ข้อใดไม่ใช่หลักการเขียน story board

สตอรี่บอร์ดเป็นการสร้างภาพให้เห็นลำดับของการเล่าเรื่องในรูปแบบภาพเคลื่อนไหว เป็นภาพร่างของฉากต่างๆ เพื่อกำหนดการเล่าเรื่อง ลำดับเรื่อง จัดมุมกล้อง กำหนดเวลา ซึ่งจะถูกจัดทำขึ้นหลังการเขียนบท

ข้อใดไม่ใช่หลักการเขียน story board

ส่วนประกอบของสตอรี่บอร์ด

1. ลำดับฉาก (Scene No) ระบุลำดับเพื่อการสื่อสารระหว่างคนวาดกับคนทำการเคลื่อนไหว

2. ภาพร่าง (Sketch) การเขียนสตอรี่บอร์ดมักจะวาดภาพร่างไว้ด้านบน และใส่รายละเอียดอื่นๆ ไว้ด้านล่างหรือด้านข้าง

3. เสียงประกอบ (Sound) ใส่เป็นประโยคที่จะบรรยายหรือบทสนทนา กำหนดรูปแบบเสียงประกอบ (เสียงดนตรี เสียงธรรมชาติ หรือเสียงเอฟเฟกต์)

4. มุมกล้อง (Camera Angle) ใส่เป็นสัญลักษณ์ เช่น ECU / CU / MCU / MS / MLS /LS / VLS / ELS ใส่เป็นลักษณะการเคลื่อนกล้อง เช่น Dolly / Boom / Track / Pan / Tilt / Roll

5. กำหนดเวลา (Duration) ใส่เป็นระยะเวลาที่คาดว่าจะใช้ในฉากนั้นๆ มักเป็นหน่วยวินาที

6. บท (Script) ใส่บทพูดที่สัมพันธ์กับภาพ เพื่อประกอบความเข้าใจ

ข้อใดไม่ใช่หลักการเขียน story board

รูปแบบสตอรี่บอร์ด

รูปแบบสตอรี่บอร์ดไม่ได้มีกำหนดตายตัว ขอเพียงแค่มีองค์ประกอบครบ และใช้สื่อสารรู้เรื่องก็เพียงพอแล้ว

ข้อใดไม่ใช่หลักการเขียน story board

สิ่งที่ต้องมีก่อนเขียนสตอรี่บอร์ด

ไม่ว่าจะเป็นภาพเคลื่อนไหวรูปแบบใด เช่น ภาพยนตร์ แอนิเมชั่น สารคดี โฆษณา ฯลฯ ล้วนมีการเล่าเรื่องผ่านสตอรี่บอร์ดคล้ายๆ กัน ดังนั้นสิ่งที่ต้องมีคือ

1. เนื้อเรื่อง (Story)

2. ฉากหรือสถานที่ (Scene)

3. ตัวละคร (Character)

4. บทสนทนาหรือบทบรรยาย (Script)

ข้อใดไม่ใช่หลักการเขียน story board

สิ่งสำคัญในการเขียนสตอรี่บอร์ด

1. สร้างแรงบันดาลใจ (Inspiration)

2. สิ่งที่อยากจะพูด (Speech)

3. แนวความคิด (Idea)

4. สิ่งที่ต้องการนำเสนอ (Presentation)

ข้อใดไม่ใช่หลักการเขียน story board

สิ่งสำคัญที่อยู่สตอรี่บอร์ด

ไม่ว่าจะเป็นภาพเคลื่อนไหวรูปแบบใด เช่น ภาพยนตร์ แอนิเมชั่น สารคดี โฆษณา ฯลฯ ล้วนมีการเล่าเรื่องผ่านสตอรี่บอร์ดคล้ายๆ กัน ดังนั้นสิ่งที่ต้องมีคือ

1. ตัวละคร (Character)

2. การทำงานของกล้อง (Camera)

3. ฉาก (Scene)

4. เสียง (Sound)

ข้อใดไม่ใช่หลักการเขียน story board

ขนาดภาพ

1. Extreme Close Up (ECU) ขนาดภาพใกล้สุดๆ ใช้ถ่ายทอดรายละเอียดเฉพาะส่วนของตัวละครหรือวัตถุ

2. Close Up (CU) ขนาดภาพใกล้ เช่น เต็มใบหน้า เห็นสีหน้าและอารมณ์ของตัวละครที่แสดงออกมาอย่างชัดเจน

3. Medium Close Up (MCU) ขนาดภาพปานกลาง ใกล้ตั้งแต่หน้าอกขึ้นไป มองเห็นตัวละครกับวัตถุหรือฉากหลังเล็กน้อย

4. Medium Shot (MS) ขนาดภาพปานกลาง ตั้งแต่สะโพกหรือเอวขึ้นไป จะเห็นท่าทางของตัวละครมากกว่าอารมณ์และความรู้สึก เห็นฉากหลังมากขึ้น

ข้อใดไม่ใช่หลักการเขียน story board

5. Medium Long Shot (MLS) ขนาดภาพปานกลางไกล เห็นหน้าแข้ง เข่า หรือหน้าขาขึ้นไป เห็นการเคลื่อนไหว บุคลิกท่าทาง การกระทำของตัวละคร

6. Long Shot (LS) ขนาดภาพไกล เห็นตัวละครเล็กอยู่ในสภาพแวดล้อม

7. Very Long Shot )VLS) ขนาดภาพไกลมาก เน้นให้เห็นสถานที่ บรรยากาศ หรือสภาพแวดล้อมเป็นหลัก

8. Extreme Long Shot (ELS) ขนาดภาพไกลสุดๆ บอกเล่าสถานที่และบรรยากาศโดยรวม

ข้อใดไม่ใช่หลักการเขียน story board

การเคลื่อนกล้อง

1. Dolly เป็นการเคลื่อนที่กล้องด้วยล้อเลื่อนไปข้างหน้าหรือหลัง

2. Track เป็นการเคลื่อนที่กล้องด้วยล้อเลื่อนไปข้างซ้ายหรือขวา

3. Boom เป็นการเคลื่อนที่กล้องด้วยล้อเลื่อนไปด้านบนหรือล่าง

4. Pan เป็นการหันกล้องไปทางซ้ายหรือขวา

5. Tilt เป็นการก้มหรือเงยกล้องขึ้น-ลงในแนวตั้ง

6. Roll เป็นการหมุนกล้องไปทางซ้ายหรือขวา

7. Zoom เป็นการสร้างความเคลื่อนไหวด้วยเลนส์

ข้อใดไม่ใช่หลักการเขียน story board

การเชื่อมภาพ

1. การตัดชน Cut) เป็นวิธีพื้นฐานและใช้บ่อยที่สุด ปกติใน Storyboard จะมีการแบ่งเฟรมภาพเป็นช่องๆ ซึ่งหมายถึงการตัดชนธรรมดา บางคนอาจจะไล่จากซ้ายไปขวาแล้วขึ้นแถวใหม่ หรือบางคนอาจจะไล่จากบนลงล่าง

2. การจางซ้อน (Dissolve) เป็นการละลายภาพ 2 ภาพให้มาแทนที่กัน มักใช้สื่อความหมายว่าเวลาได้ดำเนินผ่านไปเล็กน้อย การวาด Storyboardเพื่อให้รู้ว่า 2 ช็อตนี้จะ Dissolve เข้าหากัน ทำได้โดยวาดเครื่องหมายกากบาทไขว้

ข้อใดไม่ใช่หลักการเขียน story board

3. ภาพต่อเนื่อง (Long Take) เป็นช็อตเดียวโดยไม่คัท อาจจะวาดเพียงช่องเดียว หรือวาดช่องใหม่แต่ให้ขอบเฟรมติดกัน
เพื่อให้รู้ว่านี่เป็นช็อตภาพต่อเนื่องกัน

4. การเปิดหน้า (Wipe) การเปลี่ยนภาพในลักษณะค่อยๆ ลอกภาพออกคล้ายการเปิดหน้าสมุด หรือหนังสือ

5. การหมุนกลับ (Turn) การหมุนภาพเพื่อเปลี่ยนภาพใหม่

ข้อใดไม่ใช่หลักการเขียน story board

การเคลื่อนไหวของตัวละคร

บางครั้งสตอรี่บอร์ดที่เป็นภาพนิ่งๆ ก็อาจจะเล่าเรื่องได้ไม่สมบูรณ์ โดยเฉพาะเมื่อตัวละครหรือวัตถุมีการเคลื่อนไหว จึงนิยมวาดเส้นหรือลูกศรเพื่ออธิบายทิศทางการเคลื่อนไหวนั้น

1. ลูกศรสีดำ (Black Arrow) อธิบายการเคลื่อนไหวของตัวละคร

2. ลูกศรสีขาว (White Arrow) อธิบายการเคลื่อนกล้อง

ข้อใดไม่ใช่หลักการเขียน story board

ศัพท์เทคนิคในด้านเสียง

1. Voice Over (V.O.) เสียงตัวแสดงหรือผู้ประกาศ ชาย เรียกว่า MVO. (Male Voice Over) ถ้าเป็นหญิง เรียกว่า FVO. (Female Voice Over)

2. Off-Scene (O.S.) เสียงของบุคคลที่ไม่ได้ปรากฏในรูปภาพ เช่น ซีนภาพเด็กกำลังเล่น แม่ O.S. ดุเด็ก คือ ในภาพมีแต่เด็กไม่มีแม่ แต่มีเสียงของแม่สอดแทรกเข้ามาอยู่ในภาพ

3. Sound Effect (Fx.) เสียงประกอบอื่นๆ เช่น เสียงนกร้อง เสียงดนตรี ฯลฯ

ข้อใดไม่ใช่หลักการเขียน story board

ข้อดีของการทำสตอรี่บอร์ด

1. ช่วยให้เรื่องราวลื่นไหล เนื่องจากได้อ่านทบทวนตั้งแต่ต้นจนจบก่อนวาดจริง

2. ช่วยให้เรื่องราวอยู่ในขอบเขต ไม่นอกเรื่องออกทะเล เนื่องจากมีการวาดกำกับไว้หมดแล้ว

3.ช่วยกะปริมาณของบทสนทนาให้พอดีกับเฟรมนั้นๆ

4. ช่วยให้สามารถตรวจสอบได้ว่าซีนไหนทำแล้วหรือยัง

ข้อใดไม่ใช่หลักการเขียน story board

เครื่องมือที่ใช้ในการเขียนสตอรี่บอร์ดในยุคดิจิทัล

ปัจจุบันมีเครื่องมือที่อำนวยความสะดวกในการสร้างสตอรี่บอร์ดได้ฟรี สามารถทำได้โดยใช้ Canva ซึ่งนอกจากฟรีแล้ว ยังใช้งานง่ายอีกด้วย เหมาะสำหรับการทำงานร่วมกันและแชร์กับลูกค้า ผู้ใช้สามารถเลือกแม่แบบ (Template) ที่มีอยู่มากมาย โดยคลังภาพของ Canva มีภาพนับล้านรายการให้เลือก ทั้งภาพถ่ายสต็อกจนไปถึงภาพวาดคุณภาพสูง หรือจะเพิ่มภาพของผู้ใช้เองก็ได้ สามารถทำได้โดยมีขั้นตอนดังนี้

1. ลงชื่อเข้าใช้ Canva ด้วยบัญชี Google หรือ Facebook

2. เลือก Storyboard

ข้อใดไม่ใช่หลักการเขียน story board

3. กำหนดชื่อสตอรี่บอร์ดตามต้องการ

4. เลือกแม่แบบ (Template) ที่ต้องการ

5. ปรับแก้และเพิ่มหน้าจนได้ผลลัพธ์ที่ต้องการ

ข้อใดไม่ใช่หลักการเขียน story board

6. เผยแพร่ แชร์ หรือดาวน์โหลดสตอรี่บอร์ด

ข้อใดไม่ใช่หลักการเขียน story board

การทำงานในยุคปัจจุบัน จะเน้นการทำงานร่วมกัน (Collaboration) ผู้ใช้งานสามารถแบ่งปันลิงก์เพื่อให้ผู้อื่นเข้ามามีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์สตอรี่บอร์ดได้ ทุกที่ ทุกเวลา ทั้งในส่วนของบทพูด (Script) และบทภาพ (Storyboard) ไปในเวลาเดียวกันแบบเรียลไทม์

อ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการใช้ Canva สร้าง Storyboard ได้ที่ https://www.canva.com/th_th/create/storyboards/

ข้อใดคือหลักการเขียนStory Board

6. หลักการเขียนสตอรี่บอร์ด รูปแบบของสตอรี่บอร์ด จะประกอบไปด้วย 2 ส่วนคือ ส่วนภาพกับส่วนเสียง โดยปกติการ เขียนสตอรี่บอร์ด ก็จะวาดภาพในกรอบสี่เหลี่ยม ต่อด้วยการเขียนบทบรรยายภาพหรือบทการสนทนา และส่วนสุดท้ายคือการใส่เสียงซึ่งอาจจะประกอบด้วยเสียงสนทนา เสียงบรรเลง และเสียงประกอบ ต่างๆ

Story Board มีประโยชน์ 4 ข้อ อะไรบ้าง

ข้อดีของการทำ Story Board 1. ช่วยให้เนื้อเรื่องลื่นไหล เพราะได้อ่านทวนตั้งแต่ต้นจนจบก่อนจะลงมือวาดจริง 2. ช่วยให้เนื้อเรื่องไม่ออกทะเล เพราะมีแผนการวาดกำกับไว้หมดแล้ว 3. ช่วยกะปริมาณบทพูดให้พอดีและเหมาะสมกับหน้ากระดาษและบอลลูนนั้น ๆ 4. ช่วยให้สามารถวาดจบได้ในจำนวนหน้าที่กำหนด (สำคัญสุด!)

ขั้นตอนการออกแบบโครงร่างเรื่องราว หรือ Story Board 5 ขั้นตอน คืออะไรบ้าง

สตอรี่บอร์ดคือการเขียนกรอบแสดงเรื่องราวที่สมบูรณ์โดยมีการแสดงรายละเอียดที่จะปรากฏในแต่ละฉากแต่ละอย่างนั้นมีลำดับของการปรากฏเป็นการออกแบบอย่างละเอียดในแต่ละฉากก่อนจะลงมือสร้าง.
วางโครงเรื่องหลัก ... .
ลำดับเหตุการณ์คร่าวๆ ... .
การกำหนดหน้า ... .
การใส่เนื้อหา หรือบทพูด ... .
ลงมือเขียนสตอรี่บอร์ด.