การอ่านเพื่อ วิเคราะห์วิจารณ์ คือ อะไร

จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์

2.3 การอ่านเพื่อการวิเคราะห์วิจารณ์

สาระสำคัญ

     การอ่านเป็นทักษะที่จำเป็นต่อการรับรู้ข้อมูลข่าวสารในชีวิตประจำวัน  และในขณะที่อ่านจะต้องรู้จัก  คิด  วิเคราะห์  วิจารณ์  เพื่อนำความรู้ที่ได้ไปใช้เป็นประโยชน์   ดังนั้นผู้เรียนจึงควรฝึกทักษะการวิเคราะห์  วิจารณ์หรือประเมินค่าเรื่องที่อ่านอย่างถูกต้องและมีเหตุผลเพื่อจะได้เป็นพื้นฐานในการวิเคราะห์วิจารณ์ในขั้นสูงต่อไป   รวมทั้งนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ในชีวิตประจำวัน

๑. ความหมาย

การอ่านเพื่อการวิเคราะห์วิจารณ์  
     เป็นการอ่านเพื่อแยกแยะข้อความที่อ่านอย่างถี่ถ้วน  เพื่อให้ทราบถึงโครงสร้าง  องค์ประกอบ  หลักการและเหตุผลของเรื่อง  จนสรุปได้ว่าแต่ละส่วนเป็นอย่างไร  สัมพันธ์กันอย่างไร  เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร  เพื่อให้เห็นความสัมพันธ์ขององค์ประกอบต่างๆ  

การวิเคราะห์  
    เป็นการหาคำตอบว่า  ข้อความ  บทความ  ที่อ่านนั้นให้ความรู้เรื่องอะไรบ้าง  ข้อเขียนแสดงความคิดเห็นและความรู้สึกอย่างไร   ซึ่งจะช่วยให้เห็นภาพรวมและรายละเอียดของเรื่อง
ที่อ่าน  ช่วยให้เข้าใจเรื่องนั้นได้อย่างแท้จริง  รวมทั้งช่วยพัฒนาสติปัญญา  เพราะต้องใช้เหตุผลในการอธิบายแง่มุมต่างๆ  ซึ่งทักษะในการอ่านนี้สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันและนำไปในการอ่านเพื่อการประเมินค่าต่อไปได้

การวิจารณ์ 

            พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.  ๒๕๔๒  ให้ความหมายไว้สองความหมาย คือ

    ความหมายที่ ๑ เป็นการให้คำตัดสินสิ่งที่เป็นศิลปกรรมหรือวรรณกรรม  โดยผู้มีความรู้เชื่อถือได้ว่ามีความงาม  ความไพเราะเพียงใดหรือมีข้อขาดตกบกพร่องอย่างไรบ้าง  เช่น  วิจารณ์ว่าหนังสือเล่มนี้สะท้อนปัญหาสังคมในปัจจุบันได้ดีมาก  สมควรได้รับรางวัล
    ความหมายที่ ๒  เป็นการติชมในความหมายโดยทั่วไปมักใช้คำว่า  วิพากษ์วิจารณ์  เช่น  ผู้ชมมักวิพากษ์วิจารณ์ว่า  ภาพยนตร์เรื่องนี้ดำเนินเรื่องช้าทำให้ผู้ชมเบื่อ  เป็นต้น

สรุปได้ดังนี้  การวิเคราะห์วิจารณ์จึงเป็นการแยกแยะแล้วนำมาวิจารณ์ข้อดีข้อเสีย  และประเมินค่าของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง  ซึ่งในที่นี้จะหมายถึงการวิเคราะห์วิจารณ์ลักษณะของบทประพันธ์  แล้วแยกแยะส่วนประกอบที่สำคัญและหยิบออกมาแสดงว่าไพเราะงดงามเพียงใด  วิเคราะห์ความหมายของบทประพันธ์นั้นๆ  ถ้ามีความหมายซ่อนเร้นอยู่ก็พยายามปะติดปะต่อให้พอที่ผู้อ่านจะเข้าใจได้  แสดงหลักศิลปะและแนวความคิดของผู้ประพันธ์  ซึ่งเป็นแนวทางในการแต่งบทประพันธ์  นอกจากนี้จะต้องแสดงให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างส่วนประกอบต่างๆ  ว่าแต่ละส่วนมีความสำคัญต่อส่วนรวมพียงใด

) การวิเคราะห์วิจารณ์วรรณคดี

           วรรณคดี  หมายถึง  หนังสือที่แต่งดีด้วยเนื้อเรื่องและศิลปะในการประพันธ์  ทำให้ผู้อ่านนั้นได้รับความเพลิดเพลินในการอ่าน  ได้ความรู้  เห็นสภาพชีวิตของคนในสังคม  ซึ่งงานประพันธ์ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นวรรณคดีนั้นมีทั้งที่แต่งเป็นร้อยแก้วและร้อยกรอง

           วรรณกรรม  หมายถึง  หนังสือทั่วๆไปทุกชนิดทุกประเภท  มีความหมายรวมถึงจุลสาร  วารสาร  ปาฐกถา  เทศนา  สุนทรพจน์ด้วย  “วรรณกรรม”  จึงมีความหมายกว้างกว่า  “วรรณคดี”

) ประเภทของวรรณกรรม   

            วรรณกรรมมี  ๒  ประเภท  คือ

    ๓.๑ บันเทิงคดี  เป็นเรื่องที่แต่งขึ้นจากจินตนาการ  ไม่เน้นสาระของเรื่อง  มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้อ่านสนุก  ผู้อ่านจะสนุกหรือไม่ขึ้นอยู่กับตัวผู้อ่านเพราะระดับความสนุกมีหลายระดับ

    ๓.๒ สารคดี  เป็นวรรณกรรมที่เน้นการนำเสนอข้อมูล  ข้อเท็จจริง  มีสาระ   ปัจจุบันหนังสือหรือสารคดีที่แต่งดีและได้รับการยกย่องจากหน่วยงานต่างๆ  ให้เป็นหนังสือดีเด่นที่สมควรได้รับรางวัล

 ) ขั้นตอนการวิเคราะห์วิจารณ์                 

            มีขั้นตอนดังนี้

     .๑ หาความรู้เกี่ยวกับประเภทและลักษณะของหนังสือนั้นๆ  ให้เข้าใจอย่างถ่องแท้
     
.๒ อ่านหนังสือเรื่องนั้นอย่างถี่ถ้วน  หาแนวคิดหลักหรือแก่นของเรื่องที่ผู้เขียนตั้งใจจะสื่อถึงผู้อ่าน
     
.๓ หาความรู้และข้อมูลที่เกี่ยวข้องในเรื่องที่อ่านให้มากที่สุดเพื่อให้เข้าใจเรื่องได้ชัดเจนยิ่งขึ้น
    
.๔ ตั้งคำถามเกี่ยวกับองค์ประกอบหรือข้อเท็จจริงในเรื่องแล้วพยายามหาคำตอบให้ได้

     .๕ ฝึกตั้งคำถามเชิงคาดคะเนเหตุการณ์ที่อ่านโดยมีเหตุผลประกอบ

     .๖ เรียงลำดับความสำคัญของประเด็นต่างๆ  ที่คิดว่าเป็นประเด็นสำคัญและจำเป็นต้องนำมากล่าวในคำวิจารณ์

     .๗ แยกแยะข้อดีและข้อบกพร่องที่ควรนำมากล่าวถึง

     .๘ จัดลำดับประเด็นที่จำเป็นต้องวิจารณ์   โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อชี้ให้ผู้อ่านเห็นจุดดีและจุดที่ควรปรับปรุงแก้ไขโดยมีเหตุผลหรือข้อมูลประกอบ

) หลักการวิเคราะห์วิจารณ์จากการอ่าน

     .๑ พิจารณารูปแบบการประพันธ์

     .๒ ศึกษาประวัติผู้แต่ง

     .๓  พิจารณาองค์ประกอบของเรื่องว่าสอดคล้องเหมาะสมกันหรือขัดแย้งกัน  

     .๔ พิจารณาเนื้อหา

     .๕ พิจารณาแก่นเรื่อง

     .๖ การวิจารณ์สรุปด้วยความคิดเห็นของผู้วิจารณ์เอง

แนวทางการอ่านเพื่อวิเคราะห์วิจารณ์ มีอะไร

๑. อ่านหนังสือเรื่องนั้นอย่าละเอียด เพื่อหาแนวคิดหลักหรือแก่นของเรื่องที่ผู้เขียน ต้องการสื่อถึงผู้อ่าน ๒. พยายามตั้งค าถามเชิงคาดคะเนเหตุการณ์ที่อ่านโดยมีเหตุผลประกอบ ๓. ตั้งค าถามเกี่ยวกับองค์ประกอบหรือข้อเท็จจริงในเรื่อง ๔. หาความรู้และข้อมูลที่มีความเกี่ยวข้องหรือสัมพันธ์กับเรื่องที่อ่านให้มากที่สุด เพื่อช่วยให้ ...

การวิเคราะห์วิจารณ์คืออะไร

เป็นกระบวนการเขียนที่ผู้เขียนนำเสนอสารผ่านการพิจรณา แยกแยะข้อมูล แล้ววิเคราะห์ข้อดี ข้อเสีย จุดเด่น จุดด้อย แล้วนำไปประเมินค่า เพื่อนำไปใช้ในชีวิตจริงได้ การเขียนวิเคราะห์วิจารณ์มีหลักการดังนี้ 1. ศึกษาเรื่องอย่างละเอียดอย่างถ่องแท้ 2. วิเคราะห์แยกแยะเนื้อหาเป็นส่วนๆ ว่ามีลักษณะอย่างไร มีความสัมพันธ์กันหรือไม่

ข้อใดคือความหมายของการอ่านเพื่อวิเคราะห์

1. การอ่านเพื่อการวิเคราะห์ หมายถึงอะไร การอ่านเพื่อแยกแยะข้อความที่อ่านอย่างถี่ถ้วน เพื่อให้ทราบถึงโครงสร้าง องค์ประกอบ หลักการและเหตุผล ของเรื่อง จนสรุปได้ว่าแต่ละส่วนเป็นอย่างไร สัมพันธ์กันอย่างไร เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร เพื่อให้เห็นความ สัมพันธ์ขององค์ประกอบต่างๆ ที่ทำให้เกิดสิ่งนั้นหรือเรื่องนั้นๆ

การอ่านวิเคราะห์มีความหมายว่าอย่างไร

เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ (2546) กล่าวว่า การอ่านเชิงวิเคราะห์ หมายถึงการจำแนกเรื่องออกเป็นส่วนๆ ให้เห็นว่าใครทำอะไร ที่ไหน เมื่อไร อย่างไร พิจารณาแต่ละส่วนให้ละเอียดลงไปว่าประกอบกันอย่างไร ประกอบด้วยอะไรบ้าง และวิเคราะห์ทรรศนะของผู้แต่งเพื่อทราบจุดมุ่งหมายที่อยู่เบื้องหลังผ่านภาษาและถ้อยคำที่ใช้