วิธีการศึกษาวิชาเศรษฐศาสตร์แบบอุปมานเป็นการศึกษาแบบใด

We’ve updated our privacy policy so that we are compliant with changing global privacy regulations and to provide you with insight into the limited ways in which we use your data.

You can read the details below. By accepting, you agree to the updated privacy policy.

Thank you!

View updated privacy policy

We've encountered a problem, please try again.


บทที่ 1
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์

แบบทดสอบตนเองหลังเรียนวัตถุประสงค์         เพื่อทดสอบความเข้าใจของนักศึกษาเกี่ยวกับเรื่อง
                               "ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์"
คำแนะนำ             ให้นักศึกษาอ่านคำถามต่อไปนี้ทีละข้อแล้วคลิกช่องว่างที่นักศึกษาคิดว่าถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว 
                              นักศึกษามีเวลาททำบททดสอบนี้  15 นาที

1.เศรษฐศาสตร์เป็นวิชาศึกษาว่าด้วย

การเลือกที่ดีที่สุด
การผลิตให้มากที่สุด
กำไรสูงสุด
สวัสดิการมากที่สุด


2.การขาดแคลน (Scarcity) เกิดขึ้นในสังคมเพราะ

ความต้องการมีมาก
ความต้องการมรน้อย
สินค้าและปริมาณมีจำนวนน้อยไม่เพียงพอ
ต้นทุนการผิตสูง

3. การศึกษาเศรษฐศาสตร์จุลภาค (Microeconomics) เกี่ยวกับเรื่องต่อไปนี้

การกำหนดราคาสินค้า
การลงทุนของประเทศ
การส่งออก
เงินเฟ้อ

4. ข้อใดมิใช่ส่วนประกอบของปัจจัยการผลิ

ที่ดิน
เงินทุน
แรงาน
ผู้ประกอบการ

5. ปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจประกอบด้วย

ปัญหาจะผลิตอย่างไร จึงจะได้กำไรสูงสุด
ปัญหาจะผลิตอย่างไร จึงจะได้ผลผลิตสูงสุด
ปัญหาจะผลิตอย่างไร จึงจะมีผู้นิยมมาก
ปัญหาจะผลิตอะไร ผลิตด้วยกรรมวิธีอย่างไร จำนวนเท่าไรและใครใช้

6. วิธีการศึกษาวิชาเศรษฐศาสตร์ ข้อใดผิด

วิธีอนุมาน การหาผลจากเหตุ
วิธีอุปมาน การหาเหตุจากผล
วิธีการศึกษาจากประวัติศาสตร์ จากเรื่องราวในอดีด
ศึกษาจากคำบอกเล่าต่อๆ กันมา

7.ในการสร้างทฤษฎีเศรษฐศาสตร์เราจำเป็นต้องมีข้อสมมติ

เพื่อให้สะดวกในการวิเคราะห์
ให้พฤติกรรมของมนุษย์เป็นพฤติกรรมที่มีเหตุผลทางเศรษฐกิจ
เพื่อจำของขอบเขตของการวิเคราะห์
ถูกทุกข้อ

8. จงพิจารณาว่าข้อความใดเป็นการกล่าวในเชิงอะไรควรเป็นอะไร

กฎหมายที่บังคับให้ผู้ขับขี่รถยนต์ต้องสวมหวกนิรภัย จะทำให้ผูมีผู้ได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุน้อยลง
ถ้ามีการลดราคาสินค้า และไม่การเปลี่ยนแปลงในปัจจัยอื่นๆ ผู้บริโภคจะซื้อสินค้าในปริมาณที่เพิ่มขึ้น
รัฐบาลควรเข้ามามีบทบาทในการควบคุมราคาสินค้าจำเป็น เพื่อช่วยเหลือผู้ที่มีรายได้น้อยให้สามารถซื้อสินค้าได้บ้าง
การที่ชาวคาทอลิกไม่ทานเนื้อสัตว์บกในวันศุกร์ ทำให้เนื้อสัตว์น้ำมีราคาสูงขึ้น

9. การแก้ไขปัญหาของระบบเศรษฐกิจทุนนิยมส่วนใหญ่ใช้วิธีการต่อไปนี้

ราคา
กฎหมาย
ควบคุม
โควต้า

10. ประเทศสหรัฐอเมริกา มีระบบเศรษฐกิจแบบ

แบบคอมมิวนิสต์
แบบสังคมนิยม
แบบประชาธปไตย
แบบผสม


1.1 เศรษฐศาสตร์  คืออะไร

            วิชาเศรษฐศาสตร์ (Economics) เป็นวิชาทางสังคมศาสตร์ที่ศึกษาถึงพฤติกรรมของมนุษย์และสังคมในการตัดสินใจเลือกใช้ทรัพยกรที่มีอยู่จำกัดและสามารถใช้ประโยชน์ได้หลายทาง  มาใช้ในการผลิตสินค้าและบริการต่างๆ    อย่างประหยัดที่สุดหรืออย่างมีประสิทธิภาพทางเทคนิคสูงสุด  และหาทางจำแนกแจกจ่ายสินค้าและบริการเหล่านั้นไปยังบุคคลในสังคมให้ได้รับความพอใจสูงสุดหรืออย่างมีประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจสูงสุด

                จากคำนิยามข้างต้น ได้เกิดแนวคิด(concept) เกี่ยวข้องในทางเศรษฐศาสตร์ไว้หลายประการด้วยกัน ดังนี้

                การขาดแคลน ( Scarcity )

                การที่เกิดการขาดแคลนขึ้นเนื่องจากความต้องการของมนุษย์ในสังคมมีมากกว่าความสามารถของสังคมที่ตอบสนองได้ทั้งหมด  ซึ่งผลักดันให้มนุษย์ต้องทำการตัดสินใจเลือกสิ่งที่จะสนองความต้องการและความพอใจได้ดีที่สุด

                การเลือก ( Choices  )

            ปัญหาการขาดแคลนและการเลือก มักไปด้วยกัน  บุคคลแต่ละคน  หน่วยธุรกิจต่างๆตลอดจนสังคมโดยส่วนรวม  ต้องตัดสินใจเลือกทางทางเลือกทางหนึ่ง  บุคคลต้องเลือกระหว่างการหางานทำหรือการศึกษาต่อ  ระหว่างการไปดูภาพยนต์หรือไปรับประทานอาหารนอกบ้าน  ธุรกิจต่างๆต้องทำการตัดสินใจว่าควรซื้อวัสดุอุปกรณ์ต่างๆที่ไหน  ควรผลิตสินค้าอะไรออกจำหน่าย  ควรว่าจ้างอย่างไร  ควรสร้างโรงงานใหม่อีกหรือไม่ เมือเลือกทางใดทางหนึ่งก็เกิดต้นทุนเสียโอกาส (Opportunity Cost) หมายความว่า เมื่อเราใช้ทรัพยากรที่ขาดแคลนไปผลิตสินค้าอย่างหนึ่ง ย่อมทำให้เราต้องสูญเสียโอกาสไปผลิตสินค้าอีกหลายอย่างเสมอ

1.2 ความสำคัญของวิชาเศรษฐศาสตร์       

 - ในฐานะของผู้บริหารประเทศ จะต้องอาศัยความรู้ทางเศรษฐศาสตร์มาเป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์ปัญหา  และตัดสินใจปัญหานั้นๆ

- ในฐานะบุคคลทุกคนในสังคมจึงจำเป็นต้องศึกษาวิชาเศรษฐศาสตร์  เพื่อจะได้เข้าใจปรากฎการณ์ต่างๆ ทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น  ทั้งสาเหตุ  และผลกระทบต่อบุคคลและสังคม  ตลอดจนรู้แนวทางที่จะนำไปแก้ไขหรือประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวันอย่างมีเหตุผลทางเศรษฐกิจ

1.3 ความสัมพันธ์ระหว่างเศรฐศาสตร์กับศาสตร์อื่นๆ

                เศรษฐศาสตร์มีความสัมพันธ์กับรัฐศาสตร์ในแง่ที่ว่า  การกำหนดนโยบายต่างๆ ทางเศรษฐกิจก็ยังอยู่ภายใต้อิทธิพลหรืออุดมการทางเมืองของพรรคการเมืองที่ได้เสียงข้างมากเข้ามาบริหารประเทศ

          เศรษฐศาสตร์มีความสัมพันธ์กับกฎหมายในแง่ที่ว่า  การอกกกฎหมายบางเรื่อง อาจเกิดขึ้นเนื่องจากความพยายามที่จะแก้ปัญหาเศรษฐกิจบางอย่าง เช่น กฎหมายว่าด้วยการค้ากำไรเกินควรหรือกฎหมายแรงงานขั้นต่ำ

                เศราฐศาสตร์มีความสัมพันธ์กับบริหารธุรกิจอย่างมาก เพราะในการตัดสินปัญหาต่างๆในการบริหารธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาทางด้านการเลือกโครงการการลงทุน  การเลือกวิธีการผลิตตลอดจนการกำหนดราคาสินค้าและปริมาณการผลิตเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ นักธุรกิจจำเป็นต้องอาศัยหลักเกณฑ์ทางเศรษฐศาสตร์เข้าช่วยในการตัดสินใจ  นอกจากนี้นักธุรกิจยังต้องมีความรอบรู้อย่างกว้างขวางเกี่ยวกับระบบเศรษฐกิจ ภาวะเศรษฐกิจ ตลอดจนปัญหาเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นเป็นประจำทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ เพราะปัจจัยเหล่านี้จะมีผลกระทบต่อการลงทุนโดยตรง

                เศรษฐศาสตร์ยังมีความสัมพันธ์กับจิตวิทยาด้วย เพราะพฤติกรรมของมนุษย์ในการติดสินปัญหาเศรษฐกิจบางเรื่องต้องคำนึงถึงหลักจิตวิทยาด้วย ตัวอย่างเช่น มีผู้ผลิตบางรายนิยมตั้งราคาสินค้าให้ลงท้ายด้วยเลข 9 เพราะต้องการให้ผู้ซื้อรู้สึกว่าสินค้ายังราคาถูกอยู่ เช่น ถ้าตั้งราคารองเท้าคู่ละ 200 บาท คนทั่ว ๆ ไปอาจจะรู้สึกว่าแพง เพราะราคาสูงถึง 200 แต่ถ้าตั้งราคาคู่ละ 199 บาท คนจะรู้สึกว่าราคาถูก เพราะไม่ถึง 200 บาท เป็นต้น  

1.4 ขอบเขตของวิชาเศรษฐศาสตร์

                วิชาเศรษฐศาตร์เป็นวิชาที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินปัญหาทางเศรษฐกิจของมนุษย์และสังคม  ดังนั้น  เนื้อหาศรษฐศาสตร์จึงครอบคลุมถึงพฤติกรรมของมนุษย์และสังคมตลอดจนปัจจัยต่างๆ ที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมนั้นๆ

1.5 วิธีการศึกษาวิชาเศรษฐศาสตร์

            วิธีการสร้างกฎเกณฑ์หรือทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ที่จะนำมาใช้เป็นแนวทางในการอธิบายพฤติกรรมทางเศรษฐกิจของมนุษย์และสังคมนั้น สามารถทำได้ 2 วิธี คือ

วิธีอนุมาน (Deductive) เป็นการสร้างทฤษฎีโดยเริ่มต้นจากการสร้างสมมุติฐาน (Hypothesis) โดยอาศัยเหตุและผลตามแบบตรรกวิทยา จากนั้นทำการทดสอบข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น ถ้าสอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้ แสดงว่า สมมุติฐานนั้นถูกต้องสามารถสรุปออกมาเป็นทฤษฎี

วิธีอุปมาน (Induction) คือ วิธีการหาเหตุจากผล เป็นการสร้างทฤษฎีโดยการรวบรวมข้อเท็จจริงจากปรากฏการณ์ต่างๆ มาเป็นข้อมูล แล้วตั้งเป็นกฎหรือทฤษฎีเพื่อนำไปใช้ในการอธิบายเหตุการณ์อื่นๆในระดับที่กว้างด้วยการพิสูจน์ข้อมูลโดยใช้หลักทางสถิติ เรียกว่า การสรุปจากความจริงย่อยไปสู่ความจริงหลัก

1.6 ข้อสมมุติในทางเศรษฐศาสตร์ 

            การที่จะศึกษาพฤติกรรมทางเศรษฐกิจต่างๆ แล้วสรุปเป็นทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์นั้น ต้องอาศัยข้อสมมุติพื้นฐานทางเศรษฐศาสตร์ 2 ข้อ คือ

1. มนุษย์จะดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจอย่างมีเหตุผล (economic rationality) กล่าวคือ ในการตัดสินปัญหาทางเศรษฐกิจของมนุษย์จะเป็นไปในทางที่ตนเองได้รับผลประโยชน์และความพอใจสูงสุดจากงบประมาณที่มีอยู่จำกัด

2.  กำหนดให้ปัจจัยอื่นๆ ทุกชนิดคงที่ (all other things being equal) พฤติกรรมทางเศรษฐกิจเป็นเรื่องที่ถูกกำหนดโดยปัจจัยต่างๆ มากมาย ดังนั้น ในการศึกษาพฤติกรรมเรื่องใดเรื่องหนึ่งจึงจำเป็นต้องจำกัดขอบเขตการศึกษาให้แน่นอน โดยสมมติให้ปัจจัยอื่นๆ ที่ไม่ได้พิจารณาคงที่ เพื่อง่ายต่อการศึกษาผลกระทบจากปัจจัยต่างๆเหล่านั้นได้

1.7 ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์กับสภาพความเป็นจริง

                การสร้างทฤษฎีเศรษฐศาสตร์  จำเป็นต้องกำหนดข้อสมมติขึ้นเพื่อให้การอธิบายพฤติกรรมต่างๆทางเศรษฐกิจเป็นไปได้  ดังนั้น ทฤษฎีเศรษฐศาตร์จึงจำเป็นเพียงจำลองอย่างย่อๆ ของพฤติกรรมทางเศรษฐกิจเท่านั้น  ซึ่งตามสภาพความเป็นจริงแล้ว  มนุษย์เราไม่อาจแยกปัจจัยทุกชนิดที่มีอิทธิต่อพฤติกรรมออกจากกันได้  ดังนั้นการนำทฤษฎีเศรษฐศาสตร์มาอธิบายพฤติกรรมทางเศรษฐกิจตามความเป็นจริงจึงถูกจำกัดโดยข้อสมมติที่กำหนดขึ้นในแต่ละทฤฎี  แต่แม้กระนั้นการ

สร้างทฤษฎีเศรษฐศาตร์เพื่อย่นย่อพฤติกรรมต่างๆ  ทางเศรษฐกิจก็เป็นสิ่งที่จำเป็นและมีประโยชน์  เพราะทฤษฎีเหล่านั้นสามารถใช้อธิบายพฤติกรรมสามารถใช้อธิบายพฤติกรรมทางเศรษฐกิจภายใต้สถานการณ์บางอย่างได้และอาจใช้เป็นแนวทางในการตัดสินใจในการแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ได้

1.8 แขนงของวิชาเศรษฐศาสตร์  

วิชาเศรษฐศาสตร์สามารถแยกได้ 2 แขนง คือ

            เศรษฐศาสตร์จุลภาค (Microeconomics) เป็นการศึกษาถึงพฤติกรรมทางเศรษฐกิจของแต่ละบุคคล ได้แก่ ผู้ผลิต ผู้บริโภค และเจ้าของปัจจัยการผลิต เนื้อหาของวิชาส่วนใหญ่จึงเกี่ยวข้องกับการผลิต การบริโภค การกำหนดราคาสินค้าและปัจจัยการผลิตภายใต้การดำเนินงานของตลาดต่างๆ หรือเรียกทฤษฎีเศรษฐศาสตร์จุลภาคว่า "ทฤษฎีราคา (Price Theory)"

            เศรษฐศาสตร์มหภาค (Macroeconomics) เป็นการศึกษาถึงพฤติกรรมของเศรษฐกิจส่วนรวม เช่น รายได้ประชาชาติ การลงทุน การจ้างงาน การค้าระหว่างประเทศ และการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ หรือเรียกว่า "ทฤษฎีรายได้และการจ้างงาน (Income and Employment Theory)"

1.9 ชนิดของทฤษฎีเศรษฐศาสตร์

            ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์วิเคราะห์ (Positive Economics) เป็นทฤษฎีที่อธิบายปรากฏการณ์ทางเศรษฐกิจในอดีตเพื่อที่จะให้รู้ว่าปรากฏการณ์ต่างๆ นั้นคืออะไร โดยไม่คำนึงถึงสิ่งที่สังคมต้องการ บางครั้งเรียกว่า เศรษฐศาสตร์ตามความเป็นจริง

            ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์นโยบาย (Normative Economics) เป็นทฤษฎีที่อธิบายปรากฏการณ์ทางเศรษฐศาสตร์ โดยคำนึงสิ่งที่สังคมต้องการ บางครั้งเรียกว่า เศรษฐศาสตร์ตามที่ควรจะเป็น

1.10 ประโยชน์ของวิชาเศรษฐศาสตร์

ผู้ศึกษาวิชาเศรษฐศาสตร์สามารถนำเอาความรู้ที่ได้รับมาใช้ประโยชน์ด้านต่างๆ เช่น

ในฐานะผู้บริโภค ความรู้ทางเศรษฐศาสตร์จะช่วยให้ผู้บริโภคสามารถประมาณการและวางแผนในการบริโภคสินค้าและบริการเพื่อให้ได้รับความพอใจสูงสุดจากงบประมาณที่มีอยู่จำกัด

ในฐานะผู้ผลิต ความรู้ทางเศรษฐศาสตร์จะช่วยในการตัดสินใจเกี่ยวกับการค้าและการลงทุน เช่น ควรจะผลิตสินค้าชนิดใดเป็นปริมาณและราคาเท่าใด หรือควรเลือกใช้เทคนิคการผลิตอย่างไร

ในฐานะผู้บริหารประเทศ ความรู้ทางเศรษฐศาสตร์จะช่วยให้เข้าใจในปัญหาทางเศรษฐกิจของประเทศตลอดจนการวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมได้อย่างเหมาะสม

1.11 ปัจจัยการผลิต (Factors)

ปัจจัยการผลิต ปัจจุบันเราแบ่งออกเป็น 4 ประเภทใหญ่ๆ  ได้แก่  ทรัพยากรธรรมชาติ (Natural Resources)  ได้แก่ ทรัพยากรธรรมชาติที่เรารู้จักกันทั่วไป ได้แก่ น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ แร่ธาตุต่างๆ และยังรวมไปถึงที่ดินอีกด้วย

1.12 กิจกรรมทางเศรษฐกิจ  หน่วยเศรษฐกิจ  และภาวะเศรษฐกิจ

             กิจกรรมทางเศรษฐกิจ หมายถึง การดำเนินกิจกรรมต่างๆ โดยยึดหลักความประหยัดเป็นสำคัญ กิจกรรมทางเศรษฐกิจที่สำคัญๆ  ได้แก่ การบริโภค การผลิต และการซื้อขายแลกเปลี่ยน บุคคลที่ดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ เรียกว่า หน่วยเศรษฐกิจ หน่วยเศรษฐกิจที่สำคัญประกอบด้วย

1.12.1 ผู้บริโภค (Consumer) เป็นผู้ดำเนินกิจกรรมที่เกี่ยวกับการบริโภคสินค้าและบริการ โดยมีจุดมุ่งหมายคือ แสวงหาความพอใจสูงสุดจากการบริโภคสินค้าและบริการภายใต้งบประมาณที่มีอยู่จำกัด

            1.12.2 ผู้ผลิตหรือหน่วยธุรกิจ (Producer or firms) เป็นผู้ดำเนินกิจกรรมเกี่ยวกับการผลิตสินค้าและบริการเพื่อจำหน่ายให้กับผู้บริโภค โดยมีจุดมุ่งหมายคือ แสวงหากำไรสูงสุดจากการผลิตสินค้าและบริกา

            1.12.3 เจ้าของปัจจัยการผลิต (Factors of entrepreneur) คือ ผู้ที่เป็นเจ้าของที่ดิน ทุน แรงงาน หรือเป็นผู้ประกอบการ บุคคลคนเดียวอาจเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตได้มากกว่าหนึ่งชนิด เจ้าของปัจจัยการผลิตจะเสนอขายปัจจัยการผลิตชนิดต่างๆ ให้กับผู้ผลิต โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะแสวงหาผลตอบแทนสูงสุดจากปัจจัยการผลิตที่ครอบครอง

1.13 ระบบเศรษฐกิจ (Economy System)     

            ในสังคมหนึ่งๆ จะประกอบด้วยหน่วยเศรษฐกิจจำนวนมาก หน่วยเศรษฐกิจจะรวมตัวกันเป็นสถาบันทางเศรษฐกิจและดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจภายใต้ระเบียบข้อบังคับต่างๆ และร่วมกันประกอบขึ้นเป็นระบบเศรษฐกิจ ระบบเศรษฐกิจแบ่งได้เป็น 3 ระบบ คือ

ระบบทุนนิยม (Capitalism) หรือ "ลัทธิเสรีนิยม" ลักษณะสำคัญคือ เอกชนมีสิทธิในการเป็นเจ้าของทรัพย์สินและปัจจัยการผลิต มีเสรีภาพในการเลือกดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ รัฐบาลจะไม่เข้าแทรกแซงกิจกรรมทางเศรษฐกิจของเอกชน ข้อดีคือ ทำให้การจัดสรรทรัพยากรเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ

ระบบสังคมนิยม (Socialism) เป็นระบบเศรษฐกิจที่มีการวางแผนจากส่วนกลาง ลักษณะสำคัญคือ เอกชนไม่มีเสรีภาพในการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ เป็นระบบที่มีนโยบายให้สังคมส่วนรวมเป็นผู้ดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจโดยจะถูกวางแผนและกำหนดโดยรัฐบาล เอกชนไม่มีสิทธิในการเลือกประกอบอาชีพและเป็นเจ้าของทรัพย์สิน ผลประโยชน์ที่ได้รับจะเป็นของรัฐบาลทั้งสิ้นประชาชนจะได้รับผลตอบแทนเพียงแค่ปัจจัยที่จำเป็นในการดำรงชีพเท่านั้น

            ระบบผสม (Mixed Economy) เป็นระบบเศรษฐกิจที่ผสมระหว่างระบบทุนนิยมและสังคมนิยม แม้เอกชนมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินและปัจจัยการผลิตและมีเสรีภาพในการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ แต่มีกิจกรรมทางเศรษฐกิจบางชนิดที่รัฐเข้าดำเนินการเอง เช่น กิจการสาธารณูปโภค รวมไปถึงการออกกฎข้อบังคับต่างๆ เช่น กฎหมายว่าด้วยค่าแรงขั้นต่ำ เป็นต้น 

ปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจแบ่งได้เป็น 3 ปัญหาคือ

ผลิตสินค้าอะไร เป็นการพิจารณาว่าจะผลิตสินค้าอะไร ในปริมาณเท่าไร จึงจะเกิดประโยชน์สูงสุดและสนองความต้องการของคนในสังคมได้มากที่สุด ภายใต้เงื่อนไขข้อจำกัดของทรัพยากร

ผลิตสินค้าอย่างไร เป็นการตัดสินใจเลือกวิธีการผลิตสินค้าและบริการโดยยึดหลักการประหยัดทรัพยากรและค่าใช้จ่ายในการผลิตที่ต่ำที่สุด สิ้นเปลืองทรัพยากรน้อยและเสียต้นทุนต่ำ

ผลิตสินค้าเพื่อใคร เป็นการพิจารณาวางแผนกระจายสินค้าและบริการที่ผลิตขึ้นสู่สังคม ซึ่งต้องเหมาะสมและยุติธรรม รัฐบาลอาจมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางเศรษฐกิจนี้ได้