สถานทีใดเป็นที่ประทับของสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ

วันนี้ในอดีต 1 มกราคม พ.ศ. 2407 วันคล้ายวันพระราชสมภพ สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ...

Posted by คําไทย on Saturday, December 31, 2016

พระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี หรือสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เป็นพระเจ้าลูกเธอพระองค์ที่ 66 ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) ซึ่งประสูติแต่เจ้าจอมมารดาเปี่ยม จันทร์ที่ 2 มิถุนายน 2557 เวลา 00.00 น.

บอกต่อ : 0

0

0

0

พระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี หรือสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เป็นพระเจ้าลูกเธอพระองค์ที่ 66 ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) ซึ่งประสูติแต่เจ้าจอมมารดาเปี่ยม (ได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จพระปิยมาวดี ศรีพัชรินทรมาตา) ทรงมีพระเชษฐาและพระเชษภคินีร่วมพระมารดาทั้งสิ้น 6 พระองค์ได้แก่ 1. พระองค์เจ้าอุณากรรณอนันตนรไชย 2. พระองค์เจ้าเทวัญอุไทยวงศ์ 3. พระองค์เจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ 4. พระองค์เจ้าสว่างวัฒนา 5. พระองค์เจ้าเสาวภาผ่องศรี  6. พระองค์เจ้าสวัสดิโสภณ ทรงรับราชการเป็นพระภรรยาเจ้าในรัชกาลที่ 5 เมื่อมีพระชนม์ 15 พรรษา เช่นเดียวกับพระพี่นางทั้ง 2 พระองค์ คือ พระองค์เจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ กับ พระองค์เจ้าสว่างวัฒนา ทรงมีพระอุปนิสัยเป็น “น้องเล็ก” คือ “ตามพระทัยองค์เอง” ไม่เชื่อฟังแต่ทรงมีพระสติปัญญาเฉียบแหลมมากจึงศึกษาวิชาการ ได้อย่างรวดเร็ว เฉลียวฉลาดปราดเปรื่องยิ่งนัก เมื่อ พ.ศ. 2423 เกิดอุบัติเหตุเรือพระที่นั่งล่มทำให้พระองค์เจ้าสุนันทากุมารีรัตน์สิ้นพระชนม์ จึงได้มีการจัดระเบียบภายในราชสำนักว่าด้วยตำแหน่งพระภรรยาเจ้า ให้เป็นที่เรียบร้อยชัดเจน โดยรัชกาลที่ 5 ได้สถาปนาให้เป็น “สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวี” ซึ่งถือเป็นสมเด็จพระอัครมเหสีพระองค์แรก และได้สถาปนา “สมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา พระบรมราชเทวี” เป็นสมเด็จพระอัครมเหสีพระองค์ที่สอง เนื่องจากเป็นพระราชชนนีพระราชโอรสพระองค์ใหญ่ คือ เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ และรัชกาลที่ 5 ยังได้สถาปนาเป็นพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระวรราชเทวี เป็นพระอัครมเหสี ลำดับที่สาม

ต่อมาเมื่อเจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศสิ้นพระชนม์ จึงได้สถาปนาเจ้าฟ้ามหาวชิราวุธเป็นพระรัชทายาทดำรงตำแหน่งสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามมกุฎราชกุมาร พระองค์ที่ 2 และสถาปนาพระอิสริยยศพระราชชนนีขึ้นเป็นสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระบรมราชินี ได้ประชวรมาตั้งแต่รัชกาลที่ 5 สวรรคต และเมื่อรัชกาลที่ 6 ได้ขึ้นครองราชย์ ได้สถาปนาเป็น “สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนี” และได้ทรงย้ายมาประทับที่พระราชวังพญาไท จนกระทั่งสวรรคต พระชนมายุ 55 พรรษาและด้วยทรงมีบุญญาธิการสูงส่งได้เป็นพระราชินีคู่พระทัยพระมหากษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่ในแผ่นดินคือ รัชกาลที่ 5 มีพระอิสริยยศเหนือกว่าพระมเหสีพระองค์ใด เป็นทั้งพระราชมารดาของพระมหากษัตริย์ของไทยทั้ง 2 พระองค์คือ รัชกาลที่ 6 กับรัชกาลที่ 7 ทรงมีรักที่มั่นคงดุจดังเสาหลักแห่งแผ่นดิน ได้ทรงยึดมั่นทำประโยชน์แก่ชาติไทยในทุกทิศทุกทางจนเป็นที่กล่าวขานสืบมาตราบเท่าทุกวันนี้.

ทรงห่วงใยความเจ็บไข้ของราษฎรและทหารเป็นอย่างยิ่ง จึงทรงสนับสนุนการก่อตั้งโรงพยาบาลศิริราชเป็นโรงพยาบาลแห่งแรกของประเทศไทยและพระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์  ตั้งโรงเรียนพยาบาลเป็นแห่งแรกขึ้นที่นี่เมื่อ ค.ศ.1896   ทรงชักชวนสตรีไทยให้เลิกการคลอดบุตรที่ต้องอยู่ไฟแบบเดิมมาใช้วิธีการพยาบาลแบบสากลที่สุขสบายและได้ผลดีกว่า

 

     สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เป็นพระเจ้าลูกเธอพระองค์ที่ 66 ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) และสมเด็จพระปิยมาวดี ศรีพัชรินทรมาตา (เจ้าจอมมารดาเปี่ยม) ทรงพระราชสมภพเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2407  สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2462  พระชนมายุ 55 ปี พระองค์มีพระราชโอรสธิดาทั้งสิ้น ๙ พระองค์ โดยเป็นพระราชโอรส 7 พระองค์ พระราชธิดา 2 พระองค์

     เมื่อแรกประสูติพระองค์ได้รับพระราชทานพระนามว่า พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าเสาวภาผ่องศรี  พระองค์มีพระเชษฐาและพระขนิษฐาร่วมพระมารดาทั้งสิ้น 6 พระองค์ ได้แก่ พระองค์เจ้าอุณากรรณอนันตนรไชยพระองค์เจ้าเทวัญอุไทยวงศ์พระองค์เจ้าสุนันทากุมารีรัตน์พระองค์เจ้าสว่างวัฒนา พระองค์เจ้าเสาวภาผ่องศรี และ พระองค์เจ้าสวัสดิโสภณ 

     เมื่อครั้งยังทรงพระเยาว์นั้น พระองค์ทรงเป็นผู้ที่มีพระปัญญาที่เฉียบแหลมมาก ทรงใฝ่พระทัยในการศึกษาหมั่นซักถามแสวงหาความรู้ด้วยพระวิริยะอุตสาหะและทรงศึกษาวิชาการต่างๆ ได้อย่างรวดเร็วอันเป็นเครื่องแสดงถึงการที่ทรงมีพระวิริยะ พระปัญญาปราดเปรื่องหลักแหลม ต่อมาขณะที่มีพระชนม์ 15 พรรษา ทรงเข้ารับราชการเป็นมเหสีในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 จึงทรงได้รับการสถาปนาเป็น พระนางเธอ พระองค์เจ้าเสาวภาผ่องศรี และในปีถัดมาก็ได้รับการสถาปนาเป็น พระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระราชเทวี

     ภายหลังการสวรรคตของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสถาปนาสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ พระราชโอรสในพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระวรราชเทวี ขึ้นเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมารพระองค์ต่อมา พร้อมทั้งสถาปนาพระอิสริยยศของพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระวรราชเทวี ขึ้นเป็นสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระอรรคราชเทวี ในฐานะเป็นพระชนนีในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช พระองค์ใหม่ ซึ่งเป็นพระยศพระอัครมเหสีเช่นเดียวกับสมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา พระบรมราชเทวี
 

     เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสยุโรปในปี พ.ศ. 2440 เพื่อตรวจดูแบบแผนราชการแล้วนำมาเปรียบเทียบปรบปรุงการปกครองของราชอาณาจักรสยาม พร้อมกันนั้นก็เพื่อทรงเจริญสัมพันธไมตรีกับอารยประเทศในยุโรป พระองค์จึงทรงมอบหมายให้สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระอัครราชเทวี ทรงดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ซึ่งทรงปฏิบัติราชการแผ่นดินได้เรียบร้อยเป็นที่พอพระราชหฤทัยยิ่งนัก ด้วยพระองค์ทรงพระปรีชาสามารถจรรยนุวัติปฏิบัติ ประกอบด้วยพระราชอัธยาศัยสภาพสมด้วยพระองค์เป็นขัติยนารีนาถ และกอปรด้วยพระกรุณภาพยังสรรพกิจทั้งหลายที่ได้พระราชทานปฏิบัติมาล้วนแต่เป็นเกียรติคุณแก่ประเทศสยามทั่วไป จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เฉลิมพระนามาภิไธย จากสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระอัครราชเทวี เป็น “สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระบรมราชินีนาถ”   เป็นสมเด็จพระบรมราชินีนาถพระองค์แรกในประเทศไทย

     เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453  สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ พระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราช กุมาร ขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ ทรงพระนามว่า พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 แห่งราชวงศ์จักรี ในฐานะพระราชมารดาพระองค์จึงทรงได้รับการเฉลิมพระนามาภิไธยเป็น “สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนี”  และทูลเชิญพระองค์เสด็จมาประทับที่พระราชวังพญาไท ซึ่งพระองค์ก็เสด็จประทับที่พระราชวังแห่งนี้จนกระทั่งเสด็จสวรรคตเมื่อวันจันทร์ที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2462 พระชนมายุ 55 พรรษา พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระบรมราชโองการให้ออกพระนามพระบรมราชชนนีภายหลังการเสด็จสวรรคตว่า สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง

     พระราชกรณียกิจที่สำคัญ  ทรงสนพระทัยในการพัฒนาสตรีและทรงเล็งเห็นว่าความรุ่งเรืองของบ้านเมืองย่อมอาศัยการศึกษาเล่าเรียนที่ดี ดังนั้นในปี พ.ศ. 2444 จึงทรงบริจาคพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์จัดตั้งโรงเรียนสำหรับเด็กหญิงแห่งที่สองขึ้นในกรุงเทพมหานคร ทรงพระราชทานชื่อว่า “โรงเรียนสตรีบำรุงวิชา” และในปี พ.ศ. 2447 ทรงเปิดโรงเรียนสำหรับกุลธิดาของข้าราชสำนักและบุคคลชั้นสูงคือ “โรงเรียนสุนันทาลัย” ให้การอบรมด้านการบ้านการเรือน กิริยามารยาท และวิชาการต่างๆ อีกทั้งทรงจ่ายเงินเดือนครู และค่าใช้สอยต่างๆ สำหรับเป็นค่าเล่าเรียนแก่กุลบุตรกุลธิดาของข้าราชการใหญ่น้อยและราษฎรอีกเป็นจำนวนมาก ทรงบริจาคพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ให้ตั้งโรงเรียน และจ่ายเงินเดือนครูในโรงเรียนต่างๆ เช่น โรงเรียนราชินีโรงเรียนราชินีบนโรงเรียนทวีธาภิเศกโรงเรียนเสาวภา ปัจจุบันคือ วิทยาลัยอาชีวศึกษาเสาวภาโรงเรียนวิเชียรมาตุ และ โรงเรียนสภาราชินี (จังหวัดตรังโรงเรียนจอมสุรางค์อุปถัมถ์ (จังหวัดพระนครศรีอยุธยาโรงเรียนราชินีบูรณะ (จังหวัดนครปฐมโรงเรียนศรียานุสรณ์ (จังหวัดจันทบุรีโรงเรียนสตรีราชินูทิศ (จังหวัดอุดรธานีโรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตร เสด็จมาทรงควบคุมการก่อสร้างแทนพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและโรงเรียนแพทย์ผดุงครรภ์และหญิงพยาบาล ปัจจุบันคือคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นอกจากนี้ยังมีพระราชกรณียกิจทางด้านการศาสนา การทหารและการเสด็จประพาสทั้งในและต่างประเทศ

     พระราชกรณียกิจด้านการพยาบาล  สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงมีความห่วงใยความเจ็บไข้ได้ป่วยของราษฎรและทหารเป็นอย่างยิ่ง โดยทรงสนับสนุนการก่อตั้งโรงพยาบาลศิริราชซึ่งนับว่าเป็นโรงพยาบาลแห่งแรกของประเทศไทย ภายหลังการสวรรคตของเจ้าฟ้าศิริราชกกุธภัณฑ์ พระราชโอรสของพระองค์ และพระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์ ตั้งโรงเรียนแพทย์ผดุงครรภ์ขึ้นในโรงพยาบาลแห่งนี้สำหรับเป็นสถานศึกษาวิชาการพยาบาลและการผดุงครรภ์ของสตรี ทั้งยังทรงจ่ายเงินเดือนแพทย์และมิชชั่นนารีเพื่อช่วยเหลือค่าใช้จ่าย ตลอดจนค่าอาหารของนักเรียน และพระราชทานเงินให้แก่หญิงอนาถาที่มาคลอดบุตรในโรงพยาบาลศิริราชเพื่อเป็นค่าใช้สอยทุกคน

     พระองค์ทรงเป็นผู้นำชักชวนสตรีไทยให้เลิกการคลอดบุตรในลักษณะที่ต้องอยู่ไฟมาใช้วิธีการพยาบาลแบบสากลที่สุขสบายและได้ผลดีกว่า นอกจากนี้พระองค์ยังมีพระราชดำริจัดตั้งสภาอุณาโลมแดงและได้ทรงบริจาคพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์จัดสร้างขึ้นใน พ.ศ. 2436 เพื่อเป็นศูนย์กลางบรรเทาทุกข์ช่วยเหลือผู้เจ็บป่วย ซึ่งต่อมาภายหลังที่ได้เกิดความขัดแย้งระหว่างประเทศไทยกับประเทศฝรั่งเศส เรื่องเขตแดนริมฝั่งแม่น้ำโขง เมื่อ พ.ศ. 2436 อันนำมาซึ่งการบาดเจ็บให้กับทหารและราษฎรจำนวนมาก สภาอุณาโลมแดงได้เป็นศูนย์กลางในการบรรเทาทุกข์ลงอย่างมาก หลังจากวิกฤตการณ์ดังกล่าว สภาอุณาโลมแดง จึงใช้ชื่อว่า สภากาชาดสยาม ซึ่งแปรเปลี่ยนเป็นโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์และสภากาชาดไทยในปัจจุบัน ซึ่งนับว่าเป็นองค์กรสาธารณประโยชน์องค์กรแรกในประเทศไทย ทั้งนี้สมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนาพระบรมราชเทวี (สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า) เป็นสภาชนนี และพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระวรราชเทวี (สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง) ทรงดำรงตำแหน่งสภานายิกาพระองค์แรก ซึ่งพระองค์ได้ทรงดำรงตำแหน่งองค์สภานายิกาสืบต่อมารวมเวลาถึง 26 ปี อีกทั้งพระองค์ยังได้ทรงบริจาคพระราชทรัพย์แก่โรงพยาบาลหลายแห่งทั้งในกรุงเทพมหานครและต่างจังหวัด

     ด้วยพระเกียรติคุณที่ทรงประกอบพระราชกรณียกิจเพื่อประโยชน์สุขของประเทศชาติและประชาชนนานัปการ จนเป็นที่ประจักษ์ชัดจนถึงทุกวันนี้ องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ UNESCO  สำนักงานใหญ่องค์การยูเนสโก กรุงปารีส สาธารณรัฐฝรั่งเศส จึงได้ประกาศราชสดุดีเฉลิมพระเกียรติคุณยกย่องให้สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงเป็นบุคคลสำคัญของโลก ในฐานะที่ทรงมีผลงานดีเด่นด้านการศึกษาสำหรับเด็กและสตรี การศึกษาด้านการสาธารณสุขศาสตร์ วัฒนธรรม วิทยาศาสตร์ประยุกต์และสังคม และมนุษยศาสตร์ ปี พ.ศ.๒๕๕๗  เนื่องในโอกาสครบ ๑๕๐ ปี แห่งการพระราชสมภพ วันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๗ เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติคุณให้ปรากฏแผ่ไพศาล สืบไป