลายด้าน ได้แก่ การลงทุนระบบการลงทะเบียนโดยใช้โทรศัพท์มือถือ เนื่องจากปัจจุบันนักศึกษาส่วนใหญ่มีอุปกรณ์สมาร์ทโฟนกันทุกคน ดังนั้นจึงจำเป็นต้องเตรียมความพร้อมในเรื่องระบบหลังบ้านก่อนเป็นลำดับแรก ซึ่งในเรื่องนี้นับเป็นความท้าทายที่สำคัของมหาวิทยาลัย ปรากฏการณ์โมบิลิตี้ไลฟ์สไตล์ทำให้ ม.กรุงเทพ เน้นหันมาพัฒนาแอพพลิเคชันให้ใช้งานบนอุปกรณ์ดังกล่าวกับหลากหลายระบบ ไม่ว่าจะเป็นบนโอเอสแอนดรอย หรือบนไอโฟน ขณะที่สังคมโลกออนไลน์ เช่น facebook, Twitter นั้นก็เข้ามามีบทบาทกับนักศึกษาอย่างมากด้วยเช่นกัน ดังนั้นนักศึกษาต้องสามารถเข้าถึงได้ อีกทั้งยังเป็นเครื่องมือสำคัญในการช่วยตรวจสอบหรือประเมินดูจากกระแส ความชื่นชอบผ่านช่องทางดังกล่าว รวมถึงการนำมาประกอบการตัดสินใจในการพัฒนางานของมหาวิทยาลัยในหลายๆ เรื่องเช่นกัน อาทิ การวางนโยบาย การสร้างหลักสูตรการเรียนการสอน การทำวิจัยหรือโพลล์ หรือการวิเคราะห์ฟันธงแนวโน้มต่างๆ นอกจากนี้ ม. กรุงเทพ จะนำระบบ BI เข้ามาเพื่อช่วยในการหาวิธีการรวบรวมข้อมูลต่างๆ มาบริหารจัดการ ตลอดจนนำไปวิเคราะห์ได้ อันนำไปสู่การใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพนั่นเอง ซึ่งการพัฒนาระบบทั้งหมดจะมาจากศูนย์วิทยาการคอมพิวเตอร์ ภารกิจและเป้าหมายที่สำคัญของมหาวิทยาลัยกรุงเทพในปีนี้ คือการคงไว้ซึ่งการเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำ ที่สร้างและผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพ และเป็นมหาวิทยาลัยที่นำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้งานอย่างสร้างสรรค์และรองรับความต้องการใช้งานของทั้งบุคลากร อาจารย์และนักศึกษาได้เป็นอย่างดี

นำนวัตกรรมไร้สายเสริมแกร่ง ทีพีไอ โพลีน เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการภายในและคู่ค้าทั่วประเทศ__
นายประชัย เลี่ยวไพรัตน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ทีพีไอ โพลีน จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “บริษัท ทีพีไอ โพลีน จำกัด (มหาชน) ได้พัฒนาองค์กรอย่างไม่หยุดยั้ง ด้วยการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ออกสู่สังคม เพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดอย่างต่อเนื่อง โดยมิได้มุ่งหวังเพียงผลประโยชน์ตอบแทนทางธุรกิจแต่ เพียงอย่างเดียว หากแต่ยังมุ่งเน้นการคืนกำไรกลับสู่สังคม ท้องถิ่น และการรักษาสิ่งแวดล้อมเป็นสำคัญ โดยบริษัทได้นำเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่ทันสมัยมาใช้ในการปรับปรุงพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ และกระบวนการผลิตอยู่เสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งได้มีการวิจัยค้นคว้าผลิตภัณฑ์ปูนซีเมนต์และคอนกรีตผสม เสร็จให้สอดคล้องกับความต้องการ และเหมาะสมกับการใช้งานเฉพาะด้าน การค้นคว้าผลิตภัณฑ์เม็ดพลาสติกเกรดใหม่ๆ ที่ก้าวล้ำนำสมัย ประกอบการการพัฒนากระบวนการผลิตที่ทันสมัย ด้วยตระหนักดีว่าการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการประหยัดพลังงานเป็นสิ่งจำเป็น เราจึงดำเนินโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนทิ้งและพัฒนาการใช้พลังงานทดแทน เพื่อขับเคลื่อนองค์กรให้มีศักยภาพในการแข่งขันและเติบโตอย่างมั่นคง และในครั้งนี้ก็เป็นอีกก้าวหนึ่งที่สำคัญที่เราจะได้ใช้เทคโนโลยีสื่อสารจาก ทาง AIS เข้ามามีส่วนช่วยในการพัฒนาองค์กรของเราในการเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่าง ผู้บริหารระดับสูง พนักงานระดับต่างๆ รวมทั้งลูกค้าที่มีอยู่ทั่วประเทศ ให้สามารถติดต่อส่งข่าวสารถึงกันได้อย่างไร้ขอบเขต และสะดวกรวดเร็ว อีกทั้งสามารถประยุกต์ใช้นำเสนอข้อมูลซึ่งประมวลผลเป็น Business Intelligence (BI) ผ่านตัวเครื่อง BlackBerry ได้โดยตรงโดยไม่จำเป็นต้องใช้งานผ่านอุปกรณ์อื่นๆ ทำให้กลายเป็น TPIPL BI Anywhere Anytime”
สำหรับรายละเอียดของบริการจากเอไอเอส แบล็คเบอรี่ ที่พัฒนาขึ้นเพื่อ บริษัท ทีพีไอโพลีน จำกัด (มหาชน) ประกอบด้วย
1. เอไอเอส แบล็คเบอรี่ เมสเซ็นเจอร์ (BB Chat) โดยเป็นลักษณะของการ Broadcastข้อความจากส่วนกลางไปถึงตัวแทนจัดจำหน่ายปูน ซีเมนต์ทั่วประเทศทำให้สามารถสื่อสารข้อมูลสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นการแนะนำผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ, โปรโมชั่นส่งเสริมการขาย รวมถึงข่าวสารและสิทธิพิเศษได้อย่างรวดเร็ว Real Time
2. เอไอเอส แบล็คเบอรี่ Push Email พร้อมฟังก์ชั่นการทำงานครบถ้วน อาทิ Contact, Calendar ทำให้บุคลากรของทีพีไอโพลีน สามารถติดต่อสื่อสารและประสานงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3. เอไอเอส แบล็คเบอรี่ กูเกิ้ล ละติจูด ที่ทำให้สามารถติดตามและมอบความช่วยเหลือให้แก่พนักงานขายที่เดินทางทั่ว ประเทศ
โดยนายประชัย กล่าวว่า “การนำนวัตกรรมใหม่ๆเข้ามาประยุกต์ใช้นั้น ถือเป็นวิสัยทัศน์ขององค์กรที่ต้องเดินหน้าอย่างไม่หยุดยั้ง เพราะนอกเหนือจากจะเสริมศักยภาพด้านการบริหารจัดการที่นำมาซึ่งการเติบโต แล้ว ยังเท่ากับเป็นการยกระดับความสามารถทางการแข่งขันและเสริมภาพลักษณ์ของ องค์กรให้เทียบเท่ากับระดับสากลอีกด้วย”

การวางระบบการนำองค์การของโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์เริ่มจากสิ่งแรกให้ดูว่า ลูกค้าต้องการอะไร แล้วนำมาวัดผลในระดับบุคคล-ฝ่าย-องค์กร
• มีการศึกษาข้อมูลลูกค้า (Customer Characteristics) เปรียบเทียบกันในแต่ละปี (เช่น ลูกค้าภายใน 50% : ลูกค้าภายนอก 50% และลูกค้าคนไทย 60% : ลูกค้าต่างชาติ 40% จาก 120 ประเทศ) แล้วนำมาเชื่อมโยงในการกำหนดยุทธศาสตร์และระบบประกันคุณภาพ

ระบบสารสนเทศทางธุรกิจ บริษัท

ภาพที่ 2 ระบบการนำองค์การของโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์

• มีการสร้าง BI Service Excellence Model ซึ่งเป็นการสร้าง Collaborative Team to satisfy Patients/Customers โดยใช้ 2C1S (Care Clear Smart) ทำ Inside-out Branding คือ ต้องพยายามทำให้ภาพจากภายใน และภาพจากภายนอก มีความใกล้เคียงกัน ซึ่งสามารถทำได้โดยนำหลักการมาพัฒนาสู่แนวทางการปฏิบัติ ดังภาพที่ 3

ระบบสารสนเทศทางธุรกิจ บริษัท

ภาพที่ 3 BI Service Excellence Model ของโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์
• จุดเด่นของโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ คือ
o มีการประชุมทุกทีมทุกสัปดาห์ เพื่อบูรณาการสื่อสาร
o ลูกค้าสามารถนัดผ่าน Internet Appointment รวมทั้งสามารถคำนวณประเมินราคาค่ารักษา ค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับ medical procedures และ FQA ผ่าน internet เพื่อไม่ให้เสียเวลาในการเดินทางมาโรงพยาบาล
o มีระบบ Single Window Database ช่วยลดเวลาและข้อผิดพลาด เช่น แพทย์คีย์สั่งยาผ่านคอมพิวเตอร์ ผู้ป่วยแสดงข้อมูลประจำตัวผ่าน bar-coded ที่ข้อมือ เภสัชกรจ่ายยาโดยดูจากระบบคอมพิวเตอร์ที่แสดงผลรายละเอียดให้พร้อมภาพยาที่ จะจัดให้ลูกค้า
o มีการป้องกันผู้ป่วยเชิงรุกโดยการนำ Best Practice ของที่อื่นมาใช้ในการทำแผนพัฒนาบุคลากร
o มีระบบการสร้าง Knowledge / Innovation Management โดยการกำหนดให้แต่ละกลุ่ม/ฝ่าย มีการจัดเก็บข้อมูล โดยใส่ข้อมูลในถังข้อมูลที่แยกไว้ตามสี ซึ่งโดยส่วนใหญ่ข้อมูลที่จัดเก็บมักเกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในสิ่ง ที่เป็นปัญหาอุปสรรค และวิธีการแก้ไข ทั้งนี้ ทางโรงพยาบาลมีการให้รางวัลแก่พนักงานที่จัดเก็บข้อมูล (“ทำดีทันใด”) สำหรับตัวอย่างรางวัล เช่น คูปองแลกของ (กระเป๋า ตั๋วหนัง)

เทคโนโลยีล่าสุดของไมโครซอฟท์ช่วยให้ ซีเอ็ดยูเคชั่นให้บริการลูกค้าอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ด้วยข้อมูลที่อัพเดทตลอดเวลา เนื่องจากบริษัทฯ มีฐานข้อมูลค้าปลีกขนาดใหญ่หลายร้อยล้านรายการ ฝ่ายจัดการสารสนเทศเชิงกลยุทธ์จึงเล็งเห็นว่าการนำข้อมูลที่มีอยู่ เป็นจำนวนมาก มาประมวลผลเชิงวิเคราะห์ จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการตัดสินใจและวางแผนกลยุทธ์ด้านต่างๆ เพื่อประโยชน์สูงสุดแก่ลูกค้า คู่ค้า และบริษัทฯ เอง ดังนั้น เมื่อไมโครซอฟท์ออกเทคโนโลยีล่าสุด คือ Microsoft SQL Server 2008 R2, Microsoft SharePoint Server 2010 และ Microsoft Office 2010 ซีเอ็ดยูเคชั่นจึงตัดสินใจอัพเกรดระบบไอที เพื่อการทำงาน business intelligence อย่างเต็มรูปแบบ โดยได้นำ Microsoft SQL Server 2008 R2 มาใช้เป็นฐานข้อมูลหลัก เพื่อเชื่อมต่อกับระบบ ERP และระบบหน้าร้าน โดยได้นำมาใช้ในงานด้านต่างๆ ดังนี้
• วิเคราะห์การดำเนินงานของบริษัทฯ เพื่อการตัดสินใจด้านการลงทุนสำหรับผู้บริหาร
• วิเคราะห์และวางแผนผลิตภัณฑ์ สำหรับธุรกิจค้าปลีกซีเอ็ดบุ๊คเซ็นเตอร์
• วิเคราะห์และวางแผน สำหรับธุรกิจขายและจัดจำหน่าย เพื่อประเมินช่องทางการจำหน่าย
• วิเคราะห์ความต้องการหนังสือประเภทต่าง เพื่อธุรกิจการผลิตหนังสือสู่ผู้อ่าน
• วิเคราะห์ความสามารถในการทำกำไรของสินค้า ความสามารถในการขายสินค้า สำหรับฝ่ายการตลาดและผลิตภัณฑ์ เพื่อการวางแผนงานด้านการตลาด

ระบบสารสนเทศทางธุรกิจ บริษัท

โดยขณะนี้ระบบต่างๆ ของบริษัทฯ รวมถึงระบบให้บริการลูกค้าสามารถออนไลน์ตลอด 24 ชั่วโมง หากลูกค้าในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลสั่งสินค้าผ่านจองสินค้าผ่านหน้าร้านและระบบออนไลน์ภายในเวลา 20.00 น. จะสามารถไปรับสินค้าในวันรุ่งขึ้นก่อนเวลา 12.00 น. ซึ่งสามารถช่วยให้บริษัทฯ บรรลุพันธกิจที่มีต่อลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยพบว่า Microsoft SQL Server 2008 R2 มีจุดเด่นคือสามารถเพิ่มความจุในการเก็บข้อมูลได้ และการวิเคราะห์ข้อมูลไม่ล่าช้า ใช้เวลาเป็นวินาที แก้ปัญหาการเสียเวลารอการประมวลผล (idle time) ก่อนหน้านี้ได้เป็นอย่างดี

ระบบสารสนเทศทางธุรกิจ บริษัท

ตารางภาพรวมรายได้ของซีเอ็ดบุ๊คเซ็นเตอร์ แบ่งตามประเภทของสินค้า
และสาขาต่างๆ พร้อมกราฟเปรียบเทียบรายได้ในแต่ละเดือน

โออิชิ เจ้าตลาดชาเขียวไทย มอบหมายให้บริษัท คิวเอดีฯ ผู้นำในธุรกิจให้คำปรึกษาการวางระบบบริหารจัดการทรัพยากรองค์กรและ Supplier chain วางระบบไอทีมูลค่ากว่า 30 ล้านบาท เพื่อเป็นฐานในการขึ้นตำแหน่งผู้ผลิตที่มีนวัตกรรมทันสมัย รวดเร็วและตอบสนองความต้องการลูกค้าได้ทันท่วงที ชี้เป็นยุทธศาสตร์หลักของการดำเนินงานปี 2549 ที่เน้นการบริหารงานแบบสากล มั่นใจในความสามารถซอฟต์แวร์ พร้อมใช้งานและติดตั้งเต็มรูปแบบภายใน 1 ปี นายสมชาย เมฆะสุวรรณโรจน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท คิวเอดี ไอ แอนด์ ไอ จำกัด เปิดเผยถึง การติดตั้งและวางระบบซอฟต์แวร์ MFG/PRO ของ QAD ให้กับบริษัทในกลุ่มโออิชิ มูลค่ากว่า 30 ล้านบาท เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการทั่วทั้งองค์กรตลอดจนซัพพลายเชน ให้กับกลุ่มอุตสาหกรรมบริษัท โออิชิเทรดดิ้ง จำกัด, บริษัท โออิชิกรุ๊ป จำกัด และบริษัท โออิชิราเมน จำกัด โดยจะเข้าไปดำเนินการออกแบบและวางระบบ ตั้งแต่การรับคำสั่งซื้อจากลูกค้า การวางแผนสั่งซื้อวัตถุดิบ การจัดซื้อ การวางแผนควบคุมการผลิต การตรวจสอบคุณภาพ การบริหารสินค้าคงคลัง การจัดส่งสินค้า การติดตั้งระบบบาร์โค้ดทั้งในส่วนของวัตถุดิบ บรรจุภัณฑ์ สินค้าสำเร็จรูป รวมทั้งการออกใบกำกับภาษีและระบบบัญชีการเงิน ทั้งนี้ระบบงานทั้งหมดจะมีการเชื่อมโยงข้อมูลครอบคลุม ทั้งสำนักงานใหญ่ อาคาร ยูเอ็ม ทาวเวอร์ โรงงานนวนคร และโรงงานอมตะนคร นอกจากนี้ยังมีส่วนที่เป็นการจัดทำระบบข้อมูลสำหรับผู้บริหาร (Business Intelligence) อีกด้วย “ การพัฒนาองค์กรให้มีการบริหารจัดการเป็นเลิศ ด้วยระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (ERP) ที่เชื่อมโยงการทำงานในทุกส่วนให้เป็นระบบเดียวกันนั้น มีความจำเป็นอย่างยิ่งกับธุรกิจเครื่องดื่มและอาหารที่มีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว ซึ่งถือเป็นธุรกิจ Fast Moving มีการเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว รสนิยมผู้บริโภคเคลื่อนไหวและแตกต่างตลอดเวลา ดังนั้นสิ่งที่จะทำให้เกิดการได้เปรียบในการแข่งขันทางธุรกิจ คือการมีระบบข้อมูลและกระบวนการทำงานที่สามารถตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงได้อย่างฉับไว ซึ่งบริษัทโออิชิฯ มีการเติบโตแบบก้าวกระโดดมาโดยตลอด การได้รับข้อมูลเชิงวิเคราะห์ผ่านระบบ Business Intelligence จะช่วยการตัดสินใจของผู้บริหารได้อย่างรวดเร็ว เป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจและเสริมสร้างความแข็งแกร่งของแบรนด์ โออิชิ อีกทั้งการนำระบบมาใช้สนับสนุนธุรกิจทุกขั้นตอนยังช่วยลดต้นทุนในการดำเนินงานอีกด้วย และเป็นพื้นฐานของการมีบรรษัทภิบาลที่ดี (Good Corporate Governance) ซึ่งปัจจุบันโออิชิก็เป็นบริษัทมหาชนในตลาดหลักทรัพย์ ” นายตัน ภาสกรนที ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โออิชิ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) กล่าวถึง เหตุผลหลักในการนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (ERP) เข้ามาใช้ และมอบหมายให้ QAD ติดตั้ง ดูแล ดำเนินการระบบซอฟต์แวร์ MFG/PRO ว่า ปี 2549 นี้ ตลาดเครื่องดื่มและอาหารขยายตัวอย่างรวดเร็ว การวางกลยุทธ์ธุรกิจด้วยรากฐานของไอทีที่มั่นคง และได้มาตรฐานเป็นอีกหนทางหนึ่งของการบริหารธุรกิจ เพราะ โออิชิ มีธุรกิจเครื่องดื่มในแบรนด์ที่หลากหมาย อาทิ ชาเขียวพร้อมดื่มโออิชิ กรีนที เครื่องดื่มอะมิโน โอเค นอกจากนี้ยังมีธุรกิจร้านอาหารรวมกว่า 80 สาขาทั้งกรุงเทพ และต่างจังหวัด ไม่ว่าจะเป็น โออิชิ ภัตตาคารบุฟเฟ่ต์ญี่ปุ่น โออิชิ ราเมน โออิชิ แกรนด์ อินแอนด์เอ้าท์ เดอะเบเกอรี่คาเฟ่ ชาบูชิ โออิชิ ซูชิบาร์ ฯลฯ ซึ่งแต่ละธุรกิจต่างก็มีความต้องการวัตถุดิบที่หลากหลาย และต้องการความสดใหม่และมีคุณภาพมาตรฐานอยู่ตลอดเวลา ซึ่งจะต้องมีการบริหารการจัดการทุกขั้นตอนอย่างรัดกุม มีกระบวนการทำงานที่ไม่ซ้ำซ้อน กระชับ ประมวลข้อมูลได้ถูกต้อง รวดเร็ว การควบคุม จัดการสินค้าคงคลัง ทั้งวัตถุดิบและสินค้าสำเร็จรูปทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดต้นทุนในการดำเนินการได้ จะทำให้การบริหารงานของโออิชิ มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
อนึ่ง ระบบไอที เป็นยุทธศาสตร์ธุรกิจระยะยาวที่เป็นมาตรฐานสากล ทำให้เป็นบรรษัทภิบาลที่น่าเชื่อถือกับพันธมิตรธุรกิจ ผู้ถือหุ้น และสาธารณะ ของโออิชิ กรุ๊ปได้อย่างดี เพราะมีระบบการทำงานและข้อมูลเพื่อเป็นพื้นฐานของการเติบโตแบบยั่งยืน สามารถใช้ระบบตรวจสอบข้อมูลย้อนกลับ เพื่อให้ระบบควบคุมคุณภาพเป็นไปตามกฏระเบียบข้อบังคับที่เข้มงวดระดับสากล (Regulations and Compliance) เช่น GMP, ISO9000, HACCP, 21CFR PART11 ได้ อีกทั้งยังสามารถพัฒนาบุคลากรให้มีมาตรฐาน การทำงานที่ได้คุณภาพ ด้วยการแข่งขันทางธุรกิจเครื่องดื่มที่รุนแรง ซึ่งมีมูลค่าตลาดรวมสูงถึง 8,000 — 10,000 ล้านบาท การเสริมระบบไอทีเข้ามาช่วยในการผลิตและการบริหารงาน จะทำให้การตัดสินใจในธุรกิจ แข็งแกร่งขึ้น

AIS มุ่งพัฒนาระบบไอที ต่อยอดผลิตภัณฑ์
วิเชียร เมฆตระการ หัวหน้าคณะเจ้าหน้าที่ผู้บริหาร บริษัท แอดวานซ์อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) กล่าวถึงแผนการพัฒนาระบบไอที ว่า ในปี 2554 นี้ เอไอเอสมีแผนงานที่จะพัฒนาระบบงานไอทีให้เป็นไปตามมาตรฐานต่างๆ เช่น Enterprise Architecture (EA), Service Oriented Architecture (SOA), Web Oriented Architecture (WOA) และมีการกำหนดมาตรฐานในเรื่องการวางสถาปัตยกรรม เรื่องการพัฒนาโปรแกรม เพื่อให้มีการพัฒนาต่อยอดจากผลิตภัณฑ์ที่มีความน่าเชื่อถืออย่างมีมาตรฐานเดียวกัน ซึ่งจะได้ทันต่อความต้องการของธุรกิจสายโทรคมนาคมที่มีการแข่งขันสูง และมีเทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว รวมไปถึงการนำเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาประยุกต์ใช้เพื่อรองรับกับผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ที่จะเกิดขึ้น เช่น Cloud Computing มาปรับปรุงระบบงานให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด รวมทั้งมีการนำโอเพ่นซอร์สมาใช้ในบางระบบงานให้เหมาะสมเพื่อลดต้นทุน ซึ่งทำให้เกิดประสิทธิผลมากที่สุด แผนงานดังกล่าวจะสอดคล้องกับมุมมองในการบริหารงานของเอไอเอส ประกอบด้วย 4 แกน หรือ 4E ได้แก่ Network Excellence, People Excellence, Service Excellence, Technology Excellence เนื่องจากไอทีมีส่วนสำคัญในการสนับสนุนการให้บริการ เพื่อให้งานขับเคลื่อนได้สะดวก รวดเร็ว ทำให้สามารถเก็บข้อมูลเพื่อนำมาวิเคราะห์พฤติกรรมของลูกค้าว่าต้องการสิ่งใด อันเป็นการเอื้อต่อการหาบริการ ที่ตอบโจทย์ความต้องการลูกค้าได้เป้าหมายของเอไอเอสใน จะยังคงโฟกัสอยู่ที่การเป็นอันดับหนึ่งของการเป็นผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ทั้งในด้านคุณภาพและปริมาณ โดยจะมีการเพิ่มเติมในด้านบริการใหม่ๆ ที่มากขึ้นด้วย อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันเอไอเอสมีระบบสนับสนุนงานลูกค้าอยู่หลายระบบ ได้แก่ ระบบงานดูแลลูกค้า, ระบบคิดคำนวณการใช้งานโทรศัพท์เคลื่อนที่, ระบบออกใบแจ้งหนี้, ระบบออกใบเสร็จรับเงิน และระบบบริการตัวเองทางอิเล็กทรอนิกส์

ระบบสารสนเทศทางธุรกิจ บริษัท


ทั้งนี้เอไอเอสเปิดตัว App ให้ลูกค้าองค์กรดู Presentation เต็มรูปแบบบน BB สะดวก ง่าย ชัดเจน เต็มประสิทธิภาพ โดย เอไอเอส จับมือ Quintell Business Intelligence Pte Ltd เปิดตัว Solutions ล่าสุดเพื่อลูกค้าองค์กรที่ใช้ BlackBerry กับ “BlackBerry Dashboard” ที่ให้ผู้บริหารหรือบุคลากรสามารถเปิดดูไฟล์ excel ซึ่งประมวลผลข้อมูลทางสถิติในลักษณะของกราฟหลากหลายรูปแบบ บนหน้าจอ BlackBerry ได้อย่างชัดเจน ง่ายๆเพียงคลิกเดียวเท่านั้น โดยการแสดงผลจะอยู่ในลักษณะเดียวกันกับการดูผ่าน PC หรือ โน้ตบุ้ค ทำให้สามารถวิเคราะห์และประมวลผลได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ แม้ว่าจะอยู่นอก Office

จัดตั้ง “ศูนย์วิจัยไทยพาณิชย์” โดยการมีศูนย์วิจัยฯ นอกจากจะช่วยแบงก์ในการกำหนดกลยุทธ์ และช่วยลูกค้าด้วย ซึ่งมันสำคัญมากต่อโลกที่เปลี่ยนไป ซึ่งตอนนี้การมีกึ๋นอย่างเดียวมันใช้ได้ไม่ได้แล้ว ต้องมีข้อมูลที่ล้อกันไป ซึ่งเรามีการลงไปเก็บข้อมูลในพื้นที่จริง เพื่อลงไปคุยกับผู้ประกอบการ ขึ้นเหนือลงใต้ ซึ่งก็ดีแก่เรา เพราะได้มุมมองหลากหลาย
ประโยชน์ที่แบงก์และตัวลูกค้า จะได้รัการจัดตั้งศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจไทยพาณิชย์ หรือ SCB Center for Economic and Business Intelligence จะยังประโยชน์ในเรื่องข้อมูลเศรษฐกิจและข้อมูลธุรกิจเพื่อใช้ในการตัดสินใจในการดำเนินงานให้กับธนาคาร บริษัทในกลุ่ม และลูกค้าของเรา โดยเฉพาะใช้ในการวางแผนธุรกิจของธนาคาร ซึ่งขณะนี้เราเพิ่ง Set Up ระบบขึ้นมาได้ไม่นาน และมีทีมงานแค่ 13 คน จากที่ตั้งใจว่าจะเต็มทีมที่ 20 คน เพื่อไม่ให้กลายเป็นศูนย์ใหญ่และไม่ให้มากเรื่อง
วัตถุประสงค์สำคัญอีกอย่างคือ การสร้างองค์ความรู้แก่พนักงานธนาคารและในเครือ เพื่อที่จะได้นำความรู้นี้ไปใช้กับลูกค้า ทั้งการขายผลิตภัณฑ์และบริการด้านลูกค้ารายใหญ่ เพราะปัจจุบันการให้สินเชื่อเพียงอย่างเดียว ใครที่ไหนก็ให้ได้ แต่สำคัญต่อไปลูกค้าจะตระหนักถึงเรื่องความรู้และให้ความสำคัญกับปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจมากขึ้น ดังนั้น คนที่จะต้องไปขายของให้ลูกค้า จะต้องมีความรู้ก่อน โดยเฉพาะการให้บริการโดยตรงกับลูกค้า บริษัท ขนาดใหญ่ เอสเอ็มอี กองทุน เป็นกลุ่มที่เราจะเข้าไป นั่นวิสัยทัศน์ของเรา ซึ่งถ้าต้องการรู้ มองภาวะเศรษฐกิจ ก็ต้องคุยกับ 13 คนนี้
4 เดือนที่ผ่านมา เป็นการเริ่มสร้างทีม และการทำงานตอนแรกคือ การเป็นหูเป็นตาให้กับธนาคาร เพราะเรื่องภายนอก ยังไม่ดี ยังไม่เต็มที่ที่จะสื่อออกไปเป็นสาธารณะมาก ตอนนี้ก็แค่สนับสนุนข้อมูลให้แก่ลูกค้า ซึ่งมันต้องปรับไปเรื่อย เพราะลูกค้าก็คอมเมนท์มาว่า รายงานอ่านยาก ดังนั้น มันก็ต้องปรับเปลี่ยน ซึ่งปัญหาหนักของนักเศรษฐศาสตร์ คือ การสื่อสารไม่รู้เรื่อง ศูนย์ฯ จะโฟกัสไปด้านใดบ้าง ลูกค้ากลุ่มไหน
สิ่งสำคัญคือทีมเวิร์ค ซึ่งจะต้องชัดเจน คือ คนนี้เป็นผู้ผลิต คนนี้เป็นผู้เอาข้อมูลไปใช้ ซึ่งศูนย์วิจัยกสิกรไทยขนาดค่อนข้างใหญ่ และมีกลุ่มลูกค้าใหญ่ แต่ไทยพาณิชย์จะดูเฉพาะกลุ่มลูกค้าหลักคือใคร โดยแรกเริ่มคงจับลูกค้าสถาบัน เพราะเป็นกลุ่มแรกที่ต้องการใช้ข้อมูล แทนที่จะไปทำสารพัดเซกเตอร์ แม้ว่าเราจะทำได้ก็ตาม ความต่างของศูนย์วิจัยไทยพาณิชย์ ใช้สโลแกนว่า SCB INSIGHT และใช้เป็นชื่อหนังสือที่ออกมาแล้ว 2 เล่มด้วย ชื่อเต็มๆ คือSCB INSIGHT by Economic Intelligence Center โดยมีเหตุผลไม่ได้แค่วิเคราะห์เศรษฐกิจและเสนอออกมาเป็นตัวเลขเท่านั้น เท่านี้เฉยๆ โดยที่ไม่มี so what ดังนั้น การวิเคราะห์ต้องใหม่ และเอาไปใช้ได้ในการวางแผนธุรกิจหรือเตรียมรับมือล่วงหน้า

ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) หรือทีเอ็มบี ได้เลือกโซลูชั่นอัจฉริยะในด้านการบริหารจัดการสินเชื่อ หรือ Credit Scoring Solution for Banking ของ แซสซอฟต์แวร์ สำหรับโครงการธุรกิจอัจฉริยะอย่างครบวงจรหรือ End to End Business Intelligence Projectโครงการนี้ พัฒนาขึ้นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและความโปร่งใสในการบริหารความเสี่ยงด้านสินเชื่อ โดยมีเครื่องมือการวิเคราะห์ที่มีประสิทธิภาพมาช่วยบริหารข้อมูลความเสี่ยงด้านสินเชื่อ และสามารถรายงานผลไปยังผู้เกี่ยวข้อง "แต่เดิมกระบวนการในการวิเคราะห์ข้อมูลด้านสินเชื่อใช้เวลานาน เนื่องจากมีความซ้ำซ้อนในการตรวจสอบความน่าเชื่อถือของข้อมูลหลายขั้นตอนก่อนนำเสนอรายงาน เพื่อป้องกันปัญหาด้านการปฏิบัติการและความปลอดภัยของข้อมูล ” นางเฟเบี้ยน ลีออง หลุยส์ มารี ลีเบอร์ท ผู้อำนวยการอาวุโส สายงานสินเชื่อรายย่อยธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) หรือทีเอ็มบี กล่าวว่า “โครงการนี้จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารความเสี่ยงด้านสินเชื่อโดยใช้โมเดลข้อมูล และสร้างมาตรฐานการประมวลผลข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งลดระยะเวลาและขั้นตอนที่ซ้ำซ้อนในการตรวจสอบ, การประมวลผล และการนำเสนอข้อมูล นอกจากนั้นยังสร้างความโปร่งใสในด้านคลังข้อมูลความเสี่ยงทั้งหมดด้วย”

ระบบสารสนเทศทางธุรกิจ มีอะไรบ้าง

ระบบสารสนเทศทางธุรกิจ.
ระบบสารสนเทศด้านการบัญชี (accounting information system).
ระบบสารสนเทศด้านการเงิน (financial information system).
ระบบสารสนเทศด้านการตลาด (marketing information system).
ระบบสารสนเทศด้านการผลิตและการดำเนินงาน (production and operations information system).

ระบบสารสนเทศทางธุรกิจมีความสำคัญต่อองค์กรอย่างไร

1. เพื่อการวางแผน กำหนดเป้าหมายและนโยบายในการบริหารองค์กร 2. สามารถวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว 3. ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของบุคลากรในองค์กร 4. ช่วยให้การทำงานรวดเร็ว ถูกต้อง การบริหารงานในองค์กรมีประสิทธิภาพ

เหตุผลที่องค์กรธุรกิจนำระบบสารสนเทศมาใช้ในองค์กรมีอะไรบ้าง

การนำเอาระบบสารสนเทศมาใช้ในองค์กรเนื่องมาจากเหตุผล 3 ประการ คือ ช่วยสนับสนุนกระบวนการทางธุรกิจ เพื่อช่วยให้กระบวนการในองค์กรและการปฏิบัติงานช่วยสนับสนุนการตัดสินใจ (และเพื่อช่วยให้ผู้บริหารมีการตัดสินใจที่ดีขึ้น นอกจากนี้ ยังช่วยหาแนวทางในการตัดสินใจ ช่วยสนับสนุนความได้เปรียบในการแข่งขัน เพื่อช่วยเตรียมสินค้าและบริการ ...

ข้อใดเป็นวัตถุประสงค์ของการใช้ระบบสารสนเทศทางธุรกิจ

ระบบสารสนเทศทางธุรกิจ (Business Information System) เป็นระบบสารสนเทศที่ถูกพัฒนาขึ้น เพื่อสนับสนุนให้การดำเนินงานของธุรกิจให้ดำเนินการอย่างเป็นระบบ โดยถูกออกแบบและพัฒนาให้ปฏิบัติงานตามหน้าที่ทางธุรกิจ ตลอดจนช่วยส่งเสริมให้ทั้งองค์การสามารถประสานงานและใช้ข้อมูลร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพทั้งในระดับปฏิบัติงานและระดับบริหาร ...