การทําซ้ําหรือดัดแปลง มีโทษอย่างไร

พระราชบัญญัติฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความคุ้มครองผลประโยชน์และป้องกันสิทธิของผู้สร้างสรรค์ ซึ่งเป็นบุคคลที่เป็นเจ้าของผลงานสร้างสรรค์โดยใช้ความคิด และสติปัญญาของตนในการรังสรรค์งานขึ้น เนื่องจากกฎหมายไม่ได้กำหนดแบบเพื่อให้ได้รับความคุ้มครอง ดังนั้นการคุ้มครองดังกล่าวจะได้โดยอัตโนมัติ พระราชบัญญัตินี้ยังสนับสนุนส่งเสริมให้มีการสร้างสรรค์ผลงานอันมีลิขสิทธิ์เพิ่มขึ้น ยิ่งไปกว่านั้น พระราชบัญญัตินี้ยังให้ความคุ้มครองครอบคลุมถึง โปรแกรมคอมพิวเตอร์ โดยถือว่าเป็นงานวรรณกรรมประเภทหนึ่งตามพระราชบัญญัตินี้อีกด้วย.

มาตราที่เกี่ยวข้อง

มาตรา 27

การกระทําอย่างใดอย่างหนึ่งตามพระราชบัญญัตินี้ โดยไม่ได้รับอนุญาตตามมาตรา 15 (5) ให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ ถ้าได้กระทําดังต่อไปนี้.

  1. ทําซ้ำหรือดัดแปลง
  2. เผยแพร่ต่อสาธารณชน

มาตรา 30

การกระทําอย่างใดอย่างหนึ่งแก่โปรแกรมคอมพิวเตอร์อันมีลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัตินี้โดยไม่ได้รับอนุญาตตามมาตรา 15 (5) ให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ ถ้าได้กระทําดังต่อไปนี้

  1. ทําซ้าหรือดัดแปลง
  2. เผยแพร่ต่อสาธารณชน
  3. ให้เช่าต้นฉบับหรือสําเนางานดังกล่าว

มาตรา 31

ผู้ใดรู้อยู่แล้วหรือมีเหตุอันควรรู้ว่างานใดได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่น กระทำอย่างใดอย่างหนึ่งแก่งานนั้นเพื่อหากำไร ให้ถือว่าผู้นั้นกระทำการละเมิดลิขสิทธิ์ ถ้าได้กระทำดังต่อไปนี้.

  1. ขาย มีไว้เพื่อขาย เสนอขาย ให้เช่า เสนอให้เช่า ให้เช่าซื้อ หรือเสนอให้เช่าซื้อ
  2. เผยแพร่ต่อสาธารณชน
  3. แจกจ่ายในลักษณะที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่เจ้าของลิขสิทธิ์
  4. นำหรือสั่งเข้ามาในราชอาณาจักร

มาตรา 70

ผู้ใดกระทำการละเมิดลิขสิทธิ์ตามมาตรา 31 ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาท ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคหนึ่ง เป็นการกระทำเพื่อการค้า ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามเดือนถึงสองปี หรือปรับตั้งแต่ห้าหมื่นบาทถึงสี่แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

จากกระแสไวรัล ร้องได้แค่ 7 คำ ที่นักร้องลูกทุ่งชื่อดังที่ไม่สามารถร้องเพลงที่ตนเคยร้องได้หลังออกจากค่ายเพลง เพราะติดลิขสิทธิ์ของค่าย หรือข่าวการละเมิดลิขสิทธิ์ต่างๆ ที่เป็นประเด็นสังคมเรื่อยมา วันนี้เราจึงอยากพาคุณไปทำความเข้าใจความคุ้มครองต่างๆ ของกฎหมายลิขสิทธิ์ รวมถึงอัปเดตกฎหมายลิขสิทธิ์ฉบับใหม่ที่จะมีผลบังคับใช้ 23 สิงหาคม 2565 นี้ รายละเอียดมีอะไรบ้าง ตามไปดูกัน

ลิขสิทธิ์ คืออะไร?

ลิขสิทธิ์ คือ สิทธิ์แต่เพียงผู้เดียวที่กฎหมายรับรองให้ผู้สร้างสรรค์สามารถกระทำการใดๆ กับงานสร้างสรรค์ที่ได้ทำขึ้น ได้แก่สิทธิ์ในการทำซ้ำ ดัดแปลง หรือโฆษณา หรือสิทธิ์ที่จะอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้ผู้อื่นนำงานนั้นไปใช้

โดยลิขสิทธิ์จะให้ความคุ้มครองแก่งานสร้างสรรค์ต่างๆ ตามที่กฎหมายกำหนด และการสร้างสรรค์งานนั้นต้องมาจากการคิดริเริ่มสร้างสรรค์ การใช้ความรู้ ความสามารถ วิจารณญาณ และความพยายามต่างๆ

 

งานที่มีลิขสิทธิ์ มีอะไรบ้าง?

งานที่มีลิขสิทธิ์มีทั้งหมด 9 ประเภท คือ

1. งานวรรณกรรม ได้แก่ งานนิพนธ์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นจุลสาร หนังสือ งานเขียน สิ่งพิมพ์ รวมถึงโปรแกรมคอมพิวเตอร์ด้วย

2. งานนาฏกรรม คืองานที่เกี่ยวกับการรำ การเต้น ท่าทางต่างๆ หรือการแสดงที่ประกอบขึ้นเป็นเรื่องราว รวมถึงการแสดงละครใบ้ด้วย

3. งานศิลปกรรม แบ่งเป็นประเภทต่างๆ คือ

• จิตรกรรม ได้แก่ ภาพเขียนต่างๆ

• ปฏิมากรรม ได้แก่ รูปปั้น งานแกะสลักต่างๆ

• สถาปัตยกรรม ได้แก่ งานออกแบบอาคารหรือสิ่งปลูกสร้าง

• ภาพถ่าย

• ภาพประกอบ

• ภาพพิมพ์

• ศิลปะประยุกต์

4. งานดนตรีกรรม เป็นงานเพลงที่ทำขึ้นเพื่อขับร้องหรือบรรเลง ได้แก่ เนื้อร้อง ทำนองเพลง

5. งานสิ่งบันทึกเสียง เช่น เทปคาสเซ็ทหรือ CD เพลงต่างๆ

6. งานโสตทัศนวัสดุ ได้แก่ VCD หรือ DVD

7. งานภาพยนตร์

8. งานแพร่เสียงแพร่ภาพ ได้แก่ รายการวิทยุ หรือรายการโทรทัศน์

9. งานอื่นใดในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ แผนกศิลปะ เช่น รอยสักบนร่างกายมนุษย์

 

สิ่งที่ไม่เข้าข่ายความคุ้มครองตามกฎหมายลิขสิทธิ์

กฎหมายลิขสิทธิ์ให้ความคุ้มครองการแสดงออกซึ่งความคิด แต่จะไม่คุ้มครองแนวคิด เช่น ขั้นตอนกรรมวิธี ไอเดียต่างๆ นอกจากนี้ยังไม่คุ้มครองงานที่เป็นข่าวสาร ข่าวประจำวัน กฎหมาย ระเบียบ และคำพิพากษาของศาล

 

งานที่มีลิขสิทธิ์ได้รับความคุ้มครองเมื่อไร?

ในทางกฎหมายแล้วงานต่างๆ ที่ถูกสร้างสรรค์ขึ้นและเข้าข่ายเป็นงานที่มีลิขสิทธิ์ จะได้รับความคุ้มครองทันทีที่มีการสร้างสรรค์งานนั้นขึ้นโดยอัตโนมัติ เจ้าของลิขสิทธิ์จะมีสิทธิ์แต่เพียงผู้เดียวในการทำซ้ำ ดัดแปลง และเผยแพร่ต่อสาธารณชน รวมถึงมีการอนุญาตให้ผู้อื่นนำงานนั้นไปใช้ได้ด้วย โดยที่เจ้าของไม่ต้องจดทะเบียนก่อนเหมือนเครื่องหมายการค้าหรือสิทธิบัตร

***แม้ลิขสิทธิ์จะได้รับความคุ้มครองทันทีโดยอัตโนมัติ โดยที่ไม่ต้องยื่นจดทะเบียนก่อน แต่กรมทรัพย์สินทางปัญญาก็แนะนำให้เจ้าของผลงานนั้นๆ แจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์กับกรมทรัพย์สินทางปัญญาเพื่อเก็บเป็นฐานข้อมูลไว้ในกรณีที่ผู้อื่นจะขออนุญาตใช้ผลงาน จะได้หาเจ้าของลิขสิทธิ์จากฐานข้อมูลได้

 

การกระทำแบบไหนเข้าข่ายละเมิดลิขสิทธิ์?

การละเมิดลิขสิทธิ์ มี 2 ลักษณะ คือ

1. การละเมิดลิขสิทธิ์โดยตรง คือ การทำซ้ำ ดัดแปลง หรือเผยแพร่ผลงานที่ได้รับความคุ้มครองต่อสาธารณชน โดยไม่ได้รับความยินยอมจากเจ้าของ

2. การละเมิดลิขสิทธิ์โดยอ้อม คือ การกระทำทางการค้า หรือการกระทำที่มีส่วนสนับสนุนให้เกิดการละเมิดลิขสิทธิ์

 

การละเมิดลิขสิทธิ์มีโทษตามกฎหมายอย่างไร?

การละเมิดลิขสิทธิ์มีโทษทางอาญาทั้งจำคุกและโทษปรับแล้วแต่กรณี

1. การละเมิดลิขสิทธิ์โดยตรง มีโทษปรับตั้งแต่ 20,000 – 200,000 บาท หากเป็นการกระทำเพื่อการค้า มีโทษจำคุกตั้งแต่ 6 เดือน – 4 ปี หรือปรับตั้งแต่ 100,000 – 800,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

2. การละเมิดลิขสิทธิ์โดยอ้อม มีโทษปรับ​ตั้งแต่ 10,000 บาท – 100,000 บาท หากเป็นการกระทำเพื่อการค้า มีโทษจำคุกตั้งแต่ 3 เดือน – 2 ปี หรือปรับตั้งแต่ 50,000 บาท – 400,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

 

อัปเดตกฎหมายลิขสิทธิ์ฉบับใหม่ ปี 2565

• ผู้ให้บริการที่เป็นสื่อกลางส่งผ่านข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือให้สามารถติดต่อถึงกันผ่านอินเทอร์เน็ต เช่น Facebook, YouTube จะได้รับยกเว้นความรับผิดการละเมิดลิขสิทธิ์ ตามกรณีต่างๆ เช่น

– ไม่ได้เป็นผู้ริเริ่มการส่งผ่านข้อมูล

– ส่งผ่านข้อมูลอัตโนมัติโดยไม่ได้เป็นผู้เลือกข้อมูล

– ไม่ได้เป็นผู้กำหนดผู้รับข้อมูล

– ส่งผ่านข้อมูลคอมพิวเตอร์ โดยไม่ได้เปลี่ยนแปลงเนื้อหาของข้อมูล

– ไม่ได้เก็บสำเนาข้อมูลที่ทำซ้ำขึ้นในระหว่างกระบวนการพักข้อมูลคอมพิวเตอร์ชั่วคราวไว้บนระบบหรือเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในลักษณะที่ผู้อื่นสามารถเข้าถึงได้โดยทั่วไป

• ผู้ให้บริการที่เป็นสื่อกลางส่งผ่านข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือให้สามารถติดต่อถึงกันผ่านอินเทอร์เน็ต เช่น Facebook, YouTube สามารถนำงานที่ละเมิดลิขสิทธิ์ออกจากระบบได้ทันทีเมื่อได้รับการแจ้งจากเจ้าของลิขสิทธิ์ โดยไม่ต้องผ่านกระบวนการทางศาล

 

การคุ้มครองลิขสิทธิ์มีระยะเวลาเท่าไร?

• ลิขสิทธิ์มีอายุการคุ้มครองตลอดอายุของผู้สร้างสรรค์ และบวกต่อไปอีก 50 ปี หลังจากผู้สร้างสรรค์เสียชีวิต

• งานลิขสิทธิ์บางประเภท จะมีอายุความคุ้มครองที่แตกต่างออกไป เช่น โสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร์ สิ่งบันทึกเสียง หรืองานแพร่เสียงแพร่ภาพ จะมีอายุความคุ้มครอง 50 ปี นับตั้งแต่วันที่มีการสร้างสรรค์งานนั้นขึ้น หรือนับตั้งแต่มีการโฆษณางานนั้นเป็นครั้งแรก