ข้อใดคือขั้นตอนการเข้าโปรแกรม Photoshop Cs6

  คำชี้แจงให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องจากแบบทดสอบที่กำหนดให้  
 

   
   1. ตัวเลือกใด ไม่ใช่คำสั่งปรับภาพอัตโนมัติใน Photoshop CS4
ก. Auto Brightness
ข. Auto Contrast
ค. Auto Color
ง. Auto Tone
   
   2. การปรับภาพแบบใด เหมาะสำหรับการสร้างภาพแบบ Sepia
ก. Color Balance
ข. Black & White
ค. Photo Filter
ง. Chanel Mixer
   
   3. ข้อใดคือการปรับระดับสีในภาพให้เท่ากัน โดยการกระจายความสว่างของภาพให้มีค่าเท่าๆ กันในทุกตำแหน่ง
ก. Variations
ข. Equalize
ค. Levels
ง. Color Balance 
   
   4. ข้อใดคือการปรับสีภาพเหมือนกับการใส่แผ่นฟิลเตอร์สีหน้ากล้องถ่ายรูป
ก. Photography
ข. Photo Filter
ค. Match Filter
ง. Shadow/Highlight
   
   5. ข้อใดคือการแก้ไขเงามืดในภาพถ่ายย้อนแสง
ก. Photography
ข. Photo Filter
ค. Match Filter
ง. Shadow/Highlight 
   
   6. ข้อใดคือการเปลี่ยนสีภาพให้เท่ากับอีกภาพหนึ่ง
ก. Match Color
ข. Replace Color
ค. Selective Color
ง. Color Balance  
    
   7. ข้อใดเหมาะกับการเปลี่ยนสีภาพเฉพาะจุด
ก. Match Color
ข. Replace Color
ค. Selective Color
ง. Color Balance
 
   
   8. ถ้าต้องการถอดสีออกจากภาพเพื่อทำให้เป็นภาพขาว-ดำควรใช้คำสั่งในข้อใด
ก. Invert
ข. Threshold
ค. Desaturate
ง. Posterize 
   


   9. ถ้าต้องการปรับภาพให้เป็นสีตรงกันข้ามเหมือนฟิล์ม Negative ควรใช้คำสั่งในข้อใด

ก. Invert
ข. Threshold
ค. Desaturate
ง. Posterize 
   


   10. การปรับระดับสีภาพเพื่อสร้างเอฟเฟคให้เป็นภาพโปสเตอร์โฆษณา ควรใช้คำสั่งในข้อใด

ก. Invert
ข. Threshold
ค. Desaturate
ง. Posterize 

ข้อใดคือขั้นตอนการเข้าโปรแกรม Photoshop Cs6
     

    โปรแกรม Photo shop เป็นโปรแกรมในตระกูล Adobe ที่ใช้สำหรับตกแต่งภาพถ่ายและภาพกราฟิก ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็นงานด้านสิ่งพิมพ์ นิตยสาร และงานด้านมัลติมีเดีย อีกทั้งยังสามารถ retouching ตกแต่งภาพและการสร้างภาพ ซึ่งกำลังเป็นที่นิยมสูงมากในขณะนี้ เราสามารถใช้โปรแกรม Photoshop ในการตกแต่งภาพ การใส่ Effect ต่าง ๆให้กับภาพ และตัวหนังสือ การทำภาพขาวดำ การทำภาพถ่ายเป็นภาพเขียน การนำภาพมารวมกัน การ Retouch ตกแต่งภาพต่าง 

     เราสามารถเรียนรู้วิธีการใช้โปรแกรม Adobe Photoshop นี้ได้ด้วยตัวเอง  คุณสามารถที่จะทำการแก้ไขภาพ ตกแต่งภาพ ซ้อนภาพในรูปแบบต่างๆ ได้อย่างง่ายดาย และสิ่งที่ขาดไม่ได้ก็คือ การใส่ข้อความประกอบลงในภาพด้วย  และเนื่องด้วย Adobe Photoshop มีการพัฒนาโปรแกรมมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้เราจำเป็นต้องศึกษาคำสั่งต่างๆ ให้เข้าใจ แต่ที่สำคัญ เมื่อคุณเรียนรู้การใช้คำสั่งในเวอร์ชั่นเก่า คุณก็ยังคงสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับเวอร์ชั่นใหม่ๆ ได้

               โปรแกรม Adobe Photoshop CS6 เมื่อทำการเปิดโปรแกรมแล้ว จะพบหน้าตาของโปรแกรมดัง รูป 

   ส่วนประกอบต่าง  ของโปรแกรม Adobe Photoshop CS6

         โปรแกรม Adobe Photoshop CS6 ได้ปรับเปลี่ยนรูปแบบ นอกจากจะมีสีสันสวยงามขึ้นแล้ว ยังจัดการกับพาเนลหรือเครื่องมือที่จัดวางไม่เป็นระเบียบ ออกไปจากหน้าต่างการทำงานค่อนข้างมาก เช่น เพิ่มปุ่มคำสั่งและจัดเรียงปุ่มคำสั่งบางปุ่มใหม่ จึงมีความจำเป็นต้องรู้จักกับส่วนประกอบที่สำคัญเพื่อให้สามารถค้นหาและเรียกใช้เครื่องมือได้อย่างรวดเร็ว
สำหรับหน้าต่างโปรแกรม Adobe Photoshop CS6 ประกอบไปด้วยพาเนลและกล่องเครื่องมือที่วางอยู่บนพื้นที่ว่างซึ่งเปรียบเสมือนกับโต๊ะทำงาน ดังนั้นจึงสามารถเคลื่อนย้ายตำแหน่งพาเนลและเครื่องมือไปยังจุดที่ต้องการได้ ส่วนประกอบสำคัญของหน้าต่างโปรแกรม มีรายละเอียดดังนี้

            1    แถบเมนูคำสั่ง (Menu Bar) 
             
เป็นจุดรวบรวมชุดคำสั่งที่ใช้สำหรับเรียกคำสั่งต่าง  เพื่อใช้จัดการไฟล์ภาพหรือตกแต่งภาพ ดังแสดงในภาพที่ 

ข้อใดคือขั้นตอนการเข้าโปรแกรม Photoshop Cs6

ภาพที่  แถบเมนูคำสั่ง (Menu Bar)

           แถบเมนูคำสั่งประกอบไปด้วยทั้งหมด 10 เมนูคำสั่ง โดยแสดงชื่อเมนูคำสั่งและรูปแบบการทำงาน
ดังแสดงในตารางที่ 1

ตารางที่ 1  รูปแบบการทำงานของแถบเมนูคำสั่ง

เมนูคำสั่ง

รูปแบบการทำงาน

File

     สำหรับจัดการกับไฟล์ภาพในลักษณะต่าง  เช่น สร้างไฟล์งานใหม่ เปิดไฟล์ภาพบันทึกไฟล์งาน นำเข้าหรือส่งออกไฟล์เพื่อทำงานในลักษณะอื่น 

Edit

     สำหรับแก้ไขภาพ เช่น ตัด คัดลอก วาง รวมถึงปรับแต่งค่าเบื้องต้นของโปรแกรม

Image

     สำหรับจัดการภาพ เช่น แก้ไขความสว่างหรือสีของภาพให้สมดุลยิ่งขึ้น รวมถึงใช้สำหรับย่อขยายขนาดภาพ และกำหนดขนาดพื้นที่การทำงานของภาพ

Layer

     สำหรับจัดการเกี่ยวกับเลเยอร์ เช่น การสร้างเลเยอร์ใหม่ การรวมเลเยอร์ การแปลงเลเยอร์ การจัดการกับเลเยอร์ของไฟล์ลักษณะต่าง  รวมถึงการจัดการรายละเอียดของภาพในเลเยอร์นั้น 

Type

     สำหรับจัดการและปรับแต่งเกี่ยวกับข้อความ เช่น ปรับแต่งสีข้อความ ปรับแต่งขอบข้อความ หรือการเปลี่ยนข้อความให้เป็นภาพ

Select

     สำหรับปรับแต่งการเลือกพื้นที่ บันทึกและเรียกพื้นที่ที่เลือกมาใช้งาน รวมถึงคำสั่งสำหรับการเลือกพื้นที่เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดียิ่งขึ้น

Filter

     สำหรับปรับแต่งภาพให้มีรูปแบบที่น่าสนใจยิ่งขึ้น บิด ดัดปรับรูปทรงรูปแบบต่าง ให้กับภาพ

View

     สำหรับเลือกรูปแบบการแสดงผล เช่น ย่อขยายภาพ แสดงไม้บรรทัด เส้นกริด หรือเส้นไกด์

Window

     สำหรับเลือกเปิดปิดพาเนล รวมถึงกำหนดรูปแบบการแสดงหน้าต่างในแบบต่าง 

Help

       ใช้สำหรับแสดงความช่วยเหลือเกี่ยวกับการใช้เครื่องมือหรือคำสั่งในรูปแบบต่าง 

             2  แถบตัวเลือก (Options Bar)
             
เป็นส่วนที่ใช้ในการปรับแต่งค่าการทำงานของเครื่องมือ   ต่าง  การกำหนดค่าในแถบตัวเลือกจะเปลี่ยนไปตามเครื่องมือที่ใช้งานอยู่ ดังแสดงในภาพที่ 

ข้อใดคือขั้นตอนการเข้าโปรแกรม Photoshop Cs6

ภาพที่ 2  แถบตัวเลือก (Options Bar)

           3  กล่องเครื่องมือ (Toolbox)
             
เป็นส่วนที่ใช้เก็บเครื่องมือพื้นฐานในการทำงาน ในโปรแกรม สามารถเรียกใช้ชุดเครื่องมือย่อยโดยการคลิกรูปสามเหลี่ยมที่มุมด้านล่างดังแสดงในภาพที่ 3

ข้อใดคือขั้นตอนการเข้าโปรแกรม Photoshop Cs6

            ภาพที่ 3  กล่องเครื่องมือ (Toolbox)

            เครื่องมือพื้นฐานบนกล่องเครื่องมือของโปรแกรม Adobe Photoshop CS6 ได้แบ่ง การทำงานออกเป็นหมวดหมู่หรือเป็นกลุ่มย่อย  ดังแสดงในตารางที่ ตารางที่ 2  เครื่องมือพื้นฐานของโปรแกรม Adobe Photoshop CS6

ภาพ

ชื่อเครื่องมือ

ความหมาย

ข้อใดคือขั้นตอนการเข้าโปรแกรม Photoshop Cs6

Move Tool

ใช้เคลื่อนย้ายภาพบริเวณที่เลือกพื้นที่หรือไม่ได้เลือกพื้นที่ไปยังตำแหน่งใหม่

   

ข้อใดคือขั้นตอนการเข้าโปรแกรม Photoshop Cs6

1. Rectangular Marquee Tool

2. Elliptical Marquee Tool

3. Single Row Marquee Tool

4. Single Column Marquee Tool

1. เลือกพื้นที่แบบรูปทรงสี่เหลี่ยม

2. เลือกพื้นที่แบบรูปทรงวงกลม วงรี

3. เลือกพื้นที่แบบเส้นตรงแนวนอน

4. เลือกพื้นที่แบบเส้นตรงแนวตั้ง

ข้อใดคือขั้นตอนการเข้าโปรแกรม Photoshop Cs6

1. Lasso Tool

2. Polygonal Lasso Tool

3. Magnetic Lasso Tool

1. เลือกพื้นที่แบบอิสระ

2. เลือกพื้นที่แบบมุมเหลี่ยม

3. เลือกพื้นที่แบบชิดเส้นขอบภาพ

  

ข้อใดคือขั้นตอนการเข้าโปรแกรม Photoshop Cs6

1. Quick Selection Tool

2. Magic Wand Tool

1. เลือกพื้นที่ตามพื้นที่ที่ลากเมาส์ผ่าน

2. เลือกพื้นที่โดยยึดตามสีที่มีค่าใกล้เคียงกัน

ข้อใดคือขั้นตอนการเข้าโปรแกรม Photoshop Cs6

1. Crop Tool

2. Perspective Crop Tool

3. Slice Tool

4. Slice Select Tool

1. ใช้ตัดภาพโดยเลือกเฉพาะบริเวณที่ต้องการใช้งาน

2. ใช้ตัดภาพที่มีมุมบิดเบี้ยวให้กลายเป็นมุมที่ถูกต้อง

3. ใช้ตัดภาพออกเป็นชิ้นเล็ก  เพื่อนำไป ใช้ออกแบบบนเว็บเพจ

4. ใช้ปรับแต่งขนาดของภาพที่ตัดออกเป็นชิ้นเล็ก จากเครื่องมือ Slice Tool

ข้อใดคือขั้นตอนการเข้าโปรแกรม Photoshop Cs6

1. Eyedropper Tool

2. Color Sampler Tool

3. Ruler Tool

4. Note Tool

1. ใช้เลือกสีจากภาพไปใช้งาน

2. ใช้ดูดสีไว้สำหรับเปรียบเทียบค่า

3. ใช้วัดระยะห่างและกำหนดตำแหน่ง

4. ใช้เพิ่มคำอธิบายให้กับภาพ

ข้อใดคือขั้นตอนการเข้าโปรแกรม Photoshop Cs6

1. Spot Healing Brush Tool

2. Healing Brush Tool

3. Patch Tool

4. Content-Aware Move Tool

1. ใช้แก้ไขจุดบกพร่องขนาดเล็กบนภาพ

2. ใช้แก้ไขจุดบกพร่องขนาดใหญ่บนภาพ

3. ใช้แก้ไขพื้นผิวของภาพขนาดใหญ่ โดยการนำพื้นผิวอื่นมาแปะทับ

4. ใช้ย้ายวัตถุในภาพไปยังตำแหน่งใหม่ โดยเครื่องมือจะเติมสีพื้นหลังให้ด้วย

5. ใช้แก้ไขภาพถ่ายตาแดง

ข้อใดคือขั้นตอนการเข้าโปรแกรม Photoshop Cs6

1. Clone Stamp Tool

2. Pattern Stamp Tool

1. ใช้คัดลอกวัตถุจากจุดหนึ่งไปแปะทับอีกจุดหนึ่ง

2. ใช้ตกแต่งภาพพื้นผิวที่คลิกแทนที่ลงไปบนภาพ

ข้อใดคือขั้นตอนการเข้าโปรแกรม Photoshop Cs6

1. Eraser Tool

2. Background Eraser Tool

3. Magic Eraser Tool

1. ใช้ลบพื้นที่ที่ไม่ต้องการและแทนที่ด้วยสีพื้นหลัง

2. ใช้ลบภาพพื้นหลังออกด้วยการคลิกเลือกสีที่จะลบและจะได้พื้นหลังแบบโปร่งใส

3. ใช้ลบสีพื้นหลังภาพอย่างรวดเร็วและ  จะได้พื้นหลังแบบโปร่งใส

ข้อใดคือขั้นตอนการเข้าโปรแกรม Photoshop Cs6

1. Blur Tool

2. Sharpen Tool

3. Smudge Tool

1. ใช้ระบายภาพให้เบลอในจุดที่ลากเมาส์

2. ใช้ปรับเพิ่มความคมชัดให้ภาพ

3. ใช้เกลี่ยสีให้กลมกลืนในจุดที่ลากเมาส์

ข้อใดคือขั้นตอนการเข้าโปรแกรม Photoshop Cs6

1. Dodge Tool

2. Burn Tool

3. Sponge Tool

1. ใช้เพิ่มความสว่างให้จุดที่ลากเมาส์ผ่าน

2. ใช้เพิ่มความมืดให้จุดที่ลากเมาส์ผ่าน

3. ใช้ลดและเพิ่มความอิ่มตัวของสี โดยการลากเมาส์ผ่าน

ข้อใดคือขั้นตอนการเข้าโปรแกรม Photoshop Cs6

1. Brush Tool

2. Pencil Tool

3. Color Replacement Tool

4. Mixer Brush Tool

1. ใช้สร้างเส้นหรือลวดลายให้กับเส้น

2. ใช้สร้างเส้นหรือลวดลาย แต่จะได้เส้นที่หยาบกว่า

3. ใช้เปลี่ยนสีภาพเป็นสีใหม่

4. ใช้เกลี่ยสีของภาพให้กลายเป็นภาพวาด

ข้อใดคือขั้นตอนการเข้าโปรแกรม Photoshop Cs6

1. History Brush Tool

2. Art History Brush Tool

1. ใช้ย้อนกลับการทำงานคำสั่งที่ผิดพลาดเมื่อลากเมาส์ไปบนภาพ

2. ใช้เปลี่ยนเป็นภาพวาดแบบง่าย  เมื่อลากเมาส์ไปบนภาพ

ข้อใดคือขั้นตอนการเข้าโปรแกรม Photoshop Cs6

1. Gradient Tool

2. Paint Bucket Tool

1. ใช้ลากเมาส์ไปบนภาพเพื่อไล่เฉดสี

2. ใช้เพื่อเติมสีหรือลวดลายลงไปบนภาพ

ข้อใดคือขั้นตอนการเข้าโปรแกรม Photoshop Cs6

1. Pen Tool

2. Freeform Pen Tool

3. Add Anchor Point Tool

4. Delete Anchor Point Tool

5. Convert Point Tool

1. ใช้สร้างเส้นพาธรอบภาพโดยการลากเมาส์กำหนดทิศทาง

2. ใช้สร้างเส้นพาธแบบอิสระเพื่อปรับแต่งในภายหลัง

3. ใช้เพิ่มจุดแองเคอร์เพื่อปรับแต่งรูปทรงเส้นพาธ

4. ใช้ลบจุดแองเคอร์ที่มากเกินไป

5. ใช้ปรับแต่งมุมของเส้นพาธ

ข้อใดคือขั้นตอนการเข้าโปรแกรม Photoshop Cs6

1. Horizontal Type Tool

2. Vertical Type Tool

3. Horizontal Type Mask Tool

4. Vertical Type Mask Tool

1. ใช้สร้างข้อความแบบเวคเตอร์ในแนว นอน

2. ใช้สร้างข้อความแบบเวคเตอร์ในแนวตั้ง

3. ใช้สร้างข้อความแบบราสเตอร์ในแนว นอน

4. ใช้สร้างข้อความแบบราสเตอร์ในแนวตั้ง

ข้อใดคือขั้นตอนการเข้าโปรแกรม Photoshop Cs6

1. Path Selection Tool

2. Direct Selection Tool

1. ใช้ย้ายตำแหน่งหรือปรับขนาดเส้นพาธ

2. ใช้คลิกไปบนจุดแองเคอร์เพื่อปรับแต่งรูปทรงเส้นพาธ

ข้อใดคือขั้นตอนการเข้าโปรแกรม Photoshop Cs6

1. Rectangle Tool

2. Rounded Rectangle Tool

3. Ellipse Tool

4. Polygon Tool 5. Line Tool

6. Custom Shape Tool

1. ใช้สร้างรูปทรงสี่เหลี่ยม

2. ใช้สร้างรูปทรงสี่เหลี่ยมมุมโค้งมน

3. ใช้สร้างรูปทรงวงกลม วงรี

4. ใช้สร้างรูปทรงหลายเหลี่ยม รูปดาว

5. ใช้สร้างรูปทรงเส้นตรง

6. ใช้สร้างรูปทรงสำเร็จรูป

ข้อใดคือขั้นตอนการเข้าโปรแกรม Photoshop Cs6

1. Hand Tool

2. Rotate View Tool

1. ใช้เลื่อนดูส่วนต่าง  ของภาพ

2. ใช้หมุนภาพไปในทิศทางต่าง 

ข้อใดคือขั้นตอนการเข้าโปรแกรม Photoshop Cs6

Zoom Tool

ใช้ขยายดูส่วนที่ต้องการของภาพ

ข้อใดคือขั้นตอนการเข้าโปรแกรม Photoshop Cs6

Foreground/Background

ใช้กำหนดสีพื้นหน้าและสีพื้นหลัง

ข้อใดคือขั้นตอนการเข้าโปรแกรม Photoshop Cs6

Edit in Standard Mode/

Edit in Quick Mask Mode

ใช้แสดงหรือแก้ไขภาพในโหมดปกติและแสดงการทำงานคล้ายการสร้างหน้ากาก เพื่อปิดบังพื้นที่ส่วนที่ไม่ต้องการเลือกเอาไว้ โดยสามารถคลิกเมาส์สลับโหมดไปมาได้

ข้อใดคือขั้นตอนการเข้าโปรแกรม Photoshop Cs6

1. Standard Screen Mode

2. Full Screen Mode with Menu Bar

3. Full Screen Mode

1. ใช้แสดงหน้าจอแบบมาตรฐานปกติ

2. ใช้แสดงแบบเต็มหน้าจอโดยไม่มีแถบ  ชื่อเรื่องของโปรแกรม

3. ใช้แสดงแบบเต็มหน้าจอโดยไม่มีแถบ  ชื่อเรื่องและแถบเมนูคำสั่ง

           4   แถบชื่อเรื่อง (Title Bar)                
            
เป็นส่วนที่แสดงชื่อไฟล์ภาพที่เปิดใช้งานอยู่ สำหรับโปรแกรม Adobe Photoshop CS6 แถบชื่อเรื่องจะเรียงกันเป็นแท็บ (Tab) ดังแสดงในภาพที่ 

ข้อใดคือขั้นตอนการเข้าโปรแกรม Photoshop Cs6

    ภาพที่ 4  แถบชื่อเรื่อง (Title Bar)

             5   แถบสถานะ (Status Bar)
             
เป็นส่วนที่แสดงคุณสมบัติเกี่ยวกับภาพ เช่น เปอร์เซ็นต์ในการย่อขยายไฟล์ภาพ ขนาดไฟล์ภาพ เป็นต้น ดังแสดงในภาพที่ 5

ข้อใดคือขั้นตอนการเข้าโปรแกรม Photoshop Cs6

          ภาพที่ 5  แถบสถานะ (Status Bar)

 6  พื้นที่ใช้งาน (Working Area) 
             
เป็นส่วนที่ใช้ในการสร้างงานกราฟิก โดยการเปิดไฟล์ภาพเพื่อแก้ไขบนพื้นที่ใช้งาน หรือวาดภาพใหม่ลงไปบนพื้นที่ใช้งาน ดังแสดงในภาพที่ 6

ข้อใดคือขั้นตอนการเข้าโปรแกรม Photoshop Cs6

ภาพที่ 2.6  พื้นที่ใช้งาน (Working Area)

            7  พาเนล (Panel) 
            
ใช้สำหรับจัดการกับภาพ โดยแยกออกเป็นหมวดหมู่ เช่น พาเนลสำหรับเลือกสี พาเนลสำหรับปรับแต่งความสว่าง เป็นต้น พาเนลแต่ละแบบมีหน้าที่และการใช้งานแตกต่างกันออกไป โดยสามารถเลือกเปิดหรือปิดพาเนลได้จากเมนูคำสั่ง Window ตัวอย่างพาเนลที่นิยมใช้   มีดังนี้ 
                          71   Navigator 
ใช้ปรับมุมมองของภาพ โดยคลิกเลือกบริเวณ Zoom Slider เพื่อย่อขยายมุมมองภาพ ดังแสดงในภาพที่ 7

ข้อใดคือขั้นตอนการเข้าโปรแกรม Photoshop Cs6

                          

ภาพที่ 7  พาเนล Navigator

                        7.2   Color ใช้กำหนดสีพื้นหน้า (Foreground) และสีพื้นหลัง (Background) โดยการเลื่อนแถบสีเพื่อปรับแต่งตามต้องการ ดังแสดงในภาพที่ 8

ข้อใดคือขั้นตอนการเข้าโปรแกรม Photoshop Cs6

                                              

ภาพที่ 8  พาเนล Color

                         7.3  Swatches ใช้กำหนดสีแบบสำเร็จรูปที่โปรแกรมกำหนดไว้ หรือสร้างสีขึ้นมาใหม่เองได้ โดยการคลิกเลือกสีที่ต้องการเพื่อความสะดวกในการใช้งาน ดังแสดงในภาพที่ 9

ข้อใดคือขั้นตอนการเข้าโปรแกรม Photoshop Cs6

                                              

ภาพที่ 9  พาเนล Swatches

                      7.4   Styles ใช้สำหรับกำหนดการตกแต่งรูปแบบต่าง  ที่โปรแกรมกำหนดขึ้นมา เช่น การตกแต่งสีให้กับรูปแบบข้อความดังแสดงในภาพที่ 10

ข้อใดคือขั้นตอนการเข้าโปรแกรม Photoshop Cs6

                                          

ภาพที่ 10  พาเนล Styles

                          7.5  Adjustments ใช้ปรับแต่งสีให้กับภาพ เพื่อแก้ไขข้อบกพร่องหรือสีที่ผิดเพี้ยน ดังแสดงในภาพที่ 11

ข้อใดคือขั้นตอนการเข้าโปรแกรม Photoshop Cs6

                                            

ภาพที่ 11  พาเนล Adjustments

                          7.6   Layers ใช้ควบคุมการใช้งานเลเยอร์ต่าง  ที่เกิดจากการสร้างชิ้นงาน ดังแสดงในภาพที่ 12

                                                

ข้อใดคือขั้นตอนการเข้าโปรแกรม Photoshop Cs6

                ภาพที่ 12  พาเนล Layers

                          7.7  History ทำหน้าที่ในการเก็บรายละเอียดขั้นตอนการทำงานทั้งหมดที่ผ่านมา เพื่ออำนวยความสะดวกเมื่อต้องการย้อนกลับไปใช้คำสั่งเก่าหรือย้อนดูการทำงานที่ผ่านมาดังแสดง ในภาพที่ 13

 

ข้อใดคือขั้นตอนการเข้าโปรแกรม Photoshop Cs6

                    ภาพที่ 13  พาเนล History

        เลเยอร์ Layer ชิ้นงานย่อย หรือเรียกให้เข้าใจง่ายคือ ชั้นของชิ้นงานใหญ่ เป็นหลักการทำงานของโปรแกรม Photoshop นั่นคือการนำชั้นต่างๆ มาผสมกันเพื่อปรับแต่งให้เกิดความสวยงามมากขึ้น

สามารถทำอะไรกับเลเยอร์แสดงหรือซ่อน (Show or Hide Layer) การคลิกที่รูปดวงตาแต่ละครั้ง จะเป็นการเปิดเพื่อแสดง หรือปิดเพื่อซ่อนสีิงที่อยู่ในเลเยอร์ เช่น ถ้าเราไม่ต้องการให้แสดงภาพของเลเยอร์ใด ก็ทำการปิด หรือซ่อนไป
คัดลอก และ ทำซ้ำเลเยอร์ (Copy and Duplicate Layer) แบ่งเป็น
การคัดลอเเลเยอร์จากชิ้นงานหนึ่งไปยังอีกชิ้นงานหนึ่ง ทำได้หลายวิธี

ย้ายตำแหน่งเลเยอร์ (Move Layer)

ขั้นตอนการทำคล้ายกับการคัดลอก เพียงเปลี่ยนคำสั่งจาก Edit - Copy เป็น Edit Cut หรือ Ctrl X ในกรณีที่ย้ายคนละชิ้นงาน แต่ถ้าชิ้นงานเดียวกันเพียงคลิกที่เลเยอร์ และทำการเลื่อนไปยังตำแหน่งบน Panel ที่ต้องการเท่านันเพิ่มเลเยอร์ (Add Layer)

เพียงแค่คลิกไอคอน Create a new Layer ซึ่งอยู่ด้านล่างของ Layer Panel ติดกับรูปถัง ก็จะได้เลเยอร์เพิ่มแล้ว หรือถ้าต้องการใช้คำสั่งจากเมนูโปรแกรม เลือก Layer เลือก New เลือก Layer ตั้งชื่อ และ Enter ก็ได้เหมือนกัน  

วิธีลบเลเยอร์ทำโดย คลิกที่เลเยอร์ที่ต้องการลบ กดปุ่ม Backspace หรือใช้โปรแกรมเมนู Layer เลือก Delete เลือก Layer หรือโดยการคลิกที่เลเยอร์แล้วลากมาที่รูปถัง

การล็อค และ ปลดล็อค เลเยอร์ (Lock and Unlock Layer)
การล็อคเลเยอร์ ทำได้โดย คลิกที่เลเยอร์ที่ต้องการล็อค แล้วคลิกที่รูปกุญแจ ส่วนการปลดล็อคก็เพียงทำซ้ำขั้นตอนเดียวกัน

การปลดล็อคเลเยอร์  Background วิธีปลดล็อคทำได้โดย ดับเบิ้ลคลิกที่เลเยอร์ จะมีหน้าต่างดังภาพขึ้นมา จะตั้งชื่อเลเยอร์ใหม่หรือไม่ก็ได้เลเยอร์นั้นก็จะปลดล็อคเป็นเลเยอร์ธรรมดา

ตั้งชื่อเลเยอร์ (Name Layer)
วิธีตั้งชื่อให้กับเลเยอร์ ทำโดยดับเบิ้ลคลิกที่ชื่อบนเลเยอร์นั้น และพิมพ์ชื่อ เสร็จแล้ว Enter สำหรับ Photoshop CS6 เมื่อพิมพ์ชื่อเลเยอร์หนึ่งเสร็จแล้ว สามารถกด Tab เพื่อเลื่อนไปยังเลเยอร์อื่นเพื่อทำการพิมพ์ชื่อได้เลย ไม่ต้องมาทำซ้ำขั้นตอนเดิม ทำให้ประหยัดเวลาได้มากคลิปปิ้งเลเยอร์ (Clipping Layer)
หมายถึงการทำให้เลเยอร์หนึ่งมีผลกับอีกเลเยอร์หนึ่งเท่านั้น ไม่ไปกระทบเลเยอร์อื่นซึ่งอยู่ถัดลงไป อ่านแล้วคงจะ งง ลองดูภาพด้านล่างนะครับจากภาพจะเห็นเลเยอร์ Wood Gain ซึ่งเป็นลายไม้ ผมต้องการให้ลายไม้นี้มีผลกับกรอบภาพซึ่งเป็นเลเยอร์ Frame ที่อยู่ถัดลงไปด้านล่างเท่านั้น ผมจึงใช้การ Clipping ซึ่งจะเห็นลูกศรอยู่ที่ด้านหน้านของเลเยอร์ Wood Gain การทำเช่นนี้ จะทำให้ได้กรอบภาพที่มีลายไม้สวยงามขึ้นมาแทนกรอบสีแดงเหลือง ในเลเยอร์ Frameการทำ Clipping โดยการใช้คีย์ลัด ให้กดปุ่ม Alt แล้ววางเม้าส์ไว้ระหว่างทั้งสองเลเยอร์ จากนั้นคลิก หรือถ้าจะใช้คำสั่งโปรแกรมเมนู Layer เลือก Create Clipping Mask (คีย์ลัด Alt + Ctrl + G) ถ้าต้องการยกเลิกก็เพียงแค่ทำซ้ำวิธีเดิม โปรแกรมเมนู Layer เลือกRelease Clipping Mask หรือ กดปุ่ม Alt แล้วคลิกเม้าส์ที่เดิมอีกครั้ง

          เมื่อทำการกำหนดขนาดของงานเสร็จเรียบร้อยแล้ว ให้คลิปปุ่ม OK เพื่อทำการเปิดพื้นที่การทำงานดังตัวอย่างภาพ เปิดพื้นที่งานขนาดA4 พื้นหลัง สีขาว

     จะได้รูปมาปรากฎอยู่ที่ Stage หรือพื้นที่การทำงานดังรูป ตามตัวอย่างด้านล่าง ใช้รูปดอกบัว

     สมมุติว่า เราได้แต่งรูป พระทราย ดังตัวอย่างภาพด้านล่าง เสร็จเรียบร้อยแล้ว เราต้องการบันทึกการทำงาน ทำตามขั้นตอนดังต่อไปนี้