อัลกอริทึมกับการแก้ปัญหา ป.3 ใบงาน

  • Worksheets
  • Thai
  • เทคโนโลยี
  • วิทยาการคำนวณ
  • 8.อัลกอริทึม ป.3

Show

Share on social networks

Language: Thai

Subject: เทคโนโลยี > วิทยาการคำนวณ

School grade: Thailand > ประถมศึกษา > ประถมศึกษาปีที่ 3

Age: 8 - 9

วีระพงษ์ สักใหญ่

Report worksheet

Other worksheets of เทคโนโลยี: วิทยาการคำนวณ

อัลกอริทึมกับการแก้ปัญหา ป.3 ใบงาน

ใบงานที่6.1 การประเมินความน่าเชื่อถือของข้อมูล

อัลกอริทึมกับการแก้ปัญหา ป.3 ใบงาน

รหัสลำลอง 2

อัลกอริทึมกับการแก้ปัญหา ป.3 ใบงาน

กระดานคัมบัง ลอยกระทง

อัลกอริทึมกับการแก้ปัญหา ป.3 ใบงาน

ใบงานที่ 3.1 ป.4

Finish worksheet

The time to complete this worksheet is over. Complete the data to send the answers to your teacher

Send answers to teacher

Share on social networks


Twitter


Facebook


Google Classroom


Pinterest


Whatsapp

Record your answer

Record your answer

Play your answer

ระดับชั้น : ประถมศึกษาปีที่ 3
หน่วยที่ : 1
เรื่อง : แสดงอัลกอริทึมในการทำงานหรือแก้ปัญหา
อย่างง่ายโดยใช้ภาพ สัญลักษณ์ หรือข้อความ
สาระ : สาระที่ 4 เทคโนโลยี
ตัวชี้วัด : ว 4.2 ป 3/1 แสดงอัลกอริทึมในการทำงานหรือการแก้ปัญหาอย่างง่าย
โดยใช้ภาพ สัญลักษณ์ หรือข้อความ

การใช้แนวคิดเชิงคำนวณในการแก้ปัญหา
เป็นทักษะการแก้ปัญหา โดยใช้วิธีการคิดอย่างเป็นระบบ โดยต้องรู้จักแยกแยะปัญหา เข้าใจความสำคัญของปัญหา รู้จักวิเคราะห์รูปแบบของปัญหา และแสดงลำดับขั้นตอนการแก้ปัญหา

ใบความรู้

อัลกอริทึม (ALGORITHM)

อัลกอริทึม คือการแสดงลำดับการแก้ปัญหาที่สามารถอธิบายออกมาเป็น ขั้นตอนหรือคำสั่งการทำงานที่ชัดเจนและละเอียด โดย การแสดงอัลกอริทึมสามารถทำได้โดยการเขียน บอกเล่า วาดภาพ หรือใช้สัญลักษณ์ โดยการเขียนนั้นต้องเขียนให้ ละเอียด ชัดเจน เป็นขั้นตอนเข้าใจง่ายและมีการเรียงลำดับขั้นตอนที่ถูกต้อง

ตัวอย่างปัญหาและการแสดงลำดับขั้นตอนการแก้ปัญหา (อัลกอริทึม)

เด็กชายเคนมักมาโรงเรียนสาย คุณครูจึงถามว่าเพราะเหตุใด เด็กชายเคนจึงตอบว่า ก็ตื่นมาแล้วไม่แน่ใจว่าต้องทำอะไรบ้างจึงทำให้สับสน คุณครูจึงให้แสดงลำดับขั้นตอนการทำกิจวัตรประจำวันในตอนเช้าก่อนไปโรงเรียนเพื่อนำไปใช้ในการเรียงลำดับการทำกิจวัตรประจำวันในตอนเช้า

อัลกอริทึมกับการแก้ปัญหา ป.3 ใบงาน

การเรียงลำดับของคำสั่ง (ORDER)

การเขียนอัลกอริทึมนั้นจำเป็นต้องเรียงลำดับขั้นตอนให้ถูกต้อง เมื่อนำ อัลกอริทึมไปใช้แก้ปัญหาหรือทำงานแล้วจะได้ผลลัพธ์ที่ถูกต้อง

ตัวอย่างการเขียนอัลกอริทึม (ALGORITHM) การทำคัพเค้ก

อัลกอริทึมกับการแก้ปัญหา ป.3 ใบงาน

การแสดงอัลกอริทึมในการทำงานหรือการแก้ปัญหาทำได้หลายวิธีดังนี้

1. การแสดงอัลกอริทึมด้วยการเขียนบอกเล่า
เป็นการแสดงลำดับขั้นตอนการแก้ไขปัญหาด้วยการเขียนบอกเล่า เป็นวิธีการวางแผนการแก้ไขปัญหาโดยการเขียนลำดับการทำงานโดยใช้ภาษาหรือข้อความที่เข้าใจง่ายกะทัดรัด สามารถสื่อถึงสิ่งที่ต้องทำได้อย่าง ชัดเจน ตัวอย่างเช่น

อัลกอริทึมกับการแก้ปัญหา ป.3 ใบงาน

2. การแสดงอัลกอริทึมด้วยการวาดภาพ
โดยปกติการแก้ปัญหาจำเป็นต้องคิดก่อนลงมือปฏิบัติ นักแก้ปัญหาทั่วไปจะวาดภาพหรือจินตนาการลำดับวิธีการแก้ไขปัญหาในสมองก่อน การแสดงลำดับขั้นตอนการแก้ปัญหาหรือการทำงานด้วยการใช้รูปภาพจึงเป็นวิธีการที่คล้ายกันเพียงแต่จะเขียนออกมาเป็นภาพซึ่งสามารถทำให้จดจำได้ง่ายกว่าการเขียนเป็นข้อความ

ตัวอย่างปัญหา : ลิปดาถามคุณแม่ว่า ลิปดาสามารถเปลี่ยนอัลกอริทึมของคุณแม่ที่เขียนบอกเล่าเป็นอย่างอื่นได้ไหมคะ คุณแม่ตอบว่าได้ซิ เราสามารถแสดง อัลกอริทึมในการทำงานหรือการแก้ปัญหาโดยใช้ภาพได้นะ

อัลกอริทึมกับการแก้ปัญหา ป.3 ใบงาน

3. การแสดงอัลกอริทึมด้วยการใช้สัญลักษณ์
เป็นการใช้สัญลักษณ์เพื่อสื่อความหมายในแต่ละลำดับขั้นตอนในการแก้ปัญหา ซึ่งสัญลักษณ์แต่ละชนิดจะต้องมีความหมายที่แตกต่างกัน เพื่อให้ง่ายต่อการจดจำ ตัวอย่างเช่น การแสดงอัลกอริทึมด้วยการใช้ผังงานซึ่งมีสัญลักษณ์ที่ใช้เป็นมาตรฐานในการเขียนผังงาน ดังต่อไปนี้

อัลกอริทึมกับการแก้ปัญหา ป.3 ใบงาน

ตัวอย่างการแสดงอัลกอริทึมด้วยการใช้ผังงาน (FLOWCHART)

จากสัญลักษณ์ที่เป็นมาตรฐานในการเขียนผังงาน การแสดงอัลกอริทึมโดยใช้ผังงานต้องเริ่มด้วยลัญลักษณ์ เริ่มต้นและสิ้นสุดการทำงานด้วยการใช้สัญลักษณ์สิ้นสุดและในแต่ละลำดับขั้นตอนจะต้องมีลูกศรกำหนดทิศทางการทำงาน ดังตัวอย่าง การแสดงอัลกอริทึมการต้มไข่ยางมะตูม

อัลกอริทึมกับการแก้ปัญหา ป.3 ใบงาน

การใช้แนวคิดเชิงคำนวณในการแก้ไขปัญหา

เป็นการแก้ไขปัญหาโดยใช้วิธีการคิดอย่างเป็นระบบ ซึ่งผู้เรียนต้องเรียนรู้การแบ่งแยกปัญหา การคิดเชิงนามธรรมหรือเข้าใจความสำคัญของปัญหา หารูปแบบของปัญหา และนำมาแสดงลำดับขั้นตอนการแก้ไขปัญหา

อัลกอริทึมกับการแก้ปัญหา ป.3 ใบงาน

แนวคิดเชิงคำนวณประกอบด้วยส่วนสำคัญ 4 ส่วนดังต่อไปนี้
การแยกส่วนประกอบของปัญหา
เป็นกระบวนการแบ่งแยกส่วนประกอบของปัญหา ออกเป็นส่วนย่อยๆ เพื่อง่ายต่อการแก้ไขปัญหา

การคิดเชิงนามธรรม
เป็นการมุ่งความคิดไปที่ข้อมูลสำคัญ และคัดกรองส่วนที่ไม่เกี่ยวข้องออกไป เพื่อให้จดจ่อเฉพาะสิ่งที่เราต้องการจะทำ

การหารูปแบบของปัญหา
เป็นกระบวนการหาความสัมพันธ์ของปัญหา โดยการเปรียบเทียบ จัดกลุ่ม การเรียงลำดับ

การออกแบบขั้นตอนการแก้ปัญหา
เป็นการแสดงขั้นตอนการวางแผนการแก้ไขปัญหาซึ่งสามารถทำได้โดยเขียนข้อความ, วาดภาพ หรือการใช้สัญลักษณ์

การจัดระเบียบกิจวัตรประจำวันในตอนเช้า

ตัวอย่างสถานการณ์ : ลิปดามักจะต้องรีบทำกิจวัตรประจำวันตอนเช้าเสมอแม้ว่าคุณแม่จะปลุกให้ตื่นตั้งแต่ 6 โมงเช้า คุณแม่จึงอยากให้ลิปดาหาวิธีการแก้ปัญหานี้

อัลกอริทึมกับการแก้ปัญหา ป.3 ใบงาน

จากปัญหากิจวัตรประจำวันในตอนเช้าของลิปดา

ในแต่ละวันลิปดาจะมีกิจวัตรประจำวันโดยเมื่อตื่นนอนเวลา 6 โมงเช้า เริ่มเก็บผ้าห่มและที่นอนให้เรียบร้อยใน 5 นาที ใช้เวลาอาบน้ำ 20 นาที แต่งตัว 15 นาที กินข้าว 20 นาที และใช้เวลาเดินทางไปโรงเรียน 1 ชั่วโมง ทำให้สามารถถึงโรงเรียนได้ในเวลา 08:00 น.

อัลกอริทึมกับการแก้ปัญหา ป.3 ใบงาน

ลิปดาจึงแสดงอัลกอริทึมการทำกิจวัตรประจำวันก่อนไปโรงเรียนได้ดังนี้

อัลกอริทึมกับการแก้ปัญหา ป.3 ใบงาน

ตัวอย่างการใช้แนวคิดเชิงคำนวณในแก้ปัญหาเกม TETRIS

อัลกอริทึมกับการแก้ปัญหา ป.3 ใบงาน

Tetris เป็นเกมที่จะ มีบล็อกรูปร่างต่างๆ ตกลงมา ผู้เล่นเกมต้องพยายามจัดวางบล็อกที่ตกลงมาให้เต็มแถว เกมนี้จะพัฒนา ทักษะการคิดอย่างเป็นระบบ และเน้นการแก้ปัญหาด้วยการวางแผนก่อนลงมือทำ ซึ่งเมื่อเกิดปัญหาในชีวิตประจำวัน นักเรียนสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้

1.การคิดเชิงนามธรรม คือ เกมจะมีบล็อกร่วงตกลงมาแบบสุ่มและให้ผู้เล่นหมุนบล็อกเพื่อนำบล็อกมาต่อกันจนให้เต็มแถวได้ โดยหากสามารถทำให้เต็มแถวได้ก็จะได้คะแนนและแถวนั้นจะหายไป แต่หากต่อไม่เต็มแถวนอกจากแถวจะไม่หายไปแล้วตัวต่อที่เหลือก็จะทับทมสูงขึ้นเรื่อยๆ โดยหากแถวทับถมจนเต็มพื้นที่เล่นเกมจะทำให้เกมจบลง ดังนั้นผู้เล่นต้องพยายามต่อให้เต็มแถวด้านล่างสุดก่อนเพื่อไม่ให้เกิดการทับถมของแถว

2. การแยกส่วนประกอบของปัญหา สามารถแบ่งแยกลักษณะของบล็อกได้ 7 ลักษณะ โดยมีลักษณะคล้ายตัวอักษรดังนี้

อัลกอริทึมกับการแก้ปัญหา ป.3 ใบงาน

3. การหารูปแบบของปัญหา จากลักษณะของบล็อกทั้ง 7 แบบ เมื่อทำการหมุนบล็อกจะสามารถแบ่งรูปแบบของความยาวของบล็อกออกได้เป็น 4 แบบคือ 1 หน่วย 2 หน่วย 3 หน่วย และ 4 หน่วย เพื่อที่สามารถนำลงวางในตำแหน่งที่มีช่องว่างได้

อัลกอริทึมกับการแก้ปัญหา ป.3 ใบงาน

YouTube Video

ผังงาน  (Flowchart)  

             คือ  แผนภาพแสดงการทำงานของโปรแกรม  โดยใช้สัญลักษณ์แสดงขั้นตอนและลักษณะการทำงานแบบต่างๆ  สัญลักษณ์เหล่านี้จะถูกเชื่อมโยงด้วยลูกศรเพื่อแสดงลำดับการ

ทำงาน  ช่วยให้มองเห็นภาพการทำงานโดยรวมของโปรแกรม  สะดวกต่อการตรวจสอบความถูกต้องของลำดับการทำงานและการไหลของข้อมูลในโปรแกรม  การเขียนผังงานจะใช้สัญลักษณ์สื่อสารความหมายให้เข้าใจตรงกันของสถาบันมาตรฐานแห่งชาติอเมริกัน (The American National Standard Institute, ANSI) ได้กำหนดสัญลักษณ์ไว้เป็นมาตรฐาน  ซึ่งมี

รายละเอียดรูปแบบและความหมายที่ควรทราบตามตารางต่อไปนี้  

 ตารางแสดงสัญลักษณ์ที่ใช้ในการเขียนผังงาน

อัลกอริทึมกับการแก้ปัญหา ป.3 ใบงาน

อัลกอริทึมกับการแก้ปัญหา ป.3 ใบงาน

อัลกอริทึมกับการแก้ปัญหา ป.3 ใบงาน

อัลกอริทึมกับการแก้ปัญหา ป.3 ใบงาน

อัลกอริทึมกับการแก้ปัญหา ป.3 ใบงาน

อัลกอริทึมกับการแก้ปัญหา ป.3 ใบงาน

 โครงสร้างของผังงาน  (Sequence  Structure) โครงสร้างพื้นฐานของผังงานแบ่งเป็น  3 ประเภท  ดังนี้

1. โครงสร้างแบบลำดับ (Sequential Structure)  หมายถึง โครงสร้างที่แสดงขั้นตอนการทำงานเป็นไปตามลำดับก่อนหลัง 

C 1. โครงสร้างแบบลำดับ

ตัวอย่าง  ลำดับขั้นตอนการวางแผนไปโรงเรียน

เริ่มต้น

ตื่นนอน

อาบน้ำแต่งตัว

ไปโรงเรียน

จบ

J  การจำลองความคิดเป็นผังงาน (แบบลำดับ)

อัลกอริทึมกับการแก้ปัญหา ป.3 ใบงาน

2. โครงสร้างแบบมีทางเลือก (Selection Structure) หมายถึง โครงสร้างที่มีเงื่อนไข ขั้นตอนการทำงานบางขั้นตอน ต้องมีการตัดสินใจ

C 2. โครงสร้างแบบทางเลือก

ตัวอย่าง  ลำดับขั้นตอนการประเมินผลสอบ

เริ่มต้น

ทดสอบ

ตรวจผลการสอบและคิดคะแนนที่ได้

ตรวจสอบคะแนนที่ได้ว่าน้อยกว่าร้อยล่ะ 50 หรือไม่

ถ้าน้อยกว่า ให้สอบแก้ตัว

ถ้าไม่น้อยกว่า ให้สอบผ่าน

จบ

J  การจำลองความคิดเป็นผังงาน (แบบทางเลือก)

อัลกอริทึมกับการแก้ปัญหา ป.3 ใบงาน

3. โครงสร้างแบบทำซ้ำ (Repetition Structure)  หมายถึง โครงสร้างที่ขั้นตอนการทำงานบางขั้นตอนได้รับการประมวลผลมากกว่า 1 ครั้ง

C 3. โครงสร้างแบบทำซ้ำ

ตัวอย่าง  ลำดับการตักน้ำจากตุ่มครั้งล่ะ 1 ขันใส่จนถังน้ำเต็ม

เริ่มต้น

ตักน้ำจากตุ่ม 1 ขัน

เทน้ำใส่ถัง

ตรวจสอบน้ำเต็มถัง หรือไม่

ถ้าไม่เต็ม ให้ตักน้ำต่อไป

ถ้าเต็ม ให้หยุดตักน้ำ

จบ

J          การจำลองความคิดเป็นผังงาน (แบบทำซ้ำ)

อัลกอริทึมกับการแก้ปัญหา ป.3 ใบงาน