ระบบไฟร์วอลล์ (firewall) คืออะไร

หน้าที่ของ Firewall นั้น เปรียบเสมือนการที่เราสร้างกำแพงให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์และมีประตูทางผ่านของข้อมูลต่าง ๆ จากเครือข่ายอื่น ๆ โดยตรงประตูจะมียามคอยรักษาความปลอดภัยตรวจสอบการเชื่อมต่อต่าง ๆ ให้เป็นไปตามกฎ ซึ่ง Firewall จะเป็นตัวกรองข้อมูลว่าข้อมูลชนิดนี้คือ ใคร จะไปที่ไหน และข้อมูลชนิดนี้จะให้หรือทำอะไร ถ้ารู้สึกว่าข้อมูลที่ได้รับนั้นไม่ปลอดภัย Firewall จะไม่ยอมให้ข้อมูลนั้นเข้าไปได้ โดยวันนี้เรามาทำความรู้จักกับ รปภ. ของคอมพิวเตอร์กัน

Firewall คืออะไร ทําหน้าที่อะไร

วัตถุประสงค์หลักของ firewall system คือ เพื่อป้องกันการโจมตีการรักษาความปลอดภัยเครือข่าย หรือการโจมตีของแฮกเกอร์ โดยไฟร์วอลล์สามารถกำหนดค่าหรือกฎเฉพาะที่สามารถจดจำและบล็อกไวรัสและมัลแวร์ได้ อีกทั้งยังสามารถบล็อกการเข้าถึงจากภายนอกที่ไม่ได้รับอนุญาตอีกด้วย นอกจากนี้ยังมีหลากหลายชนิดไม่ว่าจะเป็น the great firewall, zonealarm free antivirus + firewall เป็นต้น


และในปัจจุบันการใช้คอมพิวเตอร์ไปพร้อมกับระบบอินเทอร์เน็ตนั้น ถือว่าเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ขาดไม่ได้ถ้าหากผู้ใช้งานทำความรู้จักกับระบบเรื่องอินเทอร์เน็ตอย่าง Firewall ที่สามารถตรวจสอบข้อมูลที่ผ่านเข้าออกระบบเครือข่าย หากสนใจ ลองคลิก สรุประบบเน็คเวิร์ค WAN MAN LAN PAN เพื่ออ่านบทความเพิ่มเติมได้เลย

Firewall มีหลักการทํางานอย่างไร

หน้าที่ของ Firewall คือตัวกรองข้อมูลสื่อสาร โดยการกำหนดกฎระเบียบมาบังคับใช้ โดยเฉพาะเรื่องของการดูแลระบบเครือข่าย และความผิดพลาดของการปรับแต่งอาจส่งผลทำให้ไฟล์วอลล์มีช่องโหว่ และนำไปสู่สาเหตุของการโจรกรรมข้อมูลทางคอมพิวเตอร์ได้ 


ซึ่งในส่วนของการเลือกใช้ Firewall ให้เหมาะสมนั้น เราต้องเข้าใจหลักการทำงานของ Firewall แต่ละแบบก่อน แล้วพิจารณาว่าเราจะใช้กับอุปกรณ์ใดและใช้เพื่ออะไร เช่น ใช้เพื่อเพิ่มความปลอดภัยจากอินเทอร์เน็ต หรือใช้บล็อกเว็บไซต์ที่ไม่ปลอดภัย ถ้าเรารู้ความต้องการแล้ว ก็จะสามารถเลือก Firewall ที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพในการใช้งานจริง

ประโยชน์ของ Firewall

ระบบไฟร์วอลล์ (firewall) คืออะไร

หน้าที่ของ Firewall System คือ

  • ช่วยลดช่องโหว่การรักษาความปลอดภัยทางเครือข่ายของบริษัทได้ดีขึ้น โดยวัตถุประสงค์หลักของไฟร์วอลล์ คือ ป้องกันการโจมตีการรักษาความปลอดภัยทางเครือข่ายต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการโจมตีของแฮกเกอร์ เป็นต้น ซึ่งไฟร์วอลล์สามารถกำหนดค่าหรือกฎเฉพาะที่สามารถจดจำและบล็อกไวรัสและมัลแวร์ได้ และยังสามารถบล็อกการเข้าถึงจากภายนอกที่ไม่ได้รับอนุญาตอีกด้วย
  • ช่วยตรวจสอบและควบคุมการใช้อินเทอร์เน็ตได้ดีขึ้น นอกเหนือจากการตรวจสอบการรับส่งข้อมูลขาเข้าแล้ว ไฟร์วอลล์ฮาร์ดแวร์ยังสามารถใช้เพื่อตรวจสอบและบล็อกการรับส่งข้อมูลขาออกจากภายในองค์กรของคุณได้อีกด้วย โดยการนำกฎที่กำหนดมาใช้ ทางไอทีสามารถบล็อกการเข้าถึงโซเชียลมีเดีย, ระบุตัวตน และหยุดการเข้าถึงเว็บไซต์ที่ไม่เหมาะสมได้ รวมถึงยังสามารถจำกัดการใช้งานอินเทอร์เน็ตทั้งในและนอกเวลาทำการอีกด้วย โดยกระบวนการนี้จะช่วยเพิ่มผลลัพธ์ที่ดีในการทำงานและในที่สุดแล้วก็จะช่วยเพิ่มผลกำไรทางธุรกิจได้อีกด้วย
  • ช่วยตรวจสอบเครือข่ายเพื่อหลีกเลี่ยงการถูกโจมตีหรือการละเมิดได้ เนื่องจากปัจจุบัน ยังไม่มีไฟร์วอลล์ตัวใดในโลกที่สามารถป้องกันการคุกคามทางไซเบอร์ได้ 100% ท้ายที่สุดทุกเครือข่ายก็อาจถูกโจมตีหรือละเมิดได้ ซึ่งไฟร์วอลล์ฮาร์ดแวร์มีความสามารถในการตรวจสอบการรับส่งข้อมูลเครือข่ายขาเข้าและขาออกทั้งหมด
  • ช่วยป้องกันอีเมลและชื่อเสียงของบริษัทได้ เพราะไฟร์วอลล์สามารถกำหนดค่าไฟร์วอลล์ฮาร์ดแวร์เพื่อปกป้องเซิร์ฟเวอร์ของอีเมล ถ้าหากแฮ็กเกอร์เข้าถึงเครือข่ายของคุณ พวกเขาอาจจะขโมยเซิร์ฟเวอร์ SMTP ของคุณ และใช้มันส่งสแปมไปยังผู้ติดต่อจากบัญชีอีเมลของคุณ การกระทำนี้อาจส่งผลให้สูญเสียลูกค้าหรือสร้างความเสียหายต่อชื่อเสียงของบริษัทได้
  • ช่วยสร้างเครือข่ายส่วนตัวได้เสมือนจริง ไฟร์วอลล์ฮาร์ดแวร์สามารถนำมาสร้างความปลอดภัยการเข้ารหัสเครือข่ายการเชื่อมต่อที่จะช่วยให้เครือข่ายของคุณมีความปลอดภัยเพิ่มขึ้นอีกขั้น โดยสามารถไฟร์วอลล์ให้เหมาะสม และช่วยไม่ให้เกิดการดักจับข้อมูลขององค์กรและข้อมูลส่วนตัวจากบุคคลภายนอกได้

และหากคุณกำลังต้องการผู้ดูแลระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เรายินดีให้คำปรึกษา บริการให้คำปรึกษาติดตั้ง และวางระบบ ไอที เน็ตเวิร์ค เรามีความเชี่ยวชาญและประสิทธิภาพสูงในการออกแบบ ระบบ IT และ Network ทั้งระบบ รวมถึงให้คำปรึกษาด้าน Firewall อีกด้วย

ประเภทของ Firewall

ปัจจุบันทุกบริษัทมีความต้องการทำให้ระบบ IT ปลอดภัยมากขึ้น และเมื่อพูดถึงเรื่องนี้ก็มักจะได้ยินคำว่า Firewall อยู่เสมอ ซึ่ง Firewall เปรียบเสมือนด่านหน้าการป้องกันอย่างแรกของระบบที่ทุกคนคิดถึง สำหรับประเภทของ Firewall นั้น จะมีกี่ประเภทและมีความแตกต่างกันมากแค่ไหน เรามาทำความรู้จักกัน

Firewall Software

โปรแกรม Firewall คือ Firewall ที่เปรียบเสมือนกำแพงป้องกันที่ถูกลง Software ไว้ที่ตัวระบบปฏิบัติการ การป้องกันนั้นเป็นการสร้างแนวป้องกันไว้สำหรับคอมพิวเตอร์เครื่องเดียว โดยใช้ CPU ประมวลผลการทำงาน ทำให้หลายครั้งเอง Firewall software เองนั้นมีความสามารถในการป้องกันที่พอสำหรับใช้งานส่วนบุคคล แต่ไม่สามารถป้องกันภาพรวมทั้งองค์กรได้ จึงเป็นที่มาของการพัฒนา Firewall Hardware ระดับองค์กร

Firewall Hardware

อุปกรณ์ Firewall คือ Fiewall ที่เปรียบเสมือนกำแพงที่เป็นอุปกรณ์ป้องกันจากภายนอก โดยความแตกต่างกับตัว Software ก็คือการที่สามารถจัดตั้งระบบความปลอดภัยขององค์กร เช่น ถ้าต้องการแบนเว็บไซต์ A ไม่ให้คอมพิวเตอร์ หรือ อุปกรณ์ในเครือข่ายเข้าไปได้ ก็จะวางระบบป้องกันกับอุปกรณ์ Firewall Hardware นั้นเอง

Packet Filtering Firewall

Packet Filtering Firewall คือ Firewall ชนิดที่จะทำการตรวจสอบ Packet (กลุ่มข้อมูล) ว่าตรงกับเงื่อนไขหรือเกณฑ์ที่ผู้ดูแลระบบกำหนดไว้หรือไม่ ถ้าผ่านเกณฑ์ทั้งหมด=ข้อมูลมีความน่าเชื่อถือ ข้อมูลก็จะถูกส่งออกไปหรือรับเข้ามาในเครือข่าย ถ้าไม่ผ่านเกณฑ์=ข้อมูลไม่น่าเชื่อถือ ก็จะถูกปฏิเสธการนำเข้าหรือส่งออก

Circuit-level Gateway

Circuit-level Gateway คือ Firewall ชนิดที่เป็นการตรวจสอบเส้นทางการเชื่อมต่อเครือข่าย และจะสร้างเส้นทางเสมือนขึ้นมาเพื่อพิจารณาว่าเครือข่ายที่เข้ามามีความน่าเชื่อถือหรือไม่ ประเภทนี้จะไม่สามารถตรวจสอบ Packet เองได้ แต่การตรวจสอบ Packet ของ Firewall ประเภทนี้จะทำงานบน Transport Layer ใน OSI Model

Stateful Inspection Firewall

Stateful Firewall คือ Firewall ชนิดที่เป็นการตรวจสอบสถานะไม่ใช่เพียงแค่ตรวจสอบ Packet แต่ยังติดตามว่า Packet นั้นเคยเข้ามาในเครือข่ายนี้แล้ว หรือเคยเข้ามาครั้งแรก โดยจะนำเอาข้อมูลของ Packet และข้อมูลที่ได้จาก Packet ก่อนหน้านี้มาพิจารณารวมกัน ซึ่งประเภทนี้จะมีความปลอดภัยมากกว่าการตรวจสอบเส้นทาง หรือการกรอง Packet เพียงอย่างเดียว

Application-level Gateway

Application Firewall คือ Firewall ชนิดที่ติดตั้งบนเครื่องคอมพิวเตอร์แยกตัวออกจากเครื่อง Router แต่ยังเชื่อมต่อกับเครื่อง Router เพื่อค้นหาเส้นทางของการส่ง Packet ทำหน้าที่กรอง และตรวจสอบดูแลเนื้อหาภายใน Packet สามารถตรวจจับ และปิดกั้นการโจมตีที่มองไม่เห็นบนเครือข่าย OSI Model ได้ บางครั้งทำหน้าที่คล้าย Proxy Firewall ที่เป็นระบบรักษาความปลอดภัยเครือข่ายที่ปกป้องข้อมูลเครือข่ายโดยการควบคุม และตรวจสอบข้อมูลที่มีความผิดปกติได้

Next-generation Firewall

Next-generation Firewall คือ Firewall ชนิดที่รวมการตรวจสอบเส้นทางเครือข่ายเข้ากับการตรวจสอบ Packet และยังรวมถึง Deep Packet Inspection (DPI) ซึ่งเป็นวิธีการขั้นสูงในการตรวจสอบ และจัดการรับส่งข้อมูลเครือข่าย ถือเป็นการรวมรูปแบบของ Packet ที่หลากหลาย รวมทั้งระบบรักษาความปลอดภัยเครือข่ายอื่น ๆ เช่น การตรวจจับการบุกรุกการกรองมัลแวร์และโปรแกรมป้องกันไวรัส

Stateless firewall VS stateful firewall แตกต่างกันอย่างไร

ระบบไฟร์วอลล์ (firewall) คืออะไร

Stateful Firewall คือ Firewall ชนิดที่จะเปลี่ยนจากการคอยมอง traffic แต่เป็นมองการเชื่อมต่อแบบ end-to-end มีความสามารถจำสถานะการณ์เชื่อมต่อได้ อีกทั้งยังสามารถเพิ่มการเฝ้าระวังเส้นทางการเชื่อมต่อได้ และสิ่งที่แตกต่างระหว่าง Stateless firewall และ Stateful firewall ทำให้ความเหมาะสมในการใช้งานก็แตกต่าง ไปเช่นกัน Stateless จะเหมาะสำหรับการใช้งานที่ Traffic ค่อนข้างเยอะและมีความเร็วในการจัดการ Packet ได้เร็วกว่า แต่ Stateful จะได้เรื่องการเก็บรายละเอียดการใช้งานต่าง ๆ ของ Connection แทน

สรุป

ปฏิเสธไม่ได้ว่าในปัจจุบันของเรา Firewall มีความสำคัญสำหรับองค์กรเป็นอย่างมาก เพราะทำให้สามารถตรวจสอบระบบต่าง ๆ และช่วยลดความเสี่ยงที่อุปกรณ์หรือข้อมูลของเราจะได้รับความเสียหายจากอินเทอร์เน็ตทำให้การใช้งานเครือข่ายอินเทอร์เน็ตของเรามีความปลอดภัยมากขึ้น

และหากคุณกำลังมองหาบริษัทรับติดตั้ง wifi ทาง Personet รับบริการติดตั้งวางระบบ wifi ที่มีการดำเนินงานแบบมาตรฐาน สามารถควบคุมการใช้งานอย่างปลอดภัย มีระบบระบุรหัสผ่าน เพื่อป้องกันการเข้าถึงที่ไม่ได้ต้องการ เรายินดีให้บริการด้วยใจ ดูแลเอาใจใส่ลูกค้าโดยผู้เชี่ยวชาญ ที่มีประสบการณ์ในด้านการทำงานด้านเทคโนโลยี ดูแลระบบ IT และงานระบบเครือข่ายภายในองค์กรของท่านแบบครบวงจร

ไฟร์วอลล์ (firewall) ทำหน้าที่อะไร

ไฟร์วอลล์ เป็นคอมโพเน็นต์หรือกลุ่มของคอมโพเน็นต์ที่ทำหน้าที่ในการควบคุมการเข้าถึง ระหว่างเน็ตเวิร์กภายนอกหรือเน็ตเวิร์กที่เราคิดว่าไม่ปลอดภัย กับเน็ตเวิร์กภายในหรือเน็ตเวิร์กที่เราต้องการจะป้องกัน โดยที่คอมโพเน็นต์นั้นอาจจะเป็นเราเตอร์ คอมพิวเตอร์ หรือเน็ตเวิร์ก ประกอบกันก็ได้ ขึ้นอยู่กับวิธีการหรือFirewall ...

โปรแกรม Firewall คืออะไร

Firewall คือ ซอฟต์แวร์หรือฮาร์ดแวร์ บนระบบเครือข่าย ที่ทำหน้าที่ตรวจสอบข้อมูลที่ผ่านเข้า-ออกระบบเครือข่าย จะมีการกำหนดกฎ เพื่อควบคุมการเข้า-ออกของข้อมูล เป็นการป้องกันว่าข้อมูลที่จะส่งผ่านนั้นมีความปลอดภัยหรือไม่ โดยเปรียบเทียบกับกฎต่างๆที่ทางผู้ใช้งานได้กำหนดไว้ แต่ก็ขึ้นกับการตัดสินใจของผู้ใช้งานเองด้วย ถ้าหากข้อมูล ...

Firewall มีวัตถุประสงค์เพื่ออะไร

จะเห็นได้ว่า Firewall มีหน้าที่ป้องกัน ปิดกั้นและตรวจสอบกิจกรรมบนระบบเครือข่ายที่เป็นอันตรายจากภายนอก ไม่ให้เข้าข้อมูลขององค์กรและข้อมูลส่วนตัวได้ดี และปฏิเสธไม่ได้ว่า Firewall มีความสำคัญสำหรับองค์กรเป็นอย่างมาก เพราะทำให้สามารถตรวจสอบระบบต่างๆ รวมถึงการบล็อค Website, Application ที่ไม่เหมาะสม ที่ไม่ต้องการให้พนักงาน ...

ไฟร์วอลล์คืออะไร มีอยู่กี่ประเภท อะไรบ้าง

Firewall โดยทั่วไปจะถูกแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ firewall ระดับ network (network level firewall) และ firewall ระดับ application (application level firewall)