อุปกรณ์เครือข่ายใดทำหน้าที่เช่นเดียวกับรีพีตเตอร์


           เป็นอุปกรณ์ที่ทำงานอยู่ในระดับฟิสิคัลเลเยอร์ ( Physical Layer) ใน OSI Model มีหน้าที่เชื่อมต่อสำหรับขยายสัญญาณให้กับเครือข่าย เพื่อเพิ่มระยะทางในการรับส่งข้อมูลให้กับเครือข่ายให้ไกลออกไปได้กว่าปกติ ข้อจำกัด คือทำหน้าที่ในการส่งต่อสัญญาณที่ได้มาเท่านั้น จะไม่มีการเชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายซึ่งอาศัยวิธีการ access ที่แตกต่างกัน เช่น Ethernet กับ Token Ring และไม่รู้จักลักษณะของข้อมูลที่แฝงมากับสัญญาณเลย

อุปกรณ์เครือข่ายใดทำหน้าที่เช่นเดียวกับรีพีตเตอร์







เป็นอุปกรณ์ทวนสัญญาณ ( Repeater) เพื่อให้สัญญาณไฟฟ้าที่รับส่งกันในสาย Lan สามารถส่งไกลขึ้นเท่านั้น ใช้ในกรณีที่ต้องการต่อสาย Lan ให้ได้ไกลเกินกว่ามาตรฐานปกติ แต่ไม่ทำหน้าที่ช่วยจัดการจราจร Lan สามารถเชื่อมต่อเครือข่ายโดยใช้สายสัญญาณต่างชนิดกันได้



ข้อเสียของอุปกรณ์ Repeater
ก็คือ ไม่สามารถกลั่นกรองสัญญาณที่ไม่จำเป็น (เช่น ข้อมูลที่ผู้รับอยู่ฝั่งเดียวกับผู้ส่ง จึงไม่จำเป็นต้องขยายและส่งต่อออกไปยังเครือข่ายที่อยู่อีกฟากหนึ่ง) ออกไปได้สัญญาณต่างๆที่เข้ามาก็จะถูกส่งออกไปเหมือนเดิม พูดง่ายๆก็คือ ไม่ว่าจะเป็น packet อะไรส่งออกมาในเครือข่าย Repeater จะไม่สนใจที่หมายปลายทางว่าเป็นเครื่องที่อยู่คนละฟากกันหรือไม่ ถ้ามีสัญญาณมาก็จะส่งต่อไปยังอีกฟากหนึ่งให้เสมอ ดังนั้นถ้ายิ่งมีการเชื่อมต่อเครื่องลูกข่ายจำนวนมากเข้ากับ Repeater ที่มีหลายๆพอร์ต ก็จะมีสัญญาณกระจายไปในเครือข่ายมากขึ้นด้วย ทำให้ประสิทธิภาพของเครือข่ายลดลงได้

) โดยทำหน้าที่ทวนสัญญาณหรือแก้ไขส่วนที่สูญเสียและสัญญาณรบกวนให้กลับมามีสัญญาณเดิมเพื่อให้สามารถส่งทอดสัญญาณได้ไกลขึ้น ซึ่งได้แก่ รีพีทเตอร์และฮับ 

             1.1 รีพีทเตอร์  (repeater) คืออุปกรณ์ทำหน้าที่ทวนสัญญาณข้อมูลที่ส่งผ่านตัวกลางจากพอร์ตหนึ่งไปยังอีกพอร์ตหนึ่งซึ่งพอร์ตจะเป็นช่องทางในการติดต่อสื่อสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์กับอุปกรณ์เครือข่าย ปกติพอร์ตจะอยู่ด้านหลังเครื่องคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์เครือข่ายและเนื่องจากสัญญาณเดินทางได้ในระยะทางที่จำกัดถ้าหากสัญญาณเบาบางลงอาจส่งผลทำให้ข้อมูลที่ส่งไปยังผู้รับไม่ถูกต้อง รีพีทเตอร์จะรับสัญญาณดิจิทัลเข้ามาก่อนที่สัญญาณจะอ่อนตัวลงหรือหายไปจากนั้น รีพีทเตอร์จะสร้างสัญญาณขึ้นใหม่ให้เหมือนสัญญาณเดิมที่ส่งมาจากต้นทางโดยการคัดลอกแบบบิตต่อบิตและส่งสัญญาณที่สร้างใหม่นี้ต่อไปยังอุปกรณ์ตัวอื่นโดยผ่านตัวกลางในการรับส่งข้อมูล ด้วยเหตุนี้การใช้รีพีทเตอร์สามารถช่วยขยายความยาวทางกายภาพของเครือข่ายทำให้สามารถส่งสัญญาณไปได้ไกลขึ้นโดยที่สัญญาณไม่สูญหาย ตัวอย่างอุปกรณ์รีพีทเตอร์ ดังแสดงในภาพที่ 2.2

อุปกรณ์เครือข่ายใดทำหน้าที่เช่นเดียวกับรีพีตเตอร์


ภาพที่ 2.2 รีพีทเตอร์

ที่มา: Matrox. (2011)


รีพีทเตอร์ถูกนำมาใช้กับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีความยาวจำกัดหรือกรณีที่เครือข่ายคอมพิวเตอร์นั้นต้องการเพิ่มจำนวนของเครื่องลูกข่ายมากขึ้นแต่ต่อสายสัญญาณไม่ได้เพราะระยะทางมากกว่าข้อกำหนดที่สามารถเชื่อมต่อสายได้ยิ่งระยะทางไกลมาก สัญญาณที่ถูกส่งออกไปจะเริ่มผิดเพี้ยนและความเข้มของสัญญาณจะอ่อนลงดังนั้น เมื่อต้องการขยายความยาวนี้ให้มากขึ้นจะมีการจัดกลุ่มของอุปกรณ์ในรูปของเครือข่ายย่อย และเชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายย่อยด้วยรีพีทเตอร์ ทำให้เครือข่ายนี้ถูกแบ่งออกเป็นเครือข่ายย่อย2เครือข่าย ซึ่งจะเรียนกลุ่มเครือข่ายย่อยแต่ละกลุ่มว่า เซ็กเมนต์ (segment)

รีพีทเตอร์ทำงานอยู่ในชั้นฟิสิคัล ดังนั้นรีพีทเตอร์จะไม่ตรวจสอบว่าสัญญาณที่ส่งเป็นข้อมูลอะไร ส่งมาจากที่ไหนและส่งไปที่ไหน ถ้ามีสัญญาณเข้ามารีพีทเตอร์จะทวนสัญญาณแล้วส่งต่อออกไปเสมอ รีพีทเตอร์ไม่สามารถกลั่นกรองสัญญาณที่ไม่จำเป็นออกไปได้ ดังนั้น รีพีทเตอร์จึงไม่ได้มีส่วนช่วยจัดการจราจรหรือลดปริมาณข้อมูลที่ส่งออกมาบนเครือข่าย

1.2  ฮับ (HUB) หมายถึง  อุปกรณ์ที่ใช้เชื่อมต่อกลุ่มของคอมพิวเตอร์ ฮับมีหน้าที่รับส่งเฟรมข้อมูลทุกเฟรมที่ได้รับจากพอร์ตใดพอร์ตหนึ่งไปยังทุก ๆ พอร์ตที่เหลือคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อเข้ากับฮับจะแชร์แบนด์วิธหรืออัตราข้อมูลของเครือข่าย ฉะนั้นยิ่งมีคอมพิวเตอร์เชื่อมต่อเข้ากับฮับมากเท่าใด ยิ่งทำให้แบนด์วิธต่อคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องลดลง ในท้องตลาดปัจจุบันมีฮับหลายชนิดจากหลายบริษัท ข้อแตกต่างระหว่าง Hub เหล่านี้ก็เป็นจำพวกพอร์ต สายสัญญาณที่ใช้ ประเภทของเครือข่าย และอัตราข้อมูลที่ Hub รองรับได้ ซึ่งสามารถแบ่งได้ 2 ชนิด คือ แอกทีฟฮับ (Active Hub) และ พาสซีฟฮับ (Passive Hub)  โดยปกติแล้วฮับที่ใช้งานทั่วไปส่วนใหญ่เป็นฮับแบบแอกทีฟฮับแทบทั้งสิ้น ซึ่งหน้าที่ของฮับแบบแอกทีฟคือการทวนสัญญาณ ส่วนแบบพาสซีฟจะแตกต่างจากฮับแบบแอกทีฟตรงที่ไม่มีการปรับแต่งสัญญาณใดๆ ซึ่งได้แก่ แพตซ์พาเนล เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เป็นเพียงจุดเชื่อมต่อระหว่างสัญญาณสองเส้นมาบรรจบกันเท่านั้น ซึ่งเราสามารถแบ่งฮับโดยทั่วไปได้ 2 ประเภท คือ

     1.2.1 ฮับขนาดเล็ก (Small HUB) ฮับขนาดเล็กจะมีจำนวนพอร์ต RJ-45 ประมาณ 8 ,12 และ 16 พอร์ตแล้วแต่รุ่น ฮับขนาดเล็กนี้เหมาะสำหรับใช้งานในระบบเครือข่ายขนาดเล็กที่มีเครือข่ายจำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์ไม่มากประมาณ 3 -16 เครื่อง ถ้าหากเริ่มต้นสร้างระบบเครือข่ายขึ้นมาใช้งานโดยมีจำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์น้อยๆ ดังภาพที่ 2.2 แสดงฮับขนาด และ 16 พอร์ต ยี่ห้อ D-link

อุปกรณ์เครือข่ายใดทำหน้าที่เช่นเดียวกับรีพีตเตอร์

 
อุปกรณ์เครือข่ายใดทำหน้าที่เช่นเดียวกับรีพีตเตอร์

ภาพที่ 2.3 ฮับขนาดเล็กแบบ 8 และ 16 พอร์ต RJ-45 ของ D-link

ที่มา : http://www.championsupply.net


      1.2.2 ฮับขนาดใหญ่ (Rack mount HUB) ฮับขนาดใหญ่หรือเรียกอีกอย่างว่า แร็คเม้าส์ฮับ มีขนาดความกว้าง 19 นิ้ว สามารถนำไปติดตั้งในตู้แร็คขนาดมาตรฐานได้ จำนวนพอร์ต RJ-45 ก็มากขึ้น มีตั้งแต่ 12,16,24 ถึง 48 พอร์ต ฮับประเภทนี้เหมาะสำหรับใช้งานในระบบเครือข่ายขนาดใหญ่ที่มีเครื่องคอมพิวเตอร์จำนวนมากประมาณ 12 เครื่องขึ้นไป ฮับขนาดใหญ่บางรุ่นจะมีพอร์ตไฟเบอร์ หรือมีสล๊อตใส่ไฟเบอร์มอดูล (Fiber Module) สำหรับใช้เชื่อมโยงอุปกรณ์ผ่านใยแก้วนำแสง ดังภาพที่ 2.4 แสดงฮับขนาด 32 พอร์ตของ TP-LINK

อุปกรณ์เครือข่ายใดทำหน้าที่เช่นเดียวกับรีพีตเตอร์

ภาพที่ 2.4 ฮับขนาดใหญ่แบบ 32 พอร์ตของ TP-LINK


ที่มา : http://www.championsupply.net


ฮับจะทำงานในระดับเลเยอร์ ซึ่งเป็นเลเยอร์เกี่ยวข้องกับ เรื่องของการส่งสัญญาณออกไปสู่ตัวกลาง หรือ สื่อกลางที่ใช้ในการสื่อสาร รวมไปถึงเรื่องของการเข้ารหัสสัญญาณเพื่อที่จะส่งออกไปเป็นค่าต่าง ๆ ในทางไฟฟ้า และเป็นเลเยอร์ที่กำหนดถึงการเชื่อมต่อต่างๆที่เป็นไปในทางฟิสิคัล ฮับนั้นจะทำงานในลักษณะของการทวนสัญญาณ หมายถึงว่าจะทำการทำซ้ำสัญญาณนั้นอีกครั้งซึ่งไม่เหมือนกับการขยายสัญญาณเมื่อทำซ้ำแล้วก็จะส่งออกไปยังเครือข่ายที่เชื่อมต่ออยู่ โดยจะมีหลักว่าจะส่งออกไปยังทุกๆ พอร์ตยกเว้นพอร์ตที่เป็นตัวส่งสัญญาณออกมาและเมื่อปลายทางแต่ละจุดรับข้อมูลไปแล้ว ก็จะต้องพิจารณาข้อมูลที่ได้มาว่าข้อมูลนั้นส่งมาถึงตัวเองหรือไม่ ถ้าหากไม่ใช่ข้อมูลที่จะส่งมาถึงตัวเอง ก็จะไม่รับข้อมูลที่ส่งมานั้น การทำงานในระดับนี้ ถ้าดูในส่วนของตัวฮับเองนั้น  จากภาพที่ 2.4 แสดงการทำงานของฮับ โดยเครื่อง PC1 ต้องการส่งข้อมูลไปยังเซิร์ฟเวอร์ และเครื่อง PC2 ต้องการส่งข้อมูลไปพิมพ์ยังเครื่องพิมพ์ในระบบเครือข่าย  เครื่อง PC1 เริ่มส่งข้อมูลไปยังเซิร์ฟเวอร์ ข้อมูลต่างๆที่ส่งออกมาจาก PC1 ถูกลำเลียงผ่านสายสัญญาณจนไปถึงฮับ เมื่อฮับรับข้อมูลเข้ามาแล้วก็จะส่งข้อมูลเหล่านั้นแพร่กระจายออกไปยังทุกพอร์ตที่ตนเองมีอยู่ ข้อมูลถูกลำเลียงผ่าน สายสัญญาณไปยังอุปกรณ์ทุกๆ ตัว

อุปกรณ์เครือข่ายใดทำหน้าที่เช่นเดียวกับรีพีตเตอร์

ภาพที่ 2.8  เครื่องพรินเตอร์ได้รับข้อมูลจากเครื่อง PC2 พร้อมที่จะทำงาน



2. อุปกรณ์เชื่อมต่อชั้นสื่อสารดาต้าลิงก์ หมายถึง อุปกรณ์เชื่อมต่อเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ทำงานอยู่ในชั้นสื่อสารดาต้าลิงก์ สามารถตรวจสอบเลขที่อยู่ของเครื่องผู้ส่งต้นทางและเครื่องผู้รับปลายทางที่บรรจุอยู่ในข้อมูลได้ ได้แก่

 2.1 บริดจ์ (Bridge) เป็นอุปกรณ์ที่ถูกออกแบบมาเพื่อใช้ในการเชื่อมต่อเครือข่ายคอมพิวเตอร์ จำนวนสองเครือข่ายเข้าด้วยกัน คล้ายกับเป็นสะพานเชื่อมพื้นที่สองพื้นที่เข้าด้วยกัน ดังนั้นจึงเรียกอุปกรณ์นี้ว่า บริดจ์ ซึ่งแปลว่าสะพาน บริดจ์เป็นอุปกรณ์ที่ทำงานในระดับชั้นฟิสิคัลและระดับชั้นดาต้าลิงก์ อุปกรณ์เชื่อมต่อเครือข่ายที่ทำงานในชั้นสื่อสารฟิสิคัลจะสร้างสัญญาณข้อมูลใหม่เมื่อได้รับสัญญาณข้อมูลทุกครั้ง

บริดจ์จะทำหน้าที่เป็นตัวกรองและส่งผ่านข้อมูลไปยังส่วนต่าง ๆ ของระบบเครือข่าย ทำให้การเชื่อมต่อระบบเครือข่ายมีประสิทธิภาพโดยลดการชนกันของข้อมูล และยังสามารถใช้ในการเชื่อมต่อเครือข่ายที่แตกต่างกันได้

บริดจ์แต่มีพอร์ตหลายพอร์ต ในขณะที่บริดจ์จะมีเพียงสองพอร์ตเท่านั้น สวิตช์นำมาใช้ในการเชื่อมต่อเครือข่ายหลาย ๆ เครือข่ายเข้าด้วยกัน สวิตช์สามารถส่งข้อมูลที่ได้รับมาจากพอร์ตหนึ่งไปยังเฉพาะพอร์ตปลายทางเท่านั้น ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกับพอร์ตที่เหลือสามารถส่งข้อมูลถึงกันและกันได้ในเวลาเดียวกัน ไม่ทำให้เกิดการชนกันของข้อมูลในเครือข่าย อัตราความเร็วในการรับส่งข้อมูลจะไม่ขึ้นอยู่กับจำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อเข้ากับสวิตช์ ตัวอย่างสวิตช์ดังแสดงในภาพที่ 2.9


อุปกรณ์เครือข่ายใดทำหน้าที่เช่นเดียวกับรีพีตเตอร์


 ภาพที่ 2.9 แสดงตัวอย่างอุปกรณ์สวิตช์

ที่มา: Cisco systems Inc. (2013)

อุปกรณ์สวิตช์จะมีความสามารถในการทำงานมากกว่าฮับ โดยสวิตช์จะทำงานในการรับส่งข้อมูลที่สามารถส่งข้อมูลจากพอร์ตหนึ่งของอุปกรณ์ไปยังเฉพาะพอร์ตปลายทางที่เชื่อมต่ออยู่กับอุปกรณ์หรือเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต้องการส่งข้อมูลไปหาเท่านั้น ซึ่งจากหลักการทำงานในลักษณะนี้ทำให้พอร์ตที่เหลือของอุปกรณ์สวิตช์ที่ไม่เกี่ยวข้องกับการรับส่งข้อมูลนั้น สามารถทำการรับส่งข้อมูลได้พร้อมกันในเวลาเดียวกัน ทำให้อุปกรณ์สวิตช์มีการทำงานในแบบที่ความเร็วในการรับส่งข้อมูลจะไม่ขึ้นอยู่กับจำนวนของคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ต่างๆ ที่เชื่อมต่ออยู่กับสวิตช์ด้วยเหตุนี้ทำให้ในปัจจุบันอุปกรณ์สวิตช์จะได้รับความนิยมในการนามาใช้งานในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์มากกว่าอุปกรณ์ฮับ ตัวอย่างการรับส่งข้อมูลของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อด้วยสวิตช์ดังแสดงในภาพที่ 2.10 เมื่อเครื่องคอมพิวเตอร์เซิร์ฟเวอร์ส่งข้อมูลไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ผู้รับ เครื่องคอมพิวเตอร์ ผู้ส่งจะส่งข้อมูลไปยังสวิตช์ จากนั้นสวิตช์จะส่งข้อมูลไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ เพียงแค่เครื่องเดียวเท่านั้น

อุปกรณ์เครือข่ายใดทำหน้าที่เช่นเดียวกับรีพีตเตอร์

ภาพที่ 2.10 การรับส่งข้อมูลด้วยสวิตช์

ที่มา : Lindy Computer Connection Technology. (2011)

3. อุปกรณ์เชื่อมต่อชั้นสื่อสารเน็ตเวิร์ค หมายถึง อุปกรณ์เชื่อมต่อเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ทำงานอยู่ในชั้นสื่อสารเน็ตเวิร์ค โดยชั้นสื่อสารนี้สามารถค้นหาเส้นทางและส่งข้อมูลไปยังปลายทางได้โดยอาศัยแพ็กเก็ตข้อมูลไปยังเครือข่ายปลายทางที่ต้องการ

         3.1 เร้าเตอร์ (router) เป็นอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่หาเส้นทางและส่ง(Forward) แพ็กเก็ตข้อมูลระหว่างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ไปยังเครือข่ายปลายทางที่ต้องการ เร้าเตอร์ทำงานบน  เลเยอร์ที่ ตามมาตรฐานของ OSI Model (เร้าเตอร์-วิกิพีเดีย)  เร้าเตอร์จะมีการเชื่อมต่อเข้ากับสองเส้นทางหรือมากกว่าจากเครือข่ายที่แตกต่างกัน เมื่อแพ็กเก็ตข้อมูลเข้ามาจากเส้นทางหนึ่ง เร้าเตอร์จะอ่านข้อมูลแอดเดรสที่อยู่ในแพ็กเก็ตเพื่อค้นหาปลายทางสุดท้าย

อุปกรณ์เครือข่ายใดทำหน้าที่เช่นเดียวกับรีพีตเตอร์

ภาพที่ 2.11 แสดงตัวอย่างอุปกรณ์เราต์เตอร์

ที่มา: Cisco systems Inc. (2013)


เร้าเตอร์เป็นอุปกรณ์ที่มีการทำงานซับซ้อนกว่าบริดจ์ ทำหน้าที่เชื่อมต่อเครือข่ายคอมพิวเตอร์หลายๆ เครือข่ายเข้าด้วยกันคล้ายกับสวิตช์ ไม่ว่าจะเป็นการเชื่อมต่อเครือข่ายแลนกับเครือข่ายแลน หรือการเชื่อมต่อเครือข่ายแลนกับเครือข่ายแวน เร้าเตอร์ทำหน้าที่กำหนดเส้นทางสำหรับรับส่งข้อมูลระหว่างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมระหว่างกันหลายเครือข่าย เร้าเตอร์สามารถกำหนดเส้นทางให้ข้อมูลถูกส่งจากเครือข่ายหนึ่งไปยังเครือข่ายปลายทางทุกๆ เครือข่ายได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมรวมถึงความสามารถในการเปลี่ยนเส้นทางรับส่งข้อมูลในกรณีที่เส้นทางเดิมที่ใช้งานอยู่เกิดขัดข้อง เร้าเตอร์จะอ่านเลขที่อยู่ของเครื่องผู้รับปลายทางจากข้อมูล เพื่อใช้ในการกำหนดหรือเลือกเส้นทางที่ส่งข้อมูลนั้นต่อไป ในเร้าเตอร์จะมีรายละเอียดเกี่ยวกับการจัดเส้นทางในการส่งข้อมูลเรียกว่า "เร้าติ้งเทเบิ้ล (routing table)" หรือตารางการจัดเส้นทาง ข้อมูลในตารางนี้จะเป็นข้อมูลที่เร้าเตอร์ใช้ในการเลือกเส้นทางที่ดีที่สุดไปยังปลายทาง ถ้าเส้นทางหลักเกิดขัดข้องเร้าเตอร์ก็สามารถเลือกเส้นทางใหม่ได้ เมื่อเร้าเตอร์ได้รับข้อมูลจะตรวจสอบเพื่อจะได้รู้ว่าใช้โปรโตคอลแบบใดในการรับส่งข้อมูล เมื่อเร้าเตอร์เข้าใจโปรโตคอลต่างๆ แล้วจากนั้นจะตรวจดูเส้นทางส่งข้อมูลจากเราติ้งเทเบิ้ล ว่าจะต้องส่งข้อมูลนี้ไปยังเครือข่ายใดต่อจึงจะถึงปลายทางได้ แล้วจึงบรรจุข้อมูลโดยมีการกำหนดเลขที่อยู่ของผู้ส่งและผู้รับใหม่เพื่อส่งต่อไปยังเครือข่ายถัดไป

โดยทั่วไปเร้าเตอร์เป็นอุปกรณ์ที่ทำงานด้วยการใช้โปรโตคอลเดียว ถ้ามีเครือข่ายแลน2 เครือข่ายเชื่อมต่อกันด้วยเราเตอร์ ทั้งสองเครือข่ายจะต้องมีโปรโตคอลในการเชื่อมต่อที่เหมือนกัน เช่น เครือข่ายทั้งสองจะต้องใช้โปรโตคอลไอที(IP) หรือโปรโตคอลไอพีเอ็กซ์ (IPX)แบบเดียวกัน

การใช้เร้าเตอร์เชื่อมต่อเครือข่ายคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกัน ทำให้ปริมาณการส่งข้อมูลของแต่ละเครือข่ายย่อยแยกจากกันโดยเด็ดขาด ไม่เกิดการรบกวนไปยังเครือข่ายอื่น ทำให้การรับส่งข้อมูลทำได้อย่างรวดเร็วและยังทำให้เกิดความปลอดภัยของระบบเครือข่ายด้วย แต่เร้าเตอร์จะมีราคาแพงกว่าสวิตช์และฮับ

ในปัจจุบันมีเร้าเตอร์ในแบบที่ทำงานได้กับหลายโปรโตคอล (multiprotocol) โดยถูกออกแบบมาเพื่อใช้กำหนดเส้นทางของข้อมูล โดยใช้โปรโตคอล โปรโตคอลหรือมากกว่านั้น เช่น เร้าเตอร์ที่สนับสนุนการทำงานของโปรโตคอลไอพี และไอพีเอ็กซ์ โดยเร้าเตอร์สามารถที่จะรับส่งข้อมูลที่ทำงานได้กับทั้ง โปรโตคอล ดังนั้นเร้าเตอร์สามารถรับส่งและจัดการกับข้อมูลโดยการใช้โปรโตคอลไอพี หรือสามารถรับส่งข้อมูลโดยการใช้โปรโตคอลไอพีเอ็กซ์ได้ ในกรณีนี้เร้าเตอร์จะมีตารางกำหนดเส้นทาง 

อุปกรณ์เครือข่ายข้อใดทำหน้าที่เช่นเดียวกับรีพีตเตอร์

ฮับที่ใช้ในระบบ LAN ตามมาตรฐานอีเทอร์เน็ตแบบ 10Base-T และ 100Base-T ก็จัดเป็นอุปกรณ์ที่ทำงานในลักษณะเดียวกับรีพีตเตอร์ด้วย

ข้อใดคือหน้าที่ของรีพีตเตอร์

อุปกรณ์ทวนสัญญาณ (Repeater) อุปกรณ์ทวนสัญญาณ ทำงานใน Layer ที่ 1 OSI Model เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่รับสัญญาณดิจิตอลเข้ามา แล้วสร้างใหม่ (Regenerate) ให้เป็นเหมือนสัญญาณ (ข้อมูล) เดิมที่ส่งมาจากต้นทาง จากนั้นค่อยส่งต่อออกไปยังอุปกรณ์ตัวอื่น เหตุที่ต้องใช้ Repeater เนื่องจากว่าการส่งสัญญาณไปในตัวกลางที่เป็นสายสัญญาณนั้น ...

อุปกรณ์ทวนสัญญาณ Repeater เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ใด

เครื่องทวนซ้ำสัญญาณ (Repeater) เป็นอุปกรณ์ที่ทำงานอยู่ในระดับ Physical Layer ใน OSI Model มีหน้าที่เป็นอุปกรณ์เชื่อมต่อสำหรับขยายสัญญาณให้กับเครือข่าย และไม่รู้จักลักษณะของข้อมูลที่แฝงมากับสัญญาณเลย

รีพีทเตอร์ มีหลักการทำงานอย่างไร

หลักการทำงานรีพีตเตอร์ เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ทำงานในชั้นกายภาพของรูปแบบโอเอสไอ รีพีตเตอร์จะติดตั้งอยู่ในระบบเครือข่ายเพื่อเชื่อมโยงระบบโดยรับสัญญาณที่มีขนาดที่ต่ำลงหรือเสียไปให้เข้ามาและทำการกำเนิดสัญญาณรูปแบบที่มีคุณสมบัติเหมือนกับที่แหล่งกำเนิดที่ต้นทางขึ้นมาใหม่ และส่งสัญญาณที่กำเนิดขึ้นมาใหม่นี้ส่งไปในระบบ ...