ข้อใดไม่ใช่คุณลักษณะของพระภิกษุสงฆ์ตามหลัก สังฆคุณ 9

บาลีน่ารู้
เรื่อง : ธรรมรักษ์ ป.ธ.๙

ข้อใดไม่ใช่คุณลักษณะของพระภิกษุสงฆ์ตามหลัก สังฆคุณ 9

สังฆคุณ ๙ ประการ
หนฺท มยํ สงฺฆาภิถุตึ กโรม เส

ขอเชิญพวกเรามาสวดสรรเสริญคุณของพระสงฆ์กันเถิด

           สังฆคุณมี ๙ ประการ : ๔ ประการแรกเป็นเหตุ และ ๕ ประการหลังเป็นผล ได้แก่

           ๑. โย โส สุปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ : พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นหมู่ใด เป็นผู้ปฏิบัติดี คือ ปฏิบัติตามเส้นทางสายกลาง ไม่หย่อนนัก ไม่ตึงนัก ปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้า
           ๒. อุชุปฏิปนฺโน : เป็นผู้ปฏิบัติตรง คือ ไม่ปฏิบัติเพื่อโอ้อวด ไม่มีมายา ไม่ลวงโลก ไม่มีเล่ห์เหลี่ยม ตรงต่อหนทางพระนิพพาน
           ๓. ญฺายปฏิปนฺโน : เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อรู้ธรรมเป็นเครื่องออกจากทุกข์ คือ ปฏิบัติมุ่งธรรมเป็นใหญ่ เอาความถูกต้องเป็นหลัก และมุ่งปฏิบัติเพื่อนำไปสู่การบรรลุธรรม
           ๔. สามีจิปฏิปนฺโน : เป็นผู้ปฏิบัติสมควร คือ ปฏิบัติน่านับถือ สมควรได้รับความเคารพยกย่องที่สุด
           ๕. อาหุเนยฺโย : เป็นผู้ควรแก่สักการะที่เขานำมาบูชา คือ ควรได้รับสิ่งของที่เขานำมาถวาย เพราะท่านมีคุณสมบัติ ๔ ประการ ดังกล่าวข้างต้น
           ๖. ปาหุเนยฺโย : เป็นผู้ควรแก่สักการะที่เขาจัดไว้ต้อนรับ คือ เมื่อปฏิบัติดีปฏิบัติชอบแล้ว ไปที่ไหนก็ถือว่าเป็นบุคคลผู้ทรงเกียรติที่สมควรให้การต้อนรับ
           ๗. ทกฺขิเณยฺโย : เป็นผู้ควรรับทักษิณาทาน คือ เป็นทักขิไณยบุคคลผู้ควรรับทาน ที่โยมน้อมนำมาถวายเพื่อการอุทิศส่วนกุศลแก่ผู้ตาย
           ๘. อญฺชลีกรณีโย : เป็นผู้ควรแก่การทำอัญชลี คืออยู่ในฐานะที่ใคร ๆ ควรแสดงความเคารพกราบไหว้ เพราะทำให้ผู้ไหว้เจริญด้วยอายุ วรรณะ สุขะ พละ
           ๙. อนุตฺตรํ ปุญฺญฺกฺเขตฺตํ โลกสฺส : เป็นเนื้อนาบุญของโลก ไม่มีเนื้อนาบุญอื่นยิ่งกว่า คือ พระสงฆ์เป็นผู้บริสุทธิ์ ทักษิณาที่ถวายแด่พระสงฆ์ย่อมมีอานิสงส์มาก เปรียบเหมือนนามีดินดีและน้ำดี พืชที่หว่านไปย่อมให้ผลไพบูลย์ พระสงฆ์จึงเป็นที่บำเพ็ญบุญของพุทธศาสนิกชน     ทั้งหลาย..

            ความหมายและคุณค่าของสังฆคุณ 9

         พระสงฆ์เป็นผู้ประพฤติดีปฏิบัติชอบเป็นหลักสำคัญมากในการสืบต่อพระพุทธศาสนาซึ่งได้รับการเคารพยกย่องอย่างสูงโดยจัดเข้าเป็นส่วนหนึ่งของพระรัตนตรัย คือ พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ คุณของพระสงฆ์โดยสรุปมี 9 ประการ เรียกว่า “สังฆคุณ” คือ

1. สุปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ แปลว่า พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าปฏิบัติดีแล้ว หมายถึง พระสงฆ์สาวกผู้ปฏิบัติตามทางสายกลาง (มัชฌิมปฏิปทา) ไม่หย่อนนัก ไม่ตึงนัก ปฏิบัติไม่ถอยหลัง ปฏิบัติกลมเกลียวกับพระศาสนดา ไม่ปฏิบัติเป็นปฏิปักษ์ต่อกัน

2. อุชุปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ แปลว่า พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเข้าเป็นผู้ปฏิบัติตรง หมายถึง ไม่ปฏิบัติเป็นคนลวงโลก ไม่มีมายาสาไถย ปฏิบัติมุ่งตรงต่อข้อปฏิบัติอันยังสัตว์ให้ถึงพระนิพพาน ปฏิบัติตรงต่อพระศาสดา และเพื่อนพระสาวกด้วยกัน ไม่มีข้อลี้ลับที่จะปิดบังอำพรางไว้ในใจ

3. ญายปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ แปลว่า พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้ปฏิบัติถูกทาง หมายถึง ปฏิบัติไม่ผิดเพี้ยนไปจากหลักคำสอนของพระศาสดา ไม่ผิดไปจากธรรมเนียมอันดีงาม ปฏิบัติถูกต้องตามระเบียบแบบแผน

4. สามีจิปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ แปลว่า พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้ปฏิบัติสมควร หมายถึง สมควรที่จะได้รับความเคารพนับถือ เป็นผู้ปฏิบัติตั้งอยู่ในสังวร ปฏิบัติเป็นผู้ตื่นอยู่ คือรู้ถึงเหตุการณ์อันเป็นไปอยู่ ไม่งมงาย รู้จักประพฤติกิริยาทางกาย และวาจาต่อผู้อื่นโดยไม่ทะนงตนมีใจหนักแน่นเผื่อแผ่ มีใจกว้างไม่คับแคบ

5. อาหุเนยฺโย แปลว่า เป็นผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย หรือผู้ควรแก่ของคำนับ หมายถึง เป็นผู้ที่สมควรได้รับของถวายและได้รับการแสดงความเคารพด้วยเครื่องสักการะเนื่องในเทศกาลต่าง ๆ

6. ปาหุเนยฺโย แปลว่า เป็นผู้ควรแก่การต้อนรับ หมายถึง พระสงฆ์สาวกเป็นผู้ที่ปฏิบัติดี ปฏิบัติตรง ปฏิบัติถูกทาง และเป็นผู้ปฏิบัติสมควรแล้ว ไม่ว่าท่านจะโคจรไปสู่ที่ใด ย่อมยังประโยชน์สุขและประโยชน์เกื้อกูลให้เกิด ณ ที่นั้น ผู้เลื่อมใสจึงเปิดประตูบ้านต้อนรับด้วยความปีติ ที่ได้พบเห็นอันถือเป็นมงคลในชีวิตอย่างหนึ่ง

7. ทกฺขิเณยฺโย แปลว่า เป็นผู้ควรแก่ทักษิณาทาน หมายถึง พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้บริสุทธิ์ สมควรที่จะได้รับของบริจาคทาน (ทักษิณาทาน) และจะต้องได้รับผลดีอย่างแน่นอน

8. อญฺชลิกรณีโย แปลว่า เป็นผู้ควรแก่การกราบไหว้ หมายถึงพระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ประพฤติดีปฏิบัติชอบ เป็นผู้บริสุทธิ์ ย่อมตั้งอยู่ในฐานะที่ควรแก่กระทำอัญชลีคือการกราบไหว้ให้ความเคารพ ยกย่อง

9. อนุตฺตรํ ปุญฺญกฺเขตฺตํ โลกสฺส แปลว่า เป็นเนื้อนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก ไม่มีเนื้อนาบุญอื่นยิ่งกว่า หมายถึง พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ประพฤติดี ปฏิบัติชอบ ปฏิบัติถูกทาง ปฏิบัติสมควร และเป็นผู้บริสุทธิ สมควรได้รับการกราบไหว้บูชาแล้วการบริจาคทานแก่ท่านย่อมมีอานิสงส์มาก ดุจผืนนาที่มีดินดีสมบูรณ์ด้วยปุ๋ยอันเป็นธาติอินทรีย์ เมล็ดพืชที่หว่านหรือปลูกลงบนผืนดินนี้ย่อมผลิตผลอย่างสมบูรณ์เต็มเม็ดเต็มหน่วย พระสงฆ์สาวกเหล่านี้จึงเป็นปฏิคาหก (ผู้รับ) ที่ยอดเยี่ยม เป็นที่ปลูกฝังความดีงามและเป็นที่รักษาไว้ซึ่งความดีงามทั้งปวง
พระสงฆ์สาวกที่มาในบทสังฆคุณ 9 บทนี้ ท่านหมายเอาพระอริยบุคคล 4 คู่ 8 บุคคล ซึ่งท่านเหล่านี้ล้วนตั้งอยู่ในมรรคผลทั้งสิ้น คือ

คู่ที่ 1 คือ พระโสดาปัตติมรรค พระโสดาปัตติผล
คู่ที่ 2 คือ พระสกทาคามิมรรค พระสกทาคามิผล
คู่ที่ 3 คือ พระอนาคามิมรรค พระอนาคามิผล
คู่ที่ 4 คือ พระอรหันตมรรค พระอรหันตผล

 สังฆคุณ 9 จัดเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ 2 ประเภทคือ

1. อัตตหิตคุณ คือ คุณความดีเฉพาะพระสงฆ์สาวก คุณอันนี้ได้แก่ สังฆคุณ 4 บท คือ สุปฏิปันโน (เป็นผู้ปฏิบัติดี) อุชุปฏิปันโน (เป็นผู้ปฏิบัติตรง) ญายปฏิปันโน (เป็นผู้ปฏิบัติถูกทาง) สามีจิปฏิปันโน (เป็นผู้ปฏิบัติสมควร)

2. ปรหิตคุณ คือ คุณที่จะพึงเกื้อกูลให้เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น คุณดังกล่าวได้แก่ สังฆคุณ 5 บทหลัง คือ อานุเนยฺโย (เป็นผู้ควรแก่ของถวาย) ปาหุเนยฺโย (เป็นผู้ควรแก่การต้อนรับ) ทักขิเณยฺโย (เป็นผู้ควรแก่การบริจาคทาน) อัญชลิกรณีโย (เป็นผู้ควรแก่การกราบไหว้)และอนุตตรัง ปุญญเขตตัง โลกัสสะ (เป็นเนื้อนาบุญของโลก)การที่ท่านจัดสังฆคุณไว้เพียง 2 ประเภทเช่นนี้ ก็เพราะคุณใน 4 บทต้นนั้น เป็นไปเฉพาะในตัวของพระสงฆ์สาวกเท่านั้น ซึ่งเป็นเครื่องแสดงถึงการปฏิบัติดีปฏิบัติชอบที่เป็นส่วนบุคคล ใครปฏิบัติดีก็เป็นของผู้นั้น จะจำหน่ายจ่ายแจกหรือโอนไปให้ผู้อื่นไม่ได้ ส่วนคุณของพระสงฆ์ 5 บทหลัง เป็นคุณที่อาจเป็นเครื่องสงเคราะห์ผู้อื่นได้ เช่น เมื่อพระสงฆ์ได้รับความเคารพนับถือ กราบไหว้ ได้รับการสักการะแล้ว ท่านย่อมสงเคราะห์ตอบด้วยการแนะนำ สั่งสอน บอกทางแห่งความดีให้ เป็นต้น (ทองหล่อ วงษ์ธรรมา. 2538 : 83-85

 อริยสัจ4:ทุกข์:ขันธ์5:ไตรลักษณ์


     ไตรลักษณ์ (the Three Characteristics)

        ไตรลักษณ์นี้ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า สามัญลักษณะ แปลว่า ลักษณะที่ทั่วไป หรือเสมอเหมือนกันแก่สิ่งทั้งปวง คำทั้งสองคือ “ไตรลักษณ์” และ “สามัญลักษณะ” มีความหมายเหมือนกันคือ ทุกสิ่งไม่ว่าจะเป็นสิ่งมีชีวิตหรือสิ่งไม่มีชีวิต ล้วนตกอยู่ภายใต้กฎธรรมชาติ(ธรรมดา) ทั้ง 3 คือ สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เสมอเหมือนกันหมดโดยไม่มีข้อยกเว้นใด ๆ หลักของไตรหลักหรือสามัญลักษณะ มี 3 ประการดังนี้

        1. อนิจจตา (Impermanence) คือ สิ่งทั้งหลายไม่เที่ยง ไม่คงที่ ไม่ยั่งยืน ภาวะที่เกิดขึ้นแล้วเสื่อมและสลายไป เช่น ชีวิตของคนเรา หรือสรรพสิ่งต่าง ๆ ในโลกนี้ มีการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ เสื่อมโทรม และสลายไปในที่สุด ไม่ว่าสิ่งใดก็ตามเป็นอย่างนี้เสมอเหมือนกันหมด เพียงแต่ช้าหรือเร็วเท่านั้นหลักอนิจจังนี้ท่านสอนเพื่อจะได้ไม่ประมาท คือ เมื่อรู้ว่า สิ่งทั้งหลายไม่เที่ยง ไม่คงที่ ไม่แน่นอน มันเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา แม้แต่ชีวิตของเราจะอยู่ไปนานเท่าไรก็ไม่แน่นอน ดังนั้นควรจะต้องมีความเพียรพยายาม ทำกิจหน้าที่ เพื่อทำให้เป็นประโยชน์ต่อทั้งของตนเองและผู้อื่นให้สำเร็จ จะมัวรอช้าอยู่ไม่ได้ หลักอนิจจังมุ่งสอนไม่ให้ประมาท ที่ต้องไม่ประมาทนั้นก็โยงหลักความจริงที่ว่า การที่สิ่งทั้งหลายเปลี่ยนแปลงไปนั้นมันเปลี่ยนแปลงไปอย่างเลื่อนลอย นั่นคือ

1) ชีวิตและกิจการของเราเปลี่ยนไป
2) มีการเปลี่ยนแปลงไปตามเหตุปัจจัยหมายความว่า ในเมื่อสิ่งทั้งหลายเปลี่ยนแปลงไปนั้น จะเปลี่ยนไปในทางเสื่อมก็ได้ หรือเปลี่ยนไปในทางเจริญก็ได้ แล้วแต่เหตุปัจจัย หากเราต้องการความเจริญก็ต้องทำเหตุปัจจัยของความเจริญ เช่น มีความเพียร ความตั้งใจจริง ความอดทน เป็นต้น หากเราไม่ต้องการความเสื่อม เราก็หลีกเลี่ยง ละเลิก หรือกำจัดเหตุปัจจัยของความเสื่อม เช่น หลีกเลี่ยงอบายมุข เว้นการประพฤติทุจริต เป็นต้น
เพราะฉะนั้นต้องเข้าใจว่า หลักอนิจจังนี้ ท่านไม่ได้สอนให้เรางอมืองอเท้ารออยู่เฉย ๆ แต่ท่านสอนเพื่อให้เราไม่ประสาท และให้
ทำให้ถูกจุด หรือตรงเหตุปัจจัย ดังนั้นผู้ที่จะได้ประโยชน์จากหลักอนิจจังนี้ต้องทำให้ได้ 3 ชั้นคือ

ชั้นที่ 1 ให้เกิดความไม่ประมาท เร่งทำกิจที่ควรทำ
ชั้นที่ 2 ให้ทำตามเหตุปัจจัยและแก้ไขปัญหาที่เหตุปัจจัย
ชั้นที่ 3 อยู่ด้วยปัญญาที่ทำให้จิตใจปลอดโปร่ง สบาย และปล่อยวาง ไม่บีบคั้นตนเอง ดังนั้นจะก่อให้เกิดประโยชน์ 3 ข้อคือ
ข้อ 1 ทำให้กระตือรือร้นมีชีวิตชีวา และชีวิตมีคุณค่า
ข้อ 2 ทำให้ทำกิจการงานอะไรก็ตามก็ประสบความสำเร็จ
ข้อ 3 ทำให้จิตใจปลอดโปร่ง สบาย จิตใจผ่องใสมีความสุข

        2. ทุกขตา (Stress and Confict) คือ ความเป็นทุกข์ ภาวะที่ถูกบีบคั้นด้วยการเกิดขึ้นและสลายตัว ภาวะที่กดดัน ฝืนและขัดแย้งอยู่ในตัวเพราะปัจจัยที่ปรุงแต่งให้มีสภาพเป็นอย่างนั้นเปลี่ยนแปลงไป จะทำให้คงอยู่ในสภาพนั้นไม่ได้ ภาวะที่ไม่สมบูรณ์มีความบกพร่องอยู่ในตัว ไม่ให้ความสมอยากแท้จริง หรือความพึงพอใจเต็มที่แก่ผู้อยากด้วยตัณหา และก่อให้เกิดทุกข์แก่ผู้เข้าไปอยากเข้าไปยึดด้วยตัณหาอุปาทาน

        ทุกข์เกิดจากกระแส 2 กระแส คือ

ข้อใดไม่ใช่คุณลักษณะของพระภิกษุสงฆ์ตามหลัก สังฆคุณ 9

         กระแสที่ 1 คือทุกข์ที่เกิดจากความเปลี่ยนแปลงไปตามเหตุปัจจัยของธรรมชาติ ถือว่าเป็นกระแสหลัก ซึ่งเป็นความจริงตามธรรมดาของมันอยู่ภายนอก เช่น ทุกข์เกิดจากความร้อน หนาว ความเจ็บป่วย เป็นต้น เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไปได้ เป็นไปตามธรรมชาติ
         กระแสที่ 2 คือทุกข์ที่เกิดจากความอยากที่เกิดขึ้นภายในตัวของเราเอง เช่น ความอยากในกาม ความอยากเป็นอย่างโน้นอย่างนี้ความไม่อยากให้เป็นอย่างโน้นอย่างนี้ เป็นต้น

          ประเภทของทุกข์
1) ทุกข์ 2 อย่าง ได้แก่
      1.1) ทุกขเวทนา คือ ความทุกข์ยากลำบาก ความเจ็บปวดทรมานที่เกิดขึ้นกับสิ่งมีชีวิตทุกประเภท ทุกขเวทนานี้แบ่งออกเป็น 10 ประเภทคือ
(1) สภาวทุกข์ คือ ทุกข์ประจำสังขาร ได้แก่ การเกิด แก่ เจ็บ ตาย
(2) ปกิณณกทุกข์ คือ ทุกข์ที่เกิดขึ้นเป็นครั้งคราว ความเศร้าโศก ความเสียใจ น้อยใจ ความคับแค้นใจ เป็นต้น
(3) นิพัทธทุกข์ คือ ทุกข์เนืองนิตย์ เช่น ความหิว กระหาย ปวดอุจจาระ ปวดปัสสาวะ ร้อน หนาว เป็นต้น
(4) พยาธิทุกข์ คือ ทุกข์เกิดขึ้นจากโรคภัย จากศาสตราอาวุธ เป็นต้น
(5) สันตาปทุกข์ คือ ทุกข์ที่เกิดขึ้นจากความเร่าร้อนเพราะไฟ คือ กิเลส เช่น ไฟคือราคะ ไฟคือโทสะ ไฟคือโมหะ แผดเผา
(6) วิปากทุกข์ คือ ทุกข์ที่เกิดขึ้นจากผลของกรรมชั่ว เช่น การถูกลงอาญา ถูกลงโทษทัณฑ์ต่าง ๆ เป็นต้น
(7) สหคตทุกข์ คือ ทุกข์ที่เกิดขึ้นจากความเสื่อมลาภ เสื่อมยศ ถูกนินทา
(8) อาชีวทุกข์ คือ ทุกข์ที่เกิดเพราะการทำมาหาเลี้ยงชีพ เช่น ความระกำลำบาก ความเหน็ดเหนื่อย ความวิตกกังวล เป็นต้น
(9) วิวาทมูลกทุกข์ คือ ทุกข์ที่เกิดจากการทะเลาะวิวาท ถกเถียง ชกต่อยกัน การเป็นศัตรูคู่อาฆาตกัน เป็นต้น
(10) ขันธทุกข์ ทุกข์ที่เกิดจากการรักษาขันธ์ 5 คือ มีทุกข์ก็เพราะมีขันธ์ 5 หากไม่มีขันธ์ 5 ก็ไม่มีทุกข์หรือทุกข์ก็ไม่เกิดขึ้น
      1.2) ทุกขลักษณะ คือ สภาวะที่ทนอยู่ไม่ได้ของสิ่งทั้งปวง ความคงทนอยู่สภาพเดิมไม่ได้ ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะการเปลี่ยนแปลง
ของร่างกาย หรือสิ่งต่าง ๆ ที่ไม่สามารถห้ามได้ ต้องแตกดับในที่สุด เช่น การทรุดโทรมคร่ำคร่าของบ้านเรือน เข้าของเครื่องใช้ต่าง ๆ เป็นต้น

2) ทุกข์ 3 อย่าง ได้แก่
2.1) ทุกขตา คือ ทุกข์ที่เป็นความรู้สึกทุกข์ ได้แก่ ความทุกข์กาย ทุกข์ใจ หรือเรียกว่า “ทุกขเวทนา”
2.2) วิปริณามทุกขตา คือ ทุกข์เนื่องด้วยความผันแปร หรือทุกข์ที่เนื่องในความผันแปรของสุข คือความสุขที่กลายเป็นทุกข์หรือทำให้เกิดทุกข์ เพราะการกลับกลายผันแปรของมันเอง เช่นในภาวะปกติมีความไม่รู้สึกทุกข์ไป คนที่มีความสุขสบายมากเท่าใด หากความสุขสบายนั้นแปรผันไป จากไป ก็จะกลับหลายเป็นความทุกข์อย่างสาหัสรุนแรง
2.3) สังขารทุกขตา คือ ทุกข์ตามสภาพสังขาร ได้แก่สภาวะของตัวสังขารเองหรือสิ่งทั้งหลายทั้งปวงที่เกิดจากเหตุปัจจัย คือ
ขันธ์ 5 เป็นทุกข์คือ เป็นสภาพที่ถูกบีบคั้นด้วยปัจจัยที่ขัดแย้ง มีการเกิด เสื่อมและดับไป ไม่มีความสมบูรณ์ในตัวของมันเอง เป็นไปตามกระแสของมัน เข้าไปยึดมั่นแล้วฝืนกระแสของมันและปฏิบัติต่อมันโดยขาดสติปัญญา

3. อนัตตตา (Soullessness or Non-silf) คือ ความเป็นอนัตตา ความไม่ใช่ตัวตน ความไม่มีตัวตนที่แท้จริงของมัน ในระดับต้น ๆ คือ ความยึดมั่นในตัวตน เริ่มตั้งแต่การรับรู้ กล่าวคือ ในวันหนึ่ง ๆ ชีวิตของเราก็คือการได้เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ได้ลิ้มรส ได้สัมผัส และได้รู้อารมณ์ด้วยใจแล้วก็มีความรู้สึกพอใจ ไม่พอใจ รัก โกรธ เกลียด อะไรต่าง ๆ อยู่ตลอดเวลา ตามหลักพระพุทธศาสนา การรับรู้ของมนุษย์นั้นมี 2 แบบคือ

1) รับรู้แบบยินดียินร้าย หมายถึง ธรรมดาสิ่งทั้งหลายที่รับรู้ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจของเรานี้ อาจจะมีความถูกใจและไม่ถูกใจ สิ่งไหนที่ถูกใจเรามากระทบเราก็เกิดความ “ยินดี” สิ่งไหนไม่ถูกใจก็ไม่ชอบ “ยินร้าย” พอความรู้สึกเหล่านี้เข้ากระทบก็จะเกิดปัญหา เกิดทุกข์ ว่าอยากได้สิ่งนั้นสิ่งนี้ อยากทำลายสิ่งนั้นสิ่งนี้ เป็นต้น จึงก่อให้เกิดปัญหาแก่ตัวเราอยู่เรื่อยไป

2) รับรู้แบบเรียนรู้ หรือรับรู้ตามความเป็นจริง หมายถึง การรับรู้สิ่งต่าง ๆ ด้วยปัญญารู้จักรับรู้ในสิ่งที่ควรรับรู้ เกิดการเรียนรู้ที่ถูกต้องโดยอาศัยปัญญาพิจารณาตามความเป็นจริง ไม่หลงงมงาย จิตใจก็ไม่ก่อให้เกิดความทุกข์ เช่น ไม่มีความโกรธความเกลียด ขุ่นมัว เศร้าหมองใจ เดือดร้อนใจ คับข้องใจ วิตกกังวล เป็นต้น

หลักของอนัตตา    มีลักษณะดังต่อไปนี้
(1) ไม่เป็นไปตามอำนาจของใคร
(2) ไม่มีแก่นสาร
(3) ว่างเปล่าวจากตัวตน
(4) ไม่มีใครเป็นเจ้าของ
(5) ไม่มีอะไรหรือใครเป็นใหญ่กว่า
(6) ขัดแย้งกับตัวตนอย่างตรงกันข้าม

                คุณค่าทางจริธรรมของไตรลักษณ์

ข้อใดไม่ใช่คุณลักษณะของพระภิกษุสงฆ์ตามหลัก สังฆคุณ 9

        พุทธพจน์ ถือได้ว่าเป็นตัวแทนที่ชี้ถึงคุณค่าทางจริยธรรม 2 ประการของไตรลักษณ์ คือ

1. สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงหนอ มีความเกิดขึ้นและเสื่อมสลายไปเป็นธรรมดา เกิดขึ้นแล้วย่อมดับไป ความสงบวาง
แห่งสังขารเหล่านั้น เป็นสุข” พุทธพจน์ข้อนี้ชี้ให้เห็นคุณค่าในด้านการวางใจต่อสังขาร คือโลกและชีวิต ให้รู้เท่าทันว่า สิ่งทั้งหลายซึ่งเป็นสภาพปรุงแต่ง ล้วนไม่เที่ยงแท้ยั่งยืน ต้องเปลี่ยนแปลงแปรปรวนไป ไม่อาจคงสภาพเดิมอยู่ได้ มิใช่ตัวตนที่จะบังคับบัญชาให้เป็นไปได้ตามความปรารถนา มันเป็นไปตามเหตุปัจจัย และเป็นธรรมดาของมันนั่นเอง เมื่อรู้เช่นนี้ ก็จะมีทีท่าของจิตใจที่ถูกต้อง ไม่ยึดติดถือมั่นในสิ่งทั้งหลายแม้สิ่งทั้งหลายที่พบเห็นเกี่ยวข้องจะแปรปรวนเสื่อมสลายพลัดพรากสูญหายไป จิตใจก็ไม่ถูกครอบงำย่ำยีบีบคั้น ยังคงปลอดโปร่ง ผ่องใส เบิกบานอยู่ได้ ด้วยปัญญาที่รู้เท่าทันธรรมดา คุณค่าข้อนี้เน้นความหลุดพ้นเป็นอิสระของจิตใจ เป็นระดับโลกุตตระ เรียกว่า “คุณค่าด้านการทำจิต”

2. “สังขารทั้งหลายมีความเสื่อมสลายเป็นธรรมดา, เธอทั้งหลายจงยังความไม่ประมาทให้ถึงพร้อม (หรือจงบำเพ็ญกิจให้ถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาท)” พุทธพจน์ข้อนี้ ชี้ถึงคุณค่าด้านการปฏิบัติหน้าที่ เพื่อความมีชีวิตที่เรียกว่า เป็นอยู่หรือดำเนินไปอย่างถูกต้องดีงามในโลกอันเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขทั้งแก่ตนเองและบุคคลอื่นและเพื่อให้เข้าถึงบรมธรรมที่เป็นจุดหมายสูงสุดของชีวิตโดยให้รู้ตามความเป็นจริงว่า สิ่งทั้งหลายทั้งปวงทั้งชีวิตและโลกล้วนเกิดจากองค์ประกอบทั้งหลายทั้งมวลกันขึ้น ดำรงอยู่ได้ชั่วคราว ไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน มีความบีบคั้นกดอัดขัดแย้งแฝงอยู่ทั้งภายนอกและภายใน จะต้องทรุดโทรมแตกสลายเปลี่ยนแปลงกลายรูปไป ไม่อยู่ในอำนาจของความปรารถนา กระบวนการเปลี่ยนแปลงดำเนินไปตลอดเวลา เมื่อรู้เช่นนี้แล้วก็จะได้กระตือรือร้น กระตุ้นตนเองให้เร่งรัดขวนขวายทำสิ่งที่ควรทำ และเว้นสิ่งที่ควรเว้น ไม่ละเลย ไม่รอช้า ไม่ปล่อยเวลาและโอกาสให้สูญเปล่า เอาใจใส่แก้ไขสิ่งเสียหายที่ได้เกิดขึ้นระมัดระวังหนทางป้องกันทางที่จะเกิดความเสื่อมโทรม เสียหายต่อไป และสร้างสรรค์สิ่งดีงามความเจริญก้าวหน้า โดยไตร่ตรองพิจารณาและดำเนินการด้วยปัญญาอันรู้ที่จะจัดการตามเหตุปัจจัย ทำให้เกิดผลสำเร็จด้วยดีทั้งในแง่กิจที่ทำและจิตใจของตนคุณค่าข้อนี้เน้นด้านความไม่ประมาทเร่งรัดทำกิจ เป็นระดับโลกิยะ เรียกว่า “คุณค่าด้านการทำกิจ”

ประโยชน์จากการรู้ไตรลักษณ์ (กฎธรรมชาติ)

1. ทำให้เรามองเห็นสรรพสิ่งตามความเป็นจริง คือ สรรพสิ่งที่เกิดขึ้นมาได้อย่างไร แล้วจะเป็นอย่างไร เช่น ชีวิตของเราเมื่อเกิดมาแล้วจะต้องเป็นไปตามกฎ 3 ข้อคือ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ไม่มีสิ่งใดในโลกนี้หลีกพ้นได้ เป็นต้น เมื่อเข้าใจจะทำให้เราอยู่ในสภาพที่ไม่ประมาท เพียรพยามทำกิจการงานในอันที่จะก่อประโยชน์ต่อตนเองและผู้อื่น เป็นต้น

2. ทำให้เรามองเห็นสรรพสิ่งครบทุกด้าน เช่น ชีวิตของคนเรามีการเกิด แก่ เจ็บ และตายในที่สุด เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะเป็นไปตามกฎธรรมชาติ เมื่อเราเข้าใจและมองรอบด้านอย่างนี้ จะทำให้ไม่เกิดความวิตกกังวล ทุกข์ใจ กับสิ่งที่เกิดขึ้น ไม่ดีใจจนเกินไปเมื่อสมหวังและไม่เสียใจเกินไปเมื่อผิดหวังเข้าใจว่าสรรพสิ่งทั้งหลายที่เกิดขึ้นและตั้งอยู่เป็นไปตามเหตุปัจจัย เป็นไปตามกฎ 3 ข้อ เราก็ไม่เกิดความทุกข์ เป็นต้น

3. ทำให้เราไม่ยึดถือ “ตัวเรา” “ของเรา” มากเกินไป กล่าวคือ ทุกสิ่งทุกอย่างไม่แน่นอน มีการเปลี่ยนแปลง (อนิจจัง) เพราะการเปลี่ยนแปลงจึงทำให้คนเราเกิดความทุกข์ (ทุกขัง) เหตุที่เกิดทุกข์ก็เพราะการเข้าไปยึดติดอยู่กับตัวตนว่าเป็นของจริง จึงเกิดความอยากมีอยากเป็น ถือมั่นในความเป็นตัวเรา ของเรา (อนัตตา)ดังนั้นหลักอนัตตาจึงเป็นหลักที่ทำให้เราไม่เห็นแก่ตัว ลดความอยาก (ตัณหา) และความยึดมั่น (อุปาทาน) ลง โดยเกิดความรู้แจ้งเห็นจริงในสภาวะของธรรมชาติและกฎธรรมชาติ คนเราก็จะพ้นทุกข์จากความทุกข์ทั้งปวงได้

 อรอยสัจ 4 : สมุทัย : หลักธรรม : วั

        อริยสัจ 4: หลักธรรม : วัฏฏะ 3


           วัฏฏะ 3 (the triple round, cycle)

        วัฏฏะ หมายถึง วน, วงเวียน หรือหมุนเวียนกันไปไม่มีที่สิ้นสุด โดยมีองค์ประกอบเป็นเหตุปัจจัยกัน 3 ประการคือ

1. กิเลสวัฏฏ์ หมายถึง วงจรกิเลส คือ ตัวสาเหตุผลักดันให้คิดปรุงแต่งกระทำการต่าง ๆ
2. กรรมวัฏฏ์ หมายถึง วงจรกรรม คือ กระบวนการกระทำหรือกรรมทั้งหลายที่ปรุงแต่งชีวิตให้เป็นไปต่าง ๆ
3. วิปากวัฏฏ์ หมายถึง วงจรวิบาก คือสภาพช่วิตที่เป็นผลแห่งการปรุงแต่งของกรรม และกลับเป็นปัจจัยเสริมสร้างกิเลสต่อไป
ได้อีกสภาพทั้ง 3 นี้ได้ชื่อว่าวงจร เพราะหมุนเวียนกันไปคือ กิเลสเกิดขึ้น เช่น เกิดความไม่รู้ (อวิชชา) เกิดตัณหา (ความอยาก) และเกิดความยึดมั่นถือมั่น (อุปาทาน) แล้วให้ทำกรรม (การกระทำ) ครั้งทำกรรมแล้ว ย่อมได้วิบากแห่งกรรม เมื่อได้รับวิบากแห่งกรรม กิเลสก็เกิดขึ้นอีก วนกันไปอย่างนี้ กว่าพระอรหันตมรรคจะตัดให้ขาดลงตราบใดที่กิเลสยังไม่หมด การหมุนเวียนเป็นกิเลส กรรมวิบากก็ต้องมีอยู่ และคนสัตว์เหล่านั้นต้องเวียนว่ายตายเกิด หมุนวนอยู่ในสังสารวัฏตลอดไป พร้อมกับต้องประสบสุข ๆ ทุกข์ ๆ อยู่เรื่อยไป ไม่มีที่สิ้นสุด

          ปปัญจธรรม 3 (diversification)
         ปปัญจธรรม หมายถึง กิเลสเครื่องเนิ่นช้า หรือกิเลสที่เป็นตัวก่อให้เกิดปัญหาต่าง ๆ และขัดขวางไม่ให้เข้าถึงความจริงหรือทำให้ไม่อาจแก้ปัญหาอย่างถูกทางตรงไปตรงมา หรือไม่สามารถแก้ปัญหาได้ถูกจุด ประกอบด้วย

1. ตัณหา คือ ความทะยานอยาก, ความปรารถนาที่จะบำรุงบำเรอ ปรนเปรอตนให้มีความสุข หรือความอยากได้อยากมี
2. ทิฏฐิ คือ ความคิดเห็น ความเชื่อถือ ลัทธิความเชื่อต่าง ๆ ทฤษฎี อุดมการณ์ต่าง ๆ ที่ยึดถือไว้โดยงมงาย หรือโดยอาการยกย่อง
เชิดชูว่าเป็นอย่างนี้เท่านั้น ไม่เป็นเป็นอย่างอื่น หรือเชื่อว่าสิ่งนี้เป็นจริงเท่านั้นอย่างอื่นเป็นเท็จหมด เป็นต้น ดังนั้นการปิดกั้นปัญญาของตนโดยไม่ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น หรือความไม่เชื่อมั่นในสติปัญญาของผู้อื่น เชื่อในสิ่งที่ตนคิดว่าเป็นจริง ตลอดจนการบีบบังคับให้ผู้อื่นเชื่อถือตามตนเอง ถือว่าเป็นคนมีทิฏฐิ
3. มานะ คือ ความถือตัว หรือสำคัญตนว่าเป็นผู้ยิ่งใหญ่หรือด้อยกว่าผู้อื่น หรือความอยากเด่นอยากยกชูตนให้ยิ่งใหญ่ เข้าในลักษณะ “ยกตนข่มท่าน“ ถือว่าเป็นคนมีมานะลักษณะทั้ง 3 นี้ถือว่าทำให้ตนไม่เกิดปัญญา เป็นการปิดกั้นทางแห่งปัญญา จึงเป็นสิ่งที่ควรละเสีย

มรรคมีองค์ 8 (the Noble Eightfold Path)

        มรรค คือแนวทางการปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ หรือการบรรลุความหลุดพ้น มรรคเป็นประมวลหลักความประพฤติปฏิบัติหรือระบบจริยธรรมทั้งหมดในพระพุทธศาสนาเป็นคำสอนภาคปฏิบัติที่จะช่วยให้ดำเนินชีวิตไปสู่จุดหมายเป็นผลสำเร็จขึ้นมาในชีวิตจริง
ประกอบด้วยมรรคมีองค์ 8 คือ

1. สัมมาทิฏฐิ (Right Understanding) หมายถึง ความเห็นชอบ เช่น รู้ว่าสิ่งไหนควรทำสิ่งไหนไม่ควรทำ เห็นว่าการทำดีได้ดีทำชั่วได้ชั่ว เห็นว่ามีผู้ทำความดีต่อเรา เราก็ทำดีตอบ รู้จักการตอบแทนผู้มีพระคุณ เป็นต้น

2. สัมมาสังกัปปะ (Right Thought) หมายถึง การดำริชอบ ได้แก่ คิดในสิ่งที่ดี ไม่คิดโลภอยากได้ของเขา ไม่คิดหลงมัวเมาต่อบายมุข ไม่คิดโกรธเคืองพยาบาทจองเวรผู้อื่น ไม่คิดทำร้ายหรือเบียดเบียนคนอื่นหรือสัตว์อื่นให้ได้รับความทุกข์ ความเจ็บปวดทรมาน เป็นต้น

3. สัมมาวาจา (Right Speed) หมายถึง การเจรจาชอบ ได้แก่ วจีสุจริต หรือไม่พูดชั่ว 4 ประการ คือ ไม่พูดเท็จ ไม่พูดส่อเสียด ไม่พูดคำหยาบ ไม่พูดเพ้อเจ้อ และพูดในสิ่งที่เป็นจริง มีประโยชน์ ไพเราะอ่อนหวาน พูดมีสาระ และพูดถูกกาลเทศะ เป็นต้น

4. สัมมากัมมันตะ (Right Action) หมายถึง การกระทำชอบ ได้แก่ การประพฤติตามกายสุจริต 3 คือ ไม่ฆ่าสัตว์ตัดชีวิต ไม่ลักทรัพย์หรือเอาทรัพย์สินคนอื่นมาเป็นของเรา ไม่ประพฤติผิดในกาม

5. สัมมาอาชีวะ (Right Livelihood) หมายถึง การเลี้ยงชีพชอบ ได้แก่ การเว้นจากมิจฉาชีพ ประกอบแต่สัมมาชีพ คืออาชีพที่สุจริต อาชีพที่ดีงาม ไม่เป็นอาชีพที่สร้างความเดือดร้อนให้กับคนอื่น เช่น การหลอกลวง การปล้น การบังคับขู่เข็ญ การค้ายาเสพติด เป็นต้น

6. สัมมาวายามะ (Right Effort) หมายถึง ความพยายามชอบ ได้แก่ ความเพียรพยายามในสิ่งที่ดีงามถูกต้อง นั่นคือความพยายามสำรวมระวังตนมิให้ทำความชั่ว เพียรละความชั่วที่เกิดขึ้นในตน เพียรพยายามทำความดีให้เกิดขึ้นในตน และเพียรพยายามรักษาคุณความดีที่เกิดขึ้นในตนให้อยู่ในตนตลอดไป

7. สัมมาสติ (Right Mindfulness) หมายถึง ความระลึกชอบ คือ การตั้งสติกำหนดพิจารณาให้เห็นในสิ่งทั้งหลายที่ปรากฏตาม
สภาพความเป็นจริงของสิ่งนั้น ได้แก่ การพิจารณาร่างกาย จิต และความรู้สึกของตนให้เห็นตามสภาพที่เป็นจริงรวมทั้งการตั้งสติกำหนดพิจารณาธรรมทั้งหลายที่มีอยู่ตามสภาพของธรรมนั้น ๆ

8. สัมมาสมาธิ (Right Concentration) หมายถึง การตั้งใจชอบ คือ การใช้สมาธิที่ถูกทาง การตั้งใจกระทำในสิ่งที่ดีงามทั้งหลาย เช่นการตั้งใจศึกษาเล่าเรียนการตั้งใจประกอบกิจการงานให้ประสบความสำเร็จหรือบรรลุจุดมุ่งหมาย ในขั้นสูงสุด คือการใช้สมาธิเพื่อจุดหมายในทางหลุดพ้น เป็นไปเพื่อปัญญาที่รู้เข้าใจสิ่งทั้งหลายตามเป็นจริง

คุณลักษณะ 9 ประการของสังฆคุณ 9 มีอะไรบ้าง

สังฆคุณ 9.
สุปฏิปันโน เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว.
อุชุปฏิปันโน เป็นผู้ปฏิบัติตรงแล้ว.
ญายปฏิปันโน เป็นผู้ฏิบัติเป็นธรรม.
สามีจิปฏิปันโน เป็นผู้ปฏิบัติสมควร.
อาหุเนยโย เป็นผู้ควรของคำนับ.
ปาหุเนยโย เป็นผู้ควรแก่เครื่องสักการะที่จัดไว้ต้อนรับ.
ทักขิเนยโย เป็นผู้่ควรแก่ของทำบุญรับทักษิณาทาน.

พระสงฆ์มีคุณลักษณะ 9 ประการ เรียกว่าอะไร

ความหมายและคุณค่าของสังฆคุณ 9 พระสงฆ์เป็นผู้ประพฤติดีปฏิบัติชอบเป็นหลักสําคัญมากในการสืบต่อ พระพุทธศาสนาซึ่งได้รับการเคารพยกย่องอย่างสูงโดยจัดเข้าเป็นส่วนหนึ่งของ พระรัตนตรัย คือ พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ คุณของพระสงฆ์โดยสรุปมี 9 ประการ เรียกว่า “สังฆคุณ” คือ

ลักษณะตามข้อใดที่ถือว่าพระสงฆ์เป็น "ทักขิเณยโย"

พระสงฆ์สาวกเป็นผู้ที่ปฏิบัติดีปฏิบัติตรง ปฏิบัติถูกทาง และเป็นผู้ปฏิบัติสมควรแล้ว ไม่ว่าท่านจะโคจรไปสู่ที่ใด ย่อมยังประโยชน์สุข และประโยชน์เกื้อกูลให้เกิด ณ ที่นั้น ทักขิเณยโย แปลว่า เป็นผู้ควรแก่ทักษิณาทาน เป็นผู้บริสุทธิ์สมควรที่จะได้รับของบริจาคทาน และจะต้องได้รับผลดีอย่างแน่นอน

สังฆคุณ 9 ในข้อใด หมายถึง ผู้ปฎิบัติสมควรแก่การเคารพนับถือ

๔. สามีจิปฏิปนฺโน : เป็นผู้ปฏิบัติสมควร คือ ปฏิบัติน่านับถือ สมควรได้รับความเคารพยกย่องที่สุด ๕. อาหุเนยฺโย : เป็นผู้ควรแก่สักการะที่เขานำมาบูชา คือ ควรได้รับสิ่งของที่เขานำมาถวาย เพราะท่านมีคุณสมบัติ ๔ ประการ ดังกล่าวข้างต้น