ห จก ต้อง ทํา บัญชี อะไรบ้าง

การทำบัญชี ถือเป็นงานพื้นฐานแต่มีบทความสำคัญสำหรับทุกบริษัท หากเริ่มธุรกิจใหม่ยังไม่มีการจดทะเบียนบริษัท และรายรับรายจ่ายมีไม่มาก การทำบัญชี สามารถทำได้ด้วยตนเองและยื่นภาษีแบบบุคคลธรรมดา แต่ถ้าหากเริ่มมีรายได้เข้ามาจำนวนมาก ต้องการขยายกิจการ และตัดสินใจจดทะเบียนบริษัท/ห้างหุ้นส่วนในรูปแบบนิติบุคคล แน่นอนว่าสิ่งหนึ่งที่ต้องพิจารณาคือ การทำบัญชี

เพราะเมื่อจดบริษัทแล้ว จะมีข้อกำหนดหรือกฎหมายต่างๆ ทั้งการ ทำบัญชี และการส่งภาษีเข้ามาเกี่ยวข้องมากขึ้น จึงต้องการความละเอียดมากกว่ารูปแบบธุรกิจเจ้าของคนเดียว และนอกจากทำบัญชีรายการต่างๆที่เกิดขึ้นระหว่างปีแล้ว ยังต้องมีการจัดทำงบการเงิน ตรวจสอบบัญชีและออกรายงานลงชื่อรับรองโดยผู้สอบบัญชีได้รับอนุญาตเป็นประจำทุกปีอีกด้วย

หลายคนมักมีคำถามว่า หากจดบริษัทแต่อยากทำบัญชีเองได้หรือไม่ คำตอบก็คือ หลังจดบริษัท “สามารถทำบัญชีเองได้” แต่! ผู้ทำบัญชีของกิจการต้องมีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กำหนดและนอกจากนี้ยังมีความจำเป็นต้อง “จ้างผู้สอบบัญชี” ที่เป็นอิสระจากกิจการเพื่อรับรองความถูกต้องของบัญชีที่จัดทำเป็นประจำทุกปีด้วยเช่นกัน หรือผู้ประกอบการอาจเลือกใช้บริการบริษัทที่รับจ้างทำบัญชี เพื่อให้ผู้ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญ มาดูแลบัญชีและการยื่นภาษีของกิจการโดยตรงก็ได้เช่นกัน

 

คุณสมบัติของผู้ทำบัญชี ตามเกณฑ์กำหนด

ห จก ต้อง ทํา บัญชี อะไรบ้าง

สำหรับกิจการที่ต้อง การทำบัญชี เอง หรือต้องการจ้างนักบัญชีมาช่วยทำบัญชีให้นั้น นักบัญชีจะต้องมีคุณสมบัติเป็นไปตามเกณฑ์ที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้ากำหนดไว้ ดังนี้

1.ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน บริษัทจำกัด ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ที่มีทุนจดทะเบียนไม่เกิน 5 ล้านบาท มีสินทรัพย์รวมและรายได้รวมไม่เกิน 30 ล้านบาท ต้องมีวุฒิการศึกษาขั้นต่ำระดับ ปวส.ทางการบัญชี ปริญญาตรีทางการบัญชีขึ้นไป

2.ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน บริษัทจำกัด ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ที่มีทุนจดทะเบียนเกิน 5 ล้านบาท หรือมีสินทรัพย์รวม หรือรายได้รวมเกิน 30 ล้านบาท ต้องมีวุฒิการศึกษาระดับปริญญาตรีทางการบัญชีขึ้นไป

3.บริษัทมหาชน ที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ต้องมีวุฒิการศึกษาระดับปริญญาตรีทางการบัญชีขึ้นไป

4.นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศประกอบธุรกิจในไทย ต้องมีวุฒิการศึกษาระดับปริญญาตรีทางการบัญชีขึ้นไป

5.กิจการร่วมค้า ต้องมีวุฒิการศึกษาระดับปริญญาตรีทางการบัญชีขึ้นไป

ดังนั้น หากเจ้าของธุรกิจจะทำบัญชีเอง หรือจ้างผู้ทำบัญชี จะต้องคำนึงถึงประเภทของธุรกิจและขนาดของบริษัทด้วย เพราะถ้าหากผู้ทำบัญชีมีคุณสมบัติไม่ตรงตามเกณฑ์ที่กำหนด อาจถูกปรับสูงสุดถึง 50,000 บาทหรือถ้าไม่ทำบัญชี จะถูกปรับ 3,000 บาท และบวกเพิ่มอีกวันละ 1,000 บาท เมื่อยื่นงบการเงินและภาษี ไม่แจ้งชื่อผู้ทำบัญชี ถูกปรับ 10,000 บาท ไม่ส่งงบการเงิน ถูกปรับ 50,000 บาท เลยทีเดียว

 

จ้างทำบัญชี VS ทำเอง แบบไหนดีกว่ากัน

เมื่อมาถึงตรงนี้อาจเกิดคำถามว่า แล้วแบบนี้การทำบัญชีเองกับจ้างทำบัญชีแบบไหนจะดีกว่ากัน ซึ่งในบางกรณีที่เจ้าของธุรกิจหรือหุ้นส่วนจบด้านการบัญชีมา และมีคุณสมบัติตรงตามเกณฑ์ที่กำหนด ก็สามารถทำบัญชีเองได้ แล้วติดต่อผู้ตรวจสอบบัญชีเพื่อตรวจสอบ ออกรายงานผู้สอบบัญชี เพื่อยื่นงบการเงินและภาษีประจำปี จะช่วยประหยัดต้นทุนในการจ้างทำบัญชีได้

สำหรับเจ้าของธุรกิจที่ไม่มีผู้ทำบัญชีอยู่ในบริษัท หากเป็นบริษัทขนาดใหญ่ มีรายรับรายจ่ายจำนวนมาก อาจจะจ้างผู้ทำบัญชีเป็นพนักงานประจำ หรือถ้าบริษัทมีขนาดเล็กยังมีค่าใช้จ่ายไม่มาก ผู้บริหารอาจทำบัญชีรายรับรายจ่ายเบื้องต้น รวมถึงนำส่งภาษีที่เกี่ยวข้องรายเดือนเอง แต่อย่างไรก็ตาม สำหรับงบการเงินสิ้นปีที่นำส่งจำเป็นต้องมีผู้ทำบัญชีที่มีคุณสมบัติดังที่กล่าวไปด้านบน ลงชื่อเป็นผู้ทำบัญชีให้แก่กิจการ ดังนั้นเราอาจเลือกทางเลือกในการจ้างสำนักงานบัญชี outsource เพื่อตรวจสอบรายการบัญชีที่เกิดขึ้น พร้อมยื่นส่งงบการเงินและภาษีให้ได้

แต่สำหรับบริษัทขนาดเล็ก ไม่แนะนำให้จ้างผู้ทำบัญชีแบบเป็นพนักงานประจำ เนื่องจากค่าจ้างมักจะสูงกว่าจ้างสำนักงานบัญชี outsource หลายเท่าตัว

 

สำนักงานบัญชีช่วยทำอะไรบ้าง

ห จก ต้อง ทํา บัญชี อะไรบ้าง

          เนื่องจากสำนักงานบัญชี เป็นบริษัทที่รวบรวมบริการทางด้านการเงิน บัญชี ภาษีไว้อย่างครบถ้วน ซึ่งนอกจากจะทำบัญชี รายรับรายจ่าย งบกำไรขาดทุน ตรวจสอบความถูกต้อง และยื่นเอกสารส่งหน่วยงานต่างๆ ทั้งกรมสรรพากร กระทรวงพาณิชย์ สำนักงานประกันสังคมให้แล้ว สำนักงานบัญชีที่มีคุณภาพยังเป็นที่ปรึกษาให้คำแนะนำในเรื่องบัญชีภาษีต่างๆให้แก่กิจการได้อีกด้วย

การมีสำนักงานบัญชี หรือผู้ที่มีความรู้ทางด้านบัญชีและภาษี ให้คำปรึกษาแก่กิจการ โดยเฉพาะผู้ประกอบการมือใหม่ถือเป็นสิ่งสำคัญ หรือแม้แต่บริษัทที่จดทะเบียนบริษัทมานานแล้ว แต่อาจหลงลืมในเรื่องของการทำบัญชี ภาษีไปบ้าง เพราะต้องอย่าลืมว่าเมื่อจดบริษัทแล้วจะมีกฎหมายเข้ามาเกี่ยวข้องมากขึ้นอย่างมาก หากเผลอ พลาด หลงลืม อะไรไปบางอย่าง อาจไม่คุ้มกับธุรกิจที่ทำอยู่ก็ได้

ขอบเขตงานที่สำนักงานบัญชีส่วนใหญ่ต้องทำนั้น มีดังนี้

1.ปิดบัญชีทั่วไป เมื่อมีการว่าจ้างสำนักงานบัญชีให้ทำบัญชีรายเดือน ทางสำนักงานทำบัญชีจะรวบรวมเอกสารแต่ละเดือนลงบันทึกบัญชีรายรับ รายจ่ายรายการทั้งหมดที่เกิดขึ้น

2.ยื่นแบบประจำเดือน สำนักงานบัญชีจะเป็นคนจัดทำ และยื่นแบบรายเดือนแทนกิจการ เช่น ยื่นภาษีหัก ณ ที่จ่ายเงินเดือนของพนักงาน ยอดภาษีหัก ณ ที่จ่ายที่หักไว้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ยื่นรายการเงินสมทบประกันสังคม และรายการอื่นๆ ที่จำเป็นต้องยื่นแก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

3.ยื่นแบบประจำปี จัดทำพร้อมยื่นภาษีกลางปี ปลายปี ของกิจการแก่กรมสรรพากร รวมถึงส่งงบการเงินให้กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์

– ยื่นภาษีกลางปี โดยยื่นแบบ ภ.ง.ด.51 ภายใน 2 เดือนนับจากวันสุดท้ายของครึ่งปีแรกของกิจการ เช่นรอบบัญชีของกิจการ คือ 1 มกราคม – 31 ธันวาคม ของทุกปี กิจการต้องนำส่ง ภ.ง.ด.51 ภายในวันที่ 31 สิงหาคม ในปีนั้น สำหรับข้อมูลบัญชีครึ่งปีแรก (1 มกราคม – 30 มิถุนายน)

– ยื่นภาษีสิ้นปี โดยยื่นแบบ ภ.ง.ด.50 พร้อมกับงบการเงินและรายงานผู้สอบบัญชี ภายใน 5 เดือนนับจากสิ้นรอบบัญชีสำหรับห้างหุ้นส่วน หรือ ภายใน 1 เดือนนับจากประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปีสำหรับบริษัท (ต้องประชุมภายใน 4 เดือนนับจากสิ้นรอบบัญชี)

 

จ้างสำนักงานบัญชี คุ้มกว่าจริงหรือ

ต้องยอมรับว่าสำนักงานบัญชีนั้นมีอยู่มากมาย เพื่อให้บริการแก่ผู้ประกอบธุรกิจทุกประเภท ซึ่งก็ทำให้มีการแข่งขันกันสูงเป็นเรื่องปกติ ทั้งลด แลก แจก แถม จัดเซตโปรโมชั่น เรียกว่าไม่ต้องทำบัญชีเอง แค่จ้างสำนักงานบัญชีทำบัญชีให้ ก็ได้บริการเสริมอื่นๆ แถมให้ด้วย แต่อย่างไรก็ตาม การพิจารณาเลือกสำนักงานบัญชีที่จะมาดูแลจะต้องพิจารณาปัจจัยอื่นๆนอกเหนือจากราคาด้วย เช่น

  • มีคุณสมบัติครบถ้วนตามที่กฎหมายกำหนด
  • สำนักงานบัญชีมีตัวตนจริง มีหลักแหล่งชัดเจน
  • ขอบเขตบริการบัญชีที่ตกลงให้บริการ
  • สามารถให้คำปรึกษาในเรืองของบัญชีภาษี แก่กิจการได้หรือไม่

 

ราคาค่าบริการสำหรับการทำบัญชีมักขึ้นอยู่กับจำนวนเอกสารที่เกิดขึ้นในแต่ละเดือนของกิจการ รวมถึงลักษณะธุรกิจ และความซับซ้อนของแต่ละกิจการอีกด้วย ซึ่งค่าบริการนี้ยังไม่รวมถึงบริการตรวจสอบบัญชีรายปีเพื่อตรวจสอบและแสดงความเห็นแก่งบการเงินของกิจการ

สุดท้ายแล้วเราอาจช่างน้ำหนักระหว่างการเลือกที่จะจัดทำบัญชีเอง จ้างพนักงานประจำ หรือเลือกบริการจากสำนักงานบัญชี โดยพิจารณาตัวเลือกที่เหมาะสมที่สุดกับธุรกิจของคุณ อย่างไรก็ตามการที่มีที่ปรึกษามืออาชีพที่ช่วยดูแลทางด้านบัญชี และภาษีให้ย่อมสะดวก และถูกต้องแม่นยำมากกว่าอย่างแน่นอน

PrevPreviousเอกสารทางบัญชี อะไรบ้างที่กิจการต้องเตรียม

Nextประโยชน์ของการทำบัญชี กิจการได้อะไรบ้างNext

ห จก ต้อง ทํา บัญชี อะไรบ้าง

OUR STORY

เรามีชื่อในการช่วยเหลือเจ้าของธุรกิจในเรื่องบัญชีและภาษีเพื่อให้เจ้าของธุรกิจมั่นใจว่าบัญชีและภาษีที่ทำออกมานั้นถูกต้องอีกทั้งเรายังให้คำแนะนำกับเจ้าของธุรกิจโดยเฉพาะธุรกิจขนาดเล็กและธุรกิจที่กำลังเติบโต ซึ่งต้องเผชิญกับความท้าทายในการดำเนินธุรกิจต่างๆ

ไม่ว่าจะเรื่องจำนวนคนหรือเวลาที่มีน้อยกว่าบริษัทระดับ Corporate หรือความรู้ในการบริหารจัดการภาษีซึ่งเราก็มีผู้ตรวจสอบบัญชี CPA คอยให้คำแนะนำกับเจ้าของธุรกิจทุกท่าน

หจก ต้องยื่นอะไรบ้าง

หลังจากจดทะเบียนหจก.(ห้างหุ้นส่วนจำกัด)แล้วจำเป็นต้องยื่นภาษีกลางปีโดยประมาณการกำไรสุทธิของทั้งปี (สำหรับห้างหุ้นส่วนที่เปิดกิจการปีแรกไม่จำเป็นต้องยื่นภาษีกลางปี) โดยทำการยื่นแบบ ภงด.51 ภายใน 2 เดือน นับตั้งแต่ปลายเดือนมิถุนายนเป็นต้นไป

เปิดหจก.ต้องทำบัญชีอะไรบ้าง

บัญชีที่ห้างหุ้นส่วนต้องจัดทำ.
ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล หรือห้างหุ้นส่วนจำกัด มีหน้าที่จัดทำบัญชี โดยให้หุ้นส่วนผู้จัดการเป็นผู้ดำเนินการทำบัญชี มีหน้าที่และความรับผิดชอบดังต่อไปนี้.
บัญชีรายวัน บัญชีแยกประเภท บัญชีสินค้า และบัญชีประเภทอื่นๆ ตามความจำเป็นในการทำบัญชี โดยเริ่มทำตั้งแต่วันที่จดทะเบียนเป็นห้างหุ้นส่วน.

หจก ต้องสอบบัญชีไหม

ถ้าจะจดทะเบียนเลิกกิจการ (ปิด) หจก. จะต้องให้ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต (CPA) ตรวจสอบครับ ไม่มีข้อยกเว้น ถ้ายังไม่ต้องการเลิกกิจการ หจก.ที่มีทุนไม่เกิน 5 ล้าน และสินทรัพย์ไม่เกิน 30 ล้าน และรายได้ไม่เกิน 30 ล้าน การนำส่งงบการเงินให้กับกรมพัฒนาฯ ประจำปี ไม่ต้องมีการตรวจสอบบัญชี (แต่ยังต้องมีผู้ทำบัญชี ที่ขึ้นทะเบียนกับสภา ...

บริษัทต้องจัดทำบัญชีอะไรบ้าง

การเริ่มต้นจัดทำบัญชี ต้องทำอะไรบ้าง.
1. บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนจะต้องจัดให้มีผู้ทำบัญชี ... .
2. ส่งมอบเอกสารประกอบการลงบัญชี ... .
3. จัดทำบัญชีรายวัน บัญชีแยกประเภท บัญชีสินค้า และบัญชีอื่น ๆ ... .
4. ต้องปิดบัญชีภายใน 12 เดือน นับแต่วันที่เริ่มทำบัญชี ... .
5. การจัดทำงบการเงินตามมาตรฐานรายการทางการเงิน.