ตลาดอะไรคือตลาดที่ใหญ่และสำคัญที่สุดของสุโขทัย

           การมีเงินตราใช้เป็นตัวกลางแลกเปลี่ยนทำให้สะดวกต่อการชำระหนี้ในการซื้อขาย  และการชำระหนี้จึงมีการกระจายสินค้าอย่างกว้างขวาง  ตลาดการค้าขยายตัว  พ่อค้าได้รับความสะดวก  สามารถใช้เงินพดด้วงซื้อสินค้าราคาแพงได้สะดวกขึ้น

          ตลาด 800 ปี กรุงสุโขทัย ณ ลานศาลตาผาแดง อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ตลาดศิลปวัฒนธรรมที่ใหญ่ที่สุดในภาคเหนือ จัดขึ้นทุกวันเสาร์-อาทิตย์

          ตลาด 800 ปี กรุงสุโขทัย ตั้งอยู่ที่อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมืองสุโขทัย ที่เที่ยวสุโขทัยแห่งใหม่ ให้นักท่องเที่ยวได้เพลิดเพลิน สนุกสนาน เดินเลือกชิมและช้อป ท่ามกลางกลิ่นอายอารยธรรมกรุงเก่ากว่า 800 ปี เพลินตากับการแต่งกายของบรรดาพ่อค้าแม่ขายในชุดไทย ที่ต่างขนเอาของดีและของเด็ด ไม่ว่าจะเป็นสินค้าแปรรูป เครื่องสังคโลก ไม้แกะสลัก และของที่ระลึกต่าง ๆ มาจำหน่าย

         ละลานตากับของกินอาหารพื้นเมืองสุโขทัย บอกเลยว่าแต่ละอย่างไม่ได้หากินจากที่ไหนง่าย ๆ เช่น ก๋วยเตี๋ยวสุโขทัย, ขนมพระร่วง, ก๋วยเตี๋ยวพระร่วง และขนมโบราณหากินยากอื่น ๆ อีกเพียบ


ตลาด 800 ปี กรุงสุโขทัย

ตลาด 800 ปี กรุงสุโขทัย


          สนุกกับการช้อปปิ้งสินค้าแฮนด์เมดจากชาวบ้านทั้ง 12 ชุมชนของตำบลเมืองเก่า รวมทั้งของฝากของที่ระลึก ซึ่งเป็นศูนย์รวมของที่ระลึกของฝากจากสุโขทัยอีกด้วย

ตลาด 800 ปี กรุงสุโขทัย


          พลาดไม่ได้กับการชมแสง สี และเสียง กับโชว์พิเศษตระการตา เช่น การแสดงแสง สี เสียง การแสดงโขน ลิเกโบราณ การละเล่นเพลงพื้นบ้าน การแสดงศิลปะการต่อสู้โบราณ มวยโบราณ และโชว์การผลิตหัตถกรรมอีกนับร้อยรายการ ที่จะคอยสร้างความสุขและความสนุกกับการเดินเที่ยวตลาด 800 ปี กรุงสุโขทัย ได้แบบไม่รู้เบื่อ…

ตลาด 800 ปี กรุงสุโขทัย


ตลาด 800 ปี กรุงสุโขทัย


ตลาด 800 ปี กรุงสุโขทัย


          กิจกรรมทั้งหมดนี้จะเกิดขึ้นที่ "ตลาด 800 ปี กรุงสุโขทัย" ซึ่งจัดขึ้นทุกวันเสาร์-อาทิตย์ ใครที่อยากมาเที่ยวชมวิถีชีวิตเรียบง่ายของชาวสุโขทัย พร้อมกับได้ของดีติดมือกลับบ้าน อย่าลืมแวะมาเที่ยวที่นี่กันได้นะคะ ^ ^ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ โทรศัพท์ 092 789 2624 หรือ เฟซบุ๊ก "ตลาด ๘๐๐ ปี กรุงสุโขทัย"

ขอขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก
เฟซบุ๊ก "ตลาด ๘๐๐ ปี กรุงสุโขทัย

การพัฒนาทางด้านการค้าขาย ที่ตั้งของเมืองสุโขทัยแม้จะไม่เหมาะสมที่จะเป็นศูนย์กลางการค้าแต่ความพยายามของผู้ปกครองที่จะส่งเสริมการค้าขายเพื่อหารายได้ชดเชยด้านการเกษตรกรรมที่ไม่ค่อยสมบูรณ์นักทำให้การค้าของอาณาจักรสุโขทัยรุ่งเรือง ทั้งการค้าภายในประเทศและการค้ากับต่างประเทศซึ่งขอแยกพิจารณาดังนี้

1 การค้าภายในประเทศ ลักษณะการค้าภายในประเทศในสมัยสุโขทัยเป็นอย่างไรไม่ทราบชัดเจน แต่มีข้อความปรากฎในศิลาจารึกหลักที่ 1 ตอนหนึ่งว่า “…เบื้องตีนนอนเมืองสุโขทัยมีตลาดป(สา)น มีพระอจนะ มีปราสาท มีป่าหมากพร้าว ป่าหมากกลาง มีไร่นา มีถิ่นถาน มีบ้านใหญ่เร…” คำว่า “ ปสาน “ แปลว่า ตลาดที่มีห้องหรือร้านเป็นแถวติดต่อกัน ภาษาเปอร์เชียว่า “ บาซาร์ “ แสดงให้เห็นว่าในเมืองสุโขทัยมีตลาดประจำสำหรับประชาชนซื้อขายสินค้ากัน ตลาดปสานนี้คงตั้งอยู่ในย่านชุมชน เพราะปรากฎข้อความในจารึกว่ามีถิ่นฐาน มีบ้านใหญ่บ้านเล็ก นอกจากมีตลาดปสานอันเป็นตลาดประจำแล้ว เชื่อว่าคงมีตลาดชนิดที่เรียกว่า “ ตลาดนัด “ ด้วย สำหรับการซื้อขายประจำวันโดยปกติคงทำกันที่ตลาดปสาน โดยพ่อค้าแม่ค้ามีร้านขายสินค้าอยู่ในตลาดนั้น ประชาชนต้องการสิ่งของอะไรก็ไปที่ร้านขายของตลาดปสานซื้อหาได้ทันที

2 การค้ากับต่างประเทศ การค้ากับต่างประเทศในสมัยสุโขทัยส่วนใหญ่เป็นการค้าเครื่องปั้นดินเผาที่เรียกว่า “ สังคโลก “ เริ่มเจริญรุ่งเรืองในสมัยพ่อขุนรามคำแหง ปรากฎในช่วงที่ตรงกับสมัยนี้จีนประสบอุปสรรคในการส่งสินค้าเครื่องปั้นดินเผาออกนอกประเทศ ทั้งนี้เพราะจีนเกิดสงครามกลางเมือง มีการเปลี่ยนราชวงศ์จากซ้องมาเป็นมองโกลแล้วก็เปลี่ยนราชวงศ์เหม็ง สงครามอันยาวนานนี้ทำให้จีนปั่นป่วนเกิดความอดอยาก ทั้งมีโรคระบาดและน้ำท่วม เมื่อบ้านเมืองวุ่นวายโจรผู้ร้ายก็ชุกชุม อีกทั้งชายฝั่งทะเลของจีนยังถูกโจรสลัดญี่ปุ่นรบกวนอีกด้วย ทำให้จีนไม่สามารถผลิตอุตสาหกรรมเครื่องปั้นดินเผาของตนได้และก็ไม่สามารถส่งออกจำหน่าย่ต่างประเทศอีกด้วย ในช่วงนี้เป็นช่วงที่สุโขทัยจะเข้ายึดการค้าเครื่องปั้นดินเผาของจีนมา สุโขทัยคงจะสร้างงานหัตถกรรมเครื่องปั้นดินเผาขึ้นมาโดยอาศัยความช่วยเหลือจากช่างเทคนิคของจีน ดังนั้น ลักษณะบางประการของเครื่องปั้นดินเผาของสุโขทัย จึงมีอิทธิพลของจีนอย่างมาก และสามารถนำไปขายในตลาดในฐานะแทนของจีนที่ขาดตลาดไป สำหรับเส้นทางทางการค้ากับต่างประเทศมีเส้นทางที่สำคัญ ดังนี้

2.1 เส้นทางขนส่งทางบก ประกอบด้วยเส้นทางที่สำคัญ 3 สายคือ
1. เส้นทางทางบกสายเมืองสุโขทัย ผ่านเมืองตากไปเมืองเมาะตะมะ เส้นทางสายนี้อาจจะใช้เส้นทางที่เรียกว่า “ ถนนพระร่วง “ เลียบตามลำแม่น้ำยมและเลียบที่ราบ “ คุ้มแม่สอด “ ซึ่งเป็นเส้นทางที่ใช้เดินทางติดต่อระหว่างเมืองสุโขทัยกับเมืองหงสาวดีตั้งแต่สมัยโบราณ

2. เส้นทางบกสายเมืองสุโขทัย ผ่านเมืองเพชรบุรี เมืองกุยบุรี เมืองมะริด ไปถึงตะนาวศรี

3. เส้นทางบกสายเมืองสุโขทัย ผ่านเมืองตาก เมืองลำพูน ขึ้นไปถึงเมืองเชียงใหม่ ซึ่งเป็นศูนย์กลางของอาณาจักรล้านนาไทย

2.2 เส้นทางขนส่งทางน้ำ สินค้าที่เป็นเครื่องปั้นดินเผาจะถูกบรรทุกลงเรือขนาดเล็กล่องจากเมืองศรีสัชนาลัย เมืองสุโขทัยไปตามแม่น้ำยมลงไปถึงเมืองพระบาง เมืองชัยนาท และกรุงศรีอยุธยา หลังจากนั้นจะบรรทุกสินค้าลงเรือขนาดใหญ่ส่งไปขายต่างประเทศ เส้นทางขนส่งทางน้ำตั้งแต่กรุงศรีอยุธยาลงไปประกอบด้วยเส้นทางที่สำคัญ 4 สาย ดังนี้คือ

1. เส้นทางจากกรุงศรีอยุธยาไปยังเมืองต่าง ๆ ในหมู่เกาะริวกิว โดยเริ่มจากสันดอน ปากแม่น้ำเจ้าพระยาในอ่าวไทย ผ่านสมุทรปราการ เกาะสีชัง พัทยา สัตหีบ ตราด กัมพูชา จาม เวียดนาม และตัดตรงผ่านทะเลจีนใต้ไปยังหมู่เกาะริวกิว หลักฐานทางโบราณคดีที่พบ คือ ซากเรือสำเภา โบราณที่สัตหีบ เรือสำเภาที่เกาะกระดาด และซากเรือสำเภาโบราณที่ชายฝั่งทะเลจังหวัดจันทบุรี

2. เส้นทางจากกรุงศรีอยุธยาไปยังหมู่เกาะพิลิปปินส์ โดยเริ่มจากสันดอนปากแม่น้ำเจ้าพระยาในอ่าวไทยตรงไปสัตหีบ แล้วตัดตรงไปยังเมืองปัตตานี และเมืองมะละกา ซึ่งเป็นศูนย์กลางการค้าที่สำคัญ หลังจากนั้นมีเส้นทางต่อไปยังหมู่เกาะอินโดนีเซีย เกาะเชเลเซย์ และหมู่เกาะฟิลิปปินส์ การขนส่งตามเส้นทางนี้ต้องใช้เรือเดินทะเลขนาดใหญ่ เพราะการเดินทางใช้เวลานาน

3. เส้นทางจากกรุงศรีอยุธยาไปยังเมืองสงขลา โดยเริ่มจากสันดอนปากแม่น้ำเจ้าพระยาในอ่าวไทย แต่น่าจะใช้เรือขนาดกลางบรรทุกเครื่องปั้นดินเผาไปขายแก่พ่อค้าชาวต่างประเทศ่ตามเมืองท่าสำคัญทางชายฝั่งทะเลด้าน่ตะวันออกของอ่าวไทย เช่นเมืองนครศรีธรรมราช และเมืองสงขลา หลักฐานโบราณคดีที่พบ คือ ซากเรือโบราณที่เมืองนครศรีธรรมราชและซากเรือสำเภาโบราณที่เมืองสงขลา