ใบ งานที่ 1.1 เรื่อง ข้อมูลและสารสนเทศ เฉลย

หลักการจัดการสารสนเทศ 

มนุษย์ให้ความสนใจกับข้อมูลและสารสนเทศมาตั้งแต่ในอดีต มีการเผยแพร่ข้อมูลและสารสนเทศหลากหลายรูปแบบ ตั้งแต่หนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ และอินเทอร์เน็ต ในปัจจุบันอินเทอร์เน็ตนับเป็นเครือข่ายการสื่อสารที่ครอบคลุมทั่วโลก มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลและสารสนเทศที่สะดวก รวดเร็ว เป็นแหล่งข้อมูลที่ทุกคนเข้าถึงได้ตลอดเวลา การที่มนุษย์ให้ความสนใจกับข้อมูลและสารสนเทศนั้น เนื่องมาจากมนุษย์ต้องใช้ข้อมูลและสารสนเทศเพื่อการตัดสินใจไม่ว่าจะเป็นการตัดสินใจในเรื่องเล็ก ๆ เช่น เลือกซื้อสินค้า จนถึงการตัดสินใจในเรื่องใหญ่ เช่น การตัดสินใจลงทุนทำธุรกิจ

ใบ งานที่ 1.1 เรื่อง ข้อมูลและสารสนเทศ เฉลย

สารสนเทศเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ และจำเป็นสำหรับการใช้งานในด้านต่าง ๆ การจัดการสารสนเทศนั้นหมายรวมถึงขั้นตอนการดำเนินการต่าง ๆ ตั้งแต่เริ่มต้นจนได้มาซึ่งสารสนเทศ การดำเนินการเพื่อให้ได้มาซึ่งสารสนเทศนั้นมีหลายขั้นตอนเริ่มตั้งแต่การรวบรวมข้อมูล ตรวจสอบข้อมูล การประมวลผล และการดูแลรักษาข้อมูล การมีความรู้ความเข้าใจถึงกระบวนการในการจัดการสารสนเทศจะทำให้สามารถนำสารสนเทศมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดได้

ข้อมูลและสารสนเทศ 

ข้อมูล (data) หมายถึง ข้อเท็จจริง (fact) ที่อยู่ในรูปแบบตัวอักษร ตัวเลข สัญลักษณ์พิเศษ รูปภาพ ภาพเคลื่อนไหว และเสียง ซึ่งสามารถบันทึกไว้อย่างต่อเนื่องและมีความหมายอยู่ในตัว เช่น ชื่อนักเรียน อายุ เพศ จำนวนประชากร ปริมาณฝน เป็นต้น ข้อมูลจะมีอยู่จำนวนมาก และจะถูกนำไปประมวลผลเพื่อใช้ประโยชน์ในเรื่องต่าง ๆ ได้มากมาย

ข้อมูลมีความสำคัญมาก หากข้อมูลที่ป้อนให้คอมพิวเตอร์ผิด ผลลัพธ์ที่ได้จากคอมพิวเตอร์จะผิดด้วยหรือเรียกว่า ป้อนขยะเข้าย่อมได้ขยะออกมา (garbage in – garbage out)

       

การประมวลผล (processing) หมายถึง การกระทำของเครื่องคอมพิวเตอร์กับข้อมูล เช่น การรวบรวมเป็นแฟ้มข้อมูล การคำนวณ การเปรียบเทียบ การเรียงลำดับ การจัดกลุ่มข้อมูล การจัดทำรายงาน เป็นต้นสารสนเทศ (information) หมายถึง สิ่งที่ได้จากการนำข้อมูลที่เก็บรวบรวมไว้มาประมวลผลเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ต่าง ๆ หรืออาจกล่าวได้ว่าสารสนเทศ คือ ข้อมูลที่ผ่านการเลือกสรรให้เหมาะสมกับการใช้งาน ทันต่อเวลาและอยู่ในรูปแบบที่ใช้ได้สะดวก ซึ่งสารสนเทศที่ดีต้องมาจากข้อมูลที่ดี        การจัดเก็บข้อมูลและสารสนเทศจะต้องมีการควบคุมดูแลเป็นอย่างดี เช่น อาจจะมีการกำหนดให้ผู้ใดบ้างเป็นผู้มีสิทธิใช้ข้อมูลได้ ข้อมูลที่เป็นความลับจะต้องมีระบบขั้นตอนการควบคุมกำหนดสิทธิ์ในการแก้ไขหรือการกระทำกับข้อมูลว่าจะกระทำได้โดยใครบ้าง นอกจากนี้ข้อมูลที่เก็บไว้แล้วต้องไม่เกิดการสูญหายหรือถูกทำลายโดยไม่ได้ตั้งใจ

ใบ งานที่ 1.1 เรื่อง ข้อมูลและสารสนเทศ เฉลย

การประมวลผลข้อมูลให้เป็นสารสนเทศ

ใบ งานที่ 1.1 เรื่อง ข้อมูลและสารสนเทศ เฉลย

We’ve updated our privacy policy so that we are compliant with changing global privacy regulations and to provide you with insight into the limited ways in which we use your data.

You can read the details below. By accepting, you agree to the updated privacy policy.

Thank you!

View updated privacy policy

We've encountered a problem, please try again.

ใบความรู้  เรื่อง ข้อมูล

การดำเนินชีวิตประจำวันของทุกคนเกี่ยวข้องกับข้อมูลอยู่ตลอดเวลา อาจเป็นผู้ให้ข้อมูล ผู้ใช้ข้อมูลในการตัดสินใจ และเป็นผู้ประมวลผลข้อมูลเพื่อให้ได้สารสนเทศ ตัวอย่างเช่น เมื่อนักเรียนกรอกรายละเอียดส่วนตัวลงในเอกสารเพื่อเข้าร่วมกิจกรรมพิเศษ และทางโรงเรียนได้นำข้อมูลเหล่านั้นไปพิจารณาคัดเลือกผู้สมัคร โดยอาจมีการแบ่งกลุ่มตามเพศและอายุ จะเห็นได้ว่านักเรียนเป็นผู้ให้ข้อมูล หน่วยทะเบียนเป็นผู้ประมวลผลข้อมูลเพื่อให้ได้สารสนเทศที่นำไปใช้ได้ และคณะกรรมการพิจารณาเป็นผู้ใช้สารสนเทศเพื่อตัดสินใจ

ข้อมูล (Data)

ข้อมูล หมายถึง ข้อเท็จจริงที่แสดงถึงลักษณะ สถานะหรือเหตุการณ์ต่างๆ โดยอยู่ในรูปแบบที่เหมาะสมในการใช้สื่อสาร แปลความหมาย และประมวลผล ซึ่งอาจทำด้วยคนหรือคอมพิวเตอร์ ตัวอย่างลักษณะของข้อมูล เช่น ตัวอักษร ตัวเลข รูปภาพ อีเมล์ สี สัญลักษณ์ รูปทรง อุณหภูมิ ตัวโน๊ต และเสียง ตัวอย่างข้อมูลที่เก็บในรูปแบบต่างๆ

https://phungwit.ac.th/krootim/images/unit/38-00.png
https://phungwit.ac.th/krootim/images/icon/arrow_up.pngอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล

สารสนเทศ (information)

สารสนเทศ หมายถึง ข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลได้เป็นสารสนเทศที่มีความถูกต้อง ทันต่อสถานการณ์ที่สนใจ มีความน่าเชื่อถือ มีความหมาย มีคุณค่า และเป็นประโยชน์สำหรับผู้ใช้ เช่น เมื่อต้องการนำสารสนเทศไปใช้ในการวางแผนการขาย สารสนเทศที่ต้องการควรเป็นรายงานสรุปยอดการขายแต่ละเดือนในปีที่ผ่านมาที่เพียงพอแก่การตัดสินใจ ตัวอย่างการนำข้อมูลมาประมวลผลเพื่อให้ได้สารสนเทศที่ใชในการตัดสินใจ

ตัวอย่างสารสนเทศที่เกิดจากการประมวลผล

https://phungwit.ac.th/krootim/images/unit/03/39-1.png

https://phungwit.ac.th/krootim/images/unit/03/39-2.png

ใบความรู้ เรื่อง ประเภทของข้อมูล

ข้อมูลสามารถแบ่งได้หลายลักษณะขึ้นกับว่าจะใช้เกณฑ์ใดในการแบ่ง เช่น
ก. แบ่งตามแหล่งที่มา ได้เป็น 2 ประเภท

1.ข้อมูลปฐมภูมิ ( Primary Data) คือข้อเท็จจริงหรือรายละเอียดที่ผู้เก็บข้อมูลลงมือเก็บด้วยตนเองได้มา จากแหล่งกำเนิดที่แท้จริง เช่น ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ การสังเกต การทดลอง การทดสอบหรือการวัดจากกลุ่มตัวอย่างโดยตรง

2. ข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Data) คือข้อเท็จจริง หรือรายละเอียดที่ผู้อื่นรวบรวมไว้อย่างเป็นระบบ สามารถนำมาเป็นข้อมูล โดยไม่ต้องลงมือเก็บรวบรวมเอง เช่น ข้อมูลจากระเบียนสะสม รายงานประจำปี สารานุกรม เอกสารเผยแพร่ เป็นต้น

ข. แบ่งตามลักษณะของข้อมูล

1.ข้อมูลเชิงปริมาณ ( Quantitative Data) คือข้อมูลที่วัดออกมาเป็นตัวเลข เช่นผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาต่าง ๆ ความถนัดด้านต่าง ๆ ที่วัดออกมาเป็นคะแนน คุณลักษณะด้านจิตพิสัย เช่นความสนใจ ความวิตกกังวล คุณลักษณะทางกายเช่น ส่วนสูง ความเร็วในการวิ่ง


2. ข้อมูลเชิงคุณลักษณะหรือเชิงคุณภาพ (Qualitative Data) คือข้อมูลที่ไม่ได้วัดออกมาเป็นตัวเลขแต่จะแสดงถึงคุณลักษณะของสิ่งนั้น เช่น เพศ ฐานะทางเศรษฐกิจ ศาสนา สถานภาพสมรส อาชีพ ข้อความที่เป็นความคิดเห็น ผลการสังเกตที่เขียนในรูปบรรยาย

ค. แบ่งตามสภาพของข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มตัวอย่าง ได้ 3 ประเภทดังนี้


1.ข้อมูลส่วนบุคคล ( Personal Data) คือข้อมูลที่เกี่ยวกับข้อเท็จจริงส่วนตัวของกลุ่มตัวอย่าง เช่น ชื่อสกุล อายุ เพศ อาชีพ ศาสนา เป็นต้น

2.ข้อมูลสิ่งแวดล้อม ( Environmental Data) คือข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมของกลุ่มตัวอย่าง เช่น ลักษณะท้องถิ่นที่กลุ่มตัวอย่างอาศัย

3.ข้อมูลพฤติกรรม ( Behavioral Data) คือข้อมูลที่เป็นคุณลักษณะที่มีอยู่ในตัวของกลุ่มตัวอย่าง เช่น คุณลักษณะด้านความสามารถสมอง ได้แก่ผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการ หรือการเรียน เช่น ความรู้ความเข้าใจ การวิเคราะห์ ความถนัด สติปัญญา ความสนใจ ความวิตกกังวล แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ มโนภาพเกี่ยวกับตนเอง การปฏิบัติ การกระทำสิ่งต่าง ๆ 

ง. แบ่งตามการนำไปใช้กับคอมพิวเตอร์ได้ มี 5 ประเภท คือ

1. ข้อมูลตัวเลข (Numeric Data) ได้แก่ ข้อมูลที่เป็นจำนวนตัวเลข สามารถนำไปคำนวณได้ เช่น

จำนวนเงินเดือนราคาสินค้า 

2. ข้อมูลตัวอักษร (Text Data) ได้แก่ ข้อมูลที่เป็นตัวอักษร และสัญลักษณ์เช่น ชื่อ สกุล ที่อยู่ 

3. ข้อมูลเสียง (Audio Data) ได้แก่ ข้อมูลที่เป็นเสียงต่าง ๆ เช่น เสียงดนตรี เสียงพูด

4. ข้อมูลภาพ (Images Data) คือ ข้อมูลที่เป็นจุดสีต่าง ๆเมื่อนำมาเรียงต่อกันแล้วเกิดรูปภาพขึ้น 

เช่น ภาพถ่าย ภาพลายเส้น  เป็นต้น

5. ข้อมูลภาพเคลื่อนไหว (Video Data) ได้แก่ ข้อมูลที่เป็นภาพเคลื่อนไหวต่าง เช่น ภาพ

เคลื่อนไหวที่ถ่ายด้วยกล้องวิดีโอ หรือภาพที่ทำจากโปรแกรมต่างๆ เป็นต้น

การรวบรวมข้อมูลเป็นจุดเริ่มต้นของการดำเนินงาน การรวบรวมข้อมูลที่ดีจะได้ข้อมูลที่รวดเร็ว ถูกต้อง แม่นยำ ครบถ้วน ดังนั้น ความรวดเร็วของข้อมูลจึงผูกพันกับเทคโนโลยีซึ่งมีหลายวิธี เช่นการใช้ไปรษณีย์อิเทคทรอนิกส์ การเชื่อมต่อกับระบบปลายทางเพื่อรับข้อมูล การใช้โทรสาร การใช้ระบบอ่านข้อมูลอัตโนมัติ เช่น เครื่องกราดตรวจ( scaner ) อ่านข้อมูลที่เป็นรหัสแท่ง( bar code)


การประมวลผลสารสนเทศ (
information processing)

การประมวลผลสารสนเทศ หมายถึง การดำเนินการต่างๆกับข้อมูล เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่มีความหมาย และมีประโยชน์ต่อการนำไปใช้งานมากยิ่งขึ้น เช่น การรวบรวมข้อมูล การคำนวณ การค้นคืน การแสดงผล การสำเนาข้อมูล

ลักษณะของข้อมูลที่ดี ต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้

1.       มีความถูกต้องและแม่นยำ

2.       มีความเป็นปัจจุบันและทันสมัยอยู่เสมอ

3.       มีความกระชับ ชัดเจน และสมบูรณ์ครบถ้วน

4.       สอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้

5.       ปราศจากความลำเอียงหรืออคติ