ความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างอยุธยากับฮอลันดาเสื่อมลง เพราะเหตุใด

 ความสัมพันธ์กับต่างประเทศในทวีปเอเซีย                      

 ในสมัยกรุงศรีอยุธยานอกจากจะมีความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้านใกล้เคียงแล้วกรุงศรีอยุธยายังมีความสัมพันธ์กับประเทศต่างๆ ในทวีปเอเซียหลายประเทศโดยมีประเทศสำคัญได้แก่

1.  จีน              ประเทศไทยกับจีนมีความสัมพันธ์กันมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยทั้งด้านการฑูตและด้านการค้า ครั้งเมื่อในสมัยกรุงศรีอยุธยาพระเจ้าหงหวู่หรือหงอู่ (หรือจูหยวงจาง) ซึ่งเป็นจักรพรรดิองค์แรกของราชวงศ์หมิงขึ้นปกครองจีนได้ทรงส่งทูตไปยังอาณาจักรต่างๆ รวมทั้งกรุงศรีอยุธยาด้วยโดยในพ.ศ.1913 ได้ทรงส่งราชทูตอัญเชิญพระบรมราชโองการมายังกรุงศรีอยุธยา ซึ่งตรงกับสมัยสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 (ขุนหลวงพะงั่ว) ในปีต่อมา คือพ.ศ. 1914 ทางกรุงศรีอยุธยาได้ส่งคณะราชฑูตไทยได้อัญเชิญพระราชสาสน์และบรรณาการไปถวาย ซึ่งนับได้ว่าเป็นความสัมพันธ์ทางการฑูตครั้งแรกระหว่างกรุงศรีอยุธยากับจีน      หลังจากนั้นความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับจีนเป็นไปด้วยความราบรื่นปรากฏว่าไทยได้ส่งทูตไปเมืองจีนเป็นประจำทุกปีและบางปีมากกว่าหนึ่งครั้งคือ ระหว่าง 1914 - 2054 ทางอยุธยาส่งทูตไปเมืองจีนถึง 89 ครั้งเป็นต้น การที่ไทยได้ส่งคณะฑูตบรรณาการไปจีนบ่อยครั้งนั้นผลที่ได้คือเราได้สิทธิพิเศษทางการค้ากับจีนเพราะคณะฑูตนั้นจะนำสินค้าจากอยุธยามาขายที่จีนด้วยและตอนขากลับก็จะนำสินค้าจากจีนไปขายที่อยุธยาด้วย    ในการติดต่อค้าขายระหว่างอยุธยากับจีนนั้นต่างก็มีความต้องการสินค้าของกันและกันสินค้าที่ไทยต้องการจากจีน ได้แก่ ผ้าไหม ผ้าแพร เครื่องกระเบื้อง เป็นต้น ส่วนสินค้าที่จีนต้องการจากไทย เช่นเครื่องเทศ รังนก ข้าวพริกไทย ต่อมาชาวตะวันตกได้เข้ามาติดต่อค้าขายกับอยุธยามีสินค้าบางอย่างที่จีนซื้อสินค้าของชาติตะวันตกจากอยุธยาไปด้วย เช่นเครื่องแก้ว เครื่องหอม พรม เป็นต้น,   

2.  ญี่ปุ่น         ชาวญี่ปุ่นได้เข้ามาตั้งบ้านเรือนและเข้ามาทำมาหากินอยู่ในกรุงศรีอยุธยามาตั้งแต่ พ.ศ.2083 ซึ่งตรงกับปลายรัชกาลของสมเด็จพระไชยราชาธิราช และชาวญี่ปุ่นได้อาสาสมัครในครั้งสมเด็จพระนเรศวรมหาราชยกองทัพไปรบกับพม่าในสงครามยุทธหัตถีในพ.ศ.2135ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับญี่ปุ่นเริ่มอย่างป็นทางการในสมัยสมเด็จพระเอกาทศรถ ( พ.ศ.2148 -2153 ) กับโชกุนโตกุงาวะ อิเอยาสุ   ในพ.ศ.2149 ญี่ปุ่นได้ส่งสาสน์มาเจริญสัมพันธ์ไมตรีกับสมเด็จพระเอกาทศรถพร้อมด้วยดาบ เสื้อเกราะเป็นเครื่องราชบรรณาการและในขณะเดียวกันได้ทูลขอปืนใหญ่และไม้หอมจากไทย สมเด็จพระเอกาทศรถจึงส่งสาสน์ตอบไปญี่ปุ่นเป็นการตอบแทน ซึ่งนับได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นของความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างไทยกับญี่ปุ่น  ความสัมพันธ์ทางการฑูตระหว่างไทยกับญี่ปุ่นเจริญสูงสุดในสมัยสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม (พ.ศ.2153 - 2171 ) เพราะในสมัยนี้ทางการกรุงศรีอยุธยาได้ส่งคณะฑูตไปเจริญสัมพันธไมตรีกับญี่ปุ่ถึง 4 ครั้งคือใน พ.ศ.2159, 2164, 2166, 2168ส่วนความสัมพันธ์ทางด้านการค้าระหว่างไทยกับญี่ปุ่นซึ่งนับว่ามีความสำคัญมากนั้น โดยที่ญี่ปุ่นต้องการสินค้าจากไทย คือ ข้าว ดีบุก น้ำตาล ไม้ หนังกวาง สินค้าที่ไทยต้องการจากญี่ปุ่น คือทองแดง เงินเหรียญ ของญี่ปุ่น ฉากลับแล เป็นต้น ชาวญี่ปุ่นที่เข้ามาอยู่ในกรุงศรีอยุธยานอกจากเป็นทหารอาสาแล้วมีชาวญี่ปุ่นบางคนเข้ารับราชการในอยุธยาในตำแหน่งที่สูงคือ ยามาดา นางามาซา ซึ่งต่อมาได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นออกญาเสนาภิมุข          ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับญี่ปุ่นหลังจากสิ้นสุดสมัยพระเจ้าทรงธรรมแล้วเริ่มเสื่อมลง เช่นในสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททองส่งคณะฑูตไปญี่ปุ่น 5 ครั้ง แต่ไม่ได้รับการต้อนรบจากญี่ปุ่น เพระาญี่ปุ่นมีนโยบายที่จะอยู่อย่างโดดเดี่ยว และปิดประเทศตั้งแต่ พ.ศ.2182 ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับญี่ปุ่นสิ้นสุดลง,

3.อิหร่าน         ชาวอิหร่านหรือชาวอาหรับได้เข้ามาติดต่อค้าขายกับอยุธยาและเข้ารับราชการในราชสำนักไทยตั้งแต่สมัยสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม เช่นเฉกอะหมัด หรือต่อมาเป็นต้นตระกูลบุนนาค ความสัมพันธ์ระหว่างอยุธยากับอิหร่านนั้นไทยได้ส่งฑูตมาเจริญสัมพันธไมตรีกับอยุธยาแต่ไม่ค่อยราบรื่นนักเพราะถูกออกญาวิไชเยนทร์ (คอนสแตนตินฟอลคอน) กีดกัน ,   

4. ลังกา          ในสมัยกรุงศรีอยุธยามีความสัมพันธ์กับลังกาเพราะทางลังกาได้ส่งฑูคมาขอพระสงฆ์จากไทยเพื่อไปฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในลังกาสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศทางลังกาจึงเรียกพระสงฆ์ที่ไปปฏิบัติพระธรรมที่ลังกาว่าลัทธิสยามวงศ์,   

ความสัมพันธ์กับต่างประเทศในทวีปยุโรป  

 ชาวยุโรปหรือชาวตะวันตกได้เข้ามาติดต่อกกับกรุงศรีอยุธยาตั้งแต่กลางพุทธศตวรรษที่ 21 โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญ คือต้องการเครื่องเทศ พริกไทย และในขณะเดียวกันเพื่อต้องการเผยแพร่คริสต์ศาสนาด้วยโดยประเทศต่างๆ ที่เข้ามาติดต่อกับกรุงศรีอยุธยาได้แก่ ประเทศโปรตุเกส เข้ามา พ.ศ.2054 ในสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 22. ประเทศสเปนเข้ามาในพ.ศ.2141 ในสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช3. ประเทศฮอลันดาเข้ามา พ.ศ.2147 ในสมัยตอนปลายของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช4. ประเทศอังกฤษ เข้ามาในพ.ศ.2155 สมัยสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม5.ประเทศเดนมาร์ก เข้ามาในพ.ศ.2164 สมัยตอนปลายสมัยสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม6. ประเทศฝรั่งเศสเข้ามาในพ.ศ.2205 สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช,   

1 โปรตุเกส        โปรตุเกสเป็นชาวตะวันตกชาติแรกที่เดินทางเข้ามาติดต่อกับกรุงศรีอยุธยาในพ.ศ.2504 ตรงกับรัชสมัยของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 ด้วยการส่งฑูตชื่อดอาร์เต้ เฟอร์นันเดส มาเจริญสัมพันธ์ไมตรีกับกรุงศรีอยุธยาส่วนทางกรุงศรีอยุธยาได้ส่งทูตไปมะละกาและพระราชสาสน์ไปถวายกษัตริย์ของโปรตุเกสต่อมาในพ.ศ.2059 ไทยกับโปรตุเกสได้ทำสนธิสัญญาสัมพันธไมตรี และการค้าต่อกัน โดยให้ชาวโปรตุเกสเข้ามาทำการค้าและเผยแผ่ศาสนาคริสต์ในกรุงศรีอยุธยาและหัวเมืองต่างๆของไทย เช่นมะริด ตะนาวศรี ปัตตานี และนครศรีธรรมราช เป็นต้น สำหรับสินค้าของโปรตุเกสที่ทางกรุงศรีอยุธยามีความสนใจมากเป็นพิเศษคือปืนไฟ กระสุนปืน และดินปืน และที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 สนพระทัยในอาวุธและยุทธวิธีของโปรตุเกสมากจนสามารถแต่งตำราพิชัยสงครามได้ ได้เชิญชาวโปรตุเกสเข้ามาเป็นทหารอาสาในไทยและช่วยไทยรบกับพม่าที่เมืองเชียงกราน จนกระทั่งในสมัยสมเด็จพระไชยราชาธิราชได้โปรด ฯ ให้ชาวโปรตุเกสสามารถตั้งบ้านเรือนอยู่ในกรุงศรีอยุธยาได้เรียกว่า "หมู่บ้านโปรตุเกส " ตลอดทั้งได้พระราชทานที่ดินเพื่อให้สร้างโบสถ์ในคริสต์ศาสนาด้วย         ความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกรุงศรีอยุธยากับโปรตุเกสเริ่มเสื่อมลงเมื่อตะวันตกชาติอื่นได้เข้ามายังดินแดนแถบนี้ เช่นฮอลันดา ซึ่งเป็นคู่แข่งทางการค้าที่สำคัญของโปรตุเกสและทางกรุงศรีอยุธยาก็ยินดีติดต่อการค้าด้วยจนกระทั่งหลังสมัยสมเด็จพระเจ้าทรงธรรมอำนาจของโปรตุเกสก็ลดบทบาทสำคัญจนไม่มีความสำคัญในที่สุด

2. ฮอลันดา         ฮอลันดาปัจจุบันคือประเทศเนเธอร์แลนด์เข้ามาติดต่อกับอาณาจักรอยุธยาในสมัยตอนปลายรัชกาลของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชซึ่งหลังโปรตุเกสประมาณเกือ บหนึ่งศตวรรษ การเข้ามาติดต่อของฮอลันดานั้นจะแตกต่างกับโปรตุเกสคือฮอลันดา นั้นสนใจเฉพาะด้านการค้าโดยไม่ได้สนใจในเรื่องการเผยแผ่คริสต์ศาสนาสำหรับสินค้าที่ชาวฮอลันดาต้องการจากอยุธยามากเช่น เครื่องเทศ พริกไทย หนังกวาง และช้าว ฯลฯ ตลอดสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราชนั้นไทยกับฮอลันดามีความผูกพันธ์กับเป็นอย่างดี ในสมัยรัชกาลของสมเด็จพระเอกาทศรถได้ส่งราชฑูตไปฮอลันดาเพื่อเจรจาด้านการค้าและดูแลศึกษาความเจริญของฮอลันดา ในพ.ศ.2150 และได้เข้าเฝ้ากษัตริย์แห่งฮอลันดาครั้งตอนขากลับทางกษัตริย์ฮอลันดาได้ฝากปืนใหญ่และอาวุธอื่นๆ มาถวายแด่สมเด็จพระเอกาทศรถด้วยความสัมพันธ์ระหว่างกรุงศรีอยุธยากับฮอลันดาเป็นไปด้วยดี จะกระทั่งในพ.ศ.2176 ฮอลันดาได้ตั้งสถานีการค้าขึ้นในกรุงศรีอยุธยาในระยะแรกการค้าระหว่างไทยกับฮอลันดาเป็นไปด้วยดีโดยเฉพาะอย่างยิ่งทางไทยให้สิทธิพิเศษแก่พ่อค้าฮอลันดาในการผูกขาดการค้าหนังสัตว์จากไทย  ต่อมาในสมัยพระเจ้าปราสาททองความผูกพันธ์ที่มีต่อกันเริ่มมีปัญหาเนื่องจากฮอลันดาไม่ช่วยไทยปราบกบฏ และทำให้พระเจ้าปราสาททองต้องเข้มงวดกับฮอลันดามากขึ้น ทั้งนี้เพื่อจะให้ไทยค้าขายอย่างอิสระแต่ฮอลันดาพยายามจะผูกขาดการค้ากระทั่งฮอลันดาต้องใช้กำลังกองทัพเรือมาบีบบังคับไทยเกี่ยวกับการค้าความบาดหมางใจกันระหว่างไทยกับฮอลันดามีขึ้นอย่างรุนแรงในสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราชทางฮอลันดาได้ส่งเรือรบมาปิดอ่าวไทย และเรียกร้องสิทธิพิเศษต่างๆ จากไทยมากมาย เช่นฮอลันดามีสิทธิในการค้าขายที่นครศรีธรรมราช ถลาง และหัวเมืองอื่นๆ รวมทั้งสิทธิพิเศษในการพิจารณาพิพากษาคดึคือ ชาวฮอลันดากระทำผิดไม่ต้องขึ้นศาลไทย เป็นต้น จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับฮอลันดาทำให้ไทยต้องสูญเสียผลประโยชน์ต่างๆ เป็นจำนวนมากแต่ก็ทำให้เราสามารถรักษาความเป็นเอกราชไว้ได้  ต่อมาในสมัยพระเจ้าทรงธรรมฮอลันดาเกิดมีปัญหากับอังกฤษเกี่ยวกับเรื่องการค้า จนทำให้ทั้งสองประเทศได้มีการรบพุ่งกันขึ้นทางเรือ ผลปรากฏว่าฝ่ายอังกฤษเป็นฝ่ายพ่ายแพ้และได้เลิกติดต่อค้าขายกับอยุธยาแต่อิทธิพลของฮอลันดาเริ่มเสื่อมลงในตอนกลางสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เพราะทางกรุงศรีอยุธยาได้ติดต่อกับอังกฤษและฝรั่งเศสเพื่อเป็นการคานอำนาจฮอลันดา จนกระทั่งสมัยพระเพทราชาได้ขับไล่ฝรั่งเศสออกไปและมีการติดต่อค้าขายและมีความสัมพันธ์กับอยุธยาจนกระทั่งกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 แก่พม่าใน พ.ศ.2112,  

3. อังกฤษ        อังกฤษเข้ามาติดต่อค้าขายกับกรุงศรีอยุธยาโดยมีวัตถุประสงค์ที่สำคัญคือการค้าและสินค้าที่อังกฤษนำเข้ามาขายในกรุงศรีอยุธยาและหัวเมือง คือผ้าชนิดต่าง ๆ โดยในพ.ศ.2155 ในสมัยพระเจ้าทรงธรรมทางอังกฤษได้ส่งทูตเข้ามาและทางอยุธยาให้การต้อนรับอย่างดีพร้อมกับให้ตั้งสถานีการค้าและบ้านเรือนในกรุงศรีอยุธยาได้แต่การค้าของอังกฤษตลอดระยะเวลานั้นไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควรจึงถอนตัวออกจากกรุงศรีอยุธยา ประกอบกับในระยะหลัง ๆมีความขัดแย้งกันอย่างรุนแรงถึงกับมีการสู้รบกันที่เมืองมะริดทำให้ความสัมพันธ์ไมตรีที่ดีกับอังกฤษต้องสิ้นสุดลงในพ.ศ.2230 สำหรับชาวฝรั่งเศสที่เดินทางมายังกรุงศรีอยุธยาชุดแรกคือกลุ่มของสังฆราชเบริต ชื่อเเดอลาบ๊อตลัมแปต์กับบาดหลวงอีก 2 องค์ โดยมีความประสงค์สำคัญของคณะนี้ คือต้องการที่จะใช้กรุงศรีอยุธยาเป็นศูนย์กลางในการเผยแพร่คริสต์ศาสนา และได้เข้าเฝ้าสมเด็จพระนารายณ์ได้รับการต้อนรับพระนารายณ์อย่างดี จนกระทั่งในพ.ศ.2233 ฝรั่งเศสได้เข้ามาตั้งสถานีการค้าในกรุงศรีอยุธยา และเพื่อต้องการเป็นมิตรกับฝรั่งเศสสมเด็จพระนารายณ์มหาราชจึงทรงส่งฑูตไปฝรั่งเศสในปีพ.ศ.2223แ ต่ไปไม่ถึงเพราะเรืออับปางเสียก่อน อีกสามปีต่อมาสมเด็จพระนารายณ์ได้ส่งฑูตไปอีกคือ ขุนพิชัยวาทิตและขุนพิชิตไมตรี ซึ่งได้รับการต้อนรับจากฝรั่งเศสเป็นอย่างดี เมื่อเดินทางกลับทางฝรั่งเศสได้ส่งเชอวาเลีย เดอโชมองต์ เป็นฑูตมาเป็นการต้อนรับจากฝรั่งเศสเป็นอย่างดี เมื่อเดินทางกลับทางฝรั่งเศสได้ส่งเชอวาเลีย เดอโชมองต์ เป็นฑูตมาเป็นการตอบแทนและเป็นการส่งเสริมให้ศาสนาคริสต์แพร่หลายมากขึ้นถึงกับเข้าเฝ้าและทูตให้สมเด็จพระนารายณ์มหาราชเปลี่ยนศาสนา ในพ.ศ.2228 ฝรั่งเศสได้ส่งคณะฑูตมายังกรุงศรีอยุธยาอีก สมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงให้การต้อนรับอย่างดีโดยให้ออกญาวิไชเยนทร์ (คอนสแตนติน ฟอลคอน ) เป็นผู้แสดงบทบาทสำคัญในการที่จะให้ฝรั่งเศสเผยแพร่ศาสนาคริสต์และขยายการค้าซึ่งเป็นที่พอใจของฝรั่งเศสเป็นอย่างยิ่ง แต่การที่ทูลให้สมเด็จพระนารรายณ์มหาราชเปลี่ยนศาสนานั้นไม่เป็นผลสำเร็จ ต่อมาในพ.ศ.2229 สมเด็จพระนารายณ์มหาราชได้ส่งฑูตไทยซึ่งมีออกพระวิสุทธสุนทร(โกษาปาน) เป็นหัวหน้าคณะฑูตไทยไปฝรั่งเศสพร้อมกับการกลับไปของคณะฑูตเดอโชมองต์ได้พำนักอยู่ในฝรั่งเศสนาน 8 เดือน และได้เข้าเฝ้าพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส ที่พระราชวังแวร์ซายส์ตลอดทั้งได้ศึกษาถึงความเจริญในด้านต่างๆ ของฝรั่งเศสและเมื่อคณะฑูตไทยกับฝรั่งเศสได้ส่งทหารจำนวนถึง 636 คนพร้อมฑูตที่มีเดอลาบูแบร์เป็นหัวหน้าคณะและในการมาครั้งนี้จะเห็นว่าฝรั่งเศสเริ่มเข้ามามีอำนาจในกรุงศรีอยุธยาด้วยการสนับสนุนของออกญาวิไชเยนทร์   ใน พ.ศ.2231 ฑูตฝรั่งเศสได้เดินทางกลับโดยมีขุนนางผู้น้อยกลุ่มหนึ่งของไทยเดนิทางไปด้วย แต่กองทหารฝรั่งเศสยังอยู่ในไทยบริเวณเมืองบางกอก และเมืองมะริด ซึ่งพฤติกรรมดังกล่างของทหารฝรั่งเศสและออกญาวิไชเยนทร์เป็นสิ่งที่ขุนนางไทยไม่พอใจจึงได้ต่อต้านฝรั่งเศสและกำจัดออกญาวิไชเยนทร์ในการติดต่อกับฝรั่งเศสทำให้ไทยเราได้นำความเจริญในด้านต่างๆ เข้ามาหลายด้านเช่นด้านวิทยาศาส ตร์ได้เรียนรู้การแพทย์สมัยใหม่และสร้างหอดูดาวที่พระราชวังจันทรเกษมพระนครศรีอยุธยา เป็นต้นด้านการทหารมีการสร้างป้อมแบบตะวันตกด้านการศึกษาตั้งโรงเรียนที่กรุงศรีอยุธยาของบาดหลวง และได้ส่งนักเรียนไปทยเไปเรียนที่ฝรั่งเศสด้านสถาปัตยกรรมมีการสร้างพระราชวังแบบไทยผสมฝรั่งเศสที่ลพบุรี       ความสัมพันธ์ไมตรีระหว่างไทยกับฝรั่งเศสในระยะหลังไม่ค่อยราบรื่น และมีการสู้รบกันขึ้นระหว่างคนไทยกับทหารฝรั่งเศสและเป็นระยะเวลาที่สมเด็จพระนารายณ์มหาราชสวรรคตในพ.ศ.2231 สมเด็จพระเพทราชาข้นครองราชย์ และขับไล่ทหารฝรั่งเศสได้สำเร็จทำให้ความสัมพันธ์ไมตรีของทั้งสองประเทศเสื่อมลงเป็นลำดับ

ความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างอยุธยากับฮอลันดาเสื่อมลง เพราะเหตุใด

สร้างโดย นายวิชา  แท่นศิลา  ม.6/1  เลขที่ 27

เอกสารอ้างอิง  http://historia.exteen.com/20080109/entry-1