การศึกษาแหล่งวัฒนธรรมในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ควรศึกษาจากแหล่งใด

ล้านนายุคก่อนประวัติศาสตร์

สถาปัตยกรรมในยุคก่นประวัติศาสตร์นี้ปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานที่เด่นชัดแน่นอนที่จะสามารถศึกษาได้ อย่างไรก็ตาม ผลจากการขุดค้นทางโบราณคดี เราพบหลักฐานทั้งเครื่องมือหิน เครื่องสำริด เป็นต้น อันบ่งถึงว่าควรมีการอยู่อาศัยมาอย่างต่อเนื่องของกลุ่มชนเหล่านี้ ดังนั้นสถาปัตยกรรมยุคแรกเริ่มในสมัยนี้ คงเป็นที่อยู่อาศัยตามถ้ำ เพิงผา หรือาจสร้างขึ้นด้วยวัสดุตามธรรมชาติที่ไม่คงทนถาวร

หลักฐานถ้ำที่อาจมีร่องรอยการใช้สอยพื้นที่ ดังเช่นถ้ำผีแมน ในเขตแม่ห้องสอน เป็นต้น ดังนั้นเราจึงอาจกล่าวได้เพียงเบื้องต้นเป็นข้อสันนิษฐานว่า งานสถาปัตยกรรมในช่วงนี้คงเป็นงานแบบดั้งเดิม เกี่ยวเนื่องกับพื้นที่ยู่อาศัยและการดำรงชีพเป็นส่วนใหญ่

แหล่งอ้างอิง :
สันติ เล็กสุขุม, ศิลปะภาคเหนือ : หริภุญไชย – ล้านนา ( กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ,2538 )
สุรพล ดำริห์กุล, ประวัติศาสตร์และศิลปะหริภุญไชย ( กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ,2547 )
ศํกดิ์ชัย สายสิงห์,ศิลปะทวารวดี : วัฒนธรรมพุทธศาสนายุคแรกเริ่มในดินแดนไทย ( กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ,2548 )

         

 สมัยก่อนประวัติศาสตร์ คือ ช่วงเวลาที่มนุษย์ยังไม่รู้จักใช้ตัวหนังสือ จึงยังไม่มีเอกสารใด ๆ ที่จดบันทึกเรื่องราวให้มนุษย์ในยุคหลังทราบได้ การศึกษาเรื่องราวในสมัยก่อนประวัติศาสตร์จึงต้องอาศัยการสันนิษฐานและการตีความจากหลักฐานทางโบราณคดีและหลักฐานทางสภาพแวดล้อม

          สมัยก่อนประวัติศาสตร์สามารถแบ่งเป็น 2 ยุค ได้แก่ ยุคหินและยุคโลหะ

การศึกษาแหล่งวัฒนธรรมในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ควรศึกษาจากแหล่งใด

           

ยุคหินเป็นยุคที่มนุษย์เริ่มรู้จักนำหินมาปรับใช้เป็นเครื่องมือเครื่องใช้หรืออุปกรณ์และอาวุธนักโบราณคดีกำหนดให้ยุคหินของมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ อยู่ระหว่าง 2.5 ล้านปี ถึงประมาณ 4,000 ปี มาแล้วแต่เนื่องจากสิ่งที่เหลือเป็นหลักฐานอยู่จนถึงปัจจุบันมีเพียงชนิดเดียวคือหิน ดังนั้นเราจึงเรียกยุคนี้ว่ายุคหิน ทั้งนี้ยุคหินตามพัฒนาการ เทคโนโลยีการทำเครื่องมือเครื่องใช้ยังแบ่งออกเป็น 3 ยุคย่อย คือ ยุคหินเก่า ยุคหินกลาง และยุคหินใหม่

ยุคหินเก่า อยู่ระหว่าง 2,500,000-10,000 ปี มาแล้วมนุษย์ในยุคนี้อาศัยอยู่ในถ้ำหรือเพิงผายังไม่มีความคิดสร้างที่อยู่อาศัยโดยใช้วัสดุธรรมชาติหรือตั้งรกรากถาวรดำรงชีวิตด้วยการล่าสัตว์หาปลาและเก็บหาผลไม้ในป่าเมื่ออาหารตามธรรมชาติ หมดก็อพยพไปหาแหล่งอาหารที่อื่นต่อไปมนุษย์ยุคหินเก่ารู้จักประดิษฐ์เครื่องมืออย่างหยาบๆเครื่องมือที่ใช้ทั่วไปคือเครื่องมือหินกะเทาะที่มีลักษณะหยาบใหญ่หนา มนุษย์ยุคหินเก่ารู้จักนำหนังสัตว์มาทำเป็นเครื่องนุ่งห่มรู้จักใช้ไฟเพื่อให้ความอบอุ่นแก่ร่างกายให้แสงสว่างให้ความปลอดภัยและหุงหาอาหารมีการฝังศพทำพิธีกรรมเกี่ยวกับการตายและมี การนำเครื่องมือเครื่องใช้และอาวุธต่างๆของผู้ตายฝังไว้ในหลุมด้วยนอกจากนี้มนุษย์ยุคหินเก่ายังรู้จักสร้างสรรค์งานศิลปะ ซึ่งพบภาพวาดตามผนังถ้ำที่ใช้สีฝุ่นสี ต่างๆได้แก่ สีดำ น้ำตาล ส้ม แดงอ่อนและเหลืองภาพที่วาดส่วนใหญ่เป็นภาพสัตว์ เช่น วัวกระทิง ม้าป่า กวางแดง เป็นต้น ภาพวาดที่มีชื่อเสียงของมนุษย์ยุคหินเก่าอยู่ที่ถ้ำลาสโกประเทศฝรั่งเศส

การศึกษาแหล่งวัฒนธรรมในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ควรศึกษาจากแหล่งใด

ภาพเขียนในผนังถ้ำลาสโก

             

ยุคหินกลาง อยู่ระหว่าง10,000-6,000ปี มาแล้วมนุษย์ยุคนี้รู้จักทำเครื่องมือหินที่มี ความประณีตมากขึ้นด้วยการกระเทาะผิวด้านใดด้านหนึ่งหรือทั้งสองด้านออกให้เกิดความคมทำให้เครื่องมือหินในยุคนี้มี รูปทรงที่เหมาะแก่การใช้งานมากขึ้นกว่าเดิมเครื่องมือยุคหินกลางที่พบมีทั้งเครื่องมือสับ ตัด ขุด และทุบหลักฐานเครื่องมือหินของมนุษย์ในยุคหินกลางพบในทวีปยุโรปและทวีปเอเชียโดยพบครั้งแรกในเวียดนาม เรียกว่า วัฒนธรรมฮัวบิเนียนจัดเป็นวัฒนธรรมยุคหินกลางของประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รวมทั้งประเทศไทยด้วย

การศึกษาแหล่งวัฒนธรรมในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ควรศึกษาจากแหล่งใด

เครื่องมือหินที่มีความประณีตมากขึ้น

             

ยุคหินใหม่ อยู่ระหว่าง 6,000-4,000ปี มาแล้วมนุษย์ยุคนี้มี ความเจริญทางวัตถุมากกว่ายุคหินกลางรู้จักควบคุมธรรมชาติ มากขึ้นรู้จักพัฒนาการทำเครื่องมือหินอย่างประณีตโดยมีการขัดฝนหินทั้งชิ้นให้เป็นรูปร่างลักษณะต่างๆเพื่อให้เครื่องมือมีประสิทธิภาพในการใช้สอยมากขึ้นกว่าเครื่องมือรุ่นก่อนหน้านี้เช่น มีดหินที่สามารถตัดเฉือนได้แบบมีดโลหะมีการต่อด้ามยาวเพื่อใช้แผ่นหินลับคมเป็นเสียมขุดดินหรือต่อด้ามไม้สำหรับจับเป็นขวานหินสามารถปั้นหม้อดินและใช้ไฟเผาสามารถทอผ้าจากเส้นใยพืชและทอเป็นเชือกทำเป็นแหหรืออวนจับปลาลักษณะสำคัญอีกประการหนึ่งที่จำแนกมนุษย์ยุคหินใหม่ออกจากมนุษย์ยุคหินกลางก็คือการที่มนุษย์ยุคนี้รู้จักการเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ในระดับที่ซับซ้อนมากขึ้น เช่น มีการปลูกข้าวและพืชอื่นๆเช่นถั่ว ฟัก บวบ และเลี้ยงสัตว์หลายชนิดมากขึ้น เช่น แพะ แกะ และวัว ซึ่งก็คงทั้งไว้ใช้งานและเป็นอาหาร วัฒนธรรมยุคหินใหม่พบอยู่ทั่วโลกแต่หลักฐานสำคัญที่มีลักษณะโดดเด่นคือการสร้างอนุสาวรีย์หิน (Megalithic) ที่มีชื่อเสียง คือ สโตนเฮนจ์ (Stonehenge) ในประเทศอังกฤษสันนิษฐานว่าสร้างขึ้นเพื่อใช้คำนวณเวลาทางดาราศาสตร์เพื่อพิธีกรรมเพื่อบวงสรวงดวงอาทิตย์และเพื่อผลผลิตทางการเพาะปลูก

การศึกษาแหล่งวัฒนธรรมในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ควรศึกษาจากแหล่งใด

สโตนเฮนจ์ ในประเทสอังกฤษ

การศึกษาแหล่งวัฒนธรรมในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ควรศึกษาจากแหล่งใด

          

ยุคโลหะ เริ่มเมื่อประมาณ4,000 ปี มาแล้วมนุษย์ยุคนี้มีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีขึ้นอย่างเห็นได้ชัดอันแสดงถึงการพัฒนาความสามารถทางความคิดด้วยการมีความสามารถนำโลหะมาทำเป็นเครื่องมือเครื่องใช้นั่นเอง ในระยะแรกของยุคโลหะจะพบว่าพวกเขารู้จักหลอมทองแดงและดีบุกซึ่งเป็นโลหะที่ใช้อุณหภูมิไม่สูงนักในการหลอม ต่อมาจึงพัฒนาความรู้และเทคโนโลยีขึ้นมาจนสามารถหลอมเหล็กได้ ซึ่งการหลอมเหล็กต้องใช้อุณหภูมิสูงนักโบราณคดีจึงแบ่งยุคโลหะออกเป็น 2 ยุคตามความแตกต่างของระดับเทคโนโลยี และวัสดุที่นำมาใช้ทำเครื่องมือเครื่องใช้

การศึกษาแหล่งวัฒนธรรมในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ควรศึกษาจากแหล่งใด

          การเริ่มต้นของ

ยุคสำริดในแต่ละภูมิภาคจะต่างกันไปแต่ส่วนใหญ่จะเริ่มระหว่างประมาณ4,000ปี มาแล้วในช่วงเวลานี้มนุษย์รู้จักนำทองแดงผสมกับดีบุกหลอมรวมกันกลายเป็นโลหะผสมที่เราเรียกว่า สำริดมาใช้ทำเป็นเครื่องมือเครื่องใช้และอาวุธที่มี คุณภาพดี กว่าที่ทำจากหินขัดมากการดำรงชีวิตของมนุษย์ยุคนี้ก็เปลี่ยนไปจากการเป็นชุมชนเกษตรกรรมเล็กๆกลายเป็นชุมชนขนาดใหญ่ที่เราเรียกว่าชุมชนเมืองมี การจัดแบ่งความสัมพันธ์ของคนในสังคมตามความสัมพันธ์และความสามารถซึ่งพัฒนาการนี้ทำให้สังคมมี ความมั่นคงและมีการสั่งสมอารยธรรมได้อย่างรวดเร็วกว่าที่ผ่านมาแหล่งอารยธรรมสำคัญที่มีพัฒนาการจากสังคมสมัยหินใหม่สู่สมัยสำริดเช่น แหล่งอารยธรรมเมโสโปเตเมียในภูมิภาคเอเชีย-ตะวันตกแหล่งอารยธรรมลุ่มแม่น้ำไนล์ในประเทศอียิปต์แหล่งอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุในประเทศอินเดียและแหล่งอารยธรรมลุ่มแม่น้ำฮวงโหวในประเทศจีนเป็นต้น

ยุคเหล็ก เริ่มเมื่อประมาณ 3,200 ปี มาแล้วเป็นช่วงของการพัฒนาการทางเทคโนโลยี ที่ต่อเนื่องจากยุคสำริดหลังจากที่มนุษย์สามารถนำทองแดงมาผสมกับดีบุกและหลอมเป็นโลหะผสมได้แล้วมนุษย์ก็ คิดค้นหาวิธี นำเหล็กซึ่งเป็นโลหะที่มี ความแข็งและทนทานกว่าสำริดมาทำเป็นเครื่องมือเครื่องใช้และอาวุธด้วยการใช้อุณหภูมิ ในการหลอมที่สูงกว่าการหลอมสำริดแล้วจึงตีโลหะเหล็กในขณะที่ยังร้อนอยู่ให้เป็นรูปทรงที่ต้องการเนื่องจากเหล็กใช้ทำเครื่องมือเครื่องใช้มี ความเหมาะสมกับงานการเกษตรที่ต้องใช้ความแข็งแรงมากกว่าสำริดและมีความทนทานกว่าด้วยจึงทำให้มนุษย์ยุคเหล็กสามารถทำการเกษตรได้ผลผลิตเพิ่มมากขึ้นนอกจากนี้เหล็กยังใช้ ทำอาวุธที่มี ความแข็งแกร่งและทนทานกว่าสำริดจึงทำให้ สังคมมนุษย์ยุคนี้ที่พัฒนาเข้าสู่ยุคเหล็กและเข้าสู่ความเป็นรัฐได้ด้วยการมี กองทัพที่มีประสิทธิภาพกว่าสามารถปกป้องเขตแดนของตนเองได้ดีกว่าทำให้สังคมเมืองของตนมีความมั่นคงปลอดภัยและในที่สุดก็สามารถขยายอิทธิพลไปยังดินแดนอื่นๆได้ในเวลาต่อมา