เครื่องป้องกันกระแสเกิน ชนิด 1 ขั้ว เหมาะสมกับระบบใด

เบรกเกอร์เป็นอุปกรณ์ทำหน้าที่ในการตัดวงจรไฟฟ้าแบบอัตโนมัติเมื่อเกิดความผิดปกติในระบบ เพื่อเป็นการป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับสายไฟ โหลด Load (เช่น มอเตอร์, Generator หรือ อุปกรณ์ไฟฟ้า)

1 เบรกเกอร์สามารถแบ่งตามขนาดเป็น 3 ประเภท

1.1 MCB : Miniature Circuit Breaker (เบรกเกอร์ลูกย่อย) มีค่ากระแสน้อยกว่าหรือเท่ากับ 100 A ส่วนใหญ่ใช้ภายในบ้านพักอาศัย ติดตั้งภายในตู้ Consumer หรือ ตู้ Load Center

1.2 MCCB : Moulded Case Circuit Breaker(โมลเคสเซอร์กิตเบรกเกอร์) มีค่ากระแสน้อยกว่าหรือเท่ากับ 1600 A

1.3 ACB : Air Circuit Breaker(แอร์เซอร์กิตเบรกเกอร์) มีค่ากระแสน้อยกว่าหรือเท่ากับ 6300 A

เครื่องป้องกันกระแสเกิน ชนิด 1 ขั้ว เหมาะสมกับระบบใด
รูปที่ 1 : ประเภทของเบรกเกอร์ทั้ง 3 ประเภทตามขนาด

2 หลักการทำงานของเบรกเกอร์ แบ่งออกเป็น 2 แบบ Thermomagnetic และ Electronic

2.1.Thermomagnetic เบรกเกอร์แบบ Thermomagnetic ใช้หลักการทำงานทางความร้อน โดยการแปลงกระแสไฟฟ้าเป็นพลังงานความร้อน

เครื่องป้องกันกระแสเกิน ชนิด 1 ขั้ว เหมาะสมกับระบบใด
รูปที่2 : ภายในของเบรกเกอร์ Thermomagnetic

2.1.1 เบรกเกอร์แบบ Thermomanetic มีฟังกชั่นการป้องกัน 2 แบบ
  a)  การป้องกันกระแสโหลดเกิน (Overload) หรือที่เรียกว่า Function L ใช้หลักการป้องกันแบบ Bimetal
  b)  การป้องกันกระแสลัดวงจร (Short Circuit) หรือที่เรียกว่า Function I ใช้หลักการป้องกันแบบ Electromagnetic coil

2.1.2 เบรกเกอร์แบบThermomagnetic มีให้เลือก 3 แบบ TMF, TMD และ TMA
  a)  เบรกเกอร์รุ่น TMF ไม่สามารถปรับตั้งค่ากระแสที่ใช้งานได้
  b)  เบรกเกอร์รุ่น TMD สามารถปรับตั้งค่ากระแสโหลดเกิน(Overload L)ได้ตั้งแต่ 0.7-1 เท่า
  c)  เบรกเกอร์รุ่น TMA สามารถปรัปตั้งค่าได้ทั้งกระแสโหลดเกิน(Overload L)และกระแสลัดวงจร(Short Circuit I)

เครื่องป้องกันกระแสเกิน ชนิด 1 ขั้ว เหมาะสมกับระบบใด
รูปที่ 3 : รูปตัวอย่างของเบรกเกอร์ Thermomagnetic รุ่นที่เป็น TMF ไม่สามารถปรับตั้งค่ากระแสที่ใช้งานได้
เครื่องป้องกันกระแสเกิน ชนิด 1 ขั้ว เหมาะสมกับระบบใด
รูปที่ 4 : รูปตัวอย่างของเบรกเกอร์Thermomagnetic รุ่นที่เป็น TMD สามารถปรับตั้งค่ากระแสโหลดเกิน(Overload L)ได้ตั้งแต่ 0.7-1 เท่า
เครื่องป้องกันกระแสเกิน ชนิด 1 ขั้ว เหมาะสมกับระบบใด
รูปที่ 5 : รูปตัวอย่างของเบรกเกอร์Thermomagnetic รุ่นที่เป็น TMA สามารถปรับตั้งค่าได้ทั้งกระแสโหลดเกิน(Overload L)และกระแสลัดวงจร(Short Circuit I)

2.2.Electronic เบรกเกอร์แบบ Electronic ใช้การวัดค่ากระแสใช้งานจริงด้วย CT และส่งค่าที่วัดได้ไปทำการคำนวนด้วยระบบ Microcontroller

2.2.1 เบรกเกอร์แบบ Electronic มีฟังกชั่นการป้องกันให้เลือกทั้งหมด 4 แบบ
  a)  ฟังก์ชัน L การป้องกันกระแสโลดเกิน Overload
  b)  ฟังก์ชัน S การป้องกันกระแสลัดวงจรแบบหน่วงเวลา Short circuit with delay time
  c)  ฟังก์ชัน I การป้องกันกระแสลัดวงจรแบบทันทีทันใด Instantaneous Trip
  d)  ฟังก์ชัน G ground fault

เครื่องป้องกันกระแสเกิน ชนิด 1 ขั้ว เหมาะสมกับระบบใด
รูปที่6 : ฟังกชั่นของเบรกเกอร์ Electronic

ข้อเปรียบเทียบระหว่างเบรกเกอร์แบบ Thermomagnetic และ เบรกเกอร์แบบ Electronic

3.1 ข้อดีข้อเสีย ของเบรกเกอร์แบบ Thermomagnetic

3.1.1ข้อดี
  a)  เบรกเกอร์ Thermomagnetic สามารถใช้งานได้ทั้งระบบไฟแบบ AC และ DC
  b)  เบรกเกอร์ Thermomagnetic มีราคาถูกว่าเบรกเกอร์ Electronic

3.1.2 ข้อเสีย
  a)  เนื่องจากเป็นเบรกเกอร์ที่ต้องเปลี่ยนกระแสไฟฟ้าเป็นความร้อน อุณภูมิภายนอกจึงส่งผลกระทบต่อความแม่นยำในการวัดค่ากระแสของเบรกเกอร์

3.2 ข้อดีข้อเสีย ของเบรกเกอร์แบบ Electronic

3.1.1ข้อดี
  a)  เบรกเกอร์แบบ Electronic สามารถวัดค่ากระแสได้แม่นยำ
  b)  เบรกเกอร์แบบ Electronic มีความสามารถในการตั้งค่าเวลาและกระแสทำงานได้
  c)  เบรกเกอร์แบบ Electronic บางรุ่นสามารถเรียกดูประวัติการทริปของเบรกเกอร์ได้

3.1.2 ข้อเสีย
  a)  เบรกเกอร์แบบ Electronic สามารถใช้ได้กับระบบไฟฟ้า AC เท่านั้น
  b)  เบรกเกอร์ Electronic มีราคาแพงกว่า เบรกเกอร์ Thermomagnetic

เครื่องป้องกันกระแสเกิน ชนิด 1 ขั้ว เหมาะสมกับระบบใด
รูปที่7 : ตารางเปรียบเทียบระหว่างเบรกเกอร์แบบ Thermomagnetic และ เบรกเกอร์แบบ Electronicสัญลักษณ์ทางไฟฟ้าของเบรกเกอร์

สัญลักษณ์ทางไฟฟ้าของเบรกเกอร์คือข้อมูลจำเพาะของเบรกเกอร์แต่ละตัว ที่ผู้ใช้ต้องกำหนดค่าต่างๆให้เหมาะกับสภาพการใช้งาน

ปัจจุบันนี้มีการเจริญเติบโตของภาคอุตสาหกรรมไปเป็นอย่างมาก ด้วยเศรฐกิจและเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าขึ้นมานี้ทำให้มีความต้องการใช้กระแสไฟฟ้ากันมากยิ่งขึ้น ซึ่งงานที่เกี่ยวข้องกับไฟฟ้านี้ไม่ว่าจะเป็นงานในภ่าคระดับไหน ทั้งการใช้งานตามบ้านเรือนหรืออุตสาหกรรมถือว่าเป็นงานที่มีความเสี่ยงอย่างสูง ซึ่งหากเกิดความผิดพลาดขึ้นก็อาจจะทำให้เกิดอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สินได้เลยทีเดียว จึงต้องมีอุปกรณ์ไว้ป้องกันความเสี่ยงที่อาจจะเกิดความผิดพลาดขึ้นในวงจรไฟฟ้าได้ อุปกรณ์นั่นก็คือ เซอร์กิต เบรกเกอร์ (Circuit Breaker) เป็นอุปกรณ์ที่ออกแบบมาให้เปิด-ปิด วงจรโดยไม่อัตโนมัติและสามารถเปิดวงจรโดยอัตโนมัติเมื่อมีกระแสไหลเกินกว่าค่าที่กำหนด ถือว่าเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ป้องกันกระแสเกินหรือลัดวงจรเช่นเดียวกับฟิวส์ แต่จะแตกต่างกันตรงที่เมื่อทำการเปิดวงจรหรือตัดวงจรแล้วสามารถที่จะปิดหรือต่อวงจรได้ทันทีหลังจากแก้ปัญหาความผิดปกติในระบบได้แล้ว โดยไม่ต้องทำการเปลี่ยนอุปกรณ์ใหม่เหมือนกับฟิวส์

เบรกเกอร์ Circuit Breaker คืออะไร

เซอร์กิตเบรกเกอร์หรือเบรกเกอร์ คือ อุปกรณ์สวิตช์ไฟฟ้าระบบอัตโนมัติที่ออกแบบมาเพื่อป้องกันวงจรไฟฟ้าจากความเสียหายที่เกิดจากกระแสไฟฟ้าส่วนเกิน ซึ่งสาเหตุโดยทั่วไปนั่นเกิดจากการโหลดเกินหรือกระแสไฟฟ้าลัดวงจร การทำงานของเซอร์กิตเบรกเกอร์หรือเบรกเกอร์ คือการตัดกระแสไฟฟ้าหลังจากตรวจพบความผิดปกติในวงจรไฟฟ้า

เบรกเกอร์มีหลายแบบ ทั้งเบรกเกอร์ขนาดเล็กที่ใช้ป้องกันสำหรับวงจรที่มีกระแสไฟฟ้าต่ำหรือพวกเครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือน จนถึงสวิตช์ขนาดใหญ่ที่ออกแบบมาเพื่อป้องกันวงจรไฟฟ้าแรงสูงที่จ่ายไฟให้ตัวเมือง

เครื่องป้องกันกระแสเกิน ชนิด 1 ขั้ว เหมาะสมกับระบบใด

ประเภทของเบรกเกอร์

เบรกเกอร์จะถูกแบ่งออกเป็นแต่ละประเภทตามพิกัดแรงดันไฟฟ้าหรือการออกแบบ หากแบ่งตามพิกัดแรงดันไฟฟ้าจะแบ่งได้ 3 ประเภท ได้แก่ Low Voltage เบรกเกอร์, Medium Voltage เบรกเกอร์ และ High Voltage เบรกเกอร์ เบรกเกอร์ส่วนใหญ่ที่นิยมใช้กันคือ Low Voltage เบรกเกอร์ เบรกเกอร์กลุ่ม Low Voltage คือพวก MCB, MCCB และ ACB เบรกเกอร์เหล่านี้จะมีลักษณะที่แตกต่างกันตามการออกแบบ ทั้งขนาด รูปร่างที่ถูกออกแบบมาให้เข้ากับการใช้งานหลากหลายประเภท บทความเหล่านี้จะช่วยให้คุณเข้าใจและสามารถเลือกซื้อ Circuit Breaker ที่ตรงตามความต้องการได้จริงๆ

เซอร์กิตเบรกเกอร์แรงดันไฟฟ้าต่ำ Low Voltage Circuit Breakers

แรงดันไฟฟ้าต่ำ น้อยกว่า 1,000 VAC เป็นเบรกเกอร์แบบที่ใช้งานทั่วไป ใช้งานเชิงพาณิชย์และอุตสาหกรรม ติดตั้งในตู้คอนซูมเมอร์ยูนิท ตู้ MDB หรือตู้โหลดเซ็นเตอร์ เบรกเกอร์ชนิดนี้ได้รับการรับรองตามมาตรฐานสากล เช่น มาตรฐาน IEC 947 เบรกเกอร์แรงดันไฟฟ้าต่ำมักถูกติดตั้งในตู้ที่เปิดออกได้ ซึ่งสามารถถอดและเปลี่ยนได้โดยไม่ต้องถอดสวิตช์ออก

ตัวอย่างเบรกเกอร์แรงดันไฟฟ้าต่ำ มีดังนี้

1.เซอร์กิตเบรกเกอร์ลูกย่อย MCB (Miniature Circuit Breaker)
เป็นเบรกเกอร์ขนากเล็กมักใช้ในอาคาร ใช้ติดตั้งเป็นอุปกรณ์ป้องกันร่วมกับตู้โหลดเซ็นเตอร์ (Load center) หรือตู้คอนซูมเมอร์ยูนิตในห้องพักอาศัย (Consumer unit) มีพิกัดกระแสลัดวงจรต่ำ เป็นเบรกเกอร์ชนิดที่ไม่สามารถปรับตั้งค่ากระแสตัดวงจรได้ และส่วนใหญ่จะอาศัยกลไกการปลดวงจรในรูปแบบ thermal และ magnetic
สำหรับการเลือก MCB สำหรับใส่ในตู้คอนซูมเมอร์ยูนิตนั้น เราสามารถติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันนี้อยู่ 2 จุด ได้แก่ เป็นอุปกรณ์ป้องกันเมนหรือเมนเบรกเกอร์ และ วงจรย่อย ซึ่งที่จุดเมนเบรกเกอร์นั้นต้องเลือกค่ากระแสจากโหลดทั้งหมด โดยส่วนใหญ่แล้วจะอยู่ที่ประมาณ 100 A สำหรับ MCB ส่วนที่วงจรย่อยกระแสที่เลือกขึ้นอยู่กับโหลดแต่ละจุดที่ใช้งาน เช่น เป็นโหลดแสงสว่าง, โหลดเต้ารับ, โหลดเครื่องทำความเย็น และ โหลดเครื่องทำน้ำอุ่น เป็นต้น โดยหลักๆแล้วสิ่งที่ต้องคำนึงถึงก่อนการเลือกซื้อนั้นได้แก่ จำนวน pole, ค่า In, ค่า Icu, และ มาตรฐานต่างๆ เป็นต้น โดยที่
ค่า In กระแสพิกัด คือ ขนาดกระแสใช้งานสูงสุดที่เบรกเกอร์สามารถทนได้ในสภาวะใช้งานและสภาพแวดล้อมปกติ
Icu คือ ขนาดกระแสลัดวงงจรสูงสุดที่เบรกเกอร์สามารถทนและยังสามรถตัดวงจรได้โดยไม่เกิดความเสียหายขึ้นกับตัวเบรกเกอร์เอง มักแสดงในรูปของ kA RMS

2.เครื่องตัดไฟรั่ว RCD (Residual Current Device)
เครื่องตัดไฟฟ้าอัตโนมัติที่จะตัดกระแสไฟฟ้าภายในระยะเวลาที่กำหนด เมื่อกระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านเข้าและออก มีค่าไม่เท่ากัน นั่นคือมีกระแสไฟฟ้าบางส่วนที่รั่วหายไป เช่น รั่วไหลจากเครื่องใช้ไฟฟ้าลงดินหรือกระแสไฟฟ้ารั่วผ่านคนที่ไปสัมผัสอุปกรณ์ที่มีไฟรั่วอยู่ ขณะใช้งานปกติจะไม่มีกระแสไฟฟ้ารั่ว ดังนั้น เครื่องตัดไฟรั่ว จะไม่ทำงาน ส่วนมากจะติดตั้งในตู้คอนซูมเมอร์ ยูนิต ในบ้านพักอาศัย เครื่องตัดไฟรั่ว อาจมีชื่อเรียกอื่นๆ อีก เช่น เครื่องตัดวงจรกระแสเหลือ (RCD, RCBO, RCCB) หรือเครื่องตัดกระแสไฟฟ้ารั่วลงดิน (ELCB, GFCI) ถูกนำไปใช้งานร่วมกับ เซอร์กิต เบรกเกอร์ ประเภทอื่นๆ เช่น เบรกเกอร์ลูกย่อย MCB หรือ เบรกเกอร์ MCCB
โดยเครื่องตัดไฟรั่วที่นิยมใช้งานอย่างแพร่หลายจะมี 3 ประเภทด้วยกันได้แก่ RCCB (Residual Current Circuit Breakers), RCBO (Residual Current Circuit Breakers with Overload protection) และ ELCB (Earth Leakage Circuit Breaker)

[อธิบายเพิ่มเติมเรื่อง ELCB (Earth Leakage Circuit Breaker)เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ถูกผลิตขึ้นมา โดยมีวัตถุประสงค์หลักสำหรับนำมาใช้ป้องกันไฟดูดหรือไฟรั่ว ส่วนใหญ่ใช้เป็นควบคุมเครื่องปรับอากาศ ปั๊มน้ำ ฯลฯซึ่งหน้าตาภายนอกโดยรวมถือว่าคล้ายกับเซฟตี้เบรกเกอร์มาก ต่างกันที่ ELCB จะมีปุ่มเล็กๆที่เรียกว่าปุ่ม TEST แต่เซฟตี้เบรกเกอร์นั้นไม่มีปุ่มTEST และหลักการทำงานและวัตถุประสงค์ของการนำไปใช้งานก็แตกต่างกันด้วย เบรกเกอร์ ELCB มีหน้าที่คือ ตัดหรือปลดวงจรไฟฟ้าลงอัตโนมัติเมื่อมีกระแสไฟฟ้ารั่วลงดินจนถึงค่าที่ตรวจจับได้ และยังสามารถปลดวงจรไฟฟ้าเมื่อเกิดไฟฟ้าลัดวงจรได้อีกด้วย แต่เบรกเกอร์ ELCB จะไม่สามารถปลดวงจรไฟฟ้าออกได้เองในกรณีที่ใช้กระแสไฟฟ้าเกินกว่าพิกัดที่ระบุไว้ อย่างเช่น บนตัว ELCB ระบุค่าพิกัดกระแสที่ 30 A แต่เมื่อมีการใช้กระแสไฟฟ้าสูงเกินกว่าที่ระบุไว้หากเป็นเบรกเกอร์แบบธรรมดาก็จะปลดวงจรออกเองเมื่อใช้งานพิกัดกระแสเกินกว่าที่ระบุแต่ในกรณีของ ELCB พิกัดกระแสที่ระบุบนตัวของมันคือค่าสูงสุดที่มันจะทนได้ไม่ใช่ค่าที่มันจะปลดวงจร การมีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านเกินพิกัดสูงสุดที่แสดงบน ELCB ก็จะทำให้มันพังโดยที่ไม่มีการปลดวงจร ELCBจึงเหมาะกับการนำไปใช้งาน เพื่อควบคุมและป้องกันความเสี่ยงเฉพาะกับเครื่องใช้ไฟฟ้า ซึ่งเราทราบปริมาณการใช้ไฟฟ้าสูงสุดอยู่แล้วอย่างเช่นเครื่องทำน้ำอุ่น, เครื่องทำน้ำร้อน เป็นต้น ]

3.MCCB (Molded Case Circuit Breaker)
เป็นเซอร์กิตเบรกเกอร์ที่ห่อหุ้มปิดมิดชิดด้วย molded จำนวน 2 ส่วน ที่ทำการทดสอบ Dielectric strength ก่อนที่จะวางจำหน่าย ส่วน molded ทำหน้าที่เป็นฉนวนหุ้มปกปิดเซอร์กิตเบรคเกอร์ ส่วนใหญ่ทำจาก phenolic เซอร์กิตเบรกเกอร์ชนิดนี้ทำหน้าที่หลัก 2 อย่างคือ ทำหน้าที่เป็น สวิตช์เปิด-ปิด ด้วยมือและเปิดวงจรโดยอัตโนมัติ (กระแสเกินเนื่องจากโหลดเกินหรือลัดวงจร) เมื่อเซอร์กิตเบรกเกอร์เปิดวงจรจะสังเกตเห็นว่าด้ามจับคันโยกจะเลื่อนมาที่ตำแหน่ง Trip ซึ่งจะอยู่กึ่งกลางระหว่าง ON และ OFF (ลักษณะนี้เซอร์กิตเบรกเกอร์ได้เปิดวงจรออกจากระบบเรียบร้อยแล้ว) เมื่อทำการแก้ไขสิ่งผิดปกติออกจากระบบก็จะสามารถโยกเลื่อนกลับไปต่อใช้งานได้เช่นเดิม ด้วยการ reset คือ กดลงตำแหน่ง OFF ก่อน จากนั้นจึงเลื่อนไปยังตำแหน่ง ON ถ้าเลื่อนไปยังตำแหน่ง ON ผลปรากฏว่าด้ามจับรีกลับมาที่ตำแหน่ง Trip แสดงว่า ขณะนั้นเกิดสภาวะกระแสเกินเนื่องจากกระแสไหลเกิน จะต้องหาสาเหตุของสภาวะผิดปกติและแก้ไขให้เรียบร้อยก่อน จึงจะสามารถดันด้ามจับไปตำแหน่ง ON ได้ การทำงานแบบนี้เรียกว่า Quick make หรือ Quick break

Molded Case Circuit Breaker ที่จำหน่ายในท้องตลาดแบ่งออกเป็น 2 ชนิดคือ Thermal magnetic circuit breaker และ Electronic trip circuit breaker

Thermal magnetic circuit breaker

เครื่องป้องกันกระแสเกิน ชนิด 1 ขั้ว เหมาะสมกับระบบใด

จากรูปที่คุณเห็นเป็นตัวอย่างขนาด 1 ขั้ว (one pole) และ 2 ขั้ว (two pole) MCCB ชนิดนี้มีอุปกรณ์สำหรับการสั่งปลดวงจรจำนวน 2 ส่วนคือ
•Thermal Unit ใช้สำหรับปลดวงจรออกเมื่อกระแสเกินเนื่องจากโหลดเกิน (over load) จากรูปเมื่อกระแสเกินเนื่องจากโหลดเกินไหลผ่านแผ่นไบเมทอล (bimetal) จะเกิดความร้อนจนโก่งงอไปปลดอุปกรณ์ทางกล (mechanical) ทำให้เซอร์กิตเบรคเกอร์ปลดวงจรออกหรือที่เรียกว่า เซอร์กิตเบรคเกอร์ทริป (trip)

เครื่องป้องกันกระแสเกิน ชนิด 1 ขั้ว เหมาะสมกับระบบใด

โดยทั่วไปการสั่งปลดวงจรของ Thermal unit จะใช้เวลานานพอสมควร ขึ้นอยู่กับจำนวนกระแสและความร้อนที่จะทำให้แผ่นไบเมทอลเกิดการโค้งงอ ดังนั้นเมื่อเกิดการลัดวงจรจึงต้องมีอุปกรณ์อีกตัวหนึ่ง เพื่อปลดวงจรออกอย่างรวดเร็ว

•Magnetic unit ใช้สำหรับปลดวงจรออกเมื่อกระแสเกินเนื่องจากลัดวงจร (short circuit) จากรูปถ้าหากเกิดการลัดวงจรหรือกระแสสูงๆ ประมาณ 8-10 เท่าขึ้นไปไหลผ่านจะทำให้เกิดสนามแม่เหล็ก และเกิดแรงขึ้นจำนวนหนึ่งจนสามารถดึงอุปกรณ์ทางกล ทำให้เซอร์กิตเบรคเกอร์ปลดวงจรออกได้

เครื่องป้องกันกระแสเกิน ชนิด 1 ขั้ว เหมาะสมกับระบบใด

การสั่งปลดวงจรของ magnetic unit จะรวดเร็วมาก ดังนั้น MCCB ชนิดนี้จำเป็นต้องมีอุปกรณ์ทั้ง 2 ส่วนเพื่อทำหน้าที่ปลดวงจร

Electronic trip circuit breaker

Electronic trip MCCB หรือ solid state trip จะใช่วงจรอิเล็กทรอนิกส์วิเคราะห์ค่ากระแส เพื่อส่งปลดวงจร ภายในจะมีหม้อแปลงกระแส (current transformer: CT) ทำหน้าที่แปลงกระแสให้มีขนาดต่ำลง โดยมีไมโครโปรเซสเซอร์ (microprocessor) ทำหน้าที่วิเคราะห์ค่าของกระแสที่ไหลผ่าน ถ้าหากสูงเกินกว่าค่าที่กำหนดไว้ก็จะสั่งให้ tripping coil ดึงอุปกรณ์ทางกลเพื่อให้เซอร์กิตเบรกเกอร์ปลดวงจร เซอร์กิตเบรกเกอร์ชนิดนี้จะมีปุ่มปรับค่ากระแสและเวลาปลดวงจร นอกจากนี้ยังสามารถติดตั้งอุปกรณ์ที่เรียกว่า ammeter & fault indicator โดยจะแสดงสาเหตุการผิดปกติของวงจรและค่ากระแสได้อีกด้วย ทำให้การวิเคราะห์หาสาเหตุในการปลดวงจรทำได้อย่างรวดเร็ว

เครื่องป้องกันกระแสเกิน ชนิด 1 ขั้ว เหมาะสมกับระบบใด

ดังนั้น MCCB หรือ Molded Case Circuit Breaker ก็คือเซอร์กิตเบรกเกอร์แบบหนึ่งที่่นิยมใช้ในงานที่มีแรงดันไม่เกิน 1,000 โวลต์ ใช้เปิดปิดวงจรเมื่อกระแสเกินจากโหลดเกินหรือลัดวงจร นิยมใช้ในตู้ไฟฟ้า Local panel ในโรงงาน

4.Air Circuit Breaker (ACB)

นิยมใช้สำหรับระบบแรงดันไฟฟ้าน้อยกว่า 1,000โวลท์ส่วนใหญ่จะมีพิกัดกระแสระหว่าง 255A-6,300A และมีค่า interrupting capacity (กระแสลัดวงจรสูงสุดที่ CB. ยังสามารถปลดวงจรได้อย่างปลอดภัย) ตั่งแต่ 35KA-150KA ทำให้ราคาของเบรกเกอร์ ACB มีราคาแพง และนับว่าเป็นเบรกเกอร์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในเบรกเกอร์แรงดันไฟฟ้าต่ำ (LV) ส่วนใหญ่โครงสร้างจะทำด้วยเหล็ก ทำให้มี น้ำหนักมาก จึงต้องติดตั้งใน รางเลื่อน Air Circuit Breakerส่วนใหญ่ จะใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นตัววิเคราะห์ค่ากระแส เพื่อสั่งปลดวงจร ABCมี 2 ประเภทคือ Fixed type (ติดตั้งอยู่กับที่ )และDraw out type (แบบถอดออกได้ )

ด้วยคุณสมบัติที่สำคัญของอุปกรณ์เบรกเกอร์ Circuit Breakerตามข้างต้นนี้เอง จึงปฎิเสธไม่ได้เลยว่าเป็นอุปกรณ์ที่จำเป็นต้องมีทั้งในงานที่เกี่ยวเนื่องด้วยระบบงานไฟฟ้าทั้งส่วนภาคครัวเรือนและภาคอุตสาหกรรม เพื่อป้องกันเหตุความผิดพลาดอันเกิดขึ้นในวงจรไฟฟ้า ซึ่งหากเกิดความผิดพลาดขึ้นก็อาจจะทำให้เกิดอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สิน อันเป็นความสูญเสียต่อมูลค่าทางเศรษฐกิจและทรัยากรขององกรณ์และของฝ่ายบุคลากร