เมื่อมีการใช้งานฮาร์ด

SOLUTIONS CORNER
ฮาร์ดดิสพกพามีประโยชน์อย่างไร แล้วมีหลักการเลือกซื้อให้คุ้มอย่างไรบ้าง
เมื่อมีการใช้งานฮาร์ด

ฮาร์ดดิสพกพามีประโยชน์อย่างไร แล้วมีหลักการเลือกซื้อให้คุ้มอย่างไรบ้าง


เมื่อมีการใช้งานฮาร์ด

ฮาร์ดดิสคือส่วนอุปกรณ์สำคัญของคอมพิวเตอร์ที่ส่งผลต่อการใช้งานของผู้ใช้โดยตรง ทั้งในเรื่องของการเก็บรักษาข้อมูลและความรวดเร็วในการใช้งาน ซึ่งจำนวนความจุและประเภทของฮาร์ดดิสคือข้อสำคัญที่เราต้องเลือกให้ดีเพื่อการใช้งานอุปกรณ์ให้ได้เต็มประสิทธิภาพ และนอกจากฮาร์ดดิสในแบบที่เป็นอุปกรณ์ที่ติดมากับตัวคอมพิวเตอร์แล้ว ก็ยังมีฮาร์ดดิสพกพาที่เป็นอุปกรณ์สำหรับการเก็บสำรองข้อมูลที่สามารถพกพาไปไหนก็ได้ แถมยังมีความจุมากอีกด้วย

Show

ข้อดีและประโยชน์ของฮาร์ดดิสพกพา


สำหรับข้อดีของฮาร์ดดิสพกพาประการแรกเลยก็คือขนาดที่เล็ก น้ำหนักเบา และพกพาสะดวก ทำให้เจ้าฮาร์ดดิสขนาดเล็กนี้เป็นอุปกรณ์ที่เหมาะกับการใช้งานที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการนำไปใช้สำหรับการเก็บข้อมูลสำรองจากคอมพิวเตอร์หลัก หรือจะเอาไว้เก็บข้อมูลสำคัญที่ต้องการความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้งาน ด้วยความจุที่มากและหลากหลายขนาด ทำให้ฮาร์ดดิสพกพาเป็นอุปกรณ์ที่คนใช้คอมพิวเตอร์ทำงานและเพื่อความบันเทิงทุกคนต่างก็ต้องมีติดตัวเอาไว้สำรองและเก็บไฟล์ต่าง ๆ

ข้อดีอีกอย่างก็คือความทนทานที่มากกว่า อย่างที่เราจะเห็นกันว่า USB Flash Drive สมัยนี้จะมีปริมาณความจุที่มากขึ้นเรื่อย ๆ แต่ถึงแม้ว่าจะมากจนใกล้เคียงกับฮาร์ดดิสมากแค่ไหนก็ตาม แต่เรื่องประสิทธิภาพของการทำงานนั้นรับรองเลยว่าเทียบกันไม่ได้อย่างแน่นอน ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องความทนทานจากการใช้งานที่บอกไป หรือจะเป็นความรวดเร็วในการโอนถ่ายข้อมูลที่เหนือชั้นกว่า และประสิทธิภาพในการเรียกใช้และอ่านข้อมูลได้ใกล้เคียงกับฮาร์ดดิสในตัวเครื่องคอมพิวเตอร์เลยทีเดียว

เลือกฮาร์ดดิสพกพาอย่างไรให้ใช้แล้วคุ้ม


ด้วยการออกแบบที่หลากหลายและความแตกต่างทั้งประเภทและยี่ห้อของฮาร์ดดิสพกพา เพื่อให้การเลือกซื้อของเราได้ของที่คุ้มค่าก็จะต้องพิจารณาถึงประเภทของฮาร์ดดิส ซึ่งเป็นเรื่องระหว่าง HDD กับ SSD ว่าเราจะเลือกประเภทไหน ถ้าเป็นการเก็บข้อมูลทั่วไปที่ไม่ได้ต้องการการถ่ายโอนข้อมูลที่เร็วมากมาย ลำพังแค่ HDD ก็เพียงพอ แต่ถ้าหากว่าคุณเน้นไปที่ความเร็วในการอ่านและโอนย้ายให้ไวไว้ก่อน SSD จะสามารถตอบโจทย์ได้เป็นอย่างดี แน่นอนว่าเมื่อแรงและไวกว่า ราคาก็สูงกว่าเช่นกัน และการดูในเรื่องของความสามารถในการป้องกันแรงกระแทกต่าง ๆ ด้วย เพราะฮาร์ดดิสที่พกได้จะต้องพบเจอกับแรงกระแทกเสมอ แต่จะมากจะน้อยก็แล้วแต่ผู้ใช้งาน นั่นหมายความว่าเพื่อความปลอดภัยเราควรที่จะเลือกแบบที่มีความสามารถในการกันกระแทก Ruggedness ติดมาด้วย

นอกจากนั้นแล้วก็อย่าลืมเรื่องของปริมาณความจุของข้อมูลที่อย่างน้อยตอนนี้ควรจะเลือกฮาร์ดดิสพกพาที่มีความจุ 1 TB ขึ้นไป เพราะจากที่สังเกตแล้วขนาดของไฟล์ประเภทต่าง ๆ นั้นดูท่าว่าจะใช้เนื้อที่มากขึ้นโดยเฉพาะกับไฟล์เพลงและภาพยนตร์ และเพื่อความคุ้มค่าที่มากกว่าอย่างไรก็อย่าลืมศึกษาเรื่องของวิธีการใช้งานที่ถูกต้องเอาไว้ด้วย ฮาร์ดดิสที่รักจะได้อยู่กับเราไปได้นาน ๆ

ควิกเซิร์ฟ
  • •  ติดต่อเรา
  • •  เกี่ยวกับเรา
  • •  ลูกค้าที่ไว้วางใจ
  • •  สิทธิส่วนบุคคล
  • •  แผนผังเว็บไซต์
สินค้า
  • •  เซิร์ฟเวอร์
  • •  ไฮเปอร์คอนเวิร์จ
  • •  สตอเรจ
  • •  เบรคเซิร์ฟเวอร์
  • •  เครื่องสำรองไฟ
  • •  อุปกรณ์เครือข่าย
  • •  เวิร์คสเตชั่น
  • •  อุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง
  • •  โปรแกรมสำเร็จรูป
งานระบบ
  • •  Domain Controller
  • •  File & Print Sharing
  • •  E-mail
  • •  Virtualization
  • •  Backup & Recovery
  • •  Business Security
  • •  Internet Data Center
  • •  Internet Logging
  • •  Internet Security
บริการ
  • •  ขอรับใบเสนอราคา
  • •  การชำระเงิน
  • •  การจัดส่งสินค้า
  • •  ระบบสมาชิก
  • •  Technology Update
  • •  Solution Conner
กิจกรรม
  • •  กิจกรรมเพื่อสังคม
  • •  กิจกรรมของบริษัทฯ
ออนไลน์
  • •  Facebook
  • •  YouTube
  • •  Commercial
  • •  Cloud Quickserv

ฮาร์ดดิสก์ (Hard disk) 

        เป็นอุปกรณ์ที่เก็บข้อมูลได้มาก สามารถเก็บได้อย่างถาวร โดยไม่จำเป็นต้องมีไฟฟ้ามาหล่อเลี้ยงตลอดเวลา เมื่อปิดเครื่องข้อมูลก็จะไม่สูญหาย จึงถูกจัดเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการเก็บระบบปฏิบัติการ โปรแกรม และข้อมูลต่าง ๆ ฮาร์ดดิสก์มีหน่วยความจุตั้งแต่เป็นไบต์ เมกะไบต์ จนถึงจิกะไบต์ หากเครื่องคอมพิวเตอร์มีความจุของฮาร์ดดิสก์มากก็จะทำให้สามารถเก็บข้อมูล ได้มาก

 

เมื่อมีการใช้งานฮาร์ด


        
ฮาร์ดดิสก์ ทำจากแผ่นจานแม่เหล็กวางซ้อนกันหลาย ๆ แผ่น โดยที่ทุกแทรกและเซกเตอร์ที่มีตำแหน่งตรงกันของฮาร์ดดิสก์ในชุดหนึ่งจะเรียก ว่าไซลินเดอร์ แผ่นจานแม่เหล็กของฮาร์ดดิสก์นั้นหมุนเร็วมาก โดยที่หัวอ่านและบันทึกจะไม่ไปสัมผัสกับผิวของจานแม่เหล็ก ดังนั้นหากหัวอ่านและบันทึกมีฝุ่นสะสมอยู่มาก หัวอ่านและบันทึกจะไปสัมผัสกับผิวของจานแม่เหล็ก ซึ่งอาจทำให้เกิดความผิดพลาดในการเรียกใช้ข้อมูลหรือเกิดความเสียหายได้ 

การเลือกซื้อฮาร์ดดิสก์         1. ควรเลือกฮาร์ดดิสก์ที่มีความจุและความเร็วเหมาะสมกับลักษณะงานที่ใช้ เช่น      งานพิมพ์เอกสาร ดูหนัง ฟังเพลง และเล่นอินเทอร์เน็ต ควรมีความจุ 0-10 GB/5,400 RPM งาน กราฟิก ตกแต่งภาพความละเอียดสูง เล่นเกม ความจุ 200-250 GB/7,200 RPM และงานสร้างมัลติมีเดีย ตัดต่อเสียงและวีดิโอ ควรมีความจุตั้งแต่ 320 GB ขึ้นไป/10,000 RPM เป็นต้น         

        2. ควรเลือกฮาร์ดดิสก์ที่มีการรับประกัน 

วิธีดูแลฮาร์ดดิสก์อย่างง่าย

 วิธีการดูแลรักษาฮาร์ดดิสก์อย่างง่าย 

         โดยปกติพื้นในฮาร์ดดิสก์ของเราถูกใช้ในการจัดเก็บไฟล์ไว้หลายประเภท ไม่ว่าจะเป็นไฟล์โปรแกรมระบบปฏิบัติการ ( Windows) ไฟล์โปรแกรมทำงาน (เช่น โปรแกรม MS-Word MS-Exel) ไฟล์เกมส์ ไฟล์งาน (เช่น รูปภาพ ไฟล์เอกสาร Word หรือ Exel) ไฟล์เพลง mp3 ฯลฯ ซึ่งไฟล์เหล่านี้ถูกจัดเก็บอย่างเป็นระบบในฮาร์ดดิสของเรา ยิ่งเราติดตั้งโปรแกรมลงไปในคอมพิวเตอร์มากเท่าไร เราก็จะยิ่งเสียพื้นในฮาร์ดดิสก์ไปเรื่อยๆ อันนี้ยังไม่นับไฟล์งาน ไฟล์รูปภาพและไฟล์เพลง ต่างๆ ที่ ซึ่งสามารถตรวจสอบขนาดพื้นที่ของฮาร์ดดิสในเครื่องของเราได้ด้วยวิธีการ ดังนี้ 

       1. ดับเบิ้ลคลิกที่ My Computer 

        2. คลิกเมาส์ขวาที่ไดรฟ์ C: หรือ D: ( เป็นไดรฟ์ของฮาร์ดดิสที่ใช้เก็บข้อมูล ) แล้วคลิก  ( ซ้าย ) ที่เมนู Propreties 
       3. สีน้ำเงินคือพื้นที่ที่ถูกใช้ไป ส่วนสีชมพูคือพื้นที่ที่ว่างอยู่ หลักการมีอยู่ว่า จำเป็นต้องเหลือพื้นที่สีชมพูไว้อย่างน้อย 10 % ของฮาร์ดดิสก์ ไม่งั้นเครื่องจะทำงานช้าลง ซึ่งก็คงหนีไม่พ้นที่จะต้องลบไฟล์หรือ โปรแกรมออกจากเครื่องไปบ้าง แต่ก่อนที่จะลบข้อมูลดังกล่าว ขอแนะนำให้ลบ “ ไฟล์ขยะ ” (Temp files) อกไปก่อน และวิธีการดูแลฮาร์ดดิสก์ ขั้นต้น แนะนำตามวิธีดังต่อไปนี้

1. การสแกนไวรัส
    - สแกนไวรัส ทุกครั้งก่อนเปิดใช้งาน Flash Drive 
    - สแกน Drive ทุกๆ Drive อย่างน้อยอาทิตย์ละ1 ครั้ง
    - ในการเสียบ Flash Drive ทุกครั้ง
 ห้าม Double Click โดยเด็ดขาด   มื่อสแกนไวรัสแล้ว ให้คลิกขวาเลือก Open หรือ Explore

2. การลบไฟล์ขยะ (Temp files)

      Temp files เรียกได้ว่าเป็นไฟล์ ขยะที่เกิดจากการเปิดใช้งานมาก ไม่มีประโยชน์ใดๆทุกครั้งที่เปิดวินสโดวส์จะมีการสร้าง Temp files นามสกุล .tmp ขึ้นมาเรื่อยๆซึ่งวินโดวส์ก็ไม่ได้ใช้งานไฟล์ประเภทนี้อีก โดยปกติเมื่อเราใช้ windows ไปนานๆไฟล์ขยะต่างๆ หรือไฟล์ที่ระบบปฏิบัติการโหลดไว้เพื่อใช้งานชั่วคราว ก็จะมากขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้นควรจะมีการเคลียร์ Temp files เพื่อลดปริมาณขยะ ออกจากเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ค่ะ ว่าแล้วก็มาลบไฟล์ขยะกันเลยดีกว่า เราเรียกวิธีการลบไฟล์ขยะนี้ว่า “Disk Cleanup” บางทีการทำ Disk Cleanup อาจทำให้เราได้พื้นที่ว่างของฮาร์ดดิสคืนกลับมา โดยที่ไม่ต้องไปลบโปรแกรมหรือไฟล์งานเลยก็ได้ ขั้นตอนการทำ Disk Cleanup มีดังนี้ 

        1. คลิกที่เมนู Start แล้วไปที่เมนู Program / Accessories /            System Tools / คลิกที่เมนู Disk Cleanup         2. คลิกเลือกไดรฟ์ C: จากนั้นคลิกปุ่ม OK         3. ถึงตรงนี้ให้รอสักครู่ค่ะ ( ใครที่ไม่ได้ทำ Disk Cleanup มาก่อน อาจต้องรอนานหน่อยนะ )         4. ทีนี้ก็มาถึงขั้นตอนการลบให้คลิกปุ่ม OK         5. คลิกปุ่ม Yes เพื่อยืนยัน         6. แสดงสถานะการลบไฟล์ขยะให้รอสักครู่จนกว่าหน้าต่างนี้จะหายไป

    หลังจากเสร็จสิ้นทั้ง 6 ขั้นตอนนี้แล้ว ให้ลองกลับไปตรวจสอบขนาดพื้นที่ของฮาร์ดดิสดูอีกครั้งตามที่ได้แนะนำไว้เมื่อตอนต้นของบทความ เชื่อว่าน่าจะได้พื้นที่ว่างกลับมาอีกพอสมควรพื้นที่ว่างที่ได้กลับมาอาจทำให้บางคนไม่ต้องไปลบโปรแกรมหรือไฟล์งานในเครื่อง โดยเฉพาะกับผู้ใช้คอมพิวเตอร์บางท่านที่ไม่เคยทำ Disk Cleanup มาก่อน ก็จะได้พื้นที่ว่างกลับมาเยอะจนเราคาดไม่ถึงทีเดียว

3. การใช้งาน Scan Disk   สำหรับตรวจสอบข้อผิดพลาดของ ฮาร์ดดิสก์   สำหรับ ระบบปฏิบัติการ Windows 

   1. ดับเบิ้ลคลิกที่ My Computer คลิกขวาไดร์ฟที่ต้องการทำ Scan Disk             เลือก Properties 
   2. คลิกที่แท็บ Tools จากนั้นคลิกที่ Check Now… 
   3. คลิกเครื่องหมายถูกที่ Scan for and attempt recovery of bad sectors     แล้วคลิก Start 
   4. รอสักครู่เครื่องจะทำการ Scan Disk 
   5. เมื่อเครื่องทำการ Scan Disk เสร็จก็จะรายงานได้ทราบ ให้คลิก OKหมายเหตุ

หมายเหตุ   ขณะที่ทำการ Scan Disk ไม่ควรเปิดโปรแกรมใด ๆ 
            Automatically fix errors เป็นการกำหนดให้ทำการแก้ไขปัญหาที่พบโดยอัตโนมัติ เมื่อพบข้อผิดพลาดขึ้น

4. การ Defrag ฮาร์ดดิสก์   เพื่อเพิ่มความเร็วให้กับการทำงานของระบบ สำหรับ Windows  

   1. ดับเบิ้ลคลิกที่ My Computer คลิกขวาไดร์ฟที่ต้องการทำ Defragment เลือก Properties 
   2. คลิกที่แท็บ Tools จากนั้นคลิกที่ Defragment Now... 
   3. คลิกที่ Defragment 
   4. จากนั้นให้รอ เครื่องจะทำการ Defragment ซึ่งอาจจะใช้เวลานาน 
   5. เมื่อเครื่อง Defragment เสร็จเครื่องจะแจ้งให้ทราบถ้าต้องการดูรายละเอียดต่าง ๆ ของการ Defragment ให้คลิกที่ View Report ถ้าไม่ต้องการก็ให้คลิกที่ Close

หมายเหตุ 

เมื่อมีการใช้งานฮาร์ด
เมื่อมีการใช้งานฮาร์ด
 
ขณะที่ทำการ Scan Disk ไม่ควรเปิดโปรแกรมใด ๆ                            Automatically fix errors เป็นการกำหนดให้ทำการแก้ไขปัญหาที่พบ  โดยอัตโนมัติ เมื่อพบข้อผิดพลาดขึ้น

เมื่อมีการใช้งานฮาร์ด
เมื่อมีการใช้งานฮาร์ด
เมื่อมีการใช้งานฮาร์ด
 
ความรู้เพิ่มเติม 

Disk  Cleanup  เป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งที่มีมาให้ในระบบปฏิบัติการวินโดวส์ โดยใช้สำหรับการทำงานความสะอาดฮาร์ดดิสต์ หรือเรียกง่าย ๆ ก็คือใช้สำหรับลบไฟล์ต่าง ๆ ที่ไม่จำเป็นในการใช้งานทิ้ง  เพื่อให้ฮาร์ดดิสก์ของเครื่องคอมพิวเตอร์ มีเนื้อที่การใช้งานเพิ่มมากขึ้น ดังนั้นควรที่จะทำการสั่งโปรแกรม Disk  Cleanup  เป็นประจำหรือประมาณสัปดาห์ละหนึ่งครั้ง 

Disk  Defragment  การทำการจัดเรียงข้อมูลของไฟล์ต่าง ๆ ที่เก็บอยู่ในฮาร์ดดิสก์ เพื่อให้มีความต่อเนื่องหรือเรียงเป็นระบบต่อ ๆ กันไป  โดยประโยชน์ที่จะได้รับ คือ สามารถอ่านข้อมูลของไฟล์ต่าง ๆ ได้เร็วขึ้น

Bad  sector  อาการผิดปกติของหน่วยความจำในฮาร์ดดิสก์  ซึ่งอาจส่งผลทำให้มูลหรือโปรแกรมที่บันทึกไว้ในฮาร์ดดิสก์เสียหายได้ อาการเบื้องต้นที่  สังเกตง่าย ๆ เช่น เครื่องมือการค้าง (Hang) บ่อย ๆ เป็นต้น

        RPM ย่อมาจาก  (Revolutions  per  minute  หมายถึง  รอบต่อนาที

        กราฟิก  ใช้ในการสร้างงานต่าง ๆ เช่น ภาพเคลื่อนไหวหรือแอนิเมชั่น  งานภาพยนตร์  เกม   สื่อประสมภาพและเสียง  ระบบสร้างภาพความจริงเสมือน เป็นต้น

       มัลติมีเดีย  สื่อประสมหรือสื่อหลายแบบ  ที่ใช้ในการสื่อหลายรูปแบบ  เช่น  ข้อความ  เสียง   ภาพนิ่ง  ภาพเคลื่อนไหว  เป็นต้น  มัลติมีเดียมีการใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ เพื่อการนำเสนอข้อมูลไว้อย่างเป็นระบบและมีการรวมเอาฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์เข้าไว้ด้วยกัน  จึงสามารถนำเสนอข้อมูลได้หลากหลายโดยมีความจุและความเร็จในฮาร์ดดิสก์มาเป็นพิเศษ

เมื่อมีการใช้งานฮาร์ด
 Disk Cleanup