เมื่อใช้ wifi สาธารณะจะมีความเสี่ยงอย่างไร

ทุกวันนี้ Wi-Fi สาธารณะมีให้บริการแทบทุกที่ ตั้งแต่ร้านกาแฟบ้านๆ ไปจนถึงโรงแรมสุดหรู เมื่อเราเชื่อมต่อเน็ตได้สะดวก ชีวิตของเราก็ง่ายขึ้นเยอะ ในหลายๆ ที่ เช่น สนามบินนานาชาติ ยังมีให้บริการฟรีเสียด้วยซ้ำ แต่เชื่อหรือไม่ว่าคนจำนวนไม่น้อยที่ยังไม่ทราบว่า เบื้องหลังความสะดวกสบายเช่นนั้น Wi-Fi สาธารณะมีความเสี่ยงเรื่องความปลอดภัยอยู่มาก โดยเฉพาะการรั่วไหลของข้อมูลส่วนตัวในอุปกรณ์ของเราไม่ว่าจะเป็น Notebook หรือมือถือ เนื่องจากข้อมูลที่รับ-ส่งผ่านเครือข่าย Wi-Fi สาธารณะมีความเสี่ยงจากการถูกดักจับโดยแฮกเกอร์ ได้ไม่ยาก

Show

โดยทั่วไป เครือข่าย Wi-Fi สาธารณะ ที่ให้บริการอยู่ในปัจจุบัน มีอยู่ 2 ประเภท ดังนี้:

1. Unsecured Wi-Fi (เครือข่ายที่ไม่ปลอดภัย)

เครือข่ายที่ไม่ปลอดภัย ใครก็สามารถเชื่อมต่อได้หากอยู่ในรัศมีทำการของ Router โดยเครือข่ายไม่มีการตั้งค่าความปลอดภัยใด ๆ เช่น ไม่ต้องลงทะเบียนใช้งาน หรือไม่ต้องใช้รหัสผ่านเพื่อ Login เข้าเครือข่าย

2. Secured Wi-Fi (เครือข่ายที่ปลอดภัย)

ในทางตรงกันข้าม เครือข่ายที่ปลอดภัยนั้น ก่อนใช้งาน ผู้ใช้ต้องยอมรับเงื่อนไขข้อกำหนดต่างๆ ทางกฎหมายหรือต้องลงทะเบียนเพื่อรับรหัสผ่านก่อนที่จะเชื่อมต่อกับเครือข่ายเท่านั้น นอกจากนี้ เครือข่ายที่ปลอดภัยอาจมีการเก็บค่าธรรมเนียมการใช้งานหรือหากต้องการเชื่อมต่อฟรี ก็ต้องมีใบเสร็จสะสมเมื่อซื้อสินค้าจากร้านค้าจำนวนหนึ่งเพื่อขอรับรหัสผ่าน

ไม่ว่าจะใช้การเชื่อมต่อประเภทใดก็ตาม เราควรพิจารณาใช้เลือก Wi-Fi สาธารณะด้วยความรอบคอบและระมัดระวังประเด็นเรื่องความปลอดภัยของข้อมูลเป็นสำคัญ

เรามาดูกันว่า สิ่งใดควรทำและสิ่งใดควรหลีกเลี่ยง (Dos & Don’ts) เมื่อต้องเชื่อมต่อ Wi-Fi สาธารณะ :

Do

Don’t

  • เชื่อมต่อกับ Wi-Fi สาธารณะที่ปลอดภัยทุกครั้งที่มีโอกาส ในกรณีที่ไม่มีทางเลือก จำเป็นต้องเชื่อมต่อผ่าน Wi-Fi สาธารณะที่ไม่ปลอดภัย ขอให้เลือกลักษณะการเชื่อมต่อ ที่ต้องใช้การ Login เข้าสู่ระบบหรือมีการลงทะเบียนเท่านั้น
  • ควรปิดฟังก์ชันการเชื่อมต่ออัตโนมัติ บรรดามือถือ Tablet หรือ Notebook ส่วนมากมีการตั้งค่าการเชื่อมต่ออัตโนมัติไว้ซึ่งช่วยให้เราสามารถเชื่อมต่อจากฮอตสปอตหนึ่งไปยังอีกอันหนึ่งได้อย่างราบรื่น ถึงแม้มีความสะดวก แต่การตั้งค่าค้างไว้เช่นนี้ ยังทำให้อุปกรณ์ของเราเชื่อมต่อกับเครือข่ายที่เราไม่รู้จักหรือไม่ต้องการเชื่อมต่อ ซึ่งเสี่ยงต่อการถูกแฮกได้ ควรปิดการตั้งค่าเหล่านี้โดยเฉพาะเมื่อเดินทางไปยังสถานที่ที่ไม่รู้จัก
  • เช็คการเชื่อมต่อสัญญาณ Bluetooth ของเราให้ดี ปกติ Bluetooth มักเหมาะใช้งานในบ้าน เพื่อเชื่อมกับอุปกรณ์ที่เรารู้จักดีเท่านั้น อย่างไรก็ตามการเปิด สัญญาณ Bluetooth ค้างไว้ในที่สาธารณะอาจเพิ่มความเสี่ยงให้เราได้ แฮกเกอร์สามารถแสกนค้นหาสัญญาณ Bluetooth ที่ไม่มีการตั้งค่าความปลอดภัยที่ดี เพื่อเข้าถึงข้อมูลภายในอุปกรณ์ได้ ดังนั้นเพื่อความปลอดภัย กรุณาปิดสัญญาณ Bluetooth ทุกครั้งเมื่อออกจากบ้าน ที่ทำงาน หรือพื้นที่ที่ปลอดภัย
  • เชื่อมต่อโดยผ่านเครือข่ายส่วนตัวเสมือน (Virtual Private Network – VPN) วิธีนี้เพิ่มความปลอดภัยของข้อมูลและความเป็นส่วนตัวได้ดี เมื่อจำเป็นต้องใช้ Wi-Fi สาธารณะ บริการ VPN สามารถเข้ารหัสข้อมูลทั้งหมดที่เรารับ-ส่งในขณะที่ใช้ฮอตสปอต Wi-Fi สาธารณะ และช่วยปกปิด IP Address แท้จริงของเราได้
  • อย่าเชื่อมต่อกับ Wi-Fi สาธารณะที่ไม่ปลอดภัย เพื่อเข้าถึงบัญชีธนาคารออนไลน์หรือข้อมูลส่วนตัวที่เป็นความลับ แม้แต่เครือข่ายที่ปลอดภัยก็อาจมีความเสี่ยงจากการถูกแฮก จึงควรคิดให้ดีก่อนตัดสินใจเชื่อมต่อ
  • อย่าทิ้ง Notebook, Tablet หรือมือถือ ไว้ในที่สาธารณะโดยไม่มีใครเฝ้า เนื่องจากอาจจะมีคนขโมยอุปกรณ์ของเราไปหรือไม่ก็ถือโอกาสแอบดูข้อมูลในอุปกรณ์ของเรา ขณะที่เราไม่อยู่ และควรตั้งรหัสผ่านเพื่อเข้าถึง Notebook และมือถือด้วยเช่นกัน
  • อย่าเชื่อมต่อผ่าน Wi-Fi สาธารณะเพื่อซื้อของออนไลน์ เนื่องจากการซื้อสินค้าออนไลน์ต้องใช้ข้อมูลส่วนตัวรวมถึงบัญชีบัตรเครดิตและรหัสผ่านเพื่อ Login สู่ระบบของร้านค้า ยิ่งบนเครือข่าย Wi-Fi ที่ไม่ปลอดภัยด้วยแล้ว ยิ่งเป็นสิ่งต้องห้ามโดยเด็ดขาด หันมาใช้การเชื่อมต่อผ่านเครือข่ายมือถือจะปลอดภัยกว่า

ไม่ว่าจะเชื่อมต่อผ่านเครือข่ายแบบใดก็ตาม การป้องกันระบบที่มีประสิทธิภาพย่อมดีกว่าการต้องตามแก้ไขปัญหาภายหลังจากถูกแฮก ดังนั้นควรตระหนักถึงความปลอดภัยเป็นสำคัญก่อน ถ้าไม่มั่นใจว่าอยู่บนเครือข่ายที่ปลอดภัย ก็ไม่ควรใช้งานเครือข่ายนั้น ๆ และในกรณีที่จำเป็นต้องใช้งานอินเทอร์เน็ตจริง การเลือกใช้งานผ่านเครือข่ายมือถือเป็นทางออกที่ปลอดภัยที่สุด

อ้างอิงที่มา:

  • https://us.norton.com/internetsecurity-wifi-the-dos-and-donts-of-using-public-wi-fi.html?otm_medium=onespot&otm_source=onsite&otm_content=article-page:article-slide-in-desktop-text-only&otm_click_id=86e666d6-e6b9-408e-9acb-de1baf485cc1
  • https://www.kaspersky.com/resource-center/preemptive-safety/public-wifi

เมื่อใช้ wifi สาธารณะจะมีความเสี่ยงอย่างไร
เมื่อใช้ wifi สาธารณะจะมีความเสี่ยงอย่างไร

NT cyfence

ทีมงาน NT cyfence ที่พร้อมให้คำปรึกษา และ ดูแลความปลอดภัยให้กับทุกองค์กร อย่างครบวงจร ด้วยทีมงานมืออาชีพ

เวลาที่เราไปไหนต่อไหน มักจะได้พบเจอกับบริการอินเทอร์เน็ตไร้สาย หรือ Wi-Fi จากสถานที่ต่าง ๆ ที่เป็นสาธารณะให้เราได้ใช้งานกันฟรี ๆ เสมอ แต่ด้วย W-Fi ที่ฟรี นั่นหมายถึงการเปิดโอกาสให้แฮกเกอร์ที่ไหนก็ไม่รู้ เข้าถึง Wi-Fi ฟรีนั้นด้วย แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่า Wi-Fi ฟรีเหล่านั้นจะปลอดภัย เรามาดูกันว่าแฮกเกอร์เหล่านี้สามารถขโมยข้อมูลเราผ่าน Wi-Fi ฟรีได้อย่างไรบ้าง !

ต่อไปนี้จะเป็น 5 วิธีที่แฮกเกอร์ใช้ในการขโมยข้อมูลส่วนตัว หรือแม้กระทั่งตัวตนบนโลกออนไลน์ของเราไปได้อย่างง่ายดายผ่าน Wi-Fi ฟรีที่เราใช้งาน และวิธีที่เราจะสามารถป้องกันตัวจากการถูกแฮกข้อมูลที่สำคัญเหล่านี้ไป

1. การโจมตีแบบ Man-In-The-Middle (MitM)

การโจมตีแบบ Man-In-The-Middle (MitM) คือการโจมตีทางไซเบอร์ โดยที่บุคคลภายนอกเข้ามาแทรกกลางการสื่อสารระหว่างผู้เข้าร่วมสองคน แทนที่จะแชร์ข้อมูลโดยตรงระหว่างเซิร์ฟเวอร์ (Server) และไคลเอนต์ (Client) การเชื่อมต่อนั้นจะถูกเข้ามาแทรกด้วยคนกลางแทน

แฮกเกอร์ที่เข้าถึงเครือข่ายแบบสาธารณะ ก็จะสามารถดักจับการรับส่งข้อมูลต่าง ๆ ได้ รวมถึงดักฟัง หรือแม้แต่ขัดขวางการสื่อสารระหว่างสองเครื่อง และขโมยข้อมูลส่วนตัวไปได้ การโจมตีแบบ MitM เป็นปัญหาด้านความปลอดภัยที่ร้ายแรงอย่างมากเลย

เมื่อใช้ wifi สาธารณะจะมีความเสี่ยงอย่างไร
แผนผังอธิบายการโจมตีแบบ Man-In-The-Middle (ภาพโดย ResearchGate)

ใครก็ตามที่ใช้ Wi-Fi สาธารณะ ต่างก็มีความเสี่ยงเป็นพิเศษต่อการโจมตีของ MitM ทั้งนั้น เนื่องจากโดยทั่วไปข้อมูลที่ส่งไปนั้นจะไม่ได้รับการเข้ารหัส (Encrypt) จึงไม่ใช่แค่ฮอตสปอตที่เป็นสาธารณะเท่านั้น ข้อมูลของผู้ใช้เองก็เช่นกัน

แล้วเราจะป้องกันตนเองจากการโจมตีแบบ MitM ได้อย่างไร ?

แม้ว่า Wi-Fi ที่เป็นสาธารณะนั้นอาจจะไม่ถูกเข้ารหัสก็ตาม แต่เว็บไซต์ส่วนใหญ่ที่มีการใช้ข้อมูลที่ละเอียดอ่อนอย่างเช่น พาสเวิร์ด หรือข้อมูลเลขบัตรเครดิต ต่างก็ถูกเข้ารหัสแล้วทั้งสิ้น เช่น PayPal Shopee Lazada หรือกระทั่งโซเชียลมีเดียเช่น Facebook Twitter หรือ YouTube ทุกเว็บไซต์มีวิธีการเข้ารหัสของตัวเอง สังเกตได้จากการกดดูที่รูปกุญแจเวลาเข้าเว็บไซต์ หรือดูที่ลิงก์ของเว็บไซต์ ถ้าเกิดว่าเป็นลิงก์ที่เป็น ‘HTTPS’ นั่นแปลว่าเว็บไซต์นั้นมีการเข้ารหัสบ้างแล้ว (เว็บไซต์ของแบไต๋เองก็เข้ารหัสแล้วนะ !)

เมื่อใช้ wifi สาธารณะจะมีความเสี่ยงอย่างไร
เว็บไซต์ของแบไต๋เองก็เข้ารหัสแล้วเหมือนกันนะ สามารถกดที่รูปแม่กุญแจเพื่อดูข้อมูลการเข้ารหัส หรือดูที่ URL เพื่อหา https ได้เลย

เบราว์เซอร์ส่วนใหญ่จะมีข้อความเตือนถ้าเข้าชมเว็บไซต์ที่ไม่ปลอดภัย ดังนั้นอย่าป้อนข้อมูลใด ๆ เข้าไป หากเห็นการแจ้งเตือนว่าเว็บไซต์ที่เราเข้าไปอาจจะไม่ใช่ของแท้ ไม่ว่าจะอยากเข้าไปดูลิงก์เหล่านั้นแค่ไหนก็ตาม

2. การเชื่อมต่อเข้าไปยังเครือข่าย Wi-Fi ปลอม (Evil Twins)

เครือข่าย Wi-Fi ปลอมนี้ที่จริงก็เป็น 1 ในวิธีการแฮกแบบ MitM เหมือนกัน เพียงแต่ว่านอกจากจะเป็นเทคนิคที่จะดักจับข้อมูลของผู้ใช้ระหว่างทาง แล้วยังจะข้ามระบบรักษาความปลอดภัยที่ฮอตสปอต Wi-Fi สาธารณะอาจมีอยู่แล้วด้วย

ซึ่ง Evil Twins (แฝดร้าย) นี้ก็ตามชื่อเลย เพราะว่ามันคือการตั้งค่า Access Point ใหม่ให้เหมือนกับชื่อเดิมที่มีอยู่แล้ว โดยจงใจให้ SSID (ชื่อ Wi-Fi ที่ใช้ระบุว่า Wi-Fi นั้น ๆ เป็นของเราหรือสถานที่สาธารณะต่าง ๆ) ชื่อเหมือนกันกับ SSID Wi-Fi สาธารณะอื่น ๆ เช่นถ้าร้านกาแฟตั้งชื่อ SSID ว่า CoffeeShop_WiFi แฮกเกอร์ก็จะตั้งชื่อ SSID ให้เหมือนกันเป๊ะ ๆ เพื่อหลอกให้คนกดเชื่อมต่อเข้าไป พอมีคนกดเชื่อมต่อเข้ามาใช้ WiFi กับกลายเป็นว่า ก็จะโดน แฮกเกอร์ มาดักจับเอาข้อมูลไป

เมื่อใช้ wifi สาธารณะจะมีความเสี่ยงอย่างไร
แผนภาพอธิบายวิธีการขโมยข้อมูลผ่านเครือข่าย Wi-Fi ปลอม (ภาพโดย ResearchGate)

นอกจากนี้ยังมีอีกหลายชื่อที่นิยมนำมาใช้ในการตั้งชื่อของ SSID เช่น home, dlink, linksys เป็นต้น โดยชื่อเหล่านี้ถูกตั้งค่ามากับเครื่องอุปกรณ์ (เราท์เตอร์) จากโรงงาน ทำให้คนที่ไม่ค่อยได้ระวัง หรือ คนที่ใช้งานบ่อยจะชิน ไม่ทันได้สังเกตและทำการเชื่อมต่อเข้าไป ก็จะถูกขโมยข้อมูลไปได้

จริง ๆ แล้วแฮกเกอร์สามารถปล่อยสัญญาณอินเทอร์เน็ตเหล่านี้ได้ง่ายมาก เพียงแค่มีอุปกรณ์ที่ปล่อยสัญญาณอินเทอร์เน็ตแบบ Wi-Fi ได้เท่านั้น (แล้วนั่นรวมถึงสมาร์ตโฟนด้วย) แล้วพูดสั้น ๆ ก็คือ ข้อมูลที่ไหลเข้า-ออกจาก Wi-Fi ปลอมนั้น ก็จะไหลเข้าไปยังแฮกเกอร์ด้วยเลย

แล้วเราจะป้องกันตนเองจาก Evil Twins ได้อย่างไร ?

วิธีการที่ได้ผลที่สุดที่จะป้องกันตัวเองจาก Evil Twins ได้ก็คือความระมัดระวังของเราเอง รวมไปถึงการสอบถามคนรอบข้างเรื่องนี้ อย่างเช่นถ้าเราอยู่ที่ร้านกาแฟ ร้านอาหาร สนามบิน หรือสถานที่สาธารณะอื่น ๆ ให้เราลองสอบถามพนักงาน หรือสตาฟที่อยู่แถวนั้นเรื่องนี้ดู

ถ้าเกิดแฮกเกอร์ปลอมสัญญาณเป็น SSID ของที่ทำงานที่เราทำอยู่ แนะนำให้ลองสอบถามผู้ดูแล หรือฝ่ายไอทีของทางบริษัทดู ในขณะเดียวกัน เราสามารถป้องกันตนเองเพิ่มได้ผ่านการเชื่อมต่อตัวเองเข้ากับ VPN (Virtual Private Network) ซึ่งจะทำให้การเชื่อมต่อของเราเข้ารหัสทั้งบนเว็บไซต์ และระดับผู้ใช้เอง ถ้าทำแบบนั้นต่อให้โดนขโมยข้อมูลไป ข้อมูลที่ได้ไปก็จะถูกเข้ารหัสและใช้การไม่ได้

3. การโจมตีผ่าน ‘Packet Sniffing’

แม้ว่าชื่อวิธีที่แปลกันตรง ๆ ว่า ‘การดมแพ็กเก็ต’ อาจจะดูตลกไปสักเล็กน้อย แต่บอกเลยว่าการทำงานของมันไม่ได้ตลกอย่างที่คิดแน่ ๆ เพราะว่าวิธีนี้ จะช่วยให้แฮกเกอร์ดึงข้อมูลที่อยู่ในอากาศแล้ววิเคราะห์ตามความเร็วของแฮกเกอร์เองได้เลย

แฮกเกอร์จะใช้อุปกรณ์ส่งแพ็กเก็ตข้อมูล (ชุดข้อมูลที่ส่งจากอุปกรณ์ต่าง ๆ ผ่านทางเครือข่าย) โดยผ่านเครือข่ายที่ไม่ได้เข้ารหัส ซึ่งสามารถอ่านได้ผ่านซอฟต์แวร์ฟรี อย่างเช่น Wireshark

เมื่อใช้ wifi สาธารณะจะมีความเสี่ยงอย่างไร
แผนผังอธิบายการขโมยข้อมูลแบบบ Packet Sniffing (ภาพโดย ResearchGate)

ลองหาวิธีทำดูแบบออนไลน์ได้เลยว่ามีคลิป หรือบทความ ‘How-to’ ที่จะสอนใช้โปรแกรม Wireshark จำนวนมากเลย โดยปกติแล้วโปรแกรมนี้จะสามารถใช้ตรวจสอบหาทราฟิกของเว็บไซต์ รวมถึงยังใช้หาภัยคุกคามด้านความปลอดภัยและจุดอ่อนที่ต้องการการแก้ไขเพิ่มเติม (ซึ่งจะบอกเลยว่าข้อมูลอะไรที่หลุดออกมาได้บ้าง)

วิธี Packet Sniffing นั้นไม่ได้เป็นอะไรที่ยุ่งยากเลย แถมในบางกรณีก็ไม่ได้ผิดกฎหมายด้วยนะ คนที่ทำงานเป็น IT Support ก็ใช้โปรแกรมนี้เพื่อหาจุดบกพร่องในเครือข่าย ซึ่งถ้าฝ่ายไอทีเจอช่องโหว่ก็จะสามารถแก้ไขได้ง่าย ๆ เพื่อไม่ให้ข้อมูลรั่วไหลได้ แต่โปรแกรมนี้ก็เป็นประโยชน์กับแฮกเกอร์เช่นเดียวกัน

เมื่อใช้ wifi สาธารณะจะมีความเสี่ยงอย่างไร
ตัวอย่างหน้าตาของโปรแกรม Wireshark และคลิปวิธีการใช้โปรแกรมเพื่อ Packet Sniffing

แฮกเกอร์สามารถดูดข้อมูลจำนวนมากมาไว้กับตัว จากนั้นก็สแกนหาข้อมูลสำคัญต่าง ๆ เช่น รหัสผ่านไปได้แบบง่าย ๆ

แล้วเราจะป้องกันตัวเองจาก Packet Sniffing ได้อย่างไร ?

การ Packet Sniffing สามารถป้องกันได้ผ่านการเชื่อมต่อเครือข่ายที่ปลอดภัย หรือเข้ารหัสเอาไว้ แต่นอกจากนั้นก็ยังสามารถเข้ารหัสการเชื่อมต่อวิธีอื่นได้อีก เช่นการใช้ VPN หรือการเข้าเว็บไซต์ที่เข้ารหัสเอาไว้ เป็นแบบ https เป็นต้น

4. ไซด์แจ็กกิ้ง (Session Hijacking)

Session Hijacking สามารถแปลตรง ๆ ได้ว่าเป็น ‘การจี้เซสชัน’ ซึ่งจะอาศัยการรับข้อมูลผ่าน Packet Sniffing แต่แทนที่จะใช้ข้อมูลย้อนหลัง แฮกเกอร์จะใช้ข้อมูลดังกล่าวในสถานที่จริงแบบเรียลไทม์ ที่แย่ไปกว่านั้นคือ มันทะลุผ่านการเข้ารหัสบางระดับได้ด้วย !

ข้อมูลการล็อกอินไปยังเว็บไซต์ต่าง ๆ ของเรามักจะถูกส่งต่อผ่านเครือข่ายที่ถูกเข้ารหัส และยืนยันผ่านข้อมูลบนฐานข้อมูลบนเว็บไซต์เหล่านั้น แล้วก็จะส่งกลับมาผ่านคุกกี้ (Cookies) มายังอุปกรณ์ของเรา แม้ข้อมูลหรือการเชื่อมต่อจะเข้ารหัสไว้แล้ว แต่ปกติ คุกกี้มักจะไม่ได้เข้ารหัสเอาไว้ แฮกเกอร์สามารถเข้าไปขโมย (Hijack) เอาเซสชันการล็อกอินของเราไปทั้งก้อน แล้วก็เอาไปใช้เข้าถึงบัญชีที่เป็นของผู้ใช้ได้อย่างง่ายดายเลย

เมื่อใช้ wifi สาธารณะจะมีความเสี่ยงอย่างไร
แผนผังแสดงวิธีการ Session Hijacking (ภาพโดย Invicti)

แม้ว่าแฮกเกอร์ไม่สามารถขโมยเซสชันมาเอาพาสเวิร์ดไปได้ แต่ก็สามารถส่งมัลแวร์เพื่อดักจับพาสเวิร์ดมาได้ง่าย ๆ แม้กระทั่งจากโปรแกรมวิดีโอคอลอย่าง Skype แถมวิธีนี้ยังสามารถขโมยข้อมูลที่มากจนขโมยตัวตนของเราได้เลย โดยเฉพาะเมื่อรวมกับข้อมูลในโซเชียลมีเดียของเรา ที่มากพอจะสร้างตัวตนเองได้เลย

วิธีการขโมยข้อมูลนี้ แฮกเกอร์จะชอบใช้กับเครือข่ายสาธารณะใหญ่ ๆ เป็นพิเศษ เพราะจะมีคนเชื่อมต่อเยอะ เวลาที่ขโมยมาแต่ละครั้ง ก็ได้จะได้ข้อมูลมามากมายพร้อม ๆ กันเลยนั่นเอง

แล้วเราจะป้องกันตัวเองจาก Packet Sniffing ได้อย่างไร ?

วิธีการเข้ารหัสมาตรฐานอย่าง https จะสามารถป้องกันการไซด์แจ็คได้ นอกจากนี้การใช้ VPN จะดึงข้อมูลเข้าและออกจากอุปกรณ์ของแต่ละคนมายำรวมกันให้ไม่สามารถขโมยได้

และเพื่อที่จะเพิ่มความปลอดภัยให้มากขึ้นไปอีก ให้ตรวจสอบให้แน่ใจทุกครั้งเมื่อออกจากการเชื่อมต่อ Wi-Fi แล้ว ต้องทำการล็อกเอาท์ให้เรียบร้อยด้วย ไม่งั้นแฮกเกอร์จะสามารถขโมยเอาเซสชันของเราไปใช้ต่อได้เลย ส่วนในโซเชียลมีเดีย ให้เราตรวจสอบตำแหน่งที่เราล็อกอินเอาไว้ ถ้าเกิดว่ามันไม่คุ้นมาก หรือใช้แค่ครั้งเดียว ก็ให้ล็อกเอาท์ออกไปด้วย

5. การแอบมองข้ามไหล่ (Shoulder-Surfing)

เมื่อใช้ wifi สาธารณะจะมีความเสี่ยงอย่างไร

วิธีนี้อาจดูเหมือนจะชัดเจน และเข้าใจง่ายมาก แต่เรามักลืมมาตรการรักษาความปลอดภัยง่าย ๆ แบบนี้อยู่เสมอ ให้ลองนึกถึงเวลาเรากดถอนเงินที่ตู้ ATM เราก็ไม่ควรให้ใครมาแอบมองเราเวลาเรากดรหัสผ่าน หรือ PIN เพราะเขาอาจจะขโมยบัตรของเราไปกดเงินได้ง่าย ๆ เลย

WiFi สาธารณะปลอดภัยไหม

เครือข่ายหรือเว็บไซต์ที่ไม่ได้มีการเข้ารหัสมีความเสี่ยงที่สูงมาก Wi-fi สาธารณะไม่ปลอดภัย เพราะแฮคเกอร์สามารถปล่อยมัลแวร์เข้ามาในโทรศัพท์มือถือเป็นจำนวนมากโดยที่คุณไม่รู้ตัว คุณควรใช้อินเทอร์เน็ตจากแพ็กเกจของเครือข่ายโทรศัพท์มือถือของคุณเพื่อความปลอดภัย

ข้อใดคือความเสี่ยงจากการเชื่อมต่อไวไฟ (Wi

ปัญหาด้านความปลอดภัยจากการใช้ WiFi สาธารณะ.
และนี่คืความเสี่ยงสิบข้อจากการใช้ WiFi สาธารณะ.
1 Man-in-the-Middle Attacks. ... .
2 มัลแวร์ ... .
3 เครือข่ายที่ไม่มีการเข้ารหัส ... .
4 การสอดแนม ... .
5 ฮอตสปอตที่เป็นอันตราย ... .
6 แฝดปีศาจ ... .
7 การตั้งค่า WiFi ไม่ดี.

ข้อใดคือสิ่งที่ไม่ควรปฏิบัติในการเชื่อมต่อ WiFi สาธารณะ

5 สิ่งไม่ควรทำ ใช้เน็ตสาธารณะ.
1. อย่ากด “remember me” หรือ “remember password” ที่เครื่องคอมพิวเตอร์สาธารณะ และอย่า log-in เพื่อทำธุรกรรมทางการเงินที่เครื่องสาธารณะ ... .
2. อย่าใช้ WiFi (Wireless LAN) ที่เปิดให้ใช้ฟรี โดยปราศจากการเข้ารหัสลับข้อมูล ... .
3. อย่าบอก Password ของท่านแก่ผู้อื่น.

เพราะเหตุใดไม่ควรใช้ WiFi ของสาธารณะในการทําธุรกรรมออนไลน์

4.WiFi ไม่ปลอดภัย : ถ้าชอบใช้สมาร์ทโฟนผ่าน WiFi สาธารณะรึหรือแม้แต่ WiFi ที่บ้านก็ไม่ควรใช้ทำธุรกรรมทางการเงิน เพราะ WiFi เหล่านั้นมีโอกาสที่จะถูกดักจับข้อมูลได้ง่ายมาก ไม่ปลอดภัย คุณควรทำผ่านเน็ตเครือข่ายมือถือของตัวเองที่จ่ายรายเดือนดีที่สุด เพราะโอกาสที่จะโดนแฮ็กข้อมูลแทบจะไม่เกิดขึ้นเลย