ประกาศเขตพื้นที่ประสบภัย พิบัติ 2565 ศรีสะเกษ

เมื่อวันที่ 26 ต.ค. 65 นายเข้มแข็ง ยุติธรรมดำรง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร นำทีมเจ้าหน้าที่ลงสำรวจพื้นที่เกษตรที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยในจังหวัดศรีสะเกษและอุบลราชธานี โดยอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า เพื่อความรวดเร็วในการเยียวยาเกษตรกรหลังน้ำลด จึงมอบหมายให้หน่วยงานของกรมส่งเสริมการเกษตรทุกแห่งเตรียมดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อสนับสนุนการทำงานของเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ที่ประสบภัย ทั้งการเข้าสำรวจพื้นที่ภายหลังน้ำลด, การจัดเตรียมเชื้อราไตรโคเดอร์มาจากศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีด้านการอารักขาพืช (ศทอ.), การจัดเตรียมเมล็ดพันธุ์และต้นพันธุ์พืช ภายใต้โครงการผลิตพืชพันธุ์ดีสำรองใช้ในกรณีช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประสบภัยและใช้ในภารกิจของกรมส่งเสริมการเกษตร ได้แก่ เมล็ดพันธุ์พืชผัก ประกอบด้วย พริก มะเขือเปราะ ถั่วฝักยาว ถั่วพู และกระเจี๊ยบเขียว ต้นพันธุ์พืชผักพืชอาหาร และต้นพันธุ์ไม้ผลไม้ยืนต้น จากศูนย์ขยายพันธุ์พืช (ศขพ.)

ทั้งนี้ จากการรายงานสถานการณ์ในพื้นที่เกษตร (ข้อมูล ณ วันที่ 25 ตุลาคม 2565) จังหวัดศรีสะเกษคาดว่าจะมีพื้นที่เกษตรได้รับความเสียหาย 323,416 ไร่ แบ่งเป็น ข้าว 297,608 ไร่ พืชไร่และพืชผัก 24,795 ไร่ ไม้ผลไม้ยืนต้นและอื่นๆ 1,013 ไร่และเกษตรกรได้รับผลกระทบ 51,612 ราย

ส่วนภาพรวมพื้นที่เกษตรทั่วประเทศได้รับผลกระทบ 58 จังหวัด โดยคาดว่าจะมีความเสียหาย 5,190,233.50 ไร่ แบ่งเป็น ข้าว 3,465,053.50 ไร่ พืชไร่และพืชผัก 1,645,440.00 ไร่ ไม้ผลไม้ยืนต้นและอื่น ๆ 79,740.00 ไร่ เกษตรกรได้รับผลกระทบรวม 621,265 ราย และมีการประกาศเขตให้ความช่วยเหลือแล้ว 52 จังหวัด (ข้อมูล ณ วันที่ 26 ตุลาคม 2565 เวลา 14.00 น.)

อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวเพิ่มเติมว่า การเยียวยาเกษตรกรจะเป็นไปตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ. 2562 หลักเกณฑ์การใช้จ่ายเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ. 2563 และหลักเกณฑ์วิธีปฏิบัติปลีกย่อยเกี่ยวกับการให้ความช่วยเหลือด้านการเกษตรผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ. 2564 โดยมีอัตราการช่วยเหลือดังนี้

ข้าว 1,340 บาทต่อไร่ พืชไร่และพืชผัก 1,980 บาทต่อไร่ ไม้ผลไม้ยืนต้นและอื่นๆ 4,048 บาทต่อไร่ และไม่เกินครัวเรือนละ 30 ไร่ ทั้งนี้เกษตรกรต้องขึ้นทะเบียนเกษตรกร และปรับปรุงทะเบียนเกษตรกรกับกรมส่งเสริมการเกษตรก่อนเกิดภัย มีพื้นที่เสียหายจริง และอยู่ในพื้นที่ประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือฯ

จากการสำรวจพบว่า สถานการณ์น้ำเอ่อล้นตลิ่งบริเวณที่ลุ่มต่ำ ไหลเข้าท่วมบ้านเรือนและพื้นที่การเกษตร ส่งผลให้ราษฎรในอำเภอเมืองอุบลราชธานี วารินชำราบ ตาลสุม เขื่องใน ดอนมดแดง พิบูลมังสาหาร สว่างวีระวงศ์ และอำเภอนาเยียได้รับความเดือดร้อน โดยจังหวัดอุบลราชธานีได้ประกาศเป็นพื้นที่ประสบสาธารณภัย/เขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินอุทกภัยแล้ว สำหรับสถานการณ์น้ำในแม่น้ำสายสำคัญ เขื่อนธาตุน้อย (แม่น้ำชี) มีความจุ ที่ระดับกักเก็บ 56.10 ล้านลูกบาศก์เมตร ปริมาณน้ำปัจจุบัน 98.29 ล้านลูกบาศก์เมตร แนวโน้มเพิ่มขึ้นมากกว่าปีที่แล้ว 25.70 ล้านลูกบาศก์เมตรคิดเป็น 105.90% เขื่อนราษีไศล,เขื่อนหัวนา (แม่น้ำมูล) มีความจุที่ระดับกักเก็บ 139.44 ล้านลูกบาศก์เมตร ปริมาณน้ำปัจจุบัน 304.24 ล้านลูกบาศก์เมตร มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นมากกว่าปีที่แล้ว 130.16 ล้านลูกบาศก์เมตรคิดเป็น 74.77% เขื่อนปากมูล(แม่น้ำมูล) มีความจุที่ระดับกักเก็บ 225.00 ล้านลูกบาศก์เมตร ระดับน้ำหน้าเขื่อนปัจจุบัน 103.14 ม.รทก.ระบาย 497.94 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อวัน นอกจากนี้ยังพบถนนสายหลักที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย รถเล็กสัญจรได้ลำบาก ได้แก่ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 24 สายทางต่างระดับสีคิ้ว - อุบลราชธานี หรือถนนสีคิ้ว - เดชอุดม และ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 226 สายหัวทะเล – วารินชำราบ โดยในวันจันทร์ที่ 3 ตุลาคม 2565 จะมีการประชุมคณะทำงานศูนย์อำนวยการและประสานงานให้ความช่วยผู้ประสบอุทกภัย เพื่อสรุปผลการบินตรวจสถานการณ์อุทกภัย และวางแผนการให้ความช่วยเหลือประชาชน ร่วมกับศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดอุบลราชธานีต่อไป 

ศรีสะเกษ !! ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำนายกรัฐมนตรีมอบถุงยังชีพให้แก่ผู้ประสบอุทกภัยตำบลขะยูง อำเภออุทุมพรพิสัย

วันนี้ (8 ตุลาคม 2565) ที่บ้านโพนเมือง หมู่ 7 ตำบลขะยูง อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ นายพรศักดิ์ เจริญประเสริฐ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำนายกรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่ประจำกระทรวงแรงงาน กล่าวว่า จากสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ รวมถึงอิทธิพลจากพายุโนรู เมื่อวันที่ 21 กันยายน 2565 ทำให้ประชาชนในพื้นที่ของจังหวัดศรีสะเกษ พื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์อุทกภัย ถึงวันที่ 5 ตุลาคม 2565 มีจำนวน 22 อำเภอ ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 37,416 ครัวเรือน จำนวน 149,664 คน ซึ่งขณะนี้อ่างเก็บน้ำ ภายในจังหวัด จำนวน 18 แห่ง มีปริมาณน้ำเกิน 100 เปอร์เซ็นต์ ทุกแห่ง ด้านการคาดการณ์สถานการณ์ โดยศูนย์บัญชาการเหตุการณ์จังหวัดศรีสะเกษ ได้แจ้งเตือนประชาชนต่อเนื่อง ในห้วง ระหว่างวันที่ 28 กันยายน 2565 - 22 ตุลาคม 2565 จะมีฝนตกหนัก และลมแรง มีฝนตกเป็นบริเวณกว้างทั่วทุกอำเภอ ให้ระวังเกิดน้ำป่าไหลหลากในเขตพื้นที่เสี่ยงเชิงเขาและน้ำไหลเอ่อล้นตลิ่งท่วมขังในเขตพื้นที่ราบลุ่ม ส่งผลกระทบต่อพื้นที่การเกษตร พื้นที่ชุมชนและเส้นทางคมนาคมกระทรวงแรงงาน มีความห่วงใย และให้ทุกจังหวัดที่ประสบภัยน้ำท่วมดำเนินการตามมาตรการช่วยเหลือผู้ประสบภัยของศูนย์อำนวยการกระทรวงแรงงานอย่างเร่งด่วน โดยได้มอบหมายให้ นายพรศักดิ์ เจริญประเสริฐ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติหน้าที่ประจำกระทรวงแรงงาน ลงพื้นที่เพื่อเยี่ยมเยียนและให้กำลังใจแก่ประชาชนพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ รวมถึงส่งมอบกำลังใจผ่านถุงยังชีพ จำนวน 246 ถุง ซึ่งมีความจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับผู้ประสบภัยได้ใช้ประโยชน์ โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากสถานประกอบการภายในจังหวัด ข้าราชการเจ้าหน้าที่ หน่วยงานในสังกัดกระทรวงแรงงาน ในการจัดทำดังกล่าวดังนั้น จึงขอเป็นกำลังใจแก่พี่น้องผู้ประสบภัยทุกคน ให้สถานการณ์ผ่านพ้นไปด้วยดี ภายหลังน้ำลด ในระยะช่วงฟื้นฟู เยียวยาผู้ประสบภัย กระทรวงแรงงานยังมีความพร้อมในการให้ความช่วยเหลือด้านอาชีพ สร้างรายได้ เช่น การจัดหางานฝึกพัฒนาทักษะฝีมือ และให้บริการด้านประกันสังคมแก่แรงงานที่ประสบภัยทุกคนต่อไป