ข้อคิด เกี่ยวกับการอนุรักษ์พลังงาน

ได้แต่สามารถจะเปลี่ยนรูปหรือเคลื่อนย้ายได้ โดย ว่าพลังงานไม่สามารถสร้างเพิ่มหรือทําภาคใต้ พลังงานทั้งหมดยังคงมีอยู่เหมือนเดิมเช่นรถยนต์เคลื่อนที่ได้เพราะมีเครื่องยนต์ เครื่องยนต์ได้รับพลังงาน ขับเคลื่อนรถยนต์จากน้ํามันเบนซิน โดยน้ํามันเบนซินเป็นพลังงานศักย์ทางเคมีที่ถูกเผาไหม้จนร้อนทําให้ เปลี่ยนสถานะจากพลังงานเคมีเป็นพลังงานความร้อน เครื่องยนต์จึงอาศัยพลังงานความรอนทเดรับ ไปเปลี่ยนเป็นพลังงานกลเพื่อขับเคลื่อนรถยนต์ แต่ความร้อนทั้งหมดไม่สามารถเปลี่ยนเป็นพลังงานกล ได้ทั้งหมด ดังนั้นพลังงานที่ได้รับเท่ากับพลังงานที่ได้ประโยชน์และพลังงานที่สูญเสียไป ดังสูตร

พลังงานที่ได้รับ = พลังงานที่ได้ประโยชน์ + พลังงานที่สูญเสีย


หมายความว่าไม่มีเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ใดๆ ที่จะได้รับประสิทธิภาพจากการใช้ พลังงานเต็ม 100 เปอร์เซ็นต์ กฎของการอนุรักษ์พลังงาน ได้แก่
1) กฎข้อที่หนึ่งของอุณหพลศาสตร์ (The First Law of Thermodynamics) การเปลี่ยนแปลง พลังงานด้านฟิสิกส์และเคมีไม่สามารถทําให้พลังงานสร้างเพิ่มขึ้นหรือทําลายลงได้ แต่อาจเปลี่ยนแปลง รูปแบบของพลังงานจากรูปแบบหนึ่งไปยังอีกรูปแบบหนึ่งได้ดังนั้นปัจจัยนําเข้าพลังงานจึงเท่ากับผลลัพธ์ ที่ได้จากพลังงานคือ ปริมาณพลังงานที่ได้รับเป็นเพียงประโยชน์ที่ได้รับจากการทํางานของพลังงานเท่านั้น
2) กฎข้อที่สองของอุณหพลศาสตร์ (The Second Law of Thermodynamics) เมื่อ พลังงานมีการเปลี่ยนแปลงจากรูปแบบหนึ่งไปยังอีกรูปแบบหนึ่ง การใช้ประโยชน์จากพลังงานจะมีคุณภาพ ลดลงเสมอ กล่าวคือ ยิงพลังงานไปไกลมากเท่าใดประโยชน์ที่จะได้รับยิ่งมีน้อยเท่านั้น เนื่องจากไม่สามารถ แยกคุณภาพของพลังงานออกจากการใช้ประโยชน์ได้
1.1.2 ประสิทธิภาพของพลังงานหรือผลิตภาพของพลังงาน การวัดผลประสิทธิภาพหรือ ผลิตภาพของพลังงานสามารถวัดได้จากจํานวนงานที่ได้รับประโยชน์ในการนําเอาปัจจัยพลังงานเข้าไปสู่กระบวนการหนึ่งๆ เท่านั้น เช่น ในเวลา 1 ชั่วโมง สามารถผลิตรองเท้าได้จํานวน 1,000 คู่ มีการใช้พลังงานไฟฟ้าไป 4 กิโลวัตต์ต่อชั่วโมง (พลังงานไฟฟ้า 1 กิโลวัตต์เท่ากับ 1.000 วัตต์) ดังนั้น ประสิทธิภาพพลังงานเท่ากับ 4,000/1,000 เช้พลังงานจํานวน 4วัตต์ในการผลิตรองเท้า 1 คู่ เป็นต้น

ประสิทธิภาพพลังงาน = พลังงานที่ได้ประโยชน์ / พลังงานที่ใช้จริง

    1.1.3 การประหยัดพลังงานทางเศรษฐศาสตร์ กฎพื้นฐานของการประหยัดพลังงาน ควรนํากิจกรรมทั้งหมดที่ก่อให้เกิดต้นทุนการใช้พลังงานมาคิดรวมกันเพื่อให้ได้ต้นทุนต่อหน่วย เงื่อนไข ของการประหยัดพลังงานจะขึ้นอยู่กับผลประโยชน์ที่ได้รับและจะสัมพันธ์กับการใช้พลังงาน ซึ่ง ไม่ใช้ต้นทุนพลังงานเพียงอย่างเดียว เช่น การขับรถเพื่อขนส่งสินค้าโดยใช้ทางด่วน บนทางด่วนห้ามใช้ ความเร็วรถเกิน 60 กิโลเมตร/ชั่วโมง เพื่อความปลอดภัยและประหยัดน้ํามัน แต่ความเป็นจริง การขนสินค้าที่ช้ากว่ากําหนดอาจทําให้มีต้นทุนเพิ่มขึ้นได้ อาทิ ค่าแรงงานพนักงาน ต้นทุนค่าขนส่งสินค้า เป็นต้น ดังนั้นจํานวนการประหยัดพลังงานที่เหมาะสมอาจกําหนดจากคุณค่าหรือประโยชน์ของการประหยัด พลังงานที่มีเพิ่มขึ้นเท่ากับผลรวมของต้นทุนที่เกิดขึ้นบวกด้วยการลดประโยชน์จากการใช้พลังงานที่ได้รับ

ประโยชน์การประหยัดที่เพิ่มขึ้น - ต้นทุนพลังงานที่เพิ่มขึ้น + ประโยชน์การใช้พลังงานที่ลดลง


    1.1.4 ความหมายของการอนุรักษ์พลังงาน การอนุรักษ์พลังงานเป็นการผลิตและการใช้ พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพและประหยัด นอกจากจะช่วยลดปริมาณการใช้พลังงานแล้วยังเป็น การประหยัดค่าใช้จ่าย และช่วยสร้างจิตสํานึกของการประหยัดพลังงาน ลดปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดจาก การผลิตพลังงาน การสร้างและกําหนดนโยบายด้านพลังงานเป็นอีกแนวทางหนึ่งในการใช้พลังงานอย่าง คุ้มค่า ช่วยอํานวยความสะดวกแก่องค์กรในการจัดการพลังงานและการวางแผนการใช้พลังงานเพื่อให้ เกิดประโยชน์สูงสุด

การใช้พลังงานเชิงอนุรักษ์มีการใช้พลังงานอย่างมีจุดมุ่งหมาย ดังนี้
1) การใช้พลังงานอย่างประหยัดและคุ้มค่า โดยการสร้างค่านิยมและจิตสํานึกการใช้ พลังงานไม่ว่าจะเป็นสมาชิกในครอบครัวหรือพนักงานในองค์กรต่างๆ
2) การใช้พลังงานอย่างรู้คุณค่า ควรมีการวางแผนและควบคุมการใช้พลังงานอย่าง เต็มประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุด มีการลดการสูญเสียพลังงานทุกขั้นตอน มีการตรวจสอบและ ดูแลการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าเพื่อลดการรั่วไหลของพลังงานลง
3) การใช้พลังงานทดแทน โดยเฉพาะพลังงานที่ได้จากธรรมชาติควรพิจารณาเป็น ทางเลือกแรกของการใช้พลังงาน เพราะพลังงานนี้สามารถนํากลับมาใช้ได้อีก เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม พลังงานน้ํา เป็นต้น
4) การเลือกใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ที่มีประสิทธิภาพสูง เพื่อลดการสูญเสียพลังงาน เช่น ใช้เครื่องไฟฟ้าประหยัดไฟเบอร์ 5 เป็นต้น
5) การเพิ่มประสิทธิภาพของเชื้อเพลิง เช่น การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของ น้ํามันเชื้อเพลิงที่จะนํามาใช้เพื่อให้ได้จํานวนพลังงานที่มากขึ้น
6. การนําผลิตภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมมาใช้ เช่น สามารถซอม551 การใช้งานได้ ผลิตใหม่ได้ใช้ใหม่ได้ หมุนเวียนใช้ใหม่ได้ และการถซ่อมแซมได้ เปลี่ยนสภาพ

1.2การอนุรักษ์พลังงานในครัวเรือน (Energy Conservation in Households)
    การอนุรักษ์พลังงานในครัวเรือนแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ

1.2.1 การใช้พลังงาน (Energy Consumptions) ครัวเรือนครัวเรือนที่อาศัยอยู่ในเมืองกับชนบท มีปริมาณการใช้พลังงานที่แตกต่างกัน การใช้พลังงานในครัวเรือน ได้แก่
1) การใช้พลังงานไฟฟ้า ประกอบด้วย อุปกรณ์และเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ เช่น โทรทัศน์ พัดลม เตารีด หม้อหุงข้าว ตู้เย็น เครื่องเล่นซีตารีด หม้อหุงข้าว ตู้เย็น เครื่องเล่นซีดี/ดีวีดี วิทยุ คอมพิวเตอร์ เครื่องซักผ้า เป็นต้น
2) การใช้น้ํามันเชื้อเพลิง ส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับการใช้น้ํามันเชื้อเพลิงสําหรับรถยนต์ รถมอเตอร์ไซค์ รถตู้ ยานพาหนะต่างๆ เป็นต้น

1.2.2 การประหยัดพลังงาน (Energy Saving) ทําได้โดยการลดการใช้พลังงานไฟฟ้า และน้ํามันเชื้อเพลิง ดังนี้
1) การประหยัดพลังงานไฟฟ้า เป็นการลดการใช้อุปกรณ์และเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ ภายในครัวเรือน
2) การใช้ผลิตภัณฑ์เทคโนโลยี และพลังงานทางเลือก เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลมและอุปกรณ์ประหยัดไฟฟ้า เช่น หลอดผอม ประหยัดไฟ โทรทัศน์และคอมพิวเตอร์จอแบนหรือ จอ LCD และ LED รวมถึงเครื่องใช้ไฟฟ้าประหยัด ไฟเบอร์ 5
3) การใช้อุปกรณ์และเครื่องใช้ ไฟฟ้าต่างๆ เช่น เครื่องปรับอากาศควรปรับอุณหภูมิ ให้เหมาะสม เปลี่ยนอุปกรณ์ไฟฟ้าเก่ามาใช้อุปกรณ์ใหม่ ที่ประหยัดไฟกว่าเดิม การปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าเมื่อไม่ใช้ 

ข้อคิด เกี่ยวกับการอนุรักษ์พลังงาน

ภาพที่ 5.1 ฉลากผลิตภัณฑ์ประหยัดไฟเบอร์ 5 งาน การใช้หลอดไฟฟ้าฟลูออเรสเซนต์ของเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ

4) การประหยัดน้ํามันเชื้อเพลิง เป็นการลดการใช้น้ํามันเชื้อเพลิงของรถยนต์ต่างๆ โดยการเปลี่ยนประเภทน้ํามันเชื้อเพลิงที่ใช้และประหยัดการใช้น้ํามัน ดังนี้
    (1) การเปลี่ยนประเภทน้ํามันเชื้อเพลิง โดยเปลี่ยนจากน้ํามันเบนซินมาเป็น น้ํามันแก๊สโซฮอลหรือไบโอดีเซล และแก๊สธรรมชาติ (NGV) เช่น ถ้าใช้น้ํามันแก๊สโซฮอล 91 หรือ 95 ทําให้ประหยัดได้ 10-20 เปอร์เซ็นต์ ดีเซลประหยัดได้ 20-40 เปอร์เซ็นต์ ไบโอดีเซลประหยัดได้ 2251-4454 เปอร์เซ็นต์ และแก๊สธรรมชาติประหยัดได้ 56-68 เปอร์เซ็นต์ และก๊าซปิโตรเลียมเหลวหรือ (LPG) ประหยัดได้ 41-57 เปอร์เซ็นต์

    (2) การใช้น้ํามันเชื้อเพลิงต่างๆ เช่น การเปลี่ยนมาใช้รถขนาดเล็กที่ประหยัด จะนการใช้รถยนต์ที่มีเครื่องยนต์ 2 ระบบ เช่น น้ํามันเบนซินและแก๊สธรรมชาติหรือไฟฟ้า การเปลี่ยน อนเชื้อเพลิงมาเป็นแก๊ส NGV และ LPG การใช้น้ํามันดีเซลและไบโอดีเซล

1.2.3 การอนุรักษ์พลังงาน (Energy Conservations) การอนุรักษ์พลังงานสําหรับอุปกรณ์ และเครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือนคือการนําพลังงานมาใช้หมุนเวียนและการนํากลับมาใช้ใหม่ เช่นการใช้น้ํา ในการล้างรถสามารถใช้ถังแทนการใช้สายยางฉีด ใช้น้ําที่เหลือจากการซักผ้ามารดต้นไม้ การใช้เตารีดใน การรีดผ้าควรตั้งอุณหภูมิที่เหมาะสมและรีดผ้าคราวละมากๆ เป็นต้น 1.3 การอนุรักษ์พลังงานในองค์กร (Energy Conservation in Organizations)

ไม่ว่าจะเป็นองค์กรภาครัฐหรือภาคเอกชนต่างก็มีบทบาทในการใช้พลังงาน การประหยัด พลังงาน และการอนุรักษ์พลังงานทั้งสิ้น เนื่องจากองค์กรมีการใช้พลังงานสูงเมื่อเปรียบเทียบกับ ภาคครัวเรือนหากมีการเติบโตทางเศรษฐกิจมากเท่าใดก็ยิ่งมีการใช้พลังงานมากเท่านั้นการอนุรักษ์พลังงาน ในองค์กร ได้แก่

1.3.1 การอนุรักษ์พลังงานในองค์กรภาครัฐ (Energy Conservation in Organizations govemment) มี 2 ส่วนที่สําคัญคือ การอนุรักษ์พลังงานจากการใช้อุปกรณ์และเครื่องใช้ไฟฟ้าในสํานักงาน และการใช้น้ํามันเชื้อเพลิงสําหรับยานพาหนะต่างๆ เช่น การอนรักษ์พลังงานในอาคารและสํานักงาน ควรปิดแอร์ก่อนเลิกงาน 30 นาที ปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ไม่จําเป็น ใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ประหยัดไฟ เป็นต้น

1.3.2 การอนุรักษ์พลังงานในองค์กรภาคเอกชน (Energy Conservation in Organizations private sector) มีลักษณะเช่นเดียวกันกับการอนุรักษ์พลังงานของภาครัฐ แต่มีความแตกต่างกัน ตรงที่ภาคเอกชนอาจเป็นกิจการขนาดกลางจนถึงขนาดใหญ่ปริมาณการใช้พลังงานจะขึ้นอยู่กับรูปแบบของ กิจการซึ่งสามารถประหยัดพลังงานได้โดยลดการใช้พลังงานไฟฟ้าและน้ํามันเชื้อเพลิง เช่นปิดเครื่องจักร เมื่อเลิกใช้งานซ่อมบํารุงเครื่องจักรให้อยู่ในสภาพที่พร้อมใช้งาน ลดการทิ้งขยะที่ไม่จําเป็นหรือหมุนเวียน นํากลับมาใช้ใหม่ ปรับโครงสร้างของเครื่องมือ เครื่องจักรเพื่อลดการใช้พลังงาน เป็นต้น

ข้อคิดเกี่ยวกับการอนุรักษ์พลังงานคืออะไร

การอนุรักษ์พลังงาน” หมายถึง การผลิตและการใช้พลังงานอย่างประหยัดและมีประสิทธิภาพ ซึ่งช่วยลดปริมาณการใช้พลังงาน ส่งผลให้ค่าใช้จ่ายด้านพลังงานลดลง นอกจากนี้ยังช่วยลดปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงได้ด้วย

เหตุใดจึงต้องมีการอนุรักษ์พลังงาน

การอนุรักษ์พลังงาน คือ การผลิตและการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพและประหยัดการอนุรักษ์พลังงานนอกจากจะช่วยลดปริมาณการใช้พลังงาน ซึ่งเป็นการประหยัด ค่าใช้จ่ายในกิจการแล้ว ยังจะช่วยลดปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากแหล่งที่ใช้และผลิตพลังงานด้วย การสร้างนโยบายด้านพลังงานของรัฐบาลเป็นอีกแนวทางหนึ่งในการใช้พลังงานอย่างคุ้มค่า

การอนุรักษ์พลังงาน มีอะไรบ้าง

มาตรการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม.
ปิดสวิตช์ไฟ และเครื่องใช้ไฟฟ้าทุกชนิดเมื่อเลิกใช้งาน สร้างให้เป็นนิสัยในการดับไฟทุกครั้งที่ออกจากห้อง.
ใช้หลอดไฟประหยัดพลังงาน.
หมั่นทำความสะอาดหลอดไฟจะช่วยเพิ่มแสงสว่าง โดยไม่ต้องใช้พลังงานมากขึ้น ควรทำอย่างน้อย 4 ครั้งต่อปี.

ประหยัดพลังงาน ดียังไง

การประหยัดพลังงานถือเป็นวิธีแก้ปัญหาที่ก่อให้เกิดผลดีต่อทุกฝ่าย โดยเฉพาะประชาชนผู้ใช้ไฟฟ้าที่จะได้ประโยชน์สูงสุดในการช่วยลดรายจ่ายของครอบครัว ขณะเดียวกันก็ส่งผลพลอยได้ทำให้ปริมาณการใช้พลังงานในภาพรวมของประเทศลดลงจึงช่วยลดความเสี่ยงในการขาดแคลนพลังงานของประเทศ ส่งผลให้การนำเข้าน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ (LNG) ที่มีราคาแพงจาก ...