การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ มีที่ไหนบ้าง

เที่ยวอย่างไรถึงเรียกว่ารักโลกรักสิ่งแวดล้อม เที่ยวแบบอีโค่คืออะไร ทำอย่างไรถึงจะช่วยในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรามีคำตอบให้ที่นี่

Show

อีโค่ทัวริสซึ่ม (Ecotourism) หรือการท่องเที่ยวเชิงการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ รวมไปถึงการอนุรักษ์พลังงาน เป็นเทรนด์การท่องเที่ยวอีกรูปแบบหนึ่งที่กำลังเป็นที่นิยมในวงกว้างและในระดับสากล มากไปกว่านั้นหน่วยงานต่างๆ ก็เริ่มออกมารณรงค์และให้ความรู้ในเรื่องนี้กันเป็นอย่างมาก อย่างที่เราตระหนักกันดีว่า ในปัจจุบันนี้จำนวนของภูเขาหัวโล้นมีเพิ่มมากขึ้นจนน่าตกใจ น้ำทะเลเน่าอย่างไม่น่าเชื่อ ปริมาณขยะในทะเลที่มีแนวโน้มว่าจะสูงขึ้นมากกว่าปลา และหลายคนก็กำลังเป็นห่วงกันว่าหากเรายังตะบี้ตะบันใช้ทุกสิ่งโดยไม่คำนึงถึงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสียแต่วันนี้ ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า คนรุ่นหลังคงไม่มีโอกาสได้ชื่นชมความงามของธรรมชาติที่แท้จริงเป็นอย่างแน่นอน

ด้วยเหตุนี้ เสิร์ชเอ็นจิ้น Skyscanner จึงอยากจะเป็นหนึ่งกำลังสำคัญในการให้ข่าวสารข้อมูลและช่วยรณรงค์การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์แบบยั่งยืน เราลองมาดูกันซิว่าหากเราทุกคนร่วมใจร่วมมือกันทำ มีหลักปฏิบัติง่ายๆ อะไรบ้างที่เราสามารถรักโลกรักสิ่งแวดล้อมและท่องเที่ยวได้อย่างเป็นมิตรกับธรรมชาติ และสามารถนำไปสอนเยาวชนให้ทำตามได้บ้าง เชื่อเราเถอะว่า “คุณทำได้” และ “ทุกคนทำได้”

การเตรียมตัวเดินทางแบบไหนที่ช่วยในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ?

พกขวดน้ำไปเอง

เพื่อลดปริมาณขยะและรักษาสิ่งแวดล้อม เราควรพกขวดน้ำไว้ไปเติมเอง ยิ่งถ้าหากไปเที่ยวกันหลายคน ก็ซื้อน้ำเป็นแกลลอนแล้วแบ่งใส่ขวดแต่ละคน ซึ่งนอกจากจะรักษ์โลกแล้ว ยังเป็นการประหยัดอีกด้วย เพราะราคาค่าน้ำต่อขวดนั้นนับว่าไม่ถูกเลย

พกเครื่องอาบน้ำแบ่งใส่ขวดไปเอง

วิธีนี้เป็นการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมที่ดีมาก เพราะสามารถช่วยลดปริมาณขยะจากการไปซื้อเครื่องอาบน้ำขวดจิ๋วสำหรับการเดินทาง

พกแบตเตอรี่แบบรีชาร์ตได้

นอกจากจะเบากระเป๋าเพราะไม่ต้องหอบถ่านไปเยอะแล้ว ยังเป็นการช่วยลดขยะและลดมลพิษด้วย

อย่าแบกสมบัติไปเยอะ

กฎเหล็กของนักเดินทางขั้นโปรฯ คือ “เดินทางเบาๆ” หรือ “Travel light” เพราะนอกจากจะเปลืองพลังงานตัวเอง เดินได้ช้า เป็นภาระคนอื่น แถมมีส่วนทำให้ข้อเข่าสึกหรอเร็วขึ้น น้ำหนักสัมภาระที่ขนไปมากเกินความจำเป็นนั้นก็ยังไปกินน้ำหนักเครื่องบิน-รถ-เรือให้ใช้พลังงานเผาผลาญมากขึ้น จัดว่า”ไม่เป็นมิตร” กับการรักษาสิ่งแวดล้อมและอนุรักษ์พลังงานเป็นอย่างมาก

ระหว่างเดินทางควรทำอย่างไรที่จะช่วยส่งเสริมการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ?

เลือกบินสำหรับเส้นทางไกล

หากการเดินทางทริปนั้นๆ จำเป็นต้องขับรถข้ามเมืองเป็นวันๆ การใช้บริการเครื่องบินจะถือว่าประหยัดพลังงานมากกว่า อีกทั้งยังรวดเร็วและสะดวกกว่าอีกด้วย ที่สำคัญเป็นอีกหนึ่งวิธีง่ายๆ ที่ช่วยในการอนุรักษ์ธรรมชาติ (ดีไม่ดี คำนวณดูแล้ว ค่าน้ำมัน ค่าที่พักระหว่างทางและค่าอาหาร เบ็ดเสร็จแล้วอาจแพงกว่านั่งเครื่องบินอีกต่างหาก)

เช่ารถไฮบริด

สำหรับเส้นทางที่จำเป็นต้องเช่ารถขับเอง หรือเลือกที่เช่ารถขับเที่ยวเพราะคุ้มและแวะเที่ยวได้หลายที่ ขอแนะนำให้เช่ารถแบบไฮบริดรักษ์สิ่งแวดล้อม

แชร์การเดินทาง

สำหรับเส้นทางที่ต้องเหมารถ-ต่อเรือเข้าไปเที่ยว เราก็น่าจะลองถามคนที่ต่อคิวเช่ารถ-เรือติดๆ กันว่ามีใครที่จะไปทางเดียวกับเราบ้าง ไปเกาะเดียวกันไหม ถ้ามีเราก็น่าจะชักชวนให้แชร์รถ-แชร์เรือไปด้วยกัน เพราะทั้งประหยัดค่าน้ำมันรถ-เรือ ช่วยลดการเกิดควันพิษที่มาจากเครื่องยนต์ ซึ่งนับว่าเป็นการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติได้เป็นอย่างดีแล้ว ยังช่วยประหยัดค่าเดินทางอีกด้วย (ได้ตัวหารเพิ่มไง)

เช่าจักรยานขี่เที่ยว

แทนที่จะเหมารถสองแถวหรือสามล้อเที่ยวรอบเมือง ถ้ามีตัวเลือกของจักรยานก็น่าสนใจไม่น้อย เพราะทั้งช่วยลดมลพิษและได้ออกกำลังกายไปในตัวอีกต่างหาก เฮลตี้สุดๆ

เดินทางบนเส้นทางหลักที่เขาทำไว้

กรณีนี้จะพบมากในเส้นทางเดินป่าที่ส่วนใหญ่แล้วหน่วยงานอุทยานฯ เขาจะทำเส้นทางศึกษาธรรมชาติไว้ให้เดิน การที่เราเดินมั่วออฟโรดไปเองตามใจอยาก นอกจากจะไม่ปลอดภัยแล้ว ยังไปทำลายระบบชีววิทยาและต้นไม้ในเส้นทางที่เราบุกย่ำเข้าไปอีก

การพักในโรงแรมแบบไหนและอย่างไรถึงจะช่วยในการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม?

เลือกที่พักแนวรักษ์สิ่งแวดล้อม

ในปัจจุบันโรงแรมที่พักหลายแห่งเริ่มปรับและพัฒนาเป็นที่พักแนวอีโค่กันมากขึ้น นอกจากนั้นยังเป็นที่สังเกตได้ว่า โรงแรมที่สร้างขึ้นโดยอิงเชิงอนุรักษ์นั้นมักจะมีโลเกชั่นดี ใกล้ชิดธรรมชาติ เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้พักอย่างสบายใจ ได้ชมวิวสวยๆ แถมยังได้ช่วยรักษ์โลกอีกด้วย

ปิดไฟ-ปิดแอร์ทุกครั้งที่ออกจากห้องพัก

ถึงแม้ว่าสมัยนี้เกือบทุกโรงแรมจะมีระบบตัดไฟทันทีที่ประตูห้องปิดจากด้านนอก (ลูกค้าออกจากห้องพัก) แต่ก็ยังมีอีกหลายแห่งที่ยังไม่มีระบบนี้ ฉะนั้นทุกครั้งที่เราจะออกจากห้องพัก เอื้อมมือไปกดปิดสวิตช์ไฟสักนิด มันก็ไม่ยากอะไรกันใช่ไหม?

ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนผ้าปูที่นอน-ผ้าเช็ดตัวทุกวัน

ทำไมนะหรือ ก็เพราะว่าการซักล้างบ่อยๆ นั้นก็ก่อให้เกิดมลพิษและเปลืองพลังงานเช่นกัน ซึ่งปกติเวลาเราอยู่บ้าน เรายังไม่เปลี่ยนผ้าเช็ดตัว ซักผ้าปูที่นอนกันทุกวันเลย แล้วทำไมเราต้องทำตัว “เยอะ” เวลาไปเที่ยวกันด้วยหละ

อย่าอาบน้ำนาน

อย่าถือว่าจ่ายค่าห้องแล้วต้องเอาให้คุ้ม การอาบน้ำนานนอกจากจะเปลืองน้ำแล้ว ยิ่งน้ำอุ่นด้วยละก็ส่งผลให้สิ้นเปลืองพลังงานการหุงต้มเพิ่มขึ้นไปอีก

แยกขยะ

ไม่ว่าจะที่บ้านของเราเองหรือที่โรงแรมที่พัก ก็ควรแยกทิ้งขยะให้เป็นนิสัย เพราะขยะหลายอย่างสามารถนำไปรีไซเคิลได้ อย่าเอาไปรวมกับพวกขยะสด นอกจากนั้นยังเป็นการช่วยพนักงานกำจัดขยะให้ทำงานได้ไวขึ้นและสะดวกขึ้น

ปิดทริปด้วยการรักโลกรักสิ่งแวดล้อม ทำอย่างไรหละ?

ขยะของเราเก็บเอามาทิ้งที่ถัง

ไม่ว่าจะเป็นถุงขนม ถุงพลาสติก หีบห่อสินค้าใดๆ ที่เราพกไป แกะซองแกะห่อแล้วก็ทิ้งลงถังขยะให้เรียบร้อย ในกรณีที่ไม่มีถังขยะ (บนเกาะหรือบนเขาที่ไปเที่ยว) ก็ขอให้เก็บกลับมาด้วย เพื่อเอามาทิ้งที่ถังขยะในเมือง แบบนี้ซิถึงเรียกว่าเที่ยวแบบอีโค่ตัวจริง!

ครอบครัวใคร ใครก็รัก อย่าลักสมาชิกครอบครัวอื่นกลับมาด้วย

ปลาทะเลเขาก็ต้องอยู่ในทะเล ปะการังก็ต้องอยู่ใต้น้ำเพราะที่นั่นคือบ้านของเขา เราเก็บกลับมา ใช่ว่าเขาจะรอด ถึงรอดก็อยู่ไม่นาน แล้วเราจะทำไปทำไม กรณีนี้นับว่าใจร้ายมาก ….. จริงไหม

เก็บแค่ภาพสวยๆ ตามครรลองธรรมชาติไว้เป็นความทรงจำดีๆ

อย่างที่เราเคยเห็นเคยได้ยินจากโลกโซเชียลที่นักท่องเที่ยวช้อนตัวปลาขึ้นมาถ่ายรูป อุ้มลูกนกจากรังมาเซลฟี่ “มันไม่คูล” แต่ดูไร้จิตสำนึก และไม่มีใครชื่นชม เก็บภาพสวยๆ ของธรรมชาติแบบที่ควรจะเป็น นั่นแหละคือภาพที่สวยที่สุด

ซื้อของฝากทำมือจากท้องถิ่น

ของที่ระลึกท้องถิ่นนั้นมักเป็นงานฝีมือของชาวบ้าน นอกจากจะเป็นเอกลักษณ์ไม่โหลแบบของชำร่วยที่ทำจากโรงงานไปวางขายเป็นล็อตๆ แล้ว ยังช่วยลดปริมาณขยะจากการผลิตของชำร่วยโรงงาน นับว่าช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมในทางอ้อม

ไม่ต้องจารึก “ศิลเปรอะ” ให้ขายหน้า

ขอเลยข้อนี้ว่าอย่าไปฝากลงนามที่ระลึกตามกำแพงผนังสถานที่เที่ยวหรือต้นไม้ในป่า ไม่สลักชื่อ ไม่เขียนสี ไม่ขีดเขียนหรือทำการจารึกร่องรอยใดๆ ทิ้งไว้เป็นที่ระลึก เพราะมีแต่คนก่นด่ามิได้ชื่นชม มากไปกว่านั้นในกรณีที่ไปเขียนไว้ที่เที่ยวในต่างประเทศแล้วคนอ่านเขารู้ว่ามาจากเมืองไทย มันคือการเอาชาติไปทำลายชื่อเสียง อีกหน่อยพาสปอร์ตไทยจะกลายเป็นที่รังเกียจเสียเปล่าๆ

การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ มีที่ไหนบ้าง

การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ มีอะไรบ้าง

การท่องเที่ยวเชิงนิเวศสามารถทำได้ในลักษณะต่างๆ เช่น การเดินป่า การขี่จักรยานลัดเลาะไปตามไร่นาและชนบท การชมถ้ำ น้ำตก น้ำพุร้อน การไต่เขา ปีนหน้าผา การนั่งเรือหรือล่องแพ การดำน้ำดูปะการัง การเยี่ยมชมวิถีชีวิตของชุมชนในท้องถิ่น เป็นต้น วิธีการเหล่านี้จะทำให้นักท่องเที่ยวมีโอกาสได้สัมผัสกับธรรมชาติอย่างแท้จริง ได้เรียนรู้ ...

การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ คืออะไร ทำได้อย่างไร

การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ (อังกฤษ: Ecotourism) หมายถึงการท่องเที่ยวที่คำนึงถึงสภาพแวดล้อม และผู้ที่มาท่องเที่ยวนั้นจะต้องเป็นบุคคลเฉพาะกลุ่มโดยรู้และไม่ทำลายสภาพแวดล้อม เช่น ทรัพยากรธรรมชาติ ทรัพยากรชุมชน หรือสิ่งที่น่าจะทำให้การท่องเที่ยวนั้นเสียหาย ซึ่งการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์นี้รวมไปถึงรูปแบบการท่องเที่ยวในเชิง ...

สถานที่สำคัญทางธรรมชาติมีอะไรบ้าง

ที่เที่ยวธรรมชาติ เงียบๆ.
1. เขาคูหา สงขลา.
2. สวนยาหลวง น่าน.
3. ละลุ สระแก้ว.
5. อุทยานแห่งชาติคลองวังเจ้า กำแพงเพชร.
6. หาดหงส์ อุบลราชธานี.
7. ล่องแพไม้ไผ่ วังเคียงคู่ พังงา.
8. ทะเลน้อย พัทลุง.
9. ป่าฮาลาบาลา ยะลา.

การท่องเที่ยวเชิงเกษตร มีที่ไหนบ้าง

เที่ยวชิลๆ ได้ความรู้.
Mini Murrah Farm..
พิพิธภัณฑ์การเกษตรเฉลิมพระเกียรติฯ Wisdom Farm..
ปฐมออร์แกนิกฟาร์ม Patom Organic Farm..
ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง บ้านของพ่อ.
บานาน่า สุพรรณบุรี หรือ ศูนย์อนุรักษ์พันธุ์กล้วยสุพรรณบุรี.
นาเฮียใช้ ศูนย์เรียนรู้วิถีชีวิตและจิตวิญญาณชาวนาไทย.
โครงการชั่งหัวมัน ตามพระราชดำริ.
CORO Field..