ม.3 ภาษาอังกฤษเรียกว่าอะไร

ม.3 ภาษาอังกฤษเรียกว่าอะไร

ครั้งที่แล้ว เราพูดถึงระบบการเรียนของอเมริกากันไปแล้ว วันนี้พี่ TONY ก็เลยจะมาเล่าเรื่องเกี่ยวกับโรงเรียน “มัธยมปลาย” ในอเมริกาว่า มีความเหมือนหรือแตกต่างกับโรงเรียนในไทยอย่างไรบ้าง

ด้านหลักสูตร

ไทยเรียนม.ปลายสามปี อเมริกาเรียนสี่ปี

ความต่างแรกของทั้งสองประเทศก็คือ ที่อเมริกาจะแบ่งชั้นเรียนเป็น Freshman, Sophomore, Junior และ Senior ก่อนหน้านั้นจะเป็น Elementary School (ประถมศึกษา) และ Middle School (มัธยมต้น) ตามลำดับ ไม่เหมือนกับไทยที่มีแค่ม.4-6 เท่านั้นสำหรับม.ปลาย แต่จำนวนเรียนชั้นมัธยมเท่ากันคือ 6 ปี ต่างกันแค่การแบ่งมัธยมต้นกับมัธยมปลาย โดยที่นักเรียนปีต่างๆจะเรียกต่างกันดังนี้

  • ปี 1 (Grade 9) ที่เข้ามาใหม่จะเรียกว่า Freshmen เทียบได้กับม.3
  • ปี 2 (Grade 10) เรียกว่า Sophomore เทียบได้กับม.4
  • ปี 3 (Grade 11) เรียกว่า Junior เทียบได้กับม.5
  • ปี 4 (Grade 12) เป็นปีสุดท้ายของการเรียนมัธยม เรียกว่า Senior ก็คือจะเท่ากับเด็กม.6

ไทยเลือกสายเรียน อเมริกาเลือกวิชาเรียน

เด็กอเมริกันจะเริ่มเลือกวิชาเรียนเองตั้งแต่เกรด 9 หรือม.3 และจะเลือกเป็นรายวิชาไปไม่ใช่เป็นสายวิชา โดยโรงเรียนจะมีลิสต์วิชาที่ต้องเรียนก่อนจบมาให้ เช่น ต้องเรียนภาษาอังกฤษสองปี คณิตศาสตร์สองปี ภาษาต่างประเทศหนึ่งปี อะไรก็ว่าไป นักเรียนมีหน้าที่ลงเรียนวิชาพวกนี้เอง โดยจัดสรรเวลาได้ตามอิสระ เพราะโรงเรียนไม่ได้กำหนดตารางเรียนมาให้

การเรียนของแต่ละคนก็จะต่างกัน ขึ้นอยู่กับว่าเขาได้ลงทะเบียนเรียนวิชาอะไรบ้าง ดังนั้นคนที่เรียนอยู่ชั้นปีเดียวกันก็ไม่ได้เรียนด้วยกันเสมอไป เพื่อนกันก็มักจะได้เจอกันแค่ตามทางเดินเวลาเปลี่ยนคาบกับตอนพักกลางวัน จึงต้องมีชมรมเกิดขึ้นเพื่อให้นักเรียนแต่ละคนได้มาพบปะ ทำอะไรร่วมกันหลังเลิกเรียน คือช่วงเวลาประมาณบ่าย 3 โมง

ม.3 ภาษาอังกฤษเรียกว่าอะไร

อเมริกามีวิชาให้เลือกเรียนเยอะกว่าไทย

ที่ไทยมีวิชาให้นักเรียนเลือกไม่มากนัก เพราะโรงเรียนเป็นผู้จัดหลักสูตรการเรียนมาให้แล้ว นักเรียนอาจได้เลือกเรียนวิชาชุมนุมกับวิชาเสรี เช่น ทำอาหาร, ร้องเพลง, การแสดง ฯลฯ แต่โดยส่วนใหญ่แล้ว โรงเรียนไทยจะเลือกวิชาเฉพาะของสายต่าง ๆ แล้วจัดตารางเรียนมาให้เลย เราจะไม่ได้เลือกเอง

ส่วนที่อเมริกานั้นจะมีวิชาให้เลือกเรียนเยอะมาก ๆ สมมุติเทอมนี้ต้องเรียนห้าวิชา (แบบนี้ถือว่าลงเรียนน้อยมาก) เราอาจเลือกเรียนวิชาเคมี (Chemistry) ที่เป็นวิชาแนววิทย์ ร่วมกับวิชาถ่ายภาพ (Photography) ที่เป็นแนวอาร์ต และวิชาประสานเสียง (Choir) ปรัชญา (Philosophy) และวรรณกรรมอังกฤษ (English Literature) ซึ่งเป็นหมวดมนุษย์ศาสตร์ (Humanity) แล้วเรียนทุกอย่างที่ว่ามานี้พร้อมกันได้ในหนึ่งเทอม ซึ่งที่ไทยเราเลือกปะปนแบบนี้ไม่ได้เลย

วิชาอื่น ๆ นอกจากที่ว่ามาก็ยังมี วิชาดนตรีออเคสตร้า (Orchestra) และ วิชาเวิร์กชอปต่าง ๆ (Workshop) เช่น ถ้าเลือกวิชางานไม้ (Woodwork) ก็จะได้ทำเก้าอี้ โต๊ะ หรือกล่องใส่ของเล็กๆ ทำจิ๊กซอว์ เครื่องบิน ซึ่งทำเสร็จแล้วให้เป็นของขวัญได้เลย

บุคลากรมีความสามารถหลากหลายกว่า

สาเหตุที่อเมริกาเปิดวิชาได้มากมายในโรงเรียนก็เพราะมีอาจารย์ที่หลากหลาย ไม่ได้มีแค่อาจารย์จบภาษาอังกฤษ จบไทย จบวิชาพื้นฐานเท่านั้น เพราะอาจารย์ที่อเมริกาเรียนจบในสาขาอื่นๆ มาก่อนแล้วค่อยมาเป็นอาจารย์ที่ไฮสคูลภายหลัง นักเรียนจึงได้เรียนรู้จากผู้คนที่หลากหลาย

มีวิชาในระดับสูงให้เลือกเรียนด้วย

อีกสิ่งที่วิชาเรียนในอเมริกาต่างจากไทยก็คือ มีวิชาระดับยากให้เลือกเรียนด้วย ซึ่งต่างจากวิชาทั่วไป (regular classes) เช่น วิทย์พื้นฐาน อังกฤษพื้นฐาน วิชาระดับสูง หรือ AP (Advance Placement) เป็นวิชาที่เอาไปยื่นตอนเข้ามหาวิทยาลัยเพื่อพาสชั้นได้ เพราะมีระดับความยากพอๆ กับการเรียนในระดับมหาวิทยาลัยจริงๆ นอกจากช่วยประหยัดเวลาเรียนแล้ว แต่ละคนยังได้รู้ระดับความสามารถของตัวเองอย่างชัดเจนด้วยว่าตัวเองอยู่ขั้นไหน และยังมีที่ยากขึ้นไปกว่านี้อีกกี่ขั้น ทำให้วางแผนการเรียนได้ตั้งแต่อยู่ม.ปลาย ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องที่ดีมากๆ เลยล่ะ

ม.3 ภาษาอังกฤษเรียกว่าอะไร

เน้นการปฏิบัติให้ทำจริงมากกว่าท่องจำ

การเรียนในไทยมักจะเน้นให้อ่านหนังสือมากกว่า เห็นได้ชัดคือวิชาเคมี เด็กไทยจะนั่งท่องเรื่องแร่ ลิเทียม โซเดียม โปแตสเซียม ฯลฯ แล้วจินตนาการว่าถ้ามันผสมกันจะระเบิดยังไงโดยไม่เคยได้ทดลองจริงเลย อาจมีบางโรงเรียนที่ให้ทำการทำลองบ้าง แต่ส่วนใหญ่จะเน้นเรียนทฤษฎีมากกว่า

แต่ที่อเมริกา ให้ทำการทดลองทุกวันจริงๆ โดยในช่วงต้นคาบอาจารย์จะสอนเนื้อหาก่อนว่า สารเคมีอะไรผสมกันจะเกิดปฏิกิริยาอะไร จากนั้นอีกครึ่งชั่วโมงก่อนจบคาบก็จะเป็นช่วงทดลองสิ่งที่อาจารย์ได้บรรยายไปก่อนหน้านี้ แต่ถ้าวันไหนเรียนเรื่องที่ไม่มีการทดลองประกอบ เช่น เรื่องการดุลสมการเคมี อาจารย์ก็จะให้ทำการทดลองต่างๆแทน เช่น ทำไอติม ทำยาสีฟัน ซึ่งทำให้นักเรียนรู้สึกสนุกกับวิชาวิทยาศาสตร์มากขึ้น

การทดลองจะเป็นประโยชน์มากกับเด็กที่เรียนรู้จากการปฏิบัติ (Doer) ในห้องเรียนหนึ่ง มีเด็กที่เรียนรู้ด้วยวิธีต่างกันหลายแบบ บางคนเรียนรู้ได้ดีจากการอ่าน บางคนเรียนรู้จากภาพ จึงควรต้องมีวิธีการสอนหลายๆ อย่างเพื่อนักเรียนทุกคน ส่วนหนึ่งที่โรงเรียนอเมริกันทำแบบนี้ได้ อาจเป็นเพราะการจัดสรรงบประมาณที่เอื้อกว่าของไทย ซึ่งไม่มีอุปกรณ์วิทยาศาสตร์เพียงพอก็เป็นได้

เด็กฝรั่งเดินเรียน เด็กไทยอาจารย์มาถึงห้อง

เป็นอีกเรื่องที่เห็นได้ชัด และหลายคนก็คงเห็นได้จากการดูหนังต่างประเทศ เช่น High School Musical คือ ที่อเมริกาเขาจะไม่ให้เด็กอยู่ติดห้องเป็น ม.6/2 ม.6/3 ม.6/4 เหมือนที่ไทยเราทำ แต่อาจารย์นั่นแหละที่จะเป็นฝ่ายอยู่ประจำห้องแทน (แต่บางโรงเรียนของไทยก็ให้เด็กเดินเรียนตามวิชาต่างๆก็มี)

โรงเรียนที่อเมริกาจะจัดห้องเรียนของวิชาต่างๆ เป็นหมวดหมู่ใกล้ๆ กัน เช่น จัดห้องวิชาวิทย์อยู่ด้วยกัน ใกล้ๆกันหมด เป็นเหมือน Science wing หน้าห้องจะเป็นโต๊ะอาจารย์ กระดานและตู้เก็บของทดลอง ด้านหลังห้องเป็นโต๊ะทำการทดลองที่นั่งได้สี่ห้าคน (เหมือนเรื่องทไวไลท์มากกก!) ส่วนชั้นบนเป็นหมวดวิชาภาษาอังกฤษ อาจารย์ที่สอนวิชาแบบเดียวกันก็จะอยู่ห้องใกล้ ๆ กันหมด ถ้าเราลงวิชาหมวดภาษาอังกฤษก็ไปหาห้องได้จากตรงนั้น ถือว่าเป็นเรื่องที่ดีนะ เพราะอาจารย์จะได้ไม่ต้องเหนื่อยแบกสื่อการสอนไปมา ปล่อยให้เด็กๆ ที่ยังมีแรงเดิน ไปหาห้องกันเองดีกว่า

ในมุมของนักเรียนก็เหมือนกับได้ออกแสวงหาความรู้ด้วยตัวเองจริงๆ ทำให้รู้ตัวว่าตอนนี้ถึงเวลาเรียนแล้ว ไม่ใช่ว่าอยู่ห้องก็เล่นกันจนไม่รู้ว่าอาจารย์เข้าห้องมาตั้งแต่เมื่อไหร่ ไม่มีใครบอกสวัสดีอาจารย์ ถ้าอาจารย์อยู่ติดห้องไปเลยก็น่าจะพร้อมสอนตลอดเวลา ไม่ต้องกลัวเข้าห้องสายด้วย

ม.3 ภาษาอังกฤษเรียกว่าอะไร

ในอเมริกาได้เรียนกับคนหลากหลายกว่า

เนื่องจากว่านักเรียนได้เลือกวิชาตามใจชอบ ก็เลยจะได้เจอเพื่อนที่หลากหลายมาก ที่ไทยเราจะเรียนอยู่ห้องเดียวกันตั้งสามปี ห้องติดๆ กันก็จะรู้จักกัน ส่วนห้องอื่นๆ ก็ไม่ค่อยรู้จักเท่าไหร่ แต่ที่อเมริกาเราจะได้รู้จักเพื่อนนักเรียนหลากหลาย หรือแม้แต่รุ่นพี่รุ่นน้องปีอื่นด้วย สามารถถามรุ่นพี่ที่เรียนด้วยกันได้เลยว่าวิชานู้นนี้เป็นยังไง การสอบ SAT ยากมั้ย ต้องเตรียมตัวยังไง ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างนักเรียนแน่นแฟ้นขึ้น และมีโอกาสได้รับความคิดเห็นที่หลากหลายมากขึ้นด้วย

แต่ไม่ใช่ว่าการจัดห้องแบบไทยจะไม่มีอะไรดีเลยนะ ข้อดีอย่างหนึ่งก็คือ เราจะได้เพื่อนที่ผูกพันมากๆ ในห้องเดียวกัน มองตาก็รู้ใจ เหมาะกับการทำงานกลุ่มที่สุด แต่ที่อเมริกา เราไม่ได้มีคนที่รู้จักกันดีขนาดนั้น เวลาต้องจับกลุ่มทำงานเลยอาจมีอาการ awkward บ้าง ไม่รู้จะไปอยู่กลุ่มไหนดี โดยเฉพาะนักเรียนแลกเปลี่ยนที่เพิ่งมาถึงแล้วยังไม่ทันได้สนิทกับใคร

อเมริกาเน้นห้องเรียนเล็กๆ เด็กน้อยๆ

จำนวนนักเรียนแต่ละห้องของอเมริกาน้อยมาก ส่วนมากมีนักเรียนต่ำกว่าสามสิบคน บางคลาสเรียนกันอยู่แค่สี่ห้าคนก็มี ตัดภาพมาที่ไทย ห้องหนึ่งของเรามีกันตั้งห้าสิบคนอัดเข้าไป อาจารย์ดูแลไม่ทั่วถึง มีการแบ่งแยกเด็กหน้าห้อง กลางห้อง หลังห้อง ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่ค่อยดีนัก

ห้องเรียนเล็ก ๆ ช่วยให้โรงเรียนอเมริกันจัดการสอนแบบ discussion base หรืออภิปรายกลุ่มได้ สามารถแลกเปลี่ยนความคิดเห็น โต้วาทีกันได้ทั่ว ต่างจากของไทยที่อาจารย์จะเป็นคนบรรยายให้ฟัง ส่งผลให้ความสัมพันธ์ระหว่างอาจารย์กับนักเรียนของที่อเมริกาและไทยต่างกันออกไปด้วย

ม.3 ภาษาอังกฤษเรียกว่าอะไร

ด้านความสัมพันธ์กับอาจารย์

อเมริกาเน้น individualism ไทย collectivism

Individualism คือการเน้นให้คนมีความคิดเป็นตัวของตัวเอง ที่เห็นได้ชัดก็คือ การที่เขาไม่มีเครื่องแบบนักเรียน แต่ให้แต่ละคนมีโอกาสแสดงความชอบและแสดงตัวตนออกมา ขณะที่ไทยจะให้นักเรียนแต่งกายเหมือนกัน ทำอะไรพร้อมๆ กัน ไปด้วยกัน มีช่วงเคารพธงชาติ สวดมนต์ ฟังประกาศร่วมกันทุกเช้า ซึ่งการมารวมตัวกันเยอะๆ แบบนี้ในโรงเรียนอเมริกันเกิดขึ้นน้อยมาก ถ้าไม่มีเรื่องสำคัญจะประกาศจริงๆ ก็จะไม่มีการเรียกประชุมเลย

Individualism ของอเมริกันแฝงอยู่ในการเรียนด้วยเช่นกัน โดยก่อนจะจบวิชาหนึ่งได้ นักเรียนจะได้ทำโปรเจ็กต์จบ (Final Project) เพื่อดึงเอาความรู้ความสามารถและความสนใจส่วนบุคคลออกมาใช้อย่างเต็มที่ อย่างเช่นวิชา Holocaust and Human Behavior (การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิวและพฤติกรรมมนุษย์) หลังจากที่นักเรียนได้อ่านและดูหนังเกี่ยวกับการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์แล้วก็ต้องทำงานจบซึ่งมีโจทย์ว่า ให้ไปทำงานศิลปะที่สื่อถึงการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์มา พร้อมเขียนเปเปอร์อธิบายผลงานด้วย การทำโปรเจ็คจบแบบนี้ถือว่าเป็นเรื่องที่ดีมาก เพราะนอกจากได้สรุปความรู้แล้ว ยังได้ประยุกต์ใช้ทักษะอื่นๆ ในการสื่อองค์ความรู้ของเราออกมาอีกด้วย

ม.3 ภาษาอังกฤษเรียกว่าอะไร

ด้านกายภาพ

ไฮสคูลที่อเมริกามีตึกเดียว

โรงเรียนของอเมริกามีทุกสิ่งทุกอย่างอยู่ในตึกเดียว ทั้งยิม ห้องเรียน โรงอาหาร ห้องใต้ดิน และทุกสิ่งอย่าง แต่ถ้าที่ไทยจะแยกอาคารเป็นตึกหนึ่ง ตึกสอง ตึกสาม สนามกีฬา ห้องประชุม และอื่น ๆ

ที่อเมริการวมกันแบบนี้มีเหตุผลสำคัญคือ … เพราะมันหนาว!

ถ้านักเรียนต้องเดินระหว่างตึกในช่วงที่หนาวมาก ๆ ติดลบสามสิบองศา คงจะไม่ไหวแน่ ขนาดประตูเข้าตึกที่อเมริกายังต้องมีสองชั้น แถมมีที่ว่างระหว่างประตูให้กระทืบเท้าเอาหิมะออกก่อนด้วยเลย

แต่แม้จะมีแค่ตึกเดียว โรงเรียนที่อเมริกาก็มี facility หรือสาธารณูปโภค ให้ใช้ครบครันนะ ทั้งสระว่ายน้ำ สนามกีฬา ยิม และอื่นๆ ซึ่งเปิดให้คนในชุมชนใกล้เคียงเข้ามาใช้ได้ด้วย เป็นการเน้นให้นักเรียนมีกิจกรรมทำหลายๆ อย่าง ไม่ใช่แค่อ่านตำราอย่างเดียว ต่างจากที่ไทย ซึ่งถ้าไม่ใช่โรงเรียนใหญ่ ๆ ก็จะไม่มีอะไรแบบนี้เลยเพราะมีพื้นที่น้อยเกินไป

และเนื่องจากเป็นตึกเดียว โรงเรียนที่อเมริกาเลยติดแอร์และฮีตเตอร์สำหรับทั้งหมดได้ง่าย ซึ่งถ้าย้อนกลับมาดูประเทศไทยแล้ว เราก็จะเห็นว่า บางวันที่ร้อนจัดโรงเรียนก็ยังไม่มีแอร์ให้ครูและนักเรียนเลย บางโรงเรียนอาจมีแอร์ให้เฉพาะห้องของครูฝรั่งเท่านั้น

ม.3 ภาษาอังกฤษเรียกว่าอะไร

อย่างไรก็ตาม การเรียนไม่ว่าจะระบบไหน ประเทศไหน ก็ล้วนต้องการพัฒนาศักยภาพให้กับนักเรียนทั้งด้าน IQ และ EQ ทั้งสิ้น สำหรับนักเรียนไทย ที่ผู้ปกครองมีทุนทรัพย์ ก็สามารถเลือกได้ว่า จะให้นักเรียนเรียนที่ไหน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ไม่ใช่ว่า เงิน สามารถแก้ปัญหา หรือทำให้ทุกอย่างราบรื่น และประสบความสำเร็จได้ มันขึ้นอยู่กับตัวของผู้เรียนเองด้วย พี่ Tony มีประสบการณ์ด้านการศึกษาต่อที่ต่างประเทศ รวมถึงการใช้ชีวิตอยู่ในประเทศต่างๆ พี่ๆ พร้อมให้คำแนะนำ และดูแลพวกเรา ทั้งเรื่องเรียน และเรื่องการใช้ชีวิต ให้คำแนะนำแบบพี่แนะนำน้อง และดูแลกันตั้งแต่สมัครเรียน จนเดินทางกลับถึงไทยเลยทีเดียว

ทักเข้ามาพูดคุยกับพี่ Tony ได้ตามช่องทางการติดต่อของเราได้เลย

Credit : https://dekthaiklaibaan.wordpress.com , https://www.facebook.com/notes/glee-thailand-club