ผังก้างปลา ปัญหาขยะในโรงเรียน

โพสต์13 ต.ค. 2552 00:58โดยSarocha Plainer   [ อัปเดต 5 มี.ค. 2558 02:10 ]

ผลการศึกษา

1.      สาเหตุการเกิดขยะมูลฝอย

1.       ความมักง่ายและขาดความสำนึกถึงผลเสียที่จะเกิดขึ้นเป็นสาเหตุที่พบบ่อยมาก  ซึ่งจะเห็นได้จากการทิ้งขยะลงตามพื้น  หรือแหล่งน้ำ  โดยไม่ทิ้งลงในถังรองรับที่จัดไว้ให้  และโรงงานอุตสาหกรรมบางแห่งลักลอบนำสิ่งปฏิกูลไปทิ้งตามที่วางเปล่า

2.       การผลิตหรือใช้สิ่งของมากเกินความจำเป็น เช่น การผลิตสินค้าที่มีกระดาษหรือพลาสติกหุ้มหลายๆๆชั้น  และการซื้อสิ้นค้าโดยห่อแยกหรือใส่ถุงพลาสติกหลายถุง  ทำให้มีขยะปริมาณมาก

3.       การเก็บและทำลาย หรือนำขยะไปใช้ประโยชน์ไม่มีประสิทธิภาพ จึงมีขยะตกค้าง  กองหมักหมมและส่งกลิ่นเหม็นไปทั่วบริเวณจนก่อปัญหามลพิษให้กับสิ่งแวดล้อม

2.        วิธีการกำจัดขยะมูลฝอยอย่างถูกวิธี

1. วิธีการกำจัดขยะมูลฝอย ( Method of Refuse Disposal ) มีหลายวิธีด้วยกัน เป็นวิธีที่ดีถูกสุขลักษณะบ้างไม่ถูกสุขลักษณะบ้าง เช่น นำไปกองไว้บนพื้นดิน, นำไปทิ้งทะเล, นำไปฝังกลบ, ใช้ปรับปรุงพื้นที่, เผา, หมักทำปุ๋ย, ใช้เลี้ยงสัตว์ ฯลฯ การจัดการและการกำจัดขยะ แต่ละวิธีต่างมีข้อดีข้อเสียต่างกัน การพิจารณาว่าจะเลือกใช้วิธีใดต้องอาศัยองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ ที่สำคัญ คือ ปริมาณของขยะที่เกิดขึ้น รูปแบบการบริหารของท้องถิ่น, งบประมาณ, ชนิด ลักษณะสมบัติของขยะมูลฝอย, ขนาด สภาพภูมิประเทศของพื้นที่ที่จะใช้กำจัดขยะมูลฝอย, เครื่องมือเครื่องใช้ อาคารสถานที่, ความร่วมมือของประชาชน, ประโยชน์ที่ควรจะได้รับ, คุณสมบัติของขยะ เช่น ปริมาณของอินทรีย์ อนินทรีย์สาร การปนเปื้อนของสารเคมีที่มีพิษและเชื้อโรค ปริมาณของของแข็งชนิดต่าง ๆ ความหนาแน่น ความชื้น 

 ขยะที่เกิดขึ้นในชุมชนเมืองมีแหล่งที่มาจาก อาคาร บ้านเรือน บริษัท ห้างร้าน โรงงาน อุตสาหกรรม โรงพยาบาล ตลาด และสถานที่ราชการ ขยะที่ทิ้งในแต่ละวันจะประกอบด้วยเศษอาหาร กระดาษ เศษแก้ว เศษไม้ พลาสติก เศษดิน เศษหิน ขี้เถ้า เศษผ้า และใบไม้ กิ่งไม้ โดยมีปริมาณของสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ในอัตราส่วนที่แตกต่างกัน 

3.การนำขยะมูลฝอยไปใช้ให้เกิดประโยชน์

1.การแปรสภาพและการใช้ประโยชน์จากขยะมูลฝอย

           การนำวัสดุเหลือใช้จากขยะมูลฝอยกลับมาใช้ให้เป็นประโยชน์ จะช่วยลดปริมาณขยะมูลฝอยที่จะต้องกำจัด  ในขณะเดียวกันก็เป็นการสงวนทรัพยากรธรรมชาติไว้ได้อีกส่วนหนึ่ง ด้วยการใช้ประโยชน์จากสิ่งเหลือใช้ อาจใช้วิธีหมุนเวียนวัสดุ หรือแปรสภาพขยะมูลฝอยให้เป็นพลังงาน 

๑. การแปรสภาพขยะมูลฝอยเป็นพลังงาน
เราอาจแปรสภาพขยะมูลฝอยเป็นพลังงานได้ ดังนี้คือ 
พลังงานความร้อน ได้จากการนำเอาขยะมูลฝอยส่วนที่เผาไหม้ได้ มาเป็นเชื้อเพลิงสำหรับทำไอน้ำร้อน แล้วส่งไปให้ความอบอุ่นตามอาคารบ้านเรือน เช่นที่ทำอยู่ในประเทศญี่ปุ่น เป็นต้น 
พลังงานไฟฟ้า ได้จากการนำขยะมูลฝอยไปเป็นเชื้อเพลิง สำหรับผลิตไอน้ำ ไปหมุนเครื่องกำเนิดไฟฟ้า เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า บริการแก่ประชาชน ตัวอย่างเช่น การแปรสภาพของการใช้ประโยชน์จากขยะมูลฝอยในบางรัฐของประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีขยะมูลฝอยจำนวนมาก และเป็นชนิดที่เผาไหม้ได้เป็นส่วนมาก 

๒. การคัดแยกวัสดุเพื่อนำกลับมาใช้ 
วัสดุหลายอย่างในขยะมูลฝอยที่อาจนำกลับมาใช้ประโยชน์ได้อีก เช่น กระดาษ แก้ว ขวด พลาสติก เหล็กและโลหะอื่นๆ การคัดเลือกวัสดุต่างๆ ที่รวมอยู่ในขยะมูลฝอย เพื่อนำกลับไปใช้ให้เป็นประโยชน์ได้อีก นับได้ว่า มีการปฏิบัติกันมาช้านาน จะเห็นได้ว่า ตามกองขยะมูลฝอยทุกแห่ง มีบุคคลกลุ่มหนึ่งไปคอยคุ้ยเขี่ยเก็บวัสดุจากกองขยะมูลฝอยตลอดเวลา เพื่อหารายได้ 
การเก็บวัสดุจากกองขยะมูลฝอยนั้น อาจจะเกิดผลเสีย คือ 
๑. ปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพ และความปลอดภัยของผู้แยกวัสดุจากกองขยะมูลฝอย ที่อาจเป็นอันตราย เนื่องมาจากความสกปรกของขยะมูลฝอย ซึ่งมีได้ทั้งเชื้อโรค และสารพิษ รวมทั้งของมีคม วัตถุระเบิด และสารกัมมันตรังสี เป็นต้น 
๒. ปัญหาจากการที่นำเอาวัสดุที่เก็บมาได้เอามากองรวมๆ กัน เพื่อรอจำหน่ายนั้น ทำให้เกิดกองขยะขึ้นมาอีกส่วนหนึ่ง ซึ่งสกปรกรกรุงรัง เป็นที่อาศัยของสัตว์และแมลงนำโรค เป็นภาพที่น่ารังเกียจ ขาดความเป็นระเบียบเรียบร้อยของพื้นที่ และบริเวณใกล้เคียง 

๓. การนำขยะมูลฝอยไปถมที่ดิน เพื่อปรับปรุงสภาพ ขยะมูลฝอยเกือบทุกชนิดสามารถนำไปใช้สำหรับถมที่ดินที่เป็นหลุมเป็นบ่อ เช่น บ่อดินลูกรังที่น้ำท่วม เหมืองร้าง ฯลฯ ทำให้ที่ดังกล่าวกลายเป็นพื้นที่ราบเรียบ ใช้ประโยชน์ได้มากมายหลายประการ เช่น ทำสนามกีฬา สนามกอล์ฟ สวนสาธารณะ สถานที่พักผ่อนหย่อนใจ แม้กระทั่งสร้างเป็นอาคารที่ทำงาน หรือที่อยู่อาศัย ในต่างประเทศมีการใช้พื้นที่ดินที่เกิดจากการถมด้วยขยะมูลฝอย แบบการฝังกลบ และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ 
          ประเทศไทยก็ได้ใช้ขยะมูลฝอยไปถมที่ทำประโยชน์ เช่น ที่สวนจตุจักร ซึ่งเดิมเป็นที่ลุ่มน้ำท่วม และเต็มไปด้วยพงหญ้ารกมาก และไม่ได้ใช้ประโยชน์แต่อย่างใด ต่อมาได้มีการนำเอาขยะมูลฝอยจากสถานกำจัดขยะดินแดง มาถมที่บริเวณสวนจตุจักร และปรับปรุงเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ ดังที่ปรากฏอยู่ในขณะนี้

     4.แนวทางการแก้ไขการทิ้งขยะในโรงเรียน

1.  ปัญหาการทิ้งขยะพบได้ทุกที่ในบริเวณโรงเรียน ปัญหานี้เป็นปัญหาที่พบมากที่สุด  ปัญหาส่วนใหญ่เกิดจากการนำเอาอาหารขึ้นมารับประทานบนห้องเรียน หรือทำงานที่ต้องตัดกระดาษหรือชิ้นงานแล้วไม่เก็บขยะไปใส่ในถังขยะ ปัญหาต่างๆนี้เกิดจากความมักง่ายของตังนักเรียนเอง ปัญหานี้ไม่ได้มีแค่ในห้องเรียนแต่ปัญหานี้มีทั่วบริเวณเช่น โรงอาหารเป็นอีกที่ที่มีปัญหาขยะเช่นเดียวกัน  โต๊ะหินอ่อนเป็นที่ที่เห็นได้ชัดว่ามีขยะเยอะมากจึงมองเห็นได้ชัดเจนว่าปัญหาขยะต่างๆเกิดจากการมักง่ายของนักเรียนในโรงเรียนเองการทิ้งขยะในห้องเรียน โรงอาหาร และโต๊ะหินอ่อน

     5. สรุปและอภิปราย

1.  สรุปจากการสัมภาษณ์
1. สาเหตุของปัญหา
เกิดจากการที่นักเรียนที่ทานแล้วไม่เก็บไปทิ้งตามถังขยะ
เกิดจากแม่บ้านที่ไม่ค่อยใส่ใจในการดูแล
เป็นพฤติกรรมที่เป็นมาช้านาน
2. แนวทางการแก้ปัญหา
ควรเพิ่มถังขยะ
- ควรมีการปรับเงิน หรือ การตั้งกฏเกณฑ์

   ดังนั้น   ผู้ศึกษาจึงสนใจที่จะศึกษาเรื่องขยะมูลฝอย  เพราะช่วยลดปัญหาภาวะโลกร้อนและมลพิษทางอากาศเพราะสองสาเหตุนี้เกิดขึ้นจากการเผ่าขยะ  การเผ่าขยะเกิดจากขยะมูลฝอยเป็นจำนวนเยอะมาก  เราจึงอยากให้มีการช่วยกันลดการเผ่าขยะ และเพิ่มจำนวนถังขยะให้มากขึ้นต่อการใช้และเราควรนำเอาขยะมูลฝอยที่สามารถนำมาใช้ได้อีก นำไปรีไซเคิล เพื่อช่วยลดปริมาณขยะ เราจึงอยากจะศึกษาปัญหาขยะมูลฝอยเพื่อนำมาแก้ไขปัญหาในปัจจุบัน