องค์ประกอบที่สำคัญที่สุดขององค์การคืออะไร

ความหมายขององค์กร

องค์กร ตามพจนานุกรม ฉบับบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2525 ได้กำหนดคำนิยามไว้ว่า คือส่วนประกอบย่อยของหน่วยงาน ทำหน้าที่สัมพันธ์กันหรือขึ้นต่อกันและกัน

ส่วนคำว่า องค์กร คือศูนย์กลางของกิจการที่รวมประกอบกันขึ้นเป็นหน่วยหรือหลาย ๆ องค์กรรวมกันหลายเป็นองค์การ

ในทางเศรษฐศาสตร์ คำว่า องค์การ หรือ องค์กร หมายถึง บุคคลกลุ่มหนึ่งที่มาตัวกัน โดยมีวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างร่วมกัน และดำเนินกิจกรรมบางอย่างร่วมกันอย่าางมีขั้นตอนเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย โดยมีทั้งองค์การที่แสวงหาผลกำไรคือองค์การที่ดำเนินกิจกรรมเพื่อการแข่งขันทางเศรษฐกิจ เช่น บริษัท ห้างหุ้นส่วน ร้านค้า เป็นต้น

องค์ประกอบขององค์กร

แต่ละองค์กรจะมีส่วนประกอบที่สัมพันธ์เชื่อมโยงกันเพื่อขับเคลื่อนองค์กรให้ดำเนินงานไปในทิศทางเดียวกันให้บรรลุเป้าหมาย ได้แก่ คน เป้าหมาย โครงสร้าง ข้อมูล ข่าวสาร ความรู้

1. คน คือองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดขององค์กร 

2. เป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ คือ สิ่งที่สมาชิกขององค์กรร่วมกันกำหนดขึ้น ซึ่งจะเป็นกรอบในการกำหนดแผนการทำงานต่างๆ ขององค์กร เช่น 

แผนกลยุทธ์  แผนการดำเนินงาน แผนหน้าที่

3. โครงสร้าง ประกอบด้วย

3.1 หน้าที่ องค์กรทุกประเภทย่อมมีหน้าที่หรือวัตถุประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่ง โดยทั่วไปแล้วหน้าที่ขององค์กรจะกำหนดไว้อย่างถาวรมากกว่า

3.2 การงานแบ่งกันทำ หมายถึง การแบ่งงานออกเป็นส่วน ๆ แล้วมอบให้แต่ละคน หรือแต่ละหน่วยงานรับผิดชอบ

3.3 สายบังคับบัญชา หมายถึง ความสัมพันธ์ตามลำดับชั้นระหว่างผู้บังคับบังชากับผู้ใต้บังคับบัญชา เพื่อแสดงให้ให้ทราบว่าใครมีอำนาจมากกว่ากัน

3.4 ขนาดของควบคุม คือ สิ่งที่ทำให้ทราบว่าผู้บังคับบัญชาคนหนึ่งมีขอบเขตแห่งอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบเพียงใด

3.5 หลักการมีผู้บังคับบัญชาเพียงคนเดียว หมายถึง บุคลากรที่เป็นสมาชิกองค์กรนั้นจะต้องฟังคำสั่งจากเจ้านายเพียงคนเดียว เพื่อป้องกันการสับสน

4.ข้อมูล ข่าวสาร และความรู้ คือ องค์ประกอบที่จะทำให้องค์กรไปถึงเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ที่งตั้งไว้ ในปัจจุบันการเปลี่ยนแปลงของยุคโลก 

ข้อมูล ข่าวสารและความรู้มีความสำคัญเพิ่มมากขึ้น 

5. เทคโนโลยี คือ เทคโนโลยีที่ทันสมัยต่าง ๆ เช่น การนำเครื่องใช้สำนักงาน หรือวิธีการสมัยใหม่มาใช้ ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องโทรสาร ทำให้

สามารถเชื่อมโยงข้อมูลข่าวสารจากเครือข่ายทั่วโลก

คุณสมบัติขององค์กรที่ดี

องค์กรมีทั้งเจริญเติบโตและตกตำในที่สุด ดังนั้น จึงจำเป็นต้องค้นหาแนวทางในการให้องค์กรนั้นคงอยู่ต่อไปโดยคุณสมบัติดังนี้

1. มีเป้าหมายชัดเจน ทุกคนในองค์กรต้องรู้เป้าหมาย เข้าใจวัตถุประสงค์ที่แท้จริงขององค์กรอย่างชัดเจน

2. สายงานบังคับบัญชาสั้นพร้อมงานบังคับบัญชาที่หลากหลาย พนักงานทุกระดับชั้นต้องพัฒนาความสามารถของตนเองให้สูงขึ้น และรับผิดชอบใน

องค์กรนั้น

3.มีฐานข้อมูลที่สนับสนุนการบริหารงาน มีระบบการจัดการในการทำงานด้วยความเชื่อมั่นและตัดสินใจด้วยตนเองให้ถูกต้อง

4. มีระบบการจัดการที่ดี มีระบบการจัดการทำงานที่มีระบบ โดยใช้จำนวนคนไม่มากทั้งนี้ต้องมีการเตรียมงานที่ดี และทุกคนรู้หน้าที่

5.เน้นการปฏิบัติงานที่ทำให้เกิดความน่าเชื่อถือและไว้วางใจ เน้นการปรับปรุงการทำงานตลอดเวลา เพื่อให้ได้ความเชื่อถือและถูกต้องที่สุด

6.อย่างสร้างความขััดแย้งในสายการบังคับบัญชา ไม่ความสร้าวความขัดแย้งกับหัวหน้าของตนเอง ซึ่งในกลุ่มของผู้บริหารระดับสูงนั้นจะเชื่อหัวหน้า

มากกว่า

7.มีการตลาดและประชาสัมพันธ์ มีหน่วยงานดูแลชัดเจนบุคคลในองค์กรทุกระดับควรช่วยแนะนำให้ลูกค้าหรือผู้ที่ใช้บริการทุกคนทราบเรื่องต่าง ๆ 

ขององค์กร

8.ร่วมมือร่วมใจและทำงานเป็นทีมอย่างดียิ่ง เพิ่มบทบาทของการทำงานร่วมกันให้มากขึ้นพร้อมทั้งประสานงานกันเพื่อเผชิญกับการแก้ปัญหาต่าง ๆ

9.เน้นมูลค่าในการทำงานในแต่ละตำแหน่งและดำเนินตามนโยบายอย่างชัดเจน ควรย้ายพร้อมทั้งเพิ่มคุณค่าของการทำงานในแต่ละตำแหน่ง อีกทั้งปฏิบัติตามนโยบายหลักีการกำกับตรวจสอบการทำงานอย่างสม่ำเสมอไม่มีการควบคุมมากจนเกินไป

10.การเสียสละเพื่อองค์กรมีการเสียสละเพื่อองค์กร การทำงานจะไม่เอาเปรียบองค์กรมีการนำเสนอความคิดเห็นที่เป็นประโยชน์กับองค์กรอยู่ตลอดเวลา คนในองค์กรจะคิดถึงส่วนรวม และรับผิดชอบงานของตนเองอย่างดียิ่ง

การจัดองค์กร

    การจัดองค์กร คือการนำโครงสร้างขององค์กรการอย่างเป็นทางการ โดยแบ่งออกเป็นหน่วยงานย่อยต่าง ๆ กำหนดอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบของแต่ละหน่วยงานไว้ให้ชัดเจน รวมทั้งความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยงานเหล่านั้น เพื่อให้เอื้อต่อการดำเนินงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ขององค์การอย่างมีประสิทธิภาพ

การจัดองค์กรมีความจำเป็นและก่อให้เกิดประโยชน์ดังนี้

1.ประโยชน์ต่อองค์กร

(1)การจัดโครงสร้างองค์กรที่ดีและเหมาะสมจะทำให้บรรลุวัตถุประสงค์และเจริญก้าวหน้า

2.ประโยชน์ต่อผู้บริหาร

(1)การบริหารงานหน่วย สะดวก

(2)แก้ปัญหาการทำงานซ้ำซ้อนได้ง่าย

3.ประโยชน์ต่อผู้ปฏิบัติงาน

(1)ทำให้รู้อำนาจหน้าที่และขอบข่ายการทำงานมากหรือน้อยเกินไป

(2)แบ่งงานให้พนักงานเหมาะสม ไม่เกิดความรู้สึกว่างานมากหรืองานน้อยเกินไป

การจัดองค์กรเป็นกระบวนการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างหน้าที่การงานบุคลากรและปัจจัยทางกายภาพต่าง ๆ ขององค์กร ในที่นี้ขอนำหลักการจัดองค์การในระบบราชการมาศึกษา เพราะเป็นองค์กรที่ได้รับความนิยมกันอย่างกว้างขวางและมีการนำไปใช้ทั่วไป

    หน้าที่การจัดการ มีการกำหนดไว้ดังนี้

1.การวางแผน การกำหนดแนวทางในการดำเนินงาน และการกำหนดกิจกรรมต่าง ๆ ล่วงหน้าตามเป้าหมายและวัตถุประสงค์ที่องค์กรต้องการ

2.การจัดองค์กร การจัดโครงสร้างการบริหารงานโดยแบ่งตามลักษณะการดำเนินงานหลักขององค์กรตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้

โครงสร้างไม่เป็นทางการ

องค์ประกอบในการจัดสายงานขององค์กร

1.) อำนาจหน้าที่ หมายถึง สิทธิที่จะออกคำสั่ง สิทธิการบังคับบัญชา สิทธิการบริหารงานซึ่งเป็นสิทธิที่ได้มาอย่างเป็นทางการ

2.) อำนาจ หมายถึง อำนาจหน้าที่ซึ่งมิได้รับมอบหมายมาเป็นทางการ หรือเป็นความสามารถเฉพาะบุคคลที่จะใช้อำนาจให้ผู้อื่นปฏิบัติตามตำสั่ง

3.) ภาระหน้าที่ หมายถึง ความรับผิดชอบต่อผลของงาน หรือคุณภาพของงานนั้น สามารถอธิบาย ชี้แจงและพร้อมที่จะให้ผู้บังคับบัญชาเหนือขึ้นไปตรวจสอบได้

4.) ความรับผิดชอบ หมายถึง ความรับผิดชอบต่อการปฏิบัติหรือพันธะผูกพันในการที่จะปฏิบัติหน้าที่การงานให้สำเร็จ

5.) เอกภาพในการบริหาร คือ การระบุให้ชัดแจ้งว่า ในแต่ละหน่วยงานใดเป็ยผู้มีอำนาจและต้องมีความรับผิดชอบเพียงใด เพื่อมิให้มีการปฏิบัติงานซ้ำซ้อน

6.)ช่วงการควบคุมหรือช่วงการบังคับบัญชา คือสิ่งที่แสดงให้ทราบว่าผู้บังคับบัญชาคนหนึ่งรับผิดชอบงานเพียงใด  มีจำนวนผู้ใต้บังคับบัญชาเท่าใด ถ้ามีช่วงแคบเกินไป จะทำให้งานไม่เสร็จทันเวลาเกิดความเสียหาย

4.การสั่งการ ดำเนินการต่าง ๆ ในการสื่อสารเพื่อให้เกิดกิจกรรมการปฏิบัติงานได้อย่างมีอย่างมีประสิทธิภาพและบรรลุวัตถุประสงค์ที่ได้กำหนดไว้ โดยมีหน้าที่ของการสั่งการคือ

    4.1 บุคคลและองค์กร

    4.2 พฤติกรรมและการจูงใจ

    4.3 ความเป็นผู้นำ

    4.4 กระบวนการติดต่อสื่ีอสาร

5.การควบคุม เป็นการกำหนดการตรวจสอบและประเมินผลการดำเนินกิจกรรมทั้งหมดเพื่อให้กิจกรรมต่าง ๆ สามารถดำเนินงานได้ตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ โดยการรวบอำนาจและการกระจายอำนาจ

หลักการบริหารงานในองค์กร

    การบริหารงาน คือ การดำเนินงานเพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายหรือวัตถุประสงค์ที่ดำหนดไว้โดยอาศัยทรัพยากรหรือปัจจัยต่าง ๆ ที่จำเป็นต่อการบริหาร เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

การบริหารงานที่ดีมีประสิทธิภาพต้องใช้ความรู้และทักษะหลายด้าน ดังนี้

    1.หลักการบริหาร

    2.ความรู้

    3.ด้านมนุษย์สัมพันธ์

    4.ด้านการปฏิบัติงาน

    5.ด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล

ปัจจัยในการบริหารงานในองค์กร

    การบริหารงานในองค์กรจำเป็นต้องอาศัยปัจจัยหลายอย่างรวมกัน จึงจะเกิดกิจกรรมในการดำเนินงาน โดยทั่วไปปัจจัยพืนฐานในการบริหารมี 4 ประเภท เรียกว่า 4 M ได้แก่ 

    1.บุคลากร

    2.เงินงบประมาณ

    3.ทรพยากร

    4.การจัดการ

การบริหารงานบุคคลในองค์กร

    การบริหารงานบุคคลถือเป็นศิลปะและศาสตร์ในการที่จะทำให้องค์กรประสบความสำเร็จได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีการแบ่งงานกันทำ และการประสานงาน แบ่งได้ 4 ยุค คือ

ยุคที่ 1 บุคการบริหารงานก่อนการบริหารงานตามหลักวิทยาศาสตร์

ยุคที่ 2 ยุคการบริหารงานตามหลักวิทยาศาสตร์ 

ยุคที่ 3 ยุคการบริหารตามหลักมนุษย์สัมพันธ์

ยุคที่ 4 ยุคปัจจุบัน ค.ศ 1950-ปัจจุบัน

ทักษะของผู้บริหาร

ผู้บริหารจำเป็นต้องมีความรู้ ความสามารถ หรือประสบการณ์หลายด้าน ได้แก่

    1.ทักษะด้านความคิด

    2.ทักษะด้านบุคคล

    3.ทักษะด้านเทคนิคการทำงาน

การพัฒนางานอาชีพกับกลยุทธ์ขององค์กร

การพัฒนาอาชีพจะเชื่อมโยงมาจากนโยบายขององค์กรที่ตอบสนองต่อปัจจัยดังนี้

    1.วิสัยทัศน์

    2.ภารกิจ

    3.เป้าหมาย

    4.กลยุทธ์ธุรกิจ

การพัฒนางานอาชีพที่ดีและประสบความสำเร็จ ผู้วางแผนต้องมีความรู้ ความเข้าใจอย่างแท้จริงในขั้นตอนการดำเนินการ ดังนี้

1.วางแผนเกี่ยวกับอาชีพ

2.การจัดการเกี่ยวกับอาชีพของพนักงาน

3.ช่วงเวลาที่เหมาะสมกับการพัฒนาอาชีพ